หัวข้อ tec_all

สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Media and Information Technology

Thaiall.com/tec 3 (3-0-6)

ปรับปรุง 4 กรกฎาคม 2565

เอกสารประกอบการสอน

Burin rujjanapan


คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความหมายและหลักการของเทคโนโลยีการสื่อสาร ความรู้เบื้องต้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาและนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ประเภทของระบบสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูล ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ความปลอดภัยและจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ


โฮมเพจที่เกี่ยวข้อง


เอกสาร Powerpoint

  • วิโรจน์ ชัยมูล, และสุพรรษา ยวงทอง. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. [13]

01 ความรู้เบื้องต้น http://goo.gl/KptNHX

02 องค์ประกอบ http://goo.gl/WWl2bf

03 ซอฟต์แวร์ http://goo.gl/fA9qz2

04 ฮาร์ดแวร์ http://goo.gl/eBGs3m

05 ระบบปฏิบัติการ http://goo.gl/3LoYfR

06 การจัดการข้อมูล http://goo.gl/y5bXBT

07 วิเคราะห์ http://goo.gl/g7JNTL

08 การเขียนผังงาน http://goo.gl/IYxSb8

09 ระบบเครือข่าย http://goo.gl/FgaQN6

10 อินเทอร์เน็ต http://goo.gl/IgBokw

11 สารสนเทศ http://goo.gl/IQ9e5V

12 พาณิชย์อิเล็กฯ http://goo.gl/guQDfm

13 จริยธรรม http://goo.gl/lGwat3


เอกสาร Manual ภาษา PHP


หน่วยที่ 1 สารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ

ข้อมูลและสารสนเทศ

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

ลักษณะของสารสนเทศที่ดี

การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจข้อมูลและสารสนเทศ
  2. เพื่อให้เข้าใจประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  3. เพื่อให้เข้าใจประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
  4. เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
  5. เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสารสนเทศที่ดี
  6. เพื่อให้เข้าใจการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ


ข้อมูลและสารสนเทศ [1]

Data คือ ข้อเท็จจริง ที่เก็บรวบรวมมา แต่ยังไม่ได้ประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย

Information คือ การนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย

Raw Data คือ ข้อมูลดิบ อาจเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือมัลติมีเดีย ซึ่งยังไม่ได้รับการประมวลผล


ข้อมูล

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น

  • คะแนนสอบ ในวิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิต

  • อายุของพนักงาน ในบริษัท Alibaba.com

  • จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน ในบริษัท Lazada.co.th

  • ราคาขายของหนังสือ ในร้านหนังสือออนไลน์ Ookbee.com

  • คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบ ในแบบสอบถาม ผ่าน Google Forms

  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/google/form.htm


ข้อมูลดิบ (Raw Data)

เช่น

  • มีบุคคลต้นแบบเป็นข้อมูลมากมาย เช่น Steve jobs, Jack ma, Mark Zuckerberg สำหรับบุคคลที่น่าสนใจ คือ Elon musk ทำ SpaceX รับทำการส่งยาน Dragon ยานอวกาศลำเลียงไร้คนขับ เพื่อส่งสิ่งของให้กับสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้สัญญา Commercial Resupply Service หรือ CRS
  • ในชีวิตจริงที่พบได้ผ่านทีวี เช่น กับตันเครื่องบิน มาขี่ BMW R1200GS ส่ง Grab Food แล้วยังพบว่า รอบตัวเรามี เพื่อน เพื่อนของเพื่อน ที่หันมาทำอาชีพเสริม ถือเป็นข้อมูลดิบของเราได้ รอให้เราพัฒนาความคิดไปสู่การกระทำเชิงนวัตกรรมต่อไป
  • การดำเนินชีวิตของเพื่อนเฟส เพื่อนไลน์ เพื่อนไอจี จะกิน จะเที่ยว จะทำงาน ล้วนเป็นข้อมูลดิบ นำมาปฏิบัติตามไม่ได้ในทันที อาจเป็น Fake News ที่ต้องประมวลผล จึงจะใช้ประโยชน์ได้ เช่น ถ่ายหน้าสดแต่ผ่านแอพ

ข้อมูล คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (1/2)

โควิด-19 พ.ศ.2563 (2020) บันทึกไว้ในความทรงจำ วันที่โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปตลอดชีวิต อะไรที่ไม่เคยเจอ ณ เวลานี้เราได้เจอแล้ว

  1. ปีที่เครื่องบินหยุดบิน
  2. ปีที่ 7-Eleven ปิดตอนกลางคืน
  3. ปีที่ไม่มีสงกรานต์
  4. ปีที่ผู้คนเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน เข้าเขตกักกัน (Quarantine)
  5. ปีที่ร้านอาหารไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง ไปเป็นคู่ แต่แยกโต๊ะนั่ง
  6. ปีที่รถส่งอาหารวิ่งกันขวักไขว่

ข้อมูล คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (2/2)

  1. ปีที่ผู้คนใส่หน้ากากเข้าหากัน เสริมด้วย face shield
  2. ปีที่น้ำมันราคาเท่ากับเมื่อ 20 ปีก่อน
  3. ปีที่ถนนเกือบทุกสายโล่ง เมืองปิด ขนส่งหยุด
  4. ปีที่ห้าง ผับ บาร์ สปา ร้านตัดผม ปิดบริการ
  5. ปีที่เลื่อนการแข่งขันโอลิมปิก ไม่มีบอล ไม่มีมวย
  6. ปีที่ธุรกิจแทบทุกประเภทหยุดนิ่ง Lock down
  7. ปีที่หลายประเทศต้องปิดประเทศ หยุดรับผู้เดินทางที่อาจแพร่เชื้อ
  8. ปีที่ผู้คนต้องล้มตายนับแสน ติดเชื้อนับล้าน (10%)

ข้อมูล กับ ความคาดหวัง

โลกคงกำลังเยียวยาตัวเอง . . ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "ไวรัส " ความก้าวหน้าทางการแพทย์นับร้อยปีที่พัฒนาไปมาก แต่เราผลิตยา "ฆ่าไวรัส" ไม่ได้ในเวลาที่รวดเร็ว ช่วงแรกเราเพียงแต่ใช้ยา "ต้าน" ฤทธิ์มันไว้ ไม่ให้แพร่มากขึ้น จนภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้เอง จนไวรัสหมดฤทธิ์ไปเอง

Super Spreader คือ ผู้ที่ติดเชื้อ แต่ไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ แล้วใช้ชีวิตปกติไปแพร่เชื่อให้ผู้คนอีกจำนวนมาก ไม่กักตัว (Quarantine) อาจด้วยเหตุผลด้านอาชีพ หรือความเชื่อ เช่น อาจุมม่าของเกาหลีใต้ หรือเซียนมวยลุมพินี


แผนภาพ สารสนเทศจำนวนผู้ติดเชื้อ #

แหล่งข้อมูล วช. กรมควบคุมโรค, Johns Hopkins University, WHO


การพัฒนาของข้อมูล

  • ข้อมูล (Data) เป็น ข้อมูลปฐมภูมิ
  • สารสนเทศ (Information) เป็น การนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล
  • ความรู้ (Knowledge) เป็น การนำสารสนเทศมาผ่านกระบวนการจัดการ
  • ปัญญา (Wisdom) เป็น การใช้ความรู้จนชำนาญ และจดจำ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา
  • ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึง การจำ และการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

การได้มาซึ่งข้อมูล

  • รับผ่าน ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
  • รับจาก แบบฟอร์ม แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ
  • อุปกรณ์รับข้อมูล เซ็นเซอร์ ต่าง ๆ
  • อ่าน หรือมองเห็น จากเอกสารที่เป็นแหล่งข้อมูล
  • นำข้อมูลมาประมวลผล แล้วได้ข้อมูลใหม่ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้

ระบบประมวลผล

  1. นำข้อมูลเข้า (Input) เช่น ตอบข้อสอบ
  2. ประมวลผล (Process) เช่น ตรวจข้อสอบ
  3. ผลผลิต (Output) เช่น คะแนนสอบ
  4. ผลลัพธ์ (Outcome) เช่น ผ่าน/ไม่ผ่าน ดี/ไม่ดี

สารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง

  • เกรดเฉลี่ยวิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของนิสิต
  • อายุเฉลี่ยพนักงานในบริษัท Alibaba
  • จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยต่อสัปดาห์ที่ทำงานในบริษัท Lazada
  • ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือออนไลน์ Ookbee.com
  • ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม ผ่าน Google Form

เทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology) คือ สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือ แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ

เทคโนโลยี (Technology) คือ การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้จัดการสารสนเทศต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีทางการสื่อสารและโทรคมนาคม


ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ [2]

สื่อ (Media) คือ การติดต่อถึงกัน

สาร (Message) คือ ข้อความที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้

ทรัพยากร (Resource) คือ สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์ มีค่า เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แสง พืชและสัตว์

ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource) คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เป็นแก่นหรือเนื้อหาสำคัญที่ได้จำแนก แจกแจง ชี้แจง แสดงออกให้ปรากฏได้ โดยการกลั่นกรอง เรียบเรียง และประมวลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส หรืออื่น ๆ รวมทั้งบันทึกลงบนวัสดุหลายชนิดเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อดิจิตอล


ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (1/3)

1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Materials)

  • หนังสือ (Books) : หนังสือสารคดี (Non-Fiction) และ หนังสือบันเทิงคดี (Fiction)
  • สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) : สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องตามรอบ เช่น วารสาร (Journal) นิตยสาร (Magazine) หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
  • จุลสาร (Pamphlet) : สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีความหนาไม่มาก มักไม่ถึง 50 หน้า
  • กฤตภาค (Clipping) : บทความ ข่าว หรือภาพ ที่ตัดมาจากหนังสือพิมพ์ หรือเอกสารอื่นที่คัดทิ้ง แล้วผนึกลงบนกระดาษ

