ลดคอเลสเตอรอล

แม้ว่าคอเลสเตอรอลจะมีประโยชน์ในด้านการเสริมสร้างพลังงานแก่ร่างกายของคน แต่ถ้ามีมากจนล้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอเลสเตอรอลตัวที่ไม่ดีนั้น อาจส่งอันตรายถึงชีวิต และนี่ก็คือสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนไทยตายปีละหมื่นๆ แสนๆ คน
แพทย์หญิง คุณสวรรยา เดชอุดม ประธานโครงการอาหารไทยหัวใจดี มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความรู้ว่า คอเลสเตอรอลในร่างกายคนเรามีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ

1.  Low-density lipoprotein หรือ LDL คือคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดี เพราะสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและอุดตันเส้นเลือดแดงได้
2.  High-density lipoprotein หรือ HDL เป็นคอเลสเตอรอลที่ดีต่อร่างกาย เพราะช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกไปจากระบบการทำงาน

“คอเรสเตอรอลมีทั้งที่มีประโยชน์ ถ้ามีในปริมาณที่พอดี แต่ก็เป็นโทษได้ หากมากเกินไป เพราะมันอาจจะทำให้เกิดตะกรันในหลอดเลือด ทำให้เกิดอันตราย อย่างถ้าไปขังกันเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตกะทันหัน หรืออัมพฤกษ์อัมพาตได้” แพทย์หญิง คุณสวรรยา กล่าว   โดยหลักการ 80% ของคอเลสเตอรอลนั้น ถูกผลิตขึ้นมาจากตับ แต่อีก 20% นั้นก็มาจากอาหารที่คุณเลือกรับประทานเข้าไป ดังนั้น หลักง่ายๆ ในการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้คอเลสเตอรอลสูงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่บริโภคไขมันอิ่มตัวมากเกินไป เพราะจะทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกมามากมาย

แพทย์หญิง คุณสวรรยา กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การมีคอเลสเตอรอลที่สูงจนเป็นปัญหา มีอยู่ 10 ประการด้วยกัน คือ
1.บุหรี่    2.ความดัน      3.ไขมันปกติ ทั้งดีและเลว    4.เบาหวาน    5.ไตรกีเซอไรด์    6.อ้วนลงพุง    7.ความเครียด  8.เกลือ       9.น้ำตาล     10.ไม่ออกกำลังกาย

“จำไว้ว่า คอเลสเตอรอลอย่างเดียวไม่ให้โทษ เช่น ถ้าเรามีคอเลสเตอรอลสูง แต่ความดันไม่สูงด้วย ก็ไม่เป็นไร หรือไม่มีเบาหวานและไขมันในร่างกายปกติ ก็ไม่เป็นไร และเหนืออื่นใด คอเลสเตอรอลจะสูงหรือไม่นั้นก็เกิดจากน้ำมือของเราเอง มือของเราที่หยิบอาหารใส่ปาก” คุณหมอประธานโครงการอาหารไทยหัวใจดี กล่าว

ทั้งนี้ อาหารที่กินแล้วดีมีประโยชน์ ไม่ให้โทษในด้านคอเรสเตอรอล จะต้องกินอะไรบ้าง? คุณหมอบอกไว้ ดังนี้
1.  ทานปลาทะเลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
2.  ทานถั่วเมล็ดแห้งสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
3.  ทานผักในตระกูลครูซิเฟอรัสทุกวัน ได้แก่ ผักคะน้า บร็อกโคลี ดอกกะหล่ำ แขนงผัก กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง เป็นต้น
4.  ทานผักที่มีสีสันต่างๆ และผลไม้ให้หลากหลายทุกวัน
5.  ผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสีทุกวัน เช่น ข้าวซ้อมมือ
6.  เลือกน้ำมันในการประกอบอาหาร
7.  รับประทานผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย หรือนมขาดไขมันแทนผลิตภัณฑ์นมเต็มไขมัน
8.  ควบคุมปริมาณอาหารที่ทานในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ไม่เกินวันละ 200 กรัม
9.  ทานกระเทียมสดเป็นประจำ

—————————–ขอบขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000091023

Leave a Reply