thaiall logomy background
ความหมายการวิจัย
my town
spss | apa | peer review | TCI-1140 | TCI-1243 | research | NCCIT | ประชุมวิชาการ | อักขราวิสุทธิ์ |
การวิจัย
การวิจัย คือ การค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9]
การวิจัย คือ การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตทางสังคม เพื่อที่จะขยาย แก้ไข หรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3]
การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่า และเพื่อวิเคราะห์ผลก่อนหลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน
การวิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ
การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม
การวิจัย คือ การหาคำตอบให้แก่คำถามที่ผู้วิจัยอยากรู้เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้วิจัยมองเห็น ซึ่งอาจมีหลายปัญหา แต่ผู้วิจัยต้องเลือกปัญหาที่เห็นว่าสำคัญ และมีความจำเป็นต้องหาคำตอบโดยการศึกษาวิจัย [คู่มือของ วช. p.18]
นักวิจัย คือ ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล
จรรยาบรรณ คือ หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณนักวิจัย คือ หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัต ิของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
การวิจัยและพัฒนา (nrct.net 2006-02-11)
คือ งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ
จำแนกได้ 3 ประเภท
1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ
2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. การพัฒนาการทดลอง (Experimental Development) เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. 2533. ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คู่มือนักวิจัยมือใหม่ ของ วช.
บการเผยแพร่ คู่มือนักวิจัยมือใหม่ ในเว็บไซต์ของ วช. น่าจะมีประโยชน์กับผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ที่สนใจในการเริ่มต้นทำวิจัย เนื้อหาในคู่มือประกอบด้วย 7 บท ดังนี้
บทที่ 1 ความสำคัญของการวิจัย
บทที่ 2 การตั้งโจทย์วิจัย
บทที่ 3 การตั้งสมมติฐานในการวิจัย
บทที่ 4 การศึกษาวรรณกรรมการวิจัย
บทที่ 5 ศิลปะในการทำวิจัย
บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย
บทที่ 7 การเขียนรายงานและการนำไปใช้ประโยชน์
โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โฮมเพจแชร์ คู่มือ ที่ https://goo.gl/x4eUqR
แชร์คู่มือในกลุ่ม : เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย
เขียนโดย
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ศ.ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม
คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ
ศ.ดร.พันธ์ทิพย์ รามสูต
ศ.ดร.มงคล เดชนครินทร์
ดาวน์โหลด (Download)
คู่มือนักวิจัยมือใหม่ ของ วช.
TTR.pdf (183MB)

ISBN 978-974-328-456-2
- ตำราชุดฝึก หลักสูตร "นักวิจัย"
- เอกสารสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)
คู่มือนักวิจัย 2558 ของ สกว. (ชื่อใหม่ สวสก.)
คู่มือนักวิจัย
ird.rmutt.ac.th
rdi.rmutsb.ac.th
research.buu.ac.th
คู่มือนักวิจัย ของ สกว. ฉบับปรับปรุง กุมภาพันธ์ 2558 สำหรับผู้ที่ได้รับทุนของ สกว. เพื่อให้การดำเนินโครงการวิจัยของท่าน เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ สัญญาทุน การสรุปข้อเสนอโครงการ การจ่ายเงิน แผนงบประมาณ แนวปฏิบัติทางการเงิน บัญชี พัสดุ รายงานความก้าวหน้า รูปแบบการเสนอผลงานของโครงการ

1 พ.ค.2562 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศเรื่อง “พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ.2562” โดยกำหนดให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ไปปฏิบัติหน้าที่เป็น “สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” หรือเรียกโดยย่อว่า “สกสว.” เพื่อจัดทำและกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้มีเอกภาพและเป็นระบบและเป็นระบบ ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ ระบบวิจัยและนวัตกรรมผ่าน “กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของ “สกว.” ไปปฏิบัติหน้าที่เป็น “สกสว.” ดังกล่าว เป็นการโอนย้ายบุคลากรไปทั้งองค์กรรวมทั้งกองทุนที่มีอยู่ และยกเลิกพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ.2535 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค.2562 เป็นต้นไป
อ่านเพิ่มเติม
ทฤษฎี ทฤษฎี คืออะไร (แหล่งอ้างอิง : /theory # )
คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด คำนิยาม และองค์ประกอบที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น
คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบ และทดลองหลายครั้งหลายหน จนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น
ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าอิสระ หรือวิทยานิพนธ์ ในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 9 เม.ย.57 มีโอกาสพูดคุยกับนักศึกษา เรื่อง การเขียนผังงาน ว่าเขียนแบบใดนำไปเขียนโปรแกรมได้ และได้คุยกับนักศึกษาที่ทำ IS และบุคลากรที่สนใจใช้ SPSS เพื่อให้เห็นภาพรวมของการประมวลผลข้อมูลทางสถิติ ต้องรู้ว่าเริ่มต้นอย่างไร และสิ้นสุดอย่างไร เพราะการประมวลผล T-Test, F-Test, Chi-Square หรือ One-way ANOVA เป็นเพียงขั้นตอนตรงกลางของการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เท่านั้น
ขั้นตอนโดยทั่วไป
1. พิจารณากำหนดประเด็นที่สนใจ
2. ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. ได้หัวข้อและวัตถุประสงค์
4. เขียนเค้าโครง กำหนดประชากร วิธีการ เครื่องมือ กรอกแนวคิด และเขียนข้อเสนอโครงการ
5. สอบป้องกันเค้าโครง (ต้องผ่านการอนุมัติจาก อาจารย์ที่ปรึกษา)
6. สอบต่อคณะกรรมการ ถ้าไม่ผ่านไปทำข้อ 1 ใหม่
7. ดำเนินการเก็บข้อมูล และประมวลผล
8. เขียนผลการดำเนินงาน สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
9. สอบป้องกัน (ต้องผ่านการอนุมัติจาก อาจารย์ที่ปรึกษา)
10. สอบต่อคณะกรรมการ ถ้าไม่ผ่านไปทำข้อ 1 หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณี
research.pptx
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทางด้านบริหารธุรกิจ
  1. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Ps หรือ 7Ps หรือ 7Cs
    มุมมองของผู้ขาย โดย Philip Kotler นำมาใช้วิเคราะห์ SWOT ได้
    1. สินค้า (Product)
    2. ราคา (Price)
    3. สถานที่ (Place)
    4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
    5. พนักงาน (People)
    6. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation)
    7. กระบวนการ (Process)

    มุมมองของลูกค้า
    1. ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการ (Customer Solution / Customer Needs)
    2. ราคา คือต้นทุนของลูกค้า (Customer Cost)
    3. ความสะดวกในการหาซื้อสินค้า (Convenience Choice)
    4. การสื่อสารรายละเอียดสินค้า (Communication)
    5. การดูแลลูกค้า กิริยา มารยาทของผู้ขาย (Caring / Competence Courtesy)
    6. ความสะดวกสบาย (Comfortable / Comfort Cleanliness)
