เพลงสังคมก้มหน้า ของ cobrak

social,internet,facebook,instagram
social,internet,facebook,instagram
กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
กลอนแปด บทหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละวรรคมี 8 คำ

เนื้อเพลง สังคมก้มหน้า มีลักษณะคล้ายกลอนแปด
แต่สัมผัสระหว่างวรรค หรือระหว่างบทไม่ตรงตามรูปแบบของกลอนแปด
http://www.tangklon.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%998


บทที่ 1
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 2
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 3
โลกสมัยใหม่ที่ล้ำหน้ากว่ายุค[เดิม] วิ่งตามกันเท่าไรเหมือนกับอยู่ที่[เดิม]
บทนิยามเพิ่มเติมเรียกสังคมก้ม[หน้า] เปิดเผยกันทุกอย่างอวัยวะใต้ร่ม[ผ้า]
บทที่ 4
ห่างกันแค่สองวาก็ต้องคุยด้วยอัก[ษร]  อยากย้อนยุคกลับให้นารายณ์มาปัก[ศร]
บทกลอนพุทธทาสเคยบอกมา[ตลอด] ทำนายไว้ไม่ผิดมันคือยักษ์ตา[บอด]
บทที่ 5
ฮันโหลโซเชียลสังคมบนหน้า[จอ] สร้างภาพบ้าบอมีแต่ติ่งที่บ้า[ยอ]
ทำงานผ่านเน็ตแค่ห้าชั่วโมงต่อ[วัน] กับข้อความลูกโซ่มันน่ารำคาญพอพอ[กัน]
บทที่ 6
เทคโนโลยีไม่สามารถแทนความ[รัก] เขย่าแค่กริกเดียวก็ได้ซั่มกันตาม[นัด]
อินเทอร์เน็ตเข้าเส้นต่อให้ขายรถหรือดาวน์[บ้าน] มือถือต้องติดตัวจะได้ส่องเรื่องชาว[บ้าน]
บทที่ 7
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 8
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 9
อดีตของดวงตาคือหน้าต่างของหัว[ใจ] ยุคนี้มันไม่ใช่แถมยังด่าว่าหนักหัว[ใคร]
เอามีดกรีดมือถ่ายรูปลงไอ[จี] ผอมเห็นถึงซี่โครงโพสต์บอกอ้วนจะทำยังไง[ดี]
บทที่ 10
ถ้าพี่ไลค์มาน้องไลค์กลับไม่โกงร้อยเปอร์[เซ็น] เพื่ออะไรไม่รู้ละสรยุทธมาถกสักประ[เด็น]
ทะเลาะอยู่กับเมียมาโชว์โง่หน้าเฟส[บุ๊ค] ออกมาแฉมาราธอนแทบจะลงกิเนส[บุ๊ค]
บทที่ 11
กินข้าวแค่นี้มาอวดอะไรกันนัก[หนา] โพสต์ทุกการเคลื่อนไหวอันนี้ต้องพาไปรัก[ษา]
หน้าใสฟรุ้งฟริ้งหน้าจริงตาย[สนิท] เซลฟี่ไม่สะใจต้องเสริมไม้เท้ากาย[สิทธิ์]
บทที่ 12
ติดแท็กขายเสื้อผ้าขายครีมตั้งแต่เปิด[ใช้] นี้มันเฟสบุ๊คไม่ใช่ตลาดเปิด[ท้าย]
พยายามเป็นเซเรปต้องโชว์นมโชว์ใต้สะ[ดือ] วิจารณ์กันให้ตายแต่ยิ่งดังตะพึดตะ[พือ]
บทที่ 13
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 14
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 15
ตะกอนความคิดเอาสมองออกมาเว้น[แยก] เป็นเกียรติวงศ์ตระกูลศึกชิงเม้น[แรก]
มันกลับเป็นเรื่องแปลกเสพข่าวไม่ต้อง[กรอง] ก้มหน้าก้มตาข้ามถนนก็ไม่ต้อง[มอง]
บทที่ 16
โลกแห่งจิตวิทยาเดินหน้าด้วยอา[รมณ์] เหตุผลคือเรื่องรองเรื่องหลักคือสัป[ดน]
นั่งยิ้มกับมือถือก้มหน้าบนบีที[เอส] อิสระในกรงทองเหมือนกับปล่อยให้ไทยมีฟรี[เซ็ก]
บทที่ 17
แมซซาร์ทมันทั้งวันคุยกับเพื่อนอยู่ประ[จำ] พ่อแม่นั่งอยู่บ้านไม่เห็นคุยสักกะ[คำ]
หันหลังให้กับโลกกลัวความจริงมาข่วน[ตัว] ลืมสังคมส่วนร่วมอยู่กับโลกส่วน[ตัว]
บทที่ 18
คนรวยคนจนร้อยบาทมีค่าไม่เท่า[กัน] คนคิดคนทำหนึ่งประยะไม่เท่า[กัน]
คนชั่วคนดีสิบนัดประสงค์ไม่เหมือน[กัน] คำพูดหนึ่งประโยคคนเป็นล้านก็ตีความหมายไม่เหมือน[กัน]
บทที่ 19
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] รอยต่ออนาลอกสังคมคน[บ้า]
เปรียบเปรยหน้าคนในขณะที่ย่น[หน้า] ตรรกะห่วยแตกวาจาคม[กล้า]
บทที่ 20
สังคมแบบใหม่โชว์ใต้ร่ม[ผ้า] ทัศนะยาวไกลสังคมนิยม[อ้า]
เรื่องราวมากมายไฮไลท์ตรงปล้น[ฆ่า] ให้ตายกันไปข้างไอ้สังคมก้ม[หน้า ]
บทที่ 21
ยินดีต้อนรับสังคมก้ม[หน้า] ไลค์แรกเมนท์แรกสังคมก้ม[หน้า]
เร่งสร้างแลนด์มาร์คสังคมก้ม[หน้า] เฮ้ย!!มีถั่วไหมสังคมก้ม[หน้า]
บทที่ 22
ดาราโชว์ร่องสังคมก้ม[หน้า] เยสนมธรรมะสังคมก้ม[หน้า]
เกาหลีขี้โกงสังคมก้ม[หน้า] ผมยืนขึ้นเลยไอ้สังคมก้ม[หน้า]
คลิ๊ปนาน 4.42 นาที
พูดกันดี ๆ เรื่องสังคมก้มหน้า