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (2/3)

2. สื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)

  • วัสดุกราฟิก (Graphic materials)
  • ภาพนิ่ง (Still Pictures)
  • วัสดุย่อส่วน (Microforms) หรือ ไมโครฟิช (Microfiche)
  • ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
  • วีดีทัศน์ (Video Tape)
  • วัสดุบันทึกเสียง (Tape Cassette)
  • โมเดลหรือหุ่นจำลอง (Model)

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (3/3)

3. สื่อดิจิตอล (Digital Materials)

  • ซีดี (CD = Compact Disc) : Video & Sound & File
  • สื่อผสม (Multimedia) : e-Book, Video
  • ฐานข้อมูล (Database) : Search engine
  • สื่อหลายมิติ (Hypermedia) : World Wide Web

รูปแบบข้อมูล

Data Type แบ่งได้เป็น ตัวเลข และตัวอักษร (0100 0010=B)

  1. Boolean : true หรือ false
  2. Byte : A = 65, a = 97
  3. Char : '0'
  4. Integer : 0
  5. Date : 311220 - YYMMDD
  6. Double : 3.51
  7. String : "Hello World"

Data Type on a 16 bit Machine

Size and Range - [Programming in ANSI C by E Balagurasamy](https://books.google.co.th/books?id=eggHnLuIDhwC&printsec=frontcover)


ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ [3]

เกณฑ์จำแนก : ตามลักษณะการใช้งาน

  1. แบบใช้งานทั่วไป (General purpose computer)

คือ เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible) โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานได้หลากหลาย โดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา และเมื่อผู้ใช้ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่ต้องการ เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียน งานขาย งานคลัง เป็นต้น

  1. แบบใช้งานเฉพาะ (Special purpose computer)

คือ เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่อง และโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Inflexible) โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุม หรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์ หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์ เป็นต้น


เกณฑ์จำแนก : ตามขนาดและความสามารถ

  1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เช่น TITAN Cray XK-7, Tianhe-2/Milky Way2
  2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe) เช่น IBM 701 เป็นเครื่องแรก
  3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เช่น IBM AS400
  4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)
  5. คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld computer) เช่น Tablet PC, SmartPhone

คอมพิวเตอร์ยุคใหม่

Microcomputer + Handheld Computer

  1. เดสก์ท็อป (Desktop)
  2. โน๊ตบุ๊ค (Notebook)
  3. อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook) เบาและมีประสิทธิภาพกว่าโน๊ตบุ๊ค
  4. เน็ตบุ๊ค (Netbook) เน้นใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ปัจจุบันเสื่อมความนิยมลง
  5. แท็บเล็ต (Tablet) เช่น ipad
  6. สมาร์ทโฟน (Smartphone) เช่น iphone

คอมพิวเตอร์ในรูปลักษณ์อื่น

Embeded and Wearable Computer

  1. Google Glass
  2. Microsoft Hololens
  3. Smart watch
  4. Smart TV
  5. คอมพิวเตอร์ในรถยนต์
  6. คอมพิวเตอร์ในบ้าน (CCTV, Robot)

CCTV

กล้องวงจรปิด ( CCTV = Closed-Circuit Television ) คือ การใช้กล้องวีดีโอเพื่อถ่ายทอดภาพไปยังอุปกรณ์ ปลายทาง เช่น จอมอนิเตอร์ เครื่องบันทึกภาพ หรือสมาร์ทโฟน

โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) คือ ระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย หรือดูแลเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจ และบันทึกเก็บไว้เรียกดูภายหลังได้


คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ [4]

  1. ความเร็ว (Speed)
  2. ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
  3. ความเที่ยงตรง และแม่นยำ (Accuracy)
  4. เก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก (Storage)
  5. สื่อสาร และเครือข่าย (Communication and Networking)

หน่วยเก็บข้อมูล

หน่วยความจำหลัก (Primary Storage)

  • หน่วยความจำหลัก มีหลายชื่อ เช่น Main Memory, Primary Memory, Internal Memory หรือ Internal Storage ประมวลผลใกล้กับซีพียู แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ROM (Read Only Memory) และ RAM (Random Access Memory)

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)

  • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ทำงานกับหน่วยความจำหลัก มีหน้าที่บันทึกข้อมูล แล้วนำมาใช้ภายหลัง มีการพัฒนาขึ้นมากมาย เช่น Flash drive, Harddisk, CD-Rom, External Harddisk, Tape, SSD (Solid State Drive), Memory Card

การเก็บข้อมูล (Storage)

เราทุกคนย่อมมีของรักของหวง เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง สยบฟ้าพิชิตปฐพี ที่ หนิงเชวีย มีของรักของหวง แล้วเขาก็เก็บไว้ ดูแลอย่างดี นิสิตก็ต้องมีของรักของหวง หาที่เก็บ และต้องดูแลอย่างดีเช่นกัน เช่นเดียวกับ ของรักของข้า (My precious) ใน The Load of The Rings ที่ไม่ควรทำตกหล่นสูญหายอย่างยิ่ง


การเก็บข้อมูล (Storage)

ตัวอย่างโฟรเดอร์ สำหรับเก็บข้อมูลของนิสิต


Cloud Storage ของท่านมีพื้นที่จำกัดเท่าใด หรือไม่จำกัด

5GB / 15GB หรือ ไม่จำกัด


Google Drive : Backup and Synchronization

สำรอง และผสานการทำงาน https://www.google.com/intl/th_ALL/drive/download/


Google Drive : Select folder สำหรับ Sync

ใน google drive ลงเครื่องหมด ต่อไปจะ sync กับ Folder ที่ระบุเพิ่ม


Google Drive : Sync ใช้ทั้งเวลา และพื้นที่ในครั้งแรก

ต้องเตรียมพื้นที่รองรับ Google Drive


ลักษณะของสารสนเทศที่ดี [5]

  1. ถูกต้อง (Accuracy)
  2. ตรวจสอบได้ (Verifiable)
  3. ความสมบูรณ์ (Completeness)
  4. ความกระทัดรัด (Conciseness)
  5. สอดคล้องกับงาน (Relevance)
  6. ทันเวลา (Timeliness)
  7. เชื่อถือได้ (Reliable)
  8. ยืดหยุ่น (Flexible)
  9. นำไปใช้ได้ง่าย (Simple)

ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์

  1. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
  2. ความเร็ว (Speed)
  3. ความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy)
  4. ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
  5. การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability)
  6. ทำงานซ้ำ ๆ ได้ (Repeatability)
  7. การติดต่อสื่อสาร (Communication)

การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ [6]

  1. คอมพิวเตอร์กับงานด้านสถานีอวกาศ (Space Station)
  2. คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Science)
  3. คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป (Business)
  4. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษาและการวิจัย (Education and Research)
  5. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการออกแบบทางวิศวกรรม (Design)
  6. คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ (Industry and Robot)
  7. คอมพิวเตอร์กับงานด้านเก็บประวัติอาชญากร (Profile)
  8. คอมพิวเตอร์กับงานด้านบันเทิง (Entertainment)

1. คอมพิวเตอร์กับงานด้านสถานีอวกาศ (Space Station)

รวมนวัตกรรมของ Elon Musk - จรวด Falcon 9 บินกลับโลกได้ ขนอุปกรณ์ไปส่งที่สถานีอวกาศนานาชาติ


2. คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Science)

[First long-distance heart surgery performed via robot](https://sarahwestall.com/first-long-distance-heart-surgery-performed-via-robot/)


3. คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป (Business)

แอพส่งอาหารเดลิเวอรี่  [4 บริการ Food Delivery](https://mazmaker.com/which-food-delivery-service-you-should-be-partner/)


4. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษาและการวิจัย (Education and Research)

https://web.stanford.edu/class/cs54n/handouts/24-GooglePageRankAlgorithm.pdf


5. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการออกแบบทางวิศวกรรม (Design)

การออกแบบวิศวกรรม ด้วย [Microsoft Hololens](https://www.driving.co.uk/news/video-microsoft-hololens-3d-hologram-technology-is-every-diy-car-mechanics-dream/)


6. คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ (Industry and Robot)

หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า [ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์](https://www.bangkokbanksme.com/en/robot-logistics)


7. คอมพิวเตอร์กับงานด้านเก็บประวัติอาชญากร (Profile)

ระบบงานย่อย ของ ระบบฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร

  • ระบบข้อมูลหมายจับ
  • ระบบข้อมูลบุคคลพ้นโทษ
  • ระบบข้อมูลบัญชีประวัติการกระทำความผิด
  • ระบบข้อมูลแผนประทุษกรรม
  • ระบบข้อมูลประวัติอาชญากร

Edward Snowden เผยโครงการการสอดส่องดูแลมวลชน US กับ EN

ตำรวจจีนสวมแว่นอัจฉริยะ [ตรวจจับใบหน้าคนร้าย](http://mediastudio.co.th/2018/02/10/252148/)


8. คอมพิวเตอร์กับงานด้านบันเทิง (Entertainment)

ภาพยนตร์ Love O2O - Online to Offline


สรุป

ข้อมูลและสารสนเทศ

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

ลักษณะของสารสนเทศที่ดี

การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • สิ่งใดคือข้อมูล
  • สิ่งใดคือสารสนเทศ
  • สิ่งใดต้องผ่านการประมวลผล
  • เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจากการระบาดของ Covid-19
  • Super Spreader คืออะไร
  • ปัญญาคืออะไร
  • IPO ย่อมาจากอะไร
  • สิ่งใดคือเทคโนโลยี

งานมอบหมาย

  • ทรัพยากรสารสนเทศมี 3 ประเภท มีอะไรบ้าง
  • ข้อใดคือ Data type
  • จงเรียงลำดับของข้อมูลจากน้อยไปมาก
  • จงเรียงลำดับของข้อมูลจากมากไปน้อย
  • ข้อใดคือประเภทคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด
  • จงเรียงลำดับของประเภทคอมพิวเตอร์จากเล็กไปใหญ่
  • ข้อใดคือ Wearable computer
  • ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
  • ข้อใดไม่ใช่บริการสื่อเก็บข้อมูล
  • ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสารสนเทศที่ดี
  • ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
  • ข้อใดไม่ใช่การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ

การแบ่งประเภทของสื่อ

ประเภทของสื่อมวลชน

สื่อมัลติมีเดีย

สื่อสังคม

สมรรถนะดิจิทัล


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจการแบ่งประเภทของสื่อ
  2. เพื่อให้เข้าใจประเภทของสื่อมวลชน
  3. เพื่อให้เข้าใจสื่อมัลติมีเดีย
  4. เพื่อให้เข้าใจสื่อสังคม
  5. เพื่อให้เข้าใจสมรรถนะดิจิทัล

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อมัลติมีเดีย และสื่อสังคมได้


การแบ่งประเภทของสื่อ ตามลักษณะของสื่อ [1]

  1. สื่อธรรมชาติ (Nature Media)

ได้แก่ บรรยากาศที่อยู่รอบตัวมนุษย์อันมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น นก สุนัข ต้นไม้ ลม ฝน ฟ้าร้อง

  1. สื่อมนุษย์ (Human Media)

ได้แก่ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นสื่อนำสารไปสู่ผู้รับ เช่น คนนำสาร นักเล่านิทาน โฆษก ล่าม วิทยากร ครู อาจารย์ ผู้นำเสนอ

  1. สื่อสิ่งพิมพ์ (Printing Media)

ได้แก่ สื่อทุกชนิดที่อาศัยเทคนิคการพิมพ์ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน

  1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)

ได้แก่ สื่อที่พัฒนาโดยใช้ระบบเครื่องกลไกไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต

  1. สื่อระคน/สื่อเฉพาะกิจ (Specialized Media)

ได้แก่ สื่อที่ทำหน้าที่นำสาร แต่ไม่อาจจัดไว้ใน 4 ประเภทข้างต้น เช่น วัตถุจารึก สื่อพื้นบ้าน


ตัวอย่าง ต้นไม้ หรือสัตว์ในธรรมชาติ

เสียงเห่าของสุนัข ในบ้าน อาจแขกมาที่หน้าบ้าน หรือใบไม้พริ้วไหวแสดงว่ามีลม


ตัวอย่างสื่อมนุษย์

Mark Zucker berg ผู้ก่อตั้ง Facebook.com


ตัวอย่าง สิ่งพิมพ์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง 2015


ตัวอย่าง สื่ออิเล็กทรอนิกส์

Chula เปิดบริการ http://mooc.chula.ac.th


ตัวอย่างสื่อระคน เช่น วัตถุจารึก สื่อพื้นบ้าน Street Art

สื่อระคนไม่ใช่ สื่อธรรมชาติ สื่อมนุษย์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์


การแบ่งประเภทของสื่อ ตามรูปแบบและสถานการณ์การสื่อสาร

  1. สื่อภายในบุคคล ( Intrapersonal Communication)

การสื่อสารกับตนเอง หรือการส่งสารของบุคคลคนเดียว แต่ละบุคคลมีการสื่อสารภายในตนเองทุกคน

เพลง อยู่คนเดียว ของเบิร์ด ธงชัย มีเนื้อเพลงว่า "อยู่คนเดียวกับตอนเย็นเย็น และก็ไม่เห็นว่าจะต้องมีใครใคร มาเคียงข้าง อยู่ลำพังกับความอ้างว้าง นั่งมองดูแสงรำไรของดวงตะวันจนลับไป เหม่อมองจันทร์ที่ลอยขึ้นมา ดึกดื่นอย่างนี้แล้วเพื่อนที่มีที่ดีที่สุดคือหมอนข้าง"

  1. สื่อระหว่างบุคคล ( Interpersonal Communication)

การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นรูปแบบของการสื่อสารตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

  1. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารผ่านประสาทสัมผัสเป็นหลัก เช่น Visual Media, Audio Media และ Audio-Visual Media หรือการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่าน Zoom, Meet, Teams, Youtube


ตัวอย่าง Audio-Visual Media

ภาพยนตร์ คือ สิ่งที่ สะท้อนสังคม หรือ ชี้นำสังคม


ประเภทของสื่อมวลชน [2]

  1. หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
  2. วิทยุกระจายเสียง (Radio)
  3. โทรทัศน์ (Television)
  4. ภาพยนตร์ (Movie)
  5. วารสาร (Journal)
  6. นิตยสาร (Magazine)
  7. โปสเตอร์ (Poster)
  8. เหตุการณ์พิเศษ (Special Event)
  9. เว็บไซต์ (Website)

1. หนังสือพิมพ์ (Newspaper)

คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก #

เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน คมชัดลึก


2. วิทยุกระจายเสียง (Radio)

คือ การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศ โดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อส่งสารกระจายออกอากาศไปถึงมวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ ได้รับโดยตรง #

เช่น คลื่น Seed Radio , อสมท.


3. โทรทัศน์ (Television)

คือ โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล แล้วยังหมายถึง รายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพ คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television เป็นคำผสมจาก tele- "ระยะไกล" และ -vision "การมองเห็น" มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) #

วิทยุโทรทัศน์ หมายถึง กระบวนการถ่ายถอดเสียงและภาพ โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นคลื่นเสียงและภาพเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ หรือส่งเสียงและภาพทางสาย เพื่อส่งสารไปถึงมวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ โดยตรง เป็นการส่งสัญญาณไฟฟ้าของภาพ และเสียงในเวลาเดียวกัน #


4. ภาพยนตร์ (Movie)

คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถ หรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วง ๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ #


5. วารสาร (Journal)

คือ สิ่งพิมพ์เป็นเล่มกำหนดออกเป็นประจำในระยะสัปดาห์ ปักษ์ เดือน หรือรายปี มักจะมุ่งให้ความรู้เชิงวิชาการแก่ผู้อ่านเป็นส่วนรวม หรือเฉพาะกลุ่ม วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 12

วารสาร เป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ความรู้ใหม่ และทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นผลของการค้นคว้าวิจัย ทฤษฎี และการค้นพบใหม่ แนวโน้ม ความคิดเห็น ข่าว ข้อมูลทางสถิติ ประกาศ จดหมายโต้ตอบ การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการ และอื่น ๆ

นอกจากคำว่า Periodical และ Serial แล้ว คำว่า Journal หมายถึง วารสารวิชาการ ส่วนคำว่า Magazine หมายถึง วารสารบันเทิงหรือวารสารทั่วไป #


วารสาร มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. สิ่งพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับต่อเนื่องเป็นระยะ สม่ำเสมอ
  2. ระบุวาระหรือกำหนดออกไว้อย่างแน่นอนล่วงหน้า และไม่ระบุระยะเวลาสิ้นสุด
  3. กำหนดชื่อเรื่อง (Title) หรือชื่อวารสารเป็นชื่อเดียวโดยตลอด
  4. ระบุหมายเลขหรือลำดับที่พิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นระบบ
  5. มีเนื้อหาประกอบด้วยบทความหลายบทความในแต่ละฉบับ
  6. มีผู้แต่งหลายคนรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน
  7. ให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารที่ใหม่และทันสมัยมากกว่าหนังสือ
  8. มีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number = ISSN)

6. นิตยสาร (Magazine)

คือ สิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ #

เช่น นิตยสารแพรว นิตยสารสุดสัปดาห์ นิตยสารหญิงไทย


7. โปสเตอร์ (Poster)

ใบปิด หรือ โปสเตอร์ คือ ภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษออกแบบ เพื่อใช้ติดหรือแขวนบนผนังหรือกำแพง ใบปิดอาจจะเป็นภาพพิมพ์และภาพเขียน หรืออาจจะเป็นอย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จุดประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการโฆษณาผลงานวิชาการ งานแสดงศิลปะ งานดนตรี #

เช่น Handbill ที่แจกหน้าโรงหนัง หรือ ป้ายหาเสียงของนักการเมือง


8. เหตุการณ์พิเศษ (Special Event)

คือ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจ เช่น ประชุมวิชาการ งานเปิดตัวสินค้า งานแถลงข่าว ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงเป็นที่สนใจเป็นพิเศษ

เช่น การประชุมวิชาการ NCCIT หรือ IC2IT


9. เว็บไซต์ (Website)

คือ สื่อนำเสนอข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เกิดจากการรวบรวม หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะทางที่เรียกว่า Web Browser โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ และเว็บไซต์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และได้มีการพัฒนาและนำภาษาอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น เช่น PHP , SQL , Java ฯลฯ #


ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)

คือ ข้อความ หรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ด้วยการนำข้อความที่ใช้มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะปรากฏในลักษณะที่เด่นกว่าข้อความอื่น เช่น เป็นคำที่ขีดเส้นใต้ หรือคำที่เป็นตัวหนา เป็นต้น

<b>ยินดีต้อนรับ</b>
<a href=product.htm>สินค้า</a>
<a href=company.htm>ติดต่อบริษัท</a>

รูปแบบเว็บไซต์

เว็บไซต์ก็จะแบ่งได้เป็นหลายโฮมเพจ และมีหลายเว็บเพจ


สื่อมัลติมีเดีย [3]

  1. เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology)
  2. เทคโนโลยีเกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology)
  3. เทคโนโลยีรูป (Image Technology)
  4. เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology)
  5. เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหวและภาพสามมิติ (Animation 3D Technology)
  6. เทคโนโลยีเครื่องมือสร้างสื่อ (Authoring System Technology)

สื่อมัลติมีเดีย (2/2)

  1. เทคโนโลยีการศึกษา (Education System Technology)
  2. เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology)
  3. เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing)
  4. เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology)
  5. เทคโนโลยีไฮเปอร์เท็ก (WWW :& Hyper Text)
  6. เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives)

