ส่งภาพโจทย์อังกฤษจากคู่มือ พบว่า เอไอตอบผิด

มีโจทย์ในคู่มือเตรียมสอบ
ให้ฝึกทำข้อสอบภาษาอังกฤษ
หลายข้อ หลายรูปแบบ
ในภาพเป็นข้อสอบแกรมม่า
ข้อสอบแนวนี้มีกฎชัดเจนว่าควรตอบอะไร
.
ตัวอย่างนี้มี 3 ข้อ
ถ่ายภาพโจทย์จากคู่มือสอบอังกฤษ
แล้วก็อัพโหลด
ให้ เอ.ไอ. ช่วยตอบโจทย์
มีทั้งหมด 3 ข้อ
.
ตั้งคำถามในช่อง prompt
ที่แนบไปกับภาพโจทย์
เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
แล้วส่งให้ เอ.ไอ. นำไปประมวลผล
ผลการตอบของ เอ.ไอ. 3 ครั้ง
พบว่า
รูปแบบการตอบมีความละเอียดทุกครั้ง
แต่ตัวเลือกที่เอไอสรุปคำตอบมาให้
ในแต่ละครั้งไม่ซ้ำกัน
บางครั้งถูกทั้ง 3 ข้อ
บางครั้งถูก 2 ข้อ
บางครั้งถูกข้อเดียว
เพื่อน ๆ ว่า ภาพไหนถูก 3 ข้อล่ะครับ
.
ดังนั้นการใช้งาน เอ.ไอ.
จึงควรมีระบบตรวจสอบคำตอบ
และยืนยันคำตอบสุดท้าย ด้วยเสมอ
เพื่อใช้ยืนยันความถูกต้องที่ได้จาก เอ.ไอ.
.
จากการทดสอบใช้งาน เอ.ไอ.
ช่วยหาคำตอบในคำถาม พบว่า
เอไอตอบคำถามโดยใช้ข้อมูล
จากประสบการณ์ของระบบ
ดังนั้น อาจมีคำตอบที่ ผิดบ้าง ถูกบ้าง
หากจะนำคำตอบไปเขียนอ้างอิงเลย
ตามที่ เอ.ไอ. ให้มา โดยไม่ตรวจสอบ
ก็อาจเป็นคำตอบ ที่ไม่ถูกต้องเสมอไป

รอบที่ 1
รอบที่ 2
รอบที่ 3

#tiktokuni
#english
#examination
#grammar
#artificialintelligence
#practice
#learning

สทศ. รับ o-net ถามแรงเรื่องเพศ พร้อมนำข้อวิจารณ์ไปปรับปรุง


onet เวลาผ่านไป อะไรอะไรก็กระจ่างขึ้น
onet เวลาผ่านไป อะไรอะไรก็กระจ่างขึ้น

http://www.scholarshipinter.com/2011/content.php?id=1360

http://news.mthai.com/hot-news/154847.html

1. ผมว่า .. ฐานคิดของคนเราแตกต่างกัน
เมื่อใดก็ตามที่คิด แล้วนำความคิดมาเปรียบเทียบ ก็มักจะเห็นความแตกต่าง
อย่างเช่น ข้อสอบโอเน็ต
ถ้าใช้ฐานคิดของนักเรียนหญิงก็คงตอบไปทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของผู้ปกครองที่ทุกเรื่องต้องปรึกษาตนก็คงตอบไปทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของวัยรุ่นที่เอนตามโจทย์ก็คงไปอีกทาง
ถ้าใช้ฐานคิดของวิชาสุขศึกษา ก็น่าจะตอบตรงตามที่ผู้ออกข้อสอบคิด

