ทดสอบการทำงานกับแฟ้มขนาด 1 ล้านไบท์

หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ
หน้าตาเว็บเพจที่ทดสอบ

ได้มีการเขียนเว็บเพจ และใช้ java script มา 4 เว็บเพจ ทุกเว็บเพจมีขนาด 1 ล้านไบท์เท่ากัน
เพื่อทดสอบการใช้เวลา download ของ script แต่ละเว็บเพจ
ทดสอบใน firefox, chrome และ ie มีประเด็นที่สนใจดังนี้
1. เปิด และปิด script ในเว็บเพจ มีผลอย่างไร
2. การ refresh ของแต่ละ browser เมื่อใช้ no-cache แตกต่างกันหรือไม่

โดยใช้ javascript ในการประมวลผลเวลาของแต่ละหน้า ผลการทดสอบที่น่าสนใจ ดังนี้

การทดสอบที่ 1 พบว่า การส่งค่าผ่าน url จะทำให้ load เว็บเพจทั้งหน้าใหม่
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillion.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6186 millseconds
เมื่อคลิ๊กลิงค์ Reload แบบส่ง get ใหม่ ใช้เวลาไป 9784 milliseconds
แต่ถ้า Refresh ผ่าน browser จะเรียก script เดิมจากใน cache ใช้เวลา 23 milliseconds

การทดสอบที่ 2 พบว่า การทำงานใน script เดียว ตั้งแต่ต้นถึงท้าย script จะใช้เวลาน้อยมาก
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv1.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 4 millseconds ซึ่งไม่ได้สะท้อนเวลาจริง
เมื่อเปลี่ยนเป็น Reload หรือ Refresh แบบใด ก็ใช้เวลาเท่าเดิม
เพราะทั้งเว็บเพจมีคำว่า script คำเดียว ทุกอย่างอยู่ใน script เดียว หรือ thread เดียว
ไม่มีการเปิดปิด tag script หลายครั้ง เป็นการทำงานใน thread เดียวกัน
จึงได้เวลาจากการประมวลผลตั้งแต่ต้น thread ถึงท้าย thread ไม่แตกต่างกันมากนัก

การทดสอบที่ 3 พบว่า เป็นการทดสอบที่ยืนยันผลของการทดสอบที่ 1
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv2.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 6077 millseconds
ใช้เทคนิคว่า การเปิด tag script ต้นแฟ้ม และปิดทันที เพื่อบันทึกเวลาเริ่มต้น
แล้วเปิด tag script ท้ายแฟ้ม เพื่อประมวลเวลา และแสดงผล
จะแสดงเวลาที่ใช้ ในการ load เว็บเพจ ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
คือ ใช้เวลาประมาณ 6 วินาที หรือ 6000 millisecond ต่อการ load หนึ่งครั้ง
แต่ถ้าโหลดจากใน cache ของ browser ก็จะใช้เวลาน้อยมาก คือ ไม่กี่ millisecond

การทดสอบที่ 4 พบว่า เป็นการทดสอบโดยเพิ่ม no-cache ที่ header
ว่า <meta http-equiv=”cache-control” content=”no-cache”>
เปิดเว็บเพจ http://www.thaiall.com/html/onemillionv3.htm ครั้งแรก
ใช้เวลาไป 9562 millseconds
ให้ผลเหมือนกับกรณีทดสอบที่ 1 เมื่อทดสอบบน firefox และ chrome
แต่บน ie (internet explorer) 11
การ refresh ของ browser ใช้เวลา 3776 milliseconds หรือประมาณนี้
สรุปว่า ie ยอมรับคุณสมบัติ no-cache ทำให้การ refresh จะ load ข้อมูลมาใหม่ทุกครั้ง
และการ force reload ด้วยการกด Ctrl-F5 สามารถใช้ได้กับทุก browser ที่ทดสอบ

สรุปว่า การเปิดปิด script หลายครั้ง มีผลแตกต่างกับการเปิดครั้งเดียว
การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บเพจ
และคุณสมบัติ no-cache ก็ใช้ได้กับบาง browser เท่านั้น ไม่ควรไว้วางใจ
และการโหลดภาพไม่มีผลต่อเวลาในการโหลดเว็บเพจ เพราะแยกส่วนกันชัดเจน

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.