    7. ความสมบูรณ์ต่อเนื่องในการประสานงาน (Complete / Coordination Continuity)
    + thesisavenue.blogspot.com
    + golfweerawat.blogspot.com
  2. โมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค : การตัดสินใจซื้อ (Buying Decision Process)
    Consumer behavior model (Kotler, 2003, p.184)
    การตัดสินใจซื้อ (Buying Decision)
    1. การเลือกผลิตภัณฑ์ (Product)
    2. การเลือกตราสินค้า (Brand)
    3. การเลือกผู้ขาย (Buyer)
    4. เวลาที่ทำการซื้อ (Time)
    5. ปริมาณการซื้อ (Amount)
    6. เงื่อนไขในการชำระเงิน (Criteria)

    กระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ
    (อดุลย์ จาตุรงคกุล, 2543, หน้า 160)
    1. การตระหนักถึงความต้องการ (Need Recognition)
    2. การเสาะแสวงหาข่าวสาร (Information Search)
    3. การประเมินทางเลือก (Evaluation of Alternatives) [Kotler]
    4. การตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision)
    5. พฤติกรรมหลังการซื้อ (Post Purchase Behavior)

    + wiki - Buying_decision_process
    ! PDF : ศักดิ์โสภณ ดวงแก้ว - การตัดสินใจซื้อ
  3. หลัก 12 ประการของความมีประสิทธิภาพ
    Harring Emerson - Twelve principles of efficiency
    1. กำหนดแนวคิดในการทำงานให้กระจ่าง (Clearly defined ideals)
    2. ใช้สามัญสำนึกในการมองโอกาส ปัญหา และความเป็นจริง (Common sense)
    3. การปรึกษาหารือต้องครบถ้วน และสมบูรณ์ (Competent counsel)
    4. รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน (Discipline)
    5. ปฏิบัติงานอย่างยุติธรรม (The fair deal)
    6. มีความน่าเชื่อถือ ทันทีทันใด และบันทึกการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ (Reliable, immediate and adequate records)
    7. กระจายข้อมูลข่าวสารให้ทั่วถึง (Despatching)
    8. มีมาตรฐานและเป็นไปตามกำหนดเวลา (Standards and schedules)
    9. มีเงื่อนไขที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ (Standardized conditions)
    10. มีการดำเนินงานตามมาตรฐาน (Standardized operations)
    11. มีคู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน (Written standard-practice instructions)
    12. มีรางวัลแก่ผู้ทำงานมีประสิทธิภาพ (Efficiency-reward)
  4. รูปแบบของการมีส่วนร่วม หรือส่วนเกี่ยวข้อง
    โคเฮน และอัพฮอฟ - Cohen and Uphoff (1981 : 6)
    1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making)
    2. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (Working)
    3. การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ (Benefits)
    4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)
    + PDF : ศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์ - รูปแบบการจัดการศึกษา
  5. ปัจจัยกำหนดคุณภาพการบริการ
    คุณภาพของการบริการ (Service Quality) หมายถึง การประเมินของผู้บริโภคเกี่ยวกับความดีเลิศ หรือความเหนือกว่าของการบริการ (Zeithaml. 1988: 2-22) ซึ่งพาราสุรามัน และคณะได้เสนอเพิ่มเติมว่า คุณภาพของการบริการตามความรับรู้ (Perceived Service Quality) ของผู้บริโภค คือ การประเมิน หรือการลงความเห็นเกี่ยวกับความดีเลิศของการให้บริการโดยรวม เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบของผู้บริโภค ระหว่างความคาดหวังของพวกเขาเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ และการบริการที่พวกเขาได้รับจริง (Parasuraman’ et al 1994: 201-230)
    กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ (2542: 2-139) อธิบายถึง ปัจจัยกำหนดคุณภาพการบริการไว้ 10 เกณฑ์ ดังนี้
    1. ความสามารถ (Competence) ในการให้บริการที่เหมาะสม มีความชำนาญในหน้าที่นั้น
    2. ความสุภาพ (Courtesy) ถ่อมตนให้เกียรติ รักษามารยาทต่อผู้รับบริการ และผู้รับบริการต้องมาก่อน
    3. ความน่าเชื่อถือ (Creditability) เป็นภาพรวมของการให้บริการ ทั้งบุคลิกภาพ ท่วงท่า ความชำนาญ
    4. ความมั่นคงปลอดภัย (Security) ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัย ไม่เสี่ยง ทั้งร่างกาย และการเงิน
    5. เข้าถึงสะดวก (Access) เข้าถึงบริการได้ง่าย ติดต่อได้สะดวก ใกล้ชุมชน
    6. ความสามารถในการสื่อข้อความ (Communication) ให้ข้อมูลได้ตรงกับที่ผู้รับบริการต้องการ และชัดเจน
    7. ความเข้าใจในลูกค้า (Knowing the customer) เอาใจใส่ต่อผู้ใช้บริการ รู้ว่าต้องการและไม่ต้องการอะไร
    8. สัมผัสได้ (Tangibles) เป็นการให้บริการที่สัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์
    9. ความเชื่อถือ (Reliability) มีมาตรฐานในการบริหารจัดการ ถูกต้อง ทันเวลาตามแผน
    10. การตอบสนอง (Responsiveness) แสดงถึงความพร้อมและเต็มใจของพนักงาน
    ! PDF : ขนิษฐา เชียงแสน - คุณภาพต่อความภักดี
  6. ปัจจัยกำหนดคุณภาพการบริการ หรือเครื่องมือวัดชุดคุณภาพบริการ “SERVQUAL”
    Parasuraman,Zeithaml; & Berry. 1998 ปรับใหม่ได้ acronym ว่า RATER
    1. ความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ (Reliability)
    2. การให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า (Assurance)
    3. ความเป็นรูปธรรมของการบริการ (Tangibles)
    4. การเข้าใจและรู้จักลูกค้า (Empathy)
    5. การตอบสนองลูกค้า (Responsive)
    + wiki - SERVQUAL
รวบรวมข้อมูล
  1. การเขียนหลักการและเหตุผลใน โครงการเพื่อแก้ปัญหา
    เป้าหมายการเขียน เพื่อ แสดงให้เห็นที่มา และความจำเป็นของโครงการ ประกอบด้วย
    1) ข้อมูลสถานการณ์ หรือสถานภาพที่เป็นอยู่อันเป็นที่มาและเหตุผลที่ต้องมีข้อเสนอโครงการ 2) อธิบายสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ให้ชัดเจน ให้ข้อมูลเรื่องขนาด ความรุนแรง มีข้อเท็จจริง หรือข้อมูลทางสถิติ และผลกระทบทั้งระยะสั้น ระยะยาว 3) ระบุแนวทาง หรือวิธีการแก้ปัญหา การเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมด้วยวิธีการใด 4) ประเมิน หรือคาดหมายล่วงหน้าว่าถ้าดำเนินการแล้วจะเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างไร
  2. การเขียนหลักการและเหตุผลใน โครงการเพื่อพัฒนา
    เป้าหมายการเขียน เพื่อ แสดงให้เห็นที่มา และความจำเป็นของโครงการ ประกอบด้วย
    1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อนโยบาย แผน แผนงาน หรือกลยุทธ์ขององค์กร 2) อธิบายทางเลือกที่เป็นไปได้ และเหตุผลของการเลือกวิธีการหนึ่งอันเป็นที่มาของโครงการ 3) ประเมิน หรือคาดหมายล่วงหน้าว่าถ้าดำเนินการแล้วจะเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างไร 4) สรุปหลักการและความจำเป็นของโครงการที่เชื่อมโยงกับนโยบายและแผนพัฒนาให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเห็นประโยชน์
  3. Peer Review หมายถึงอะไร (ห้องสมุดสตางค์)
    กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการ มีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้นๆ
  4. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ทฤษฎีของเบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom) (novabizz.com)
    พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการกระทำ ที่เกี่ยวกับกระบวนการทางสมอง เช่น สติปัญญา (Intellectual) การเรียนรู้ (Learning) และ การแก้ปัญหา (Problem solving) ได้แบ่งระดับพุทธิพิสัยไว้ 6 ระดับ โดยเรียงจากระดับต่ำสุด ถึง ระดับสูงสุด ดังนี้
    1. ความรู้ - ความจำ (Knowledge) 1.1 ความรู้ความจำในเนื้อเรื่อง (Knowledge of specifics) 1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม (Knowledge of terminology) 1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง (Knowledge of specific facts) 1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ (Knowledge of ways and means of dealing with specifics) 1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน (Knowledge of conventions) 1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม (Knowledge of trends and sequences) 1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท (Knowledge of classifications and categories) 1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ (Knowledge of criteria) 1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ (Knowledge of methodology) 1.3 ความรู้ความจำรวบยอด (Knowledge of universals and abstractions in the field) 1.31 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและขยายหลักวิชา (Knowledge of principles and generalization) 1.32 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง (Knowledge of theories and structures)
    2. ความเข้าใจ (Comprehension) 2.1 การแปลความ (Translation) 2.2 การตีความ (Interpretation) 2.3 การขยายความ (Extrapolation)
    3. การนำไปใช้ (Application)
    4. การวิเคราะห์ (Analysis) 4.1 การวิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of element) 4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( Analysis of relationships) 4.3 การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of organizational principles)
    5. การสังเคราะห์ (Synthesis) 5.1 การสังเคราะห์ข้อความ (Production of unique communication) 5.2 การสังเคราะห์แผนงาน (Production of plan or proposed set of operation) 5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of set of abstract relation)
    6. การประเมินค่า (Evaluation) 6.1 การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน (Judgement in term of internal evidence) 6.2 การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก (Judgement in term of external criteria)
  5. ความหมายของการวิจัยธุรกิจ (นราศรี ไววนิชกุล น.4)
    หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจ ด้วยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. การวิจัยและพัฒนา หมายถึง อะไร (nrct.net 2006-02-11)
    การวิจัยและพัฒนา หมายถึง งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ
    การวิจัยและพัฒนาจำแนกได้ 3 ประเภท
    1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ
    2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
    3. การพัฒนาการทดลอง (Experimental Development) เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประดิษฐ์สิ่งใหม ่ๆ ผลิตผล และเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น
  7. เนื้อหาของรายงาน ข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal) (นราศรี ไววนิชกุล น.257)
    1. ชื่อโครงการ
    2. ชื่อผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัย
    3. งานวิจัยในอดีตของผู้ทำวิจัย หรือคณะผู้ทำวิจัย
    4. วัตถุประสงค์ และขอบเขตของโครงการวิจัย
    5. สถานที่ที่จะทำการวิจัย
    6. สมมติฐาน
    7. แหล่งของข้อมูล
    8. กำหนดระเบียบวิธีวิจัย
    9. ตัวอย่างแบบสอบถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์
    10. งบประมาณ
    11. ตารางเวลาแสดงการปฏิบัติงาน
    12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  8. เนื้อหาของรายงาน (Final Research Report) (นราศรี ไววนิชกุล น.262) มักถูกเรียกติดปากว่า รายงานการวิจัย 5 บท
    บทที่ 1 ความเป็นมา
    - ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา
    - วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการทำวิจัย
    - สมมติฐานที่ตั้งไว้
    - กระบวนการวิจัยที่ปฏิบัติจริง
    บทที่ 2 ข้อมูลที่รวบรวมได้
    - การเสนอรายงานด้วยตาราง
    - การเสนอรายงานด้วยกราฟ
    บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา
    บทที่ 4 ข้อเสนอแนะ
    บทที่ 5 สรุป
    ภาคผนวก
    - แบบสอบถามการเก็บข้อมูล
    - ข้อมูลที่สำคัญบางชุด
    - วิธีการคำนวณ
    - รายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  9. องค์ประกอบของ รายงานการวิจัย มักประกอบด้วย 5 บท
    ข้อมูลจาก https://www.im2market.com/2015/10/02/1871
    บทที่ 1 บทนำ
    บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
    บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
    [whatisresearch2562.docx]
  10. การฝึกอบรมพนักงาน (นราศรี ไววนิชกุล น.123)
    1. วัตถุประสงค์
    2. ระยะเวลาในการออกงานสนาม
    3. ลักษณะ และจำนวนของผู้มาสัมภาษณ์
    4. สถานที่ที่ไปสัมภาษณ์
    5. วิธีการแนะนำตนเอง
    6. วิธีการถามแต่ละคำถาม
    7. วิธีการจดบันทึก และสังเกตการณ์ประกอบ
    8. วิธีการกระตุ้นให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบ
    9. วิธีตรวจสอบแบบสอบถาม และแก้ไขให้ถูกต้อง
    10. แนะนำผู้เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้อพนักงานสัมภาษณ์
    11. ค่าแรงที่จะได้รับ
    12. วิธีประเมินการทำงานของพนักงานสัมภาษณ์
  11. คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
    เอกสารแนบท้ายระเบียบ ว่าด้วย หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ
    * http://www.person.ku.ac.th
    ! http://www.sc.chula.ac.th
    ! http://www.rsu.ac.th
    1. เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ
    2. เอกสารคำสอน หมายถึง เอกสารคำบรรยายหรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์กว่าเอกสารประกอบการสอน
    3. บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ และมีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน
    4. ตำรา หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชา หรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำรามาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่น ๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
    5. หนังสือ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ และ/หรือผู้อ่านทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการมั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอหนังสือมาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอมหรืออาจใช้ทั้งเอกสารหรือสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
