กินตับ

เพลงกินตับ เวอร์ชั่น ใจหลับ โดย ร้อยเอกสุธี สุขสากล

มีเนื้องเพลงให้เปรียบเทียบครับ

ไปเที่ยวกันไหม จะไปก็รีบไป
ไปกับพี่แล้วสบาย เดี๋ยวพี่พาไปกินตับ
ตัวพี่ชอบกินตับหวาน ส่วนตัวน้องนั้นชอบทานตำไทย
ตำมั่ว ตำซั่ว ตำแตง จะมัวออกแรง นั่งตำทำไม
ตับหวานน้องสนใจไหม ตับหวานน้องสนใจไหม
ตับหมูตับไก่อยากให้น้องกินตับ ตับตับ ตับตับ ตับตับ ตับตับ

ตัวพี่ชอบตับกินเด็ก เฮ้ย! พี่ชอบให้เด็กกินตับ เฮ้ย!
กินตับมาตั้งแต่เด็ก ให้แร่ธาตุเหล็กน้องคงเข้าใจ
ของหวาน ของมัน ของคาว ไม่เอ้าไม่เอา พี่สะบัดก้นใส่
ถ้าเป็นตับล่ะพี่ยอมตาย ถ้าเป็นตับล่ะพี่ยอมตาย
ก่อนนอนครั้งใดต้องได้กินตับ ตับตับ ตับตับ ตับตับ ตับตับ

ไปเที่ยวกันไหม จะไปก็รีบไป ไปกับพี่แล้วสบาย เดี๋ยวพี่พาไปกินตับๆ ๆๆ
ตับตับ ตับตับ ตับตับ ตับตับตับ ตับตับ ตับตับ ตับตับตับตับ ตับตับตับตับตับ!

ไม่ทานไม่ลองไม่รู้ตับไก่ตับหมูน้องจะติดใจจจจจจจ
ไม่ต้องเหนื่อยเพราะพี่ทำให้ ฝีมือผู้ชายไม่ตามกระแส
รับรองอร่อยแน่ๆ รับรองอร่อยแน่ๆ ขนาดตุ๊กแกยังต้องกินตับ!

อาหารที่มีประโยชน์และไม่มีโทษประโยชน์นับพัน
กินได้ทุกวี่ทุกวันขอให้บอกกันตับหวานจัดไป
คนอื่นขอกินไม่ให้ให้น้องทรามวัยกินได้คนเดียวว
-โอ้ย อร่อยจริงโว้ยยย อยากกินตับ-
ไปเที่ยวกันไหม..ไปเที่ยวกันไหม
เดี๋ยวพี่พาไปกินตับ!

เราอาจเป็นซุปเปอร์มนุษย์ได้ (itinlife 326)

http://www.youtube.com/watch?v=d1_JBMrrYw8

22 ม.ค.55 มีโอกาสอ่านความคิดเห็นของนักทำนายอนาคต (Futurologist) 2 ท่าน คือ Dr.Ian Pearson และ Patrick Tucker ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีก 100 ปีข้างหน้า กว่าจะถึงเวลานั้นก็คาดได้ว่าเราท่านส่วนใหญ่อาจไม่ได้อยู่เห็นผลการทำนายแล้ว แต่จากการให้ความเห็นประกอบผลการทำนายจำนวน 20 เรื่อง พบว่าบางเรื่องเป็นเทคโนโลยีที่เป็นแนวคิดจากภาพยนตร์ที่ทำให้ชีวิตของเรายืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ซึ่งจินตนาการเหล่านั้นอาจนำไปสู่การค้นคว้าวิจัย และทำให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นจริงขึ้นมา มีนวัตกรรมหลายเรื่องที่กำเนิดขึ้นภายหลังภาพยนตร์ อาทิ เครื่องบินไร้คนขับ การสนทนาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ หรือการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยคลื่นสมอง ซึ่งล้วนเกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากได้นำไปพัฒนาร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จนประสบความสำเร็จจะทำให้การคิดของมนุษย์และคอมพิวเตอร์หลอมรวมและถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนแนวคิดนี้จะสำเร็จ เราพบว่าปัจจุบันมีระบบฐานความรู้ ระบบทำนายสภาพอากาศ ระบบการสื่อสารความเร็วสูง ระบบวิเคราะห์ภาพถ่าย ระบบเซ็นเซอร์ ระบบสแกนทะลุวัตถุ หรือเทคโนโลยีการควบคุมอุปกรณ์ด้วยคลื่นสมอง แนวคิดการเป็นซุปเปอร์มนุษย์ไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป แต่มีคำถามเข้ามาอย่างแน่นอนว่าจะอยู่เหนือคนอื่นเพื่ออะไร และได้หรือไม่ ในขณะที่มนุษย์ทุกคนต้องการความเสมอภาค

ปลายทางของการหลอมรวมปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีชีวภาพย่อมนำไปสู่ความพยายามหาคำตอบที่จะเป็นอมตะ กายเนื้อของเรามีข้อจำกัด อาจเติบโตผิดปกติ เปลี่ยนรูป หรือเสื่อมสภาพ ซึ่งการล้มเหลวของกายเนื้อนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง หากย้ายความรู้สึกนึกคิดออกไปไว้นอกกายเนื้อปัจจุบันได้ ก็จะทำให้มนุษย์เป็นอมตะได้ เราอาจพัฒนาซุปเปอร์มนุษย์ได้ แต่การย้ายความคิดออกจากร่างกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยากกว่า แล้วเป็นความหวังของมนุษย์ที่ต้องการมีชีวิตอยู่หลังกายเนื้อเสื่อมสลายไป และนั้นก็ยังคงเป็นเพียงจินตนาการหรือความฝันต่อไป

Home

http://www.bbc.co.uk/news/magazine-16536598

คันหู

http://www.youtube.com/watch?v=ikFsZi3PeLo

จากคลิ๊ปโน๊ต 9 พบว่าเพลง คันหู ของคนไทย พอจะไล่ตามเพลงเกาหลีได้แล้ว ลองดูเพลง A Dance ของ rainbow ที่ถูกห้ามออกอากาศจนต้องตัดบางตอนออก กับที่มาที่ไปของเพลง คันหูในรายการวู้ดดี้

http://www.youtube.com/watch?v=NjWq8YrkSJw

วิธีการตอบข้อสอบแบบอัตนัย

วิธีการตอบข้อสอบแบบอัตนัย

checklist
checklist

แบบที่ 1 การตอบคำถามที่ต้องอธิบาย
ตัวอย่างคำถาม
1. ภาษาพูดมีลักษณะแตกต่างจากภาษาเขียนอย่างไร
ตัวอย่างคำตอบ
ภาษาพูดมีลักษณะแตกต่างจากภาษาเขียนทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
1.1 ภาษาพูดมีการใช้ภาษาท่าทาง และสถานการณ์แวดล้อมประกอบ
เพื่อช่วยขยายความให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของคำพูดได้ดีขึ้น
ส่วนภาษาเขียนจะไม่มีส่วนดังกล่าว และอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ชัดเจนเท่ากับภาษาพูด
1.2 ภาษาพูดมักออกเสียงไม่ตรงตามรูปเขียน มีการย่อคำ หรือกร่อนคำ
ส่วนภาษาเขียนจะเขียนตรงตามรูป และเขียนคำเต็มที่สื่อให้ได้ความหมายอย่างครบถ้วน
เช่น เดี้ยน เม้น หมอชิต เป็นต้น
1.3 ภาษาพูดเป็นภาษาที่ใช้คำเฉพาะกลุ่ม คำภาษาปาก คำที่ต่ำกว่าภาษามาตรฐานได้
ส่วนภาษาเขียนจะใช้คำเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อ ใช้เพื่อสร้างความสมจริงใน งานเขียนประเภทบันเทิงคดี
เช่น แก็งเด็กเทพซิ่ง ศิลปินอัพยา เป็นต้น

