thaiall logomy background การสื่อสารโทรคมนาคม
my town
การสื่อสารโทรคมนาคม

การสื่อสารโทรคมนาคม

การสื่อสารโทรคมนาคม คือ การสื่อสารระยะไกลโดยใช้เทคโนโลยีผ่านทางสัญญาณไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงผ่านสายใยแก้วนำแสง
8. การสื่อสารโทรคมนาคม
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคม
- เพื่อให้เข้าใจรูปแบบเครือข่าย
ประเด็นที่น่าสนใจ
อินเทอร์เน็ต #1 #2
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
Telecommunication
การสื่อสารระยะไกลโดยใช้เทคโนโลยีผ่านทางสัญญาณไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงผ่านสายใยแก้วนำแสง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพมากพอ เพื่อที่จะ สนับสนุนให้การสื่อสารภายในองค์การ หรือกับภายนอกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การติดต่อมีความราบรื่น มีประสิทธิภาพ และพร้อมใช้ เพราะองค์กรจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารทั้งในระดับบุคคล ระดับหน่วยงานภายใน และรับส่งข้อมูลข่าวสารกับองค์การภายนอกอยู่ตลอดเวลา
ความหมาย การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อขยายขีดความสามารถที่มีจำกัด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแบ่งปันทรัพยากรให้มีการใช้งานร่วมกัน
โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ระเบียบวิธีการ มาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันของเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ หรือ วิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ชนิดของสัญญาญข้อมูล (Signal Types) - สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) อยู่ในรูปของคลื่นที่มีความต่อเนื่อง
- สัญญาณดิจิทอล (Digital Signal) หรือสัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal) มีระดับสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือสูงกับต่ำ
องค์ประกอบของการสื่อสาร - ผู้ส่งข้อมูล (Sender)
- ผู้รับข้อมูล (Receiver)
- ข้อมูล (Data)
- สื่อนำข้อมูล (Medium)
- โปรโตคอล (Protocol)
ประเภทของเครือข่าย - ระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN : Local Area Network)
- ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง (MAN : Metropolitan Area Network)
- ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAN : Wide Area Network)
- ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network)
- ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล (PAN : Personal Area Network)
- ระบบเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ (P2P : Peer to Peer) [6]p.25
รูปแบบเครือข่าย (Network Topology) - แบบดาว (Star Topology)
- แบบบัส (Bus Topology)
- แบบวงแหวน (Ring Topology)
- แบบตาข่าย (Mesh Topology)
- แบบตาข่าย (Hybrid Topology)
- แบบไร้สาย (Wireless Topology)
อุปกรณ์เครือข่าย (Network Equipment) - ฮับ (Hub)
- สวิตต์ (Switch)
- อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater)
- บริดจ์ (Bridge)
- เราเตอร์ (Router)
แบบของการส่งข้อมูล (Data Transfer Types) - สัญญาณไม่สัมพันธ์กัน หรือ สัญญาณแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronously)
อักขระแต่ละตัวถูกส่งเพียงแค่ 1 ครั้ง โดยมีบิตเริ่มต้น (Start bit) และบิตสิ้นสุด (Stop bit)
- สัญญาณสัมพันธ์กัน หรือ สัญญาณแบบประสานจังหวะ (Synchronously)
ส่งข้อมูลเป็นบล๊อก ข้อมูลเป็นชนิดที่เกิดขึ้นทันที มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อน (Redundancy check) แต่ตรวจด้วยการเพิ่ม bit ต่อท้าย มีไว้เพื่อตรวจความถูกต้อง เรียกว่า parity check เป็นการตรวจว่าผลรวมข้อมูลเป็นเลขคู่ หรือคี่
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) - เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ (Centralized Computer Network)
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (Decentralized Computer Network)
ความเป็นส่วนตัวของอินเทอร์เน็ต - อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายสาธารณะ
- อินทราเน็ต (Intranet) คือ เครือข่ายในองค์กร
- เอ็กทราเน็ต (Extranet) คือ เครือข่ายระหว่างองค์กร
ทิศทางการส่งข้อมูล (Direction of Data Sending) - การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
- การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
- การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
โมเด็ม (Modem) - มอดูเลเตอร์ (Modulator) แปลงดิจิทอลเป็นอนาล็อกในการส่งสัญญาณระยะไกล
- ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator) แปลงจากอนาล็อกกลับมาเป็นดิจิทอล
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร หรือประเภทของสื่อกลาง (Media Types) - แบบใช้สาย (Wired transmission systems)
แบบสายเกลียวคู่ (Twisted-pair wires) และ แบบสายเคเบิลร่วมแกน (Coaxial cable) และแบบสายเคเบิลใยแก้ว (Fiber optic)
- แบบไร้สาย (Wireless transmission systems)
ดาวเทียม (Sattellite) อินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลูลาร์ (Cellular)
อ่านเพิ่มเติม
โปรโตคอล (Protocol) - HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) & HTTPS
- FTP (File Transfer Protocol)
- TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
- POP3 (Post Office Protocol 3)
- SMTP (Simple Mail Transport Protocol)
- DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)
โมเดลการเชื่อมต่อ (OSI = Open System Interconnection Model) - Physical Layer
- Data Link Layer
- Network Layer
- Transport Layer
- Session Layer
- Presentation Layer
- Application Layer
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com