ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiall.com| thaiabc.com
ปรับปรุง : 2551-02-20 (เพิ่ม ความหมาย)
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นอีกแนวคิดที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ .. แน่นอน
เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร (sufficiencyeconomy.org)
“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน
1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3.คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง

หนังสือ 4 บท :
1. เศรษฐกิจพอเพียง
2. หลักแนวคิด
3. ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
4. การขับเคลื่อน
เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง (ตัวอย่างการการขยายความนำสู่การปฏิบัติ โดย เสรี พงศ์พิศ )
http://www.phongphit.com/docs/Seri_SE_framework.htm
ปรัชญา กรอบ เกณฑ์ ตัวชี้วัด
พอประมาณ มีคุณธรรม
ถูกต้อง ดี งาม
แบ่งปัน ไม่เอาเปรียบคนอื่น
ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ
คุณธรรมนำชีวิต นำธุรกิจการงาน
ไม่เอาเงินนำหน้า ปัญญาตามหลัง
- ไม่โกงกิน โกงกินงบประมาณ โกงเวลา โกงทรัพย์สิน ของคนอื่น ของสำนักงาน องค์การ ของส่วนรวม
- ไม่ใช้สารเคมี เผาขยะ สร้างมลพิษ ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
- มีธรรมาภิบาลบรรษัท (corporate governance)ไม่เอาเปรียบบริษัทอื่น กลุ่มอื่น ไม่หากำไรสูงสุด
- ปฏิบัติธรรม ร่วมกิจกรรมทางสังคม ทำบุญบ้างหรือไม่ เอาเปรียบผู้อื่น เพื่อนร่วมงานหรือไม่
- แบ่งปันรายได้ของตนเอง ขององค์กร ของบริษัทให้คนอื่น ให้สังคมบ้างหรือไม่
- พ่อแม่เป็นตัวอย่างทางคุณธรรมให้ลูกหรือไม่ สอนลูกเรื่องคุณธรรมหรือไม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยเงิน ด้วยทีวี ด้วยวัตถุ
- ครูบาอาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดีให้ศิษย์หรือไม่ หรือสอนแต่ไม่ทำ
- หัวหน้าเป็นผู้นำที่ดี เป็นธรรมกับลูกน้อง เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้องหรือไม่ กฎระเบียบ ระบบรางวัลลงโทษเป็นธรรมหรือไม่ หรือเลือกปฏิบัติ
- เคารพกฎระเบียบของสังคมหรือไม่ กฎจราจร การเสียภาษี และกฏหมายต่างๆ รวมทั้งระเบียบปฏิบัติข้อตกลงต่างๆ
รู้จักตัวเอง รู้รากเหง้า ภูมิใจ เชื่อมั่น รู้คุณค่าที่มาของตนเอง เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิใจในกำพืด ถิ่นฐานบ้านเกิด รากเหง้าเผ่าพันธุ์ บรรพบุรุษ ภูมิใจในของกิน ของใช้พื้นบ้าน กินอยู่แบบไทยๆ วิถีไทย เข้าถึงคุณค่ามากกว่ายึดติดรูปแบบ - เคยกราบพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย อย่างน้อยปีละครั้ง ปีใหม่ สงกรานต์ หรือวันเกิดท่านหรือไม่
- อายไหมที่จะบอกว่าพ่อแม่เป็นใคร คนบ้านไหน จังหวัดไหน ภูมิใจในบุพการีและถิ่นฐานบ้านเกิดหรือไม่
- รู้จักประวัติความเป็นมาของบ้านเกิด ของบรรพบุรุษของตนหรือไม่
- รับประทานพืชผักอาหารพื้นบ้านแบบรู้คุณค่า ใช้ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน แบบไทยๆ บ้างหรือไม่
- สนใจเรียนรู้ ศึกษาคุณค่าความหมายของภูมิปัญญาไทยบ้างหรือไม่
