education ใน 40 ปีข้างหน้า

education in next 40 years
education in next 40 years

5 ส.ค.54 ในอนาคต คงไม่ได้เห็นกระดาษ ไวท์บอร์ด หรือปากกาในการเรียนการสอนเป็นหลัก แต่มุ่งการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคม และคอร์สแวร์ ที่เรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกว่าผ่านการผสมผสานอุปกรณ์ทุกรูปแบบ

หนังสือแบบเก่าจะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์พกพา เช่น tablet ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าห้องเรียนเสมือน นักเรียนจะอ่านหนังสือออนไลน์ เรียนผ่านระบบอีเลินนิ่ง ที่สื่อต่าง ๆ จะใช้งานได้ผ่านโปรแกรมประยุกต์เมฆ (Cloud Application)

สื่อมัลติมีเดีย และกิจกรรมออนไลน์เป็นเครื่องมือสำหรับวันพรุ่งนี้ ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักเรียนจะหายไป สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าที่เคยเป็นมา เช่นการเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยู่แต่ในหนังสือที่น่าเบื่อ ก็จะมาเป็นคอร์สแวร์ที่นักเรียนได้เห็นภาพ ได้มีส่วนร่วม ทดลองลงมือปฏิบัติ และทำซ้ำจนเข้าใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การเพิ่มเครื่องมือในการเรียนรู้ทั้ง smart board, classroom capture system ทำให้นักเรียนได้กลับมาทบทวน ครูสามารถสอนได้อย่างแม่นยำ จัดกิจกรรม เตรียมเนื้อหาได้ตามตามหลักสูตร และง่ายในการบันทึกกิจกรรมของนักเรียน เพื่อใช้ประเมินผลการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างเหมาะสม

ครูและนักเรียนจะคุ้นเคยในการใช้อินเทอร์เน็ต และคอร์สแวร์เพิ่มขึ้น คาดว่าใช้อินเทอร์เน็ตเป็นห้องเรียนหลักในอนาคต การมีชั้นเรียนในคอร์สแวร์จะเข้าเมื่อใดก็ได้ เพราะไม่จำกัดเรื่องกรอบเวลา หรือสถานที่ เพื่อเรียนรู้ ทำงานที่มอบหมาย และส่งงานผ่านโปรแกรมประยุกต์เมฆได้

คอร์สแวร์มีแนวโน้มเป็นระบบเปิดที่สามารถเข้าถึงได้ หลักสูตรจะเป็นมาตรฐานที่เหมือนกัน สื่อการสอนที่ใช้ก็ใกล้เคียง ทำให้เรียนจากที่หนึ่ง ก็เหมือนกับอีกที่หนึ่ง หรือเรียนร่วมกันผ่านเมฆ (cloud) ต่อไปการเรียนจะไม่จำกัดในห้องกล่องที่โรงเรียน แต่เพื่อนยังคงเหมือนกัน ห้องเรียนจะเป็นห้องเรียนดิจิทอล ที่ไม่มีข้อจำกัดสำหรับนักเรียน ไม่ใช่แต่กระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาไป แต่จะเข้าถึงและขยายไปทุกประเทศมิใช่เฉพาะในไทย

มาตรฐานเครือข่ายสังคมถูกหวังว่าจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้หลักสำหรับการเรียนออนไลน์ ทั้ง แชท เสวนา ถกเถียง มีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการแบ่งปัน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ก็ยังอยู่ที่เดิม แต่จะฝังการพัฒนาเข้าไปและใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

คอร์สแวร์ที่เหมาะสมจะถูกให้ความสำคัญสูงในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบ LMS จะขยายรูปแบบออกไป โครงสร้างการเรียนรู้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนการเรียนรู้ที่มีขนาดใหญ่ และเปิดให้เกิดการแบ่งปัน ทำงานร่วมกันในเครือข่ายสังคม

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150256326543895&set=a.10150108586263895.287810.814248894

40 things you need to know about the next 40 years

40 things
40 things

หนังสือ “40 things you need to know about the next 40 years” ของ Nation Group จัดทำในโอกาสครบ 40 ปี Nation Group : ผมอ่านแล้วประทับใจในการมองไปข้างหน้าของทีมนักเขียน .. ประเด็นที่อ่านแล้วน่าสนใจ อาทิ  1) การศึกษา p.84 ที่มองไปที่ cloud apps, การก้าวสู่ยุคโลกไร้พรมแดนของคอร์สแวร์ และ เครือข่ายสังคม 2) ทุเรียน p.46 ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และคุณภาพสู่ตลาดโลก

