ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559
ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ เข้ารอบนางสาวไทย 2559

https://www.facebook.com/nathida.kluiphiromrat
ทุก ๆ  ปีจะมีการประกวดนางสาวไทย ในประเทศไทย
http://www.missthailandofficial.com/
แล้วปีนี้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่ได้เข้ารอบ 34 คนสุดท้าย คือ
น้องแตงกวา นางสาวณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์ (Nathida Kluiphiromrat)
นักศึกษานิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา

เชิญชวนชาวเนชั่น ให้กำลังใจในการประกวดนางสาวไทยปีนี้


เมื่อมีนาคม 2015 น้องแตงกว่าเข้ารอบ 25 คนสุดท้าย
ของการประกวด Miss Motor Show Thailand
https://www.facebook.com/MissMotorshowThailand/photos/t.100000432666727/789338437782795/

ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์
ณธิดา ขลุ่ยภิรมย์รัตน์

เข้ารอบนางสาวไทย 34 คนสุดท้าย
การประกวด นางสาวไทย 2559
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1195076070516804&set=a.385463871478032.97213.100000432666727

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016
Nathida Kluiphiromrat ใน Missthailand2016

https://www.facebook.com/missthailandofficial/photos/a.275202056163519.1073741846.255567001460358/275202216163503/

นางงามพม่าก็เป็นผู้หญิงที่มีอัตตา จึงถูกปลดจากตำแหน่ง

Miss Asia Pacific World 2014
Miss Asia Pacific World 2014

28 ส.ค.57 ฟังข่าวมาว่า เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มนุษย์กลุ่มหนึ่ง
ยกย่องเธอว่า “งามเลิศในเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2014
แต่มนุษย์กลุ่มหนึ่ง ออกแถลงการว่าขอปลด  Miss Asia Pacific World 2014
เธอมีชื่อว่า เม เมียต โน(May Myat Noe) สาวงามจากพม่า
โดยให้เหตุผลว่าเธอมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมมากมาย
ระหว่างการทำหน้าที่ที่เกาหลีใต้ มีข้อหาว่า
โกหก มีทัศนคติไม่ดี ไม่เชื่อฟังกองประกวด ไม่ให้เกียรติกองประกวด
ไม่เคารพผู้จัดการ สื่อ และแฟน
เหมารวมความผิดของแม่ของเธอด้วย ว่าทำผิดกฎหมาย เรื่องการขอวีซ่าเข้าเกาหลีใต้
ซึ่งรวมเป็นเหตุที่ทำให้เธอถูกปลดจากตำแหน่ง

ในหลักคำสอนของมนุษย์กลุ่มหนึ่งบอกว่า การมีอัตตา หรือยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นทุกข์
เธอภาคภูมิใจในตำแหน่งที่ผู้คนยกย่องมากเกินไป จนคิดว่าเธอเหนือกว่าคนอื่น
การแสดงออกว่าเหนือกว่าคนอื่น ทำให้คนอื่นรู้สึกว่าไม่เหมาะสม
ถ้าเธอคิดว่าลาภยศสรรเสริญเป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เที่ยงยั่งยืนไม่มี
และใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังตามเหตุตามควร ก็คงจะรักษาสถานะปัจจุบัน
ที่ใคร ๆ ยกย่องนั้นให้อยู่จนหมดอายุขัยของการยกย่องนั้น ๆ ไปได้

บางทีสิ่งที่อยู่ในใจ ปล่อยให้อยู่ในใจ ไม่ต้องจริงใจจนหมดใจ
แล้วไปออกฤทธิ์ออกเดช แสดงอัตตา แสดงความยึดมั่นถือมั่น
ให้คนอื่นคนไกลเสียความรู้สึก  ก็คงไม่ประสบปัญหาเช่นนั้น
.. บางทีสวมหน้ากากเข้าหากันบ้างก็น่าจะดี นะน้องนางงาม

http://www.nationtv.tv/main/content/foreign/378421878/
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9570000098598

นี่ถ้าเธอดูหนังเรื่อง liar liar ของ jim carry
ก็จะทำให้รู้ว่าการโกหกบ้าง หรือโกหกตลอดเวลาของบางคน
จะทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบรื่น กว่าจริงใจกันทุกวินาที

