สาวสวยหน้าตาดี จะกล้าพักกับชายแปลกหน้า 3 คนเหรอ

ห้องรวมแบบผสม ตามวัฒนธรรมนานาชาติ
ห้องรวมแบบผสม ตามวัฒนธรรมนานาชาติ

ต้นกรกฎาคม 2558 มีโอกาสเดินทางเข้าบางกอก
ด้วยระยะทางกว่า 700 กิโลเมตรด้วยรถไฟตู้นอนชั้นบน
เข้ามาประชุมทั้งวัน ตกเย็นต้องหาที่พักใกล้ ๆ สักคืน
ค้นกูเกิ้ลก็พบว่า หลับดี (lubd.com) เป็นที่พักราคาถูก
จากผ่าน agoda.com ราคาอยู่ที่ 400 กว่าบาท
ผ่านเว็บของโรงแรมก็ 750 บาท
เท่าที่อ่านดูก็เป็นห้องพักรวม 4 คน ห้องน้ำรวม
แต่ดูใหม่ ทันสมัย ใกล้ที่ประชุมในวันรุ่งขึ้น
ลงบรรได BTS สนามกีฬาก็ถึงเลย เดินไปชิดลมสบาย ๆ

1. เดินเข้าไป check in พนักงานพูดภาษาต่างชาติคล่องปรื๊ด
ก็แจ้งว่า walk in ราคา 800 และผมคงเป็นคนไทยในคนไทย
ไม่กี่คนที่ไปพักแล้ว ขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเพื่อไปเบิก
ก็ขลุกขลักนิดหน่อย เหมือนโรงแรมหลายแห่งนั่นหละ
เพราะชาวต่างชาติเขาไม่ขอใบกำกับภาษีกัน พนักงานที่ออกใบก็มากลางวัน

2. ขึ้นห้อง 302 ต้องใช้บัตรเปิดเข้าโซนที่พัก
เปิดเข้าห้อง และเปิดไฟหัวเตียง เข้าไปพบว่าพักแล้ว
มี 2 คน รวมผมเป็น 3 คน ที่พบตัวเป็นไต้หวัน
อีกสักพักคนที่ 4 ก็เข้ามาเป็นคนจีน
นอนไปสักพัก คนอเมริกาเข้ามาเพิ่ม แต่คราวนี้เป็นหญิง
ปัญหาที่คือผมไม่คุ้นเคยกับ ชาว 3 หญิง 1
หญิงสาวที่เดินทางมาคนเดียวแบบสะพายเป้ (Backpacker)
พักคืนเดียวกับผู้ชายนานาชาติที่อาจพบกันชาติเดียว

3. โทรไปเล่าให้เจ้าหน้าที่ เธอก็บอกว่าห้องรวม
คือรวมชายรวมหญิง ผมเข้าดูเว็บอีกครั้งก็จริง
ที่นี่มีให้เลือกคือ รวมชายหญิง หรือรวมเฉพาะหญิง
แต่ไม่มีแบบรวมเฉพาะชาย ถ้าห้องเดี่ยว หรือคู่
ราคาก็จะสูงเป็น 2 – 3 พันบาท
วัฒนธรรมเราต่างกับนานาชาติ
ซึ่งผมจะเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้เพือนที่ทำงานฟัง

4. กลางเดือนมิถุนายน ผมมาประชุมกับเพื่อน 2 คน
อีกคนเป็นหญิง วัยเราก็ลุงป้าทั้งคู่มีครอบครัวแล้วทั้งคู่
ต้องพักกันหลายคืน แต่จองโรงแรมแยกห้อง
ผมก็ได้รับคำตอบว่า วัฒนธรรมเรา หญิงชายไม่นอนด้วยกัน
แม้จะไว้ใจกัน คบเป็นเพื่อนกันมาเป็นชาติ
อาจต้องพบกันอีกทั้งชาติ ก็ไม่ไว้ใจมากพอที่จะนอนด้วยกัน

5. วัฒนธรรมต่างชาติ เขาเสมอภาคเรื่องเพศเยอะนะ
ช่องว่างระหว่างเพศแคบลง ไม่กี่วันที่ผ่านมา
อเมริกาประกาศให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้
ครั้งนี้ได้พบเรื่องของวัฒนาธรรมที่แตกต่างกัน
ทำให้นึกถึงเพื่อนบางกอกคนหนึ่ง เธอเคยทักผมว่าบ้านน๊อก บ้านนอก
พอนึกถึงเหตุการณ์นี้แล้ว
ท่าจะจริงว่าคนไทยแบบผมกลายเป็นบ้านนอกไปเลย
จะให้ชายสูงอายุอย่างผม นอนร่วมห้องกับหญิงสาวก็ดูแปลก
ตอนที่เธอเข้ามา ผมอยู่คนเดียว
แล้วเธอก็เปลี่ยนเสื้อใต้เตียงผม เฉยเลย
เพราะผมนอนเตียงบน จากนั้นเธอก็หลับไป
ส่วนผมก็นั่งอัพเฟสต่อไป ต่อมาทุกคนกลับมา ขึ้นเตียงของตน
พอดึกเราทุกคนก็ต่างคนต่างหลับ จนเช้า

