วิจัยชี้ พ่อกินอะไร ลูกเป็นอย่างนั้น

burning food
burning food

พ่อกินอะไร ลูกเป็นอย่างนั้น

มีประโยคยอดฮิตในโลกตะวันตกว่า เรากินอะไร เราก็เป็นแบบนั้น (You are what you eat) แต่ตอนนี้ต้องเพิ่มประโยคใหม่เข้าไปด้วยว่า พ่อเรากินอะไร (ก่อนที่เราจะเกิด) เราก็เป็นแบบนั้น

ข้างต้นคืนผลการวิจัยชิ้นใหม่ที่บ่งชี้ว่า สิ่งที่พ่อของเรากินกระทั่งเติบใหญ่ขึ้นมานั้นสามารถกระทบถึงสุขภาพของเราใน อนาคตด้วย ไม่น่าก็ต้องเชื่อ นักวิจัยได้ค้นพบว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้เป็นพ่อนั้นสามารถส่งผ่านมายังลูกๆ เพราะสิ่งนั้นได้ “แก้โปรแกรม” ยีนของเขา

การศึกษาเผยให้เห็นว่า ผลกระทบทางพันธุกรรมของกระบวนการ “เหนือพันธุกรรม” (epigenetics) ที่ซึ่งสภาพแวดล้อมและรูปแบบการใช้ชีวิตสามารถเปลี่ยนแปรยีนของเราได้อย่าง ถาวรเมื่อเราเติบโตขึ้น การผันแปรของยีนที่ว่านี้ยังสามารถส่งผ่านไปยังลูกหลานได้ด้วย นักวิทยา ศาสตร์ได้ทำการเจาะจงศึกษาผลกระทบจากการกินอาหารของฝ่ายพ่อ โดยดูว่าจะมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการพัฒนาโรคซับซ้อน เช่น เบาหวานและโรคหัวใจของลูกๆ หรือไม่

ศาสตราจารย์โอลิเวอร์ แรนโด จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ กล่าวว่า งานวิจัยของเขาจะช่วยระบุได้ว่าบุคคลใดมีความเสี่ยงสูงต่อโรค เช่น หัวใจและเบาหวาน “การได้รู้ว่าพ่อแม่ของคุณทำอะไรก่อนที่คุณจะปฏิสนธิกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ จะตัดสินว่าคุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงของโรคชนิดใด”

เขากล่าวว่า ที่ผ่านมาแพทย์มักมองพฤติกรรมของผู้ป่วยและยีนของพวกเขาเพื่อประเมินความ เสี่ยง ถ้าผู้ป่วยสูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็ง หรือถ้าครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ คนคนนั้นก็อาจได้ยีนที่เพิ่มความอ่อนไหวต่อโรคนี้ “แต่คนเราเป็นมากกว่ายีนและพฤติกรรมของเรา” ศาสตราจารย์แรนโดกล่าว “การ รับรู้ว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมชนิดใดที่พ่อแม่ของเราผ่านพ้นมาก็มีความสำคัญ เช่นกัน”

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการสืบทอดเหนือพันธุกรรม ที่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของยีนซึ่งไม่ได้เกิดจากการการเปลี่ยน แปลงของลำดับดีเอ็นเอที่ซ่อนเร้นอยู่ ได้ถูกส่งผ่านจากพ่อหรือแม่มายังลูกด้วย และอาจเกี่ยวพันไปถึงโรคภัยไข้เจ็บของลูก

นักวิจัยทดลองด้วยการให้อาหารหนูตัวผู้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป ส่วนกลุ่มที่สองได้อาหารโปรตีนต่ำ ขณะที่หนูตัวเมียทุกตัวถูกเลี้ยงด้วยอาหารตามมาตรฐานเหมือนกันหมด พวกเขาสังเกตเห็นว่า ลูกของหนูที่กินอาหารโปรตีนต่ำมียีนที่รับหน้าที่สังเคราะห์คอเลสเตอรอลและ ลิพิดเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อเทียบกับลูกหนูในกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วย อาหารตามมาตรฐาน ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเป็นโรคหัวใจ

การศึกษาหลายชิ้นก่อนหน้านี้ชี้แนะว่า ครรลองชีวิตของผู้เป็นพ่อสามารถส่งผลด้านพันธุกรรมกับลูกๆ แต่เราก็ไม่อาจตัดปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมเช่นกัน  “การศึกษาของเริ่มด้วยการตัดความเป็นไปได้ที่ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ หรือความแตกต่างในลำดับดีเอ็นเอ อาจส่งผลต่อสิ่งที่เป็นอยู่” ศาสตราจารย์แรนโดร่ายต่อ “และมันทำให้การสืบทอดเหนือพันธุกรรมกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน แปลงหน้าที่ของยีนอย่างชัดเจน”