ตัวอย่างคำถาม
2. อะไรคือสาเหตุที่ต้องมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
ตัวอย่างคำตอบ
สาเหตุที่ต้องมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
เพราะภาษาทั้งสองประเภททำหน้าที่ในการสื่อสารตามโอกาสที่แตกต่างกัน
กล่าวคือ ภาษาพูดใช้ในโอกาสทั่วไปกับบุคคลที่คุ้นเคยมากกว่าจะใช้ในแบบทางการ
เพราะภาษาพูดช่วยแสดงความรู้สึกและสร้างบรรยากาศได้ดีกว่า
ส่วนภาษาเขียนนิยมใช้ในแบบที่เป็นทางการและกึ่งทางการ
เพราะภาษาเขียนช่วยแสดงความสุภาพกับบุคคลที่ติดต่อสื่อสาร

แบบที่ 2 การตอบคำถามที่ต้องแสดงความเห็น
ตัวอย่างคำถาม

ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “มนุษย์คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น”
จงเขียนแสดงความคิดเห็นโดยให้เหตุผล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวทางการตอบ ให้ตอบเป็นย่อหน้า ดังนี้
– ย่อหน้าที่ 1 เกริ่นนำ (ตอบให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย)
– ย่อหน้าที่ 2 เหตุผลประการที่ 1 ให้เขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ  อธิบายเหตุผล และตัวอย่างประกอบ ฯลฯ
– ย่อหน้าที่ 3 เหตุผลประการที่ 2 ให้เขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ  อธิบายเหตุผล และตัวอย่างประกอบ ฯลฯ
– ย่อหน้าที่ 4 เหตุผลประการที่ 3 ให้เขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ  อธิบายเหตุผล และตัวอย่างประกอบ ฯลฯ
– ย่อหน้าสุดท้าย สรุปประเด็นที่กล่าวไปแล้วให้ชัดเจน

เสนอแนะนำการเขียนคำตอบแบบอัตนัย
1. ควรตอบคำถามเรียงข้อ
ถ้าเป็นการตอบข้อสอบที่เป็นอัตนัยทั้งหมด และมีเวลาทำข้อสอบมากพอ
เพื่อให้อาจารย์ไม่สับสนในการค้นหาคำตอบว่าอยู่หน้าใด
2. ควรเขียนโจทย์ก่อนเขียนคำตอบ และระบุเลขคำถามให้ชัดเจน
ถ้าคำถามไม่เกิน 2 บรรทัด หรือเป็นคำศัพท์เทคนิค
เพื่อเป็นการย้ำการคิดในการตอบคำถามนั้น
3. ควรใช้สีเน้นคำ ขีดเส้นใต้ หรือวงกลม ให้เห็นความแตกต่าง
ถ้าตอบคำถามแนวอธิบายหรือให้เหตุผล
เพื่อเน้นให้ผู้ตรวจข้อสอบเห็นว่า คำสำคัญอยู่ที่ใดในแต่ละย่อหน้า
4. ควรใช้ปากกาสีดำ หรือน้ำเงินเป็นหลัก
ถ้าใช้ดินสอ หรือสีอื่น อาจไม่ชัดเจนหรืออ่านได้ยาก
5. ควรอธิบายให้ครบทุกประเด็นที่ถูกถาม
วิเคราะห์ว่าคำถามต้องการทราบอะไร
แล้วตอบให้ครอบคลุมที่คำถามต้องการ

อ้างอิงจาก
http://blog.eduzones.com/jybjub/44732

หมอกลงจัด (fog)

ปรากฎการณ์อย่างหนึ่งของโลก คือ การมีหมอกลง (fog) หลังจากมนุษย์สร้างยานพาหนะที่เคลื่อนด้วยความเร็วสูง ก็พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับ 2 คืออุบัติเหตุทางรถยนต์ สถิติที่น่าตกใจคือช่วง 7 วันอันตราย ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งคือการเจ็บป่วย ผู้ขับขี่ที่ไม่ชำนาญทางเจอทัศนวิสัยแบบนี้ไม่ดีเลย ก็ต้องระวัง และระวังให้มาก สาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามคือการทำร้ายตัวเองครับ

สักวันหนึ่ง

เพลง สักวันหนึ่ง

คลิ๊ปนี้สื่อได้ดีมากกับคำว่า ความหวัง (hope)

หลายต่อหลายครั้ง .. ที่พยายาม
หลายครั้ง .. ที่พบอุปสรรค
หลายครั้ง .. ที่ผิดหวัง
หลายครั้ง .. ที่คิดว่าสิ้นหวัง
แล้วสักวันหนึ่ง .. คงได้สมหวัง
เพราะ .. ยังมีหวัง