2. เรื่องฐานคิดที่แตกต่าง มีตัวอย่างเกี่ยวกับแนวคิดการรับสมัครนักเรียน
โดยงานรับนักเรียนของโรงเรียนในหมู่บ้าน ว่าเหตุที่นักเรียน .. เลือกเรียนเพราะอะไร
1. คุณครูสอนดี ดังนั้นหน้าที่ทำให้มีนักเรียนเพิ่ม คือ สอนในชั้นเรียนให้ดี เป็นหลัก
2. นักเรียนที่นี่เก่ง ดังนั้นต้องติว สอนพิเศษ ให้ทำข้อสอบเยอะ ส่งแข่งขัน เป็นหลัก
3. ค่าเล่าเรียนถูก หรือมีทุนการศึกษา งั้นก็ลดค่าเล่าเรียน เป็นหลัก
4. ครูรู้จักผู้ปกครอง ดังนั้นก็สนับสนุนให้ครูออกพื้นที่ ตามบ้าน สอนน้อยลง เป็นหลัก
5. ครูรู้จักเยาวชน ดังนั้นก็สนับสนุนให้ครูไปคลุกคลีกับเด็กในหมู่บ้าน
คลุกคลีกับเด็นในชั้นเรียนให้น้อยลง เป็นหลัก
6. โรงเรียนสวย ดังนั้นทุ่มทุนสร้าง เป็นหลัก
7. ใกล้บ้าน ไม่ต้องทำอะไร เสือนอนกิน
8. ครูใหญ่เล่นการเมือง ก็ต้องให้ครูใหญ่ออกสื่อบ่อย ๆ เป็นหลัก
9. ใช้ดีจึงบอกเพื่อน อันนี้ต้องมานั่งคุยกันว่า 5w คืออะไร
อันที่จริงทุกเหตุ มีผล ตรงตามสิ่งที่เกิดขึ้น
ถ้าทวนคำถามอีกครั้งว่า “กิจกรรมใดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเรียนมากที่สุด
ซึ่งคำตอบย่อมมีอยู่เป็นที่ประจักษ์ .. ???
แต่ถ้าคิดตามฐานคิดของบทบาทที่เป็น
คำตอบก็อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เรียกว่าคำตอบขึ้นกับคนตอบนั่นหละครับ

3. ประเด็นข่าว
ได้จาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNek1EQXdNak00TUE9PQ==

