บ่นเรื่องความไม่ชินกับ tablet

เล่าสู่กันฟัง จากความไม่ชินใน tablet pc
เล่าสู่กันฟัง จากความไม่ชินใน tablet pc

ผมใช้ tablet แบบ two-way ไม่ใช่ readonly หรือ listen only หรือ watch only
จึงมองหาการส่งข้อมูล และแลกเปลี่ยนกับผู้คนใน social network พบปัญหากับอุปกรณ์ ดังนี้
1. กดอักษรมากขึ้น : กว่าจะพิมพ์เสร็จ 30 ตัวอักษร จิ้มไปซะ 60 ที จะซ้ายขวาบนล่างก็ต้องใจเย็นกันหน่อย
2. เบิ้นต้องรอ : ถ้าพิมพ์อักษรเบิ้นต้องรอสักครู่ เช่น “สรร” หรือ “มากกว่า” เพราะต่อเนื่องไม่ได้ หลายปุ่มมี 3 ตัวอักษร จะจิ้มอักษรบนต้องกด 3 ครั้ง ถ้ากด 2 ครั้งคือเปลี่ยนตัวไม่ได้ออกเบิ้น
3. แป้นใหม่ : ต้องเรียนรู้แป้นพิมพ์ใหม่ ปกติผมพิมพ์สัมผัส ตอนนี้ต้องจ้อง เพราะใช้สัมผัสไม่ได้ ต้องจำ
4. ของแถม : ปัญหาใหม่ พอพิมพ์เสร็จแล้วส่ง บางทีมีตัวอักษรแถมต่อท้ายเข้าไปใน fb เกิดหลายครั้ง เริ่มสงสัยว่าอุปกรณ์รับสัมผัสเร็วไปรึเปล่า
5. ท่านั่ง : ถ้าต้องค้นงาน แล้วพิมพ์งานติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ยังไม่มีท่านั่งที่เหมาะสม
6. สายตายาว : เวลาใช้ tablet ต้องถอดแว่น เพราะจอเล็ก ตัวเล็ก แม้ซูมได้ ถ้าเปลี่ยนโปรแกรมขนาดก็กลับสุ่มาตรฐาน

มีความเชื่ออยู่ว่า ความเคยชิน ทำให้มนุษย์ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
1. ถ้าชินกับ การเปิดพัดลมนอน ก็จะไม่ถามถึงแอร์
2. ถ้าชินกับ การดื่มน้ำบ่อ ก็จะไม่ถามถึงน้ำสิงห์
3. ถ้าชินกับ การดื่มเหล้าเป็นประจำ ก็จะไม่ถามถึงการรักษาศีล
สักวันหนึ่ง ผมอาจเคยชิน คิดว่า tablet ใช้ง่ายกว่า desktop .. ใครจะไปรู้
ที่รู้แน่ ๆ คือวันนี้ผมยังไม่ชินกับ tablet

tweet หนึ่งจากทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร

5 มีนาคม 2555 อ่านทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร พบเรื่อง “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ไม่ใช้สมองก็ต้องใช้สติ” มีลิงค์ที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/242249 มีความตอนหนึ่งที่ คุณลม เปลี่ยนทิศ เขียนว่า

การแจกคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” ก็เป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลพยายาม “ซื้อเร็วแจกเร็ว” ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อมสักอย่าง ไม่ว่าระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบไฟฟ้าในโรงเรียน “ครูผู้สอน” ที่ยังขาดทักษะความรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีการอบรมให้เรียนรู้เสียก่อน รู้ว่าจะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
แม้แต่ “ตัวนักเรียน ป.1” เองก็ไม่มีความพร้อม “ขี้เยี่ยว” เด็กยังต้องให้ครูและพี่เลี้ยงดูแล เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อแท็บเล็ตแจกให้เด็ก 4–5 ขวบรับผิดชอบคนละ 1 เครื่อง และให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนเด็กต้องหอบหิ้วไปมาระหว่างบ้านกับ โรงเรียน ต้องคอยเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งเด็กทำเองไม่ได้ต้องมีคนช่วย การแจกแท็บเล็ตเพื่อใช้เรียนใช้สอนเด็ก ป.1 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูกเวลาในเวลานี้แน่นอน
ถ้าเป็น โรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไปไม่ถึง แท็บแล็ตก็เป็นเครื่องขยะใช้งานไม่ได้ เหมือนโครงการ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีต ที่ไปลงทุนสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนชนบท อ้างว่านักเรียนในชนบทจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อท่องไปสู่โลกกว้าง สามารถเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่คอมพิวเตอร์ทั้งห้องเปิดใช้งาน ไม่ได้ เพราะโรงเรียน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต


ในวันที่ 5 มีนาคม 2555
เมื่ออ่านข้อความข้างต้นแล้ว .. ก็รู้สึกว่าโลกเรามีคนอยู่หลายแบบนะครับ
http://twitter.com/suthichai
http://twitter.com/udompk

http://www.youtube.com/watch?v=Mhyac_GNpFw

สตีฟจอบส์เสียชีวิตแล้ว (itinlife 311)

steve jobs
steve jobs

พ.ศ.นี้คนรุ่นใหม่ย่อมรู้จัก สตีฟจอบส์ หรือ สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) เพราะเขาคือนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชัน สตูดิโอส์ และคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2498 และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ.2554 หลังเปิดตัวไอโฟน 4เอส (iPhone 4S) หรือไอโฟนรุ่นที่ 5 ได้เพียงวันเดียว  รวมอายุได้ 56 ปี 7 เดือน ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเขาในฐานะผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัทแอลเปิล

สตีฟ จอบส์ แจ้งแก่พนักงานว่าเขาตรวจพบมะเร็งตับอ่อนตั้งแต่กลางปีพ.ศ.2547 และตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2554 ครั้งสุดท้ายที่เขาปรากฎตัวต่อสาธารณชนคืองานเปิดตัว iPad 2 ที่ศูนย์ศิลปะ Yerba  Buena Center for the Arts เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2554 ในนครซานฟรานซิสโก สำหรับด้านการศึกษา สตีฟเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจระดับโลกที่เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา  เพราะลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษาเท่านั้น

มะเร็งตับอ่อน เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจ มีปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้ 1) คนที่สูบบุหรี่จัด  2) คนที่มีครอบครัวป่วย เป็นมะเร็งตับอ่อน 3) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ซึ่งสตีฟเป็นคนที่สูบบุหรี่ และทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักกว่าปกติ การเสียชีวิตของ สตีฟ จอบส์ และ คุณสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ การเสียชีวิตของคนทั้งสองสามารถนำมาเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตของพวกเราให้ระมัดระวังเรื่องการกินการอยู่  แม้ชีวิตจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และชีวิตครอบครัว ก็ไม่ใช่หลักประกันที่จะทำให้มีอายุยืนยาวได้ การเลือกรับประทานอาหาร และใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท อาจช่วยให้พวกเรามีอายุเกิน 60 ปี และถูกลูกหลานเรียกว่าท่านผู้เฒ่า

ipad 2 มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักศึกษา

วันนี้มีนักศึกษาถือ ipad เดินเข้ามาหา แล้วบอกว่าทำงานที่อาจารย์ท่านหนึ่งสั่งไม่ได้ ต้องกลับไปใช้ notebook เพราะเข้าระบบอีเลินนิ่ง แล้วต้องการส่งไฟล์งานที่เขาก็ทำเสร็จแล้ว และต้องการส่งงานผ่านระบบที่มี แต่คลิ๊กปุ่ม browse ใน safari ไม่ได้ .. ผมจึงทดสอบสร้างฟอร์มง่าย ๆ ก็พบว่าปุ่มอัพโหลดไม่ทำงานจริง .. สาเหตุเกิดจาก ipad จำกัดการเข้าถึงแฟ้ม  (Restrict Access File) การรับส่งแฟ้มจะใช้ ftp หากใช้ web application อย่างพวก e-learning หรือ flash upload ก็จะพบข้อจำกัด

อีกหลายวิชา คือ การวิจัย การบัญชี การเขียนโปรแกรมไม่มี app ที่ภาคธุรกิจนิยมใช้ เพราะปัญหาจาก text editor , application และ compiler ที่อุปกรณ์ไม่รองรับ .. ส่วนวิชาด้านการออกแบบงานกราฟฟิก หรือทำเอกสารออนไลน์ก็ไม่สะดวกเท่ากับ desktop ที่มี application ให้ครบถ้วน .. สุดท้ายนักศึกษาก็ต้องไปซื้อ notebook ไว้ใช้งาน เพราะสามารถทำงานทุกอย่างได้ ไม่มีข้อจำกัดเหมือน ipad

ข่าวหลายกระแสของนักวิจารณ์ก็บอกว่า ipad 2 ไม่ได้พัฒนาเพิ่มแบบผิดหูผิดตาไปจาก ipad แต่ ipad 3 ต่างหากที่จะเป็นนวัตกรรม .. ผมว่าคุ้มค่าแก่การรอคอยนะครับ

ตัวอย่าง form.htm
<form action=up.php enctype=”multipart/form-data” method=post>
<input type=file name=uploadfile>
<input type=submit>
</form>

http://xn--ipad-8eo1f1i.blogspot.com/
http://www.thaigaming.com/gadgets-and-toys/126535.htm
http://blogs.computerworld.com/16318/secure_ipad
http://www.techmoblog.com/ipad-3/