ขโมยไฟฟ้าขององค์กรใช้ส่วนตัว

phone charger

27 เม.ย.53 มีเพื่อนตำหนิผู้เขียนว่า การทำชั่วนั้นลบล้างด้วยความดีไม่ได้ ครั้งหนึ่งผู้เขียนลืมชาร์จไฟฟ้าเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงนำไปชาร์จต่อที่ทำงาน เพราะคิดว่านักศึกษาอาจโทรศัพท์เข้ามาติดต่อ แต่มีเสียงเข้าหูว่า “คุณกำลังขโมยไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยใช้ โทษขโมยมีผลเป็นความผิดทางวินัย” แต่ผมก็โต้กลับไปว่า “นิดหน่อยคงไม่เป็นไรมั้ง” .. แต่จะน้อยหรือจะมาก ก็เป็นความผิดทางวินัยเช่นกัน คำว่าขโมยนั้นมีความผิดระบุในทุกองค์กร มักมีโทษสูงสุดถึงขั้นไล่ออก แต่ผมก็แก้ตัวไปน้ำขุ่น ๆ ว่าก็มีโทรศัพท์เพื่อใช้ทำงานในองค์กรนั่นหละ แล้วเขาก็ย้อนกลับมาว่า “แล้วไหนล่ะหลักฐาน” ..
     แต่ผมยั้งคิดได้ว่าการโต้กลับไปเรื่องลายลักษณ์อักษรคงไม่ใช่ทางออกที่ดี .. เพราะความจริงก็คือความจริง ที่ผมแอบใช้ไฟฟ้าขององค์กรชาร์จโทรศัพท์มือถือ ไม่สำคัญว่าจะทำเพื่ออะไร จะมีฐานะในองค์กรเป็นใครก็คงไม่มีสิทธิขโมยของมาใช้ส่วนตัว ดังคำว่าขุนนางทำผิด มีโทษเท่าสามัญชน .. ต่อให้เป็นประธานาธิบดีทำผิด สำหรับผมแล้วก็คงไม่ต่างกับสามัญชน .. ตั้งแต่นั้น ผมก็จะไม่นำโทรศัพท์ไปชาร์จที่มหาวิทยาลัยอีก เพราะเป็นความผิดที่ต้องรู้จักการละอายแก่ใจ ดังคำว่ามีหิริโอตัปปะ .. ก็เรียนมาซะสูงแล้วไม่ใช้ความรู้ก็เสียสิครับ
+ ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ .. ก็ผมคนไทยนี่ครับ
+ ขอให้รู้ว่าอย่างไร .. ผมก็เข้าข้างคนไทย

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

2 thoughts on “ขโมยไฟฟ้าขององค์กรใช้ส่วนตัว”

  1. แบบนี้อีกหน่อยผมก็ชาร์ตแบตที่ทำงานไม่ได้แล้วสิครับอาจารย์ โค๊ะ

  2. ขึ้นกับนโยบาย วินัย และความสมเหตุสมผล ผมเห็นคนนั่งเล่นเกมตอนประชุมเรื่องสำคัญออกบ่อย แต่ผมก็ไม่พูดอะไร เคยเผลอแสดงความรู้สึกต่อหน้าเขาไปครั้งหนึ่ง เพราะไม่คิดว่าจะมีคนแบบนี้ในองค์กรด้านการศึกษา (แต่ดีนะครับที่ผมเฉไฉไปเรื่องอื่นได้) .. ผมว่าการอบรมสั่งสอนในอดีตมีผลต่อพฤติกรรมในปัจจุบัน และจะติดตัวไปในอนาคต .. แต่เชื่ออย่างหนึ่งว่าทุกอย่างเปลี่ยนได้ครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.