กระนั้นก็ดี ศาสตราจารย์แรนโดบอกว่า เรายังไม่รู้แน่ว่าทำไมยีนเหล่านี้จึงถูกปรับแก้ หรือข้อมูลเหล่านี้ส่งผ่านมายังรุ่นต่อไปได้อย่างไร “มันสอดคล้อง กับความคิดที่ว่า เมื่อพ่อแม่หิว สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกคือกักตุนแคลอรีไว้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นประโยชน์ในบริบทของการกินอาหาร โปรตีนต่ำหรือไม่”

http://www.thaipost.net/x-cite/301210/32158

http://women.kapook.com/view20135.html

http://www.phrases.org.uk/meanings/you%20are%20what%20you%20eat.html

อีเมลของสมาชิกในองค์กร

ปัจจุบันสังเกตได้ว่า ผู้คนมักใช้อีเมลของ hotmail.com หรือ gmail.com มากกว่าขององค์กรด้วยเหตุกระแส social media

เช่น

ใช้ google doc ก็ต้องมีอีเมลของ gmail.com
จะใช้ skydrive ก็ต้องมีของ hotmail.com
จะใช้ youtube ก็ต้องมีของ gmail.com
จะใช้อีเมลระดับองค์กรที่ gmail.com ให้บริการก็ไม่ได้

แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้อีเมลขององค์กร ก็ต้องมาดูความแตกต่างใน 2 กลุ่มหลัก
1. พนักงานบริษัท
มักใช้ name@company.com
เช่น sombat.somboon@apple.com
เพราะ ชื่อบุคลากรเป็นการแสดงตัวตน เป็นการให้เกียรติผู้รับ
และมักใช้งาน เพื่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกอย่างเป็นทางการ
การใช้ชื่อสกุล ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ

2. นักเรียน/นักศึกษา
มักใช้ id@school.com
เช่น u54011001@lampang.ac.th
เพราะ รหัสนักศึกษา เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนผ่านรหัส
อาจารย์และนักเรียน ใช้เป็นคำสำคัญในการสื่อสาร
การติดต่อในแต่ละหน่วยงาน มักใช้รหัสนักศึกษาเป็น key อย่างเป็นทางการ
การใช้ key เดียวกัน ทำให้ระบบต่าง ๆ สื่อสารไปในทางเดียวกัน
หลังสำเร็จการศึกษา หรือพ้นสภาพ จะไม่มีสิทธิใช้อีเมลเดิมต่อไป

ข่าวยุบรวมมหาวิทยาลัยก็เพื่อคุณภาพ .. อีกแล้ว

ploy 11
ploy 11

8 ธ.ค.54 ยุบรวมมหา’ลัยผุด ‘ม.กาฬสินธุ์’ แห่งแรกระบุ สกอ.ไม่มีอำนาจ-จัดตามคำขอท้องถิ่น
“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการ เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัย ใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้น ใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา ได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอน ตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่น เป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156376

6 ธ.ค.54 มติครม. เห็นชอบยุบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ-เชื่ออีก 30 ปีคนเรียนน้อยลง
วันที่ 6 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามแนว ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยคาดการณ์ว่าจากนี้ไป 30 ปี จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลง ฉะนั้นหัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษาหรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้นจึงเตรียมเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจากศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หากจังหวัดหนึ่งมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นหนึ่งแห่ง เช่น
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เสนอโดยจ.ชุมพร โดยยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมม.ราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี กับม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้ง ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดย จ.ตาก เป็นการยุบรวม ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา วิทยาเขตตาก กับมรภ.กำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมรภ.ล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า 4.การจัดตั้ง ม.กาฬสินธุ์ เสนอโดย จ.กาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวม มรภ.กาฬสินธุ์ กับ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้ง ม.ระยอง เสนอโดยจ.ระยอง โดยยุบรวม ม.เทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดย จ.กระบี่ เป็นการหลอมรวม ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่งปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
“วัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อร่างนโยบายประกาศใช้ ศธ. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
ต่อมาเวลา 18.30 น. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แนวทางการยุบรวมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ใช่ผู้สั่งยุบรวม แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอเอง โดยทำเรื่องมาที่สกอ. จากนั้นสกอ. จึงตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหลักเกณฑ์การยุบรวมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์การตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ได้เปิดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีวิทยาเขตอ่อนแอในจังหวัดนั้นๆ ได้รวมกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าจะยุบรวมได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ ความพร้อมของหลักสูตรที่จะไปเปิดใหม่ หรือหลักสูตรต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานในภูมิภาคท้องถิ่น เป็นต้น
“อย่างกรณีการยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัยก็เป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสกอ. ต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร และก็ทำประชาพิจารณ์ต่อด้วย ส่วนประเด็นยุบรวมเพราะมหาวิทยาลัยไปเปิดศูนย์นอกที่ตั้งโดยไม่มีคุณภาพถือ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศูนย์นอกที่ตั้งหากไม่มีคุณภาพก็ต้องปิดตัวไป หรือหากตรวจสอบว่าไม่มีคุณภาพก็สั่งยุบได้”  รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K11426487/K11426487.html
http://nationunews.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