- พ่อแม่เคยสอนลูกให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้หรือไม่ ทำตัวเป็นแบบอย่างให้ลูกหรือไม่
- โรงเรียน สถาบันการศึกษาสอนเรื่องเหล่านี้ให้นักเรียนนักศึกษาหรือไม่ อย่างไร เพียงใด
- สถาบันการศึกษาตระหนักในเรื่องเหล่านี้ คลุกคลี ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม มีปฏิสัมพันธ์และช่วยเหลือชุมชนและท้องถิ่นหรือไม่ (หรือคิดแต่ไปอินเตอร์ แต่ไม่รู้เรื่องหรือสนใจชุมชน-ท้องถิ่น)
มีชีวิตเรียบง่าย
พออยู่ พอกิน พอใช้
ไม่หน้าใหญ่ ไหลตามกระแส รู้กาละและเทศะ มีความสุขตามอัตภาพ ขนาด ปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่ใหญ่เกินไป ไม่ติดแบรนด์
คิดแต่สร้างภาพ ไม่ไหลตามกระแส ตามโฆษณาบ้าบริโภค
- จัดงานบวช งานศพ งานแต่งงาน งานบุญ แบบไม่ให้น้อยหน้าคนอื่น แม้จะต้องเป็นหนี้สินมากมายหรือไม่
- ซื้อข้าวของเครื่องใช้ รถยนตร์ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า แพงเกินตัวหรือไม่
- ชอบควักง่ายจ่ายเร็วจนเป็นหนี้สินมากมาย สร้างวงจรอุบาทว์ให้ตนเอง แบบเอากองนี่ไปใส่กองโน้น เอาบัตรนี้ไปจ่ายบัตรโน้นเวียนไปเวียนมาแบบหาทางออกไม่ได้ (ถ้าไม่ถูกล็อตเตอรี่ หรือต้องโกงถึงจะใช้หนี้ได้หมด)
- สำรวจปริมาณเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าในตู้เสียใหม่ ว่ามากเกินไปหรือไม่ ให้คนอื่นไปบ้างได้ไหม
- หน้าใหญ่ในการกิน การแต่งตัว เครื่องประดับ แม้จะต้องซื้อแพงๆ ใส่แค่ปีละหนก็ยอม
- ชอบอวดร่ำอวดรวย ขึ้นเหลา เข้าโรงแรมหรูเพื่อให้ดูดี ชอบเดินห้าง ชอปปิ้ง ไปเมืองนอกแม้ต้องกู้สหกรณ์
- ติดแฟชั่น ไหลตามกระแส เปลี่ยนข้าวของตามโฆษณา กลัวน้อยหน้าคนอื่น หรือไม่รู้เท่าทันเล่ห์โฆษณาบ้าเลือด
- ทำงานหาเงินแบบเอาเป็นเอาตาย จนไม่มีเวลาให้ครอบครัวหรือไม่ ตื่นขึ้นมาคิดแต่เรื่องจะหาเงิน จะรวย
- เคยตั้งคำถามให้ตัวเองบ้างหรือไม่ว่า ความสุขคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข มีอะไรมากไปกว่าเงิน
- พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในการดำเนินชีวิตหรือไม่ การใช้จ่าย การกิน การอยู่ ไปกินข้าวนอกบ้านสั่งอาหารเต็มโต๊ะ กินทิ้งๆ ขว้างๆ ช่วยให้ลูกเข้าใจหรือไม่ว่า ควรเลือกอะไรระหว่าง “เงินกับชีวิต”
มีเหตุผล มีหลักวิชา กินอยู่อย่างมีข้อมูลอย่างมีคุณภาพ ตัดสินใจด้วยข้อมูล ความรู้
“ รู้เขา รู้เรา” รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ทำตามๆ กัน
รู้ตัวเอง รู้ท้องถิ่น รู้ศักยภาพ รู้ “ทุนชุมชน” รู้ปัญหา รู้โลกาภิวัตน์ แสวงหาความรู้ ศึกษาในระดับสูงขึ้นตามศักยภาพของตนเอง
- สนใจหาข้อมูลของกิน ของใช้ที่ซื้อจากตลาดหรือไม่ คุณค่าอาหาร สารเคมีตกค้าง องค์ประกอบต่างๆ
- สนใจติดตามข่าวสารบ้านเมือง สนใจอ่านหนังสือหาความรู้ ข้อมูลข่าวสารให้ทันโลกหรือไม่
- ชอบดูแต่ละครทีวี เกมโชว์ รายการบรรเทิง ไม่สนใจรายการที่มีสาระและความรู้ หรือไม่
- มีข้อมูลความรู้เรื่องทุนของท้องถิ่นหรือไม่ หรือชอบแต่เลียนแบบคนอื่น เห็นเขาทำอะไรรวยก็ทำตามเขา เข้าใจหรือไม่ว่า ทุนทรัพยากรมีอะไรบ้าง ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคมหมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง
