thaiall logomy background การจัดการฐานข้อมูล (Database management)
my town
การจัดการฐานข้อมูล

การจัดการฐานข้อมูล (Database management)

การจัดการฐานข้อมูล คือ การปฏิบัติการกับข้อมูลมักประกอบด้วยกิจกรรมควบคุมการเข้าถึงข้อมูล การรักษาความปลอดภัย บริการเปลี่ยนแปลงข้อมูล และจัดการความสัมพันธ์กันของข้อมูล ส่วน ฐานข้อมูล คือ แหล่งเก็บข้อมูลที่ควบคุมการเข้าถึงตามสิทธิ์ของผู้ใช้ แบ่งได้เป็นแบบรวมศูนย์ และกระจายศูนย์
7. การจัดการฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจการบริหารข้อมูล
- เพื่อให้เข้าใจสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล
ประเด็นที่น่าสนใจ
data
egovernment
โครงสร้างข้อมูล
สอน Access
สอน MySQL
SAD ER.
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
Database
ฐานข้อมูล คือ แหล่งเก็บข้อมูลที่ควบคุมการเข้าถึงตามสิทธิ์ของผู้ใช้ แบ่งได้เป็นแบบรวมศูนย์ และกระจายศูนย์
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีการจัดการฐานข้อมูล เพื่อที่จะ ใช้ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องนำข้อมูลไปประมวลผล แล้วจัดทำเป็นรายงาน เป็นสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งองค์การจำนวนมากที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและสารสนเทศเป็นหลัก การใช้ฐานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ดี แต่ละองค์การจะใช้ฐานข้อมูลในระดับใดย่อมแตกต่างกันตามนโยบาย หรือเป้าประสงค์ขององค์การนั้น
การบริหารข้อมูล (Data Administration) - การเข้าถึงข้อมูล (Access)
- ความปลอดภัย (Security)
- เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ (Updatable)
- ความสัมพันธ์กัน (Relationship)
โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) - บิท (Bit)
- ตัวอักขระ (Character หรือ Byte)
- เขตข้อมูล (Field)
- ระเบียน (Record)
- แฟ้มข้อมูล (File)
- ฐานข้อมูล (Database)
ประเภทของแฟ้ม (File Type) - แฟ้มรายการหลัก (Master File) คือ แฟ้มข้อมูลถาวร
- แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction File) คือ แฟ้มข้อมูลชั่วคราว
- แฟ้มสำรอง (Backup File) คือ แฟ้มข้อมูลสำเนา
ประเภทของไฟล์ (File Type) - ไฟล์ข้อมูล (Data File)
- ไฟล์รูปภาพ (Image File)
- ไฟล์ออดิโอ (Audio File)
- ไฟล์วิดีโอ (Video File)
- ไฟล์โปรแกรม (Program File)
- ไฟล์แอสกี (Ascii File)
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล - ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
- ซอฟท์แวร์ (Software)
- ข้อมูล (Data)
- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)
- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
- ผู้ใช้ (End User)
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล(DB Architecture) ระดับภายนอก (External level)
มาจากแบบฟอร์มเอกสาร ว่ามีอะไรในเอกสารบ้าง หรือจากผู้ใช้ที่แต่ละคน
เป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างง่าย ๆ จากผู้ใช้ เพื่อให้กับนักวิเคราะห์นำไปศึกษา
ผู้ใช้คนที่หนึ่ง : (รหัส, ชื่อ)
ผู้ใช้คนที่สอง : (รหัส, ที่อยู่)
ระดับความคิด (Conceptual level)
ตีความออกมาเป็นตารางโดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ มารวมกัน
อาจมีการวิเคราะห์ และออกแบบโดยผ่านขั้นตอน E-R หรือ Normalization
พนักงาน (รหัส, ชื่อ, ที่อยู่) ในแบบสคีมา(Schema)
หรือ person (id, name, address) ในแบบสคีมา(Schema)
ระดับภายใน (Internal level)
ตีความในระดับการจัดเก็บข้อมูลจริง เป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบ
struct person{
int id;
char name[20];
char address[20]
} index id;
เทคนิคการประมวลผล (Processing Technique) - การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)
- การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive Processing)
- การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing)
- การประมวลผลแบบเว็บเซอร์วิส (Webservice Processing)
การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design) - รูปแบบข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hiearchical Data Model)
- รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Data Model)
- รูปแบบข้อมูลแบบความสัมพันธ์ (Relational Data Model)
ข้อดีของระบบฐานข้อมูล - ลดความยุ่งยาก คือ ดำเนินการยาก
- ลดความซับซ้อน คือ มีหลายขั้นตอน
- ลดความสับสน คือ เลือกไม่ถูก
- ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
- ยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง
- ได้ข้อมูลที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ
ข้อเสียของระบบฐานข้อมูล - มีค่าใช้จ่ายสำหรับฮาร์ดแวร์
- มีค่าใช้จ่ายสำหรับซอฟท์แวร์
- มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
- มีค่าใช้จ่ายดำเนินการ
- มีค่าพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ความล้มเหลวด้านความปลอดภัย - ขัดจังหวะ (Interrupt)
- เปลี่ยนแปลง (Modification)
- ขวาง (Interception)
- เสกสรรขึ้น (Fabrication)