6 ธ.ค.54 ครม.ยุบรวม 6 มหา’ลัย 7 จว. อ้างอีก 30ปีคนวัยเรียนลด เข้าเรียนน้อยลง คาดเพิ่มคุณภาพ-สนองท้องถิ่น จี้ห้ามขอเปิดมหา’ลัยเพิ่มอีก
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ครม.สั่งยุบรวมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำร่อง 6 แห่ง ใน 7 จังหวัด ‘ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-ตาก-ระยอง-กระบี่-กาฬสินธุ์’ อ้างอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรลดลง คาดคนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐน้อยลง และเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
เวลา 13.30 น. วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประชุมครั้งที่ 3 /2554มีการประเมินลักษณะประชากรไทยในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ.2548 อีก 30 ปีข้างหน้า พ.ศ.2578  พบว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆจนอิ่มตัวแล้วลดลง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดต่ำลง คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐลดน้อยลง จึงมีการเตรียมการให้มีการหลวมรวม ยุบรวมสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ  และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า ความหมายของการยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาหมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ หรือจังหวัดหนึ่งๆ จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงยึดรวมเพียงหนึ่งแห่ง  ตัวอย่างการยึดรวม หรือหลอมรวมสถาบันการศึกษา เช่น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เป็นการยึดรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร รวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร  เมื่อยุบรวมกันแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  1 แห่ง หรือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้การยุบรวมหรือหลอมรวม  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ  ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บางจังหวัดไม่ได้มีสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง แต่กลับยุบรวมกันหรือหลอมรวมกัน  คือ ไม่เคยมีมาก่อน แต่กลับจัดตั้งใหม่  ทางรัฐบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เปิดเป็นวิทยาเขต ก็ต้องไปสอบถามว่าจะหลอมรวมด้วยหรือไม่  ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วย ส.ส.หรือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเห็นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม  ความหมายคือ การยุบสองที่ให้เหลือที่เดียวให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ได้หมายถึงการยุบตึกมารวมกัน อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผนวกกัน ส่วนชื่อของมหาวิทยาลัยก็อาจให้ทั้งสองสถาบันไปตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครยอมกัน ในกรณีนี้อาจจะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม ไม่ใช่การฉกฉวยจังหวะแอบมั่วไปเปิดสถานศึกษาใหม่
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.ระบุว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา  ให้ความเห็นด้วยต่อที่ประชุมครม.ว่าเห็นด้วยกับหลักการนี้  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยห้องแถวเปิดขึ้นใหม่จำนวนมาก บางสถาบันการศึกษาเปิดขึ้นบริเวณใต้ทางด่วนก็มี และอีก 30 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยก็จะไม่มีคุณภาพ ซึ่งอนาคตจะทำให้คนที่จบออกมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่มีคุณภาพด้วยเช่น กัน  พร้อมกันนี้ขอเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า “ครม.จะไม่พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยเด็ดขาด”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โต้แย้งว่า ไม่ควรจะใช้คำว่า  “โดยเด็ดขาด” เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ  ทั้งนี้นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การจะใช้คำว่า “โดยเด็ดขาด”ไม่ได้ เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80  บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม…”  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  21 ,มาตรา 34 วรรคสาม, มาตรา 35 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36  ซึ่งข้อสรุปในประเด็นนี้ คือ ถ้าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่รัฐบาลจะพิจารณาโดยละเอียดเป็นกรณี พิเศษ
สำหรับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ใน 7 จังหวัดที่จะมีการยุบรวมกันคือ
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร  เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด (ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยอีก 1 แห่ง  ซึ่งปัจจุบันแปรรูปเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ
6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่  (ปัจจุบันขอจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ใช่รูปแบบหลอมรวม ยุบรวม แต่เป็นการจัดตั้งทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา คือ จากการรายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า การขยายตัวด้านจำนวนของสถาบันการอุดมศึกษาทำให้เกิดปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการกระจายตัวของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่เป็นทางการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) สถาบันการพลศึกษา (สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) วิทยาการทหาร (สังกัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 303 แห่ง อยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการหลอมรวม ยุบรวมและยกเลิกสถาบันการอุดมศึกษา  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก  และ 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง จ.ระยอง  พร้อมทั้งศึกษาแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวโน้มจำนวนประชากร จำนวนนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อีกทั้งข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน
ซึ่งมีข้อสรุปว่า “โดยหลักการไม่ควรมีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีอยู่สามารถรองรับนักศึกษาได้ในปัจจุบัน ประกอบกันแนวโน้มในอนาคตนักศึกษาจะลดลง แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวม ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และรัฐควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วโดย เฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ และวิทยาเขตต่างๆเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งการบริหารทั่วไปและการบริหารวิชาการ”
ทั้งนี้จากการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีในช่วงปี พ.ศ.2548-2578ลดลงถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งหมด  เหลือ 9 ล้านคนเศษ คิดเป็นร้อยละ 14  ส่วนวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้านคน เป็น 43 ล้านคน จากนั้นจะเหลือ 38 ล้านคนในปี 2578 ซึ่งประชากรวัยเด็ก(วัยเรียน) จะลดลงอย่างต่อเนื่อง (อายุ 6-21 ปี) ลดลงจาก 16 ล้านคนในปี 2548 เหลือเพียง 11 ล้านในปี 2578
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลรายงานประจำปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงปี  2546-2552 ปริมาณนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2547 เป็นต้นมาซึ่งส่งผลต่อระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับอาชีวะศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2551
หากพิจารณาข้อมูลในอดีตจะพบว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาโดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัด เดียวกัน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มาจากการหลอมรวมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.นราธิวาสและวิทยาลัยการอาชีพตากใบ อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนครพนม มาจากการหลอมรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม กับวิทยาเขตนครพนมของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้แม้จะมีความก้าวหน้าแต่ก็ประสบปัญหาด้านการบริหารและงานด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ต่างสังกัดและต่างกระทรวงทำให้ไม่ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
http://www.tcijthai.com/investigative-story/1043