- สนใจหาความรู้และลงมือทำกินทำใช้เองบ้าง โดยไม่ต้องซื้อหมดทุกอย่างหรือไม่ เช่น ทำน้ำยาล้างจานเอง ปลูกพริก มะเขือ ผักสวนครัวทดแทนการซื้อจากตลาดบ้าง ถ้ามีที่ดินหรือที่ว่าง
- พยายามขวนขวายหาความรู้ การฝึกอบรม การเรียนต่อตามศักยภาพหรือไม่ หรือคิดว่าพอแล้วทุกอย่าง
- ไปร่วมการประชุม หรือการอบรมสัมมนาบ้างหรือไม่เมื่อมีโอกาส
มีแผน มีแผนชีวิต ครอบครัว แผนชุมชน แผนยุทธศาสตร์ แผนงานองค์กร แผนงบประมาณครอบครัว รายรับ รายจ่าย หนี้สิน แผนการลงทุน
แผนเศรษฐกิจพอเพียง
- เคยทำบัญชีครัวเรือนหรือไม่ รายรับ รายจ่าย หนี้สิน แผนงบประมาณประจำปี แผนการศึกษาของตนเเอง ของลูก
- มีแผนการใช้หนี้สินให้หมด หรือให้อยู่ในระดับที่ไม่เดือดร้อนครอบครัวและองค์กรหรือไม่
- มีแผนการลดพลังงาน แผนการใช้จ่ายค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์อย่างเป็นระบบหรือไม่
- มีแผนการลดอบายมุข เหล้า บุหรี่ สิ่งไม่ดีต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ครอบครัวอบอุ่นขึ้น
- แผนการลงทุน มีการทำข้อมูล การศึกษาความเป็นไปได้ที่ดีพอก่อนจะลงทุนทำอะไรหรือไม่
- มีการดำเนินงานเป็นขั้นเป็นตอน อย่างมีหลักวิชาหรือไม่
- มีข้อมูลและหลักในการทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร หน่วยงาน ที่รับผิดชอบหรือไม่ หรือทำแบบนั่งเทียนเขียนแผน หรือไปลอกแผนคนอื่น เปลี่ยนแต่เพียงตัวเลข
- แผนการออม และการสร้างสวัสดิการให้ตนเองและครอบครัวมีหรือไม่ สำหรับหน่วยงานที่ดูแลมีหรือไม่
- แผนเศรษฐกิจพอเพียง วางเป้าหมายและวิธีการให้ลดค่าใช้จ่ายลงร้อยละ ๒๕ หรือไม่ (หนึ่งในสี่)
เป็นมืออาชีพ คุณภาพ มั่นคง ยั่งยืน (quality, consistency, sustainability) “อิทธิบาทสี่” (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ใจรัก รู้จริง รู้รอบ รู้ลึก ทำดีมีคุณภาพ ด้วยความสม่ำเสมอ - ทำงานด้วยความรู้ความสามารถแบบคนรู้จริงหรือไม่ มีความพยายามเรียนรู้ พัฒนาตนเองหรือไม่ ไม่ว่าจะอาชีพอะไร เกษตรกรก็ต้องรู้จริงในฐานะเกษตรกร อาชีพอะไรก็ต้องรู้จริงในอาชีพของตนเอง
- มีความสม่ำเสมอ หรือว่าเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ผีเข้าผีออก ทำงานตามอารมณ์ อยากทำก็ทำ หรือไม่
- ไม่ทำอะไรแบบชั่วคราว แต่ทำด้วยความมั่นคง ให้เกิดความยั่งยืน หรือไม่ เช่น พอมีงบก็ทำ ไม่มีก็เลิก มีคนมาส่งเสริมก็ทำไม่มีคนส่งเสริมก็ไม่ทำ
- ทำด้วยหลักการที่ดี มีข้อมูล ความรู้ และมี “ปัญญา” อันเป็นรากฐานของการมีชีวิตและการทำงานที่ดี
มีภูมิคุ้ม กันที่ดี ระบบชีวิตที่ดี ครอบครัวอบอุ่น
มีความมั่นคงในชีวิต
ลูกได้รับการเลี้ยงดูที่ดี
ลูกมีการศึกษาที่ดี
- มีการจัดการชีวิตที่ดีหรือไม่ หรือเอาแต่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ รู้จักจัดเวลาพักผ่อนแบบพอเพียง มีเวลาให้ครอบครัว มีเวลาออกกำลังกายคลายเครียด มีเวลาไปสังสรรค์พบปะเพื่อนฝูง มีเวลาไปทำบุญ
- มีการจัดการเรื่องเศรษฐกิจในครอบครัวดีพอหรือไม่ มีระบบการใช้จ่าย มีความมั่นคง หรือมีหนี้สินเต็มไปหมด มีแต่กู้ๆ ยืมๆ จากชาวบ้านเขาไปทั่ว ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ระบบการจัดการการใช้จ่ายไม่ดี
