ปลาดิบในทะเล มีพยาธิ อย่างแน่นอน

ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

บทความใน ม.มหิดล โดย ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล และ ภก.สุเมธ จงรุจิโรจน์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ระบุว่า มีความเชื่อผิด ๆ ว่า ไม่พบพยาธิในปลาน้ำทะเลอย่างแน่นอน จะพบพยาธิเฉพาะปลาน้ำจืดเท่านั้น จึงรับประทานปลาดิบจากทะเลได้อย่างสบายใจ

ในความเป็นจริงปลาทะเลก็มีพยาธิได้ ดังข่าวเมื่อสิงหาคม 2554 ว่าพบพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งในปลาดิบที่ขายอยู่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป เจ้าพยาธิที่ว่านี้ มีชื่อ อะนิซาคิส (Anisakis simplex) ทำให้เกิดโรคเอนิซาคิเอซิส (Anisakiasis) ตรวจพบได้ในปลาหลายชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาเฮอริ่ง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว พยาธิอาจจะชอนไชไปตามทางเดินอาหาร อยู่ในลำไส้ หรือในช่องท้อง

+ ระหว่างปี พ.ศ.2508 – 2530 มีรายงานว่าพบผู้ป่วยในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 4000 ราย ซึ่งพบการเกิดก้อนทูมในกระเพาะอาหารมากที่สุด ถ้าตัดก้อนทูมจะพบพยาธิอยู่ภายในก้อนทูม การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด แล้วปี พ.ศ.2538 มีรายงานพบผู้ป่วยในญี่ปุ่นประมาณ 2000 ราย ในสหรัฐอเมริกามีรายงานการพบผู้ป่วยประมาณ 500 รายต่อปี ในยุโรปมีประมาณ 500 ราย สำหรับประเทศไทยก็มีรายงานการพบผู้ป่วยครั้งแรกจากพยาธิชนิดนี้ในชาวประมงทางภาคใต้ และยังมีรายงานว่าพบผู้ที่เกิดอาการแพ้ต่อพยาธิตัวนี้ทำให้เกิดผื่นลมพิษ ดังนั้นการรับประทานปลาดิบ อาหารอันเลื่องชื่อของแดนอาทิตย์อุทัย จึงต้องสังเกตเนื้อปลาว่ามีตัวอ่อนของพยาธิปะปนอยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
http://health.kapook.com/view99882.html
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000114815
http://women.thaiza.com/

เนื้อย่าง บาร์บีคิว สเต็ก ปลาเผา ปลาย่าง ไส้กรอกปิ้ง มีสารพิษ 3 ชนิด

images
images

——————————————————————–thaiall.com รวบรวม

ผมเคยทานอาหารฝรั่งหลายรายการ วันก่อนก็พาบุพการีไปรับประทานมา วันนี้พบว่ามีสารพิษที่อาจทำให้ต้องจากไปก่อนวัยอันควร  โดย คุณวิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เชียงราย เขียนเรื่อง สารก่อมะเร็งจากอาหารปิ้ง ย่าง ทอด อธิบายว่า จากการวิจัยค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปของการเกิดมะเร็งว่า เกิดจากขบวนการหลายขั้นตอน โดยมีขบวนการเริ่มต้น (Initiation) หมายถึง การเริ่มต้นความผิดปกติของ DNA สารที่ก่อให้เกิดขบวนการเริ่มต้นเรียกว่า สารตั้งต้น (Initiator) สารก่อการกลายพันธุ์ จัดเป็นสารตั้งต้นได้ หลังจากนั้น DNA ที่ผิดปกติจะได้รับการส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดต่อไปโดยขบวนการส่งเสริม (Promotion) โดยสารส่งเสริมมะเร็ง (Tumor promoter) ทำให้เกิดการเป็นมะเร็งในที่สุด สารก่อการกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งจึงมีความเกี่ยวข้องกัน ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อ DNA จนนำไปสู่การเป็นมะเร็ง
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=77

การเกิดโรคต่าง ๆ เนื่องจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง สาเหตุหนึ่ง คือ โรคที่เกิดจากการได้รับสารก่อกลายพันธุ์ และสารก่อมะเร็งในอาหารรมควัน และ อาหารปิ้ง ย่าง และ ทอด ซึ่งพบว่ามีสารพิษปนอยู่หลายชนิด อาหารที่ถูกทำให้สุกโดยให้ความร้อนโดยตรงบนอาหาร ได้แก่ เนื้อย่าง บาร์บีคิว สเต็ก ปลาเผา ปลาย่าง ไส้กรอกปิ้ง เป็นต้น อาหารดังกล่าวเป็นที่นิยมของคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะทำให้อาหารมีกลิ่นหอม และ รสที่เอร็ดอร่อย
จากการศึกษาพบว่าอาหารพวก ปิ้ง ย่าง ทอด มีสารพิษหลายชนิดที่ควรกล่าวถึง คือ

1.สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) ก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ได้ เช่น เกิดมะเร็งในตับ ไต หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งในตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารในคน
2.สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) เป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลเป็นวงแหวน พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์สูงมาก จากการศึกษาฤทธิ์ต่อการกลายพันธุ์ของพัยโรลัยเซต พบว่าสารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรมมากกว่าสารอะฟลาทอกซินตั้งแต่ 6-100 เท่า สารพัยโรลัยเซตสามารถรวมตัวทางชีวเคมีกับดีเอ็นเอ แล้วเป็นสารก่อการกลายพันธุ์ได้

3.สารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH = Polycyclic aromatic hydrocarbon) เป็นสารพิษที่ค่อนข้างร้ายแรงมาก ส่วนใหญ่เป็นสารเริ่มต้นของสารกลายพันธุ์ (Premutagen) และสารเริ่มต้นของสารก่อมะเร็ง (Precarcinogen) พบในเขม่าควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ น้ำมันดิบ นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารอินทรีย์ เช่น ไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ น้ำมัน และไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงพบสารชนิดนี้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง อาหารทอดกรอบ อาหารรมควัน นอกจากนี้ยังพบสาร PAH คล้ายคลึงกับการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ บุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม

————————————————-
ที่มาหนังสือความรู้สิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 14 พ.ศ.2543 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้าที่1-3.