ตัวอย่าง youtube.com สามารถ download เก็บเข้า Storage

คลิ๊ปวีดีโอ ใน [Playlist](https://www.youtube.com/playlist?list=PLYv8A28PGRQwmwgpsEYiivGtV9ebXLXhI) บน Youtube.com ของ StepPlus Training


การใช้สื่อการสอนในยุคโควิด-19

Teaching During Covid-19


สื่อสังคม [4]

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเรื่องราว เนื้อหา ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวีดิโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่น ๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) หมายถึง เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าด้วยกัน โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารและรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


สื่อสังคม (1/3)

  1. Facebook.com บริการโพสต์เรื่องราวสื่อสาร แชทด้วยข้อความ ภาพ วิดีโอ แบ่งกลุ่ม แบ่งเพจ
  2. Twitter.com บริการโพสต์เรื่องราวสื่อสาร ด้วยข้อความไม่เกิน 280 (เดิม 140) ตัวอักษร
  3. Instagram.com บริการโพสต์ภาพ และคลิ๊ปสั้น
  4. Line.me บริการส่งข้อความ ภาพ คลิ๊ประหว่างเพื่อนบนสมาร์ทโฟน แยกกลุ่ม และมีความเป็นส่วนตัวสูง
  5. Skype บริการโทรผ่านอินเทอร์เน็ต
  6. Youtube.com บริการแหล่งคลิ๊ปวีดีโอที่ใหญ่ที่สุด
  7. Google.com บริการสืบค้น และอีกมาก เช่น Classroom, Photos, Map, Meet

สื่อสังคม (2/3)

  1. Linkedin.com บริการโพสต์ฝากประวัติ ประสบการณ์ ความสามารถพิเศษ มีประโยชน์สำหรับนายจ้าง และลูกจ้าง
  2. Pinterest.com บริการโพสต์ภาพ และวิดีโอ เชื่อมสื่อที่เกี่ยวข้องกันมาแสดงร่วมกัน และร่วมแสดงความคิดเห็นได้
  3. Reddit.com บริการโพสต์เรื่องราว กระดานถามตอบ แลกเปลี่ยนตามประเด็นที่สนใจ
  4. Tumbler.com บริการโพสต์เรื่องราว พูดคุยและแบ่งปัน ลักษณะกึ่งบล็อกกึ่งโซเชียล
  5. Foursquare.com บริการข้อมูลตำแหน่งสถานที่บนพื้นโลก
  6. 4Shared.com บริการแหล่งจัดเก็บแฟ้ม และสืบค้นได้
  7. Dropbox.com บริการแหล่งจัดเก็บแฟ้มที่เป็นส่วนตัว

สื่อสังคม (3/3)

  1. Soundcloud.com บริการเก็บแฟ้มเสียง และแชร์ได้
  2. Yammer.com บริการสื่อสังคมที่จำกัดเฉพาะคนในองค์กร
  3. Slideshare.net บริการเผยแพร่สไลด์นำเสนอ
  4. Scribd.com บริการเผยแพร่อีบุ๊ค รองรับแฟ้มได้หลายรูปแบบ
  5. issuu.com บริการเผยแพร่อีบุ๊ค แบบพลิ๊กไปทีละหน้าอย่างสวยงาม
  6. Flipsnack.com บริการเผยแพร่อีบุ๊ค แบบพลิ๊กไปทีละหน้าอย่างสวยงาม

ตัวอย่าง ผู้ให้บริการสื่อสังคม (1/4)

Facebook คือ เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Networking Website) สำหรับติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิก เปิดให้ใช้งานเมื่อ 4 ก.พ.47 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายออกไปยังมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และขยายไปถึงผู้ใช้ทั่วไปตั้งแต่ 11 ก.ย.49 ชื่อเฟซบุ๊กมาจากชื่อเรียก "เฟซบุ๊ก" ที่จะเป็นหนังสือแจกสำหรับนักศึกษาในช่วงเริ่มเรียนปีแรก ซึ่งมีภาพและชื่อของเพื่อนที่เรียนด้วยกัน มีไว้สำหรับจดจำชื่อคนอื่น จึงเป็นที่มาของชื่อโดเมน facebook.com


ตัวอย่าง ผู้ให้บริการสื่อสังคม (2/4)

Swarm คือ สื่อสังคมที่ใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นเช็คอินสถานที่ (Check in) และรีวิวสถานที่ (Review) มีคุณสมบัติสนับสนุนการจัดอันดับในกระดานคะแนนระหว่างกลุ่มเพื่อนของแต่ละคนในแต่ละสัปดาห์ ทุกครั้งที่เช็คอินจะได้รับเหรียญ จำนวนเหรียญแตกต่างตามภาพ และสติกเกอร์ประกอบภาพ ในแต่ละสถานที่ที่มีการเช็คอินบ่อย ผู้ที่เช็คอินบ่อยที่สุดจะได้ตำแหน่งเมเยอร์ หรือเบอร์ 1 ประจำสถานที่นั้น การจัดอันดับเมเยอร์เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในระบบทั้งหมด ซึ่งแอพนี้ต้องเปิดคุณสมบัติบอกตำแหน่ง (GPS : Global Positioning System)


ตัวอย่าง ผู้ให้บริการสื่อสังคม (3/4)

Foursquare คือ สื่อสังคมที่ใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นบันทึกที่กินที่เที่ยว และใช้ค้นหาสถานที่ เบอร์โทร พร้อมมีความคิดเห็นของผู้คน (ทิป) มีการแนะนำสถานที่ใกล้เคียง มีข้อมูลราคา ยอดไลท์ รายชื่อเพื่อนที่เคยไป ใช้เปรียบเทียบ ประกอบการตัดสินใจได้ เชื่อม Check-in กับ Swarm ได้ สามารถเพิ่มทิปที่เป็นบันทึก โพสต์ภาพและแชร์ไป Facebook หรือ Twitter ได้ ซึ่งแอพนี้ต้องเปิดคุณสมบัติบอกตำแหน่ง (GPS : Global Positioning System)


ตัวอย่าง ผู้ให้บริการสื่อสังคม (4/4)

Line คือ แอพพลิเคชั่นที่ผสมผสานบริการ Messaging และ Voice Over IP เป็นแอพพลิชั่นที่สามารถแชท สร้างกลุ่ม ส่งข้อความ โพสต์รูปภาพ หรือโทรคุยกันแบบเสียงได้ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเมื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย สามารถใช้งานได้ทั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และเครื่องคอมพิวเตอร์


ผลกระทบของสื่อสังคม

ข้อได้เปรียบ (Advantage)

  • มีเพื่อนเพิ่มขึ้น (Friends)
  • มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange)
  • รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น (News)
  • ใช้เป็นช่องทางส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (Publication)
  • พัฒนาทักษะการเขียน (Writing development)

ผลกระทบของสื่อสังคม

ข้อเสียเปรียบ (Disadvantage)

  • มีเวลาให้กับโลกแห่งความเป็นจริงลดลง (Reduce time in real life)
  • ได้รับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป (Over data)
  • อาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนจากความเป็นจริงโดยง่าย (Fake data)
  • ใช้มากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ (Effect health)
  • เข้าไปอยู่ในความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ (Copyright infringement)

สมรรถนะดิจิทัล [5]

สมรรถนะดิจิทัล (Digital Competencies) คือ ความรู้ ความสามารถ และทักษะการใช้ เข้าใจและสร้างสื่อดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


1. การสืบค้นและการใช้งาน

  • ระดับที่จำเป็น

1.1 สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีใช้ตัวกรองเพื่อจำกัดผลลัพธ์ (เช่น การค้นหารูปภาพ วิดีโอ หรือสื่อรูปแบบอื่น ๆ ) 1.2 รู้วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 1.3 รู้วิธีการจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร (เช่น เครื่องมือ bookmarking) และตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ เรื่องลิขสิทธิ์และประเด็นการคัดลอกผลงาน

  • ระดับสูง

1.4 สามารถใช้เครื่องมือสืบค้นขั้นสูงสำหรับระบบห้องสมุดและแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ได้อย่างชำนาญ และติดตามข้อมูลหรือทรัพยากรเฉพาะด้านได้ เข้าใจข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์ ตระหนักถึงสิทธิรูปแบบอื่น ๆ เช่น ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) และสามารถ (หรือรู้วิธี) เผยแพร่ และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


2. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม

  • ระดับที่จำเป็น

2.1 สามารถผลิต (และได้ผลิต) สื่อดิจิทัล เช่น กราฟิก คลิปวีดีโอหรือคลิปเสียง และการบันทึกภาพหน้าจอ เป็นต้น 2.2 สามารถเรียนรู้หลักการพื้นฐานได้ตามคำแนะนำและสามารถทดลองทำได้

  • ระดับสูง

2.3 สามารถผลิต (และได้ผลิต) ทรัพยากรดิจิทัลและมัลติมีเดีย เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก เสียง และวิดีโอ ฯลฯ รวมทั้งรู้แหล่งที่มาและปรับแต่ง อาทิ แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource (OER) ) 2.4 มีประสบการณ์การใช้เครื่องมือสร้างสรรค์ และแก้ไขสื่อแบบปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ


3. เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต

  • ระดับที่จำเป็น

3.1 ตระหนักถึงประเด็นความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึงการปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน 3.2 ใช้คุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น ซอฟต์แวร์ต้านไวรัส และการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคมออนไลน์ 3.3 รู้จักสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการป้องกันข้อมูล 3.4 ระมัดระวังและไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น และในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ทางออนไลน์


4. การสอนหรือการเรียนรู้

  • ระดับที่จำเป็น

4.1 สามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายอย่างสะดวกสบายในการเรียนรู้ 4.2 สามารถติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์ รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นประโยชน์บนอุปกรณ์ส่วนตัวทั้งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อช่วยในการรวบรวมและจัดระเบียบบันทึกข้อมูลในการใช้งานส่วนตน

