เชื่อม wireless adapter กับ wireless adapter ในบ้าน

home network

17 พ.ค.53 จากเหตุที่ในบ้านมีเครื่อง PC กับ ADSL Router และมี Wireless Adapter แบบ USB ตัวหนึ่งยี่ห้อ SMC แต่ไม่มี Access Point ที่ปล่อยสัญญาญ Wireless
แล้ววันหนึ่ง มีเพื่อนหลายคนหิ้ว Notebook มาทำรายงานที่บ้าน ขอใช้ Wireless เพราะคิดว่าบ้านผมมี Hot spot แต่ผมไม่มี  Acess point ปล่อยสัญญาณ Internet จึงปรับให้ PC เปิดบริการเน็ตไร้สายใช้วิธี Peer-to-Peer แบบ Adhoc ผ่าน ICS ซึ่งเป็นการทำให้เครื่อง PC และ Wireless Adapter รวมกันเป็น Access Point ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แล้วเชื่อมอัตโนมัติออกไปทาง UTP ที่ PC เชื่อมอยู่กับ ADSL Router อาจอธิบายได้ตามภาพ (Bridge Connection คือการเชื่อมต่อระหว่าง 2 เครือข่าย)

มีขั้นตอนการติดตั้งใน PC 7 ข้อแรก ส่วนข้อ 8 ดำเนินการกับเครื่องเพื่อน มีขั้นตอนดังนี้ 1) เข้า Control Panel, Add/Remove Program เพิ่มโปรแกรม Network Services/Peer-to-Peer ของ Windows 2) ติดตั้ง Wireless Adapter ให้เรียบร้อยสำหรับเครื่องที่ต่อสายแลนและเป็นเครื่องที่จะเปิดเป็น Access Point ถ้าเป็น Notebook ที่มี Wireless จะมีอยู่ในเครื่องแล้วไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่ม แต่ถ้าเป็น PC ก็ต้องหาอุปกรณ์แบบ USB มาติดตั้งเพิ่มตัวหนึ่งประมาณ 5 ร้อยบาท 3) เข้า Control Panel, Network Setup Wizard เพื่อทำให้เครื่องบริการ ICS เชื่อมระหว่าง Wireless Adapter และ UTP มีผลให้เครื่อง PC บริการ DNS กับเครื่องที่เข้ามาเกาะสัญญาณไร้สาย แล้วผ่านออกไปทางสายแลนได้ ในระหว่างติดตั้งให้เลือก This computer connects directly to the Internet. The other computers on my network connect to the Internet through this computer. ถ้าให้เลือก Local Area Connection ก็เลือกแบบ LAN Card ที่ออก UTP 4) เลือก Properties ของ Wireless Adapter , Wirless Networks, Advanced, Computer-to-computer (ad hoc) networks only 5) เลือก Properties ของ Wireless Adapter , Wirless Networks, Add Network name(SSID), WEP, Network Key
6) เลือก Wireless Network status, Properties, Internet protocol, IP = 192.168.0.1, Gateway = 192.168.0.1, DNS = 192.168.0.1 จะต่างกับการตั้ง LAN เข้ากับ ADSL ที่ติดตั้งก่อนหน้านี้ สำหรับ Gateway ของผมเป็น 192.168.1.1 7) เลือก Properties ของ Local Area Connection Status ,  Advanced, แล้ว Check บน Allow other network users to connect through this computer’s Internet connection 8 ) ในเครื่องของเพื่อนที่กรอกรหัส Network key แล้ว สามารถปล่อยให้รับ IP อัตโนมัติ หรือไปกำหนด Wireless Network status, Properties, Internet protocol, IP = 192.168.0.2 ถึง 255 , Gateway = 192.168.0.1, DNS = 192.168.0.1

