thaiall logomy background ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
my town
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หรือหัวหน้างาน เพื่อใช้ตรวจสอบทำงาน หรือการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งจะเป็นรายงานมีโครงสร้างตายตัว หรือเป็น Periodic Report
1. ความรู้เบื้องต้น
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายและประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- เพื่อให้เข้าใจระบบที่เกี่ยวข้อง และส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจ
wikipedia.org
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
MIS
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นการสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลมาประมวลผล ไปช่วยงานทุกระดับตามเป้าหมาย
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อที่จะ ได้นำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ไหลวนอยู่ในกระแสงาน ทั้งนอกองค์การ และในองค์การ นำมาประมวลผลเป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ขับเคลื่อนระบบและกลไก บุคลากร สนับสนุนการตัดสินใจทุกระดับ จนส่งผลทำให้องค์การบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนด
ความหมาย ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือวิดีโอ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ทรัพยากรหนึ่งที่จำเป็นต่อการบริหารในองค์การ จึงต้องมีการจัดสรร จัดการอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไกขององค์การ
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหา เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือกระบวนการทำงาน
ไอที (IT = Information Technology) หมายถึง การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อแปลง จัดเก็บ ป้องกัน ประมวลผล ส่งถ่าย เรียกใช้ และรักษาความมั่นคงของสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (Information Technology = IT) หมายถึง การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล มักเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในธุรกิจหรือองค์การ
เอ็มไอเอส (MIS = Management Information System) หมายถึง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นคำที่มักใช้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่อ้างอิงถึง เทคโนโลยี กระบวนการ ระบบ และบุคลากร ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการประมวลผล
ความสำคัญของเทคโนโลยี ทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ได้เจริญก้าวหน้า และมีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงาน ให้มีความทันสมัย ถูกต้อง และรวดเร็ว ระบบสำนักงานในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากใช้แรงงานไปใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
โครงการตามหาตัวตนค้นพบอาชีพอนาคตสุดปัง
ลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้มาก และสามารถสร้างอาชีพได้ แต่สายงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และพลังงานสะอาด รักษ์โลก เป็นอีกสายอาชีพที่มีแนวโน้มจะขาดตลาดอีกมากในอนาคต คือ สายงานในเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Technology) เช่น 1) นักเทคนิคด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 2) นักเทคนิคด้านพลังงานหมุนเวียน 3) นักการตลาดสีเขียว 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 3 ส่วน - ฮาร์ดแวร์ (Hardware) : อุปกรณ์ที่มองเห็น จับต้องได้
- ซอฟต์แวร์ (Software) : ชุดคำสั่งควบคุมการทำงาน
- พีเพิลแวร์ (People) : ผู้ควบคุม และสั่งการ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System Component) - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU = Central Processing Unit)
- หน่วยความจำ (Memory Unit)
- หน่วยนำเข้าข้อมูล (Input Unit)
- หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
- หน่วยจัดเก็บข้อมูล (Storage)
มี 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลัก (Main memory) และ หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Information System Component) - วัตถุประสงค์ (Objective) : เป้าหมายชัดเจน
- ข้อมูล และสารสนเทศ (Data & Information)
- กระบวนการ (Process) : บวก ลบ เรียง แยก จัดกลุ่ม ทำนาย
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) : พีซี โน๊ตบุ๊ค เครื่องบริการ พีดีเอ สมาร์ทโฟน
- ซอฟต์แวร์ (Software) : ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์
- พีเพิลแวร์ (Peopleware) : นักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบ ผู้จัดการโครงการ
องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Component) - ระบบประมวลผล (Processing System)
- ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication System)
- การจัดการข้อมูล (Data Management) [6]p.13
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) = (ระบบประมวลผล + ระบบสื่อสารโทรคมนาคม) + การจัดการข้อมูล
ภาพของเทคโนโลยีในอดีต (Technology in The Past) - เริ่มต้นจากการใช้งานทางทหาร
- องค์กรใช้จัดการด้านการเงิน
- การประมวลผลข้อมูลเป็นหน้าที่หลัก
- คอมพิวเตอร์มีราคาสูง และขนาดใหญ่
- ใช้งานเฉพาะกลุ่ม ไม่แพร่หลาย
ภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบัน (Technology in The Present) - บริการได้อย่างหลากหลาย
- เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกลยุทธ์องค์กร
- กระทบต่อทุกหน่วยงาน
- มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น
- ผูกสารสนเทศทั้งองค์กรเข้าด้วยกัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดระบบสารสนเทศ [1] - มีการพัฒนาความรู้ และสิ่งประดิษฐ์ เกิด องค์ความรู้
- มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ เกิด เครื่องมือ
- มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร เกิด เครือข่าย
- มีการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ เกิด การเผยแพร่
- มีความต้องการสารสนเทศ เกิด การใช้ประโยชน์
บทบาทของไอที - ไม่ได้บริการเฉพาะงานทางธุรกิจ
- เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ
- กระทบต่อทุกหน่วยงาน
- มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น
- ผูกสารสนเทศทั้งองค์กรเข้าด้วยกัน
ลักษณะของข้อมูล - ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)
แหล่งที่มาของข้อมูล - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
ลักษณะของข้อมูล หรือสารสนเทศที่ดี [1] - ถูกต้อง (Accurate)
- ครบถ้วนสมบูรณ์ (Complete)
- สอดคล้องกับงาน (Relevance)
- ทันเวลา (Timeliness)
- ตรวจสอบได้ (Verifiable)
- เชื่อถือได้ (Reliable)
- ยืดหยุ่น (Flexible)
- นำไปใช้ได้ง่าย (Simple)
# garbage in, garbage out
เป้าหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ - เพิ่มประสิทธิผล (Effectiveness : Doing the right thing)
- เพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency : Doing the thing right)
- เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า (Increase Quality)
- ครองใจลูกค้า และปกป้องจากคู่แข่ง (Customer Satisfaction)
- ขยายช่องทางผลิตภัณฑ์ (Product Channel)
- ขยายโอกาสทางธุรกิจ (Business Opportunity)
- สร้างทางเลือกในการแข่งขัน (Alternative Competition)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ แยกรายการแบบที่ 1 ช่วยอะไรได้บ้าง
- ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ
- ช่วยให้ได้สารสนเทศทันเวลา
- ช่วยตรวจสอบผลการดำเนินงานได้
- ช่วยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และหาวิธีแก้ไข
- ช่วยลดค่าใช้จ่าย
แยกรายการแบบที่ 2 เพิ่มอะไรได้บ้าง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
- เพิ่มบูรณาการทั้งฝ่ายผู้ใช้และผู้ให้บริการสารสนเทศ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
- เพิ่มความสามารถในการผลิต
- เพิ่มโอกาสและขยายช่องทาง
คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ - ความสามารถจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
- ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)
- ความยืดหยุ่น (Flexibility)
- ความพึงพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction) [6]p.42
สิ่งที่ท้าทาย และปัญหาที่พบด้านไอที - การควบคุมต้นทุน (Cost Control)
- การควบคุมผลิตภัณฑ์ (Product Control)
- การควบคุมข้อมูล (Data Control)
โครงสร้างของการจัดการสารสนเทศมี 4 ระดับ - ระดับวางแผนกลยุทธ์ นโยบาย และการตัดสินใจ (Top Management)
- ระดับวางแผนการปฏิบัติการ ในระดับยุทธวิธี (Middle Management)
- ระดับควบคุมการปฏิบัติการ (Bottom Management)
- ระดับปฏิบัติการ (Operation)
ระบบที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (Information System) เพื่อการจัดการมี 6 ระบบ ะบบสนับสนุนการบริหาร (ESS = Executive Support System) หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (EIS) คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เพื่อช่วยสนับสนุนข้อมูลในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบรรลุวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร ซึ่งจะสนใจเฉพาะสารสนเทศที่สำคัญ และเป็นสารสนเทศที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว แล้วเชื่อมโยงสารสนเทศกับภายนอก เช่น ผลการเปรียบเทียบยอดขายกับคู่แข่ง ข่าวภัยพิบัติที่อาจทำให้ต้องปรับนโยบายการผลิต แนวโน้มภาษีที่จะกลายเป็นโอกาสหรือภัยคุกคามต่อกลยุทธ์ขององค์กร
ะบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System) คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และวางแผน เป็นการนำเสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งรายงานมีทั้งแบบเป็นโครงสร้างตายตัว และไม่ตายตัว สารสนเทศจะเป็นรายงานการวิเคราะห์ หรือการพยากร เช่น ยอดขายรายไตรมาส หรือสรุปผลขายเปรียบเทียบแต่ละสาขา หรือรายงานการพยากรยอดขาย
ะบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS = Management Information System) คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง หรือหัวหน้างาน เพื่อใช้ตรวจสอบทำงาน หรือการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งจะเป็นรายงานมีโครงสร้างตายตัว หรือเป็น Periodic Report เช่น รายงานสรุปยอดขายตามกำหนดเวลา รายงานเพื่อตรวจสอบความผิดปกติ หรือรายงานงบการเงินของบริษัทที่ต้องเสนอไปยังตลาดหลักทรัพย์
ะบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System) คือ ระบบเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยให้การทำงานร่วมกัน การติดต่อสื่อสารใน และภายนอกสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การแชร์เอกสาร อีเมล ระบบเครือข่ายเอกสารภายในสำนักงาน ระบบไอพีโฟน ระบบประเมินออนไลน์, Workflow, Leave Online หรือ Google Doc เป็นต้น
ะบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction Processing System) คือ ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง ที่เป็นข้อมูลจากหน่วยย่อยที่สุดในองค์กร และเกิดขึ้นบ่อยที่สุด ระบบนี้จะสนับสนุนให้การปฏิบัติงานมีความสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วเป็นสำคัญ เช่น ระบบ POS ที่ช่องชำระเงินของ BigC หรือ Lotus หรือระบบออกใบเสร็จของบริษัท
ะบบการจัดการความรู้ (KMS = Knowledge Management System) # คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนให้บุคลกรทุกระดับ ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งผู้บริหารมักเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และประเด็นในการสื่อสาร ผู้ร่วมกิจกรรมจะมีบทบาทแตกต่างกันไป เช่น 1) คุณเอื้อ คือ ผู้บริหารที่สนับสนุนให้เกิดกิจกรรม 2) คุณอำนวย คือ ผู้จุดประกาย ผู้เชื่อมโยงและกระตุ้นให้สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยน 3) คุณกิจ คือ ผู้เป็นพระเอกนางเอกของกิจกรรม ผู้แสดงความเห็นหลัก 4) คุณประสาน คือ ผู้ประสานเครือข่ายให้เข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยน โดยกิจกรรมจะสมบูรณ์ไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Blog
thaiall.com/moodle/mod/glossary/view.php?id=24
ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ 1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction Processing System)
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System)
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS = Managment Information System)
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System)
5. ระบบสนับสนุนการบริหาร (ESS = Executive Support System)
แหล่งของสารสนเทศ 1. แหล่งข้อมูลภายนอก (External Information)
2. แหล่งข้อมูลภายใน (Internal Information)
2.1 ที่ได้มาจากการประมวลผลข้อมูล (เช่น กำไร)
2.2 ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล (เช่น ชื่อบริษัท อัตราภาษี)
2.3 ที่ได้จากผู้บริหารระดับต่าง ๆ (เช่น เป้าหมายปีนี้ ยอดขายแต่ละแผนก)
อ่านเพิ่มเติม
บุคคลที่น่าสนใจในวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ค.ศ.1642 Blaise Pascal & Gotfried vod leibnitz พัฒนาเครื่องบวกเลขเพื่อจัดเก็บภาษี
ค.ศ.1673 Joseph Jacqurad พัฒนาเครื่องประมวลผลกึ่งอัตโนมัติเพื่อใช้ในงานทอผ้า โดยใช้กระดาษแข็งเจาะรู (Punched Card) กำหนดให้เครื่องทำการทอผ้าตามลาย
ค.ศ.1833 Charles Babbage เป็นคนแรกที่เสนอแนวคิดเครื่องคอมพิวเตอร์ดิจิทอลยุคใหม่ พัฒนาเครื่อง Difference Engine ที่ใช้แรงดันไอน้ำ คำนวณหาค่า Logarithm : Log และถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
ค.ศ.1843 Augusta Ada Byron หรือ Ada Lovelace ใช้แนวคิดของ Charles มาใช้เลขฐานสอง โดยการเขียนโปรแกรมที่ใช้เลขฐานสองในบัตรเจาะรู ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ (Computer Evolution) เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนามาจากเครื่องคำนวณ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากอดีต ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้คำนวณเครื่องแรก คือ ลูกคิด (Abacus) ในประเทศจีน เมื่อราว 3000 ปีก่อน ซึ่งการพัฒนาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งยุคตามส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardward ) ได้ 5 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1 (The First Generation) ปี ค.ศ. 1951 – 1958 (พ.ศ.2495 - พ.ศ.2501)
เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้หลอดสูญญากาศในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ต้องการใช้กำลังไฟฟ้าเลี้ยงวงจรในปริมาณมาก และมีความร้อนสูง จึงต้องติดตั้งในห้องปรับอากาศ เครื่องมีขนาดใหญ่ ความเร็วในการทำงานเป็นวินาที สื่อที่ใช้เก็บข้อมูล คือ บัตรเจาะรู ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมการทำงาน คือ ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้รหัสเลขฐานสอง
อุปกรณ์ : ใช้หลอดไฟสูญญากาศ (Vacumm tube)
หน่วยวัดความเร็ว : วินาที ( Second)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ : Univac I, IBM 650, IBM 700, IBM 704, IBM 705, IBM 709 และ MARK I

ยุคที่ 2 (The Second Generation) ปี ค.ศ. 1959 – 1964 (พ.ศ.2502 - พ.ศ.2507)
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง ราคาถูกลง ใช้หลอดทรานซิสเตอร์แทนหลอดสูญญากาศ ทำงานได้เร็วขึ้น ในระดับมิลลิเซคคั่น หรือหนึ่งส่วนพันวินาที มีความถูกต้องมากกว่าใช้หลอดสูญญากาศ ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ 200 เท่า ใช้วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic core) มาแทนดรัมแม่เหล็ก (Magnetic drum) เป็นหน่วยความจำภายใน ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่ง ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ภาษาแอสแซมบลี้ (Assembly) ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง
อุปกรณ์ : ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
หน่วยวัดความเร็ว : มิลลิวินาที ( Millisecond)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาแอสแซมบลี (Assembly) , ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ : IBM 1620, IBM 1401, CDC 6600, NCR 315 , Honey Well

ยุคที่ 3 (The Third Generation) ปี ค.ศ. 1965 – 1970 (พ.ศ.2508 - พ.ศ.2513)
เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรรวม (IC : Integrated Circuit) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่นซิลิคอน (silicon) เรียกว่า ซิป (Chip) ในซิปแต่ละตัวจะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันตัว ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น ในระดับไมโครเซคคั่น กินไฟน้อยลง ความร้อนลดลง ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น และสามารถใช้กับงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น
อุปกรณ์ : ใช้วงจรแบบไอซี (IC) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า Chip
หน่วยวัดความเร็ว : ไมโครวินาที ( Microsecond)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : COBOL , PL/1 , RPG , BASIC
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ : IBM 360 , CDC 3300 , UNIVAC 9400 BURROUGH 7500 , PDP1

ยุคที่ 4 (The fourth Generation) ปี ค.ศ. 1971 - ค.ศ.1979 (พ.ศ.2514 - พ.ศ.2522)
ยุคนี้ได้นำวงจรรวมหลายวงจรมารวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ เรียกว่า LSI (Large Scalue Integrated) ลงในซิปแต่ละอัน บริษัทอินเทล (Intel) ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ที่ซิป 1 อัน ประกอบด้วยวงจรทั้งหมดที่ต้องใช้ในการประมวลผลโปรแกรม บนเครื่องพีซี (PC : Personal Computer) ซึ่งประกอบด้วย ซีพียู (CPU) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic / Logic Unit) และหน่วยความจำ (Memory Unit)
ปัจจุบันได้สร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายหมื่นวงจรรวมอยู่ในซิปเดียว เป็นวงจร LSI (Large Scalue Integrated) และ VLSI (Very Large Scale Integrated) ที่สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายขนาด ทั้ง ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก กระทัดรัดและราคาถูก มีความเร็วในการทำงานในระดับนาโนเซคคั่น และพิโคเซคคั่น
อุปกรณ์ : ใช้ LSI , VLSI และเรียกว่า Microprocessor หรือ CPU
หน่วยวัดความเร็ว : นาโนวินาที ( Nanosecond) และพิโควินาที (Picosecond)
ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาปาสคาล (PASCAL) , ภาษาซี (C)
ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ : IBM 370

ยุคที่ 5 (The Fifth Generation) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 - ปัจจุบัน (พ.ศ.2523 - ปัจจุบัน)
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยการจัดการ และสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงเกิดสาขา MIS (Management Information System) ขึ้น เกิดแนวคิดที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ตัดสินใจได้เอง ให้มี สติปัญญา เพื่อตัดสินใจแทนมนุษย์ เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database) มีการใช้งานทางด้านกราฟิก (Graphic) มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) ในงานเฉพาะด้าน เช่น งานทะเบียน งานบัญชี งานการเงิน งานขาย งบประมาณ งานบุคคล คลังสินค้า