มุมหนึ่ง คือ มีหวัง แล้วสักวัน คงสมหวัง
อีกมุม คือ มีหวัง แล้วมีทุกข์ เลิกหวัง ก็เลิกทุกข์

ภาพยนตร์เรื่องนี้  ทำให้เห็นกลยุทธ์ กิจกรรม เป้าหมาย และตัวบ่งชี้
แ่ต่ที่ชัดที่สุดคือ มีความหวัง ผมว่าน้ำทำได้ดีนะครับ
กล้าคิด กล้าทำ แล้วเธอก็ได้รางวัลตามที่หวัง
.. ลุงป้าท่านใดที่อายุ 50 ขึ้นไป คงดูไม่ออกหรอกครับ
ว่า น้ำได้อะไรในตอนจบ (แซวกลุ่ม สว ครับ)

สมัครเฟซบุ๊ควันละหลายหมื่น แล้วหนังสือดาราอ้าล้นแผง

meditation of time magazine
meditation of time magazine

13 ม.ค.55 สำลักสื่อคนไทยติดเฟซบุ๊ควันละ 2.3 หมื่น

รายงานโดย ผกามาศ ใจฉลาด

ครึ่งชีวิตยามตื่นของเด็กผูกติดอยู่กับสื่อ และมีนักวิชาการฟันธง “ไม่มีวันปราบสื่อร้าย” ได้ ที่สถาบันรามจิตติ เมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดเสวนาในโครงการ “เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม 2” โดยการสนับสนุนของสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “สื่อและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเด็กไทย” ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ได้เสนอนำภาพรวมเกี่ยวกับสภาวการณ์ “สื่อและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเด็กไทย” โดยสรุปว่า ปัจจุบันเด็กไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “สื่อครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเด็ก” คือ 1 ใน 3 ของชีวิตใช้เวลาหมดไปกับสื่อทุกรูปแบบ

เห็นได้จากสถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับความนิยมลดลง แต่หนังสือดารา “อ้า” ล้นแผง แฝงโลกีย์กลับขายดี ผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในช่วงปี 2551 เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่อ่านหนังสือซึ่งไม่ใช่ตำราเรียนมีเพียงร้อยละ 36 ของเด็กทั้งหมด ส่วนผู้อ่านหนังสือที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป พบว่า ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเหนือจากตำราเรียนและงานเฉลี่ยเพียง 39 นาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ จึงมีแนวโน้มของการสื่อสารที่ขาดสติและเหตุผลได้ง่าย

ส่วนสื่อโทรทัศน์และวิทยุยังได้รับความนิยม (เด็กและเยาวชนแชมป์รายการบันเทิง) พร้อมๆ กับเปิดรับสื่อใหม่ (New Media) ในยุคเว็บขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการสำรวจในช่วงปี 2552 พบว่า เด็กวัยมัธยมศึกษา-อุดมศึกษา มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้ถึงประมาณร้อยละ 45 และมีโทรศัพท์มือถือใช้ถึงร้อยละ 85 ใช้เวลาคุยโทรศัพท์ถึงวันละประมาณ 92 นาที เล่นอินเทอร์เน็ตประมาณ 134 นาที หากรวมสื่อโทรทัศน์ที่เด็กไทยให้เวลาอีกเกือบ 3 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับว่าเด็กไทยใช้เวลากับสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ ไปถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวัน

ทุกวันนี้มีคนใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน และมีการใช้โซเชียลมีเดีย สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเองหรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network Website) ที่ให้บริการบนออนไลน์ ดังนั้นปรากฏการณ์เด็กยุคใหม่กับสื่อและเทคโนโลยีเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลของโครงการไชลด์วอทช์ (Child Watch) พบแนวโน้มที่ชัดเจนของการที่สื่อต่างๆ เข้ามาครอบครองพื้นที่ในชีวิตเด็กไทยมากขึ้น