นักเขียนในแต่ละหัวข้อมีดังนี้
1. Thai buddhism : Aree Chaisatien
2. Gender : Tulsathit Taptim
3. The funeral ceremony : Chularat Saengpassa
4. Thainess : Bill Klausner Senior Fellow ISIS-Thailand Chulalongkorn University
5. Cross-cultural marriage : Bill Klausner Senior Fellow ISIS-Thailand Chulalongkorn University
6. National ideology : Nithinand Yorsaengrat
7. Merit-making : Aree Chaisatien
8. Thai Music : Phatarawadee Phataranawik
9. Architecture : Phatarawadee Phataranawik
10. Bangkok : Phatarawadee Phataranawik
11. Aging : Wannapa Khaopa, Pongphon Sarnsamak
12. Thai language : Manote Tripathi
13. OTOP : Achara Pongoutitham
14. Nanotechnology : Lawrence Neal
15. Biotechnology : Lawrence Neal
16. Television : Tulsathit Taptim
17. Birds : Lawrence Neal
18. Wildlife : Yodsroi Sukdinunt
19. Red bull : Lawrence Neal
20. Durian : Pairin Kanisan
21. Khao yai : Kwandao Haruensat
22. Future cars : Yodsroi Sukdinunt
23. Rail ways : Kwandao Haruensat
24. Pattaya : Lawrence Neal
25. Beauty : Kwandao Haruensat
26. Coastal erosion : Tanjira Pongrai
27. Rice : Pairin Kanisan
28. The mekong : Pairin Kanisan
29. Solar thailand : Kwandao Haruensat
30. Thai theatres : Yodsroi Sukdinunt
31. Thai soaps : Pairin Kanisan
32. Olympics : Preechachan Wiriyanupappong
33. Trade : Sasithorn Ongdee
34. Thai football : Kitinan Sanguansak
35. Credit : Achara Deboonme
36. Thai food : Manote Tripathi
37. Education : Asina Pornwasin
38. Karaoke : Phatarawadee Phataranawik
39. Indochina : Supalak Ganjanakhundee
40. Burma : Supalak Ganjanakhundee

ipad 2 มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักศึกษา

วันนี้มีนักศึกษาถือ ipad เดินเข้ามาหา แล้วบอกว่าทำงานที่อาจารย์ท่านหนึ่งสั่งไม่ได้ ต้องกลับไปใช้ notebook เพราะเข้าระบบอีเลินนิ่ง แล้วต้องการส่งไฟล์งานที่เขาก็ทำเสร็จแล้ว และต้องการส่งงานผ่านระบบที่มี แต่คลิ๊กปุ่ม browse ใน safari ไม่ได้ .. ผมจึงทดสอบสร้างฟอร์มง่าย ๆ ก็พบว่าปุ่มอัพโหลดไม่ทำงานจริง .. สาเหตุเกิดจาก ipad จำกัดการเข้าถึงแฟ้ม  (Restrict Access File) การรับส่งแฟ้มจะใช้ ftp หากใช้ web application อย่างพวก e-learning หรือ flash upload ก็จะพบข้อจำกัด

อีกหลายวิชา คือ การวิจัย การบัญชี การเขียนโปรแกรมไม่มี app ที่ภาคธุรกิจนิยมใช้ เพราะปัญหาจาก text editor , application และ compiler ที่อุปกรณ์ไม่รองรับ .. ส่วนวิชาด้านการออกแบบงานกราฟฟิก หรือทำเอกสารออนไลน์ก็ไม่สะดวกเท่ากับ desktop ที่มี application ให้ครบถ้วน .. สุดท้ายนักศึกษาก็ต้องไปซื้อ notebook ไว้ใช้งาน เพราะสามารถทำงานทุกอย่างได้ ไม่มีข้อจำกัดเหมือน ipad

ข่าวหลายกระแสของนักวิจารณ์ก็บอกว่า ipad 2 ไม่ได้พัฒนาเพิ่มแบบผิดหูผิดตาไปจาก ipad แต่ ipad 3 ต่างหากที่จะเป็นนวัตกรรม .. ผมว่าคุ้มค่าแก่การรอคอยนะครับ

ตัวอย่าง form.htm
<form action=up.php enctype=”multipart/form-data” method=post>
<input type=file name=uploadfile>
<input type=submit>
</form>

http://xn--ipad-8eo1f1i.blogspot.com/
http://www.thaigaming.com/gadgets-and-toys/126535.htm
http://blogs.computerworld.com/16318/secure_ipad
http://www.techmoblog.com/ipad-3/

