๑๒ พระธาตุศรี

๑๒ พระธาตุศรี
ภาพจากปฏิทินตั้งโต๊ ธนาคารออมสิน ๒๕๕๗
ตามความเชื่อของชาวล้านนา การไหว้พระประจำปีเกิด เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต

http://www.wattarnpakrat.com/index.php?mo=59&action=page&id=333334

1. ปีชวด = หนู  – พระธาตุศรีจอมทอง
พระธาตุจอมทอง วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่  เป็นที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ (พระธาตุ ส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

1. ปีชวด = หนู  - พระธาตุศรีจอมทอง
1. ปีชวด = หนู - พระธาตุศรีจอมทอง

2. ปีฉลู = วัว  – พระธาตุลำปางหลวง
พระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลาง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านสัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่าลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอน ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์อีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2. ปีฉลู = วัว  - พระธาตุลำปางหลวง
2. ปีฉลู = วัว - พระธาตุลำปางหลวง

3. ปีขาล = เสือ – พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุช่อแฮ วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่  เป็นเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเมืองแพร่มาแต่โบราณตามตำนานกล่าวว่าขุนลัวะอ้ายก๊อมเป็นผู้สร้าง ปรากฏหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ระหว่าง พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ลักษณะองค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสนสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ลงรักปิดทอง

3. ปีขาล = เสือ - พระธาตุช่อแฮ
3. ปีขาล = เสือ - พระธาตุช่อแฮ

4. ปีเถาะ = กระต่าย  – พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง กิ่งอ.ภูเพียง จ.น่าน จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง

4. ปีเถาะ = กระต่าย  - พระธาตุแช่แห้ง
4. ปีเถาะ = กระต่าย - พระธาตุแช่แห้ง


5. ปีมะโรง = งูใหญ่  – พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์

พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ตั้งอยู่ในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ถือเป็นพระเจดีย์เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับการตั้งวัด โดยเป็นศิลปะแบบล้านนา หริภุญชัย ผสมลังกา ที่เน้นความงามเรียบง่าย พระธาตุเจดีย์แห่งนี้ พระเจ้าผายู เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1888 ต่อมาได้บูรณะใหม่สมัยครูบาศรีวิชัย ราว พ.ศ. 2469 ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากทวีปลังกา จึงมีความเชื่อว่า อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตผู้เกิดปีมะโรง หากได้มีโอกาสมานมัสการพระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ จะเป็นมงคลอันสูงสุด

5. ปีมะโรง = งูใหญ่  - พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์
5. ปีมะโรง = งูใหญ่ - พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์

6. ปีมะเส็ง = งูเล็ก – พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์
พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ตามประวัติพบว่า พระธาตุเจดีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในวัดหนองบัว จ.อุบลราชธานี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2500 โดยได้จำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย และนับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทั่วไปที่เป็นป่าโปร่ง ร่มรื่น

6. ปีมะเส็ง = งูเล็ก - พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์
6. ปีมะเส็ง = งูเล็ก - พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์