เด็กและเยาวชนในปัจจุบันได้รับเอาสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ขณะที่เว็บไซต์เฟซบุ๊กมาแรงที่สุด สถิติของคนใช้ทั่วโลกพบว่า ไทยมีคนใช้งานมากเป็นอันดับที่ 21 ปี 2551 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 1.6 แสนราย ปี 2552 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 1.9 ล้านราย ในปี 2553 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 6.7 ล้านราย มีสถิติคนสมัครใช้บริการประมาณ 2.3 หมื่นต่อวัน ช่วงอายุของผู้ใช้งานสูงสุดคือ 18-24 ปี (ร้อยละ 36.3) รองลงมาคือ 25-34ปี (ร้อยละ 31.7)

สัญญาณอันตรายชีวิตยุคไฮสปีดเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงในการเล่นพนันออนไลน์เป็นธุรกิจที่มีความเติบโตอย่างรวดเร็วมากทั่วโลก ในช่วงปี 2549 มีเว็บไซต์เกิดขึ้น 2,300-2,500 เว็บไซต์ และพบอัตราการเติบโตร้อยละ 20 ต่อปี รายได้ของธุรกิจทั่วโลกมีการประมาณไว้อยู่ระหว่างกว่า 31,750 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 15.8 ล้านล้านบาท ในปี 2558 เด็กติดเกม มั่วสุมร้านเกม ปี 2550-2551 เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 9-15 ปี จำนวน 2,452 คน ใน 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ราชบุรี สุรินทร์ และสุราษฎร์ธานี พบว่าร้อยละ 13.3 เป็นกลุ่มที่กำลังติดเกมมีอายุเฉลี่ย 11 ปี และมีภาวะติดเกมมากขึ้น โดยเกมที่นิยมเล่นมากที่สุดคือ เกมบู๊ล้างผลาญ เกมเกี่ยวกับเพศ (Dojin) นุ่งน้อยห่มน้อย โดยเฉพาะเกม SF หรือ Special force ยังเป็นที่นิยม

ยังไม่รวมผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ค่านิยมและพฤติกรรมทางเพศ การเรียนรู้ทางเพศแบบผิดๆ ผ่านคลิปโป๊ ปัญหาเพศสัมพันธ์เสรี แม่วัยรุ่น ทำแท้งเถื่อน ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัจจุบันเด็กมัธยมระบุว่า ในชั้นเรียนของตนเฉลี่ยมีกลุ่มรักเพศเดียวกันประมาณ 3 คน และตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระดับอาชีวะและอุดมศึกษา เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบดารา ค่านิยมสวยไม่ผ่าน อย. “อกฟู รูฟิต, ขาวอมชมพู, ผอมเพรียวภายใน 1 สัปดาห์ สวยใสสไตล์ เกาหลี”

อย่างไรก็ตาม การที่เด็กชอบใช้ชีวิตแบบสังคมออนไลน์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก มีทั้งผลดีอยู่บ้าง เช่น การเกิดเครือข่ายจิตอาสาของเยาวชน ดังนั้นภาพรวมความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต่างมีนโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ “สื่อสร้างสรรค์” ที่หลากหลาย รวมถึงมาตรการจัดระเบียบและควบคุมสื่อบางประเภท นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนให้มีโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียในมิติดีๆ อาทิ Cyber Parents โครงการรักไอที รักษ์โลก (IT Green Project) เครือข่ายพลเมืองจิตอาสา อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย

นานาทัศนะ

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล “การแก้ไขเร่งด่วนคือ ระบบ rating รายการโทรทัศน์ ที่ยังขาดเรื่องการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังเสนอให้มียุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาและผลิตสื่อ เพื่อสร้างองค์ความรู้ของการใช้สื่อเพื่อสังคม ทั้งการลงทุนกับการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสื่อ สร้างฐานงานวิชาการด้านสื่อเพื่อเด็กที่เข้มแข็ง”

