4G โฟร์จี หรือสี่จี .. ในวันนี้

โฟร์จี หรือสี่จี (4G = Fourth Generation)
โฟร์จี หรือสี่จี (4G = Fourth Generation)

11 พ.ย.55 ก่อนไปถึงโฟร์จี (4G) คนไทยส่วนใหญ่ได้รู้จักคำว่าการประมูลสามจี หรือทรีจี (3G) ที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่ออย่างต่อเนื่อง แล้วต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 ได้มีมติของผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉิน ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการออกใบอนุญาต 3G แล้วตรวจสอบว่าการประมูล 3G มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ปัจจุบันคนไทยบางส่วนได้ใช้บริการ 3G ซึ่งแตกต่างกันไปในผู้บริการแต่ละราย ได้แก่ TOT ใช้ความถี่ 2100 MHz มีความเร็วสูงสุด 42 Mbps ส่วน True Move และ True Move H ใช้ความถี่ 850 MHz ส่วน AIS ใช้ความถี่ 900 MHz ส่วน DTAC ใช้ความถี่ 850 MHz

โฟร์จี หรือสี่จี (4G = Fourth Generation) คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พัฒนาต่อจาก 3G และ 2G โดยมีความเร็วตามทฤษฎีสูงถึง 100 Mbps เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วดาวน์โหลดข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม สามารถทำ Video Call ได้แบบไม่สะดุด สำหรับระบบที่เข้ากับ 4G ได้แก่ WiMAX, Flash-OFDM และ LTE เป็นต้น หากวันนี้มีบริการ 4G ให้ใช้ ผู้ใช้ก็ต้องหาอุปกรณ์ และแอพพลิเคชั่นที่รองรับเทคโนโลยีนี้ เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่ยังรองรับ 3G หรือ 2G เท่านั้น แต่ถ้าเป็น iPhone 5 ในไทยเปิดตัวเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2555 รองรับระบบนี้แล้ว  ในประเทศลาวแถลงข่าวให้บริการระบบ 4G เป็นประเทศที่สองของเอเชียต่อจากประเทศสิงค์โปร์  เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งใช้มาตรฐาน LTE (Long Term Evolution หรือ LTE)

การประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ได้ถูกประมูลเมื่อ 16 ตุลาคม 2555 นั้น มีบริษัทเข้าร่วมประมูล 3 บริษัท ได้แก่ DTAC, True Move และ AIS สำหรับ TOT นั้นได้สัมปทานอยู่แล้ว  ส่วน 4G นั้นอาจมีการนำคลื่น 1800 MHz หรือ 2300 MHz ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปในส่วนนี้ เพราะประเทศไทยต้องหาข้อสรุปเรื่อง 3G ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถนำเรื่อง 4G มาเป็นบันไดขั้นต่อไปของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศ

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000136900

http://th.wikipedia.org/wiki/4G

http://www.club4g.com/

http://www.thairath.co.th/content/tech/302760

http://www.ais.co.th/4g/

มติผู้ตรวจการแผ่นดินพิทักษ์ 3G

4g speed
4g speed
8 พ.ย.55 ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองพิจารณา คำร้องระงับการออกใบอนุญาต 3G โดยมองว่าการประมูลเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่โดยปราศจากการแข่งขัน และขัดต่อรธน.
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้แถลงถึงผลการพิจารณา กรณีที่มีผู้ร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ว่ามีความไม่​ชอบธรรม โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ต่อศาลปกครอง ให้ทำการพิจารณาและวินิจฉัยต่อไป โดยมีการยื่นเอกสารทั้งหมดให้ศาลปกครองไปแล้ววันนี้ (8 พ.ย.55)
โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีความเห็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่จัดขึ้นโดย กสทช. นั้น เข้าข่ายมีลักษณะไม่ใช่การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยมองว่าเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับ 3 บริษัทใหญ่ โดยปราศจากการแข่งขัน จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งชะลอการออกใบอนุญาตไปก่อน และทำการพิจารณาและวินิจฉัย ว่าการจัดประมูลดังกล่าวเป็นไปโดยชอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ว่าด้วยการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่
โดยหลังจากผู้ตรวจการแผ่นดินทำการแถลงเสร็จ สหภาพแรงงานของบริษัททีโอทีจำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติม เพื่อร้องเรียนความไม่ชอบธรรมในกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยกล่าวว่าการโอนย้ายทรัพย์สินจากคลื่นความถี่ 2G ไปเป็น 3G ของทั้งบริษัททีโอที และ CAT เทเลคอม ยังไม่เสร็จสิ้นดี การออกใบอนุญาตกำเนินการ 3G ในขณะนี้ จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของชาติเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสน 7 หมื่น 7 พันล้านบาท

Thailand 4G LTE – จากปัญหาคาราคาซังของ 3G ที่อาจกล่าวได้ว่า ทำให้การพัฒนาด้านโทรคมนาคมในบ้านนี้เมืองนี้ นั้นไม่เดินหน้าอย่างที่มันควรจะเป็น และในขณะที่โลกสากลกำลังเดินเกมสู่เทคโนโลยี 4G LTE อันมีรากฐานและต่อยอดอย่างเป็นระบบมาก่อน การก้าวเดินแบบสเต็ปสากลของไทยจึงอยู่ในสภาวะที่หลายฝ่ายกังวลว่าประเทศชาติ อาจจะล้าหลังเชื่องช้า หนักไปถึงถูกเพื่อนบ้านที่เคยตามหลังหลายช่วงวิวัฒนาการ แซงหน้าจนต้องรั้งท้ายตารางประเทศกำลังพัฒนา (อย่างเชื่องช้า) ไปได้ เนื่องมาจากระบบการสื่อสารมีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งไปถึงระบบการศึกษา!!

อย่างไรก็ดีล่าสุดมีรายงานว่า กสทช. อนุมัติคำร้องขอร่วมจาก TOT และ AIS เพื่อทดลองเทคโนโลยีเครือข่ายLTE บนความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz รวมทั้งสิ้น 20 ช่องสัญญาณ โดยการทดสอบจะติดตั้งตัวส่งสัญญาณ 84 จุดในกรุงเทพฯ และบางหัวเมืองใหญ่ ใช้เวลาทดสอบทั้งสิ้น 90 วัน และสามารถขยายเพิ่มได้อีก 90 วัน (เป็น 180 วัน)

ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดพื้นที่และระยะเวลาในการทดลองสัญญาณ เพิ่มเติมจาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัทTrue เป็นอีกค่ายที่มีการยื่นคำร้อง รวมถึง CAT, Dtac ด้วย แม้จะเป็นเพียงการทดลองระยะสั้น แต่หลายฝ่ายก็คาดหวัง (โดยเฉพาะผู้บริโภค) การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี เสียแต่ว่างานนี้อาจเป็นแสงหิงห้อยที่อายุขัยการเปล่งแสงแสนจะสั้นก่อนดับวูบไปเช่น 3G โปรเจ็กส์…เอวัง!!

http://tech.mthai.com/mobile-tablet/other-mobile/12119.html