แลกเปลี่ยนเรื่องมะเร็ง กับวิตกจริตจนเกินปกติ

หลอดขาดเปลี่ยนได้ มีอะไหล่เพียบ แต่ร่างกายบางชิ้นส่วนก็เปลี่ยนไม่ได้
หลอดขาดเปลี่ยนได้ มีอะไหล่เพียบ แต่ร่างกายบางชิ้นส่วนก็เปลี่ยนไม่ได้

22 ส.ค.58 มีโอกาสไปทำงานที่แจ้ห่ม ระหว่างทางก็นั่งคุยกับโซเฟอร์
ครั้งนี้โซเฟอร์เป็นหญิงสาว ชื่อ จ. ขาไปเราก็คุยเรื่องสุนัขที่บ้าน
ของผมประสบการณ์น้อย เพราะเป็นตัวแรก แต่ของ จ. เลี้ยงมาหลายตัวแล้ว
จากไปก็หลายตัวแล้ว ผมคุยแบบหาข้อมูล เผื่อต้องประสบเหตุแบบเดียวกัน

ขากลับคุยไปในแนวสุขภาพ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง
จนเข้าเรื่องสุขภาพของตนเอง ที่เฉลยเหตุผลว่าทำไมผมปฏิเสธช่วยงาน ตจว.
ทั้งที่ยังหนุ่มยังน้อย
จากนั้นก็ต่อด้วยการแบ่งปันเรื่องของสุขภาพในครอบครัว
เพราะคนที่บ้านผมก็มีปัญหา .. คุณพ่อก็มะเร็งลำใส้ คุณยายก็มะเร็งตับ
แต่ของคุณ จ. มีประสบการณ์ เรื่องมะเร็งเยอะกว่าผมมาก
ผมห่วงเรื่องมะเร็งลำใส้ ในแบบวิตกจริต
ส่วนคุณ จ. ก็ห่วงแบบ Angelina Jolie
แต่ไม่หนักเท่าดาราสาวสวยคนนั้นนะครับ แลกเปลี่ยนจนถึงบ้านเลย
ซึ่งไม่บ่อยที่จะได้พูดคุยเรื่องโรคภัยใกล้เจ็บ และแลกเปลี่ยนเรื่องมะเร็งกับเพื่อน
สรุปว่า .. เพื่อน ๆ ควรไปตรวจสุขภาพละเอียดปีละครั้งนะครับ
.. ถ้ายังปกติอยู่
ถ้าเพื่อน ๆ ติดตามข่าวดาราสาวคนนี้ ก็คงจะรู้ว่า
เธอรับการผ่าตัดเอารังไข่และท่อนำรังไข่ออกป้องกันมะเร็งรังไข่
http://www.voathai.com/content/angelina-surgery-nm-25mar15/2694933.html
และผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันโรคมะเร็ง แม้ขณะนี้เธอจะยังปลอดจากโรคร้ายนี้
http://www.voathai.com/content/health-jolie-breast-cancer-nm/1662760.html

บางทีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ดูไม่ออก เห็นอยู่กับตาแต่ไม่รู้
อย่างเช่นหลอดไฟเบรคท้ายด้านซ้ายของผมไม่ออก
หยิบหลอดออกมาดูตั้งนานก็ไม่รู้ว่าขาดรึเปล่า
แต่เห็นว่าหลอดดำ ๆ แสดงว่าเสียแล้ว ไปซื้อของใหม่มาเปลี่ยน 30 บาท
อย่างหลอดไฟขาดเราเปลี่ยนได้ไม่ยาก แต่ร่างกายเราจะเปลี่ยนแต่ละชิ้นไม่ง่ายเลย
มีหลายชิ้นส่วนในร่างกายเราที่เปลี่ยนไม่ได้นะครับ


เพลง ซ่อมได้ ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์

โคมยี่เป็ง กับสามคำ “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”

27 พ.ย.56 หลังเทศกาลปล่อยโคมช่วงงานลอยกระทง หรือล่องสะเปา
ตามประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อของชาวล้านนา
ก็มีประเด็นเรื่องการปล่อยโคมในภาพยนตร์
ซึ่งชาวล้านนาไม่สบายใจนัก ที่เห็นการปล่อยโคมแบบพิศดาล
ที่คาดไม่ถึงในเรื่อง “โอ้! มายโกส ต์คุณผีช่วย”

โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา
โคมยี่เป็งกับ 4 คูหา

สำนักข่าวนอร์ทพับบลิคนิวส์
14 พ.ย.2556 รองปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ปี 2556
กำหนดแนวคิดว่า แอ่วยี่เป็งเจียงใหม่ ปลอดประทัดยักษ์ ไร้แอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ยังรณรงค์ให้งดปล่อยโคม ทั้งโคมควันและโคมไฟ
หรือหากต้องการปล่อย ต้องใช้โคมที่ได้มาตรฐานและปล่อยตามเวลา
ที่ไม่กระทบต่อระบบการบินและอากาศยาน
คือ หลังเวลา 21.00น. เป็นต้นไป
http://www.northpublicnews.com/?p=3854

