ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ไอแซคสัน

ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ไอแซคสัน 9786165154147
ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ไอแซคสัน 9786165154147

หน้าก่อนหน้า ix
ข้อความในจดหมายที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขียนถึงลูกชาย เอดูอาร์ด ไอน์สไตน์
ว่า “ชีวิตเหมือนการขี่จักรยาน
ถ้าไม่อยากล้ม ลูกต้องขี่ไปข้างหน้าเรื่อย ๆ อย่าหยุด

ได้หนังสือ ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ไอแซคสัน
Albert Einstein by Walter Isaacson
ชีวประวัติ และจักรวาล (ฉบับสมบูรณ์)
His Life and Universe

ที่แปลโดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ และคณะ
ซึ่ง อ.อัศนีย์ ณ น่าน รับประสานให้บุคลากร และจัดซื้อราคาพิเศษ
ราคาตามปกคือเล่มละ 495 บาท
ได้หนังสือวันที่ 9 เม.ย.56
หนังสือพิมพ์ครั้งแรก มี.ค.56
ในเล่มภาษาอังกฤษนั้น พิมพ์ครั้งแรก เม.ย.50
เล่มแปลมีเลขหน้าถึงหน้าที่ 763 จากทั้งหมด 816 หน้า
มีทั้งหมด 25 บท เขียนคำนิยมโดย

1. ว.วชิรเมธี มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์
2. ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
3. คุณสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการ

เล่มนี้ isaacson เขียนเสร็จก่อนเล่ม Steve Jobs
แต่สำนักพิมพ์ Nation books แปลเล่มของ Steve Jobs ก่อน
แล้วตามมาด้วยการแปลเล่มนี้

สารบัญ
บุคคลสำคัญในเรื่อง
บทที่ 1 บุรุษผู้ท่องไปกับลำแสง
บทที่ 2 วัยเด็ก, ปี 1879 – 1896
บทที่ 3 ซูริกโพลีเทคนิค , ปี 1896 – 1900
บทที่ 4 คู่รัก, ปี 1900 – 1904
บทที่ 5 ปีมหัศจรรย์: ควอนตัม และโมเลกุล, ปี 1905
บทที่ 6 ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ, ปี 1905
บทที่ 7 ความคิดอันแสนสุข, ปี 1906 – 1909
บทที่ 8 ศาสตราจารย์ผู้ร่อนแร่, ปี 1909 – 1914
บทที่ 9 ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป, ปี 1911 – 1915
บทที่ 10 หย่า, ปี 1916 – 1919
บทที่ 11 เอกภพของไอน์สไตน์, ปี 1916 – 1919
บทที่ 12 ดังกระฉ่อน, ปี 1919
บทที่ 13 ไซออนิสต์พเนจร, ปี 1920 – 1927
บทที่ 14 รางวัลโนเบล, ปี 1921 – 1927
บทที่ 15 ทฤษฎีสนามรวม, ปี 1923 – 1931
บทที่ 16 เข้าสู่วัย 50, ปี 1929 – 1931
บทที่ 17 พระผู้เป็นเจ้าของไอน์สไตน์
บทที่ 18 ลี้ภัย, ปี 1932 – 1933
บทที่ 19 สหรัฐอเมริกา, ปี 1933 – 1939
บทที่ 20 การพัวพันเชิงควอนตัม, ปี 1935
บทที่ 21 ระเบิดปรมาณู, ปี 1939 – 1945
บทที่ 22 พลเมืองของโลกเพียงหนึ่งเดียว, ปี 1945 -1948
บทที่ 23 เด่นดัง, ปี 1948 -1953
บทที่ 24 หวาดกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์, ปี 1951 -1954
บทที่ 25 วาระสุดท้าย, ปี 1955
บทส่งท้าย สมองและความคิดของไอน์สไตน์

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก “การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี”

http://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Einstein

http://bit.ly/14IVcmx
http://www.se-ed.com/eShop/Products/ProductList.aspx?CategoryId=5408&AspxAutoDetectCookieSupport=1

นางสาวไทย และ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส

Miss Thailand Universe
Miss Thailand Universe

มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส (Miss Thailand Universe) เป็นเวทีการประกวดความงามระดับประเทศที่มีมาตรฐานสากล จัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2543 (2000) เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ได้ดำเนินการจัดขึ้น เพื่อสรรหาสาวไทย ที่มีความงาม มีกริยามารยาทที่งดงามแบบไทย มีความคิดอ่าน เฉลียวฉลาด ทันสมัย มั่นใจในตนเอง และเหมาะสมที่จะรับหน้าที่ในนามตัวแทนประเทศไทยไปสู่การประชาสัมพันธ์ และ สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันดีงาม ให้กับประเทศผ่านกิจกรรมการประกวดระดับโลก เช่น การประกวดนางงามจักรวาล Miss Universe, Miss Earth, Miss Asia Pacific, และ Miss Tourism world เป็นต้น
ช่อง 7 สี ได้รับสิทธิ์อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย จาก Miss Universe L.P., LLLP ในการค้นหาสาวงามเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส (Miss Universe 2011)
http://mtu.ch7.com/history.aspx

