เคล็ดลับใส่ส้นสูง ไม่ปวดขา

ผู้หญิงกับรองเท้า ส้นสูง เป็นของที่คู่กันค่ะ วันนี้มีเคล็ดลับใส่ส้นสูงอย่างไรไม่ให้ปวดขามาฝากค่ะ


เคล็ดลับใส่ ส้นสูง ไม่ ปวด ขา

  • เลือก ส้นสูง ให้มีขนาดพอดีกับเท้า ถ้าจะให้ดีควรเลือกซื้อรองเท้าในตอนเย็น เพราะเป็นช่วงเวลาที่เท้าขยายขนาดมากที่สุด เลือกรองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้างพอดีกับความกว้างของเท้า
  • เลือกใส่รองเท้าที่ส้นไม่สูงมากเกินไปค่ะ ส้นสูง ประมาณนิ้วครึ่งถึงสองนิ้วกำลังดี แต่ถ้าใครคิดว่าอย่างชั้นส้นต้องสูงปรี๊ดเท่านั้น เราแนะนำให้คุณเลือกรองเท้าที่มีส่วนของหน้าเท้าสูงตามไปด้วยค่ะ อย่างหน้าเท้าสูงสองนิ้ว ส้นจะสูงสามถึงสี่นิ้วก็ยังไหว
  • เลือกรองเท้าที่มีสายรัด หรือหุ้มทั้งเท้า เพราะจะช่วยให้รองเท้ากระชับเข้ากับเท้า ไม่ต้องเกร็งมากเวลาเดิน
  • เลือกส้นรองเท้าที่ทำจากยาง เพราะจะทำให้รองรับแรงกระแทกได้ดีกว่าส้นรองเท้าที่แข็งๆ อย่างไม้ค่ะ
  • ถ้าเลี่ยงได้ ต้องไม่ใส่รองเท้า ส้นสูง เดินตลอดทั้งวัน อาจจะต้องมีช่วงเวลาพักเท่าบ้าง เปลี่ยนเป็นรองเท้าส้นเตี้ย หรือคัทชู ก็ทำให้คุณดูน่ารักไปอีกแบบนะคะ

นอกจากการเลือกซื้อรองเท้าคู่โปรดที่สวมใส่สบายแล้ว วิธีการเดินก็สำคัญนะคะ เดินให้ตัวตรง หลังตรง หน้าเชิดมองไปข้างหน้า เดินให้ขาอยู่ในแนวเดียวกัน และลงน้ำหนักที่อุ้งเท้า นอกจากจะเป็นท่าเดินที่ช่วยให้คุณดูสง่ามากขึ้นแล้ว ผลพลอยได้ที่ตามมายังทำให้คุณอยูบน ส้นสูง แบบไม่ปวดเมื่อยด้วยนะคะ

ขอบคุณภาพจาก http://news.byu.edu/

โรคกระเพาะ และ โรคกรดไหลย้อน เหมือนหรือต่างอย่างไร

โรคกระเพาะ คืออะไรกัน มาดูกันเลย

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ” โรคกระเพาะ ” นั้น จริงๆแล้วชื่อเต็มๆของเค้าคือ “โรคเเผลในกระเพาะอาหาร” มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ปวดตอนนอนหลับ บางคนปวดเมื่อกินยาแก้ปวดต่างๆ โดยโรคกระเพาะนั้น จะมีสาเหตุหลักๆ มี 3 ประการ คือ

1. เกิดจากการกินยาแก้ปวดบางกลุ่มต่อเนื่อง

2. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

3. เกิดจากพฤติกรรมกินอาหารไม่ตรงเวลา ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่

แล้ว โรคกรดไหลย้อน ล่ะต่างจาก โรคกระเพาะ ยังไง?