สปอยคืออะไร

korea spoil
korea spoil

ได้ยินคำว่า สปอย หรือสปอยล์ (Spoil) หรือสปอยเลอร์ (Spoiler)
มาหลายครั้ง ก็ต้องบอกว่าเป็นศัพท์ใหม่
เพราะ สมัยผมจะใช้คอมพิวเตอร์แต่ละทีต้องมีกล่องแผ่นดิสก์ 5.25 คู่กาย
ไม่เคยพูดคำนี้มาก่อน เพราะมีคำให้พูดมากมายเหลือเกิน .. อยู่แล้ว

นิยาม (Meaning)

spoil หมายถึง  ทำให้เสีย ทำให้แย่ ทำให้เสียทรง

สปอยเลอร์ (Spoiler) ในทางภาพยนตร์ หรืออินเทอร์เน็ต
หมายถึง ผู้ที่ได้รับความบันเทิงจากแหล่งต่าง ๆ
เช่น ภาพยนตร์ นวนิยาย วรรณกรรม หรือเนื้อหาของเกม
แล้วนำเนื้อหาความบันเทิงเฉพาะส่วนนั้น มาเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
โดยมีเนื้อหาบางตอนค่อนข้างละเอียด หรืออาจจะเป็นการบอกฉากจบ
หรือตอนจบของแหล่งบันเทิงนั้น

ผลของการสปอย คือ ส่งผลเสียต่อการรับชมภาพยนตร์
อาจพอใจที่ได้ข้อมูลในระดับหนึ่งก็จะไม่ไปดู
หรือไม่พอใจเรื่องย่อเหล่านั้นก็จะไม่ไปดู
http://en.wikipedia.org/wiki/Spoiler_%28media%29

ต.ย.1 มีคนไปดูเรื่องพี่มากพระโขนง แล้วเล่าว่าเป็นหนังตลก
และเขียนบล็อกไว้ละเอียดยิบ พร้อมความรู้สึกที่ไม่สร้างสรรค์
ทั้งตอนเริ่ม ตอนกลาง และตอนจบ
เมื่อมีคนอ่านแล้วคล้อยตามเชิงลบ แล้วไม่ไปดู
ก็จะเรียกพฤติกรรมนี้ว่าสปอย

