สังคมเสื่อมเพราะคนมีคม ตัวอย่างจาก 2 คน 2 คม

4 ธ.ค.52 ภาพยนต์เรื่อง 2 คน 2 คม ที่มีตัวตนจริงในสังคมใดย่อมหมายถึงความเสื่อมที่ซ่อนบ่มใน สังคมนั้น 1)คมหนึ่งที่ดูภายนอกเป็นคนดี แต่อันที่จริงเป็นคนร้าย คอยทำลายสังคมที่สงบให้ปั่นป่วน 2)คมที่สองที่ดูภายนอกเป็นคนร้าย แต่ก็พยายามทำสิ่งดีเพื่อสังคม หวังว่าสังคมจะสงบสุขและน่าอยู่ อันที่จริงคนทั้งสองต่างมีอัตตา มีความมุ่งมั่นในวิถีการดำรงชีวิตของตน เป็นธรรมดาของโลกและของทุกสังคมที่มีคนหลายประเภท ดังนั้นทุกประเทศต้องมีตำรวจ และทหาร เพื่อรักษาความสงบไม่ให้คมที่อยู่ในตัวคนออกมาแสดงบทบาทเชือดเฉือนคนรอบตัวจนเกินพอดี วันใดคนมีคมสองคนที่มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ขัดผลประโยชน์ ขัดหูขัดตา ย่อมเกิดโทสะทำให้สังคมลุกเป็นไฟ และคนในสังคมนั้นก็จะไม่สงบสุขอย่างเช่น เสื้อเหลือง เสื้อแดง
     ผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม กลายเป็นเรื่องรอง ถ้าคนสองคมมาเผชิญหน้ากัน ถ้าคมหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในบางเรื่อง แต่ไม่ใช้เหตุผลเป็นฐานคิด อาจเลือกปฏิบัติไปในทางที่ทำให้สังคมเสื่อมเสีย เพราะมองเห็นอีกคมหนึ่งเป็นศัตรู ไม่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ต้องการเสวนาด้วย เหมือนทหารที่พยายามดับเพลิงด้วยปาก โดยไม่ขอความช่วยเหลือจากพนักงานดับเพลิงที่มีน้ำอยู่เต็มคันรถ แล้วทุกคนก็ยืนดูเพลิงเผาผลาญทุกอย่างให้วอดวายไปอย่างน่าเสียดาย  ตามประสา “คนเชียร์มวย” ที่มีความสุขที่เห็นผู้ประทะกันอย่างมีความสุข
     ถ้าอีกคมหนึ่งมีทรัพยากรที่สังคมต้องการไว้ในครอบครอง แต่ไม่ถูกร้องขอจาก ผู้ควบคุม อย่างเช่นพนักงานดับเพลิงที่ไม่อาจเข้าไปดับเพลิงในค่ายทหาร เพราะไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่ากรณีใด ถ้าเข้าไปเป็นเจอคุก นายทหารอาจยึดกฎ ยึดหลักการของตนอย่างไม่สมเหตุสมผล ก็เป็นอภิสิทธิ์ที่พวกเขากระทำได้ แต่ผลสุดท้ายค่ายทหาร และชุมชนรอบค่าย ครอบครัวทหาร ก็จะได้รับผลกระทบกันไปหมด และในจำนวนนั้นก็อาจมีญาติพี่น้องของพนักงานดับเพลิงรวมอยู่ ปัญหาทั้งหมดเกิดเพียงเพราะผู้บังคับบัญชาค่ายทหารมีอัตตาไม่ลงรอยกับผู้อำนวยการสำนักดับเพลิง และพนักงานดับเพลิงก็กลัวคุก ถ้าทุกคนยึดมั่นในประโยชน์สูงสุดของสังคมแล้ว สังคมที่เราอยู่ก็คงจะเป็นสุข .. นี่คือเรื่องเล่าที่เรียนรู้มาจากภาพยนต์

ร้องเพลงชาติที่ลำปาง 18.00น.