โฆษณา google chrome

วนดูคลิปรายการทีวี พบว่า คุณพรทิพย์ กองชุน ให้สัมภาษณ์วู้ดดี้ในรายการ เช้าดูวู้ดดี้ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. พ.ศ. 2554 พูดถึงโฆษณาทางทีวีของ Google Chrome ในประเทศไทย เป็นประเทศแรกในโลก .. แล้วผมก็อุทานว่าให้ตายสิโรบิ้น โดยเนื้อหาเกี่ยวกับคุณพ่อที่ส่งอีเมลด้วย gmail.com ถึงน้อมนิม ส่งรูป และวิดีโอคลิป ทั้งเที่ยวทะเล เข้าโรงพยาบาล วันเกิด ฟันหลอ แล้วบอกว่าตอนโตจะยกอีเมลให้ ประโยคสุดท้ายเขียนว่า เว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์ .. ดูแล้วคิดตามจนเตลิดเปิดเปิงเลยครับ

เตลิด = กระเจิดกระเจิง ไปคนละทิศละทาง

Feedback หลังชมคลิป
1. เนื้อหาข้างบน เป็น Feedback ของผมหลังดูคลิป
2. เนื้อหาข้างล่าง เป็น Feedback ใน Rakmanagerpro.com

น้องนิมในโฆษณา Google Chrome จากใจพ่อ : ลองพิมพ์อีเมล์ไปหาน้องนิมดีกว่าครับ

http://www.rackmanagerpro.com/email-to-nong-nim/

ถึงน้องนิม (คุณพ่อชื่อนรินทร์)

เห็นคุณพ่อของน้องนิมได้ขึ้นโฆษณาทีวีแต่ก็ไม่ได้พูดอะไรมากนัก แล้วก็ไม่ได้เห็นหน้าเห็นตาอีกต่างหาก ได้แต่พิมพ์เนื้อความแล้วก็บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เอาไว้ โดยการส่ง email ไปหาหนูนิมผ่านทาง ​Gmail โดยที่น้องนิมเองก็ยังเปิดหรืออ่านไม่ออก ถ้าหากว่าวันไหนน้องนิมได้อ่าน email นี้แสดงว่าเวลาจะต้องผ่านไปนานหลายปีแล้วทีเดียว ก็ไม่รู้ว่า Gmail จะมีลบ account ที่ไม่ได้ active ออกไปหรือเปล่านะ แต่ถ้าหากว่าน้องนิมได้อ่านแสดงว่า Google ไม่ได้มีนโยบายนี้ล่ะครับ

แต่ว่าจริง ๆ แล้วต้องบอกคุณพ่อน้องนิมไว้สักหน่อยว่า การเอา email ใด ๆ ไปแสดงไว้ในที่สาธารณะจะทำให้มีการ Spam ไปหา email นั้นได้ แล้วก็จะมีพวกประหลาด ๆ จะส่ง email ไปคุยกับน้องนิม โดยคิดว่าน้องนิมจะเปิดอ่านเข้าสักวันอะไรอย่างงั้น

วันที่น้องนิมจะได้อ่าน email ทั้งหมด วันนั้นจะเป็นวันที่คุณพ่อน้องนิมจะให้ password เพื่อเข้าไปอ่านเนื้อความหรือ email ที่คุณพ่อพิมพ์ส่งเก็บไว้และแน่นอนว่ามันจะเป็น Unread อยู่ใน inbox ทั้งหมด แต่ว่าแย่กว่านั้นหน่อย เพราะน้องนิมจะมี email ที่เป็น Spam หารายได้ผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่ในนั้นด้วย อาจจะทำให้ความประทับใจลดน้อยลงไปมาก ๆ ได้นะ