สำหรับโรคกรดไหลย้อนนั้น ส่วนใหญ่อาการจะคล้ายๆ กับ โรคกระเพาะ ค่ะ นั่นก็คืออาการ จุก เสียด เพียงแต่จะแตกต่างตรงตำแหน่งของอาการของโรค โรคกรดไหลย้อน จะมีอาการ “Heatburn” ซึ่งจะมีอาการแสบร้อนบริเวณกลางอกไปจนถึงลิ้นปี่ รวมไปถึงอาการ เรอเปรี้ยวได้ เพราะกรดมีการไหลย้อนขึ้นมาบริเวณทางหลอดอาหารซึ่งอยู่ที่บริเวณอกของเรานั่นเองค่ะ ส่วนสาเหตุหลักๆนั้นก็มาจากพฤติกรรมของเรา เช่นกัน คือ

พฤติกรรมการบริโภค และ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำให้เกิด กรดไหลย้อน

1. ทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมากเกินไป ควรปรับเป็นทานบ่อยครั้งๆ ละน้อย

2. ชอบทานอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด/เผ็ดจัดเป็นประจำ

3. ชอบดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่จัด

4. ชอบนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร

5. ไม่ยอมรักษาน้ำหนักตัวให้พอเหมาะ ปล่อยตัวให้อ้วนเกินไป

6. ไม่ชอบออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

7. พักผ่อนไม่เพียงพอ และทำงานเครียด

8. สวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบายตัว ไม่รัดเข็มขัดแน่น

จะเห็นได้ว่าโรคทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกันตรงตำแหน่งที่เกิดอาการเป็นหลัก ถ้าปวดท้องเด่นก็อาจเป็น โรคกระเพาะ ถ้าแสบอกมากกว่าก็มีความเสี่ยงของ กรดไหลย้อน มากกว่าแต่งานวิจัยหลายๆชิ้นบ่งบอกว่า 20% ของคนที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมักมีอาการอีกอย่างร่วมด้วยเสมอ ดังนั้นใครที่สังเกตอาการปวดท้องของตนเองแล้วพบว่ามีอาการตามที่บอกควรจะต้องรีบปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้นจนเรื้อรัง

สำหรับใครที่มีอาการทั้งสองโรคหรือไม่แน่ใจขอแนะนำให้ลองทานยาน้ำ ที่สร้างชั้นเจลและช่วยปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลางเพื่อลดอาการปวด และไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากกรดจะช่วยรักษา โรคกรดไหลย้อน ได้ โดยจะช่วยรักษาอาการของทั้งสองโรคทั้ง โรคกระเพาะ และ กรดไหลย้อน ในตัวเดียว ลองหาตามร้านขายยาทั่วไปดูค่ะ

ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะ หรือ โรคกรดไหลย้อน ต่างก็อันตรายด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นหากมีอาการปวดท้องเรื้อรัง ทานยาไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ไว้เนิ่นๆนะคะ

ขอบคุณภาพจาก http://www.theunintelligencer.com

อาการเจ็บคอ แต่ไม่ได้เป็นหวัด มันคือ อะไร?

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

อาการเจ็บคอ ไม่ได้มีมาจากแค่สาเหตุการเป็นหวัดอย่างเดียวนะค่ะ แต่อาการนี้ยังบอกอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับร่างกายของเราได้อีกมาก ลองมาดูกันดีกว่าค่ะ

เริ่มที่อาการของการเจ็บคอ

อาการของการเจ็บคอ มักจะแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วยค่ะ แต่จะมีอาการหลักๆ ที่คล้ายกัน ได้แก่

– รู้สึกเจ็บ แสบ หรือระคายเคืองในลำคอ และมักจะแสดงอาการมากขึ้นเวลากลืน หรือพูด

– กลืนลำบาก, รู้สึกคอแห้ง, เสียงเปลี่ยน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปหู

ซึ่งอาการเจ็บคอนั้น แบ่งได้ด้วยกัน 2
ประเภทค่ะ คือ

1. อาการเจ็บคอแบบเฉียบพลัน (Acute sore throat) มักมีอาการเฉียบพลันเป็นวันๆไป พร้อมกับมีอาการของระบบอื่นๆ เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น

2. อาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง (Chronic sore throat) มีอาการเป็นระยะเวลานานๆ ในบางรายอาจเป็นสัปดาห์ หรือ ในบางรายก็อาจเดือนๆ มักมีเฉพาะอาการเจ็บคอเท่านั้น ซึ่งอาการเจ็บคอแบบเรื้อรังนี้ ถ้าหาสาเหตุพบและรักษาให้ตรงจุดของสาเหตุที่เกิด อาการเจ็บคอ ก็จะหายไปเองค่ะ

