thaiall logomy background การจัดการ และการตัดสินใจ
my town
การจัดการ และการตัดสินใจ

การจัดการ และการตัดสินใจ

การจัดการ คือ กิจกรรมที่มักประกอบด้วยการวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม ที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้การตัดสินใจที่ดี
4. การจัดการ และการตัดสินใจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจระดับและบทบาทด้านการจัดการ
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะของผู้บริหาร
ประเด็นที่น่าสนใจ
mindmap งานศพ
mindmap วีดีโอ
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
Managment
การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม = การตัดสินใจที่ดี
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีกระบวนการจัดการ และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะ ได้มีขั้นตอนการทำงาน กระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกันจัดการความคิดตามระบบ ตามระดับ ตามหน้าที่ได้ชัดเจน ไม่เกิดการขัดแย้ง หรือสับสนในกระบวนการตัดสินใจ จนส่งผลให้แผนงานคลาดเคลื่อน การตัดสินใจต้องมีข้อสรุป มีทิศทาง และชัดเจนเป็นรูปธรรมที่ยอมรับร่วมกัน
ความหมาย การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการทำงานที่กลุ่มบุคคลร่วมกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทาง ซึ่งมี 5 กิจกรรมดังนี้ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) การประสานงาน (Coordinating) และการควบคุม (Controlling)
+ http://slideplayer.in.th/slide/2110359/ (S.49)
+ http://www.im2market.com/2015/06/20/1449
ผู้นำ ผู้จัดการ และผู้บริหาร
การบริหาร (Administration) มักสนใจความสัมพันธ์ของการกำหนดนโยบาย การประสานงาน การจัดการทรัพยากร และการลงมือปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีนักวิชาการชี้ลงไปว่า การบริหารมักถูกใช้กับภาครัฐ ส่วนการจัดการมักใช้กับภาคเอกชน
ผู้นำ (Leader)
- วิสัยทัศน์ (Vision)
- ริเริ่ม (Create)
- นำการเปลี่ยนแปลง (Change)
- จูงใจ (Influence)
- กระตุ้น (Motivate)
ผู้จัดการ (Manager)
- วางแผน (Plan)
- วางรูปงาน (Layout)
- จัดการบุคคล (Organizing)
- มอบหมายงาน (Assignment)
- ควบคุมงาน (Controlling)
การบริหารจัดการ (Administration)
- Planning
- Organizing
- Leading
- Controlling
ระดับของการจัดการ - การจัดการระดับสูง หรือการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
- การจัดการระดับกลาง หรือการจัดการเชิงยุทธวิธี (Tactical Management)
- การจัดการระดับต้น หรือการจัดการปฏิบัติงาน (Operational Management)
บทบาทของการจัดการ
บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
(Interpersonal Roles)
- หัวหน้าแต่ในนาม (Non Role)
- ผู้นำ (Leader)
- ผู้ประสานงาน (Liaison)
บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร (Informational Roles)
- ผู้ตักเตือน (Monitor)
- ผู้เผยแพร่ (Disseminator)
- ผู้แถลงข่าว (Spokesperson)
บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional Roles)
- ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
- ผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (Disturbance Handler)
- ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocator)
- ผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator)

เห็นภาพนี้ ไลค์เลย จาก Like สาระ
ทำให้นึกถึงงานศิษย์ค้างก่อนตัดเกรด
จึงรู้ว่าลูกศิษย์ไม่ชอบให้ถามว่า "เสร็จยัง"
กำลังจะโทรไปเลย แต่จำต้องโทรหา
ด้วยเงื่อนว่าอยากให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
คือ ลูกศิษย์สำเร็จการศึกษา
ลักษณะของผู้บริหารที่ดี
1. มีภาวะผู้นำ (Leadership)
2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Relationship)
3. มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ โปร่งใส (Justice)
4. มีความรู้ทางวิชาการ และวิชาชีพ (Expert)
5. มีทักษะในการแก้ปัญหา (Solution)
6. เป็นผู้กล้าคิด กล้าทำ (Dare)
7. เป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม (Public)
8. เป็นผู้รักษาสัญญา (Promise)
9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change)
10. เป็นแบบอย่างที่ดี (Idol)
สิ่งที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ที่ดี
1. ผู้บริหารระดับสูงสนับสนุนไอที
2. ไอทีมีส่วนในการพัฒนากลยุทธ์
3. ไอทีเข้าใจธุรกิจขององค์กร
4. ธุรกิจและไอทีทำงานแบบเป็นหุ้นส่วน
5. โครงการไอทีมีระดับความสำคัญสูง
6. ไอทีเป็นผู้นำในการนำเสนอ
สิ่งขัดขวางการเปลี่ยนแปลง ทำให้การวางแผนกลยุทธ์ล้มเหลว 1. ไอทีและธุรกิจขาดความสัมพันธ์ใกล้ชิด
2. ไอทีไม่ถูกจัดให้มีความสำคัญในองค์กร
3. ไอทีไม่สามารถบรรลุตามข้อตกลง
4. ไอทีไม่เข้าใจธุรกิจ
5. ผู้บริหารระดับสูงไม่สนับสนุนไอที
6. ขาดความเป็นผู้นำในการจัดการด้านไอที
การเติบโตของกระบวนการข้อมูล
1. ระยะเริ่มต้น (Initiation)
2. ระยะการติดต่อ (Contagion)
3. ระยะการควบคุม (Control)
4. ระยะการรวมกัน (Integration)
5. ระยะการบริหารข้อมูล (Data Administration)
6. ระยะการเติบโตเต็มที่ (Maturity)
กระบวนการตัดสินใจ
1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives)
2. ศึกษาข้อจำกัด (Constraints)
3. ระบุทางเลือก (Alternatives)
4. รวบรวมสารสนเทศ (Gather Information)
5. ประเมินทางเลือก (Evaluate Alternatives)
6. เลือกทางเลือก (Choose Alternaive)
กระบวนการด้านไอที 9 แบบ
1. การคิดตามระบบธุรกิจ Business systems thinking
2. การสร้างความสัมพันธ์ Relationship building
3. อำนวยการทำสัญญา Contract facilitation
4. ความเป็นผู้นำ Leadership
5. ให้ข้อมูลการซื้อ Informed buying
6. วางแผนสถาปัตยกรรม Architecture planning
7. ทำให้เทคโนโลยีทำงาน Making technology work
8. พัฒนาผู้จำหน่าย Vendor development
9. ตรวจสอบสัญญา Contract monitoring
เปรียบเทียบทักษะ : เนื้อหาสารสนเทศ ระดับการจัดการ ลักษณะสารสนเทศ
เปรียบเทียบทักษะ : ผู้นำ ความรู้ทางเทคนิค และความรู้ทางธุรกิจ
วิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้สื่อสารแต่ละกลุ่ม
ตัวอย่างเครื่องมือแบบออนไลน์ในองค์กร
1. กลุ่มเฟสบุ๊ค
2. กลุ่มไลน์
3. อินทราเน็ต
4. อีเลินนิ่ง
5. บล็อก
6. อีเมล
7. ไลน์กลุ่ม / แชทกลุ่ม
8. เว็บไซต์
อ่านเพิ่มเติม
บันทึก
12 ก.ย.57 ไปธนาคารโอนเงินค่าสินค้าให้กับญาติ ระยะหลังท่านฝากมาบ่อยครับ ได้พบพนักงานที่ธนาคารบริการรวดเร็ว ไปถึงก็ไม่ต้องเขียนอะไร ยื่นชื่อกับเลขบัญชีที่ญาติฝากมา น้องสาวที่บริการสามารถก็ทำให้ได้เลย เพราะผมสายตายาวแล้ว จะไปยืนเขียนก็ลำบาก จะก้ม ๆ เงย ๆ ชักแว่นเข้าแว่นออก เหมือนนั่งที่ทำงานก็ดูไม่ดี เมื่อเสร็จธุระแล้วจะออกปากชมก็เกรงใจลูกค้าในธนาคาร พอเดินมาดูป้ายด้านข้าง เห็นว่าธนาคารนี้มีการประกาศเกียรติคุณ แก่พนักงานที่บริการดี ผมว่าเป็น incentive อย่างหนึ่ง เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข บางครั้งความสุขก็ไม่ต้องเป็นเงินเป็นทอง เป็นแค่ป้ายบอกว่าเราทำดีประจำเดือนก็พอ .. เหมือนเคยเห็นแบบนี้ที่ BigC ซึ่งเป็น good practice ในการรักษาพนักงานที่ใช้งบประมาณน้อย แต่ได้ผลชัดเจน เพียงแต่มีระบบและกลไกที่ชัดเจน เท่านั้นก็พอ
16 ก.ย.59 facebook.com ตั้ง จอห์น แวกเนอร์ ดูแลที่ประเทศไทย เพราะเชื่อหน่วยงานในไทยจะใช้ social media ทั้ง fb และ ig มาสนับสนุนการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งในกลุ่มที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ตอบวัตถุประสงค์ของการจัดการกลุ่ม Planning, Organizing, Commanding, Coordinating, Controlling