7. ปีมะเมีย = ม้า  – พระบรมธาตุเจดีย์
พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก จ.ตาก  ตั้งอยู่ในวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง  ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดพระเจ้าทันใจ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ และมีตำนานว่าสร้างเสร็จในหนึ่งวัน พระเจ้าทันใจนี้ร้ำลือกันว่าศักสิทธิ์นัก จริงๆ แล้วพระเจ้าทันใจมีอยู่อีกหลายวัด แต่ที่เป็นที่นับถือมากที่สุด คือ วัดพระบรมธาตุ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (ทองอยู่) โดยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุได้จดจำเอารูปทรงของเจดีย์ชเวดากองมาสร้างครอบเจดีย์องค์เก่า ซึ่งมีรูปทรงสมัยสุโขทัยไว้ และยังสร้างพระบรมธาตุองค์เล็กๆ 16 องค์ และเจดีย์ใส่พระพุทธรูปอีก 16 องค์ และโขงจุดไฟเทียนอีก 6 โขง ไว้รายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ด้วย
ด้านซ้ายมือของเจดีย์จะเป็นทางเข้าวิหารเก่าครึ่งตึกครึ่งไม้และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัยภายในวิหารยังมีธรรมาสน์เก่าเป็นไม้แกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม ทางซ้ายของเจดีย์เป็นพระอุโบสถครึ่งตึกครึ่งไม้ มีประตูไม้แกะสลักรูปป่าหิมพานต์ หน้าบันและจั่วเป็นไม้แกะสลักไว้อย่างวิจิตร หน้าบันที่สวยมากจะอยู่ทางด้านหลังของพระอุโบสถ บานหน้าต่างเป็นภาพพระพุทธประวัติใช้ไม้แกะสลักปิดทองสวยงามมาก วัดพระบรมธาตุเป็นวัดที่กล่าวได้ว่า สวยงามที่สุดในจังหวัดตาก ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีชาวบ้านเป็นจำนวนมาก นำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา นอกจากนั้นยังมีงานประเพณีที่สำคัญอีกงานหนึ่ง คือ ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า

7. ปีมะเมีย = ม้า  - พระบรมธาตุเจดีย์
7. ปีมะเมีย = ม้า - พระบรมธาตุเจดีย์

8. ปีมะแม = แพะ  – พระธาตุดอยสุเทพ
พระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 9 โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระ นำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเอง เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วน พระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก
ส่วนองค์ที่สอง ได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใด ก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไป ช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบัน แล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ พระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ ณ ที่นั้น มีขนาดสูง 5 วา เมื่อ พ.ศ.1916 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2068 พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ของเชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์ โดยได้นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ จากลำพูนมาเป็นประธานการบูรณะ โดยขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม สูง 11 วา กว้าง 6 วา ที่ปรากฏทุกวันนี้

8. ปีมะแม = แพะ  - พระธาตุดอยสุเทพ
8. ปีมะแม = แพะ - พระธาตุดอยสุเทพ

9. ปีวอก = ลิง  – พระธาตุพนม
พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 52 กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ. 8 โดยเจ้าเมือง 5 องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุงรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อมกัน 3 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2522

9. ปีวอก = ลิง  - พระธาตุพนม
9. ปีวอก = ลิง - พระธาตุพนม

10. ปีระกา = ไก่  – พระธาตุหริภุญชัย
พระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเป็นมิ่งขวัญของชาวลำพูน ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ในกลางเมืองลำพูน ภายในวัดเป็นลานกว้าง มีวิหารหลายหลัง หอระฆังสวยงาม ปรากฏในตำนานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์นครหริภุญชัยราว พ.ศ.1586 ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้อีกหลายครั้งในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ.1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น
หลังจากนั้นพระเมืองแก้วได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อมพระธาตุ 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง และใน ปีพ.ศ.2329 พระเจ้ากาวิละได้ทรงทำการบูรณะพระบรมธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม และสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 10 วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ด้านในองค์พระธาตุเป็นสีทองอร่ามเป็นที่ต้องตาต้องใจนักท่องเที่ยวต่างเมืองผู้มีโอกาสได้ไปเยือนยิ่งนัก ทางจังหวัดลำพูนได้จัดให้มีงานนมัสการประจำปีขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 6 ซึ่งก็คือวันวิสาขบูชา

10. ปีระกา = ไก่  - พระธาตุหริภุญชัย
10. ปีระกา = ไก่ - พระธาตุหริภุญชัย

11. ปีจอ = สุนัข  – พระธาตุวัดเกตการาม
พระธาตุวัดเกตการาม วัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ความเป็นมาตามพุทธประวัติ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุที่พระอินทร์นำมาจากพระบรมธาตุที่โทณพราหมณ์ได้แอบซ่อนไว้ เมื่อครั้งมีการแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าให้แก่เจ้าเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุที่ พระธาตุเจดีย์องค์นี้ มนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ ดังนั้น นอกจากนมัสการด้วยการบูชารูปแล้วยังสามารถบูชา พระเจดีย์ ที่วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระเกศแก้ว จุฬามณี เจดีย์วัดนี้ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของชาวต่างชาติ ตามประวัติ ว่าสร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ.1971 แต่พระเจดีย์ได้พังทลายลง ในปี พ.ศ. 2121 พระสุทโธ รับสั่งให้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนา นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑ์เก็บของใช้พื้นบ้านให้ชม (เปิด 08.00-16.00 น.) ที่ตั้ง บ้านวัดเกต ถ.เจริญราษฎร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

