กินกล้วย…ช่วยแก้ตะคริว

Banana
Banana

หากคุณเป็นตะคริวบ่อยๆ วิธีการแก้ในระยาวก็คือ  รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมให้มากๆ ซึ่งอาหารที่พบได้ว่ามีโพแทสเซียมก็หาไม่ยาก  เช่น ผลไม้พื้นเมืองบ้านเราอย่าง “กล้วย” นั่นเอง

เมื่อรับประทานกล้วยบ่อยๆ อาการตะคริวก็ค่อยๆ หายไปและไม่เป็นอีก นอกจากนี้ควรหมั่นยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ ระหว่างนั่งทำงาน ก็เป็นวิธีป้องกันการเป็นตะคริวได้ค่ะ

————–
ขอบคุณข้อมูลจาก.นิตยสารเพื่อนแพน

กรมวิทย์ฯ ยัน ตรวจขวดน้ำพลาสติกในรถไม่พบสารก่อมะเร็ง

      images
      images

    กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันไม่เคยมีรายงานการตรวจพบสารไดออกซินในขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม พร้อมเผยผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบในทุกตัวอย่าง (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

    กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยัน ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบสารไดออกซินในขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่มที่วางทิ้งไว้ในรถ หลังมีข้อมูลส่งต่อกันว่า ขวดพลาสติกที่ตากแดดนาน ๆ จะมีสารแพร่ออกมาทำให้เสี่ยงมะเร็ง

    เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากกระแสข่าวผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และสื่อสังคมออนไลน์เตือนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่เก็บในหลังรถยนต์ และจอดกลางแดด โดยมีโอกาสได้รับสารไดออกซินที่แพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติก เนื่องจากอากาศร้อนจัด อาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่น ๆ ได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นกลัวถึงอันตรายจากการดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติกนั้น

    ในเรื่องนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีภารกิจในการวิเคราะห์ วิจัยทางด้านไดออกซิน น้ำดื่มและวัสดุสัมผัสอาหาร ขอชี้แจงข้อมูลเพื่อให้ความรู้ผู้บริโภคดังนี้…

    สารไดออกซิน (Dioxins) เป็นชื่อกลุ่มสารที่มีโครงสร้างและสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย สารกลุ่มโพลี คลอริเนตเตท ไดเบนโซพารา ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) สารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตท ไดเบนโซ ฟูแรน (Polychlorinated dibenzo furans: PCDFs) และสารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตทไบฟีนิล ที่มีสมบัติคล้ายสารไดออกซิน (Dioxins–like polychlorinated biphenyls: DL-PCBs) ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือว่าสาร 2,3,7,8–Tetrachlorodibenzo-para-dioxin (2,3,7,8-TCDD) เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงสุด

    สารไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้คือกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น

    การสร้างกลุ่มสารไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้