ร้องเพลงชาติ
ร้องเพลงชาติ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ชาวจังหวัดลำปางหลายแสนคน ที่มาจากทุกองค์กร ๆ ละประมาณ 500 คน ไปรวมตัวกันที่ข่วงนคร หรือห้าแยกหอนาฬิกา เพื่อร้อง เพลงชาติไทย ออกทีวีให้คนทั้งประเทศฟัง มีบุคลากรมหาวิทยาลัยโยนกที่นำโดย ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ อธิการบดี และครอบครัวของผมไปร่วมร้องเพลงในครั้งนี้ ตอนไปถึงผมแยกออกไปต้องหาที่จอดรถ ได้พยายามเดินเข้าจุดนัดหมาย แต่ไปไม่ถึงเพราะมีผู้คนมากมายทั้งเด็ก สตรี ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนไปรวมแสดงพลังในครั้งนี้ ก็ได้ภาพหลังเวทีมาฝาก เพราะจุดที่กล้องทีวีจะเก็บภาพอยู่หน้าเวทีทั้งหมด ซึ่งมีชาวลำปางแน่นขนัดแบบที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน กว่าการจราจรจะคลายตัวลงจากข่วงนครก็ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง เป็นเหตุกาณ์ในประวัติศาสตร์อีกครั้งที่จะต้องบันทึกและจดจำไว้
     คำร้องโดย พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามกองทัพบก  “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

ชื่นชม คณะบริหารฯ จากงานถวายผ้าฯ

ยอดชาย คณะบริหารธุรกิจ
ยอดชาย คณะบริหารธุรกิจ

6 พ.ย.52 ได้พบว่าสุดยอดอาจารย์ของคณะบริหารฯ มีหลายท่านจากการร่วมทำโครงการถวายผ้าจำนำพรรษา ท่านแรกคือ อาจารย์แดน กุลรูป ซึ่งทำงานในฐานะหัวหน้าฝ่ายพิธีการ ท่านใช้ระบบและกลไกได้อย่างเข้าใจ จัดทำกำหนดการส่วนพิธีกรรมที่วัด กำหนดผู้ทำพิธีทางศาสนาได้อย่างเหมาะสม กำกับให้กลไกภายในวัดเป็นไปอย่างราบรื่น ยอดอาจารย์ท่านที่สองคือ อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ หรืออาจารย์แม็ก ที่ชาวลำปางรู้จักในฐานะยอดวิทยากรกระบวนการ ท่านทำหน้าที่เป็นผู้นำประกอบพิธีทางศาสนาของโครงการฯ ที่วัดบรรพตสถิต ส่วนยอดอาจารย์ท่านที่สามคือ อาจารย์คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ หรืออาจารย์บอย ได้ฉายความสามารถด้วยการเป็นผู้ให้เสียงประกอบขบวนสะเปารถใหญ่ โดยสื่อให้กับชาวลำปางระหว่างเคลื่อนขบวนไปตามถนนได้เข้าใจ ได้ถ่ายทอดภาพลักษณ์และแผนงานในช่วงการพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยครั้งสำคัญได้อย่างเข้าใจ
     ถ้ามีคนถามผมว่า ยอดอาจารย์ของโยนก ที่มีทักษะเป็นเลิศด้านการสื่อสาร ผมคงยกให้ อาจารย์แม็กกับอาจารย์บอย ถือครองอันดับที่ 1 ร่วมกันไปแล้ว ส่วนผู้ที่เอาจริงเอาจังกับการทำงาน แสดงให้เห็นถึงระบบและกลไกในหัวใจ ก็ต้องยกให้อาจารย์แดน เพราะเพื่อนร่วมงานของผมก็ยืนยันอย่างนั้น สำหรับจำนวนนักศึกษาคณะบริหารที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นอันดับ 1 มีจำนวนถึง 38 คนจาก 139 คน และสรุปมูลค่ารวมทั้งโครงการสำหรับคณะบริหารฯ คือ  7,579 บาท

