thaiall logomy background การวิเคราะห์ความต้องการด้านระบบ
my town
การวิเคราะห์ความต้องการด้านระบบ

การวิเคราะห์ความต้องการด้านระบบ

การวิเคราะห์ความต้องการด้านระบบ คือ การวิเคราะห์แยกแยะ เพื่อให้เข้าใจโดยละเอียด แล้วออกแบบใหม่ตามความต้องการของทุกฝ่าย ดังนั้นการพัฒนาระบบต้องมีการวิเคราะห์แยกแยะออกมาอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการออกแบบ พัฒนา ติดตั้งและดูแล
14. การวิเคราะห์ความต้องการ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจวัฏจักรของการพัฒนาระบบ
- เพื่อให้เข้าใจเครื่องมือแสดงแบบของระบบ
ประเด็นที่น่าสนใจ
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
System Analysis
การพัฒนาระบบต้องมีการวิเคราะห์แยกแยะออกมาอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการออกแบบ พัฒนา ติดตั้งและดูแล
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีทักษะการวิเคราะห์ความต้องการทั้งจากลูกค้า และหน่วยงานในองค์กร เพื่อที่จะ ได้ศึกษาเพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจปัญหา ความต้องการ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ด้วยการวิเคราะห์แยกแยะ เพื่อให้เข้าใจโดยละเอียด แล้วออกแบบใหม่ นำมารวมกันเป็นผลงานภาพใหม่ที่แก้ปัญหาเดิมได้อย่างตรงจุด ตอบความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อระบบที่ได้มีการวิเคราะห์นั้น
วัฏจักรของการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) - การตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary Investigation)
- การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirements Analysis)
- การออกแบบระบบ (System Design)
- การจัดหาระบบ (System Acquistion)
- การติดตั้งเพื่อใช้งาน (System Implementation)
- การบำรุงรักษา (System Maintenance)
แนวการพัฒนาระบบ (Approaches to systems development) - แบบดั่งเดิม (Traditional Approach) พัฒนาตามขั้นตอน
- ทำต้นแบบ (Prototyping Approach) สร้างระบบขนาดเล็กที่จำเป็น
- พัฒนาระบบด้วยตัวผู้ใช้โดยตรง (End-user Development) ด้วยความคิดของผู้ใช้
การพัฒนาระบบ - Top-down approach :: ศึกษาความต้องการของผู้บริหาร แล้วลงไปสู่ระดับล่าง
- Bottom-up approach :: ศึกษาลักษณะงานที่ทำอยู่ ไปสู่ความต้องผู้บริหาร
ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาระบบประสบผลสำเร็จ - การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ระบบ
- นำการจัดทำโครงการมาช่วยวางแผนดำเนินการ
- มีการพัฒนาอย่างรอบครอบทั้ง HW และ SW
- การออกแบบ เขียนโปรแกรม และทดสอบ ดำเนินการอย่างรอบคอบ
- เอกสารและคู่มือละเอียด ครบถ้วน
- การติดตั้ง และการอบรมมีความสมบูรณ์
- การตรวจสอบ และประเมินหลังดำเนินการตรงกับความต้องการทุกฝ่าย
- ระบบถูกออกแบบให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา
ปัญหาของระบบต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน - ไม่ตอบสนองกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
- ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใช้
- มีระบบควบคุมที่ไม่เพียงพอ
- มีข้อผิดพลาดในการออกแบบ
- ขาดเอกสารประกอบ
- ยากต่อการดำเนินการ
การจัดทำเอกสาร - เอกสารโครงการ (Project Documentation)
- เอกสารระบบ (System Documentation)
- เอกสารสำหรับผู้ใช้ (Program Documentation)
- เอกสารสำหรับนักเขียนโปรแกรม (Programmer Documentation)
ทีมงานพัฒนาระบบ - คณะกรรมการ
- ผู้บริหารระบบ
- ผู้จัดการโครงการ
- นักวิเคราะห์ระบบ
- นักเขียนโปรแกรม
- พนักงานประจำศูนย์สารสนเทศ
- ผู้ใช้ และผู้จัดการทั่วไป
.
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com