  • ระดับสูง

4.3 สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการอ้างอิง การผลิตงานนำเสนอ การเชื่อมโยงและการแบ่งปันความคิด และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความเข้าใจเรื่องที่ศึกษา


5. เครื่องมือและเทคโนโลยี

  • ระดับที่จำเป็น

5.1 สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคย และใช้คำศัพท์เฉพาะได้พอสมควร

  • ระดับสูง

5.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ อาทิ กรีนเทคโนโลยี (Green technology) เอนเนอจีเซฟวิ่ง (Energy saving) และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


6. การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน

  • ระดับที่จำเป็น

6.1 สามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันเอกสารและหรือข้อคิดเห็น การประชุมทางไกล (video-conferencing) และการเข้าร่วมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ การสัมมนาผ่านเครื่องมือและช่องทางที่หลากหลาย

  • ระดับที่จำเป็น หมายถึง ทักษะพื้นฐานสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร

  • ระดับสูง หมายถึง ทักษะเพิ่มเติมขั้นสูงที่เข้มข้นขึ้นสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี


Digital literacy คืออะไร

Literacy แปลว่า การรู้หนังสือ , การอ่านออกเขียนได้

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ


ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ

  1. การใช้ (Use)
  2. เข้าใจ (Understand)
  3. การสร้าง (Create)
  4. เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 9 ด้าน

  1. การใช้งานคอมพิวเตอร์
  2. การใช้งานอินเทอร์เน็ต
  3. การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (Cloud, Net Cafe)
  4. การใช้โปรแกรมประมวลคำ
  5. การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
  6. การใช้โปรแกรมนำเสนองาน
  7. การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล
  8. การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์
  9. การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (ID Card, Password)

Digital literacy โดย สำนักงาน ก.พ.

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 9 ด้าน


สรุป

การแบ่งประเภทของสื่อ

ประเภทของสื่อมวลชน

สื่อมัลติมีเดีย

สื่อสังคม

สมรรถนะดิจิทัล


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดคือสื่อธรรมชาติ
  • ข้อใดคือสื่อมนุษย์
  • ข้อใดคือสื่อสิ่งพิมพ์
  • ข้อใดคือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ข้อใดคือสื่อภายในบุคคล
  • ข้อใดคือสื่อระหว่างบุคคล
  • ข้อใดคือสื่อสารมวลชน
  • ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสือพิมพ์

งานมอบหมาย

  • ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวารสาร
  • ข้อใดไม่เกี่ยวกับเว็บไซต์
  • ข้อใดไม่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย
  • ข้อใดคือสื่อสังคม
  • ข้อใดคือลักษณะของ Facebook.com
  • ข้อใดคือลักษณะของ Swarm
  • ข้อใดคือลักษณะของ Line
  • ข้อได้เปรียบของสื่อสังคมไม่ใช่ข้อใด
  • ข้อเสียเปรียบของสื่อสังคมไม่ใช่ข้อใด
  • ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะดิจิทัล
  • ข้อใดไม่ใช่ทักษะในสมรรถนะดิจิทัล
  • Digital literacy คืออะไร

หน่วยที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

การประมวลผล

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ

อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. เพื่อให้เข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. เพื่อให้เข้าใจการประมวลผล
  4. เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
  5. เพื่อให้เข้าใจอาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางธุรกิจได้


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ [1]

  1. ระบบประมวลผล (Processing System)

คือ การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น add, subtract, multiply, divide

  1. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication System)

คือ การสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างเครื่องที่ห่างไกล ซึ่งมีฟังก์ชันพื้นฐานคือ send, receive, request, response

  1. การจัดการข้อมูล (Data Management)

คือ การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ ซึ่งมีฟังก์ชันพื้นฐานคือ insert, delete, update, select, create, drop


1. ประเด็นการประมวลผล

imitation game เรื่องของ แอรัน ทัวริง (Alan Turing) a founding father of computer science and artificial intelligence


2. ประเด็นการสื่อสารโทรคมนาคม

  • การรับส่งข้อมูลระหว่าง Client & Server, Peer to Peer, Decentralization
  • Hardware, Software, Router, Protocol
  • Topology : Star , Bus , Ring , Mesh , Hybrid , Wireless
  • Private Cloud & Public Cloud
  • Medium : Microwave , Radio Wave , Infrared, Fiber optic, Twisted-pair wires , Coaxial cable

3. ประเด็นการจัดการข้อมูลที่น่าสนใจ

  • Datastructure : array, linked list, tree, sorting, index, search, page rank
  • RAID : Redundant Array of Independent Disks
  • CDN : Content delivery network
  • Backup, Restore, Encryption, Decryption, Security
  • Index, Server Management, Master, Transaction

ตัวอย่างข้อมูลที่เชื่อมเป็นโครงสร้าง matrix, tree, linear, graph

หน่วยของข้อมูล ที่ถูกมองเป็น node แยกกัน และเชื่อมกัน


คอมพิวเตอร์ ประมวลผล และใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ

ภาพยนตร์ Matrix เครื่องคอมพิวเตอร์ตัดสินใจด้วยข้อมูล


การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ [2]

  1. เก็บข้อมูล

เช่น Digital Camera, Webcam, Sound Recorder, Sensor, Scanner

  1. บันทึกข้อมูล

เช่น Tape, RFID, CD, Diskette, Storage , Harddisk

  1. ประมวลผลข้อมูล

เช่น CPU, GPU , Sort , Analysis , Summary

  1. แสดงผลข้อมูล

เช่น Monitor, Printer, Projector , Model

  1. สำเนาเอกสาร

เช่น Microfilm, Copy Machine, Multifunction Printer , Scan

  1. สื่อสารข้อมูล

เช่น Telephone, Television, Radio, Internet, Fiber Cable, Wifi


เทคโนโลยีที่น่าสนใจ

RFID (Radio Frequency Identification) คือ การระบุข้อมูลสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่ง RFID ถูกนำเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างหลากหลาย เช่น ป้ายติดสินค้ากันขโมยหรือให้ข้อมูล บัตรผ่านประตู แท็กติดตามสัตว์ เป็นต้น

Internet of Things (IoT) คือ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การที่ทุกอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล และควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร วัดระดับน้ำ วัดความชื้น วัดแสง วัดอุณหภูมิ ส่งข้อมูลไปจัดเก็บเพื่อประมวลผล วิเคราะห์ และรับส่งคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ เป็นต้น


เทคโนโลยีที่น่าสนใจ

AR (Augmented Reality) คือ การผสานสภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนอาจเป็น ภาพ หรือวิดิโอ ข้อมูลที่ประมวลผล อาจทำงานบน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์สวมใส่ ทำให้สามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ เช่น Pokemon Go

VR (Virtual Reality) คือ การจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบัน เพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมา เช่น การจำลองสถานที่ google street view หรือ Google Map

QR Code (Quick Response) หรือ คิวอาร์ โค้ด คือ สัญลักษณ์สี่เหลี่ยม เป็นบาร์โค้ด 2 มิติ ใช้แทนข้อมูลที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท Denso-Wave (เดนโซ-เวฟ) ตัวอย่างข้อมูลที่อ่านได้ เช่น ที่อยู่เว็บไซต์ เบอร์โทร อีเมล ซึ่งความจุข้อมูลคิวอาร์โค้ดมีข้อจำกัดเรื่องของปริมาณข้อมูล


ระบบ IPO กับ ระบบการออกแบบ

เก็บข้อมูล บันทึกข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล สำเนาเอกสาร สื่อสารข้อมูล


การประมวลผล [3]

  1. สรุปภาพรวม (Summarizing) เช่น การรายงานผลประกอบการ การสรุปผลการวิจัย
  2. การจัดเรียง (Ordering) เช่น ประกวดนางสาวไทย ผลการแข่งขันรถยนต์ การเรียงไพ่
  3. การจัดกลุ่ม (Grouping) เช่น การแยกห้องนักเรียน การจัดการข้อมูลประชากร การแยกเพศ การแยกสัญชาติ
  4. การเลือก (Selecting) เช่น การเลือกตั้ง การคัดเลือกตัวแทน การเลือกซื้ออาหาร
  5. การควบคุม (Controlling) เช่น การปล่อยน้ำผ่านกรุงเทพฯ การจราจร การควบคุมรถไฟ
  6. การคำนวณ (Calculating) เช่น ดอกเบี้ยธนาคาร ภาษี ค่านายหน้า เกรดเฉลี่ย
  7. วิเคราะห์แยกแยะ (Analyzing) เช่น การพิจารณาหลักฐานในคดี ตรวจวินิจฉัยโรค คัดกรองผู้ป่วย

1. สรุปภาพรวม (Summarizing)

เช่น การรายงานผลประกอบการ ด้วยการนำยอดขาย - ต้นทุน = กำไร แล้วนำเสนอจำแนกรายเดือน รายไตรมาส และสรุปภาพรวม เปรียบเทียบจำแนกแผนก หรือผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ อาจนำเสนอเป็นแผนภาพ หรือร้อยละประกอบ

เช่น 3500 + 4000 + 2500 = 10000


2. การจัดเรียง (Ordering)

เช่น ประกวดนางสาวไทย ที่มีผู้เข้าประกวดหลายสิบคน และต้องนำคะแนนมาจัดเรียง ให้ทราบว่าใครได้อันดับหนึ่ง หรือรองอันดับต่าง ๆ ผลการแข่งขันรถยนต์ การเรียงไพ่

เช่น สาวเชียงใหม่ จัดเรียง อ้ายบ่าวตั๋วดี อ้ายบ่าวเชียงฮาย ชื่อแก้วมาลูน อ้ายป๋อง คนแป้เขี้ยวชุน อ้ายคำ อ้ายมูล อ้ายสม อ้ายมี


3. การจัดกลุ่ม (Grouping)

