โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

Irritable bowel syndrome
Irritable bowel syndrome

ตั้งแต่ 14 พ.ค.56 ผมคงต้องคุมอาหารแล้ว โดยเฉพาะงดกาแฟ
เพราะคาดว่าร่างกายมี ภาวะไวต่ออาหาร
หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี
ต่อไปก็ต้องคัดอาหารออกแล้ว จะหลีกหนีอาการแน่นท้องเพราะลมในท้อง

1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร

ตอบ โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ

2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม

ตอบ ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15 % ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์

3. โรคนี้หายได้หรือไม่

ตอบ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว

4. สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย

ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคน
จากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้
ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเอง
ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น “visceral hyperalgesia”) ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น

5. อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง

ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้

5.1 ปวดท้อง – มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน

5.2 มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) – ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)

5.3 ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน

5.4 ท้องผูก – อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย

5.5 อาการลำไส้อื่น ๆ – เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย

5.6 อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ – เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

6. จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร

ตอบ มีโรคมากมายที่อาการคล้ายโรคนี้ ได้แก่โรคที่มีปัญหาการย่อยอาหาร (malabsorption), โรคภูมิแพ้ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease เช่น ulcerative colitis และ Crohn’s disease) และ โรคลำไส้อักเสบจากโรค microscopic และ eosinophilic colitis (พบได้น้อยมากในเมืองไทย) เนื่องจากไม่มีการตรวจวินิจฉัยใด วินิจฉัยเดียวได้ ผู้ป่วยจะเริ่มการวินิจฉัยจากการเปรียบเทียบอาการกับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้ โดยสมาคมแพทย์ทางเดินอาหารโลก ที่กรุงโรม (Rome หรือ Manning criteria) แต่เกณฑ์นี้ไม่สามารถแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาการรักษาได้ จึงควรได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ ตรวจเพิ่มเพื่อประกอบการรักษาจากแพทย์ร่วมด้วย

เมื่อเลือกการตรวจใด ๆ แพทย์จะเลือกการตรวจตามข้อมูลที่ได้ ราคาการตรวจ ความเหมาะสมตามอายุของผู้ป่วย แตกต่างกัน ควรปรึกษาร่วมกันคิดกับแพทย์ของท่าน เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมต่อไป

การซักประวัติ – การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน จะประกอบด้วย ลักษณะอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ ความรุนแรงของอาการลำไส้ รวมทั้งประวัติว่าอาการสัมพันธ์กับอาหาร หรือ ยาด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะซักปัญหาความเครียด และ โรคทางจิตเวชในทุกรายที่เป็นภาวะนี้ ดังที่กล่าวแล้ว

การตรวจร่างกาย – มักไม่พบความผิดปกติใด ๆ การตรวจก็เพื่อแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายโรคนี้

การตรวจพิเศษ – แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งตรวจเลือด โดยมักพบว่าปกติทุกอย่าง รวมทั้งแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ โดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย ตัวอย่างเช่นอาจเช็คไทรอยด์ อุจจาระ รวมทั้งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หรือ ลำใส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) ซึ่งมักในคนที่สงสัยภาวะมะเร็ง หรือ ทำในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง การตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่)

การรักษา โรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

มีวิธีการรักษา และ ยารักษามากมาย บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก็แตกต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้วิธีปรับยาหลายครั้งจึงดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้าใจโรคดังกล่าวด้วยว่าโรคนี้ไม่ร้ายแรง (หลังจากตรวจค้นหา จนแน่ใจ 1 ถึง 2 ครั้ง หรือ บางคนแค่ประวัติตรวจร่างกายก็แน่ใจได้ว่าไม่ได้มีโรคร้ายแรงโดยตรวจเพิ่มเติมแค่เล็กน้อย) รวมทั้งต้องติดตามการรักษาอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วย และ แพทย์ที่รักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

การติดตามการรักษา – ในการรักษาขั้นแรก อาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยต้องรายงานอาการ นิสัยความเป็นอยู่ และ การรับประทานของผู้ป่วย รวมทั้งต้องทราบประวัติทุกอย่างที่อาจมีผลต่อลำใส้ บางรายอาจจับจุดได้ว่าแก้ไขได้ง่าย เช่นอาจแพ้อาหารบางอย่าง หรือ ย่อยอาหารกลุ่มนมไม่ได้ (lactose intolerance) รวมทั้งการแก้ความเครียด โรคซึมเศร้าอาจทำให้อาการดีขึ้นได้มาก ควรมีสมุดบันทึกเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียดจะช่วยในการรักษาได้มาก

การเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน – จากทฤษฎี ที่อธิบายแล้วว่าผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งอาจมีปัญหาการย่อย แพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหาร เช่นอาหารที่ทำให้เกิดลม มันมาก กลุ่มนม อาหารย่อยยาก ผัก หรือ เนื้อบางอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละคน หรือ บางคนอาจไม่เกี่ยวกับอาหารใด ๆ เลยก็ได้ ควรมีบันทึกอาหาร แต่ละมื้ออย่างละเอียด และ ดูร่วมกับอาการ อาจทำให้ค้นหาอาหารที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลองหยุดอาหารกลุ่มนมดูในช่วงแรก เพราะ พบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนม (lactose intolerance) พบได้บ่อยมาก (กินนมแล้วท้องเสีย กินแล้วอืด หรือ กินนมช่วยระบาย) การงดนมก็ควรทดแทนด้วยการกิน calcium ทดแทนด้วย เพื่อบำรุงกระดูก

อาหารบางอย่างจะมีการย่อยแค่บางส่วน จนเมื่อถึงลำไส้ใหญ่จึงจะใช้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ช่วยย่อย ทำให้เกิดลมในท้อง และ ปวดบีบได้ อาหารดังกล่าวได้แก่ legumes (คืออาหารประเภทถั่ว beans) และ อาหารกลุ่มกระหล่ำ บลอคคาลี่ cruciferous vegetables เช่น cabbage, brussels sprouts, cauliflower, และ broccoli บางรายอาจมีปัญหากับอาหาร หัวหอม onions, celery, แคลลอท carrots, เลซิน raisins, กล้วย bananas, แอปปริคอท apricots, พรุน prunes, sprouts, และ wheat.

พยายามกินอาหารที่มีไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น – มักดีในผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดท้อง แบบท้องผูก บางรายแม้ปวดแบบท้องเสียการกินไฟเบอร์ กลับทำให้ลำไส้ได้ฝึกบีบตัวดีขึ้นได้ การกินผักผลไม้อาจเกิดข้อเสียดังที่กล่าวแล้วในบางคนที่มีปัญหาการย่อย หรือ ไวต่อลม บางครั้งอาจต้องพิจารณาให้ fiber ทางการแพทย์ เช่น psyllium [Metamucil] หรือ methylcellulose [Citrucel] โดยเริ่มจากขนาดน้อย ไปหาขนาดมาก สาเหตุที่ fiber ทำให้ดีขึ้นยังไม่เข้าใจเหตุผลนัก อาจจากทำให้ลำใส้ได้ฝึกบีบตัวตามที่กล่าวแล้ว ก็ได้

การช่วยเหลือ ความเครียด หรือ แก้ปัญหาซึมเศร้า จิตเวช ตามที่กล่าวแล้วว่า ความเครียด และ ความกังวลใจ อาจทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้ในบางราย ผู้ป่วยควรนึกคิด และ ปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา

ผู้ป่วยบางคนอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ หรือ ไม่ให้ยากลุ่มนี้ รวมทั้งการให้ยานอนหลับ หรือ สอนการทำ biofeedback เป็นต้น
บางรายอาจดีขึ้นหลังเข้ากลุ่มปรึกษาทางจิตเวช
ผู้ป่วยหลายรายดีขึ้น หลังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือดีขึ้นจากการเดิน เพราะช่วยในการทำงานของลำไส้ได้ด้วย

ยารักษา แม้มียารักษาหลายอย่าง แต่ไม่สามารถทำให้โรคนี้หายขาดได้ ส่วนใหญ่เพื่อทำให้ดีขึ้น หรือ หายไปชั่วคราวเท่านั้น ยารักษาจะขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นกลุ่มใด ระหว่างท้องเสียเด่น ท้องผูกเด่น หรือ ปวดท้องเด่น ควรลองการเปลี่ยนอาหาร เพิ่มไฟเบอร์ใยอาหาร ก่อนทานยา

ข้อมูลจาก http://www.praram9.com/th/article_detail.php?id=220