ชิปหาย ต้องทำอย่างไร

sim card in tabletpc of samsung
sim card in tabletpc of samsung
วันนี้หยิบแท็บเล็ตที่มหาวิทยาลัยให้ไว้สำหรับทำงานขึ้นมาแล้วพบว่าเข้าอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ลองตรวจสอบพบว่าชิบ หรือซิมการ์ดหายไป เมื่อเปิดช่องใส่ซิมการ์ดก็ยังอยู่ แสดงว่าตัวชิบน่าจะมีปัญหา แต่การแก้ไขในเบื้องต้นคือ ดึงออกมาแล้ว เสียบกลับเข้าไปใหม่ เมื่อทำตามนี้พบว่าแท็บเล็ตรู้จักซิมการ์ดเหมือนเดิม และเข้าอินเทอร์เน็ตได้ .. โล่งอกไปอีกครั้ง
ในอดีตเคยมีเพื่อน หรือนักศึกษาที่ไปฝึกงาน มาเล่าให้ฟังว่า เวลาเปิดเครื่องไม่ขึ้น ค้างไปเฉย ๆ โอกาสหนึ่งที่เป็นไปได้คือ หน้าสัมผัสของแผงวงจรสกปรก ทำให้สัมผัสกันไม่ดีพอ อาจเป็นเพราะมีสนิมขึ้นมาขวาง ก็ต้องทำความสะอาด คุณเปรม กับคุณตุ้ย เพื่อนที่ศูนย์ไอทีจะมีกระป๋องสเปรย์ (Spay) สำหรับฉีดอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น cpu, ram หรือ mainboard หลายครั้งที่เปิดเครื่องไม่ขึ้นก็จะใช้ฉีดเข้าไป รอสักพักก็จะใช้งานได้เหมือนเดิม แต่ลูกศิษย์ที่เคยฝึกงานในร้านซ่อมคอมพิวเตอร์บอกว่า เขาจะถอดแผงวงจร หรือ RAM ออกมาแล้วใช้ยางลบถู ๆ สักพัก เสียบเข้าไปใหม่ พบว่าปัญหาหายไป
ชิป (Chip) หรือไมโครชิป (Microchip) คือ โมดูลขนาดเล็กที่ซับซ้อนสามารถเก็บข้อมูล หรือเป็นวงจรทางตรรกะของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งชิปไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor Chip) ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง คือ Core i7 พัฒนาโดยบริษัท Intel ส่วนอันดับสองคือ Bulldozer พัฒนาโดยบริษัท AMD
ซิมการ์ด (SIM = Subscriber Identity Module Card) คือ แผ่นพลาสติกขนาดสี่เหลี่ยมเล็กที่บรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือชิปไว้ ปลายข้างหนึ่งมีรอยตัด ถูกใช้สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายในชิปของซิมการ์ดใช้บรรจุข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลเจ้าของ หมายเลขของผู้ติดต่อ และบริการที่เลือกไว้

คดีปราสาทพระวิหาร ไทยเสียดินแดน

คดีปราสาทพระวิหาร ไทยเสียดินแดน
คดีปราสาทพระวิหาร ไทยเสียดินแดน

11 พ.ย.2556 เวลา 16.00น. ตามเวลาในประเทศไทย มีการอ่านคำพิพากษาการตีความคดีปราสาทพระวิหาร โดยศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และโมเดิร์นไนน์ทีวี

ทั้งนี้ ในช่วงแรกผู้พิพากษาระบุถึงข้อพิพาทใน 3 แง่ อันเป็นเหตุผลให้ศาลต้องตีความคำพิพากษาในปี 2505 คือ
1.คำพิพากษาในปี 2505 (ค.ศ.1962) มีผลผูกพันถึงเขตแดนของสองประเทศหรือไม่
2.ความหมายหรือขอบเขตของบทปฏิบัติการในคำพิพากษาปี 2505 ที่ระบุให้ปราสาทเป็นของกัมพูชา
3.พันธะผูกพันในการถอนกำลังของฝ่ายไทย

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140416

ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ศาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตีความบทปฏิบัติการ ศาลจึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 ทั้งปฏิเสธการที่ประเทศไทยกล่าวอ้างว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความคำพิพากษาเพิ่มเติม

ต่อมา นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า จากคำพิพากษาดังกล่าว ถือว่าศาลมีอำนาจตีความคำพิพากษาปี 2505 อย่างไรก็ตาม จากคำพิพากษานี้ ไทยไม่ได้เสียพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และไม่ได้เสียพื้นที่ภูมะเขือ แต่เสียพื้นที่เล็ก ๆ บริเวณรอบปราสาท ซึ่งจะต้องมีการวัดพิกัดกันต่อไป และไม่ได้มีการรับรองแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ตามภาคผนวก 1 นอกจากนี้ศาลได้แนะนำให้ทั้งสองฝ่ายดูแลพื้นที่ร่วมกัน

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140517