ลดปล่อยโคม
ลดปล่อยโคม

โคมลอย ลอยทำไม ลอยเพื่อใคร
ที่มาของการจุด “โคมลอย” หรือที่คนล้านนาโบราณเรียกว่า “ว่าวไฟ” “ว่าวควัน” หรือ “ว่าวลม” (ว่าวฮม) นั้น
จุดประสงค์ดั้งเดิมที่แท้จริงหาใช่เพื่อความรื่นเริงบันเทิงไม่
หากแต่จุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายแด่พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาด้วยพระขรรค์เพื่อดำรงสมณเพศ ณ ริมฝั่งอโนมานทีนั้น
พระอินทร์ได้นำพระเกศธาตุหรือมวยผมของพระองค์ก่อนจะบรรลุธรรมมาเก็บรักษาไว้ให้ห่างไกลจากมนุษยโลก
เนื่องจากเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ บรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่งมีชื่อว่า “จุฬามณี” หรือ “จุฑาศรี”
และเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดจะมารวมตัวกันอยู่ในพระเจดีย์จุฬามณีเป็นหนึ่งเดียว

โคมลอยฟ้านั้น ชาวสยามในราชสำนักเริ่มรู้จักมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๖
เพราะเป็นคำที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (หมายเหตุไม่ได้พิมพ์ผิด หนังสือเล่มนี้ใช้ “ศรับท์” แทน “ศัพท์”) หรือนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า พจนานุกรมภาษาสยาม ที่ ดร.แดน บีช แบรดเลย์ จัดพิมพ์ขึ้น
(Dictionary of the Siamese Language by Dr.Dan Beach Bradley
, Bangkok 1873) โดย “หมอบรัดเล” เรียกโคมลอยว่า Balloon
และอธิบายว่า โคมลอย คือ ประทีปเครื่องสำหรับจุดไฟในนั้นให้สว่าง แล้วควันไฟก็กลุ้มอบอยู่ในนั้น ภาโคมให้ลอยขึ้นไปได้บนอากาษ (หน้า ๑๐๕)

ความนิยมจุด “โคมลอย” ทุกวันนี้ มีกันจนเฝือ แทบจะทุกงานประเพณีบุญ แพร่ลามมาถึงทุกงานเลี้ยงขันโตก
มีอยู่ช่วงหนึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือเวียนถึงผู้ว่าราชการแปดจังหวัดภาคเหนือตอนบน สั่งเตือนชาวให้ล้านนาเพลา ๆ
เรื่องการจุดโคมลอยให้น้อยลงหน่อย หรือหากงดจุดไปเลยได้ก็จะยิ่งดี
ข้ออ้าง คือ หาว่ามารบกวนวิถีการบินทำให้เครื่องบินเกิดอันตราย อันเป็นที่มาของการลุกฮือขึ้นประท้วงโดยชาวล้านนา
พร้อมกับคำถามแทงใจดำที่ว่า “ระหว่างเครื่องบินกับประเพณีการจุดโคมลอยของชาวล้านนาที่มีมาหลายร้อยปีแล้ว
ใครที่ควรเป็นฝ่ายถอย หากจะห้ามไม่ให้พวกเราจุดโคมลอย ควรไปห้ามไม่ให้มีเที่ยวบินน่าจะง่ายกว่า”
เหตุการณ์ขัดแย้งนั้นค่อนข้างรุนแรงอยู่หลายปี นำมาซึ่งกฎระเบียบมากมายในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ
เช่น การกำหนดระยะเวลาการจุดโคมลอยว่าให้สามารถกระทำได้ในระหว่างช่วงเวลาใดและสถานที่ไหนบ้าง
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตรงกับช่วงที่เครื่องบินจะเหินฟ้าออกจากท่าอากาศยาน เป็นที่ทราบกันดีว่า
ช่วงหัวค่ำระหว่างหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่มนั้นเป็นช่วงที่สายการบินชุกที่สุด แถมยังเป็นช่วงที่คนนิยมจุดโคมลอยมากที่สุดอีกเช่นกัน
แล้วใครควรเป็นฝ่ายถอย
วุ่นวายถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันการศึกษาหลายสำนัก ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแม่โจ้
ต่างก็ใช้วิกฤติที่กำลังขัดแย้งอยู่นั้นให้เป็นโอกาส ด้วยการแข่งขันกันออกแบบโคมลอยชนิดที่เวิร์คที่สุด
อาทิ สามารถเผาไหม้ในตัวเองภายในระยะเวลาไม่เกินกี่นาที หรือเมื่อลอยไปปะทะกับเครื่องบินแล้ว
จะไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน เป็นต้น

อย่างไรเสีย ชาวล้านนายังคงยืนกรานแน่นหนักว่า “ไม่เลิก ไม่รอ ไม่รับ”
(ไม่เลิกจุดโคมลอย ไม่รอเวลาว่ากี่ทุ่มถึงกี่ทุ่ม และไม่รับรูปแบบโคมประยุกต์ที่ทางการกำหนดให้จุดได้เท่านั้น)
http://goo.gl/F1uNDP
จาก note ของ https://www.facebook.com/pensupa.sukkatajaiinn/notes