“ไม่เป็นไร” ไม่ใช่วิสัยของใครทั้งสิ้น ยิ่งปราชญ์ก็ห้ามพูด

"ไม่เป็นไร" ไม่ใช่วิสัยของใครทั้งสิ้น ยิ่งปราชญ์ก็ห้ามพูด
"ไม่เป็นไร" ไม่ใช่วิสัยของใครทั้งสิ้น ยิ่งปราชญ์ก็ห้ามพูด

ตอนสองในบทความเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต”

นักปราชญ์ตั้งแต่ยุคโบราณกาลท่านหนึ่งกล่าวไว้ในทำนองที่ว่า
คุณภาพของงานของใครสักคนหนึ่ง
มาจากนิสัยที่คนนั้นแสดงออกให้ผู้คนได้ประจักษ์

ถ้าเชื่อนักปราชญ์ที่ได้กล่าวถ้อยคำนี้ไว้
ใครก็ตามที่อยากให้คนเชื่อเวลาที่งานการผิดพลาดไปนั้น
ต้องสร้างนิสัยการทำงานที่ส่อให้เห็นคุณภาพให้คนอื่นได้เห็นเป็นประจำให้ได้
ต้องทำเป็นนิสัยไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็แล้วแต่
ถ้าแสร้งทำไม่นานวันก็หลุดอาการไร้คุณภาพมาให้เห็น
คนเห็นความไม่มีคุณภาพในงานของเราสักครั้งสองครั้ง
เครดิตในด้านคุณภาพของเราก็หดหายไปหมด

เครดิตด้านคุณภาพสร้างให้คนอื่นเชื่อได้ยาก แต่ทำลายให้หมดไปได้ง่าย
หนทางเดียวที่จะรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือว่าเราทำงานโดยเน้นคุณภาพไว้ได้
คือทำให้เป็นนิสัย โดยเริ่มต้นจากการลดนิสัย “ไม่เป็นไร” ในการทำงานให้มากที่สุด

(2/3)
จากเรื่อง “พลาดอย่างมีเครดิต” โดย ดร.บวร ปภัสราทร
http://bit.ly/WtjtXG

คนแก่ชอบเล่าเรื่องเก่า

code compare
code compare

คนแก่ ก็ชอบพูดเรื่องเก่า .. วันนี้นั่งย้อนอดีตวัยเด็ก เห็นมนุษย์จำนวนไม่น้อยไปห้างสรรพสินค้า แล้วก็เดินไปที่ตู้หยอดเหรียญ ใช้นิ้วจิ้มไปที่ตู้ หน้าตาก็ดูอิ่มเอิบ ครุ่นคริด หงุดหงิด บางทีก็ทำท่าควักกระเป๋าหาเหรียญเพื่อหยอดลงไปใหม่ สุดท้ายก็มักจบด้วยการเดินคอตก ผละออกจากตู้ไปยังที่ชอบ ที่ชอบของเขาต่อไป

# พอปลอดคน ผมก็เดินไปดูที่ตู้ ถึงรู้ว่าเป็นตู้เกมจับผิดภาพ มีตัวอย่างให้ดู ผมก็ยืนดูตัวอย่างอยู่พักหนึ่ง ถึงรู้ว่าคนเมื่อครู่คงมีความสุขกับเกมจับผิดภาพ ว่าต่างกันอย่างไร อาจเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ก็ได้ ที่มีความสุขกับการจับผิดภาพ พอรู้ว่าผิดตรงไหนก็มีความสุข เมื่อด่านแรกผ่านไป นาฬิกาก็หมุนเร็วขึ้น สุดท้ายก็หมดเวลา ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ที่แต่ละด่านตั้งขึ้นมา
??? มีคำถาม 2 คำถาม ที่คาใจตั้งแต่เด็กถึงปัจจุบัน
1. เล่นไปแล้วได้อะไร มากกว่าจิตที่ไม่สงบ ดีใจ เสียใจ ไปตามเกม
2. เล่นไปแล้วเสียอะไร นอกจากจิตที่มีแต่เศร้าหมองหลังแพ้เกม
>> เข้าเรื่องเลยครับ .. ว่าจะสอนนักศึกษาจับผิด source code เพราะปรับโปรแกรมระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ แล้วคุยกันว่าการเปลี่ยนรุ่นนั้น หรือการแก้โปรแกรมในแต่ละจุดมีเหตุผลอะไรที่ต้องเปลี่ยน

