ฟุตบอลอียิปต์ แฟนบอลเสียชีวิตอย่างน้อย 73 คน

http://www.youtube.com/watch?v=ozh7P1exxXQ

2 ก.พ.55 สหพันธ์ฟุตบอลอียิปต์ ประกาศระงับการแข่งขันลีกทุกระดับอย่างไม่มีกำหนด หลังเหตุการณ์รุนแรงใน พอร์ต ซาอิด ในแมตช์ที่ อัล มาสรี พลิกเอาชนะ อัล-อาห์ลี 3-1 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยถึง 73 คน ตามรายงานเมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555
ภาพจากกล้องวีดีโอเห็นได้ว่าหลังสิ้นเสียงนกหวีด แฟนบอลกรูกันเข้ามาในสนามและวิ่งไล่กวดนักเตะ อัล-อาห์ลี โดย โมฮาเหม็ด อาโบ ไทรกา นักเตะของถึงกับบรรยายว่า นี่ไม่ใช่ฟุตบอล แต่เปรียบเสมือนสงคราม “นี่ไม่ใช่ฟุตบอลแล้ว มันเป็นสงครามและมีคนตายต่อหน้าเรา มันไม่มีการรักษาความปลอดภัย ไม่มีรถพยาบาล นี่เป็นสถานการณ์เลวร้ายที่จะไม่มีวันลืม”
แถลงการณ์ของสหพันธ์ฯ ระบุถึงการประกาศระงับการแข่งขันทั้ง 4 ดิวิชั่น หลังเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงและเศร้าเสียใจ ขณะเดียวกันก็ประกาศไว้อาลัยเป็นเวลา 3 วันแก่เหยื่อเคราะห์ร้ายที่เสียชีวิต ด้าน เซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานฟีฟ่าก็ไม่รีรอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายเช่นกัน
http://www.dailynews.co.th/sports/10483