ประเด็นประกอบการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล - ขนาดฐานข้อมูล (Database size)
- จำนวนผู้ใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์พร้อมกัน (Number of concurrent users)
- ประสิทธิภาพ (Performance)
- การบูรณาการการทำงาน (Integration)
- ลักษณะ (Features)
- ผู้ผลิต และผู้จำหน่วย (Vendor)
- ต้นทุน และค่าบำรุงรักษา (Cost)
ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ภายใต้ชื่อ “data.go.th” ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ภายใต้ชื่อ “data.go.th” ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดการเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐของประเทศ ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถ แสดงตัวอย่างข้อมูล (Preview) การแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Visualization) และเอพีไอ (API) แบบอัตโนมัติให้กับชุดข้อมูลที่เผยแพร่ได้ รวมทั้งยังสามารถจัดการชุดข้อมูลและเมทาดาตาของข้อมูลได้อีกด้วย
ข้อมูลที่เผยแพร่มีหลายรูปแบบ ได้แก่ CSV (458) XLSX (62) URL (37) DOCX (9) JSON (5) PDF (4) XLS (3) API (2) JPEG (1) JPG (1) ซึ่ง CSV เป็นแบบของข้อมูลที่ถูกเผยแพร่มากที่สุด เมื่อสืบค้นชุดข้อมูลด้วยคำว่า ?q=json พบข้อมูล 111 รายการ เมื่อเปลี่ยนเป็น ?res_format=JSON พบข้อมูล 161 รายการ ซึ่งคำว่า Data ในชุดข้อมูล มีบางรายการอาจหมายถึงแฟ้มที่อยู่ในรูปของ json
มื่อ 1 พ.ย.2564 พบว่า มีชุดข้อมูลเผยแพร่กว่า 3970 ชุดข้อมูล (data set) จำแนกได้ 15 กลุ่ม ได้แก่ 1) ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม (culture - 186) 2) กฎหมาย ศาล และอาชญากรรม (law - 93) 3) การศึกษา (education - 143) 4) เศรษฐกิจ การเงิน และอุตสาหกรรม (economy - 445) 5) สาธารณสุข (public-health - 184) 6) เกษตรกรรม (agriculture - 281) 7) สถิติทางการ (Digital Object Identifier - doi - 557) 8) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม (research - 82) 9) เมืองและภูมิภาค (map - 251) 10) สังคมและสวัสดิการ (social - 295) 11) คมนาคมและโลจิสติกส์ (logistic - 275) 12) การท่องเที่ยวและกีฬา (travel - 59) 13) การเมืองและการปกครอง (politic - 45) 14) งบประมาณและการใช้จ่ายของภาครัฐ (government - 174) 15) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (energy - 337)
อ่านเพิ่มเติม
ไอเอ็มดีบี (IMDb) อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส (The Internet Movie Database : IMDb) คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่รวบรวมเรื่องราวของภาพยนตร์ นักแสดง ผู้กำกับ บุคคลที่เกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์ และคะแนนความชื่นชอบ เปิดบริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Amazon.com ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ปัจจุบันยังเป็นศูนย์รวมของคนดูภาพยนตร์ เพราะรวบรวม trailer และ photo ของภาพยนตร์ เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ แล้วให้คะแนน Rating แต่ละเรื่อง หากคะแนนเรื่องใดใกล้ 10 แสดงว่าเป็นภาพยนตร์ที่คนดูชื่นชอบ มีข้อมูลในระบบมากกว่า 185 ล้านรายการ และเก็บข้อมูลภาพยนตร์มากกว่า 4 ล้านเรื่อง
/handbill/ratings.php
ชวนมอง ชวนใช้ ข้อมูลภาครัฐ
Data.go.th ถูกจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปีพ.ศ. 2556 ในเรื่อง แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชน ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ครอบคลุมการให้บริการแก่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ในปี พ.ศ. 2558
Data.go.th หรือ ศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุด เพื่อส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล เกิดความร่วมมือของภาครัฐ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยการดำเนินการของศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐนั้นสร้างมูลค่า ทั้งในด้านของความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การปรับปรุง หรือพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ การสร้างนวัตกรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการให้บริการของภาครัฐ และการเพิ่มมูลค่าให้กับหน่วยงานราชการเอง โดย “ข้อมูลเปิด” นั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการได้
data.go.th/pages/about-data-go-th
ข้อมูลตำบลในจังหวัดลำปาง #
Database
เก็บข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เป็นรายการเคลื่อนไหวที่พึ่งเกิดขึ้น จัดเก็บครบทุกมิติเพื่อใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
Data warehouse
เก็บข้อมูลที่ เคยเกิดขึ้น จะไม่เปลี่ยนแปลง คัดกรองเฉพาะที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ ตอบคำถาม เชื่อมข้อมูลหลายมิติ
Data lake
เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เข้ามาในระบบ รวมถึงข้อมูลที่ยังไม่ได้ใช้ แต่อาจใช้ในอนาคต เก็บทุกชนิด เช่น อักษร วิดีโอ เสียง
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com