ไม่มองเป็นกระบวนการ (non processing)

เจตนารมณ์
เจตนารมณ์

9 – 10 พ.ค.55 มีโอกาสประชุมเรื่อง ISO ในองค์กรหนึ่ง สอดรับกับหนังสือ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) ที่เขียนโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ พบหน้า 98 (Bad Operation) พูดถึง วีระศักดิ์ “เค้าบอกว่าพวกเราไม่มองเป็นกระบวนการ ทำงานกันแบบแยกส่วน งานใครงานมัน ก็เลยควบคุมอะไรไม่ได้เลย” .. แล้วหัวหน้าก็พูดว่า “ถ้าอย่างนั้นก็ให้มันลาออกไปเลย รีบไปเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ผมเบื่อฟังเรื่องไร้สาระแบบนี้แล้ว ผู้จัดการฝ่ายผลิตน่ะเราจะจ้างใหม่สักกี่คนก็ได้” ทีแรกว่าจะชวนเพื่อนรุ่นพี่พูดคุยกัน ตามประเด็นสืบเนื่องจากเวที แต่ก็ไม่กล้า ไม่รู้ท่านจะสนทนาด้วยรึเปล่า สรุปว่าจับได้ 4 ประเด็น แนวเอียงไปหน่อย ดังนี้
1. คำว่า เจตนารมณ์ (Purpose) (ผมว่านักนิติศาสตร์พูดบ่อย)
มักเป็นคำที่ใช้อธิบาย ปรากฎการณ์ในกรณีที่ตัวหนังสือไม่ได้เขียนไว้ และอิงตามประสบการณ์ของผู้พูด ประกอบกับมีอีกคำที่เกี่ยวเนื่องคือ “โยนหนังสือให้อ่าน” เมื่อใดมีเหตุการณ์ที่ว่านี้ ก็คงต้องทิ้งห่างกับเจนตนารมณ์ไปไกลโข (โยนหนังสือให้อ่าน = เป็นหน้าที่ของคุณที่คุณต้องรับผิดชอบ) ในปัจจุบันมีมาตรฐานในหลายเวที โดยเฉพาะ ISO ถ้าเมื่อใดโยนหนังสือให้อ่าน ก็เลิกพูดคำว่าเจตนารมณ์ได้เลย
2. วันนี้เราพร้อมแล้วหรือยัง
ผมลองแยกคำนี้ได้ 4 พยางค์
วันนี้ = ไม่ใช่พรุ่งนี้
เรา = หลายองค์ประกอบ
พร้อม = ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่กว้างกว่าองค์ประกอบ
หรือยัง = มีการประเมินตามเกณฑ์
3. บทบาทและหน้าที่ความเป็นคน
บทบาท = role playing
หน้าที่ = function
ความเป็นคน = ออกแนวค่าของคนอยู่ที่คนของใครไปแล้ว
4. coffee break
ค่านิยมความฟุ้งเฟ้อที่ไม่ต้องสนใจเหตุผล
ก็ทำตาม ๆ กันมา ก็ต้องทำต่อ ๆ กันไป
โบราณว่า ช้างขี้ ขี้ตามช้าง หรือ เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม เป็นต้น

Leave a Reply