thaiall logomy background

เส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา

my town
เส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | apa | peer review | TCI-1140 | TCI-1243 | TCI-1338 | ประชุมวิชาการ | อักขราวิสุทธิ์ | SJR + SIR + SCOPUS |
เส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการ คืออะไร ส้นทางสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา คือ แหล่งข้อมูลกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับสำหรับบุคลากรสายวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ต้องการเข้าสู่การมีตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น หรือยังคงรักษาตำแหน่งเดิมไว้ ซึ่งก้าวแรกของการทำงานในสถาบันการศึกษาจะมีตำแหน่งเริ่มต้นเป็น อาจารย์ ที่หมายถึง บุคคลที่มหาวิทยาลัยบรรจุและแต่งตั้งให้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์ เพื่อทำหน้าที่สอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตำแหน่งทางวิชาการ คือ ตำแหน่งของบุคคลในแวดวงวิชาการสำหรับนักวิชาการ หรืออาจารย์ที่ทำงานด้านการสอนในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์พิเศษ ตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือ ตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ
ผลงานที่ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
สไลด์ สรุปหลักเกณฑ์การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทั่วไป พ.ศ.2564
โดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ

หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 (หน้า 22 - 50)
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (หน้า 25)
1) งานวิจัย 2 เรื่อง (B)
2) งานวิจัย 1 เรื่อง (B)
และ 1 ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น (B)
3) งานวิจัย 1 เรื่อง (B)
และ 1 ตำรา/หนังสือ
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (หน้า 26)
วิธีที่ 1
1) ตำรา/หนังสือ 1 เล่ม (B)
และ 2 งานวิจัย (B)
2) ตำรา/หนังสือ 1 เล่ม (B)
และ 1 งานวิจัย (B)
และ 1 ผลงานในลักษณะอื่น (B)
วิธีที่ 2
1) งานวิจัย 3 เรื่อง (A=2 และ B=1)
2) งานวิจัย 2 เรื่อง (A)
และ 1 ผลงานในลักษณะอื่น (B)
วิธีที่ 3 สายวิทย์ เทคโน วิศวะ แพทย์
งานวิจัย 10 เรื่อง ในวารสารฐาน Q1 Q2
และ งานวิจัยอ้างอิงจาก Scopus >=500 รายการ
และ มีค่า Life-time H-Index ไม่น้อยกว่า 8
และ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยอย่างน้อย 5 โครงการ
วิธีที่ 3 สาขาบริหาร เศรษฐศาสตร์
งานวิจัย 5 เรื่อง ในวารสารฐาน Q1 Q2
และ งานวิจัยอ้างอิงจาก Scopus >=150 รายการ
และ มีค่า Life-time H-Index ไม่น้อยกว่า 4
และ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยอย่างน้อย 5 โครงการ
ตำแหน่งศาสตราจารย์ (หน้า 29)
วิธีที่ 1
1) ตำรา/หนังสือ 1 เล่ม (A)
และ งานวิจัย 5 เรื่อง (A)
2) ตำรา/หนังสือ 1 เล่ม (A)
และ งานวิจัย 1 เรื่อง (A)
และ ผลงานในลักษณะอื่น 5 เรื่อง (A)
วิธีที่ 2
1) งานวิจัย 5 เรื่อง (A+=2 A=3)
2) งานวิจัย 1 เรื่อง (ฐานนานาชาติ)
และ ผลงานในลักษณะอื่น รวม 5 เรื่อง (A+=2 A=3)
3) งานวิจัย 10 เรื่อง (A ฐานนานาชาติ)
วิธีที่ 1 สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
1) ตำรา/หนังสือ 2 เล่ม (A)
และ งานวิจัย 2 เรื่อง (A)
2) ตำรา/หนังสือ 2 เล่ม (A)
และ งานวิจัย 1 เรื่อง (A)
และ ผลงานในลักษณะอื่น 2 เรื่อง (A)
วิธีที่ 2 สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
1) งานวิจัย 3 เรื่อง (A+)
2) งานวิจัย 1 เรื่อง
และ ผลงานในลักษณะอื่น รวม 3 เรื่อง (A+)
3) ตำรา/หนังสือ 3 เล่ม (A+)
วิธีที่ 3 สาขาวิทย์ เทคโน วิศวะ แพทย์
งานวิจัย 10 เรื่องในวารสารฐาน Q1 Q2
และ งานวิจัยอ้างอิงจาก Scopus >=1000 รายการ
และ มีค่า Life-time H-Index ไม่น้อยกว่า 18
และ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยอย่างน้อย 10 โครงการ
วิธีที่ 3 สาขาบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์
งานวิจัย 10 เรื่องในวารสารฐาน Q1 Q2
และ งานวิจัยอ้างอิงจาก Scopus
- สาขาบริหารธุรกิจ >= 500 รายการ
- สาขาเศรษฐศาสตร์ >= 200 รายการ
และ มีค่า Life-time H-Index ไม่น้อยกว่า 8
และ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยอย่างน้อย 10 โครงการ
มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่ง พ.ศ.2558
มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดํารงตําแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2558
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 82 ง - 20 ส.ค.2558
ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดํารงตําแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2551
ข้อ 3 ประกาศ ก.พ.อ. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 4 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งดํารงตําแหน่งวิชาการ ต้องมีภาระงาน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ดังนี้
(1) ภาระงานสอน
(2) ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น
(3) ภาระงานบริการวิชาการ
(4) ภาระงานทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
(5) ภาระงานอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้สถาบันอุดมศึกษากําหนดสัดส่วนภาระงานด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตาม (1) ถึง (5) และวิธีการคิดภาระงานให้สอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละสถาบัน
ข้อ 5 ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากําหนดผลงานทางวิชาการ โดยคํานึงถึงความเป็นเลิศ ทางวิชาการและความเป็นที่ยอมรับในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ให้สอดคล้องกับ พันธกิจของแต่ละสถาบัน โดยผลงานทางวิชาการที่กําหนดสอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์
ข้อ 6 ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจลดหรือยกเว้นภาระงานให้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทผู้บริหาร และอาจกําหนดมาตรฐานภาระงานที่แตกต่างไปจากที่กําหนดไว้ข้างต้นก็ได้
ข้อ 7 ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับว่าด้วยการกําหนดภาระงานของผู้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หลังจากที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และรายงานให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นชอบ
อ่านเพิ่มเติม
มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2551 มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอน 32 ง - 27 ก.พ.2552
ประกาศ ม.เทคโนโลยีสุรนารี 2551
หลักการและเหตุผล