    6. งานวิจัย หมายถึง งานค้นคว้าอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หลักการหรือข้อสรุปรวม ที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา
    7. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หมายถึง ผลงานอย่างอื่นที่มิใช่เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ บทความทางวิชาการ ตำราหรืองานวิจัย โดยปกติหมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ อาทิ เครื่องทุ่นแรง ผลงานการสร้างสิ่งที่มีชีวิตพันธุ์ใหม่ วัคซีน หรือสิ่งก่อสร้าง ผลงานด้านศิลปะ ฯลฯ ผลงานทางวิชาการดังกล่าวอาจบันทึกเป็นภาพยนต์หรือแถบเสียงได้ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เสนอนั้น จะต้องประกอบด้วยคำอธิบายที่ชี้ให้เห็นว่างานดังกล่าวทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ หรือให้วิธีการที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชานั้น และแสดงถึงความสามารถในการบุกเบิกในสาขาวิชานั้น สำหรับผลงานที่มุ่งผลเชิงปฏิบัติจะต้องผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานรายละเอียดต่างๆประกอบแสดงให้เห็นคุณค่าของผลงาน
    8. งานแปล หมายถึง งานแปลจากตัวงานต้นแบบที่เป็นงานวรรณกรรมหรืองานด้านปรัชญา หรือประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการสาขาอื่นบางสาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขานั้นๆ ซึ่งเมื่อได้นำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการที่เห็นได้ประจักษ์ชัด เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือแปลจากภาษาต่างประเทศหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง
  12. ลักษณะของ เอกสารประกอบการสอน (รูปแบบหนึ่ง)
    - จัดทำเป็นรูปเล่ม มี ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ
    - มี ลักษณะรายวิชา การแบ่งบทเรียน(ท/ป) การประเมินผลรายวิชา ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน รายการเอกสารประกอบการสอน
    - เนื้อหาเรียงตามแผนการสอน และมีจุดประสงค์การสอน แต่ละบท ที่คำนึงถึงลำดับการเรียนรู้
    - แต่ละบทมี แบบฝึกหัดท้ายบท วิธีการสอน และกิจกรรม สื่อการสอน การวัดผล
    - ความคิดเห็นหัวหน้าสาขา และความคิดเห็นคณบดี
    สรุปข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม จาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่อการจัดทำเอกสารทางวิชาการ
    ? คำที่ใช้ต้อง ตรวจสอบจากพจนานุกรมที่เป็นที่ยอมรับ อย่าให้ผิด
    ? ต้องมี Reference ของภาพ และข้อความ ที่คัดลอกมา
    ? อย่าใช้คำว่าหน่วยที่แบบแผนการจัดการเรียนรู้ แต่ให้ใช้คำว่า บทที่
    ? หัวข้อใหญ่ตัวอักษรใหญ่ชิดซ้าย หัวข้อย่อยย่อหน้า 1 Tab ตัวเล็กลง และลดหลั่นกันไป
    ? Technical Term ต้องแปลเป็นภาษาไทย เช่น แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นต้น
    ? อย่าใช้คำไทย สลับกับคำภาษาอังกฤษ
    ? เอกสารประกอบการสอน และตำรา ต้องเป็นคนละวิชา
    ? ตำรา ต้องมีการเปิดสอนในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา (ห้ามเถียง เพราะผมก็ไม่มีโอกาส)
    ? ขนาดตัวอักษร หัวข้อใหญ่มีขนาด 18 และหนา หัวข้อรองมีขนาด 16 และหนา
  13. วิธีวิทยา (methodology)
    วิธีวิทยา (Methodology) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี คำว่า “วิธีวิทยาการวิจัย” จึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ การกำหนดปัญหาวิจัยที่ต้องการศึกษา การกำหนดรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดหรือสร้างเครื่องมือวิจัย การรวบรวม การนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล และการให้ข้อเสนอแนะ
    http://www.gotoknow.org/posts/460720
  14. เสนอหัวข้อใน .. วิธีวิทยาการวิจัยเพื่อท้องถิ่น *
    1. พบประเด็นปัญหาของชุมชนที่ชุมชนต้องการแก้ปัญหา (Topics)
    2. การคัดเลือกตัวแทนของชุมชนเข้าร่วมทีมแก้ปัญหาด้วยการวิจัย (Participation)
    3. กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
    4. ตั้งคำถาม และวัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives)
    5. ศึกษาแนวคิดเชิงทฤษฎี/รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)
    6. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง (Population and Samples)
    7. วิธีการ (Methods)
    8. เครื่องมือ (Tools)
    9. การรวบรวมข้อมูล (Collection of data)
    10. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
    11. การใช้ประโยชน์ (Utilization)
    12. การสรุปผล (Conclusion)
    13. การเผยแพร่ และการถอดบทเรียน (Publication and Lesson Learned)
    * หัวข้อ จำแนกวิธีดำเนินการวิจัยตามวิธีวิทยา ภาควิชาวิจัย และจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    * หัวข้อ วิธีวิทยา (Methodology) กระบวนการสืบค้นความรู้และความจริง
ต.ย. หัวข้องานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เอกสารที่จัดทำนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการสื่อสารกับนักศึกษา เรื่อง การเตรียมเอกสารนำเสนอหัวข้อ หรือสอบป้องกันหัวข้อ สำหรับ 3 บทแรก ในกลุ่มนักศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก่อนจะเข้าสู่สนามสอบก็ต้องผ่านการพิจารณาซักซ้อมกับอาจารย์ที่ปรึกษาจนมีทักษะในการอธิบาย โดยมีการพิจารณาหลายครั้ง ทำให้ได้ข้อเสนอแนะปรับแก้ และติดตามให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ได้เอกสารสื่อสารออกมาได้ตรงกับที่ตั้งใจ ซึ่งรายละเอียดที่ใช้ในแต่ละสถาบัน แต่ละหลักสูตรก็จะมีการกำกับดูแล มีตัวแบบ ขั้นตอน หรือเกณฑ์พิจารณา ที่แตกต่างกันไป
ตัวแบบหัวข้อ การศึกษาค้นคว้าอิสระ
สำหรับ 3 บทแรก
(ตัวเลขหัวข้อย่อย เวลาเขียนจริง ไม่ต้องมีตัวเลขกำกับนะครับ)
บทที่ 1 บทนำ
1. ชื่อหัวข้อ - มักพบว่ามีคำที่ใช้เป็นตัวแปรตามในกรอบแนวคิด
2. บทนำ
2.1 ภาพกว้าง
2.2 พบประเด็นอะไร
2.3 เสนอแนวทางหาคำตอบที่สอดรับกับหัวข้อ
3. วัตถุประสงค์ - ตอบหัวข้อ และบทนำ
4. ขอบเขต - เนื้อหา+ประชากร+ตัวแปร+เวลา+สถานที่
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - สอดรับกับวัตถุประสงค์
6. นิยามศัพท์ - อธิบายคำที่ต้องขยายความ
7. สมมติฐานการวิจัย - มักได้คำตอบด้วยค่าสถิติ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - ต้องถูกใช้ในแบบสอบถาม
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - ต้องถูกใช้ในการอภิปรายผล
3. กรอบแนวคิดในการวิจัย - สิ่งที่เรารู้ กับสิ่งที่เราค้นหา
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
1. ขั้นตอนดำเนินการวิจัย - เป็นข้อ จนถึงสรุปผล
2. แหล่งข้อมูล - ปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ
3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - ให้เหตุผลของแต่ละเครื่องมือ
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล - ใช้เครื่องมือใด ที่ไหน อย่างไร
6. การวิเคราะห์ข้อมูล - ค่าสถิติใด ใช้เพื่ออะไร
ค่า IOC เพื่อวัดความสอดคล้อง เที่ยงตรง (Validity) มีโอกาสร่วมฟังการสอบ IS ของนักศึกษา โดยมี ดร.ลภัสรดา จ่างแก้ว ได้กำชับให้นักศึกษาทำการวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามมาด้วย จึงรวบรวมข้อมูล แล้วแบ่งปันไว้ ดังนี้
การวัดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (content validity)