จากกรณี สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ “สทศ.” จัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ “โอเน็ต” ช่วงชั้นที่ 4 หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2554 ระหว่างวันที่ 18-19 ก.พ. ที่ผ่านมา และภายหลังการสอบปรากฏว่ามีกลุ่มนักเรียน ม.6 เข้าไปโพสต์กระทู้ตามเว็บไซต์ชื่อดัง อาทิ เด็กดี และเอ็มไทย ดอต คอม วิพากษ์วิจารณ์ตั้งคำถามถึงวิธีออกข้อสอบวิชาสุขศึกษาดังกล่าว เพราะโจทย์และคำตอบค่อนข้างกำกวม ตัดสินใจยากว่าข้อใดถูกข้อใดผิด ตลอดจนโจทย์บางข้ออ่านแล้วเนื้อหาไม่เหมาะสม
โดยคำถามที่ กลุ่มนักเรียนชี้ว่า ไร้หลักการวิชาการและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เช่น “หากเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร” ตอบ ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล ข.ปรึกษาครอบครัว ค.พยายามนอนให้หลับ ง.ไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ จ.ชวนเพื่อนสนิทไปดูหนัง หรือ “เป็นแฟนกันต้องแสดงออกยังไงให้ถูกประเพณีไทย” ตอบ ก.เดินโอบไหล่ซื้อของ ข.ชวนไปทานข้าวดูหนัง ค.นอนหนุนตักในที่สาธารณะ ง.ชวนกันไปทะเลค้างคืน จ.ป้อนข้าวกันในร้านอาหาร และ “อาการลักเพศจะมีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างไร” ก.สะสมชั้นในเพศตรงข้าม ข.แต่งกายเลียนแบบเพศตรงข้าม ค.รักกับเพศเดียวกัน ง.โชว์อวัยวะเพศ จ.แอบดูเพื่อนต่างเพศในห้องน้ำ ตามที่ “ข่าวสด” เสนอมาตามลำดับนั้น
ล่าสุด นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. และนายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. ก็ได้ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงข้อกังขากระหึ่มเน็ตวัยโจ๋ว่า ได้เรียกผู้ออกข้อสอบวิชาสุขศึกษา มาชี้แจงแล้ว พบว่า
เนื้อหาข้อสอบเป็นไปตามหลักสูตรที่เคยประกาศลงเว็บไซ ต์ สทศ. ตั้งแต่ก่อนจัดสอบ เนื้อหาเป็นการวัดความจำเนื้อหาที่อยู่ในตำรา
“คนอาจมองว่าข้อสอบไม่เหมาะสม ซึ่งสทศ.ก็ยอมรับว่าข้อความที่ไปเขียนเป็นโจทย์อาจรุนแรงเกินไป แต่ไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น เบื้องต้นจึงให้เจ้าหน้าที่รวบรวมความเห็นของเด็กในเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ปรับรูปแบบการออกข้อสอบในปีหน้า ขอชี้แจงว่าข้อสอบโอเน็ตที่ถูกนำโพสต์ไว้ที่เว็บไซต์ มีเนื้อหาไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด..
“อย่างโจทย์ข้างต้น จริงๆ แล้ว สทศ.ถามว่า ′ในค่านิยมที่ดีจะปฏิบัติตนอย่างไรหากเกิดอารมณ์ทางเพศ′ ซึ่งก็อยู่ในหลักสูตรวิชาสุขศึกษา สาระที่ 2 เรื่องชีวิตและครอบครัว ในมาตรฐานเรื่องค่านิยมที่ดีเรื่องเพศ และเข้าใจธรรมชาติของการเกิดอารมณ์ทางเพศ โดยใจความเนื้อหาได้เขียนวิธีแก้ไว้ว่า ให้แสดงการปลดปล่อยอารมณ์ด้วยการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ฉะนั้นคำตอบที่ถูกจะเป็นข้อ ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล ซึ่งเป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์แทนการท่องจำตรงตามวัตถุประสงค์ของ สทศ.” ผอ. สทศ.กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคำตอบของ ผอ.สทศ. แล้วก็ยังถือว่า “ไม่เคลียร์ไ อยู่นั่นเอง เนื่องจากถ้าฟันธงว่า คำตอบที่ถูกต้อง คือ “ก.ชวนเพื่อนไปเตะบอล” ก็มีข้อโต้แย้งจากน.ส.เพชรไพริน ทองพหุสัจจะ นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนสตรีวิทยา ผู้ทำข้อสอบมาหมาดๆ ที่ให้สัมภาษณ์ “ข่าวสด” เอาไว้ว่า
“ข้อสอบโอเน็ตในส่วนของคำถามนั้นไม่ยาก แต่ตัวเลือกคำตอบทั้ง 5 ข้อกำกวมมาก เช่นถามว่าเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นมาต้องทำอย่างไร ตัวเลือกคำตอบ ได้แก่ ชวนเพื่อนไปเตะบอล ปรึกษาครอบครัว พยายามนอนให้หลับ ไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ หรือชวนเพื่อนสนิทไปดูหนัง ซึ่งตอบไปว่าพยายามนอนให้หลับ เนื่องจากเป็นผู้หญิงคงไม่ตอบข้อที่ชวนเพื่อนไปเตะบอล และไม่รู้ว่าตัวเลือกใดเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะนักเรียนหญิงและชายอาจตอบไม่เหมือนกัน จึงไม่แน่ใจว่าผู้ออกข้อสอบต้องการวัดอะไรในตัวเด็กกันแน่ แต่ที่แน่ๆ คือข้อสอบสักษณะนี้ทำให้ผู้สอบงงและสับสนมาก”
ก็ได้แต่หวังว่า เมื่อมีบทเรียนหลายครั้งหลายครา สอบ “โอเน็ต” ครั้งหน้าคงไม่มีคำถามพิสดารพันลึก โผล่ออกมาให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ต้องร้อง “จ๊ากส์” กันอีกรอบ!

แบบสอบคำที่มักสะกดผิด สำหรับคุณครู

misspell
misspell

24 ก.พ.54 คำที่มักสะกดผิด หมายถึง คำในภาษาไทยที่ชาวไทยมักเขียนไม่ถูกต้อง และมีการนำไปออกเป็นข้อสอบในวิชาภาษาไทยอยู่เสมอ ตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย ก็จะมีข้อสอบลักษณะนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นประจำการสะกดผิดก็มักจะเกิดขึ้นได้

ระบบข้อสอบนี้ จึงจัดทำขึ้น เพื่อสุ่มคำที่มักสะกดผิดจากฐานข้อมูลประมาณ 300 คำ ซึ่งเป็นแฟ้มเสียง มานำเสนอครั้งละ 10 แฟ้ม หากต้องการเปิดให้นักเรียนดูเฉลยก็สามารถกดปุ่มแสดงด้านข้างนี้ได้ หรือซ่อนได้ตามต้องการ และสั่งเรียกคำใหม่ เพื่อสอบใหม่ได้ตลอดเวลา

ทดสอบได้ที่ http://www.thaiall.com/quiz/misspell

โปรแกรมแปลงชื่อแฟ้มภาษาไทยเป็น ascii number สำหรับ linux
+ http://www.thaiall.com/perlphpasp/source.pl?9139