ชื่นชม อ.สุภาพ ขุนจุมพล จากงานถวายผ้าฯ

6 พ.ย.52 ผมเขียนรายงานโครงการถวายผ้าจำนำพรรษา 2552 เป็นโครงการบูรณาการ และ อ.สุภาพ ขุนจุมพล หรือที่เพื่อนร่วมงานเรียกเธอจนติดปากว่า อ.อ้อม โดยท่านรับผิดชอบเป็นหัวหน้าฝ่ายรับบริจาคจตุปัจจัยร่วมทำบุญ มาจาก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบว่า อาจารย์ทำงานได้น่าประทับใจ โดยวางแผนการทำงาน และประสานกับผู้เกี่ยวข้องเชิงบูรณาการ จัดทำเอกสารสรุปงานได้เป็นระเบียบและชัดเจน ผมสามารถนำมาทำรายงานสรุปผลโครงการได้ง่าย สามารถคำนวณเป็นยอดเงินบริจาคในรูปมูลค่าแยกตามคณะได้อย่างชัดเจน แม้อยู่ในภาวะวิกฤตของงานบุญที่มีหลายงานซ้อนทับเข้ามา แต่ก็ไม่พบอุปสรรคร้ายแรง จึงได้ยอดเงินบริจาคโดยรวมเป็น ๕,๘๒๙ บาท โดยคณะสังคมฯ มียอดบริจาครวมเป็นอันดับสอง และมีมูลค่ารวมอย่างไม่เป็นทางการทั้งโครงการสำหรับคณะสังคมฯ คือ ๘,๒๒๒.๖๖๕๔ บาท

ชื่นชม คณะบริหารฯ จากงานถวายผ้าฯ

6 พ.ย.52 ได้พบว่าสุดยอดอาจารย์ของคณะบริหารฯ มีหลายท่านจากการร่วมทำโครงการถวายผ้าจำนำพรรษา ท่านแรกคือ อาจารย์แดน กุลรูป ซึ่งทำงานในฐานะหัวหน้าฝ่ายพิธีการ ท่านใช้ระบบและกลไกได้อย่างเข้าใจ จัดทำกำหนดการส่วนพิธีกรรมที่วัด กำหนดผู้ทำพิธีทางศาสนาได้อย่างเหมาะสม กำกับให้กลไกภายในวัดเป็นไปอย่างราบรื่น ยอดอาจารย์ท่านที่สองคือ อาจารย์วีระพันธ์ แก้วรัตน์ หรืออาจารย์แม็ก ที่ชาวลำปางรู้จักในฐานะยอดวิทยากรกระบวนการ ท่านทำหน้าที่เป็นผู้นำประกอบพิธีทางศาสนาของโครงการฯ ที่วัดบรรพตสถิต ส่วนยอดอาจารย์ท่านที่สามคือ อาจารย์คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ หรืออาจารย์บอย ได้ฉายความสามารถด้วยการเป็นผู้ให้เสียงประกอบขบวนสะเปารถใหญ่ โดยสื่อให้กับชาวลำปางระหว่างเคลื่อนขบวนไปตามถนนได้เข้าใจ ได้ถ่ายทอดภาพลักษณ์และแผนงานในช่วงการพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยครั้งสำคัญได้อย่างเข้าใจ
     ถ้ามีคนถามผมว่า ยอดอาจารย์ของโยนก ที่มีทักษะเป็นเลิศด้านการสื่อสาร ผมคงยกให้ อาจารย์แม็กกับอาจารย์บอย ถือครองอันดับที่ 1 ร่วมกันไปแล้ว ส่วนผู้ที่เอาจริงเอาจังกับการทำงาน แสดงให้เห็นถึงระบบและกลไกในหัวใจ ก็ต้องยกให้อาจารย์แดน เพราะเพื่อนร่วมงานของผมก็ยืนยันอย่างนั้น สำหรับจำนวนนักศึกษาคณะบริหารที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นอันดับ 1 มีจำนวนถึง ๓๘ คนจาก ๑๓๙ คน และสรุปมูลค่ารวมอย่างไม่เป็นทางการทั้งโครงการสำหรับคณะบริหารฯ คือ  ๗,๔๔๗.๐๑๓๒ บาท