หลับดี ที่พักสำหรับนักเดินทาง ชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่
หลับดี ที่พักสำหรับนักเดินทาง ชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่

ปล.อันที่จริงที่ลำปางก็มีโรงแรมแบบนี้ แต่ผมยังไม่เคยไปพัก
แต่ไม่นึกว่าจะมีหญิงหนึ่งชายสามน่ะสิครับ

ข่าวยุบรวมมหาวิทยาลัยก็เพื่อคุณภาพ .. อีกแล้ว

ploy 11
ploy 11

8 ธ.ค.54 ยุบรวมมหา’ลัยผุด ‘ม.กาฬสินธุ์’ แห่งแรกระบุ สกอ.ไม่มีอำนาจ-จัดตามคำขอท้องถิ่น
“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการ เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัย ใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้น ใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา ได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอน ตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่น เป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156376

6 ธ.ค.54 มติครม. เห็นชอบยุบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ-เชื่ออีก 30 ปีคนเรียนน้อยลง
วันที่ 6 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามแนว ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยคาดการณ์ว่าจากนี้ไป 30 ปี จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลง ฉะนั้นหัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษาหรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้นจึงเตรียมเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจากศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หากจังหวัดหนึ่งมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นหนึ่งแห่ง เช่น
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เสนอโดยจ.ชุมพร โดยยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมม.ราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี กับม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้ง ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดย จ.ตาก เป็นการยุบรวม ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา วิทยาเขตตาก กับมรภ.กำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมรภ.ล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า 4.การจัดตั้ง ม.กาฬสินธุ์ เสนอโดย จ.กาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวม มรภ.กาฬสินธุ์ กับ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้ง ม.ระยอง เสนอโดยจ.ระยอง โดยยุบรวม ม.เทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดย จ.กระบี่ เป็นการหลอมรวม ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่งปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
“วัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อร่างนโยบายประกาศใช้ ศธ. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
ต่อมาเวลา 18.30 น. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แนวทางการยุบรวมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ใช่ผู้สั่งยุบรวม แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอเอง โดยทำเรื่องมาที่สกอ. จากนั้นสกอ. จึงตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหลักเกณฑ์การยุบรวมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์การตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ได้เปิดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีวิทยาเขตอ่อนแอในจังหวัดนั้นๆ ได้รวมกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าจะยุบรวมได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ ความพร้อมของหลักสูตรที่จะไปเปิดใหม่ หรือหลักสูตรต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานในภูมิภาคท้องถิ่น เป็นต้น
“อย่างกรณีการยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัยก็เป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสกอ. ต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร และก็ทำประชาพิจารณ์ต่อด้วย ส่วนประเด็นยุบรวมเพราะมหาวิทยาลัยไปเปิดศูนย์นอกที่ตั้งโดยไม่มีคุณภาพถือ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศูนย์นอกที่ตั้งหากไม่มีคุณภาพก็ต้องปิดตัวไป หรือหากตรวจสอบว่าไม่มีคุณภาพก็สั่งยุบได้”  รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K11426487/K11426487.html
http://nationunews.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