+ http://www.im2market.com/2015/06/20/1449
+ http://thumbsup.in.th
บางหน่วยงานอาจไม่บรรลุบางวัตถุประสงค์ เพราะมีนิ่งทุกข้อ
ความผิดพลาดที่เรียนรู้ช้าไป ก่อความเสียหายใหญ่หลวง
พื่อนชื่อน้อย แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับ Nokia เล่าถึง ความผิดพลาดที่เรียนรู้ช้าไป ก่อความเสียหายใหญ่หลวง ได้อย่างน่าสนใจ จากภาพที่แชร์มา พบว่า ผ่านการ crop จึงได้นำภาพไปค้นใน google.com แต่ไม่พบ จึงต้องเพิ่มคำค้นว่า Nokia พบว่า มีการแชร์ภาพนี้ใน 2 แฟนเพจ คือ HR นอกกะลา และ รวมดาวสาว Office ะหว่างการแถลงข่าว เพื่อประกาศว่า Microsoft ได้ซื้อกิจการ NOKIA นั้น CEO ของ Nokia กล่าวปิดท้ายคำพูดของเขาว่า “เราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่อย่างไรก็ตามเราแพ้ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารทั้งทีม รวมทั้งตัวเขาเอง ถึงกับร้องไห้ Nokia เป็นบริษัทที่มีเกียรติ เราไม่ได้ทำอะไรผิดกับธุรกิจของเรา แต่โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เราพลาดการเรียนรู้ เราพลาดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เราจึงสูญเสียโอกาสอันมีค่า ที่ใกล้จะก้าวเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่
แฟนเพจ HR นอกกะลา
แฟนเพจ รวมดาวสาว Office
ประชุมสำคัญอย่างไร ? แล้วเราควรประชุมกันบ่อยแค่ไหน
ะหว่าง ที่ผมนั่งเตรียมการสอนตามปกติ อยู่ในหัวข้อกำหนดตารางกิจกรรมระหว่างเรียน ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า วันนี้มีประชุมรึเปล่า พอหันไปเปิดปฏิทินการประชุมประจำเดือน ที่มีวันเริ่มต้นของสัปดาห์เป็นวันจันทร์ ก็สับสนเรื่องตารางนัดหมายหลายตารางเข้ามาซ้อนทับกัน แล้วคิดว่าวันนี้มีประชุม จึงรีบออกไปประชุมทันที พอไปถึงสถานที่ประชุมก็ต้องเดินกลับมาที่โต๊ะทำงาน เพราะหัวหน้าบอกว่า วันนี้ไม่ใช่วันที่ผมคิด เป็นอีกครั้งที่สับสนเรื่องวันประชุมอีกแล้ว
มื่อได้อ่านบทความเรื่อง ประชุมสำคัญอย่างไร ของ Thanisorn Boonchote ใน hrnote.asia ที่พูดถึงความสำคัญของการประชุม แล้วรู้สึกชอบ "การประชุมเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยทำให้สมาชิกในทีม และคนในองค์กรมองเห็นเป้าหมายร่วมกัน และสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้อง องค์กรเข้าใจพนักงานมากขึ้น และพนักงานก็เข้าใจองค์กรเช่นกัน / การประชุมที่ดีและมีคุณภาพนั้น ช่วยทำให้ทุกคนทำงานที่ยังอยู่บน Direction ไม่หลงทิศทาง และรับรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ เพื่อจะได้วางแผนการทำงานหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นได้" ส่วนอีกตอนหนึ่งที่ชอบ คือ "แต่ถ้าในห้องประชุมมีคนพูดอยู่คนเดียว ที่เหลือนั่งฟัง เรียกว่า ประกาศ" และมีตารางสองมิติที่ระบุส่วนหัวตารางเป็นประเภทการประชุมไว้ 6 แบบ คือ 1) ประจำวัน 10-20 นาที 2) ประจำสัปดาห์ 45-90 นาที 3) ทุกสองสัปดาห์ 30-60 นาที 4) ประจำเดือน 2-3 ชั่วโมง 5) ทุกสามเดือน ครึ่งวัน-เต็มวัน 6) ประจำปี 1-2 วัน
บหัวข้อ ทำไมการประชุมบ่อย ๆ นาน ๆ ถึงไม่ค่อยได้อะไร ? หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดเข้าไปอ่านที่ hrnote.asia แล้วยังมีเอกสารอ้างอิงที่ ธนิสร บุญโชติ แนะนำไว้อีก 2 แหล่ง คือ commonsenseleadership.com และ blog.lucidmeetings.com
ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ 1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction Processing System)
2. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System)
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS = Managment Information System)
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System)
5. ระบบสนับสนุนการบริหาร (ESS = Executive Support System)
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com