[อีกข่าวมีรายละเอียดว่า]
มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 74 คน และบาดเจ็บ 248 คน จากการที่แฟนบอลเลือดร้อน พากันกรูลงไปในสนามแข่งขันที่พอร์ต ซาอิด เมืองท่าติดชายทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อวันพุธ หลังจากทีมมาสรี ซึ่งเป็นทีมเจ้าบ้านเอาชนะทีมเยือน อัล อาห์ลี จากไคโร ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดของอิยิปต์ ด้วยสกอร์ 3-1
เหตุสลดใจในวางการลูกหนังครั้งนี้ เกิดขึ้นในทันทีที่จบการแข่งขัน เมื่อแฟนบอลของทีมอัล มาสรี ที่กรูลงไปในสนามบางส่วน เข้าไปล้อมกรอบนักเตะของทีม อัล อาห์ ลี จนกระทั่งเหตุการณ์บานปลาย เมื่อแฟนบอลทั้งสองฝ่ายได้ตะลุมบอนเข้าใส่กัน
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากขาดอากาศหายใจ และมีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ ขณะที่ตำรวจปราจลาจลไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ จนกลายเป็นเหตุเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการลูกหนังอิยิปต์และนอง เลือดที่สุดในโลก นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา
เหตุจลาจลครั้งนี้ ยังเตือนให้ตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยที่เสื่อมสภาพในประเทศ ที่ได้ชื่อว่ามีประชากรมากที่สุดในโลกอาหรับ ท่ามกลางภาวะไร้เสถียรภาพอย่างต่อเนื่องมาเกือบปี หลังจากอดีตประธานาธิบดีฮอสนีย์ มูบารัค ถูกโค่นอำนาจในเหตุลุกฮือขึ้นประท้วงต่อต้านเขา อันเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์ “อาหรับสปริง ”
จากการสันนิษฐานในเบื้องต้น คาดว่าสาเหตุของการจลาจลมาจากการที่ทั้งสองทีม ต่างก็เป็นทีมดังของอิยิปต์และแฟนบอลต่างก็เป็นศัตรูคู่อริกันมายาวนาน รวมถึงกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสนามมีน้อยเกินไป ไม่อาจรับมือกับแฟนบอลที่บุกลงไปในสนาม ขว้างปาก้อนหินพลุไฟและขวดเข้าใส่กัน
มีรายงานด้วยว่า การแข่งขันของคู่สุดท้าย ระหว่างทีม อัล อิสไมย์ลี กับทีมซามาเล็ค ถูกระงับไป เพื่อไว้อาลัยให้กับเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ทำให้แฟนบอลในกรุงไคโร ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน เกิดความไม่พอใจ และก่อเหตุรุนแรงด้วยการจุดไฟเผาสนามหญ้า ภายในสนามกีฬา เพื่อประท้วง แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ดับไฟได้ก่อนจะเกิดความเสียหายมากขึ้น
เหตุจลาจลที่เกิดจึ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความผันผวนทางการเมือง แต่ก็นำมาซึ่งความวิตกต่อศักยภาพของตำรวจ ในการรับมือกับฝูงชน ตำรวจปราบจลาจลในเครื่องแบบสีดำ พร้อมโล่ห์และหมวกส่วนใหญ่ในจำนวนหลายร้อยนายที่ยืนเรียงแถวกันอยู่ ไม่ได้ทำอะไรตอนที่แฟนบอลเข้าปะทะกันซึ่งบางคงกวัดแกว่งของมีคมเข้าใส่กัน ที่เหลือขว้างปาไม้และก้อนหิน
ภาพที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ ได้แสดงให้เห็นนักเตะของทีม อัลอาห์ลี ต้องวิ่งหนีตายเข้าไปยังห้องพักนักกีฬา ในขณะที่แฟนบอลหลายร้อยคนวิ่งเข้าตะลุมบอนแลกหมัดกัน มีผู้ชายหลายคน ได้เข้าไปช่วยผู้จัดการทีมที่กำลังโดยรุมสกรัม โดยที่ตำรวจไม่ได้ทำอะไร สถานีโทรทัศน์ของทางการได้ขอรับบริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ กองทัพส่งเครื่องบินไปอพยพคนที่อาการหนักไปรักษาที่กรุงไคโร
นายโมฮัมเหม็ด อิบราฮิม รัฐมนตรีมหาดไทย เปิดเผยว่า แฟนบอลของทีม อัล มารีย์ ที่กรูลงไปในสนามมีมากถึง 13,000 คน พวกเขากระโดดข้ามแนวกั้น และทำร้ายแฟนบอลของทีมอัล อาห์ลี ที่มีราว 1,200 คน
ชารีฟ อิครามี ผู้รักษาประตูของทีมอัล อาห์ลี ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงครั้งนี้ เปิดเผยต่อสถานีโทรทัศน์  โอเอ็นทีวี ของเอกชนว่า ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บถูกพาเข้าไปในห้องพักนักกีฬา นักเตะต่างเห็นคนกำลังจะตายต่อหน้าต่อตา หลายคนตัดสินใจที่จะเลิกเล่นฟุตบอล พวกเขาไม่มีกำลังใจที่จะเล่นอีกต่อไปเมื่อพบว่ามีคนเสียชีวิตถึง 70 คน
ส่วนโมฮัมหมัด อาบู ไทรก้า นักเตะของทีมอัล อาห์ลี ระบุว่า ตำรวจได้ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้เข้าแทรกแซง ผู้คนกำลังจะตาย โดยมีใครทำอะไรเลย มันเหมือนสงครามไม่มีผิด ชีวิตคนราคาถูกขนาดนี้เลยหรือ
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอ้างว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งไม่ให้ตำรวจเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพลเรือนอีก หลังจากเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงเมื่อเดือนพฤศจิกายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน
นอกจากนี้ เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น ยังได้เน้นถึงบทบาทของแฟนบอลในอิยิปต์ต่อการประท้วงทางการเมือง จากการที่กลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ อุลทรัส มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติและชุมนุมต่อต้านการปกครองของทหาร บทเพลงร้องต่อต้านตำรวจ ถ้อยคำสาปแช่ง เป็นตัวแทนแห่งความเกลียดชังของชาวอิยิปต์ที่มีต่อกองกำลังรักษาความมั่นคง ที่พวกเขามองว่าใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่มิชอบและแพร่หลายอย่างมากในยุค ของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค
อิยิปต์ ได้ชื่อว่า ไม่มีภูมิคุ้มกันเหตุรุนแรงในกีฬาฟุตบอล เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์อัปยศ เมื่อตำรวจที่ไร้ประสิทธิภาพ ยืนรักษาการณ์อยู่ในสนามไคโร อินเตอร์ เนชั่นแนล สเตเดี้ยม ไม่ได้เข้าระงับเหตุตอนที่แฟนบอลชาวอิยิปต์กรูลงไปในสนาม และทำร้ายแฟนบอลชาวตูนิเซีย ระหว่างเกมการแข่งขันคู่ของทีมซามาเล็ค และทีมจากตูนิเซีย ในศึกฟุตบอลแอฟริกัน แชมเปี้ยนลีค ที่กรุงไคโร
ส่วนเหตุรุนแรงล่าสุด ได้มีนักเคลื่อนไหวจำนวนมากเตรียมจะไปชุมนุมกันที่หน้ากระทรวงมหาดไทยในกรุงไคโร เพื่อประท้วงที่ตำรวจไร้ความสามารถ ไม่อาจยับยั้งเหตุนองเลือดได้ รายงานระบุว่า ในจำนวนผู้บาดเจ็บมีผู้ที่อาการสาหัส 40 คน
นายเซปป์ บลัตเตอร์ ประธานฟีฟ่า กล่าวว่า เขารู้สึกช็อคและสลดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นับเป็นวันที่มืดมนของวงการฟุตบอล นับเป็นหายนะที่ยากจะจินตนาการและไม่ควรจะเกิดขึ้น
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20120202/433628/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B270%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%8C.html