6 ธ.ค.54 ครม.ยุบรวม 6 มหา’ลัย 7 จว. อ้างอีก 30ปีคนวัยเรียนลด เข้าเรียนน้อยลง คาดเพิ่มคุณภาพ-สนองท้องถิ่น จี้ห้ามขอเปิดมหา’ลัยเพิ่มอีก
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ครม.สั่งยุบรวมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำร่อง 6 แห่ง ใน 7 จังหวัด ‘ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-ตาก-ระยอง-กระบี่-กาฬสินธุ์’ อ้างอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรลดลง คาดคนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐน้อยลง และเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
เวลา 13.30 น. วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประชุมครั้งที่ 3 /2554มีการประเมินลักษณะประชากรไทยในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ.2548 อีก 30 ปีข้างหน้า พ.ศ.2578  พบว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆจนอิ่มตัวแล้วลดลง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดต่ำลง คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐลดน้อยลง จึงมีการเตรียมการให้มีการหลวมรวม ยุบรวมสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ  และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า ความหมายของการยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาหมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ หรือจังหวัดหนึ่งๆ จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงยึดรวมเพียงหนึ่งแห่ง  ตัวอย่างการยึดรวม หรือหลอมรวมสถาบันการศึกษา เช่น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เป็นการยึดรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร รวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร  เมื่อยุบรวมกันแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  1 แห่ง หรือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้การยุบรวมหรือหลอมรวม  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ  ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บางจังหวัดไม่ได้มีสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง แต่กลับยุบรวมกันหรือหลอมรวมกัน  คือ ไม่เคยมีมาก่อน แต่กลับจัดตั้งใหม่  ทางรัฐบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เปิดเป็นวิทยาเขต ก็ต้องไปสอบถามว่าจะหลอมรวมด้วยหรือไม่  ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วย ส.ส.หรือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเห็นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม  ความหมายคือ การยุบสองที่ให้เหลือที่เดียวให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ได้หมายถึงการยุบตึกมารวมกัน อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผนวกกัน ส่วนชื่อของมหาวิทยาลัยก็อาจให้ทั้งสองสถาบันไปตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครยอมกัน ในกรณีนี้อาจจะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม ไม่ใช่การฉกฉวยจังหวะแอบมั่วไปเปิดสถานศึกษาใหม่
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.ระบุว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา  ให้ความเห็นด้วยต่อที่ประชุมครม.ว่าเห็นด้วยกับหลักการนี้  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยห้องแถวเปิดขึ้นใหม่จำนวนมาก บางสถาบันการศึกษาเปิดขึ้นบริเวณใต้ทางด่วนก็มี และอีก 30 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยก็จะไม่มีคุณภาพ ซึ่งอนาคตจะทำให้คนที่จบออกมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่มีคุณภาพด้วยเช่น กัน  พร้อมกันนี้ขอเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า “ครม.จะไม่พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยเด็ดขาด”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โต้แย้งว่า ไม่ควรจะใช้คำว่า  “โดยเด็ดขาด” เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ  ทั้งนี้นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การจะใช้คำว่า “โดยเด็ดขาด”ไม่ได้ เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80  บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม…”  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  21 ,มาตรา 34 วรรคสาม, มาตรา 35 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36  ซึ่งข้อสรุปในประเด็นนี้ คือ ถ้าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่รัฐบาลจะพิจารณาโดยละเอียดเป็นกรณี พิเศษ
สำหรับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ใน 7 จังหวัดที่จะมีการยุบรวมกันคือ
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร  เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด (ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยอีก 1 แห่ง  ซึ่งปัจจุบันแปรรูปเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ
6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่  (ปัจจุบันขอจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ใช่รูปแบบหลอมรวม ยุบรวม แต่เป็นการจัดตั้งทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา คือ จากการรายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า การขยายตัวด้านจำนวนของสถาบันการอุดมศึกษาทำให้เกิดปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการกระจายตัวของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่เป็นทางการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) สถาบันการพลศึกษา (สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) วิทยาการทหาร (สังกัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 303 แห่ง อยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการหลอมรวม ยุบรวมและยกเลิกสถาบันการอุดมศึกษา  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก  และ 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง จ.ระยอง  พร้อมทั้งศึกษาแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวโน้มจำนวนประชากร จำนวนนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อีกทั้งข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน
ซึ่งมีข้อสรุปว่า “โดยหลักการไม่ควรมีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีอยู่สามารถรองรับนักศึกษาได้ในปัจจุบัน ประกอบกันแนวโน้มในอนาคตนักศึกษาจะลดลง แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวม ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และรัฐควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วโดย เฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ และวิทยาเขตต่างๆเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งการบริหารทั่วไปและการบริหารวิชาการ”
ทั้งนี้จากการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีในช่วงปี พ.ศ.2548-2578ลดลงถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งหมด  เหลือ 9 ล้านคนเศษ คิดเป็นร้อยละ 14  ส่วนวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้านคน เป็น 43 ล้านคน จากนั้นจะเหลือ 38 ล้านคนในปี 2578 ซึ่งประชากรวัยเด็ก(วัยเรียน) จะลดลงอย่างต่อเนื่อง (อายุ 6-21 ปี) ลดลงจาก 16 ล้านคนในปี 2548 เหลือเพียง 11 ล้านในปี 2578
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลรายงานประจำปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงปี  2546-2552 ปริมาณนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2547 เป็นต้นมาซึ่งส่งผลต่อระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับอาชีวะศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2551
หากพิจารณาข้อมูลในอดีตจะพบว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาโดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัด เดียวกัน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มาจากการหลอมรวมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.นราธิวาสและวิทยาลัยการอาชีพตากใบ อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนครพนม มาจากการหลอมรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม กับวิทยาเขตนครพนมของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้แม้จะมีความก้าวหน้าแต่ก็ประสบปัญหาด้านการบริหารและงานด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ต่างสังกัดและต่างกระทรวงทำให้ไม่ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
http://www.tcijthai.com/investigative-story/1043