thaiall logomy background
มายด์แม็ป หรือ แผนที่ความคิด (Mind Maping)
my town
มายด์แม็ป หรือ แผนที่ความคิด (Mind Maping)
tony buzan vanda north
โปรแกรมฟรีมาย (Freemind) คือ เครื่องมือช่วยวาดแผนที่ความคิดที่เป็นโอเพนท์ซอร์ท (Open Source) พัฒนาด้วยภาษาจาวา สามารถ ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ Sourceforge.net (Official site) หรือ Openlogic.com ( FreeMind 0.9.0 Java Embedded Windows Installer)
แผนที่ความคิด (มายด์แม็ป : Mind Map)
มายด์แม็ป หรือ แผนที่ความคิด หรือ ผังมโนภาพ (Mind Map) คือ แผนภาพที่แสดงความคิดที่เชื่อมโยงกันเหมือนกับการเชื่อมโยงของเซลประสาทในสมอง โดยใช้คำ ภาพ หรือสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกันแล้วแผ่เป็นรัศมีออกไปจากศูนย์กลาง การวาดแผนที่ความคิดถูกใช้เป็นเครื่องมือนำเสนอประเด็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการนำเสนอความคิด ที่ช่วยให้การสรุปประเด็นมีความชัดเจนผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าแผนที่ความคิด (Mind Map) ซึ่งมีการนำไปใช้สอนให้นักเรียนระดับประถมศึกษาฝึกใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความคิดมาหลายปีแล้ว
การระดมความคิด (Brainstorming) ในการประชุมหลายระดับมักมีการใช้มายด์แม็ปเป็นเครื่องมือ เพราะเขียนง่าย มีความน่าสนใจ และเข้าใจไม่ยาก สิ่งที่ต้องใช้เป็นเครื่องมือก็มีเพียงกระดาษปรู๊ฟ และสีชอล์กพาสเทล อาจใช้สำหรับระดมความคิดเห็น สรุปความแนวคิด หรือนำเสนอประเด็นก็ได้ ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์ที่เข้ามาช่วยให้การวาดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น อาทิ Freemind, Mindjet, Xmind, Mindmeister, iMindmap สามารถใช้งานได้คล้ายเขียนบนกระดาษ แต่แก้ไขได้ง่าย ไม่หายไปตามกาลเวลา เพราะทำสำเนา และเผยแพร่ต่อได้
ขั้นตอนการใช้ซอฟท์แวร์ช่วยเขียนแผนที่ความคิด เริ่มจากเขียนแผนที่ความคิดด้วยโปรแกรม Mindjet apps บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแท็บเล็ต (TabletPC) แล้วส่งแฟ้มแบบ .mm ไปเก็บใน Dropbox.com ซึ่งเป็น Cloud Storage แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) ดาวน์โหลดแฟ้มมาเปิดด้วยโปรแกรม Freemind แล้ว Export ไปเป็นเว็บเพจแบบ XHTML (Clickable map image version) เมื่อส่งกลุ่มแฟ้มที่ได้ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์กร จะแสดงผลทั้งภาพแผนที่ความคิดต้นฉบับ และข้อมูลรายการความคิดแบบเรียงข้อ ที่สามารถข้อมูลรายการไปประมวลผลต่อ หรือปรับไปแสดงผลในสื่ออื่นได้
ความเป็นมาของแผนที่ความคิด เกิดจาก โทนี บูซาน (Tony Buzan) ชาวอังกฤษพยายามนำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้กับการเรียนรู้ของเขา ซึ่งปรับมาจากการจดบันทึกแบบเดิมที่จดด้วยดินสอเป็นบรรทัดมาใช้คำ ภาพ สัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกันแล้วแผ่เป็นรัศมีออกไปจากศูนย์กลาง เหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ ต่อมาเขาพบว่าวิธีนี้สามารถใช้ได้กับกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การวางแผน การสรุปบทเรียน การช่วยจำ การนำเสนอ การยกร่าง การจับประเด็น เป็นต้น ต่อมาเขาเขียนหนังสือ Use You Head (ใช้หัวคิด) และ Get Ahead (ใช้หัวลุย) ร่วมกับแวนด้า นอร์ธ (Vanda North) และนายธัญญา ผลอนันต์ ผู้แปลเป็นฉบับภาษาไทย