หมายถึง การวัดว่าผู้วิจัยออกแบบสอบถามได้ตรงตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด ในการทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาสามารถดำเนินการได้โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง มาช่วยพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับแบบสอบถาม โดยพิจารณาเป็นรายข้อคำถาม วิธีการพิจารณาแบบนี้จะเรียกว่า การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC)
การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC : Index of Item – Objective Congruence)
หมายถึง ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ มีค่า ระหว่าง 1.00 ถึง –1.00 ซึ่งข้อคำถามที่มีความตรงตามวัตถุประสงค์จะมีค่า IOC เข้าใกล้ 1.00 ถ้าข้อคำถามใดมีค่า IOC น้อยกว่า 0.5 ก็ควรปรับปรุงใหม่ให้สอดคล้องกับวัตถุ ประสงค์ที่ต้องการวัด
เกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) ของผู้เชี่ยวชาญ
มีดังนี้
คะแนนเท่ากับ +1 หมายถึง แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
คะแนนเท่ากับ 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่า สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
คะแนนเท่ากับ -1 หมายถึง ไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
กรณีคะแนนเป็น -1 (ไม่มีความสอดคล้อง) ขอความอนุเคราะห์ให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะเพื่อพัฒนาในข้อนั้น


หลักการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
1. ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาคทฤษฎี
2. ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาคปฏิบัติ
3. ผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านวิจัย
4. ผู้เชี่ยวชาญมีจำนวน 3 - 5 คน
โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวแทนของแต่ละสาย เช่น สายอาจารย์ สายวิชาชีพ สายวิชาการ สายภูมิปัญญา
ขั้นตอนการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
1. พัฒนาแบบสอบถามตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความอนุเคราะห์ด้วยวาจา
3. ขอหนังสือจากหลักสูตร
4. ส่งหนังสือและเครื่องมือถึงผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเอง
5. ขอรับเครื่องมือคืนแล้วประมวลผล
การทดสอบมีหลายด้าน
1. การทดสอบความสามารถในการทำงานของระบบ (Functional Test)
2. การทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance Test)
3. การทดสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของระบบ (Reliability Test)
4. การทดสอบความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน (Usability Test)
5. การทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน (Security Test)
+ thaiall.com/research/efficiency.htm
+ gotoknow.org/posts/370878
+ thaiall.com/research/ioc.xlsx
ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า
การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
มักใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's coefficient of alpha) เหมาะกับข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องที่เป็น rating scale เรียกว่าการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Coefficient alpha) โดยใช้ค่าความแปรปรวนของข้อมูลมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น ซึ่งค่าที่ได้ควรมากกว่า 0.6 แสดงว่ามีค่าความเชื่อมั่นสูง จึงจะยอมรับได้ ซึ่งมักเขียนไว้ในบทที่ 3 ของรายงานการวิจัย 5 บท
ขั้นตอนการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า
1. ออกแบบสอบถาม
2. นำแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่าง 30 คนลองทำ
3. นำมาหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าในภาพรวม
ถ้าค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าเชื่อมั่นได้ เหมาะกับคำถามที่เชื่อว่าคนตอบ จะตอบไปทางเดียวกัน หากตอบไปคนละทิศละทาง แสดงว่าเชื่อมั่นไม่ได้ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546 : 449 - 450)
ตาราง excel สำหรับช่วยคำนวณค่า Cronbach's coefficient of alpha
+ thaiall.com/research/cronbach.xlsx
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ที่น่าสนใจ) [paper]
ณัฐวุฒิ ปกสุข. (2557). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลห้องสมุดออนไลน์ สำหรับโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2557.
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/permalink/1122571897893627/
[paper]
สมพล สุขเจริญพงษ์ และ กสมล ชนะสุข. (2558). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2558.
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/permalink/1122567077894109/
http://dept.npru.ac.th/msc/data/files/การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัดนครปฐม.pdf
[fullpaper]
จริยา ขำแจง. (2558). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการจ่ายเงินชดเชยผู้ประสบอุทกภัยบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กรณีศึกษาตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
http://www.agi.nu.ac.th/nred/Document/is-PDF/2557/geo_2557_09_FullPaper.pdf
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/permalink/1122569841227166/
[abstract]
นายศุภชัย ธรรมวงศ์. (2551). การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูล บนเว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน.
! http://www.thaiall.com/blog/admin/4278/
[abstract]
นางสาวมานีสงค์ ปฐมวิริยะวงศ์. (2550). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์สถาบัน ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
! http://www.thaiall.com/blog/admin/4278/
วารสาร (Journal) และ การประชุมวิชาการ (Proceeding) [รายงานสืบเนื่อง] จาก
การประชุมสัมนาวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
http://www.gnru.org/showproc.php?pro_id=6
http://www.gnru.org/proceeding.php
http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding.php
http://www.gnru.org/admin/pages/upload/report/pibul_proceeding.pdf
[รายงานสืบเนื่อง] จาก
การประชุมสัมนาวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
http://www.gnru.org/showproc.php?pro_id=4
http://www.gnru.org/proceeding.php
- ครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์
- รัฐศาสตร์ / รัฐประศาสนศาสตร์และการเมืองการปกครอง
- บริหารธุรกิจ / การจัดการ / การท่องเที่ยว
- ภาษา / วัฒนธรรม / วรรณกรรมท้องถิ่น
- สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
- วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- เกษตรศาสตร์ / วิทยาศาสตร์และโทคโนโลยี
[กำหนดการ] ของ
การประชุมสัมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4
http://gnru2018.lpru.ac.th/schedule.php
- OSC0392 : โชคทวี จิตรพินิจ. (2561). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนเว็บสำหรับการจัดการคลังวัสดุของร้านขายดอกไม้.
