เข้าอบรมทักษะการคิดแบบวิจัย

นักวิจัยส่วนหนึ่งที่ร่วมกิจกรรม

29 พ.ค.53 สถาบันนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้ชุมชนจัดอบรมทักษะการคิดแบบวิจัย ที่ สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 ลำปาง วันเสาร์ที่ 29 พ.ค.53 นำโดยคุณอัญมณี แสงแก้ว (โบว์) คุณภัทรา มาน้อย (จิ๋ม) และคุณรัตติกร บุญมี (จิ๊บ) เป็นกิจกรรมที่ 3 ใน 7 กิจกรรมตามแผนของปี 2553 คือ 1) เทคนิคการวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 2) วิทยากรกระบวนการ 3) ทักษะการคิดแบบวิจัย 4) การวาดเพื่อการสื่อสาร 5) การเขียนโครงการเพื่อขอรับทุน 6) การทำแผนที่ทางสังคม 7) สุนทรียสนทนา
     นอกจากกิจกรรมวิชาการที่ให้แนวการวิเคราะห์งานไว้ 4 ประเด็นคือ ปรากฎการณ์ รูปแบบ โครงสร้าง และแบบจำลองความคิด และองค์ประกอบของบ้านแล้ว ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการคิดแบบวิจัย อาทิ วาดจักรยาน เดินเท้าชิด และแม่น้ำพิษ ส่วนโครงการใหม่ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้คือ กลุ่มนักวิจัยวัดปงสนุก และกลุ่มนักวิจัยน้ำห้วยปุ๊
     มีโอกาสแลกเปลี่ยน กับนายกอบต. ท่านสนใจจัดทำสื่อมัลติมีเดียของตำบล ผมจึงแนะนำ กรกับปราง ที่ทำงานวิจัยจัดทำสื่อวีดีทัศน์บ้านไหล่หิน ได้ติดต่อกับท่านนายก และในเวทีนี้ คุณภัทรา ได้ฉายวีดีโอที่กรกับปรางจัดทำ ให้เพื่อนในทีมวิจัยได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยของบ้านไหล่หิน .. ก็หวังว่า กรกับปราง จะเข้าไปขยายงานในชุมชนนี้ได้สำเร็จ

เวทีสรุปบทเรียนปี 2552 สกว.ลำปาง

15 ต.ค.52 วันนี้ได้ร่วมเวที “ฮู้แฮง แป๋งฮ่อม ต้อมกำกึ๊ด เครือข่ายสถาบันการศึกษากับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ณ ห้องประชุมบัวตอง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มีผมกับอ.กฤตภาส เสมอพิทักษ์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุน ร่วมเสวนาจากทั้งหมด 16 คนบนเวที โดยผู้ร่วมเวทีมีเป้าหมายมาจากมหาวิทยาลัยที่มีรับทุนในลำปาง 4 สถาบันเป็นหลัก ได้แก่ 1)มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 2)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 3)มหาวิทยาลัยโยนก 4)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์วิหาร โดยแบ่งกลุ่มการเสวนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)การเรียนรู้ตลอดชีวิต/การศึกษานอกระบบ 2)การศึกษาระดับประถม/มัธยมศึกษา 3)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbr-cbpus 4)การศึกษาระดับอุดมศึกษา-cbmag
     เวทีนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ได้แก่ 1)เพื่อนำเสนอความเชื่อมโยงขององค์ความรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ถูกนำไปใช้ในด้านการศึกษาและรูปธรรมที่เกิดขึ้น 2)เพื่อกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกับเครือข่ายการศึกษาในอนาคต
     กิจกรรมภาคเช้า คุณภัทรา มาน้อย ชวนนักวิจัย 16 คนบนเวทีได้เล่าถึงกลไก บทเรียนและการนำไปใช้ในด้านการศึกษา แล้วผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่านออกมาให้ข้อเสนอแนะถึงการพัฒนาชุมชนในยุทธศาสตร์การศึกษาท่านสุดท้ายคือ ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ พักกลางวันพบว่ามีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งหมดกว่า 6 ท่าน และนักศึกษาคณะวิทย์ที่รับทุน cbpus คือ กร กับปราง ภาคบ่าย คุณกฤษฎา เขียวสนุก(บอย-ศิษย์เก่า) เล่าภาพความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในเวทีช่วงเช้า ต่อจากนั้นก็มีการเปิดเวที โดยอาจารย์จากโยนกหลายท่านเข้าร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งนำโดย อ.ศิรดา ชัยบุตร และอ.วิเชพ ใจบุญ ประเด็นเสวนาที่ชัด คือ 1)มหาวิทยาลัยลำปาง 2)co-fund, co-working 3)training 4)วารสารวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่แนวว่าจะได้รับงบจากคลังสมอง 5)โค้ช coach ตีพิมพ์งานวิจัยระดับชาติ