ภารกิจด้านการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญยิ่งอีกภารกิจหนึ่งของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นอกเหนือไปจากภารกิจด้านการสอน การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และควรมีความเข้มข้นขึ้นตามตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น และสังคมก็คาดหวังว่าผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการควรเป็นผู้ที่สร้างผลงานทางวิชาการและเผยแพร่อย่างต่อเนื่องเพื่อแสดงถึงความเหมาะสมที่จะดำรงสถานะของตำแหน่งทางวิชาการที่ได้รับการแต่งตั้ง ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในแต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบัน ปฏิบัติภารกิจแตกต่างกันไปทั้งภารกิจด้านการสอน การสร้างและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการบางคนไม่สร้างผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งแล้ว จึงมักเกิดคำถามว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแต่ละระดับ ควรปฏิบัติภารกิจด้านการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ในปริมาณและคุณภาพอย่างไร จึงจะเหมาะสมต่อการดำรงสถานะของตำแหน่งทางวิชาการแต่ละระดับ

ก.ม. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว โดยเล็งเห็นว่านอกเหนือจากการปฏิบัติภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการควรมีภาระงานซึ่งสะท้อนถึงการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างเหมาะสมต่อการดำรงสถานะของตำแหน่งทางวิชาการด้วย จึงได้กำหนดให้มีมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับมหาวิทยาลัยและผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้การกำหนดมาตรฐานภาระงานดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในการสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นต่อไป


1. มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
2. มาตรการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3. แนวทางการติดตามภาระงานวิชาการ
กฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ และ ก.พ.อ. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ.2536
ประกาศ ก.พ.อ.มาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ประกาศ ก.พ.อ.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ/รศ/ศ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564(ราชกิจจานุเบกษา)
ประกาศ ก.พ.อ.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ/รศ/ศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 (ราชกิจจานุเบกษา)
ประกาศ ก.พ.อ.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ/รศ/ศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 (ราชกิจจานุเบกษา)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ./รศ./ศ. พ.ศ.2563 (ราชกิจจานุเบกษา)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ./รศ./ศ. พ.ศ.2560 (ราชกิจจานุเบกษา)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ./รศ./ศ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 (ราชกิจจานุเบกษา)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น 2561
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง การกำหนดชื่อสาขาวิชาสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกำหนดไปแล้ว พ.ศ.2561
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง การกำหนดชื่อสาขาวิชาสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกำหนดไปแล้ว 2562 (ราชกิจจานุเบกษา)
หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ 2562
รายชื่อวารสาร
การกำหนดจำนวนของผลงานทางวิชาการตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. 2561
ความหมายของผู้ดำเนินการหลักและผู้ประสานงานการพิมพ์เผยแพร่
การแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน 2561
อ่านเพิ่มเติมที่ การขอตำแหน่งทางวิชาการ โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทความในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย

ประภาพร ถึกกวย. (2556). แนวทางการพัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. Veridian E-Journal, 6(3), 92-109.

Thaiall.com