ค้น Fullpaper ที่ chula.ac.th ค้น fullpaper จาก chula.ac.th ด้วยคำว่า "มหาวิทยาลัยเอกชน" พบถึง 1287 ผลงาน เมื่อ 14 กรกฎาคม 2564 หากค้นด้วย "มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย" พบเรื่อง "การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารงานวิจัยตามกลุ่มสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย" ของ สุจิตรา โอสถอภิรักษ์ เป็นวิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานปี 2552 มี 212 แผ่น ดาวน์โหลดมาอ่านได้ เพื่อใช้เขียนอ้างอิงในบทความวิชาการของตนเอง จึง Download แฟ้ม pdf ขนาด 1.53 MB มาไว้ในเครื่อง พบว่ามีคำแนะนำการเขียนอ้างอิงแบบ APA ด้วย สุจิตรา โอสถอภิรักษ์. (2552) การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารงานวิจัยตามกลุ่มสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2009.779 แล้วพบว่าแฟ้มนี้ป้องกันการ print จึงอ่านได้อย่างเดียว ไม่เหมือนกับบริการฐานข้อมูลวารสารไทยของ thaijo ที่ใช้ pdf.js ที่ช่วยให้เปิดอ่านแบบออนไลน์ได้
วิธีการศึกษาที่น่าสนใจ
กรณีทราบจำนวนประชาการ
Taro Yamane (ยามาเน่)
หรือ สูตรของเครซี่และมอร์แกน
กรณีไม่ทราบจำนวนประชาการ
Cochran (คอแครน)
วิธีการศึกษาทางสายสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์
1. ประชากร
- สัมพันธ์กับเรื่องที่ทำ
2. กลุ่มตัวอย่าง
- สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane)
3. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ และ ข้อมูลทุติยภูมิ
- ข้อมูลปฐมภูมิ
- ข้อมูลทุติยภูมิ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ใช้แบบสอบถาม
- ใช้แบบสัมภาษณ์
5. การวัดค่าตัวแปร
- สเกล 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
6. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
- chi-square
- one-way anova
- standard diviation
- mean
7. การตรวจสอบเครื่องมือ
- หาความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ
- หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Coefficient alpha) เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach)
+ ตัวอย่าง วิทยานิพนธ์เรื่อง การบริหารงานกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหิดล

วิธีการศึกษา (Research Methodology) [WMS Journal of Management Walailak University Vol.4 No.3 (Sep–Dec 2015)]
# บทบาทในการกำกับและดูแลความเสี่ยงของกรรมการรัฐวิสาหกิจและปัจจัยสาเหตุ p.52-63
1. กระบวนการฝึกอบรม และทดสอบด้วยกรณีศึกษา (Case Study Method)
2. การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการวิจัย
3. การเก็บข้อมูลระหว่างการจัดการอบรม
4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
- Data Triangulation มีผู้วิจัยแต่ละคน อ่านบทถอดเทปและวิเคราะห์ประเด็น และมาสอบทานด้วย Triangulation Method
- Investigator Triangulation มีผู้วิจัย 2 คนเป็นผู้จดบันทึก
- Methodological Triangulation ใช้หลายวิธีคือ In-Depth Interview, Focus Group Discussion, Observation

วิธีการศึกษา (Research Methodology) [NCCIT2015]
# การวิเคราะห์ความรู้สึกแบบอัตโนมัติจากข้อความแสดงความคิดเห็น p.1-6
1. ขั้นตอนการสร้างโมเดล
2. การนำโมเดลไปใช้งาน
# การประยุกต์ใช้ฟัซซี่ลอจิก เพื่อจัดสรรหน่วยความจำ p.18-23
1. การออกแบบระบบ
2. เทคนิคการพยากรณ์แบบ EWMA
3. การประมวลผลด้วยวิธีฟัซซี่ลอจิก
# ระบบการจัดการเหตุเสียเครือข่ายไอพีด้วยการจำแนกกลุ่มข้อความเหตุเสียแบบอัตโนมัติ p.112-117
1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
2. การเตรียมข้อมูลและการสร้างตัวจำแนกประเภท
3. ขั้นตอนการออกแบบตาราง Lookup
# การจำแนกหมวดหมู่ข้อความข่าวสารภัยพิบัติแผ่นดินไหวภาษาไทย p.118-123
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การจัดเตรียมข้อมูล
3. การสร้างแบบจำลองการจำแนกหมวดหมู่
# การประยุกต์ใช้โพรโทคอลแคนบัสกับการวบคุมตู้ล็อกเกอร์ p.547-552
1. ศึกษาปัญหาและรวบรวมข้อมูล
2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
3. การพัฒนาระบบ
4. การทดสอบระบบ
# การวิเคราะห์โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเข้าสู่บ้านโดยอิงมาตรฐานไอทียูร่วมกับการวางข่าวสายตอนนอก p.649-655
1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล
2. การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมจำลอง
3. การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมจำลอง
# ระบบติดตามเวลาการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์ด้วย GPS บนมือถือ กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย p.662-667
1. โครงสร้างระบบ
2. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
3. การพัฒนาเว็บไซต์การแสดงผล
แหล่ง Download Fullpaper งานวิจัยสำหรับประชาชน
ThaiLIS เครือข่ายห้องสมุด
ค้นคำว่า "จริยธรรม" พบ 2253 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ จงกลนี กิติยานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2559 เรื่อง ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี มี 144 หน้า
e-library ของ TRF
ค้นคำว่า "จริยธรรม" พบ 37 + 19 = 56 โครงการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ นงนภัส พันธ์พลกฤต, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ ปี 2558 เรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตจริยธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
แฟ้มเดียวมี 238 หน้า
ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
ค้นคำว่า "จริยธรรม" พบ 1295 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ ทินกร ชุณหภัทรกุล ปี 2560 เรื่อง การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน 4 ภาค
พบ Fulltext 11 แฟ้มใน DOI
แฟ้มรวมมี 189 หน้า
พบงานวิจัยที่กำลังค้นหา คลิ๊กแล้วไม่พบ เพราะเครื่องบริการปลายทางหยุดให้บริการ
ค้น วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และบทความ จาก วช.
ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช." เปิดให้สืบค้นเอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความ ได้จาก 1) ชื่อเรื่อง 2) ผู้แต่ง 3) หน่วยงาน 4) คำค้น 5) บทคัดย่อ หรือ 6) เอกสารฉบับเต็ม เมื่อค้นพบแล้ว คลิ๊กดูเพิ่มเติม พบว่า แนะนำการอ้างอิงในบรรณานุกรม แบบ APA , Chicago, MLA, Vancouver และพบรหัสดีโอไอ ที่เชื่อมไปยังบทคัดย่อ หรือเอกสารฉบับเต็ม เมื่อทดสอบค้นคำว่า "การจัดการความรู้" พบ 2172 รายการ และสามารถส่งออกผลการสืบค้นเป็นแบบ CSV หรือ PDF ได้ รายการแรกที่พบชื่อ "กรณีศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษา" ผู้แต่งคือ วิชญา ผิวคำ ผู้แต่งร่วมคือ ศิริเดช สุชีวะ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ปี 2553 พบ doi ลิงค์ไป Fulltext จำนวน 7 แฟ้ม ในแฟ้มที่้ 7 เป็นรายการอ้างอิง และภาคผนวก ที่ดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้อง sign in เข้าระบบก่อน
ค้นด้วย "สุขภาพ พยาบาล การแพทย์ thaijo" ค้นบทความวิจัยจากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย ด้วย "สุขภาพ พยาบาล การแพทย์ thaijo" พบลิงค์แรก เพราะคำอธิบายวารสารมี 4 คำนี้ เมื่อเข้าวารสารฉบับล่าสุด สุ่มคลิ๊ก บทความลำดับที่ 3 พบบทความแล้วเขียนอ้างอิง แบบ APA (American Psychological Association) ได้ดังนี้
วิมล ลักขณาภิชนชัช, ฐาปนี ภาณุภาส, ศศิภรณ์ วิงวอน, และ พิมพา อยู่สม. การพัฒนาคุณภาพการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 12(1), 68-79.
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JMPH4/article/view/253040/172293
บทความวิจัย "การพัฒนาคุณภาพการเขียนบันทึกทางการพยาบาลฯ" TCI ฐาน 1
1. มีผู้เขียน 4 คน พบ ..
2. บทคัดย่อ พบ ..
3. บทนำ พบ ..
4. วัตถุประสงค์ พบ ..
5. วัสดุและวิธีการศึกษา พบ ..
6. ผลการวิจัย พบ ..
7. วิจารณ์ พบ ..
8. ข้อเสนอแนะ พบ ..
9. เอกสารอ้างอิง พบ ..
ศัพท์ที่น่าสนใจ
- สถิติการทดสอบทีแบบคู่ (Pair t-test)
- สถิติการทดสอบความแปรปรวนสำหรับการวิเคราะห์แบบวัดซ้ำ (Repeated Measure ANOVA)
- ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย Chi-square test
- ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย Fisher exact test
- ค่านัยสำคัญ (p-value) หรือค่า p คือ ค่าสัดส่วนของความน่าจะเป็นที่เป็นข้อสรุปหนึ่งทางสถิติจากการสังเกต ภายใต้สมมุติฐานหลัก
apa_word_2019.docx
คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition

คู่มือการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition (APA Referencing Guide, 6th Edition) โดย บุญฑา วิศวไพศาล
ต.ย.เอกสารอ้างอิงของ ม.เชียงใหม่
ต.ย.บรรณานุกรมของ ม.เวสเทิร์น
ตัวอย่างเรียบเรียงจากหัวข้อ 5.3 การลงรายการบรรณานุกรมของสื่อประเภทต่างๆ
1. แบบหนังสือ
จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
สนอง วรอุไร. (2549). การทําชีวิตให้ได้ดีและมีสุข (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
Harris, M. B. (1995). Basic statistics for behavioral science research. Boston: Allyn and Bacon.
Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative and mixed method approaches (2nd.). CA: Sage.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2548). พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล. กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. (2548). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว.
หลากความคิด ชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Art of display: Culture shows. (2010). Hong Kong, China: Links International.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด. (2551). คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
American Psychological Association. (2010). Publication Manual of the American Psychological Association (6th ed). Washington, DC: Author.
2. แบบบทความในหนังสือ
ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการสื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก(น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กิตติ ทองลงยา. (2524). นก. ใน สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3) (น. 68-113). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน.
กาบู. (2544). ใน ประเสริฐ ณ นครและคณะ(คณะกรรมการชําระพจนานุกรม), พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (น. 112). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วงศ์ วรรธนพิเชฐ. (2547). Heart. ใน พจนานุกรมตัวอย่าง ประโยควลีภาษาอังกฤษพร้อมคําแปล (น. 483-484). กรุงเทพฯ: ไทยเวย์ส พับลิเคชั่นส์.
3. แบบวารสาร
ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ใน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72),103-119.
ศรัณย์ สาวะดี, และ ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2559). ระบบการจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งองค์กรธุรกิจ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3),229-241.
ลําดวน เทียรฆนิธิกุล. (2552). เส้นทางเสด็จเยี่ยมราชสํานักต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2443 –2444 (ร.ศ. 119 - 120) (4). วชิราวุธานุสรณ์สาร, 28(4),29-39.
Siriwongworawat, S. (2003). Use of ICT in Thai libraries: An overview. Program: Electronic Library and Information Systems, 37(1), 38-43.
Tandra, R., Sahai, A., & Veeravalli, V. (2011, March). Unified space-time metrics to evaluate spectrum sensing. IEEE Communications Magazine, 49(3), 54-61.
4. แบบการประชุมวิชาการ Proceeding
ชัชพล มงคลิก. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการจัดตารางการผลิตแบบพหุเกณฑ์: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา. ใน การประชุมวิชาการการบริหารและการจัดการครั้งที่ 5 (น. 46). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์, และศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ทโฟน. ใน ชนัญชี ภังคานนท์(บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของเอเชียปาซิฟ?ก (น. 119-121). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จตุพร ตันติรังสี, และผุสดี บุญรอด. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟฟิก. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 (น. 209-214). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Krongtaew, C., Messner, K., Hinterstoisser, B., & Fackler, K. (2010). Lignocellulosic structural changes after physico-chemical pretreatment monitored by near infrared spectroscopy. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th International conference (pp. 193-198). West Sussex, UK: IMP.
Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.
5. แบบรายงานการวิจัย
พินิจ ทิพย์มณี. (2553). การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Chitnomrath, T. (2011). A study of factors regarding firm characteristics that affect financing decisions of public companies listed on the stock exchange of Thailand (Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.
6. แบบปริญญานิพนธ์
ก้องเกียรติ บูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลการดําเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิมล พร้อมมูล. (2555). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการข้อมูลการควบคุมคุณภาพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study (Doctoral dissertation). Memphis, TN: University of Memphis.