แต่ว่าน้องนิมอาจจะชินแล้วก็ได้ เพราะคิดว่าก่อนหน้าที่น้องนิมจะได้มาใช้ Gmail น้องนิมก็จะแอบไปเปิด Account Hotmail เอาไว้ก่อนแล้ว Hotmail ก็จะไม่ค่อยกรองสแปมให้น้องนิมสักเท่าไหร่ล่ะ เอาเป็นว่าอย่าไปคิดมากเรื่อง Spam เลยแล้วกัน แค่อยากจะให้น้องนิมเดินไปบอกคุณพ่อหน่อยว่า ถ้าหากว่าจะ พิมพ์เนื้อหา หรือ ข้อมูลเก็บเอาไว้ แนะนำว่า ทำเป็น Google Site จะดีกว่าหรือเปล่า หรือจะดีกว่านั้นเลยก็ทำเป็น Blog ไว้ก็ได้ ถ้าหากว่าไม่อยากจะให้ภาพออกมาเป็นสาธารณะ เราสามารถที่จะกำหนดได้เหมือนกันหากคุณพ่อสร้าง Website ด้วย WordPress แล้วเราก็บอก Google ว่าไม่ต้องมา index หน้าเว็บ หน้าเว็บนั้น ถ้าหากว่าน้องนิมไม่ได้ บอก Domain name ใครก็จะไม่มีใครรู้หรอกว่ามีเว็บนี้อยู่ในโลก แต่เข้าใจว่าคุณพ่อไม่อยากจะเสียเงิน 3000 บาท เพื่อซื้อชื่อ Domain name สิบปีล่วงหน้าก็ได้นะ (คุณพ่อแอบงกเนาะถ้าหากว่าเค้าคิดอย่างงั้นจริง ๆ)​

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ตอนนี้น้องนิมได้ Account Gmail มาใช้แล้วก็อยากจะบอกว่าลองเข้าไปที่เว็บที่พี่พิมพ์เนื้อความเก็บไว้เกี่ยวกับการใช้งาน Gmail นะโดยการพิมพ์ว่า “site:rackmanagerpro.com gmail” โดยไม่ต้องใส่ฟันหนูที่ Google มันจะแสดงรายการ link เก่า ๆ ที่เคยพูดถึงการใช้งาน Gmail ไว้อยากจะให้หนูนิมได้อ่าน จะได้ใช้งาน Gmail ได้คล่อง ๆ นะ

สุดท้ายท้ายสุด

Happy Birthday
น้องนิม ไม่ว่าน้องนิมจะครบรอบวันเกิดปีที่เท่าไหร่ก็ตามครับ

จากใจคนพิมพ์ Blog Rackmanagerpro.com

ควบคุมอุปกรณ์ทาง printer port

12 มิ.ย.54 สาธิตการใช้โปรแกรมควบคุม Printer Port โดยแสดงผลออกทางหลอด LED บน windows XP พัฒนาโปรแกรมด้วย Visual Basic 6 ซึ่งใช้ความรู้พื้นฐานจากระบบเลขฐาน 2 และคุณสมบัติของ printer port ร่วมกับภาษา Visual Basic 6 .. งานนี้นำไปประยุกต์ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้าน หรือสำนักงานได้

http://www.thaiall.com/printer

net geners

net geners
net geners

25 พ.ค.54 ฟังคุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ บรรยายในงานปฐมนิเทศนักศึกษาโครงการ Summer Experience 2011 แนะนำประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับหนังสือ Grown Up Digital ซึ่งอธิบายถึงคนยุค Net Generation ที่เข้ามาเปลี่ยนโลกอย่างไร และ THE EIGHT NORMS OF THE NET GENERATION

– มาแล้ว net generation หรือ net geners
– คุณพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่
– การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับคนอายุระหว่าง 11 – 30
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ประการ
1. มีตัวอักษรเป็นเพื่อน (texting friends)
2. ดาวน์โหลดเพลง (downloading music)
3. เผยแพร่คลิ๊ปวีดีโอ (uploading videos)
4. ดูหนังผ่านจอสองนิ้ว (watching a movie on a two-inch screen)
5. ทำตามที่รู้มาจากเครือข่ายสังคม (doing who-knows-what on Facebook or MySpace)
และส่วนท้ายกล่าวว่า “ถ้าเข้าใจ Net Generation ก็จะเข้าใจอนาคต”

http://dontapscott.com/books/grown-up-digital/
http://innovateonline.info/pdf/vol3_issue4/Teaching_and_Learning_with_the_Net_Generation.pdf
http://en.wikipedia.org/wiki/Generation_Y
http://en.wikipedia.org/wiki/Generation_X
http://en.wikipedia.org/wiki/Generation
http://cio-nii.defense.gov/initiatives/netgenerationguide/norms.html

