สังคมก้มหน้า (itinlife468)

สังคมก้มหน้า (social ignore)
สังคมก้มหน้า (social ignore)

http://www.oh-i-see.com/blog/2013/02/11/technology-in-everyday-life-plug-away-or-pull-the-plug/

มนุษย์เราถูกยอมรับว่าเป็นสัตว์สังคมมานาน มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมหาอาหาร เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สร้างบ้านเมือง แลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะสังคมครอบครัวของไทย ถือเป็นสังคมที่เหนียวแน่นที่เคยอยู่รวมกันทั้งปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน เหลน จนเมื่อไม่นานมานี้ มนุษย์พัฒนาตนเองให้มีความเจริญขึ้น เกิดการแยกตัวระหว่างสังคมเมือง และสังคมชนบทอย่างชัดเจน เป็นผลให้ครอบครัวไทยมีการแยกตัวผ่านกลไกทางการศึกษา เด็กมักต้องไปเรียนหนังสือในเมือง เมื่อมีความรู้สูงขึ้นก็จะเข้าไปทำงานในเมือง ทำให้สังคมครอบครัวมีขนาดเล็กลงเหลือเพียงพ่อแม่ลูกและอาศัยในบ้านขนาดเล็กลงตามหัวเมืองใหญ่

ความเจริญของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่เรียกว่า สังคมก้มหน้า (Social ignore) คือ การเพกเฉยต่อสังคมรอบตัว แต่ให้ความสำคัญกับสังคมเสมือนจริงมากกว่า ในอดีตเรามักสื่อสารโต้ตอบกับคนใกล้ตัวโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีก็สามารถพูดคุย แสดงกิริยา หรือสัมผัสกันได้โดยตรง เมื่อสังคมเสมือนจริงเข้ามาเป็นที่นิยม ช่วยให้การสื่อสารได้สะดวกทั้งระหว่างบุคคล เป็นกลุ่ม หรือสาธารณะก็ทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ทำให้ความสัมพันธ์ในสังคมกับคนรอบตัวเปลี่ยนไป เพราะเวลามีจำกัด แต่ละเสี้ยวเวลาก็จะทำได้เพียงกิจกรรมเดียว หากติดอยู่กับกิจกรรมหนึ่งก็อาจเพิกเฉยต่ออีกกิจกรรมหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

เคยดูคลิ๊ป disconnect to connect ของ dtac ที่แสดงให้เห็นชัดว่าปัจจุบันพ่อแม่กับลูก เริ่มมีความสัมพันธ์ที่ถอยห่าง แม้อยู่ด้วยกัน ทานข้าวด้วยกัน แต่ก็ก้มหน้าก้มตาคุยกับคนในสังคมเสมือนจริง ในสังคมคนทำงานที่ประชุมร่วมกับเพื่อน หรืออยู่กับแฟน ก็ยังแยกตัวเองไปอยู่ในสังคมเสมือนจริง เช่น อัพเฟส (update facebook status) หรือส่งไลน์สติกเกอร์ (line sticker) หรือทวีต (tweet) หรือดูคลิ๊ปในยูทูป ทั้งที่เวลานั้นมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับคนใกล้ตัว ถือเป็นการเพิกเฉย (ignore) ต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน แม้ยังไม่ใช่ปัญหาสังคมที่รุนแรง แต่สะท้อนถึงมารยาท หรือจริยธรรมของคนในสังคมที่เสพติดสังคมเสมือนจริง ที่ให้ความสำคัญต่อคนใกล้ตัวน้อยกว่า ปัญหาทั้งหมดแก้ได้ด้วยการทำให้ผู้คนรักษามารยาทที่มีต่อครอบครัว เพื่อน และความตระหนักถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการสื่อสาร มิใช่เลือกที่จะสื่อสารเพื่อความบันเทิงส่วนตัวอย่างเดียว

http://anusornkob.blogspot.com/2013/03/social-ignore.html

ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน

เพื่อนท่านหนึ่งพูดให้ฟังว่า “ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน” เมื่อจับความได้ ก็นำมาพิจารณาก็พบว่า ปัจจุบันผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้งานเฟซบุ๊ค เมื่อใช้มาก ๆ เข้าก็หลงใหลถึงขั้นติดงอมแงม (คุณโน๊ต : fb เพื่อ บ่น ปฏิญาณตน อวด แอ็บแตก ทำคำคม) เหมือนที่ คุณโน๊ตอุดม พูดไว้ใน เดี่ยว 8 เรื่อง Hi5 ว่า “ถ้าบริษัทมึงเจ้งกูก็ไม่แปลกใจ” นั่นหละครับ

ความสามารถของ fb ที่เด่นและเห็นได้ชัดมี 3 บริการ
1. profile มีไว้คุยกับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อน
2. page มีไว้นำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบบล็อก หรือตอบข้อซักถาม
3. group มีไว้พูดคุยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน

สรุปประเด็น
1. profile มีประโยชน์ต่อการทำงานที่หวังเป้าหมายในระดับบุคคลถือว่าต่ำสุด แม้จะใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ก็ต้องเป็นเพื่อนเท่านั้น ถ้าเพื่อนในองค์กรไม่รับท่านเป็นเพื่อน ก็คงสื่อสารด้วยเฟซบุ๊คกันไม่ได้
2. page มักถูกใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กรในแบบบล็อกเป็นสำคัญ แต่เปรียบเทียบกับ website ไม่ได้ เพราะเว็บไซต์สามารถนำเสนอเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพคลิ๊ป ในรูปมัลติมีเดีย และอินเทอร์แอ็คทีฟได้สมบูรณ์ สามารถควบคุม header และ footer ที่ไม่มีโฆษณาของ facebook มากวนใจ มีระบบบล็อก และเว็บบอร์ดที่ควบคุมได้ และสามารถจัดการ seo ได้อย่างสมบูรณ์
3. group มีประโยชน์ในการทำงานสูงสุด แต่มีข้อแม้เพียงข้อเดียว คือไม่เข้ามาใช้ประโยชน์ กลับเลือกใช้บริการที่ไม่ก่อประโยชน์ในการทำงานเหมือนที่คุณโน๊ตว่าไว้

ผมเชื่อว่า มีองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ facebook for working ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ บุคลากรต้องไม่เป็นแบบที่โน๊ตว่าไว้ และการใช้งานต้องมีการควบคุม เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการใช้งานที่วัดได้


หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ
หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151022111276768&set=a.493024076767.276129.370539266767