#เล่าสู่กันฟัง 63-038 การใช้ไม้ยมก

ไม้ยมก เป็นเครื่องหมายวรรคตอน

ไม้ยมก (Maiyamok) คือ เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทยแบบหนึ่ง ไม่ใช่อักษร มีเพื่อใช้กำกับหลังคำที่ ข้อความ ต้องการอ่านซ้ำ เช่น “ต่าง ๆ” อ่านว่า “ต่างต่าง” พบว่า ผู้ใช้ภาษาไทยจะใช้เครื่องหมายนี้แบบเว้นวรรคแตกต่างกันไป พบเห็นได้ในสื่อต่าง ๆ ซึ่งในหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 ได้ระบุหลักเกณฑ์การเว้นวรรคไว้ว่า “ให้เว้นทั้งข้างหน้าและข้างหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมกหรือยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ” เวลาพบปัญหาการพิมพ์ที่ไม่เป็นตามเกณฑ์ในเอกสารที่มีหลายสิบหน้า จะแก้ไขด้วยการสั่งแทนที่แบบอัตโนมัติ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. แทนที่ “ๆ” ด้วย ” ๆ ” ให้สั่งครั้งเดียว
  2. แทนที่ ” ๆ” ด้วย ” ๆ” ให้สั่งจนกว่าจะไม่พบ
  3. แทนที่ “ๆ ” ด้วย “ๆ ” ให้สั่งจนกว่าจะไม่พบ

ในทางคอมพิวเตอร์ เครื่องหมาย ๆ คือรหัส ASCII ตัวที่ 230 หรือ E6 ฐาน 16 ส่วนมาตรฐาน Unicode ของภาษาไทย ก คือ U+0E01 (14 * 16^2 + 1 = 3585) และ ๆ คือ U+0E46

wikipedia.org/wiki/ไม้ยมก 
 wikipedia.org/wiki/อักษรไทย 

Author: burin

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man