ต.ย.2 ผมอ่านหนังสือ Steve Jobs หรือ Albert Einstein
ที่เรียบเรียงโดย Walter Isaacson แล้วบอกว่าน่าอ่านมาก
เพราะว่าหน้านั่นเขียนอย่างนั้น หน้านี้เขียนงี้
ก็มีคนบอกว่าผมกำลัง spoil หนังสือเล่านี้อยู่
ผู้วิจารย์ผมไว้คงคิดว่าการรู้เรื่องหน้าสองหน้าใน 600 กว่าหน้า
จะมีผลให้ผู้รับสารไม่ไปซื้อหนังสือมาอ่านเป็นแน่

ต.ย.3 คำว่า สปอยดาราเกาหลี
ก็จะนำภาพสมัยเด็กแบบไม่สวย หรือตอนไม่แต่งหน้า
มาเปรียบเทียบกับตอนที่แต่งหน้า เป็นนางฟ้านางสวรรค์
ให้รู้สึกเห็นความแตกต่าง และลดความชื่นชอบไป
http://world.kapook.com/pin/50a9ff9f38217a1120000003

ต.ย.4 คุยแบบวัยรุ่น
วันนี้นำเสนอคำว่าสปอย บ่องตงว่าเมพขิง รู้สึกฟินจุงเบ
http://www.rakjung.com/facebook-no178.html
http://teen.mthai.com/variety/57302.html

ศัพท์วัยรุ่น
อายุผมก็เยอะแล้ว ตามกระแสไม่ค่อยทัน
บ่องตงบ้าง สปอยบ้าง จุงเบบ้าง เมพขิงบ้าง ฟินบ้าง
วันนี้ตามคำว่า spoil ซะหน่อย จะได้ไม่ตกกระแส
เห็นในสื่อพูดอยู่บ่อย ๆ

ชาวจีนในกรุงปักกิ่ง 3 ใน 10 ที่ดูโทรทัศน์เป็นกิจวัตรประจำวัน

tv 337 ช่อง เมื่อ 12/12/12
tv 337 ช่อง เมื่อ 12/12/12
12 ธ.ค.55 ทีวีดาวเทียมในไทยมีจำนวนช่อง 337 ช่อง ถ้านั่งสำรวจแต่ละช่องใช้เวลาช่องละ 2 นาที เพื่อดูว่ามีรายการแบบใดก่อนตัดสินใจดูอย่างจริงจังในวันนั้น ก็จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ถึงจะ scan รายการทั้งหมดเสร็จ แต่เวลา scan ห้ามติดใจช่องใดนะครับ เพราะจะทำให้ใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมงไปอีก
psi tv channel
psi tv channel
ข่าวข้างล่างนี้ .. มาจากสถานีโทรทัศน์ ซีซีทีวี ของจีน
รายงานผลสำรวจ พบว่า ในปักกิ่งมีคนดูโทรทัศน์กันน้อยลง ทั้งที่เดิมทีการดูโทรทัศน์ถือเป็นกิจกรรมหลักที่ทุกบ้านจะชื่นชอบมาก แต่กลับกลายเป็นว่า แม้กระทั่งในช่วงไพร์มไทม์ ก็มีคนดูโทรทัศน์กันน้อยลง หรือจะหมดยุคโทรทัศน์เฟื่องฟูแล้ว ล่าสุดพบว่ามีครอบครัวชาวจีนในกรุงปักกิ่ง เพียง 3 ใน 10 เท่านั้น ที่ยังคงดูโทรทัศน์เป็นกิจวัตรประจำวัน และถ้าเป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่นแล้ว พวกเขาแทบจะปิดทีวีหนีกันไปเลยทีเดียว
คนที่ 1 บอกว่า คนหนุ่มสาวมักจะหันไปใช้คอมพิวเตอร์ ไอแพด และมือถืออัจฉริยะแทนที่ เพราะทำให้เข้าถึงภาพและข่าวที่น่าสนใจได้มากกว่า
คนที่ 2 บอกว่า เวลาว่างๆ ชอบออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ แต่ถ้าอยู่บ้าน ก็เลือกที่จะดูอินเทอร์เน็ตมากกว่าเหมือนกัน
คนที่ 3 บอกว่า ใช้โทรทัศน์แค่ตอนเล่นเกม หรือเล่นหนังแผ่น แต่ไม่ค่อยได้ดูรายการทีวีแล้ว
รายงานจากศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตในจีน พบว่า เมื่อปีที่แล้ว มีคนจีนดูโทรทัศน์น้อยลงถึง 40 ล้านคนและ 65% ในนี้เป็นคนวัยหนุ่มสาว แต่ในร้านค้าแห่งนี้ ก็ยังมีโทรทัศน์วางขายอย่างหลากหลาย และก็ยังมีลูกค้าแวะเวียนมาซื้อ
นักข่าวของซีซีทีวี กล่าวว่า ถ้าดูจากโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่ตั้งวางขาย และลูกค้าที่แวะเวียนมาซื้อ ก็จะเห็นว่า อุตสาหกรรมโทรทัศน์ไม่มีแนวโน้มจะปิดตัวลงได้ แต่คำถามก็คือ ยังมีลูกค้ามากน้อยเท่าไหร่ที่ซื้อโทรทัศน์กลับบ้านไป แล้วยังเปิดดูโทรทัศน์อยู่เป็นประจำ
ผู้หญิงคนหนึ่ง เล่าว่า เธอซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่มาได้ 1 ปีแล้ว แต่เธอก็รู้สึกว่า ตอนนี้ โทรทัศน์ก็แค่เป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านชิ้นหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้สนใจจะอย่างจริงจัง เธอบอกว่า โทรทัศน์เครื่องหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ถ้าไม่มีตั้งไว้ในห้องรับแขกสักเครื่อง ก็ดูเหมือนจะขาดอะไรไป แต่ไม่ได้คิดจะดูอย่างจริงจัง เพราะรายการที่อยู่ในทีวี สามารถหาดูได้ทางอินเทอร์เน็ต ดาวน์โหลดออกมาได้ด้วยซ้ำ
ยิ่งคนหนุ่มสาวในจีนเข้าถึงอุปกรณ์ทันสมัยได้มากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะมีพฤติกรรมการชมรายการที่เปลี่ยนไปมากขึ้น กลายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมทีวีในยุคใหม่
ขณะที่ฟากผู้ผลิต ก็ดูเหมือนจะไม่ยอมแพ้ เพราะยังคงเข็นเอาผลิตภัณฑ์โทรทัศน์รุ่นใหม่ ทั้งในแบบให้ภาพคมชัด หรือ ไฮเดฟ นำมาล่อใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา แต่ดูเหมือนว่า คนจีน โดยเฉพาะในกรุงปักกิ่ง หันไปเสพข่าวสารความบันเทิงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น การที่โทรทัศน์จะให้ภาพคมชัดแต่เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากพออีกต่อไป
ผู้สื่อข่าว : เกศินี สุวรรณชีวะศิริ
ข่าวจริง สปริงนิวส์ ทันเหตุการณ์ เห็นอนาคต

สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก (itinlife330)

asia statistic
asia statistic

17 ก.พ.55 มีโอกาสฟัง คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ เจ้าพ่อสื่อเครือเนชั่น เล่าถึงความเป็นมาของสื่อในอดีต ซึ่งใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างคน ไปถึงประเภทของสื่อเพื่อใช้สื่อสารกับมหาชน และแนวโน้มของสื่อในอนาคต พร้อมนำเสนอข้อมูลเชิงสถิติ หรือสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานสื่ออย่างมืออาชีพ มีศัพท์ 2 คำที่ชวนให้ตระหนัก คือ below the line และ above the line โดยสื่อประเภทแรกถูกใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้ตรงกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และเป็นไปได้ว่าอาจใช้งบประมาณสูงกว่าสื่อหลัก แต่ถึงอย่างไรก็ยังทิ้งสื่อหลักไปไม่ได้

สื่อหลักหรือสื่อแบบ above the line คือ สื่อที่ใช้สร้างการรับรู้ในตราสินค้า เผยแพร่ในวงกว้างในระยะเวลาสั้นอย่างรวดเร็ว มักใช้โฆษณาแนะนำสินค้า อาทิ โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา ส่วนสื่อรอง หรือสื่อแบบ below the line คือ สื่อที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรง มักเน้นการสร้างกิจกรรมกับลูกค้า (Event) มีผลให้ลูกค้าจดจำสินค้าจากประสบการณ์ที่ได้ร่วมกิจกรรม (Road Show) อาจเป็นการออกนิทรรศการแนะนำสินค้า เปิดบูทให้ทดลองสินค้า หรือจัดกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ แต่สื่อทั้งสองแบบจะต้องดำเนินควบคู่กันไป เพราะกฎทางการตลาดมี 2 ข้อ คือ ผู้บริโภคคือเจ้านาย ถ้าผู้บริโภคผิดให้ย้อนกลับไปดูข้อแรก ดังนั้นการใช้สื่อที่หวังผลทางการตลาดจำเป็นต้องเลือกใช้อย่างสมดุล เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

