ผลประเมินจากเวทีวิจัยในชั้นเรียน

เวทีวิจัยในชั้นเรียน
เวทีวิจัยในชั้นเรียน

20 ต.ค.53 ผลประเมินความพึงพอใจต่อเวทีวิจัยในชั้นเรียน 2553 (แบบกัลยาณมิตร) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีจำนวน 5 ใน 6 หัวข้อ ซึ่งข้อที่แตกต่างหนึ่งข้อนั้นมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ประโยชน์ที่ได้รับ .. ทีแรกคิดว่า 1) ห้องสัมมนาจะมีความพึงพอใจต่ำสุด เพราะมีเพื่อนหลายคนนิยมนั่งหลังเพื่อปฏิบัติภารกิจบางประการ แต่ผมจัดเวทีในรูปเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เปิดให้ทุกคนมีบทบาทเสมอกัน (อาจมีบางท่านคิดว่าเสมอภาคย่อมไม่ยุติธรรม) ส่วนประเด็นที่อยากกล่าวถึงมี 4 ประเด็น คือ 1) ระยะเวลา พอใจต่ำสุด น่าจะเกิดจากเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนกัน แต่จำกัดเพียง 2 ชม. หลายคนจึงไม่มีโอกาสได้แสดงทัศนะของตนเอง 2) ผู้้นำเสนอผลงาน ต่ำรองลงมา เพราะในจำนวน 4 ชิ้นงานมีผู้สะดวกมานำเสนอเพียง 2 ชิ้นงาน อีกปัญหาต่อผู้นำเสนอคือ จำกัดเวลาด้วยวิธีการนำเสนอ ซึ่งต้องแลกกับรูปแบบการจัดเวทีแบบเปิด 3) เอกสาร ที่แจกให้ทุกคนมีเพียงบทคัดย่อ ไม่แจกล่วงหน้า ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน และไม่มีความสมบูรณ์ในการเป็นบทคัดย่อของงานวิจัย 4) ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ร่วมเวทีได้ทราบนโยบายที่มีความชัดเจน อาจารย์หลายท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ประทับใจนโยบายชัดเจน นักวิชาการจากภายนอกมีความชำนาญขั้นพระอินทร์ในการจัดเวทีเสวนาแบบนี้ได้ชวนคนในวงให้พูดคุยและก็ชวนได้สำเร็จ (ตอนแรกผมนึกว่าจะปิดประชุมในชั่วโมงแรกซะแล้ว เพราะมีน้ำแข็งเกาะใจผมอยู่) อ.แม็ค เป็นผู้จุดประเด็นให้เวทีมีรสชาติ เกิดการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย สุดท้ายท่านอธิการนำเวทีกลับเข้าสู่การวิพากษ์บทคัดย่อได้สำเร็จ แล้วนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตต่อไป .. ที่เขียนนี้เป็นรุ่นเผยแพร่ทั่วไปสำหรับ google.com และไว้อ่านหลังเกษียณ ถ้าเขียนเป็นรายงานในมหาวิทยาลัยจะเขียนอีกแบบครับ

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.