>> แล้วบรรลุตามตัวบ่งชี้ของการพัฒนาโปรแกรม ที่ตั้งไว้หรือไม่
แต่ก่อนอื่นต้องถามว่ากำหนดตัวบ่งชี้ กับเกณฑ์การให้คะแนนไว้อย่างไร

new version : http://dl.dropbox.com/u/50010673/source/a1-7.zip

ภาพความสำเร็จที่ปรากฎในสื่อ กับความจริง กับความฝัน

ภาพความสำเร็จที่ปรากฎในสื่อ กัยความจริง กับความฝัน
ภาพความสำเร็จที่ปรากฎในสื่อ กัยความจริง กับความฝัน

ที่มา
ผมเคยได้ยินว่ามนุษย์ในปัจจุบันบางกลุ่ม .. ยกแก้วเหล้าขึ้นมา แล้วชนกันพร้อมส่งเสียงอย่างมีความสุขว่า จงมีความสุข อายุยืน .. แต่ความจริง คือ สุราทำให้ขาดสติ เสียสุขภาพ ซึ่งเป็นที่มาของความทุกข์ต่อตนเอง และจะเป็นที่มาของความทุกข์ต่อคนอื่น หากขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ .. แล้วดื่มเหล่าจะเป็นสุข หรืออายุยืนได้อย่างไร

ที่ปรากฎในสื่อ
พบในข่าวอยู่เสมอ ว่าการเป็นดารา นักร้อง นักแสดงจะมีค่าตัวสูง ได้เข้าสังคมไฮโซ ได้คู่ชีวิตที่ดีรักจริง หาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตด้วยความสวย ความหล่อ ยิ่งเปิดเผยความสวยเท่าใดก็ยิ่งได้รับความนิยม ได้รับการชื่นชมจากสื่อ ผู้ใหญ่ในแวดวงก็เอ็นดู ได้ค่าตัวสูง เยาวชนบอกว่า นี่คือไอดอล (idol)

ความจริง
การวัดความสำเร็จของทรัพยากรบุคคล เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กลับใช้ฐานคิดเดียว คือ การศึกษา ที่วัดจากความรู้ความสามารถในการทำงาน วัดการว่างงาน วัดรายได้ หรือวัดสมรรถภาพ ทั้งที่ความสำเร็จอาจใช้ฐานคิดเกี่ยวกับ ดารา ดนตรี กีฬา หรืออื่น ๆ มาเป็นปัจจัยได้ .. เพราะเห็นความสำเร็จของ ดารา นักแสดงในทีวี จนผมอยากเปลี่ยนอาชีพไปเป็นพระเอกทุกครั้งที่ได้รับชมข่าว ก็ไม่ทราบว่าเยาวชนไทยจะคล้อยตามสื่อเหมือนผมรึเปล่า

ความฝัน
Thailand Got Talent
Miss Thailand Universe
Miss Motor Show
Sexy Model Award
Top of Actor & Actress

นางสาวไทย และ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส

Miss Thailand Universe
Miss Thailand Universe

มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส (Miss Thailand Universe) เป็นเวทีการประกวดความงามระดับประเทศที่มีมาตรฐานสากล จัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2543 (2000) เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ได้ดำเนินการจัดขึ้น เพื่อสรรหาสาวไทย ที่มีความงาม มีกริยามารยาทที่งดงามแบบไทย มีความคิดอ่าน เฉลียวฉลาด ทันสมัย มั่นใจในตนเอง และเหมาะสมที่จะรับหน้าที่ในนามตัวแทนประเทศไทยไปสู่การประชาสัมพันธ์ และ สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันดีงาม ให้กับประเทศผ่านกิจกรรมการประกวดระดับโลก เช่น การประกวดนางงามจักรวาล Miss Universe, Miss Earth, Miss Asia Pacific, และ Miss Tourism world เป็นต้น
ช่อง 7 สี ได้รับสิทธิ์อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย จาก Miss Universe L.P., LLLP ในการค้นหาสาวงามเข้าร่วมประกวด มิสยูนิเวิร์ส (Miss Universe 2011)
http://mtu.ch7.com/history.aspx