ที่มา : สุวิทย์ มูลคำ. การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : บริษัท ที.พี.ปรินท์ จำกัด 2543
ความเป็นมา
ตัวอย่าง
ดาวน์โหลด: php55.mm

ดาวน์โหลด: mindmap01.mm
ความเป็นมาของแผนที่ความคิดในไทย โดยอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ เป็นชาวไทยคนแรกที่ได้ไปอบรมเพื่อเป็นผู้ฝึกการเขียน Mind Map จากสำนักงานใหญ่ของ Buzan Centres ในเมือง Poole ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปลายปี 2540 และกลับมาแปลคู่มือการฝึกเขียน Mind Map เล่มแรกของเมืองไทย คือ GET AHEAD หรือ ใช้หัวลุย พร้อมทั้งจัดการอบรมครั้งแรกให้กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่ 23-24 มีนาคม 2541 ต่อมาอาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ ได้เดินทางไปรับการอบรมเพื่อเป็นผู้ฝึก Mind Map เป็นคนที่สองในปี 2546 และทั้งสองคนก็ร่วมกันจัดการบรรยาย อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ บริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา สมาคมและหน่วยงานไม่แสวงหากำไร ตลอดจนหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2547 เป็นจำนวน 555 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมไปแล้ว 26,074 คน
ธัญญา ผลอนันต์ขวัญฤดี ผลอนันต์
จากผลงานของ ธัญญา ผลอนันต์ ผมขอชื่นชมท่านในฐานะเป็น ผู้ริเริ่มแผนที่ความคิดไทย
แนะนำเว็บ (Web Guides)
+ Download : Site 1, Site 2 , Site 3
+ คู่มือการใช้โปรแกรมจาก ซีดีจันทรา ***
+ อธิบาย Freemind กับ mindmap ***
+ ผังมโนภาพ ใน wikipedia.org
+ ประวัติ mindmap ในไทย
23 พ.ค.55 23 พ.ค.55 อ.อุดม แนะนำบุคลากรในองค์กรหนึ่งผ่าน yammer.com ให้ทราบว่า เราสามารถเขียนแผนที่ความคิดได้ด้วยโปรแกรม freemind แนะนำแหล่งดาวน์โหลด พร้อมกับคู่มือการใช้งานโปรแกรม ที่เขียนโดย คุณกานต์ คงบรรทัด นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันนี้พบว่าโปรแกรมสำหรับติดตั้ง Freemind มีรุ่นที่ผนวก java runtime เข้าไปแล้ว ทำให้ไม่ต้องไปหา java runtime มาติดตั้งเพิ่มเติมเหมือนรุ่นแรก ๆ ซึ่งรุ่นแรกที่ผมเคยใช้ตอน Sipa ป้ำ ซีดีจันทรา แจกโรงเรียนทั่วประเทศ ต้องไปหา java runtime มาติดตั้งเองครับ
+ http://sourceforge.net/projects/freemind/
+ http://www.agri.cmu.ac.th/upload/download/49080097.pdf
ดาวน์โหลด ดาวน์โหลด: school.mm
+ 4 มิ.ย.53 มีโอกาสพูดคุยกับพระนิสิต และได้นำเสนอการเขียนร่างมายด์แม็ป (mindmap) ซึ่งเป็นแผนที่ความคิดเรื่องการดำเนินการของสถาบันการศึกษา ซึ่งสอดคล้องไปกับหลักสูตรการบริหารการศึกษา (M.Ed.) เพื่อให้พระทุกรูปได้กลับไปเขียนแผนที่ความคิด เป็นรายสัปดาห์ชิ้นหนึ่งที่ต้องเกิดจากความคิดของแต่ละรูป แต่มอบหมายให้เขียนด้วยมือแทนการใช้โปรแกรม Freemind หรือ Mindmanager แล้วใช้กล้องดิจิทอลถ่ายมาเป็นแฟ้มภาพ จากนั้นให้อัพโหลด (upload) ไปแบ่งปันใน facebook.com ซึ่งภาพในเว็บเพจนี้เป็นตัวอย่าง หรือร่างที่ได้นำเสนอให้เกิดการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนก่อนแยกกันไปทำงานเดี่ยว
+ ในอนาคตหวังว่า พระนิสิตจะใช้แผนที่ความคิดเป็นเครื่องมือในการรวบยอดความคิด หรือเป็นเครื่องมือนำเสนอความคิดในการประชุมกับชุมชน หรือการทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการในที่ใดใดต่อไป