จัดกลุ่มหนังสือ แยกตามขนาด

หนังสือ book
หนังสือ book

30 ต.ค.54 ของสะสมนอกจากซีดีภาพยนตร์กับโปรแกรมแล้ว ก็ยังมีหนังสือ พอมีปริมาณมากก็มีปัญหาเรื่องการขนย้าย จัดเก็บ และจัดหมวดหมู่

กำลังจะย้ายบ้าน ก็ได้ฤกษ์เคลียร์หนังสือ บางเล่มอยู่ที่เดิมมา 9 ปี (ตั้งแต่ 10 พ.ย.2544 – 6 พ.ย.2554) เคยมีเพื่อนบางท่านถามยืมหนังสือ ผมก็มักตอบไม่เต็มเสียงว่าหาไม่พบ วันนี้นำหนังสือส่วนใหญ่ของบ้าน จากตู้ในครัว ตู้เสื้อผ้า และตู้หนังสือ มาเรียงตามขนาดเพื่อการขนย้าย (ขี้แมลงสาบเพียบ) ถ้าย้ายไปที่ใหม่ก็จะมีตู้หนังสือมากกว่าเดิม น่าจะจัดหนังสือให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ได้ อาจทำให้ความฝันในการจัดหมวดหนังสือออนไลน์เป็นจริง ตอนนี้ก็ได้ e-book หลายเล่มแล้ว ในอนาคตอาจมีหนังสือที่ scan ที่ไม่ติด copyright เข้า e-book ได้เพิ่มขึ้น

จากภาพ น่าจะมีหนังสือในกองนี้ประมาณ 700 เล่ม และยังไม่ได้มัดไว้ เพราะแค่แยกตามขนาด ก็ได้แผลมาหลายแห่งแล้ว ผิวค่อนข้างบ้าง ประกอบกับกลัวพิษขี้แมงสาบ ทำไปก็ต้องระวังไปพร้อมกัน

http://www.thaiall.com/me/book.php

โรงเรียนข้างถนน (road-side school)