เครือเนชั่นบุกตลาดปั้นนักศึกษานิเทศมืออาชีพ

nation nited
nation nited

18 พ.ค.54 มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตลำปาง-กรุงเทพฯ เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ เน้น “เรียนกับมืออาชีพ” ชูจุดเด่นสื่อ-การตลาดเครือเนชั่น เน้นสาขานิเทศฯ-บริหารธุรกิจ เน้นคุณภาพมาตรฐานนิสิต มั่นใจ นิสิต นักศึกษาสนใจสมัครเรียนแน่

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) ในฐานะ นายกสภามหาวิทยาลัยเนชั่น เปิดเผยถึงแนวทางการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์กว่า 40 ปี ว่ามหาวิทยาลัยเนชั่น โยนก ลำปาง และสอนนอกที่ตั้งกรุงเทพฯ ที่อาคารไอทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต (อาคารฐานเศรษฐกิจเดิม) ทั้งแห่งจะเปิดสอนในเดือนพฤษภาคมนี้ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และเอ็มบีเอ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาต่างประเทศ

โดยอาศัยความแข็งแกร่งขององค์กรสื่อในเครือเนชั่นประสบการณ์กว่า 40 ซึ่งเป็นเจ้าของสื่อครบวงจร ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ดิจิทัล มีเดีย เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะจากประสบการณ์จริง พร้อมขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการผลิตรายการทีวี ละคร ค่ายเพลง เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในทุกแขนงของสาขานิเทศศาสตร์

“ปัจจุบันธุรกิจสื่อบันเทิง และกลุ่มดิจิทัล มีเดีย ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทุกองค์กรเรียกร้องบุคลากรที่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี และประสบการณ์จริงในการทำงาน จึงถือเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยเนชั่น ในการพัฒนาหลักสูตรพร้อมให้ประสบการณ์ทำงานสื่อ เพื่อสร้างโอกาสที่ดีกว่าในการทำงานในแวดวงสื่อและบันเทิงหลังจบการศึกษา” นายธนาชัยกล่าว

นายธนาชัย กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นจะสร้างจุดต่างด้วยความได้เปรียบในการ “เรียนกับมืออาชีพ” โดยนักศึกษามีโอกาสพัฒนาทักษะและประสบการณ์ นอกเหนือจากภาคทฤษฎี ด้วยการเรียนกับอุปกรณ์ปฏิบัติการของจริง ในสภาพการทำงานจริง และกับมืออาชีพในสายนิเทศศาสตร์ เพื่อนักศึกษาสามารถเรียนรู้และฝึกงานกับบริษัทพันธมิตร ทำให้นักศึกษาที่จบมา มีโอกาสในการหางานทำได้สูงกว่า สามารถเลือกทำงานกับบริษัทในกลุ่ม และพันธมิตรของเครือเนชั่น ได้หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

“มหาวิทยาลัยเนชั่น โยนก เปิดสอนทั้งหมด 11 สาขา ในพื้นที่ 165 ไร่ เรามีอาจารย์ที่มีองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆ ไว้รองรับนิสิต นักศึกษาที่มาเรียนกับเรา อย่างศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ทีปรึกษาฝ่ายวิชาการ ร่วมสอนในสาขารัฐศาสตร์ ส่วนสาขานิเทศศาสตร์ จะมีมืออาชีพจากเนชั่นผลัดเปลี่ยนหมุนมาสอนเป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่น วิชาข่าว ก็มีคุณสุทธิชัย หยุ่น หรือมืออาชีพท่านอื่นด้วย วิชาการสื่อสาร ก็จะมีผมร่วมด้วย” นายธนาชัย กล่าว

มหาวิทยาลัยเนชั่น (วิทยาเขตโยนก จ.ลำปาง) จัดกิจกรรม Summer Experience 2011 เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะในด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน รู้จักการทำงานร่วมกันได้อย่างดี สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้นอกห้องเรียน ภายในงานกิจกรรมมากมายจากการฝึกทักษะกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นีน่า กุลนัดดา, คริส คริสโตเฟอร์ ไรท์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม-17 มิถุนายน ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ รับจำนวน 80-100 คน เช่นเดียวกับผู้ที่สนใจสมัครเรียนต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โทร.0-5426-5170-6

http://www.suthichaiyoon.com/detail/10000
http://www.nation-u.com

โรงเรียนแห่งหนึ่งมีวิสัยทัศน์ใช้ครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพ โรงเรียนระดับโลก
ครูมืออาชีพ โรงเรียนระดับโลก

clear งานทดสอบอ่านเขียนแฟ้ม และดำเนินการระดับบิทกับแฟ้มข้อมูล แล้ว open source ใน http://www.thaiall.com/vbnet/stream_basic.htm จากนั้นก็ลองหยิบหนังสือใกล้มือมาอ่าน พบว่าโรงเรียนแห่งหนึ่งในลำปาง มีกลุ่มงานกลุ่มหนึ่งที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า จะใช้ครูมืออาชีพ และบริหารจัดการด้วยระบบที่มีคุณภาพ .. ฟังดูแล้วชื่นชมเลยครับ