7 ทักษะด้านไอที ที่ควรมีไว้เพื่อโอกาสทางการงานที่ดี 1. ความเข้าใจเรื่องสื่อสังคมออนไลน์
2. การใช้กระดาษทำการ (Excel / Sheet)
3. ทักษะการนำเสนอ
4. การเขียนเอกสารในคอมพิวเตอร์
5. คีย์ลัด
6. การเขียนอีเมล
7. พัฒนาไปกับเวลา
https://www.sanook.com/hitech/1517741/ #
9 ทักษะไอทีพื้นฐาน ที่เด็กมหาวิทยาลัยควรรู้จักและใช้เป็น 1. Microsoft Word 2. Microsoft Excel 3. Microsoft Powerpoint 4. Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator 5. E-mail 6. Google Drive / Cloud 7. Google Docs 8. Google Search 9. Google Translate https://www.admissionpremium.com/it/news/4913
5 ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (mcsc) ตัวชี้วัด (indicators)
1. บริหารจัดการข้อมูล เอกสาร ระบบสารสนเทศ จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ
2. นำเทคโนโลยีมาช่วยในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและเป็นระบบ
3. สร้างและจัดระบบข้อมูลอัตโนมัติเพื่อการเก็บหรือเรียกใช้ หรือประมวลผลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
4. นำเทคโนโลยี มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ได้อย่างเหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
5. สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาและพัฒนางานให้ดีขึ้น
http://mcscdata.info/technology/
7 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากร 1. ทักษะด้านการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์
2. ทักษะด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
3. ทักษะด้านการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
4. ทักษะด้านการออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล
5. ทักษะด้านการวิเคราะห์ วางแผน ควบคุม และประเมินผลการดำเนินงานทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. ทักษะด้านการเป็นผู้ประสานงานระหว่างบุคลากรงานเทคโนโลยีสารสนเทศฝ่ายต่าง ๆ ในการสั่งงาน การควบคุม การตรวจสอบ และการวิเคราะห์ปัญหาในงานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. ทักษะด้านการพัฒนาความสามารถในระดับสูงขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

จันจิรา ดีเลิศ. (2563). ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรตามความต้องการของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(3), 60-72.

10 ทักษะขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. ทักษะทางภาษา เช่น OS, Sync, Follow
2. ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ
3. ทักษะในการสืบค้น
4. ทักษะในการวิเคราะห์
5. ทักษะในการจัดเก็บ
6. ทักษะในการเชื่อมต่อระหว่างชนิดอุปกรณ์
7. ทักษะในการสังเคราะห์
8. ทักษะในการเผยแพร่
9. ทักษะในการใช้สื่อสังคมออนไลน์
10. ทักษะในการดูแลความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสาร
โดย สันติพจน์ กลับดี ส่วนอาเซียน สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์
http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3314&filename=in
10 ทักษะแห่งอนาคต ด้านเทคโนโลยีไอที 1. AI & Machine Learning
2. Cloud Technologies
3. Connected Technologies
4. FinTech
5. IT Automation
6. Natural Language Processing (NLP)
7. Parallel Computing
8. Proactive Security
9. Quantum Computing (หนึ่งตำแหน่งเก็บข้อมูลได้หลายสถานะ)
10. Software Development Methologies
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126795
17 ทักษะไอทีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทุกคนควรศึกษาในปีนี้ (2021) 1. ทักษะการเรียนรู้ของเครื่อง
2. ทักษะปัญญาประดิษฐ์
3. ทักษะการประมวลผลบนคลาวด์
4. ทักษะวิทยาศาสตร์ข้อมูล
5. ทักษะการเขียนโปรแกรมภาษา
6. ทักษะการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
7. ทักษะด้านข้อมูลขนาดใหญ่
8. ทักษะซอฟต์สกิล
(ปรับตัว/เอาใจใส่/ทำงานเป็นทีม/การสื่อสาร/ฟังอย่างกระตือรือร้นมีความสำคัญ)
9. ทักษะการทำงานอัตโนมัติ (Automation)
10. ทักษะความรู้โปรแกรมฐานข้อมูล (SQL)
11. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล
12. ทักษะ Linux
13. ทักษะการใช้งานมือถือ
14. ทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์
15. ทักษะการออกแบบ UX
16. ทักษะการวิเคราะห์ธุรกิจ
17. ทักษะความเป็นจริงเสมือน
https://eastgatetech.org/17-ทักษะไอทีผู้เชี่ยวชาญ/
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
บทความวิชาการที่น่าสนใจ

ดนัย ศรีวงษา, และสุทิศา ซองเหล็กนอก. (2562). การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(1), 191-197.

เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com