24 ต.ค.54 ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเปิดโรงเรียนข้างถนนแห่งแรกของจังหวัด โดยนำเอาเด็กที่บ้านถูกน้ำท่วมมาเรียน
จังหวัดลพบุรี ได้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมมานานกว่า1ดือนแลวหลังจากที่หูช้างของ ประตูน้ำบางโฉมศรีพังลงทำให้มวลน้ำเข้าท่วมใน3อำเภอของจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่อำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอเมืองลพบุรี ทำให้มีชาวบ้านจำนวนกว่า7หมื่นครอบครัวประชาชนจำนวนกว่า2แสนคนได้รับความ เดือร้อน และขณะนี้ทางจังหวัดได้ทำการอพยพชาวบ้านมาอยู่ในจุดพักพิงผู้ประสบภัยน้ำ ท่วมจุดต่างของ3อำเภอแล้วกว่า3หมื่นคน โรงเรียนถูกปิดอย่างไม่มีกำหนด

หลังจากที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่เห็นโรงเรียนถูกน้ำท่วม จึงกังวลว่าเด็กที่ไม่ได้ไปโรงเรียนอาจได้รับอันตรายจากน้ำท่วมสูงของจังหวัดลพบุรี จึงหาทางรวมเด็กให้อยู่เป็นกลุ่มและหาผู้ดูแล ซึ่งทางนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลพบุรี จึงมีการทำแผน ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนข้างถนนขึ้น เพื่อร่วมเด็กเข้ามาอยู่รวมกันและจ้างชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครต่าง ๆ มาสอนหนังสือให้กับเด็กที่อยู่ตามจุดอพยพริมถนน หรืออีกส่วนหนึ่งหากเด็กเดินทางมาไม่ได้ก็จะให้อาสามนัครเดินทางไปสอนถึงบ้าน โดยมีค่าใช้จ่ายให้กับเด็กนักเรียนวันละ30บาทเป็นค่าขนม ซึ่งถ้ามาเรียนที่จุดของจังหวัดจัดก็จะมีข้าวให้กิน

โดยนายฉัตรชัย กล่าวว่าสำหรับโรงเรียนข้างถนนแห่งแรกบริเวณริมถนนสายสระบุรี-ลพบุรี ถนนบายพาสหมู่ที่ 7 ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี นั้นได้มีนักเรียนลงชื่อมาเรียนแล้วจำนวน 90 คน และทุกวันจะมีนักเรียนมาเข้าเรียนจำนวน70-80คนทุกวัน ทางจังหวัดจัดอาหาร นม ขนมมาเลี้ยงดูอย่างดีทุกวันเฉลี่ยค่าหัวของเด็กวันละ 30 บาท เพื่อเป็นการจูงใจให้มาเรียน เด็กทุกคนก็จะปลอดภัยไม่ไปเล่นน้ำและอาจจะจมน้ำเสียชีวิตได้ โรงเรียนข้างถนน ถือเป็นการดูแลเด็กแทนผู้ปกครองได้ด้วย ซึ่งทางจังหวัดจะมีการขยายโรงเรียนข้างถนนไปจุดอื่น ๆ ทั่วพื้นที่ที่น้ำท่วมของจังหวัดลพบุรี และขณะนี้มีนักเรียนที่ชอบแต่ละด้าน เช่น ด้านการอ่าน หนังสือ และด้านการแสดงอย่างน้องสิรัญญา แตงไทยทอง หรือน้องแป้ง ที่รักการแสดงสามารถร้องลิเกและร้องเพลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นผลผลิตจากโรงเรียนข้างถนนของจังหวัดลพบุรี
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=535311

ด็อกเตอร์บันดาลโทษะฆ่าภรรยา ได้รับการอภัย

buddhist medicine
การให้อภัย
เมื่อ 10 ปีก่อน พบ ผลการพิจารณาคดี 17-18 ก.ค. 2544 เวลากลางคืนต่อเนื่องกัน ด็อกเตอร์ฆ่าภรรยาของเขาจริง และคำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ผลการพิจารณาให้จำคุก 2 ปี แล้วศาลมองว่าจำเลยให้การเป็นประโยชน์ ไม่เคยทำความผิดมาก่อน จำเลยมีคุณประโยชน์ที่จะทำคุณค่าแก่สังคมหรือประเทศชาติได้ และที่สำคัญโทษที่ได้รับนั้นก็ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งสามารถที่จะให้ “รอลงอาญา” ได้
เขาได้รับการอภัยในโทษที่ก่อขึ้น เพราะเหตุมาจากบันดาลโทษะ
.. นั่นเป็นเหตุผลของศาล