เช่น การแยกห้องนักเรียน เมื่อมีนักเรียนสมัครเรียน แล้วต้องจำแนกห้องวิทย์ ห้องศิลป์ ห้องภาษา ห้องคอมพิวเตอร์ การจัดการข้อมูลประชากร การแยกเพศ การแยกสัญชาติ

เช่น กลุ่มนักเรียนประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ก็จะมีการดำเนินการต่างกัน


4. การเลือก (Selecting)

เช่น การเลือกตั้ง ที่ต้องเลือกผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งเพียง 1 คนจากหลายสิบคนที่ลงเลือกตั้ง การคัดเลือกตัวแทน การเลือกซื้ออาหาร

เช่น เลือกรายการอาหารกลางวัน เลือกลงทุนในตลาดหุ้น เลือกซื้อบ้านซื้อรถ


5. การควบคุม (Controlling)

เช่น การปล่อยน้ำผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงน้ำท่วมใหญ่ หรือการปล่อยน้ำของเขื่อนเพื่อการเกษตรในช่วงภัยแล้ง การจราจร การควบคุมรถไฟ


6. การคำนวณ (Calculating)

เช่น ดอกเบี้ยธนาคาร ที่คิดดอกเบี้ยราย 3 เดือน หรือรายปี หรือผลตอบแทนจากการประกันชีวิต ภาษี ค่านายหน้า เกรดเฉลี่ย

เช่น หาผลตอบแทนจากการลงทุน จำนวนคะแนนเสียงเลือกตั้ง จำนวนหน่วยกิตให้พอสำเร็จการศึกษา


7. วิเคราะห์แยกแยะ (Analyzing)

เช่น การพิจารณาหลักฐานในคดี เพื่อการสอบสวน เห็นได้ชัดในภาพยนตร์ CSI หรือการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เพื่อพัฒนาระบบงานขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงระบบเดิม ตรวจวินิจฉัยโรค คัดกรองผู้ป่วย

เช่น แยกผู้มีไข้ออกจากผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ แยกเกลือออกจากน้ำทะเลเพื่อดื่ม


พื้นฐานการประมวลผลเรื่อง infix และ postfix

คอมพิวเตอร์เข้าใจแบบ postfix แต่มนุษย์เข้าใจแบบ infix


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ [4]

  1. ลดความผิดพลาด (Reduce Mistake)
  2. ลดการใช้แรงงาน (Reduce Labor)
  3. ลดการสูญหายของข้อมูล (Reduce Data Loss)
  4. ตอบสนองเร็วขึ้น (Increase Response)
  • ทำให้การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้แรงงานคนลงได้

ตัวอย่าง Hajime

ร้านฮาจิเมะ โรบอท (Hajime Robot Restaurant) ที่เชียงใหม่ ในห้าง Central Festival ชั้น 5 และอีกหลายสาขาในไทย มีร้านอาหารปิ้งย่างที่เสิร์ฟด้วยหุ่นยนต์ (Robot) สาขาแรกเปิดที่ ชั้น 3 ของโมโนโพลีพาร์ค กทม. เมื่อต้นปี 2553 เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะช่วยลดพนักงานเสิร์ฟลง กลุ่มผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแนวทางการลดต้นทุน ก็จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ หรือ ร้าน Spyce อยู่ที่เมือง Boston รัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา เปิดบริการ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561


ตัวอย่าง Hajime หรือ Grab Food หรือ Kerry

ลดแรงงาน เพิ่มหุ่นยนต์ : ลดความผิดพลาด ลดการใช้แรงงาน ลดการสูญหายของข้อมูล ตอบสนองเร็วขึ้น


ตัวอย่าง ในอนาคต อังกฤษอาจใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคนหลายแสนตำแหน่ง

https://board.postjung.com/1013965


อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ [5]

  1. เว็บมาสเตอร์ (Webmaster)

ทำหน้าที่ พัฒนาและบำรุงรักษาเว็บไซต์

  1. ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ (Computer Support Specialist)

ทำหน้าที่ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา

  1. นักเขียนเทคนิค (Technical Writer)

ทำหน้าที่ เขียนคู่มือปฏิบัติงาน และจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

ทำหน้าที่ เป็นผู้จัดการซอฟท์แวร์ขององค์กร วิเคราะห์ความต้องการ และพัฒนาขึ้น


อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ผู้จัดการเครือข่าย (Network Administrator)

ทำหน้าที่ สร้าง และบำรุงรักษาเครือข่าย

  1. ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)

ทำหน้าที่ ดูแลระบบฐานข้อมูล

  1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)

ทำหน้าที่ วางโครงสร้างการพัฒนาระบบ วางแผน ออกแบบ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ

  1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

เช่น ฟรีแลนซ์ (Freelance) ทำหน้าที่ พัฒนา ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรม


กลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์

  1. กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป (User/End User)
  2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert)
  3. กลุ่มผู้บริหาร (Executive : CIO - Chief Information Officer)

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจ

  • Digital Marketing
  • Digital Developer
  • Application Software Developer
  • Digital Entrepreneur

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจ

อ่านเพิ่มที่  https://www.facebook.com/ictbiz.su/posts/2704713962966541


หลักสูตรหลักทางด้านคอมพิวเตอร์

  1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS : Computer Science)
  2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE : Computer Engineering)
  3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE : Software Engineering)
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT : Information Technology)
  5. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (IS : Information System)
  • ชวนมองเพิ่มเติม: วิศวกรรมไฟฟ้า (EE : Electronic Engineering) บางทีอาจมองได้ว่า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นลูกครึ่งระหว่างวิศวกรรมไฟฟ้า + วิทยาการคอมพิวเตอร์

ประเด็นที่แตกต่างกันในแต่ละหลักสูตร

  1. ฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Hardware & Architecture)
  2. โครงสร้างพื้นฐานของระบบ (Infrastructure)
  3. เทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ (Technology & Software Methodology)
  4. เทคโนโลยีเพื่อการประยุกต์ (Application)
  5. ประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ (Organization & Information System)

เปรียบเทียบหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์

จำแนก 5 หลักสูตร


ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์ [6]

  1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง

  1. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages)

ภาษาที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ทั้งคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และมนุษย์เข้าใจการรับรู้ของคอมพิวเตอร์


ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์

  1. ระบบจับภาพ (Vision Systems)

การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยอาศัยการมอง และการจดจำรูปแบบ เช่นการตรวจหาชิ้นส่วนที่บกพร่อง การให้คอมพิวเตอร์แข่งเตะบอล เป็นต้น

  1. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)

เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำไปใช้งาน ให้เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ โดยเฉพาะใช้งานที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์

  1. เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)

ระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน สร้างเรียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ เป็นการทำกิจกรรมแบบขนานที่ทำงานพร้อมกัน เพื่อให้ได้คำตอบเดียว


Transcendence คอมพ์สมองคนพิฆาตโลก

ปัญญาประดิษฐ์ จะครองโลกในไม่ช้า [AI](https://mono29.com/program/166548.html)


สรุป

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

การประมวลผล

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ

อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ข้อใดไม่ใช่การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ข้อใดคือการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • IOT คืออะไร
  • RFID คืออะไร
  • Projector คืออะไร
  • สิ่งใดเรียกว่าการประมวลผล
  • ผลประกวดนางสาวไทย ใช้การประมวลผลด้านใดเป็นสำคัญ

งานมอบหมาย

  • การคำนวณดอกเบี้ยธนาคาร ใช้การประมวลผลด้านใดเป็นสำคัญ
  • การพิจารณาคดีความ ใช้การประมวลผลด้านใดเป็นสำคัญ
  • การสรุปผลการวิจัย ใช้การประมวลผลด้านใดเป็นสำคัญ
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
  • ร้าน Hajime ใช้หุ่นยนต์ทำอะไร
  • ข้อใดไม่ใช่อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ข้อใดไม่ใช่หลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์
  • ข้อใดเป็นประเด็นพิจารณาความแตกต่างหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์
  • ข้อใดไม่ใช่ขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์
  • Translator เกี่ยวกับ AI ด้านใด
  • Motion Capture เกี่ยวกับ AI ด้านใด
  • การช่วยเสิร์ฟอาหาร หรือเตรียมอาหาร เกี่ยวกับ AI ด้านใด

หน่วยที่ 4 เทคโนโลยีการสื่อสาร

องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร

หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
  2. เพื่อให้เข้าใจหลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
  3. เพื่อให้เข้าใจการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร [1]

  1. ข่าวสาร/ข้อมูล (Message หรือ Data)
  2. ผู้ส่ง (Sender)
  3. ผู้รับ (Receiver)
  4. สื่อกลาง (Medium)
  5. ระเบียบวิธีการ (Protocol)

องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร (2/3)

  1. ข่าวสาร/ข้อมูล (Message หรือ Data) เช่น เสียง ภาพ คลิ๊ปวีดีโอ ประสาทสัมผัส
  2. ผู้ส่ง (Sender) เช่น มนุษย์ อุปกรณ์ ธรรมชาติ
  3. ผู้รับ (Receiver) เช่น เรา เขา บุคคลที่สอง ชุมชน หรือสาธารณะ
  4. สื่อกลาง (Medium) เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ จดหมาย โทรเลข อากาศ
  5. ระเบียบวิธีการ (Protocol) เช่น การส่งข้อความของกลุ่มผู้ใช้วิทยุสมัครเล่น การส่งคลิ๊ปวีดีโอเข้าไปใน youtube.com หรือการใช้ Zoom เพื่อประชุมออนไลน์

องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร (3/3)

โมเดลของการสื่อสาร (Communication Model) โดย Claude Shannon และ Warren Weaver


สามเหลี่ยมการตลาดบริการ

สถาบัน  + อาจารย์ เจ้าหน้าที่ + ผู้ปกครองและนิสิต จาก ประชุมประจำปี ม.เนชั่น 30 ก.ค.63


หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร [2]

  1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)

