ใคร ๆ ก็ชอบของฟรี อยากให้ค่ายเพลงมีน้ำใจไม่คิดตังร้านกาแฟ

sing a song in party
sing a song in party

ที่มา
ปลายมิถุนายน 59 ถึงต้นกรกฎาคม 59
ฟังข่าวมาเรื่องร้านกาแฟเปิดเพลงแล้วจี๊ดเลยครับ
เป็นเรื่องของค่ายเพลง และศิลปินเพลงออกมาชวนมองต่างมุม
ว่ากฎระเบียบก็อย่างหนึ่ง สังคมร้านกาแฟก็อีกอย่างหนึ่ง

ความเห็นศิลปิน
ผมว่าศิลปินเค้าเข้าใจผู้ฟังกับร้านกาแฟนะว่า
ผู้ฟังชอบฟังเพลงฟรี ไม่ชอบซื้อเพลงฟัง
เจ้าของร้านกาแฟ ชอบเปิดเพลงฟรี ไม่ต้องการเพิ่มทุน
นี่ถ้าค่ายเพลง
ทำ CSR แล้วอนุญาตให้ร้านกาแฟเปิดเพลงฟรีโดยไม่เสียตัง
จะเข้าหลักมีเมตตากรุณา เข้าใจลูกค้า มีน้ำใจ ไม่คิดเล็กคิดน้อย
ไม่เห็นแก่เงิน ไม่หน้าเลือด ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน รับผิดชอบต่อสังคม
รู้จักพอ ไม่อ้างกฎหมาย เคารพนับถือผู้อื่น และมีเหตุผล
http://www.thaiall.com/ethics/

working in coffee shop
working in coffee shop

ข้อมูลข่าวประกอบ
เกี่ยวกับเรื่องร้านกาแฟเปิดเพลงผ่าน youtube.com แล้วโดนจับ
หัวข้อ จ่อแถลงละเมิดลิขสิทธิ์ เปิดเพลงในร้านกาแฟผ่านยูทูป
http://www.thairath.co.th/content/650817
ต่อมามี “ศิลปินอื่นพร้อมใจเปิดเพลงฟรี”
http://manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9590000065638

ที่ผ่านมามีจับจริง “หนุ่มเจ้าของร้านกาแฟโดนจับลิขสิทธิ์
http://www.thaijam.com/24801

ทรัพย์สินทางปัญญาสัญจร (itinlife397)

ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย
ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย

ได้เข้าร่วมงานสัมมนาโครงการออกหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาสัญจร ครั้งที่ 2 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ แผนผังภูมิของวงจรรวม ความลับทางการค้า และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันที่ 17 พ.ค.56 ทำให้ทราบว่าทรัพย์สินทางปัญญามีกฎระเบียบ เงื่อนไข และหน้าที่ของหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครอง ให้สิ่งที่ได้ถูกสร้างสรรค์ของเราไม่ถูกคัดลอก ไม่แอบอ้าง และมีการนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์

ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 7 ฉบับ ซึ่งดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นิยามในแบบที่คุ้นเคยว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอะไรที่เราทำขึ้นแล้วมีคนลอกไปได้ แสดงว่าจดทรัพย์สินทางปัญญาได้ สำหรับสถานที่รับจดทะเบียนเพื่อขอรับการคุ้มครอง โดยปกติจะยื่นได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เป้าหมายของการปกป้องก็เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ ป้องกันการลอกเลียน ที่เห็นสินค้าลอกเลียนใกล้ตัว เช่น สินค้าจากประเทศจีน ทั้งซีดี รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า ของตกแต่ง และเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิทยากรได้นำเสนอ วงจรของสินค้า คือ ออกแบบใหม่ จำหน่ายได้ราคา ลอกเลียนสินค้า แล้วราคาตก จากนั้นก็ต้องออกแบบใหม่เป็นวงจรเรื่อยไป ซึ่งหลังออกแบบนี้เองที่จะต้องยื่นจดสิทธิบัตร เพื่อให้ผลงานที่จำหน่ายไม่ถูกลอกเลียน แล้วมีราคาสูง เมื่อสิทธิบัตรหมดอายุก็จะมีคู่แข่งผลิตขึ้นมาจำหน่ายจำนวนมากเป็นผลให้ราคาตกลงไปจากเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือบริษัท sony ยื่นจดสิทธิบัตรทีวีจอแบน แต่ใช้เวลาพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเวลานานจึงนำออกจำหน่าย เมื่อหมดอายุก็จะมีบริษัทคู่แข่งผลิตออกมา ทำให้สินค้าที่เคยมีเพียงบริษัทเดียวมีราคาลดลง ซึ่งสรุปได้ว่าสินค้าที่จะได้รับความคุ้มครองต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ ทำซ้ำได้ มีลักษณะเฉพาะ ไม่มีลักษณะต้องห้าม และต้องไม่เหมือนที่จดไปแล้ว หากสนใจเรื่องนี้ก็ต้องศึกษารายละเอียดจากเอกสารเผยแพร่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป

ดร.วันชาติ นภาศรี กล่าวรายงาน และผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม กล่าวเปิดงาน
ดร.วันชาติ นภาศรี กล่าวรายงาน และผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม กล่าวเปิดงาน