อิทธิพล ปรีดีประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล “การสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในการใช้สื่อ ICT เพื่อการพัฒนาเด็ก ที่สำคัญคือการใช้ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่ให้เด็กสร้างสื่อด้วยตนเอง เช่น การสร้างและใช้ประโยชน์อี-เลิร์นนิ่ง การเข้าพัฒนาสร้างซอฟต์แวร์ ส่งเสริมการเรียนรู้กันเอง การสร้างเครือข่ายจิตอาสาและขับเคลื่อนสังคมอย่างเครือข่ายนักข่าวเยาวชน เป็นต้น ตลอดจนการเข้ามาริเริ่มธุรกิจค้าขายสินค้าทำเองของเยาวชนจำนวนมากผ่านเว็บต่างๆ ทำให้เห็นมุมบวกของสื่อไอซีที ที่น่าสนับสนุนให้ขยายตัวไปถึงเยาวชนจำนวนมากขึ้น

ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า หากบังคับการใช้สื่อกับเด็กไม่ได้การแก้ไข คือ “การสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก มุ่งขยาย Good Practice แล้วหนุนการทำงานเป็นเครือข่าย” ปัจจุบันไม่ต้องรอพื้นที่รอคนให้โอกาส ทำสื่อเองหาพื้นที่เอง หาช่องทางการนำเสนอสื่อเอง สิ่งสำคัญของมุมมองด้านสื่อ คือ การให้ความสำคัญด้านกระบวนการศึกษาของดีที่ทำมาแล้ว และมองหาโอกาสใหม่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้เกิด “สื่อทางเลือกใหม่ๆ” ให้มากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ :
ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติและสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
http://www.komchadluek.net/detail/20110727/104052/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94FB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B02.3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99.html

ตรวจข้อมูลในจดหมายเวียนของพรรคท้องถิ่น

สมมติว่า รับจดหมายเวียน หรืออีเมลที่ขอให้มีการตรวจสอบข้อมูลที่จะใช้ประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ซึ่งเกิดในชุมชนขนาดใหญ่ เพราะมีผู้รับเอกสารถึง 120 คน ทีแรกก็คิดว่าจดหมายเวียนฉบับนี้ผิดเยอะอยู่สักหน่อย ก็เม้นไปนิดหน่อย เพราะหวังว่าอีก 120 คนจะช่วยกันตรวจสอบ จึงส่งข้อเสนอที่ตนเองก็ไม่ทราบรายละเอียดไปถึงผู้ที่ส่งมาเพียงคนเดียว เพราะเป็นต้นเรื่อง

แต่เหตุเกิดตรงที่ เพื่อนคนหนึ่งอยู่ในกลุ่ม ตอบว่า “ภาษาไทยยังผิดเลย” แล้วส่งไปถึงเพื่อนทั้ง 120 คน ทำผมได้รับด้วย ทำให้ฉุกคิดได้ว่า ถ้าตรวจคนละจุดแล้วส่งออกไป เฉพาะแค่ตรวจเอกสารหนึ่งฉบับ จะได้รับอีเมลถึง 120 ฉบับ แล้วถ้ามีคำถามผุดขึ้นมาหนึ่งคำถาม ก็จะได้รับถึง 240 ฉบับ .. ก็รู้สึกว่ามีอะไรไม่ปกติในขั้นตอนนี้แน่

การตรวจหนังสือระหว่างกลุ่มคนจำนวนมาก  มีหลายระดับ
1. การตรวจ ระดับที่หนึ่ง ความถูกต้องเชิงนโยบาย
เช่น นโยบายของพรรคการเมืองก่อนหาเสียง ควรมีกลไก และขั้นตอนอย่างไร
2. การตรวจ ระดับที่สอง ความถูกต้องด้านภาษา และข้อมูลพื้นฐาน
เช่น ที่อยู่เบอร์ โทร ชื่อสถานที่ กำหนดการ การเรียงพิมพ์ สีและสัญลักษณ์ ควรมีกลไก และขั้นตอนอย่างไร
3. การตรวจ ระดับที่สาม ความสมบูรณ์ และการรับทราบในภาพรวม
เพื่อสร้างการรับรู้ และยอมรับ และความชอบธรรม ควรมีกลไก และขั้นตอนอย่างไร

ยินดีกับ นาเดีย ได้ลูกชายคนแรก

http://www.youtube.com/watch?v=pNmsK78O8qw
ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของฉายาหล่อจิ๋ว แต่งงานกับ นาเดีย และคลอดลูกคนแรก 9 ม.ค.2555 ที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช เป็นผู้ชาย น้ำหนัก 2,850 กรัม