การวาดภาพเพื่อการสื่อสารและแผนที่มโนทัศน์ 17 ก.ค.53 เข้าอบรมการวาดเพื่อการสื่อสาร และ การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (CMAP = Concept mapping) ณ ห้องประชุม 2 กศน.ภาคเหนือ จัดโดยสถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน (Community Learning Process Innovation Institute)ในวันนี้มีหลายกิจกรรมเกิดขึ้นที่พอสรุปได้มีดังนี้ 1) เป้าหมายสี่ส่วน 2) เรียงคำย้อนกลับ 3) สี่วงกลมเป็นภาพ 4) การวาดตัวแทน อารมณ์ แขนขา สถานที่ และเส้น 5)วาดภาพนิยาย 6) แผนที่มโนทัศน์
การวาดแผนที่มโนทัศน์มีรูปแบบการวาด 6 แบบ ดังนี้ 1) แบบใยแมงมุมหรือดาวกระจาย คล้ายแผนที่ความคิด 2) แบบช่วงชั้นของความคิด คล้ายแผนผังองค์กร 3) แบบโฟลของงานก่อนหลัง คล้ายวงจรพีดีซีเอ หรือขั้นตอน 4) แบบเชิงระบบหรือเชื่อมโยง คล้ายกระบวนการแบบไอพีโอ 5) แบบแผนภาพ คล้ายแผนภาพที่เชื่อมโยงกัน 6) แบบสามมิติ คล้ายความสัมพันธ์ของจังหวัด และมีภาพที่ทีมงานเผยแพร่จำนวน 125 ภาพ
+ thaiall.com/research/manoi530717/
แผนที่ทางสังคม (Social Mapping : SM) หลักการ (Principles)
8 ส.ค.53 มีหลักการอยู่มากมายเหลือเกินที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมา แต่ละหลักมีรายละเอียด และองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป บางเรื่องก็มีหลักการที่ใช้อ้างอิงประกอบการตัดสินใจได้หลายหลักการ อาทิ ปัญหาเสื้อแดง และเสื้อเหลือง ที่ใช้หลักนิติศาสตร์ หลักเศรษฐศาสตร์ หลักประชาธิปไตย ทุกหลักมีความถูกต้องตามหลักสมเหตุสมผล แต่มองกันคนละมุม บางคนอ้างอิงหลักเดียวกัน แต่มองในมุมของตนเอง ก็จะได้ผลเป็นคนละขั้ว ลองดูว่ารอบตัวเรามีหลักอะไรบ้าง ผมจึงยกร่างขึ้นมาประกอบการคิด เพราะอนาคตอาจต้องนำไปใช้ประกอบการทำงาน ในการวางแผน ดำเนินการ ประเมิน และปรับปรุงกิจกรรมก็เป็นได้ .. ถ้าท่านใดจะนำไปใช้ก็สามารถนำไปแตกระดับออกไปได้อีกนับไม่ถ้วน เหนือจินตนาการที่ผมจะวางลงไปในแผนที่ความคิดนี้ได้หมด
บางคนบอกว่า บ้านเมือง สังคม องค์กร หรือแม้แต่ตัวเขาเองก็ไม่เคยสนใจ ผมก็ยังคิดว่าเขาก็มีหลักของเขา คือ .. หลักของเขา (His Principle)
+ principles.mm
แผนที่ทางสังคม (Social Mapping : SM)
ในการฝึกเขียน วิทยากรคือคุณภัทรา มาน้อย กำหนดให้วางแผนก่อนเขียนทั้งหมด 6 ประเด็นของ SM คือ 1) เป้าหมาย 2) ผู้ใช้ประโยชน์ 3) ประเด็นหลัก ประเด็นรอง 4) กระบวนการ หรือวิธีได้มาซึ่ง SM 5) ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนร่วม 6) การนำเสนอผลการทำ SM เป็นแบบใด
แผนที่ทางสังคม (Social Mapping : SM)
28 ส.ค.53 เข้าอบรมการเขียน Social Mapping กับสถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชน จังหวัดลำปาง ใช้สถานที่ของ กศน.จังหวัดลำปาง
แผนที่ทางสังคม (สกว) คือ เครื่องมือที่จะเข้าไปร้อยคนรู้ ที่เป็นผู้รู้หรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ เชื่อมโยง และนำเสนอ
แผนที่ทางสังคม คือ ข้อมูลสถานะทงสังคมของคนในชุมชน ความเป็นเครือญาติ สถานภาพทางสังคมในชุมชน การแบ่งกลุ่มในมิติต่าง ๆ
แผนที่ทางสังคม คือ เครื่อมือขึ้นโจทย์วิจัย เครื่องมือกำหนดทิศทาง และเครื่องมือเผยแพร่ต่อสาธารณะ