การประกวดนางสาวไทย
ครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยรัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ใช้ชื่อในการประกวดครั้งนั้นว่า “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยเสมือน เป็นกิจกรรมที่สืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอดทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 เป็นกิจกรรมของทางราชการโดยหน่วยงานราชการผู้จัดและรับผิดชอบ คือกองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย การจัดการประกวดนางสาวไทยในสมัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การประกวดเป็นสื่อด้านความบันเทิง ดึงดูดความสนใจให้ประชาชนมาเที่ยวงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายต้องการส่งเสริมฐานะสตรีให้เท่าเทียมอารยประเทศและมีบทบาทในการช่วย เหลือสังคม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงใช้เวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นสื่อในการสนับสนุนนโยบาย รัฐนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องแต่งกาย ของผู้เข้าประกวดในยุคแรก ดังนี้
พ.ศ. 2477 ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า
พ.ศ. 2482 ผู้เข้าประกวดแต่งกายชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า
พ.ศ. 2483 ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลัง
พ.ศ. 2493 ผู้เข้าประกวดสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวด

การประกวดนางสาวไทย
ยุคที่ 1 ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “ นางสาวสยาม ” จำนวน 5 คน และ “ นางสาวไทย ” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “ สยาม ” ให้ใช้คำว่า “ ไทย ” แทน ดังนั้นการประกวด “ นางสาวสยาม ” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “ นางสาวไทย ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2493 – 2497) ปี 2497 เป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยได้ถูกยกเลิกการจัดไปพร้อมกับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 – 2515) ปี 2504 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด “ นางงามวชิราวุธ ” ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว และอีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์
จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการจัดประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงามระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการ ประกวด “ นางสาวไทย ”
การประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 3 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสร้างภาพพจน์ให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2527 – 2542) การจัดการประกวดนางสาวไทยในปีที่ผ่านมาสื่อมวลชนและเทคโนโลยีการสื่อสาร มีบทบาทโดยตรงต่อการประชาสัมพันธ์การจัดการประกวดนางสาวไทย ในยุคแรกสื่อมวลชนที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์การประกวด ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียง ในส่วนของทางสถานีโทรทัศน์นั้น เริ่มมีการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยทางสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2508 ในงานวชิราวุธานุสรณ์ โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทยได้ทำการทดลองแพร่ภาพถ่ายทอดสด ให้ผู้ชมที่อยู่ต่างจังหวัดได้รับชมการประกวดนางสาวไทย
ในปี 2526 บริษัทมิสยูนิเวิร์สซึ่งเป็นบริษัทจัดการประกวดนางงามจักรวาล ได้เดินทางมาดูสถานที่ในประเทศไทยเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการจัดการประกวด นางงามจักรวาลขึ้นในประเทศไทย โดยในขณะนั้น คุณชาติเชื้อ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปภัมถ์ จึงได้รื้อฟื้นการจัดขึ้นอีกครั้งในปี 2527 ในงานเทศกาลพัทยา ครั้งที่ 3 ณ เมืองพัทยา โดยสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และด้วยความร่วมมือสนับสนุนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดการประกวดนางสาวไทยในยุคนี้ นับเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อคัดเลือกสาวไทยเป็นตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีนางสาวไทยมาแล้วถึง 36 คน โดยสตรีไทยผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยได้ปฏิบัติภาระกิจต่างๆเพื่อประชา สัมพันธ์ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักกับนานาประเทศ นับได้ว่าเวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นเวทีแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่าของสตรี ไทย
ยุคที่ 5 ( พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา) สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบสิทธิ์ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที, การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลคะแนน, การวัดระดับ IQ และ EQ ตลอดจนการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์และความคิดริเริ่มแบบสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวดมาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน
นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกของภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง “ ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ” ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไปยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มี สำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ คือ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยู เอช เอฟ (ทีไอทีวี) ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า กรมประชาสัมพันธ์จะเป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทของนางสาวไทยในยุคที่ 5 ให้มีศักยภาพที่สูงยิ่งขึ้นจากเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ
http://www.missthailandcontest.com