หนังไทย พี่มากพระโขนง มีรายได้ 3 ร้อยกว่าล้าน

อันดับหนังทำเงิน เทียบรายการไทยกับฝรั่ง
อันดับหนังทำเงิน เทียบรายการไทยกับฝรั่ง
เห็นปกนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ บอกว่า พี่มากพระโขนง ทำรายได้แซงโกโบริไปมากมาย ก็มากกว่าถึง 10 เท่า ทำให้ผมสนใจว่า คนไทยดูภาพยนตร์เรื่องอะไรกันบ้าง
พบว่า การทำภาพยนตร์ของไทย ใน 30 อันดับ มีหนังประวัติศาสตร์ 7 เรื่อง มีหนังผีระทึก 4 เรื่อง มีหนังบู้ 3 เรื่อง มีหนังตลก และรัก 16 เรื่อง
แต่ไม่รู้จะเทียบหนังไทยกับหนังฝรั่งอย่างไร เพราะปัจจัยของการดูภาพยนตร์น่าจะอยู่ที่คนดู สำหรับประเทศไทย ผมรู้สึกไปเองว่าประเภทของภาพยนตร์ไทยขึ้นอยู่กับผู้สร้าง เพราะผู้ดูก็จะไปดูทุกเรื่องที่มีให้ดู แต่ผู้สร้างไม่ได้สร้างให้ดูก็คงจะไม่เห็นในรายการจัดอันดับหนังทำเงินของไทย เพราะเห็นความแตกต่างระหว่างรายการหลังไทย กับหนังฝรั่ง  แล้วหนังฝรั่งคนไทยก็ดูนะครับ อย่างรายการ top 50 นั่นผมดูแล้วทุกเรื่อง ส่วนหนังไทยยังดูไ่ม่ครบครับ
อันที่จริงมีคำถามในใจ ว่า “ทำไมคนไทยไปดูหนังเรื่องพี่มากพระโขนง มากถึง 3 ล้านคนเลยเหรอ” เพราะรายได้ 300 ร้อยกว่าล้าน ที่ได้จากผู้ชมคนละร้อย ก็น่าจะมีคนชมกว่า 3 ล้านคน
1. สุริโยไท
2. พี่มากพระโขนง
3. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1
4. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2
5. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี
6. ต้มยำกุ้ง
7. ATM เออรัก เออเร่อ
8. บางระจัน
9. นางนาก
10. รถไฟฟ้า..มาหานะเธอ
11. หลวงพี่เท่ง
12. แฟนฉัน
13. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง
14. กวน มึน โฮ
15. สุดเขตสเลดเป็ด
16. มือปืน/โลก/พระ/จัน
17. ลัดดาแลนด์
18. 5 แพร่ง
19. ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ
20. 32 ธันวา
21. องค์บาก 2
22. คุณนายโฮ
23. แหยมยโสธร
24. องค์บาก
25. สตรีเหล็ก
26. แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า
27. สาระแนห้าวเป้ง
28. ก้านกล้วย
29. วงศ์คำเหลา
30. โหน่งเท่ง นักเลงภูเขาทอง

ผลการจัดอันดับในสื่อ (itinlife 367)

ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ
ดัชนีศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษ

3 พ.ย.55 คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบผลการแข่งขันในสื่ออินเทอร์เน็ต เมื่อมีผู้ที่ชนะก็ย่อมมีผู้ไม่ชนะ องค์ประกอบของการแข่งขันมีมากมาย อาทิ กรรมการตัดสิน กองเชียร์ ผู้ร่วมเกม เกณฑ์ประเมิน ช่วงเวลา รายงานผล และผลกระทบที่ตามมา ซึ่งการแข่งขันที่ใกล้ตัวก็เห็นจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ ซึ่งผลจากการเลือกตั้งจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนผ่านการบริหารของผู้ที่เราเลือกเข้าไป ส่วนผลการจัดอันดับที่ไกลตัวคือ การแข่งขันฟุตบอลในต่างประเทศ ที่ถึงแม้จะไกลตัว แต่เวลาฟังเพื่อนคุยเรื่องนี้ทีไรมักรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดระแวกบ้านทุกที

การจัดอันดับในประเทศไทย ย่อมมีทั้งผู้ชนะและผู้ไม่ชนะ ซึ่งเกณฑ์ก็มักจะสร้างขึ้นกันเอง และผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ก็มักได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้าง ปัจจุบันสถาบันการศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างก็ตกอยู่ในภาวะที่ต้องแข่งขัน สถาบันที่ไม่ได้มาตรฐานหรือล้มเหลวในการดำเนินงานก็ต้องปิดตัว เด็กนักเรียนก็ต้องแข่งขันกันพัฒนาตนเองด้วยการเรียนพิเศษเพิ่มเติม ทั้งหลังเลิกเรียนและในวันสุดสัปดาห์ โรงเรียนกวดวิชาก็จะประชาสัมพันธ์ด้วยการนำเสนออันดับผลสอบของศิษย์ และจำนวนนักเรียนที่สอบติดในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ

มีผลการจัดอันดับประเทศไทย ที่รู้แล้วก็ต้องบอกว่าอึ้งไปชั่วขณะ คือ ผลการจัดอันดับศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ในชื่อ EF English Proficiency Index เมื่อปี 2554 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ และปี 2555 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 53 จากทั้งหมด 54 ประเทศ โดยเราชนะประเทศลิเบียประเทศเดียว ส่วนในเอเชียเราอยู่อันดับสุดท้าย และเป็นเพียงประเทศเดียวของเอเซียที่อยู่ในระดับ Very Low Proficiency มีค่า EF EPI เท่ากับ 44.36 ซึ่งทั้งโลกมีสถานะในระดับต่ำมากจำนวน 16 ประเทศ หากต้องการหนีคำว่าสุดท้ายของเอเชีย เราต้องชนะจีน ซึ่งปี 2012 จีนอยู่อันดับที่ 36

http://www.newsenglishlessons.com/1210/121028-esl_speakers.html

http://www.ef.com/__/~/media/efcom/epi/2012/full_reports/EF%20EPI%202012%20Report_MASTER_LR.pdf

http://www.thelocal.se/44062/20121026

31 นโยบายหลักด้านการศึกษา

ศ.ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์  กรุงเทพมหานคร

ศ.ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวให้นโยบายถึงการทำงานในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  โดยได้ขับเคลื่อนการทำงานตาม  “31 นโยบายหลักด้านการศึกษา” ๑) ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ๒) ปฏิรูปการศึกษารอบใหม่  ๓) ปรับเลื่อนวิทยฐานะโยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม  ๔) สอบ O-Net ป.๖ ม.๓ ม.๖ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา  ๕) กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด   ๖) ปฏิบัติธรรม นำการศึกษา   ๗) แท็บเล็ตพีซี เพื่อการศึกษา  ๘) เรียน ม.๖ จบได้ใน ๘ เดือน   ๙) กองทุนตั้งตัวได้   ๑๐) ๑ อำเภอ ๑ ทุน   ๑๑) สื่อสารภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN  ๑๒) เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖  ๑๓) สร้างผู้นำอาเซียน ASEAN Leaders Scholarship  ๑๔) ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingency Loan  ๑๕) ครูมืออาชีพ  ๑๖) ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center   ๑๗) การศึกษาดับไฟใต้   ๑๘) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน OTOP Mini MBA   ๑๙) กระทรวงศึกษาไทย ปลอดภัย ไร้บุหรี่   ๒๐) ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ   ๒๑) อัจฉริยะสร้างได้   ๒๒) อินเทอร์เน็ตตำบลและหมู่บ้าน  ๒๓) คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ   ๒๔) โรงเรียนในโรงงาน   ๒๕) อาชีวะไทย ก้าวไกล ใช้เทคโนโลยี   ๒๖) สร้างพลังครู  ๒๗) หลักสูตรคิดเป็น ทำเป็น   ๒๘) โรงเรียนร่วมพัฒนา   ๒๙) ศูนย์อบรมอาชีวศึกษา  ๓๐) ตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ   ๓๑) เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือน

http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/477/477.aspx

นอกจากนั้นยังได้เน้นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา อาทิ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center ,  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน , โรงเรียนในโรงงาน , การตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ รวมทั้งนโยบายเทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือนแล้ว ได้กล่าวถึงเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะดูแลลูกหลานของพี่น้องประชาชนเหมือนลูกหลานของเราเอง ซึ่งก็คือการ “ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” โดยอธิบายว่าหากเป็นลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร คือให้มองเด็กๆ ให้เป็นลูกหลานของเรา ขณะเดียวกันครูอาจารย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารก็ควรมองให้เป็นเหมือนน้องชายน้องสาว  เพราะว่าผู้บริหารก็เหมือนครูรุ่นพี่ ซึ่งต้องมาช่วยเราสอนลูกของเราให้มีอนาคตมีการศึกษา

นายศักดา  คงเพชร  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า  ตนต้องการให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  สร้างบุคลากรคุณภาพ  ครูและนักศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ  แต่มีความเป็นห่วงว่าเงินงบประมาณ ปี2556  ซึ่งได้น้อยลงจะทำให้การพัฒนาอาชีวศึกษาที่เข้มแข็งทั้งคุณภาพ และประมาณได้มากน้อยเพียงใด ฝากให้ส่วนกลางจัดทำฐานข้อมูลของสถานศึกษาให้ชัดเจนเพื่อช่วยให้การจัดสรรเงินงบประมาณมีความเป็นธรรม  และตรงกับความต้องการมากที่สุด

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประสานงานขอรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นของกลางที่ไม่สามารถใช้งานได้มาเป็นวัสดุฝึก  หรือนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อมาใช้ประโยชน์ การสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีรายได้โดยแปลงทักษะวิชาชีพให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ รวมทั้งต้องเตรียมพร้อมการแข่งขันในประชาคมอาเซียน  โดยเน้นให้เด็กสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ  และภาษาอาเซียน

โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ 10 สิงหาคม 2555