มีอะไรก็ตามที่ทำให้ความน่าเชื่อถือในการสื่อสารลดลง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเป้าหมายของการสื่อสาร

  1. ความเหมาะสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม (Context)

สภาพแวดล้อมต้องเอื้ออำนวย สนับสนุนการติดต่อสื่อสาร

  1. เนื้อหาสาระ (Content)

ประเด็นเป็นที่ต้องการตรงกันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

  1. ความชัดเจน (Clarity)

เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย มีความชัดเจน และเพียงพอที่จะเข้าใจ


หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร

  1. ความต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ (Continuity and Consistency)

ความคงเส้นคงว่าของการให้ข้อมูลข่าวสาร จะทำให้การติดต่อสื่อสารมีความยั่งยืน

  1. ช่องทางในการสื่อสาร (Channels)

ตัวที่เชื่อมระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร ซึ่งมีได้หลายทางที่สนับสนุนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

  1. ขีดความสามารถของผู้รับ (Capability of audience)

ต้องทำให้สารนั้นเป็นที่เข้าใจได้ง่าย จนผู้รับสารใช้ความพยายามน้อย แต่ก็ยังเข้าใจได้


ความน่าเชื่อถือ ทำให้คนถูกหลอกมาแล้วมากมาย

The wolf of wall street คือ ชีวิต Jordan Belfort


การสื่อสารของ Steve Jobs เป็นตำนาน

เนื้อหาสาระ เป็นสิ่งที่ทุกคนเฝ้ารอ ทั้ง ipod iphone ipad


รูปแบบการประชุมที่มีประสิทธิภาพ

  1. ในห้องประชุม (Decision room) - มีส่วนร่วมสูงสุด
  2. เครือข่ายตัดสินใจในท้องถิ่น (Local decision network) - ไม่มีช่องว่างการสื่อสาร
  3. ประชุมทางไกล (Teleconferencing) - มีส่วนร่วม แต่แบ่งกลุ่ม
  4. การตัดสินใจทางไกล (Remote decision making) - มีช่องว่างระหว่างการสื่อสารมาก

รูปแบบการตัดสินใจโดยกลุ่ม

รูปแบบการตัดสินใจโดยกลุ่ม


การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร [3]

  1. E-Mail (Electronic Mail)
  2. Fax or Facimile : Paper Printing
  3. Voice Mail
  4. Video Conference
  5. GPS (Global Positioning Systems)

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

  1. Groupware (Google Docs, Google Drive, One drive)
  2. Electronic Fund Transfer : ATM, Truemoney wallet
  3. Electronic Data Interchange : Order Statement, Invoice
  4. RFID (Radio Frequency Identification) and IoT (Internet of Things)

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)

  1. เมาส์ (Mouse)
  2. จอสัมผัส (Touch Screen)
  3. ปากกาป้อนข้อมูล (Pen Stylus)
  4. เว็บแคม (Web Cam)
  5. ไมโครโฟน (Microphone)
  6. กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
  7. สแกนเนอร์ (Scanner)
  8. คีย์บอร์ด (Keyboard)

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device)

  1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display Device)
  • เทอร์มินอล (Terminal) ในระบบ Pos
  • จอซีอาร์ที (CRT Monitor)
  • จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ใช้ผลึกเหลว
  • จอแอลอีดี (LED : Light Emitting Diode) คมชัดกว่า LCD
  • โปรเจคเตอร์ (Projector)

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device)

  1. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
  • เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ (Dot matrix)
  • เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
  • เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Inkjet Printer)
  • พลอตเตอร์ (Plotter)
  • เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer)

Sketchup สำหรับ 3D Printer

SketchUp is one of the most popular 3D modeling & design programs for 3D printing - [Building](http://thaiall.blogspot.com/2014/04/sketchup.html)


อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device)

  1. อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device)
  • ลำโพง (Speaker)

  • หูฟัง (Headphone หรือ Headset)

  • ความหมายของ Headset คือ หูฟัง กับ ไมโครโฟน ส่วน Headphone หูฟังอย่างเดียว


ตัวอย่าง Headset ไม่ใช่แบบ USB

ไมค์ พร้อมหูฟัง ยี่ห้อ OKER รุ่น OE750 ราคาเพียง 100 บาท


สรุป

องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร

หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
  • Receiver คือส่วนใดในการสื่อสาร
  • Transmitter คือส่วนใดในการสื่อสาร
  • Noise คืออะไร
  • ข้อใดไม่ใช่หลักสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
  • Steve Jobs สื่อสารเรื่องใด
  • ข้อใดคือรูปแบบการประชุมที่มีประสิทธิภาพ
  • ข้อใดไม่ใช่การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

งานมอบหมาย

  • ข้อใดคือลักษณะของ FAX
  • ข้อใดคือ GPS
  • ข้อใดคืออุปกรณ์แสดงผล
  • ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์แสดงผล
  • ข้อใดคือลักษณะเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์
  • ข้อใดคือลักษณะเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
  • ข้อใดคือลักษณะของ Speaker
  • ข้อใดคือลักษณะของ Headset
  • ข้อใดคือลักษณะของอีเมล
  • ข้อใดคือลักษณะของ Video Conference
  • ข้อใดคือลักษณะของ Groupware
  • ข้อใดคือลักษณะของ Truemoney wallet

หน่วยที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรม


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  2. เพื่อให้เข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์
  3. เพื่อให้เข้าใจภาษาโปรแกรม

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถเลือกใช้ภาษาโปรแกรมในแต่ละลักษณะงานได้


การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา [1]

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่าง ๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ "เทคโนโลยี" ซึ่งมีความหมายว่าเป็น ศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็น ศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนำมาใช้ กับ "การศึกษา" จึงเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุ และวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อการเรียนรู้ "สื่อสาร" เป็น กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ (Interaction)


การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

  1. อีเลินนิ่ง (e-Learning) หรือ WBI (Web-Based Training)

เช่น Moodle, Mooc, MS Teams, Google Classroom, Classstart.org

  1. อีบุ๊ค (e-Book)

เช่น Journal, Book, Magazine, Kindle

  1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Aided Instruction)

เช่น โปรแกรมช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย โปรแกรมเกมสำหรับเด็ก

  1. สื่อการสอน (Media)

เช่น CD ROM , Video on Demand , Youtube.com , Live

  1. การสื่อสาร (Communication)

เช่น อีเมล (e-mail) หรือ เว็บบอร์ด (webboard) หรือ การสอนทางไกล (Distance Learning) : DLTV.ac.th มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

  1. การมอบหมายงาน หรือการบ้าน (Assignment หรือ Homework)

เช่น โครงงงาน แบบฝึกหัดท้ายบท ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน รายงานประจำสัปดาห์ งานกลุ่ม งานเดี่ยว

  1. แบบทดสอบ (Quiz)

เช่น Google forms หรือ แบบฟอร์มให้กรอกผ่านระบบ

  1. บล็อก (Blog)

เช่น Blogger.com หรือ Wordpress.com

  1. ฝึกปฏิบัติ (Laboratory)

เช่น Wix.com (Free webiste builder), ProgrammingHub.io

  1. แหล่งสืบค้น (Search engine)

เช่น Google.com , Wikipedia.org , Github.com, Yahoo.com


ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ กับ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

https://www.facebook.com/suchatvee.ae/videos/1234222103587059/


10 ทักษะสำหรับแรงงานไทยในอนาคตที่ต้องมี

https://www.marketingoops.com/reports/10-skill-in-manpower-ai/


Thais face challenges getting asean jobs

ท้าทาย ศักยภาพของคนไทยที่จะได้งาน หลังเปิดประเทศ ในกลุ่มอาเซียน

  1. ภาษาอังกฤษ (English Language)
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
  3. เชิงตัวเลข (Numerical)
  4. นวัตกรรม (Creativity/innovation)
  5. ผู้นำ (Leadership)
  6. การสื่อสาร (Communication)
  7. การจัดการเวลา (Time management)
  8. การแก้ปัญหา (Problem-solving)
  9. สังคม (Social)
  10. การปรับตัว (Adaptability)
  11. การทำงานเป็นทีม (Team-working)
  12. เทคนิค/ความเชียวชาญเฉพาะ (Technical/professional)

Thais face challenges getting asean jobs

http://www.thaiall.com/blog/burin/4063/


กรณีตัวอย่าง X TRA Information Intelligence


คลิ๊ป ห้องเรียนออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน ของ xtrathai.com

รวมวีดีโอ การใช้ระบบการสอนออนไลน์ด้วย Platform e-learning ที่มี Feature ครบทุกความต้องการ


ภาษาคอมพิวเตอร์ [2]

  • ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) คือ ภาษาที่ใช้ หรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักใช้ร่วมกับภาษาโปรแกรม แต่ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นมีความหมายที่กว้างกว่า โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นภาษาโปรแกรม ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าภาษาอย่าง HTML หรือ Batch หรือ SQL ไม่ใช่ภาษาโปรแกรม แต่ถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์.
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/programming

ภาษาเฮชทีเอ็มแอล

  • ภาษาเฮชทีเอ็มแอล (HTML = HyperText Markup Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) ในปัจจุบัน HTML ล่าสุดคือ รุ่น 5 เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML รุ่นแรกคือ 1.0 (ม.ค.2543) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแบบ XML (eXtensible Markup Language)

ตัวอย่างคำสั่งในภาษา HTML สวัสดีชาวโลก

<html>
<head>
<title>Hello World</title>
</head>
<body>
Hello World
</body>
</html>

ภาษาเอสคิวแอล

  • เอสคิวแอล (SQL = Structured Query Language) คือ ภาษาสอบถามข้อมูล หรือภาษาจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมฐานข้อมูลที่รองรับมากมาย เพราะจัดการข้อมูลได้ง่าย เช่น MySQL, MariaDB, MsSQL, PostgreSQL หรือ MS Access เป็นต้น สำหรับโปรแกรมฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมคือ MySQL หรือ MariaDB เป็น Open Source ที่ใช้งานได้ทั้งใน Linux และ Windows
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/mysql