11. ปีจอ = สุนัข  - พระธาตุวัดเกตการาม
11. ปีจอ = สุนัข - พระธาตุวัดเกตการาม

12. ปีกุน = หมู – พระธาตุดอยตุง
พระธาตุดอยตุง ดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระมหากัสสะปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า (พระรากขวัญเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวติ เป็นประธานพร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง (คือดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1454 ต่อมาอีก 100 ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถร ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช แล้วจึงได้พร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุขึ้นบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่งบนดอยตุง พร้อมได้ปฏิสังขรณ์องค์เดิม

12. ปีกุน = หมู - พระธาตุดอยตุง
12. ปีกุน = หมู - พระธาตุดอยตุง

+ http://hilight.kapook.com/view/17772
+ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.805407556140044.1073741921.506818005999002

education ใน 40 ปีข้างหน้า

education in next 40 years
education in next 40 years

5 ส.ค.54 ในอนาคต คงไม่ได้เห็นกระดาษ ไวท์บอร์ด หรือปากกาในการเรียนการสอนเป็นหลัก แต่มุ่งการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคม และคอร์สแวร์ ที่เรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกว่าผ่านการผสมผสานอุปกรณ์ทุกรูปแบบ

หนังสือแบบเก่าจะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์พกพา เช่น tablet ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าห้องเรียนเสมือน นักเรียนจะอ่านหนังสือออนไลน์ เรียนผ่านระบบอีเลินนิ่ง ที่สื่อต่าง ๆ จะใช้งานได้ผ่านโปรแกรมประยุกต์เมฆ (Cloud Application)

สื่อมัลติมีเดีย และกิจกรรมออนไลน์เป็นเครื่องมือสำหรับวันพรุ่งนี้ ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักเรียนจะหายไป สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าที่เคยเป็นมา เช่นการเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยู่แต่ในหนังสือที่น่าเบื่อ ก็จะมาเป็นคอร์สแวร์ที่นักเรียนได้เห็นภาพ ได้มีส่วนร่วม ทดลองลงมือปฏิบัติ และทำซ้ำจนเข้าใจ ที่จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การเพิ่มเครื่องมือในการเรียนรู้ทั้ง smart board, classroom capture system ทำให้นักเรียนได้กลับมาทบทวน ครูสามารถสอนได้อย่างแม่นยำ จัดกิจกรรม เตรียมเนื้อหาได้ตามตามหลักสูตร และง่ายในการบันทึกกิจกรรมของนักเรียน เพื่อใช้ประเมินผลการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างเหมาะสม

ครูและนักเรียนจะคุ้นเคยในการใช้อินเทอร์เน็ต และคอร์สแวร์เพิ่มขึ้น คาดว่าใช้อินเทอร์เน็ตเป็นห้องเรียนหลักในอนาคต การมีชั้นเรียนในคอร์สแวร์จะเข้าเมื่อใดก็ได้ เพราะไม่จำกัดเรื่องกรอบเวลา หรือสถานที่ เพื่อเรียนรู้ ทำงานที่มอบหมาย และส่งงานผ่านโปรแกรมประยุกต์เมฆได้