- มีการดูแลการเรียนของลูกทั้งที่ในระบบ ในโรงเรียน นอกโรงเรียน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของลูกเพียงใด โดยไม่บังคับหรือสร้างความกดดันให้ลูกจนเกินไป เช่น การเรียนว่ายน้ำ ดนตรี กีฬา การติว เรียนพิเศษ ฯลฯ
- มีการวางแผนอนาคตให้ลูกหรือไม่ เช่น ออมให้ลูกตั้งแต่เกิด เพื่อเป็นทุนการศึกษา หรือการปลูกต้นไม้ให้ลูกจำนวนหนึ่งเพื่อให้เป็นทุนสร้างบ้านเมื่อแต่งงาน จะได้ไม่ไปตัดไม้ในป่า (กรณีตัวอย่างบ้านนาอีสาน)
ระบบเศรษฐกิจ สังคมชุมชนท้องถิ่นที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง
มีระบบเศรษฐกิจชุมชน
สวัสดิการชุมชน
เครือข่ายชุมชน
เครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน
วิสาหกิจชุมชน
เกษตรผสมผสาน
สหกรณ์
SMEs
เน้นการผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่น ก่อนพึ่งตลาดภายนอกหรือส่งออก
- มีระบบการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการทำแผนแม่บทชุมชนหรือไม่ และทำตามหลักของ “ประชาพิจัย” ซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ ไม่ใช่เน้นการได้แผน ซึ่งอาจไม่ได้ผล หรือมีแผนอยู่แล้ว แต่ซุกไว้ที่ไหนก็ไม่รู้
- ชุมชนมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นหรือไม่ หรือมีแต่โครงการ เพราะมีเงินอัดฉีด เงินหมดก็เลิก มีคลัสเตอร์เศรษฐกิจชุมชน (ทำมากกว่าสิบอย่าง) ที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อจากภายนอกลงได้ “ หนึ่งในสี่” หรือว่าทำเพียงอย่างเดียวสองอย่างแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่มีฐานระบบเศรษฐกิจของชุมชน
- ถ้าเป็นเกษตรกร มีการทำเกษตรผสมผสานหรือไม่ มีการติดตามผลและประเมินผลได้หรือไม่ ว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อยกว่า “หนึ่งในสี่” หรือปลูกแต่พืชเดี่ยว ไม่ข้าวก็มัน ไม่มันก็ยาง ไม่ยางก็ข้าวโพด
- มีการจัดการเรื่องวิสาหกิจชุมชนที่ดีหรือไม่ หรือว่ามีแต่ “ ธุรกิจชุมชน” ซึ่งมีคนไม่กี่คนที่ได้ประโยชน์ คนส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้ผลิตเท่านั้น (วิสาหกิจชุมชนต้องมีปัจจัย ๗ ประการ ถ้าไม่มีก็ไม่ใช่วิสาหกิจชุมชน)
- มีการลงทุนวิสาหกิจชุมชนหรือโครงการของส่วนรวมแบบเกินตัวและแบบเสี่ยงเกินไปหรือไม่
- มีการประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) หรือไม่ มีประสิทธิภาพ และยังประโยชน์ให้ชุมชนเพียงใด
- ชุมชนมีระบบสวัสดิการที่พึ่งตนเองได้มากน้อยเพียงใด มีการออม มีสวัสดิการ “เกิด แก่ เจ็บ ตาย”ทุนการศึกษา ความช่วยเหลือเมื่อมีภัยธรรมชาติ อุบัติภัย เหตุฉุกเฉิน และอื่นๆ มากน้อยเพียงใด
- ชุมชนมีระบบทุนของตนเองหรือไม่ การออม การสร้างสวัสดิการ การส่งเสริมการลงทุนในวิสาหกิจชุมชน
- ชุมชนมีระบบสิ่งแวดล้อมที่ดีหรือไม่ ดิน น้ำ ป่า อากาศ ดูแลกันอย่างไร ขยะจัดการอย่างไร
- ชุมชนมีระบบสุขภาพของตนเองหรือไม่ อย่างไร “ สร้างดีกว่าซ่อม” มีกิจกรรมอะไรบ้าง
- มีเครือข่ายชุมชนอย่างน้อยในระดับตำบลหรือไม่ เครือข่ายเพื่อจัดการการผลิต การบริโภค การตลาด การจัดการเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง เครือข่ายผู้นำเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตำบล
- มีระบบการจัดการเรื่องการเรียนรู้ การพัฒนาคนหรือไม่ มีศูนย์เรียนรู้ มีการฝึกอบรมในเรื่องอะไรหรือไม่ มีการส่งเสริมให้คนไปเรียนในระดับอุดมศึกษาหรือไม่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
- ชุมชนมีระบบการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธีอย่างไร ความสมานฉันท์ทำกันอย่างไร มีผู้มีอิทธิพล ผู้กว้างขวาง ที่เอาเปรียบผู้อื่นหรือไม่ แก้ไขอย่างไร ระบบอุปถัมภ์ยังคงอยู่มากน้อยเพียงใด
- การซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งในทุกระดับมีหรือไม่ มีระบบป้องกันระยะสั้นระยะยาวอย่างไร
ระบบการจัดการองค์กร ที่ดี องค์กร หน่วยงานรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ มีธรรมาภิบาลบรรษัทระบบการจัดการที่ดี
มีผู้นำและผู้ตามที่ดี
ผู้นำสร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้ทุกคนใจดี ใจกว้าง ใจสู้ ใจถึง (เข้าใจ - เข้าถึง)
- หน่วยงาน องค์กรมีคุณธรรม คุณภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ หรือไม่
- มีระบบที่ดี กฎระเบียบเอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ไม่เอาแต่แข่งขันกันเอง แต่ร่วมมือหรือไม่ “ ระบบดีทำให้คนทำถูกได้ง่าย ทำผิดได้ยาก”
- เป็นผู้นำที่ดีหรือไม่ ผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจมากกว่าบังคับ มากกว่าเน้นการใช้กฎระเบียบ ขู่เข็ญ ลงโทษ หรือว่าเน้นที่การสร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน เจ้าหน้าที่ และระหว่างพวกเขา และกับลูกค้า ภาคีนอกองค์กร
- เป็นผู้ตามที่ดีหรือไม่ เป็นผู้เรียนรู้ที่ดีจากผู้นำ จากการทำงาน จากประสบการณ์ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้กาละเทศะ
- มีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรหรือไม่ หรือปล่อยให้พนักงาน เจ้าหน้าที่แอบไปลงทะเบียนเรียนปริญญาตรี โทเอกเอาเอง ไม่ส่งเสริมแล้วยังกีดกันหรือไม่
- มีการส่งเสริมการฝึกอบรมระยะสั้น ระยะยาวให้พนักงาน เจ้าหน้าที่อย่างพอเพียงและถ้วนหน้าหรือไม่
- พนักงาน เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรหรือไม่อย่างไร มีสหภาพ มีองค์กรตนเองหรือไม่
- สร้างระบบที่เป็นหลักประกันความมั่นคงของหน่วยงานอย่างไร
- ป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในองค์กรอย่างไร
- มียุทธศาสตร์องค์กรหรือไม่ เน้นผลลัพธ์มากเกินไปจนละเลยกระบวนการหรือไม่
- มีการทำงานแบบบูรณาการหรือไม่ หรือต่างคนต่างสร้างอาณาจักรในฝ่าย กอง งานของตนเอง
- มีระบบการวัดผล ประเมินผลองค์กร และบุคลากรอย่างไร เป็นธรรมหรือไม่
- พนักงาน เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างมีความสุขหรือไม่ ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ มีการเลือกปฏิบัติหรือไม่
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน

แนะนำเว็บใหม่: ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง: thcity.com: korattown.com: topsiam.com: มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ: รวมบทความ: ไอทีในชีวิตประจำวัน: ดาวน์โหลด: yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงานชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษาTel.08-1992-7223
Thaiall.com