McKinsey 7s Framework

McKinsey 7s framework
McKinsey 7s framework

ในหนังสือ Strategic Management ของ ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 มี diagram หน้า 56 ที่อธิบายปัจจัยที่สำคัญต่อการบริหารองค์กร 7 อย่าง คือ strategy, structure, system, style, staff, skill และ shared values ของ Waterman, R. H. Peters, T. J. and Philips, J. R. ที่มีขึ้นตั้งแต่ค.ศ.1980 หรือ 30 กว่าปีมาแล้ว ทำให้รู้ว่ามนุษย์มีหลักดี ๆ ในการบริหารจัดการองค์กร .. หรือเรียกได้ว่า เรามีความรู้ไว้บริหารองค์กรกันแล้ว
http://www.thaiall.com/ppt/diagram2011.pptx

ถ้าค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จะเกิดอะไรขึ้น

wage income salary
wage income salary

1 ต.ค.54 มีโอกาสพูดคุยในครอบครัว ว่าถ้าเกิดเหตุค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้น เงินเดือนของทุกคนจะเพิ่มขึ้น จากเหตุเช่นนั้น แล้วผลจะเป็นอย่างไร และผลที่เกิดขึ้น เราจะได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ หรือสังคมกระทบอะไรบ้าง .. ถ้าย้อนกลับมาที่ตัวเรา เราจะปรับตัวอย่างไรต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น หมายถึง ปรับอย่างไรให้ตนเองมีความสุขบนการเปลี่ยนแปลง

http://www.thaiall.com/ppt/diagram2011.pptx

สถิติจำนวน และค่าสูงสุด ต่ำสุด 2554

http://www.cuas.or.th/document/brochouradm54.pdf
เอกสารเผยแพร่ของ สทศ.

ตารางแสดงจำนวนผู้สมัครและผ่านการคัดเลือก admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2554 มีข้อมูลจำแนกตามอันดับของผู้สมัคร และผู้ผ่านคัดเลือก อย่างเช่น รหัส 0001 คณะทันตแพทยศาสตร์ สมัครอันดับ 1 508 คน แต่ผ่านเพียง 24 คน และทราบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัครอันดับ 1 14190 คน แต่ผ่านเพียง 1753 คน
http://www.cuas.or.th/document/stat54_sumapply.pdf

ตารางแสดงคะแนนสูงสุด และต่ำสุด ที่แต่ละสถาบันการศึกษารับนักศึกษาเข้าเรียนในปีการ ศึกษา 2554 อย่างเช่น รหัส 0001 คณะทันตแพทยศาสตร์ สูงสุด 25,077 คะแนน ต่ำสุด 24,015 คะแนน เฉลี่ย 24,345 คะแนน
http://www.cuas.or.th/document/54C_stat_rpass_web.pdf

วิธีคำนวนคะแนน
1. ต้องรู้ค่าน้ำหนักร้อยละตามคณะ/สาขา เช่น GPAX:O-NET:GAT:PAT=20:30:20:30
2. ข้อมูลดิบ GPAX=2.93 คำนวณ GPAX : 2.93 * 75 * 20 = 4395
3. คะแนนเต็ม 30,000

ข้อมูลจาก http://www.cuas.or.th/index.php
และ http://www.cuas.or.th/calendar.html
และ http://www.cuas.or.th/document/brochouradm54.pdf
และ http://teacherooh.com/story/title/57
และ http://www.teacherooh.com/sites/teacherooh.com/files/admission53/CU.pdf

กำหนดการ Gat/Pat 1/2555

กำหนดการดำเนินการจัดการทดสอบ Gat/Pat ครั้งที่ 1/2555 สอบเดือนตุลาคม 2554 สำหรับการ Admissions ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ลดจำนวนการจัดสอบ GAT/PAT ลงเหลือ 2 ครั้ง คือ จัดสอบในเดือนตุลาคม และมีนาคมของทุกปี จึงไม่มีการจัดสอบ GAT/PAT ในเดือนกรกฎาคม 2554 แต่จะไปดำเนินการจัดสอบครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม 2554 (ครั้งที่ 1/2555) โดยมีกำหนดการรับสมัครในเว็บไซต์ สทศ. ดังนี้

gat pat ครั้งที่ 1/2555
gat pat ครั้งที่ 1/2555

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน)
http://www.niets.or.th

http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/11/ab1410f667b918ce7c4c11e2c358973c.pdf