คอร์สแวร์มีแนวโน้มเป็นระบบเปิดที่สามารถเข้าถึงได้ หลักสูตรจะเป็นมาตรฐานที่เหมือนกัน สื่อการสอนที่ใช้ก็ใกล้เคียง ทำให้เรียนจากที่หนึ่ง ก็เหมือนกับอีกที่หนึ่ง หรือเรียนร่วมกันผ่านเมฆ (cloud) ต่อไปการเรียนจะไม่จำกัดในห้องกล่องที่โรงเรียน แต่เพื่อนยังคงเหมือนกัน ห้องเรียนจะเป็นห้องเรียนดิจิทอล ที่ไม่มีข้อจำกัดสำหรับนักเรียน ไม่ใช่แต่กระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาไป แต่จะเข้าถึงและขยายไปทุกประเทศมิใช่เฉพาะในไทย

มาตรฐานเครือข่ายสังคมถูกหวังว่าจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้หลักสำหรับการเรียนออนไลน์ ทั้ง แชท เสวนา ถกเถียง มีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการแบ่งปัน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ก็ยังอยู่ที่เดิม แต่จะฝังการพัฒนาเข้าไปและใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

คอร์สแวร์ที่เหมาะสมจะถูกให้ความสำคัญสูงในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบ LMS จะขยายรูปแบบออกไป โครงสร้างการเรียนรู้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนการเรียนรู้ที่มีขนาดใหญ่ และเปิดให้เกิดการแบ่งปัน ทำงานร่วมกันในเครือข่ายสังคม

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150256326543895&set=a.10150108586263895.287810.814248894

40 things you need to know about the next 40 years

40 things
40 things

หนังสือ “40 things you need to know about the next 40 years” ของ Nation Group จัดทำในโอกาสครบ 40 ปี Nation Group : ผมอ่านแล้วประทับใจในการมองไปข้างหน้าของทีมนักเขียน .. ประเด็นที่อ่านแล้วน่าสนใจ อาทิ  1) การศึกษา p.84 ที่มองไปที่ cloud apps, การก้าวสู่ยุคโลกไร้พรมแดนของคอร์สแวร์ และ เครือข่ายสังคม 2) ทุเรียน p.46 ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และคุณภาพสู่ตลาดโลก

นักเขียนในแต่ละหัวข้อมีดังนี้
1. Thai buddhism : Aree Chaisatien
2. Gender : Tulsathit Taptim
3. The funeral ceremony : Chularat Saengpassa
4. Thainess : Bill Klausner Senior Fellow ISIS-Thailand Chulalongkorn University
5. Cross-cultural marriage : Bill Klausner Senior Fellow ISIS-Thailand Chulalongkorn University
6. National ideology : Nithinand Yorsaengrat
7. Merit-making : Aree Chaisatien
8. Thai Music : Phatarawadee Phataranawik
9. Architecture : Phatarawadee Phataranawik
10. Bangkok : Phatarawadee Phataranawik
11. Aging : Wannapa Khaopa, Pongphon Sarnsamak
12. Thai language : Manote Tripathi
13. OTOP : Achara Pongoutitham
14. Nanotechnology : Lawrence Neal
15. Biotechnology : Lawrence Neal
16. Television : Tulsathit Taptim
17. Birds : Lawrence Neal
18. Wildlife : Yodsroi Sukdinunt
19. Red bull : Lawrence Neal
20. Durian : Pairin Kanisan
21. Khao yai : Kwandao Haruensat
22. Future cars : Yodsroi Sukdinunt
23. Rail ways : Kwandao Haruensat
24. Pattaya : Lawrence Neal
25. Beauty : Kwandao Haruensat
26. Coastal erosion : Tanjira Pongrai
27. Rice : Pairin Kanisan
28. The mekong : Pairin Kanisan
29. Solar thailand : Kwandao Haruensat
30. Thai theatres : Yodsroi Sukdinunt
31. Thai soaps : Pairin Kanisan
32. Olympics : Preechachan Wiriyanupappong
33. Trade : Sasithorn Ongdee
34. Thai football : Kitinan Sanguansak
35. Credit : Achara Deboonme
36. Thai food : Manote Tripathi
37. Education : Asina Pornwasin
38. Karaoke : Phatarawadee Phataranawik
39. Indochina : Supalak Ganjanakhundee
40. Burma : Supalak Ganjanakhundee