งานนี้ทำเพื่อให้บริการชั่วคราวกับเพื่อนที่นำ Notebook มาใช้ ทำให้ผมไม่ต้องไปหายืม Access point ที่ไหนมาติดตั้งเพิ่มครับ สะดวกไปอีกแบบ แต่จะสะดวกกว่านี้ถ้าไปซื้อ Access Point มาเชื่อมเพิ่ม หรือ ADSL ตัวใหม่ที่บริการ Wireless แล้วบริการ Hot spot แบบที่ร้านกาแฟเขาบริการ ซึ่งผมมีแผนนั้นในใจแล้ว และรอว่าตัวเก่าเสียเมื่อใดจะหาซื้อรุ่นที่สมเหตุสมผลมาใช้ครับ

Key working to share wireless adapter : 1) Windows Components, peer-to-peer 2) check wireless & lan 3) Network Setup Wizard 4) Wireless network, computer-to-computer 5) Add, SSID, WEP, Network Key 6) Set static IP of wireless adapter 7) Advanced, Allow other network user 8) goto Client Computer and setup
TOT DNS 203.113.24.199 203.113.127.199
+ http://www.arip.co.th/articles.php?id=406532
+ http://www.youtube.com/watch?v=Cgfg4myKkXE
+ http://www.thaiall.com/datacomm/
+ http://bit.ly/AiVlvW [thaiware]
+ http://jirayu.in.th/2013/05/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99-windows-8-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-wifi-hotspot/ [win7,win8]

ปัญหาอีเมลที่เกิดจากความบกพร่องของ DNS

ได้รับแจ้งจาก คุณธรณินทร์ สุรินทร์ปันยศ ว่า อ.สตีเฟ่นท์ รับอีเมลจากเพื่อนที่เมืองจีนไม่ได้ เพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว จึงมีการทดสอบหลายกรณีเกิดขึ้น ทดสอบครั้งที่ 1 โดยคุณธรณินทร์ส่งอีเมลมีหัวข้อ test จาก gmail.com และพิมพ์เนื้อหาแบบมั่ว เช่น asdfasdfasdf  ก็ยังส่งไม่ถึงโยนก จึงมีสมมติฐานว่าระบบอีเมลของโยนก ปิดกั้นอีเมลขยะ ดังนั้น อ.บุรินทร์ จึงเข้าไปดูกล่อง junk mail รวมของโยนก ก็ไม่พบว่าอีเมลของคุณธรณินทร์ เข้าไป ทดสอบครั้งที่ 2 โดย อ.บุรินทร์  ส่งอีเมลมีหัวข้อ test จาก gmail.com แล้วพิมพ์เนื้อหาดี ๆ ก็พบว่าไปอยู่ใน junk mail รวมของโยนก แต่ไม่อยู่ในกล่องของ burin แสดงว่าระบบได้รับอีเมลฉบับนี้จาก gmail.com แล้วส่งต่อตามนโยบายอย่างถูกต้อง ทดสอบครั้งที่ 3 โดย อ.บุรินทร์  ส่งอีเมลมีหัวข้อ test จาก gmail.com แล้วพิมพ์เนื้อหาแบบมั่ว เช่น  asdfasdfasdf  และ  asdfasdfasdf  asdfasdfasdf  พบว่าอีเมลไม่ถูกส่งออกจาก gmail.com แต่ตีกลับในทันทีโดยแจ้งว่า DNS server returned answer with no data ต่อจากนั้นก็ทดสอบอีเมลดี ๆ แบบตั้งใจพิมพ์อีกหลายครั้ง เปลี่ยนทั้งหัวข้อ และเนื้อหาในหลายกรณีก็ยังได้รับข้อความแบบเดิม คือส่งไม่ออกจาก gmail.com สรุปได้ว่า ปัญหาอีเมลครั้งนี้ เกิดขึ้นแบบส่งถึงบ้างไม่ถึงบ้าง
     เมื่อค้นจาก google.com ก็พบว่ามีหลายคนที่ใช้บริการของ gmail.com พบปัญหานี้ แต่ก็ไม่มีคำอธิบายถึงวิธีแก้ไขที่ชัดเจน ทดสอบครั้งที่ 4 เทียบเคียงปัญหาอีเมลกับการเปิดเว็บไซต์ isinthai.com ซึ่งใช้บริการ DNS ของ yn4 ก็พบว่ามีปัญหาเช่นกัน พอเปลี่ยนให้ yn1 เป็น DNS ในเครื่องตนเอง ก็พบว่าปัญหาก็หมดไป แสดงว่า DNS ตัวทำงานไม่ปกติ จึงสรุปร่วมกับคุณอนุชิต ยอดใจยา ผู้ดูแลระบบว่า DNS ตัวปัจจุบันอาจจะมีบริการเข้ามาร้องขอมากเกินไป  เกิดปัญหา DoS = Denied of Service ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการทั้ง DHCP และ DNS ในเครื่องเดียวกัน วิธีแก้ไข 1)ก็น่าจะหาเครื่องเพิ่ม และแยกบริการออกจากกันลดปัญหาคอขวด จากนี้ก็ต้องทดสอบว่าผลการแยกบริการออกจากกันคือวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องหรือไม่ 2)ตรวจสอบว่า IP ของ DNS ที่มีอยู่หลายเบอร์ หลายภารกิจ ทำให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสับสนหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนเบอร์ DNS หลายครั้ง อาจทิ้งปัญหาจากการแก้ไขค่า Configuration ที่ยังไม่เรียบร้อยในทุกระบบก็เป็นได้
+ เครื่องมือตรวจเครือข่ายของ nectec.or.th
+ เครื่องมือตรวจเครือข่ายของ network-tools.com