พอไปดูจุดมุ่งหมายชักอ่านไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีศัพท์เทคนิคหลายคำ ทั้ง World Citizen, World Class Standard, Hybrid Learning และ Quality Resource e-Learning แต่ทางผู้กำหนดจุดมุ่งหมายได้กรุณานิยามศัพท์คำว่า Hybrid Learning ไว้ว่า “เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best Features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน” .. สรุปว่าชื่นชมวิสัยทัศน์ครับ ชอบตรงใช้ครูมืออาชีพนี่หละครับ .. แต่ก็อดตั้งคำถามในใจคนเดียวไม่ได้ว่า ครูมืออาชีพ กับครูมือสมัครเล่น .. นี่ต่างกันอย่างไร

เล่าปัญหาสองเรื่อง จากการประชุมวิชาการ (nccit2011)

nccit 2011
nccit 2011

เล่าสู่กันฟังจากการร่วมประชุมวิชาการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระหว่าง 11 – 12 พฤษภาคม 2554 (ช่วงฝนตกน้ำท่วมทางรถไฟพอดีครับ)

เรื่องแรกคือ ปัญหาเข้าฟังบรรยายได้ไม่เกิน 12.5% เพราะผมไม่ใช่ hermione ใน harry potter ที่ย้อนเวลาไปนั่งเรียนวิชาต่าง ๆ ในตารางเรียนที่ทับซ้อนกันได้ เช่นเดียวกับการเข้าฟังการนำเสนอของนักวิชาการ 8 ห้อง แม้ผมจะมาฟังเช้าจรดเย็น แต่ผมเข้าได้เพียงห้องเดียวในเวลาเดียว ถ้าจะเก็บประเด็นให้ครบ ก็ต้องมีคน 8 คน เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนซักถาม จนเกิดความเข้าใจ แล้วตกเย็นของแต่ละวันก็มาทำ Knowledge Management ในขณะที่ยังจดจำได้ เพื่อให้ทีมได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ได้

อีกปัญหาคือ บางหัวข้อผมก็ไม่ถนัด วันนี้ฟังไปครึ่งเวลา ก็ต้องเปลี่ยนห้องไปฟังเรื่อง Web และ Data Communication ค่อยโอเคหน่อย เพราะฟังเรื่อง Genetic Algorithm ไม่เข้าใจ ผู้นำเสนอจะพูดเรื่องทฤษฎีที่ศึกษามา นำเสนอวิธีการให้ พร้อมกับผลการใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะงานด้านนี้ เพราะผู้นำเสนอมีเวลาเพียง 20 นาที และที่มานำเสนอก็จะนำเสนอเฉพาะวัตถุประสงค์ ทฤษฎี ผลการดำเนินงาน และการสรุปผล ส่วนรายละเอียดของวิธีการจะไม่นำเสนอ เพราะทั้งห้องมีความเข้าใจแล้ว ที่นำเสนอคือแนวคิดที่ไม่มีใครคิดมาก่อน จะนำเสนอแนวคิดใหม่ และผลดำเนินการใหม่ หากใครสนใจจะนำไปต่อยอดก็ได้ เพราะนั่นคือความตั้งใจ

+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
+ http://www.4shared.com/get/qUy21DKu/nccit2011_proceeding.html

คลิ๊ปของมืออาชีพ แนะนำ ม.เนชั่น

nation university clip
nation university clip

คลิ๊ปวีดีโอ 4 เรื่อง ของ คุณสุทธิชัย หยุ่น คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ คุณกนก รัตน์วงศ์สกุล คุณธีระ ธัญไพบูลย์ ประชาสัมพันธ์การเรียนในหลักสูตร นิเทศศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นทาวเวอร์ สมัครเรียนที่กรุงเทพฯ ในปีการศึกษา 2554 รับ IPAD ประกอบการเรียน จำกัดเพียง 80 คน

[youtube clip by tuy1000]

http://www.facebook.com/video/video.php?v=10150180169073895&oid=182617815122768

http://www.facebook.com/pages/Nationu/182617815122768