เป็นกรรมการตัดสินสะเปารถใหญ่

ชุดสตรีในอดีต ที่เห็นในละคร
ชุดสตรีในอดีต ที่เห็นในละคร

3 พ.ย.52 คืนนี้ผมได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินสะเปารถใหญ่ หรือขบวนรถแห่กระทงใหญ่ ในเทศกาลลอยกระทง จังหวัดลำปาง 2552 ได้พบเห็นอะไรหลายอย่าง ประเด็นหลัก คือ การตัดสินเป็นไปโดยยุติธรรม ซึ่งกรรมการมาจากตัวแทนสถาบันการศึกษาที่ส่งเข้าประกวด และมีคะแนนเป็นเกณฑ์กำกับชัดเจน บวกลบตามที่พูดคุยกัน เมื่อกรรมการแต่ละคนให้คะแนนแล้วก็จะมานั่งประชุมวิพากษ์ว่าผลควรเป็นอย่างไรโดยประจักษ์ เพื่อสรุปร่วมกันอีกครั้ง สำหรับผลการตัดสินครั้งนี้ได้ผลการพิจารณาเป็นเอกฉันท์ทั้ง 3 อันดับแรก โดยเกณฑ์แบ่งเป็น 8 หัวข้อ ประกอบด้วย 1)ความประณีตสวยงาม 20 คะแนน  2)ความคิดสร้างสรรค์ 10 คะแนน 3)มีความหมายต่อวัฒนธรรม 10 คะแนน  4)การออกแบบโครงสร้าง 10 คะแนน 5)แสงสว่างโคมไฟ 10 คะแนน  6)องค์ประกอบของขบวน 20 คะแนน  7)นางนพมาศ 10 คะแนน 8)การตรงต่อเวลา 10 คะแนน สำหรับผล คือ มหาวิทยาลัยโยนกได้รางวัลที่ 1 ประเภทสะเปาน้ำ จึงไม่ได้ในส่วนของสะเปาบกหรือสะเปารถใหญ่
     ประเด็นอื่น ที่มองเห็นผ่านการเคลื่อนไปของขบวนสะเปา ที่ผมมองในฐานะปุถุชน คือ 1)ประเพณีแบบนี้ต้องอาศัยศรัทธาต่อความเชื่อในศาสนาที่มีอยู่ในตัวคนทุกภาคส่วนประกอบกัน คนไม่ศรัทธาในศาสนามักไม่ร่วมงานนี้ 2)ต้องอาศัยงบประมาณ เรื่องนี้ไม่ต้องถกกัน เพราะงานประเพณีสมัยนี้มาด้วยงบประมาณของหน่วยปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าไม่มีงบล่ะก็ประเพณีไม่เกิด 3)ประเพณีสมัยนี้ สาวน้อยมักโชว์สรีระ ด้วยเหตุผลว่าคนในอดีตนุ่งผ้าน้อยชิ้นหรือไงก็ไม่ทราบ แต่คนส่วนใหญ่บอกว่านั่นคือความงาม ก็คงต้องยอมรับไปตามนั้น 4)ขบวนแห่ ครั้งนี้เป็นอีกเวทีในการแสดงออกของ Ladyboy ที่ได้รับการยอมรับ สังคมปัจจุบันยอมรับพวกเธอมากขึ้น

ตานก๋วยฉลากที่มหาวิทยาลัยโยนก

 