เน็ตเวิร์คล่ม เครื่องบริการล้ม รู้ได้ด้วย NetHAM

21 ก.ค.52 วันนี้ได้รับเอกสารชวนไปอบรมการใช้โปรแกรมตรวจสอบสถานะของเครือข่ายและบริการ NetHam (Network Health Analysis and Monitoring) มีอบรมวันที่ 19-20 ส.ค.52 ที่เชียงใหม่ คนละ 1500 บาท จัดโดย สวทช.ภาคเหนือ ซึ่งระบบนี้ทำงานบน Fedora Core 7 or UP จึงเข้าไปค้นข้อมูลและพบรายละเอียดที่มาของโครงการดังนี้  “ในการบริหารจัดการเครือข่ายภายในองค์กร ปัญหาที่พบอยู่เสมอคือความผิดปกติภายในระบบที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ กว่าที่ผู้ดูแลระบบจะรับทราบถึงปัญหา เวลาก็อาจผ่านไปเนิ่นนานจนเกิดความเสียหาย อีกทั้งการระบุต้นเหตุของปัญหาก็อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะในเครือข่ายขนาดใหญ่ การนำระบบตรวจสอบการทำงานเครือข่ายอัติโนมัติมาใช้ จึงสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ดูแลระบบ ทำให้สามารถรับรู้ในทันทีที่เกิดปัญหา และสามารถทำการแก้ไขได้ อย่างทันท่วงที ส่งผลให้การทำงานของระบบเครือข่ายภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ
       ความสามารถของโปรแกรม อาทิ 1)ดูสถานะของระบบผ่าน web interface ได้จากทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าเครื่อง  2)แสดงสถานะของระบบบนแผนภาพ topology ช่วยให้เข้าใจง่าย เห็นภาพรวมได้ชัด 3)มีการเก็บข้อมูลเชิงสถิติของ service และแสดงผลเป็นกราฟ สามารถเรียกดูย้อนหลัง และซูมดูกราฟในช่วงเวลาที่ต้องการได้ 4)สามารถตั้งเวลาตรวจสอบสถานะของ service มาตรฐานที่สามารถเข้าถึงจากภายนอก เช่น HTTP, FTP, POP3, SMTP, SNMP ฯลฯ และสถานะภายในที่ไม่สามารถเข้าถึงจากภายนอก ต้องดึงข้อมูลผ่าน secure remote access 5)สามารถกำหนดรูปแบบของการตรวจวัดได้อย่างละเอียด รวมทั้งสามารถพัฒนา plugin และ module สำหรับรองรับ service ใหม่ในอนาคตได้ 6)แจ้งเตือนผู้ดูแลระบบผ่านทางอีเมล ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติในระบบ
+ ข้อมูลจาก http://wiki.nectec.or.th/ntl/Project/NetHam