ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์

วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ หรือจิตทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มีทฤษฎีหลักอยู่ 3 ทฤษฎีที่น่าสนใจ คือ 1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theory) เป็นแนวความคิดของสกินเนอร์ (Burrhus Frederick Skinner หรือ B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก การตอบสนองสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงออก ซึ่งมีการเสริมแรงเป็นตัวการ โดยทฤษฎีนี้ จะไม่พูดถึงความคิดภายในของมนุษย์ ความทรงจำ ความรู้สึก  2) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism Theory) เป็นแนวความคิดของชอมสกี้ (Noam Chomsky) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์มิใช้ผ้าขาวเมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจ และมีความรู้สึกภายในที่แตกต่างออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  3) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) เป็นแนวความคิดของ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (David Everett Rumelhart and Andrew Ortony)(1977) เชื่อว่า โครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้น มีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มเชื่อมโยงกันอยู่ในมนุษย์ เมื่อเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่เพิ่งได้รับ นั้นจะไปเชื่อมโยงกับกลุ่มที่มีอยู่เดิม

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.