ที่ มหาวิทยาลัยโยนก
ที่ มหาวิทยาลัยโยนก

29 ต.ค.52 ร่วมประเพณีตานก๋วยฉลากเป็นครั้งที่ 2 ของปี แต่เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยโยนก มีศรัทธาที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นำก๋วยหรือสังฆทานมาร่วมกิจกรรม มีเส้นกว่า 140 เส้น ของผมกับภรรยามีกันคนละเส้น เจ้าภาพจัดงานได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูปมารับทาน จัดโดยคณะบริหารธุรกิจ นำโดย อ.นิยม จันทกูล โดยมีเพื่อนอาจารย์หลายท่านเข้าร่วมกิจกรรมนี้ เช่น อ.แนน อ.นุ้ย พี่ริน อ.แหม่ม อ.เก๋ อ.สุรพงษ์ อ.ใหญ่ อ.บอย อ.ชินพันธ์ อ.สุจิรา ส่วนผู้นำประกอบพิธีคือ อ.วีระพันธ์  แก้วรัตน์ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์วัดทำพิธีได้อย่างยอดเยี่ยม ครั้งนี้พระท่านมาเทศน์ให้นักศึกษาฟัง มีเรื่องราวตามธรรมในใบลาน ก็ได้คติเตือนใจกลับบ้านกันไปถ้วนหน้า สรุปได้ว่าเป็นกิจบุญที่ทุกคนมีความสุข ใบหน้าอิ่มเอมไปด้วยบุญกันทุกคน .. งานนี้รู้เลยว่ายังมีคนที่ศรัทธาในศาสนาพุทธอยู่มากน้อยเพียงใด ซึ่งสรุปได้ว่าเต็มตามตัวบ่งชี้ครับ

ทำบุญกับวัดกฐินตก ที่ลำปาง

กฐินตก
กฐินตก

29 ต.ค.52 ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ คุณศิริทัศน์ โรจนพฤกษ์ รับทำบุญวัดที่กฐินตก และปีนี้เป็นปีแรกที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยโยนก ออกทำบุญวัดที่กฐินตกมากกว่า 80 วัด โดยวัดในลำปางมีกว่า 673 วัด แต่กฐินตกเนื่องจากไม่มีใครจองกฐินมีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่ง เหตุการแบบนี้เกิดขึ้นทุกปี วันนี้บางคณะและบางสำนักงานได้รวมตัวกันไปทำบุญที่ วัดห้วยคิง อำเภอแม่เมาะ ลำปาง โดยนัดหมายวัดที่กฐินตกกว่า 15 วัดมาใช้สถานที่ที่วัดนี้เป็นที่กรานกฐิน มีหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอกที่ ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ เชิญชวนมาร่วมทำบุญทอดกฐินจากหลายองค์กร เพราะการเป็นเจ้าภาพกองกฐินเป็นภาระหนักมิใช่น้อย คุณลัดดาวรรณ เรือนทัศนีย์ เป็นผู้ประสานงาน และนำทุกคนไปร่วมทอดกฐินในครั้งนี้ เพราะถ้าไปกันทีละวัด ๆ ละคนสองคน ก็คงไม่สะดวก จึงมีการปรับแผนเพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน
     ในปัจจุบัน พบว่า ศรัทธาต่อศาสนาที่มีในตัวมนุษย์ลดลง การให้ความสำคัญกับวัตถุเพิ่มขึ้น ศีลที่เป็นเครื่องปกป้องมนุษย์เริ่มเสื่อมสลาย จำนวนคนที่สนใจทอดกฐินลดลงอย่างเห็นได้ชัด หรือไม่นิยมทอดกฐินมาแต่อดีตก็เป็นได้ จำนวนพระสงฆ์ในวัดมีน้อย ยิ่งวัดในชนบทมักมี 1 – 2 รูป แต่ถ้าวัดในกรุงเทพฯ จะมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่มาก แต่ในชุมชนที่ศรัทธา หรือความเชื่อยังแจ่มชัด จำนวนพระสงฆ์กลับไม่เป็นไปดังคาด .. ในโอกาสนี้คณะศรัทธา จึงมีความสุขที่ได้ทำบุญกับวัดที่กฐินตก เพื่อถวายจตุปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพระสงฆ์

