ยินดีกับผู้ได้ปรับเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขกว่าแสนคน

blood donation
blood donation

ของขวัญปีใหม่! สธ.เตรียมบรรจุลูกจ้างชั่วคราว สธ.กว่า 1 แสนคนเตรียมเป็น พกส.

สธ.เตรียมมอบของขวัญปีใหม่ลูกจ้างชั่วคราว สธ. กว่า 1 แสนคน เป็นพนักงานกระทรวงฯ ได้เงินเดือนเพิ่ม สิทธิเท่าเทียมข้าราชการ มีโบนัส ลาศึกษาได้ ขอย้ายได้ ฯลฯ คาดประกาศใช้ ม.ค.56
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหากำลังบุคลากรกระทรวงฯ ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ และสมาชิกสมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย ว่า ในภาพรวมขณะนี้มีบุคลากรทั้งข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติงานในหน่วยบริการของกระทรวงฯ กว่า 10,000 แห่ง รวม 320,000 คน ได้แก่ ข้าราชการ 180,000 คน ที่เหลือ 140,000 คนเป็นลูกจ้างชั่วคราว ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพ 21 สายงาน เช่น พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักจิตวิทยา นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์ นักการแพทย์แผนไทย ที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2549-2555 รวม 30,188 คน ล่าสุดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.เห็นชอบการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่เป็นสายวิชาชีพ 21 สายงานของกระทรวงฯ โดยอนุมัติตำแหน่งข้าราชการให้กระทรวงฯ เพื่อบรรจุลูกจ้างดังกล่าวรวม 22,641 อัตรา ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วน ภายในระยะ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2558 เฉลี่ยบรรจุปีละ 7,547 อัตรา ในปีงบประมาณ 2556 นี้ จะบรรจุทั้งหมด 8,446 อัตรา และปี 2557-2558 บรรจุปีละ 7,547 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุนที่อยู่นอกเหนือ 21 สายงานวิชาชีพ และลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพที่ยังไม่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งมีประมาณ 117,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงฯ เตรียมมาตรการรองรับเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและความมั่นคงในอาชีพ โดยจะรับเป็นพนักงานกระทรวงฯ หรือ พกส. ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับเสร็จแล้ว ฉบับที่ 1 ได้แก่ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ….. ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารหลักเกณฑ์ต่างๆ 6 ชุด ได้แก่ 1.ชุดกำหนดประเภทตำแหน่งลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน 2.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานฯ 3.ชุดกำหนดค่าจ้างพนักงาน 4.ชุดสิทธิประโยชน์ 5.ชุดการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ6.หลักเกณฑ์การลาออกจากการปฏิบัติงานระหว่างสัญญาจ้าง
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ฉบับที่ 2 คือ การปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ขณะนี้เสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าจะได้รับการตอบกลับมาเร็วๆ นี้ หากได้รับเห็นชอบกลับมาจะเสนอต่อ รมว.สาธารณสุข และปลัด สธ.ลงนามเพื่อประกาศใช้ต่อไป คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนมกราคม 2556 นี้เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ลูกจ้างกระทรวงฯ
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ. กล่าวว่า การเป็นพนักงานกระทรวงฯ ถือว่ามีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น อัตราเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ 1.2 เท่า ได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ เช่น มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาศึกษาต่อได้ มีการประเมินขึ้นเงินเดือน มีโบนัส ได้รับค่าจ้างระหว่างลา มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน มีค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่าเบี้ยประชุม เป็นต้น โดยพนักงานกระทรวงฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.ประเภททั่วไป คือกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานเป็นลักษณะงานประจำ ซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจทั่วไปของหน่วยบริการ ได้แก่ พนักงานกลุ่มเทคนิค เช่น พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานสาธารณสุข นายช่างเทคนิค เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา พนักงานเภสัชกรรม ช่างไฟฟ้า ช่างเหล็ก ช่างประปา เป็นต้น
กลุ่มบริการ เช่น เจ้าพนักงานธุรการ พนักงานเปล งานพัสดุ พนักงานช่วยการพยาบาล พนักงานประกอบอาหาร กลุ่มบริหารทั่วไปเช่น นักจัดการงานทั่วไป นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิขาการเงินบัญชี นักทรัพยากรบุคคล และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาลวิชาชีพ และ 2.ประเภทพิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของหน่วยบริการ
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000152162