สาเหตุของอาการเจ็บคอ

เมื่อรู้ถึงอาการแล้ว เราก็มาดูถึงสาเหตุกันดีกว่าค่ะ ว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เรามีอาการเจ็บคอ ซึ่งจะแบ่งได้ 4 สาเหตุ สำคัญค่ะ ได้แก่

1. คออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ส่วนใหญ่ จะมีอาการเจ็บคอ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล บริเวณผนังลำคอด้านหลัง ลิ้นไก่ จะมีอาการอักเสบบวมแดด

2. คออักเสบจากเชื้อไวรัส

ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ต่ำ จนถึงสูง บางครั้งหนาวสั่นบ้าง ครั้นเนื้อ ครั้นตัว เจ็บแสบคอไม่มากนัก อาจ

มีน้ำมูกใสๆ และคัดจมูก มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ภายในช่องคอแดงเล็กน้อย

3. คออักเสบจากเชื้อรา

ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บคอ คอแห้ง น้ำลายไหลมาก แต่จะมีอาการแตกต่างกับสองสาเหตุที่กล่าวไป คือมีแผ่นขาวคล้ายนมที่จับเป็นก้อน ติดแน่นกับเยื่อบุผนังคอด้วยค่ะ

4. เกิดจากการสิ่งที่ก่อให้เกิดระคายเคืองคอ

อาการเจ็บคอในลักษณะนี้ มักเกิดจากการกระทำของเราเองค่ะ ที่ไปกระตุ้น ให้เกิดอาการเจ็บคอขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ เนื่องจากควันของบุหรี่จะไปกระตุ้นให้เราเจ็บคอนั่นเอง การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เสียงที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ หรือ การตะโกน ซึ่งอาจจะทำให้สายเสียงเกิดการอักเสบ และนำไปสู่อาการเจ็บคอได้ค่ะ และโรคกรดไหลย้อน ซึ่งกรดอาจไหลย้อนขึ้นมาที่ผนังคอ ทำให้เยื่อบุและกล้ามเนื้อของผนังคอมีการอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ ได้

ยาที่ใช้รักษาและบรรเทาอาการเจ็บคอ

และเมื่อทราบถึงอาการและสาเหตุของอาการเจ็บคอกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงตัวยา และวิธีการในการบรรเทาอาการเจ็บคอ

– สารที่ช่วยลดการระคายเคือง (Demulcents) สารในกลุ่มเหล่านี้จะไปช่วยบรรเทาการระคายเคืองของอาการเจ็บคอ ทำให้เรามีอาการเจ็บคอที่น้อยลง ซึ่งสารเหล่านี้อาจใส่มาในรูปแบบของยาอม ทำให้มีการรับประทานที่ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

– Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบที่ไม่ใช่ยากลุ่ม สเตอรอยด์ ซึ่งอาจใช้ในอาการเจ็บคออันเนื่องมาจากการอักเสบต่างๆ

– แอนตี้ไบโอติก (Antibiotics) มันก็คือยาปฏิชีวะนะนั่นเองค่ะ มักใช้ในอาการเจ็บคืออันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ

– แอนตี้เซพติก ยากลุ่มนี้มักไม่ใช่ยาทานค่ะ แต่จะเป็นการกลั้วคอ หรือ พ่นคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอแทน

– ยาชาเฉพาะที่ (Local anaesthetics) ส่วนใหญ่มักจะใส่มากับยาอมค่ะ ซึ่งยาตัวนี้จะไปช่วยให้มีอาการชา จนรู้สึกว่าอาการเจ็บคอหายไป ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นเรื่องสำคัญนะคะ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเริ่มเจ็บคอใหม่ๆ ก็ให้ลองดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ และหายาอมที่บรรเทาอาการเจ็บคอมาทาน แต่ถ้า2-3 วันรู้สึกไม่หายเสียที ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจหาให้แน่ชัดดีกว่าค่ะ เผื่อบางทีอาจมีอะไรที่มากกว่าอาการเจ็บคอก็เป็นได้ค่ะ

ขอบคุณภาพจาก : whatissorethroat.com และ

http://www.livewell.in.th/article/4-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/