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จวัดไหล่หินหลวง

พระเทพ เสด็จวัดไหล่หินหลวง

28 ต.ค.52 9.00น. สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเยี่ยมวัดไหล่หินหลวง จังหวัดลำปาง เป็นที่ปิติยินดีของชาวไหล่หินหาที่สุดมิได้ ลูกทั้ง 3 ของผมและพ่อตาบรรจง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอยู่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง เป็นครั้งแรกของพวกลูกที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าเจ้านายใกล้ชิดเพียงนี้ ครอบครัวของเราก็ยินดีที่ได้รับโอกาสดีเช่นนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้านายท่านจะเสด็จมาหมู่บ้านนี้อีก ถ้ามาโอกาสแบบนี้อีกในครั้งใดก็จะพาลูกเขาไปเฝ้าเช่นนี้ทุกครั้งไป สำหรับตัวแทนชาวไหล่หิน นำโดย นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ฯ ถวายรายงานใกล้ชิด พบรายละเอียดจากทีวีหลายช่องเป็นที่ประจักษ์

อุบายลวงจิตลดโทษะต่ออัตตาในมนุษย์

12 ต.ค.52 เพื่อนในองค์กรหนึ่งโทรมาระบาย เรื่องความมีอัตตาในตัวมนุษย์ เขารู้สึกไม่สบายใจเมื่อถูกมนุษย์ด้วยกันแสดงตนว่าเหนือกว่า ด้วยการยกตนข่มท่าน แสดงตนว่าเหนือกว่าด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือบุญคุณ เหมือนคนไทยที่ยึดมั่นถือมั่นในอำนาจ ความรู้ วัยวุฒิและศักดิ์ศรี ผมก็เลยอาศัยคำพระว่า “คนทุกคนเกิดมา ไม่ได้พกอะไรมา ตอนไปก็ไม่พกอะไรไป แต่ตอนอยู่ กลับทำตัวว่ามีอะไรซะมากมาย” และ “มนุษย์ยังมีกิเลสยังไม่รู้จักพอเพียง” อีกคำที่พระหลายรูปท่านชอบเปรียบเปรยว่ามนุษย์ไม่ใช่สัตว์ประเสริฐเสมอไป ฟังพระท่านด่าว่าเป็นสัตว์เดรัชฉานอยู่บ่อยครั้ง เช่น “อย่ากินเหล้าแล้วเมาเหมือนหมา อย่าดีแต่เห่า สีซอให้ควายฟัง” ผมก็ชักคล้อยตาม เหมือนดูละครทีวีบ่อย ๆ ก็มักจินตนาการไปว่าตนเองเป็นพระเอกอยู่ร่ำไป แต่นี่พระท่านสอนโดยเปรียบเปรย ว่าผมเป็นสัตว์เดรัชฉานแล้วนี่ผมก็ต้องจินตนาการไปตามนั้นแล้วสิ
     กลับมาพูดถึง การให้คติเตือนใจเพื่อนคนนั้นว่า มนุษย์เราเกิดมามักอยู่ไม่ถึง 100 ปี เกิดมาต้องตายกันทุกคน ยับยั้งกิเลสในตน ทำจิตให้สงบ ลดอัตตา ลดศักดิ์ศรี ต้องรู้จักให้อภัย แล้วนึกซะว่า “คนที่มีอัตตาก็เป็นเพียงสัตว์เดรัชฉาน เป็นเพียงหมาตัวหนึ่งเห่าบ๊อกบ็อกน่ารักจะตาย” เราก็จะสบายใจแล้วให้อภัยเขา หรือไม่ก็นึกซะว่า “เขาคือปลาตัวมื้อเย็นนี้จะกลับไปทุกหัวแล้วทอดเป็นอาหารเย็น จิตที่หมกมุ่นกับความหม่นหมองก็น่าจะปลอดโปร่งขึ้นได้” เพราะถ้าไม่อภัยแล้วไปทำร้ายเขาด้วยบันดาลโทสะ ก็อาจติดคุกติดตาราง .. ไม่คุ้มกับความเป็นผู้มีบุญได้เกิดมาเป็นสัตว์ผู้ประเสริฐครั้งหนึ่งบนโลกนี้ .. ก็หวังแต่ว่าเพื่อนทางโทรศัพท์ผู้นั้นจะเข้าใจ

.. ลอกมาจากที่ไหนก็จำไม่ได้แล้ว ขออภัยที่ไม่ได้เขียนแหล่งอ้างอิงไว้