ยุคตกต่ำของอาจารย์มหาวิทยาลัย

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

ไม่มียุคใดอีกแล้วที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีสถานภาพตกต่ำเช่นนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า ครูประถม มัธยมที่เคยมีเงินเดือนเท่ากันประมาณ 8%
สืบเนื่องมาจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ได้ปรับระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่ง(Position classification) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าระบบซี ซึ่งแบ่งเป็น 11 ระดับ มาเป็นการจัดประเภทตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงานหรือเรียกว่าระบบแท่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 แท่ง
ทุกหน่วยราชการ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.)ต่างก็ดำเนินการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบใหม่ที่ ก.พ.กำหนด
ขึ้น โดย ก.ค.ได้จัดทำแท่งบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูคู่ขนานไปกับแท่งเงินเดือนข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.)
แต่สำนักงานและคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งควรจะเป็นผู้นำในการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบที่ ก.พ.กำหนด กลับไม่ยอมดำเนินการใดๆ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นปี จึงเพิ่งตื่น โดยการตั้ง ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นประธานอนุกรรมการศึกษาเรื่องนี้มีใครทราบบ้างไหมว่าปัจจุบัน อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่มีแท่งบัญชีเงินเดือนเป็นของตัวเอง ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีเงินเดือนตันในระบบซีได้ขยับขึ้นเงินเดือนในปี งบประมาณ 2544 นั้นเป็นเพราะไปอาศัยใบบุญของ ก.พ.โดยขออิงเงินเดือนของ ก.พ.ไปพลางๆ ก่อน
ข้าราชการพลเรือนได้ขยับเงินเดือนตามระบบแท่งไปล่วงหน้าเกือบ 2 ปีแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเพิ่งจะได้รับอานิสงส์นี้เมื่อเดือนตุลาคม 2553
ในขณะที่ครูประถม มัธยม ซึ่งมีลักษณะงานคล้ายกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ได้ปรับขึ้นไป 8% และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ปรับขึ้นพร้อมกับข้าราชการอื่นๆ อีก 5%
ปัจจุบันครูประถม มัธยมจึงมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยมีเงินเดือนเท่า กันถึง 8%
หากอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องการมีเงินเดือนเท่ากับครูประถมมัธยม เห็นทีคงจะต้องไปอาศัยใบบุญของ ก.ค.เหมือนกับที่เคยแอบอิงใบบุญของ ก.พ.มาแล้ว
อย่างนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่รู้สึกอายครูประถม มัธยม บ้างหรือ แทนที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเต็มไปด้วยนักวิชาการควรจะต้องเป็นผู้นำของสังคม แต่กลับต้องคอยไปพึ่งใบบุญคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
ไม่ทราบว่าผู้บริหารของ ส.ก.อ.ยังสุขสบายดีหรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และหากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้โดยไม่มีการแก้ไข ต่อไปจะหาคนเก่งที่ไหนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หากคนเก่งไม่ยอมมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ท่านลองหลับตานึกเอาเองก็แล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพของบัณฑิตใน อนาคตทั้งนี้ เพราะถ้าผู้สอนมีความรู้น้อยแล้วจะเอาความรู้จากที่ไหนมาสอนนักศึกษา เนื่องจากไม่มีใครสอนได้มากกว่าที่รู้ประเทศในแถบตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรืออเมริกาต่างก็ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ที่ผ่านมาอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เคยเรียกร้องใดๆ เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเงินเดือน แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยม
สถานภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยหากเปรียบเทียบกับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาล ยิ่งไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย ทั้งนี้ เพราะเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่ำกว่าข้าราชการกลุ่มดังกล่าวชนิดมอง ไม่เห็นฝุ่น
มีใครทราบบ้างไหมว่าคนที่จบปริญญาเอกใหม่ๆ หากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพียงหมื่นเศษๆ เงินเดือนพอๆ กับพนักงานขับรถของบริษัท แล้วอย่างนี้คนเก่งที่ไหนจะอยากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนในคณะนิสิตศาสตร์ซึ่งเรียนกฎหมาย มาเหมือนกับผู้พิพากษาและอัยการทำไมจึงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้พิพากษา และอัยการอย่างเทียบกันไม่ได้ คุณวุฒิของอาจารย์นิติศาสตร์ก็มิได้ด้อยไปกว่าผู้พิพากษาและอัยการเลยแม้แต่ น้อย
อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จบปริญญาโทปริญญาเอกทั้งสิ้น และยังเป็นอาจารย์ที่สอนผู้พิพากษาและอัยการแต่กลับได้รับเงินเดือนต่ำกว่า ลูกศิษย์ที่ตัวเองเคยสอนมาแล้ว อย่างนี้จะไม่ให้อาจารย์รู้สึกน้อยใจได้อย่างไร
เช่นเดียวกัน อาจารย์แพทย์ และอาจารย์วิศวะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเรียนยากกว่าสาขาอื่นๆ แต่อาจารย์แพทย์และวิศวะกลับได้รับเงินเดือนเท่ากับข้าราชการพลเรือนทั่วไป ซึ่งมีเงินเดือนต่ำกว่าผู้พิพากษาและอัยการ
ท่านทราบไหมว่าหากอาจารย์แพทย์และอาจารย์วิศวะไปทำงานในภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนมากกว่าที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าสามเท่า
แต่อาจารย์เหล่านี้กลับยอมเสียสละทำงานในมหาวิทยาลัย ยอมกัดก้อนเกลือกิน แต่ไม่เคยมีใครมองเห็นคุณงามความดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยเหล่านี้เลย ปล่อยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยมเหมือนเช่นทุกวันนี้
หรือจะต้องรอให้อาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปขายกล้วยทอดกันให้เกือบหมด มหาวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะมองเห็นความสำคัญของอาจารย์มหาวิทยาลัย
อนิจจาช่างน่าสงสารอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียเหลือเกินที่อุตส่าห์เสียสละตัว เองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยโดยหวังว่าจะเห็นความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ที่ไหนได้แม้กระทั่งตัวเงินเดือนก็ยังไม่อาจสู้ครูประถมได้
แล้วอย่างนี้จะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไปได้ อย่างไร อย่าปล่อยให้เรื่องเช่นนี้ดำรงอยู่อีกต่อไปเลย รีบแก้ไขโดยด่วนเถิดครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24757&Key=hotnews

http://www.etesting.ru.ac.th/boss&staff2.html

ถ้าค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จะเกิดอะไรขึ้น

wage income salary
wage income salary

1 ต.ค.54 มีโอกาสพูดคุยในครอบครัว ว่าถ้าเกิดเหตุค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้น เงินเดือนของทุกคนจะเพิ่มขึ้น จากเหตุเช่นนั้น แล้วผลจะเป็นอย่างไร และผลที่เกิดขึ้น เราจะได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ หรือสังคมกระทบอะไรบ้าง .. ถ้าย้อนกลับมาที่ตัวเรา เราจะปรับตัวอย่างไรต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น หมายถึง ปรับอย่างไรให้ตนเองมีความสุขบนการเปลี่ยนแปลง

http://www.thaiall.com/ppt/diagram2011.pptx