แผนที่ทางสังคม คือ การระบุตำแหน่งที่อยู่ของบุคคล และองค์กรที่มีความสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนหรือท้องถิ่นให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
แผนที่ทางสังคม คือ เครื่องมือร้อยคนรู้ แต่ก่อนจะร้อยคนรู้ ต้องรู้คนร้อย ผมจึงเชื่อว่าก่อนทำเวทีและใช้ SM จำเป็นที่ผู้ดำเนินการต้องจัดทำ แผนที่ความคิด (Mind Map) เพื่อใช้วางแผน หรือศึกษาข้อมูลที่จำเป็นต้องนำไปใช้ในเวที และคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเข้าไปร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
+ socialmapping_training_grade.ppt
ตัวอย่าง ตัวอย่าง การเขียน MindMap ด้วยมือบน Samsung Galaxy Tab 10.1 โดยใช้ pen memo ที่มีมากับอุปกรณ์เขียนด้วยปลายนิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความเข้าไปด้วยแป้นพิมพ์บนจอภาพ .. การพิมพ์ข้อความจัดยาก เพราะรับแบบตัวอักษรที่เรียงบรรทัดตามปกติ ไม่สามารถย้ายข้อความได้เหมือนวัตถุทั่วไป
+ ไดอะแกรมนี้เกิดขึ้น ขณะนั่งประชุมกลุ่มเรื่อง "budget" ว่าปัจจุบันการได้มาซึ่งงบประมาณนั้นประกอบด้วยหลายส่วน มีระบบและกลไกควบคุม ที่จะนำไปสู่การใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์ และเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จขององค์กรทุกประเภท เนื้อหาก็จะมีหลากหลาย เพราะเป็นการระดมสมองในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
+ งบประมาณมิใช่จุดเริ่มต้นของเรื่อง และไม่ใช่การสิ้นสุด แต่เป็นเครื่องมือในกระบวนการทำงานขององค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชนก็ต้องมี สำหรับหน่วยงานราชการมีการปิดงบประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ จะเกิดขึ้นก่อนตุลาคมค่อนข้างหนาตา เพราะมีเกณฑ์ว่าถ้างบประมาณที่เคยขอไปใช้ไม่หมด ปีต่อไปก็จะขอไม่ได้เท่าเดิม ดังนั้นการตั้งงบประมาณ จึงเป็นเรื่องสำคัญและมีความสมเหตุสมผลอยู่ในตัว เพราะตั้งมากไปก็ไม่ได้ ตั้งน้อยไปก็จะแย่เอา
+ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔--๒๕๕๙)
Mindjet for Android Mindjet for Android
มีโอกาส download apps ชื่อ Mindjet สำหรับเขียน mindmap บน Android ซึ่งเป็น Free version สกุลของแฟ้มที่ส่งออกมาผ่าน e-mail คือ .mmap เมื่อทดสอบเปิดแฟ้มที่สร้างจาก android ด้วย Free mind บน PC โดยใช้การ import เข้าไปในโปรแกรมพบว่า นำไปใช้งานได้ แต่ภาษาไทยกลายเป็นสี่เหลี่ยม ซึ่งสรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้
1. File Format เริ่มต้นเป็นแบบ mindjet (.mmap) สามารถเปลี่ยนเป็น freemind หรือ xmind
2. ส่งออก ผ่าน e-mail หรือ sync กับ dropbox ซึ่งเป็น cloud แล้วใช้ใน Freemind บน PC ได้
เมื่อ sync กับ dropbox จะมีห้องใหม่ ชื่อ apps/mindjet
3. หากเป็น .mmap ต้องใช้ import เพื่อนำแฟ้ม .mmap เข้า Freemind
4. ส่งเป็นภาพเข้า fb ผ่าน social hub พบว่าภาพเล็ก แต่ถ้าส่งเป็นอีเมลพบว่าภาพชัดปกติ
+ Mindjet File Format : test_tab101_mindjet.mmap
บทสะท้อน บทสะท้อน : การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาและยกระดับฐานเศรษฐกิจการขับเคลื่อนจังหวัดลำปาง
(ห้องย่อยการพัฒนาด้านการเกษตร)
โดย ภัทรา มาน้อย ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดลำปาง
กลุ่ม : ๖ วัสสา วิจยะท้องถิ่น
rspsocial
Thaiall.com