ข้อมูลทางสถิติปี 2011 เกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าโลกของเราประชากรมากกว่าหกพันเก้าร้อยล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าสองพันสองร้อยล้านคน คิดเป็นร้อยละ 32 ของประชากรโลก แต่ประเทศไทยมีประชากรมากกว่าหกสิบหกล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าสิบแปดล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27 ของประเทศ ซึ่งยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ถ้าเปรียบเทียบในระดับทวีปแล้ว ทวีปเอเชียใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 26 แต่ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปออสเตรเลียใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 60 ประเทศมาเลเซียใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 60 ประเทศกรีนแลนด์ และไอซ์แลนใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 90 ดูจากสถิติแล้ว ประเทศไทยคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าประชาชนจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกินร้อยละ 50 ซึ่งข้อมูลทางสถิติทำให้เรารู้ตำแหน่งของตนเองในประชาคมโลก

http://www.internetworldstats.com/stats3.htm
http://www.thaiall.com/topstory/

เน็ตเร็วเหนือจินตนาการ (307)

ultra hi-speed internet
ultra hi-speed internet

9 ก.ย.54 ราวปีพ.ศ.2540 มีบริการอินเทอร์เน็ตที่ใช้โมเด็มความเร็ว 14.4 Kbps และใช้โปรแกรมบราวเซอร์ของ Netscape ซึ่งเว็บไซต์ยอดนิยมคือ yahoo.com ส่วนนักพัฒนาเว็บไซต์ก็จะใช้บริการฟรีของ geocities.com ประกอบกับเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงมีโมเด็มความเร็ว 28.8 และ 56 Kbps ตามด้วย ISDN ที่เร็วกว่าโมเด็มกว่าเท่าตัว แต่ ISDN ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในยุคนั้นร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เลือกใช้ด้วยโมเด็มเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการหลายราย แก้ปัญหาอินเทอร์เน็ตของรายหนึ่งหลุดก็ยังให้บริการลูกค้าต่อไปได้ และใช้ซอฟท์แวร์ช่วยทำการแบ่งปันการใช้งานของผู้ใช้ให้ออกไปยังผู้ให้บริการได้อย่างลงตัว

เทคโนโลยี DSL หรือบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ต เริ่มให้บริการปลายปี 2547 และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เริ่มต้นที่ความเร็ว 256 Kbps มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไปในแต่ละราย และการปรับปรุงอุปกรณ์ขยายโอกาสให้ผู้ใช้นอกเขตเมืองหลวงได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้โมเด็มกำลังจะหายไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องเน็ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน สำหรับเครื่องแท็บเล็ตพีซีหลายรุ่นไม่รองรับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำอีกต่อไป การเชื่อมต่อแบบไร้สายในอาคารได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น พร้อมการมาของระบบไร้สายยุค 3G ไปถึง 4G

การพัฒนาความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก้าวกระโดดไปอีกขั้น โดยบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ได้นำเสนอ Ultra Hi-speed Internet ที่มีความเร็วหลายระดับให้เลือก เริ่มจาก 7 Mbps มีค่าใช้จ่าย 599 บาท/เดือน ไปจนถึง 100 Mbps มีค่าใช้จ่าย 4,999 บาท/เดือน ถ้าผู้ใช้ดูคลิ๊ปจาก youtube.com เรื่องหนึ่งใช้ความเร็วประมาณ 400 Kbps หากในบ้านมีสมาชิกดูคลิ๊ปพร้อมกัน 20 คน จะใช้ความเร็วประมาณ 8 Mbps บางทีการพัฒนาบริการที่ต้องดาวน์โหลดแบบใช้ bandwidth ปริมาณสูง อาจยังไม่ทันกับการพัฒนาความเร็วของสื่อรับส่งข้อมูล เพราะความเร็วระดับ 100 Mbps คงไม่เหมาะกับผู้ใช้ตามบ้าน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เปิดดูคลิ๊ปพร้อมกัน 2 เรื่องก็ยังใช้ความเร็วไม่ถึง 1 Mbps แล้วจะมีบริการอะไรที่จำเป็นต้องใช้ความเร็วระดับสูงสุด เป็นเรื่องที่น่าคิด และชวนให้ติดตามกันต่อไป