การประกวดนางสาวไทย
ครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยรัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ใช้ชื่อในการประกวดครั้งนั้นว่า “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยเสมือน เป็นกิจกรรมที่สืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอดทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 เป็นกิจกรรมของทางราชการโดยหน่วยงานราชการผู้จัดและรับผิดชอบ คือกองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย การจัดการประกวดนางสาวไทยในสมัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การประกวดเป็นสื่อด้านความบันเทิง ดึงดูดความสนใจให้ประชาชนมาเที่ยวงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายต้องการส่งเสริมฐานะสตรีให้เท่าเทียมอารยประเทศและมีบทบาทในการช่วย เหลือสังคม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงใช้เวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นสื่อในการสนับสนุนนโยบาย รัฐนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องแต่งกาย ของผู้เข้าประกวดในยุคแรก ดังนี้
พ.ศ. 2477 ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า
พ.ศ. 2482 ผู้เข้าประกวดแต่งกายชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า
พ.ศ. 2483 ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลัง
พ.ศ. 2493 ผู้เข้าประกวดสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวด

การประกวดนางสาวไทย
ยุคที่ 1 ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “ นางสาวสยาม ” จำนวน 5 คน และ “ นางสาวไทย ” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “ สยาม ” ให้ใช้คำว่า “ ไทย ” แทน ดังนั้นการประกวด “ นางสาวสยาม ” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “ นางสาวไทย ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2493 – 2497) ปี 2497 เป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยได้ถูกยกเลิกการจัดไปพร้อมกับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 – 2515) ปี 2504 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด “ นางงามวชิราวุธ ” ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว และอีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์
จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการจัดประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงามระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการ ประกวด “ นางสาวไทย ”
การประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 3 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสร้างภาพพจน์ให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2527 – 2542) การจัดการประกวดนางสาวไทยในปีที่ผ่านมาสื่อมวลชนและเทคโนโลยีการสื่อสาร มีบทบาทโดยตรงต่อการประชาสัมพันธ์การจัดการประกวดนางสาวไทย ในยุคแรกสื่อมวลชนที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์การประกวด ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียง ในส่วนของทางสถานีโทรทัศน์นั้น เริ่มมีการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยทางสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2508 ในงานวชิราวุธานุสรณ์ โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทยได้ทำการทดลองแพร่ภาพถ่ายทอดสด ให้ผู้ชมที่อยู่ต่างจังหวัดได้รับชมการประกวดนางสาวไทย
ในปี 2526 บริษัทมิสยูนิเวิร์สซึ่งเป็นบริษัทจัดการประกวดนางงามจักรวาล ได้เดินทางมาดูสถานที่ในประเทศไทยเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการจัดการประกวด นางงามจักรวาลขึ้นในประเทศไทย โดยในขณะนั้น คุณชาติเชื้อ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปภัมถ์ จึงได้รื้อฟื้นการจัดขึ้นอีกครั้งในปี 2527 ในงานเทศกาลพัทยา ครั้งที่ 3 ณ เมืองพัทยา โดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และด้วยความร่วมมือสนับสนุนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดการประกวดนางสาวไทยในยุคนี้ นับเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อคัดเลือกสาวไทยเป็นตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีนางสาวไทยมาแล้วถึง 36 คน โดยสตรีไทยผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยได้ปฏิบัติภาระกิจต่างๆเพื่อประชา สัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักกับนานาประเทศ นับได้ว่าเวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นเวทีแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่าของสตรี ไทย
ยุคที่ 5 ( พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา) สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบสิทธิ์ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที, การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลคะแนน, การวัดระดับ IQ และ EQ ตลอดจนการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มแบบสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวดมาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน
นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกของภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง “ ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ” ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไปยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มี สำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ คือ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ (ทีไอทีวี) ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า กรมประชาสัมพันธ์จะเป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทของนางสาวไทยในยุคที่ 5 ให้มีศักยภาพที่สูงยิ่งขึ้นจากเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ
http://www.missthailandcontest.com