วลัย วัฒนะศิริ. (2553). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุดมศึกษานานาชาติของไทยในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/laic
พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://www.dpu.ac.th/laic
Sembiring, E. (2010). Integration of economics and social factors into optimization of solid wasted management system (Doctoral dissertation, Asian Institute of Technology, Pathum Thani). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
มานพ จันทร์เทศ. (2544). การนําเสนอรูปแบบการพัฒนานโยบายของสถาบันราชภัฏ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc
Oshi, D. (2009). Rural women and the financing of health care in Nigeria (Doctoral dissertation, Institute of Social Studies). Retrieved from http://libopac.ait.ac.th/
7. แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสํานักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge
CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html
บงการ หอมนาน. (2551). เทคโนโลยีกับการควบคุมด้วยตรรกะฟัซซีตามขั้นตอนและฟังก์ชั่นสมาชิก. ไมโครคอมพิวเตอร์, 26(271), 153-156. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554, จาก http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5753
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ำสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(2). สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_content&task=
Buckingham, J. T., LeBeau, L. S., & Klein, W. M. P. (2011). The performance versus ability distinction following social comparison feedback. Current Research in Social Psychology: An electronic journal. Retrieved June 23, 2011, from http://www.uiowa.edu/grpproc/crisp/crisp.html
8. แบบหลายเล่มจบ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (เล่ม 3) (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ1991.
Miller, T. (Ed.). (2003). Television: Critical concepts in media and cultural studies (Vols. 1). London: Routledge.
9. แบบหนังสือแปล
เกรย์, เจ. (2552). ผู้ชายมาจากดาวอังคารผู้หญิงมาจากดาวศุกร์[Men are from mars, women are from venus] (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Luang Poo Buddha Isara. (2008). Valuable adages of Luang Poo Buddha Isara (T. Wongamatasiri, & O. Limtasiri, Trans). Ratchaburi: Thammaruk.
Word : ย่อหน้า การเยื้อง,พิเศษ บรรทัดแรก/ลอย ในเอกสารอ้างอิง นการจัดพิมพ์ผลงานทางวิชาการ มีการกำหนดรูปแบบโดยกองบรรณาธิการ หรือผู้เปิดรับผลงาน มีหลายส่วนในเอกสารที่ต้องเข้าใจการใช้งาน MS Word เพื่อให้ได้รูปแบบตามข้อกำหนด ก่อนส่งออกเป็น PDF เช่น การจัดย่อหน้าของเอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรมให้เป็นแบบลอย คือ ให้บรรทัดแรกของย่อหน้า ลอยออกมา ไม่ใช่เยื้องเข้าไปเมื่อเริ่มต้นย่อหน้า เหมือนปกติ จึงต้องกำหนดในย่อหน้านั้นว่า "ลอย (Hanging)" ในหัวข้อ "การเยื้อง, พิเศษ" หากไม่ใช้ตัวเลือกนี้ก็ต้องพิมพ์แบบปกติ แล้วกด Tab หรือ Space bar ในบรรทัดที่ 2 ซึ่งหลายครั้งพบปัญหาการตัดคำ จัดหน้าที่ไม่ลงตัว
อีกคุณสมบัติหนึ่ง ในการขยับเพียงเล็กน้อยในแต่ละบรรทัด ทั้งหลังใช้ Hanging หรือ Tab คือ การขยับเยื้องทางขวา (right indent) ซึ่งไม่ควรกระทำหากเป็นเอกสารทางวิชาการ เพราะจะทำให้การจัดแนวทางขวาผิดปกติ และเห็นได้ชัดว่ามีบางย่อหน้าโดดออกมาจากย่อหน้าอื่น แต่ถ้า เป็นรายงานภายในองค์กรที่ยอมรับกันได้เป็นการภายใน ก็อาจใช้ตัวเลือกนี้ในการจัดเอกสารได้
แหล่งทุนวิจัย และนวัตกรรม
หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (Catalog pdf)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ฐานข้อมูลวารสารที่รับบทความวิจัยและบทความวิชาการ แหล่งตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus / ISI / TCI / SJR
ตรวจสอบวารสารใน Thai-Journal Citation Index (TCI) (1140 รายการ - 17 ธ.ค.64)
ตรวจสอบวารสารใน Scopus (เช่น Business, Management and Accounting)
ตรวจสอบวารสารใน ISI web of knowledge (International Scientific Indexing)
ตรวจสอบวารสารใน SJR - Scimago Journal & Country Rank
ตรวจสอบรายชื่อสำนักพิมพ์/วารสารที่ควรระมัดระวังในการตีพิมพ์ (beallslist.net)
ถาม - ตอบ
ถามรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มักประกอบด้วย 5 บท มีอะไรบ้าง
ตอบบทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ถามนักวิจัย หมายถึงใคร
ตอบนักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับ
ถามวิจัยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบมี 3 ประเภท
1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research)
2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)
3. การพัฒนาการทดลอง (Experimental Development)
ถามอะไรถือเป็นผลงานทางวิชาการ ได้บ้าง
ตอบ1. เอกสารประกอบการสอน
2. เอกสารคำสอน
3. บทความทางวิชาการ
4. ตำรา
5. หนังสือ
6. งานวิจัย
7. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
8. งานแปล
ถามชนิดของสมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท อะไรบ้าง [nrct]
ตอบ1. สมมติฐานเชิงพรรณา (Descriptive hypotheses) หรือ สมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific hypotheses)
เช่น ระดับเศรษฐกิจของครอบครัวไม่มีผลต่อภาวะฟันผุ
2. สมมติฐานเชิงสถิติ (Statistical hypotheses)
เช่น μ1 - μ2 = 0
ถามมีแหล่งสืบค้นงานวิจัย ที่ไหนน่าสนใจบ้าง
ตอบ แนะนำ 7 แหล่ง ดังนี้
1. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.” – https://dric.nrct.go.th/Index
2. คลังข้อมูลงานวิจัยไทย – https://tnrr.nriis.go.th/#/
3. ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย – https://www.tci-thaijo.org/
4. ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม – https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย – http://www.thaithesis.org/search.php
6. ประตูสู่งานวิจัย ค้นหาข้อมูลทั้งหมดได้จากจุดเดียว – http://researchgateway.in.th/
7. ฐานข้อมูลงานวิจัย สกว. – https://elibrary.trf.or.th/
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] ส่วนการฝึกอบรมและพัฒนา สำนักอำนวยการกลาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2552). "คู่มือนักวิจัยมือใหม่". บริษัท วงศ์สว่างการพิมพ์ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2552.
[2] สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2557). "ตำราชุดฝึกอบรมหลักสูตร นักวิจัย".
[3] กัญญามน อินหว่าง. (2560). "คู่มือฝึกทำวิจัย".
[4] สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2561). "คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์".
[5] มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. (2559). "คู่มือการทำวิจัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559".
[6] กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2559). "คู่มือการจัดทำรายงานการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) พ.ศ.2559". กลุ่มงานการพิมพ์ สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
rspsocial
Thaiall.com