ตัวอย่างคำสั่งในภาษา SQL ประมวลผลข้อมูล

create table a (a1 int, a2 char(20)); 
insert into a values (1, "abc"); 
insert into a (a2, a1) values ("abc",1); 
select * from a; 
delete from a where a1=1; 
update a set a2="a",a3=123 where a1=1 and a4=2; 
select * from a order by a2;

ภาษา Batch

  • BAT file หรือ BATCH file คือ แฟ้มแบบหนึ่งใน DOS หรือ OS/2 ที่สามารถประมวลผลได้ โดยการระบุคำสั่งที่ต้องการให้ดำเนินการเข้าไป และชื่อสกุลของแฟ้มนี้คือ .bat สามารถสร้างขึ้นด้วย Text Editor ซึ่งไมโครซอฟท์วินโดว์ให้การสนับสนุนแบทซ์ไฟล์ ในระบบปฏิบัติการ Linux เรียกว่า Shell script สามารถเขียนรายการคำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้
DOS> echo ^<a href=a.htm^>a^</a^> > a.htm 
DOS> explorer a.htm

ตัวอย่างคำสั่งในภาษา Batch สั่งแปลโปรแกรมด้วยภาษา Java

  • ภาษาจาวา (Java Language) คือ ภาษาโปรแกรมที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถ้าเป็นคลาสก็จะเป็นต้นแบบของวัตถุสามารถมีเมทธอด (Method) ที่ประกอบด้วยพฤติกรรม (Behavior) รูปพรรณ (Identity) และสถานะ (State)
@echo off
REM DOS> boy.bat
cd c:\j2sdk1.4.2_03\bin\
echo class boy2 { > boy2.java
echo public static void main(String args[]) { >> boy2.java
echo System.out.println("oho batch file"); } } >> boy2.java
javac boy2.java
java boy2

ตัวอย่างคำสั่งในภาษา Batch สั่งแปลโปรแกรมภาษา Markdown

  • มาร์กดาวน์ (Markdown) คือ รูปแบบภาษามาร์กอัปสำหรับแก้ไขหน้าเว็บ คิดค้นขึ้นโดย จอห์น กรูเบอร์ และ อารอน สวาร์ตซ เป็นภาษาที่อนุญาตให้ผู้เขียนใช้รูปแบบการจัดเนื้อหาที่ง่ายต่อการอ่าน และง่ายต่อการเขียน จากนั้นตัวภาษาจะแปลงคำสั่งเหล่านี้เป็นภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ภาษามาร์คดาวน์ได้รับรูปแบบส่วนใหญ่มาจากรูปแบบการจัดการเนื้อหาที่ใช้ในอีเมลทั่วไป [wiki]
  • อ่านเพิ่ม /markdown
  • ตัวอย่าง /md
DOS> notepad tec.md
DOS> pandoc tec.md -o tec.pptx
DOS> tec.pptx

ตัวอย่างภาษา Markdown

 # header1

 - topic 1
 - topic 2
 - [ open lesson 1 ] ( http://x.com/lesson1 )
 ! [ image ] ( http://x.com/lesson1.png ) 

ภาษาโปรแกรม [3]

  • ภาษาโปรแกรม (Program Language) คือ วิธีการมาตรฐานในการสื่อสารสำหรับแสดงคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมกำหนดไวยากรณ์และการตีความหมายจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้น ภาษาโปรแกรมทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถระบุอย่างชัดเจนถึงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์จะทำงาน และวิธีการที่คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น ตัวอย่างภาษาโปรแกรม เช่น PHP, Python, C, Perl, Pascal, Cobol, ASP, JSP, Java, Javascript, Basic
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/programming

ภาษาพีเอชพี

  • ภาษาพีเอชพี (PHP Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับ ตัวแปลภาษา ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/php

ภาษาไพทอน

  • ภาษาไพทอน (Python Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม (Platform) และใช้ในงานได้หลายประเภท ทั้งใช้ในการประมวลผลผ่านคอมมานด์ไลน์ หรือเป็นเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้โค้ดให้กับตัวแปลภาษา เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปข้อความเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ จุดที่แตกต่างกับภาษาอื่น คือ การรวบรวมจุดเด่นของแต่ละภาษามารวมเข้าด้วยกัน
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/python

ภาษาไพทอน

ภาษาไพทอน เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ที่สร้างโดย กีโด ฟาน รอสซัม (Guido van Rossum) ชาวเนเธอร์แลนด์ ในธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) ปัจจุบันดูแลโดย มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน ซึ่งที่มาของชื่อ Python น่าจะมาจากรายการโทรทัศน์ Monty Python's Flying Circus ที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสนุกที่ได้ใช้ (fun to use) แต่ผู้สร้างบอกว่าชื่อนี้ไม่ได้มาจากงู แต่โลโก้ของภาษาเป็นรูปงู 2 ตัว


ตัวอย่างภาษาไพทอน

from turtle import *
color('blue')
forward(100)
left(90)
forward(100)
left(90)
forward(100)
left(90)
forward(100)
left(90)

ตัวอย่างภาษาไพทอน

วาดรูปเลขาคณิต


ตัวอย่างภาษาใน Programminghub.io

Programminghub.io มีภาษาให้เลือกเรียนมากมาย


จุดเด่นของไพทอน

  • การเขียนคำสั่งกระชับ ทำให้อ่านโค้ดได้ง่าย (Readability)
  • มีไลบรารี่สนับสนุนจำนวนมาก (Library)
  • มีประสิทธิภาพในการประมวลผล (Performance)
  • เป็น Functional และ OOP (Object Oriented Programming)
  • มีระบบตัวแปรเป็นแบบพลวัต (Dynamic Variable)

ภาษาจาวา

  • จาวา (Java) คือ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นโดยซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems Inc.) ต่อมาถูกซื้อโดยออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (Oracle Corp.) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง มีลักษณะสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมถูกสร้างภายในคลาส (Class) มีพฤติกรรม (Behavior) ถูกเขียนไว้ใน method โดยปกติจะเรียกแต่ละ class ว่า object โดยแต่ละ object มีสถานะ พฤติกรรม และตัวแปร โปรแกรมที่สมบูรณ์มาจากหลาย object/class โดยแต่ละ class จะมี method หรือ behavior แตกต่างกันไป (ปี 2009 บริษัทซัน ถูกซื้อโดย Oracle)
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/class

ตัวอย่างภาษาจาวา

DOS> javac j0100.java
DOS> java j0100 abc def
public class j0100 {
  public static void main(String args[]) {
    System.out.println(args.length); // 2
    System.out.println(args[0]);   // abc
  }
}

ภาษาจาวาสคริ๊ป

  • ภาษาจาวาสคริปต์ (Javascript) คือ ภาษาโปรแกรมคล้ายภาษาซี ถูกใช้ร่วมกับภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ในการพัฒนาเว็บเพจ โดยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ (Client) ช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ในระดับหนึ่ง
  • ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) คือ ภาษาโปรแกรมที่มีโครงสร้างคล้ายภาษาซี ทำหน้าที่แปลความหมาย และดำเนินการทีละคำสั่ง ภาษานี้มีชื่อเดิมว่า LiveScript ถูกพัฒนาโดย Netscape Navigator เพื่อช่วยให้เว็บเพจสามารถแสดงเนื้อหา ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไข หรือเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือโต้ตอบกับผู้ใช้ได้มากขึ้น เพราะภาษา HTML ที่เป็นภาษาพื้นฐานของเว็บเพจ ทำได้เพียงแสดงข้อมูลแบบคงที่ (Static Display)
  • React Native คือ การใช้ภาษา Javascript เป็นหลัก สำหรับสร้าง Mobile Application ทั้งบน iOS และ Android เป็น Cross Platform Technology ถูกสร้างโดยทีมงาน Facebook เป็น Open Source ที่มีนักพัฒนาสามารถสร้าง Library และเผยแพร่ให้ได้จำนวนมาก โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วน React หรือ ReactJS คือ A JavaScript library for building user interfaces คล้ายกับ React Native ต่างกันที่วิธีการเขียน Component และ Execution
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/java

ตัวอย่างภาษาจาวาสคริ๊ป

<script language=javascript>
function j() {
  document.x.y.value = "abc";
  alert("abc");
}
</script>
<form name=x>
<input name=y>
<input type=checkbox onclick=javascript:alert("ok");>
<input type=checkbox onclick=javascript:document.x.y.value="nation";>
<input type=checkbox onclick=javascript:document.x.y.value="lampang";>
<input type=checkbox onclick=j();>
</form>

แหล่งได้มาของซอฟต์แวร์

  1. แบบสำเร็จรูป (Package Software)
  2. แบบว่าจ้าง (Custom Software)
  3. แบบทดลองใช้ (Shareware)
  4. แบบใช้งานฟรี (Freeware Software)
  5. แบบโอเพ่นซอร์ส (Open Source Software)

Open Source Software

  • ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยหลักการ หรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลง และเผยแพร่ซอร์สโค้ดได้ ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) และสัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (BSD) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย อาทิ Perl, Firefox, Linux, Apache
  • กิตฮับ (GitHub) คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Hosting service) สำหรับบันทึก และควบคุมการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรหัสต้นฉบับ (Source code version control) โดย กิต (Git) คือ เครื่องมือควบคุมการปรับปรุงรหัสต้นฉบับ (Source code) จัดการพื้นที่ให้ทำงานร่วมกันในทีมผู้พัฒนา (Contributor)
  • อ่านเพิ่ม thaiall.com/web2/github.htm

ซีดีจันทรา

ซีดีรวมซอฟท์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เป็นโครงการของซิป้า เพื่อเผยแพร่ซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส ที่ถูกคัดเลือกมาอย่างดี ให้ชาวไทยได้ใช้อย่างถูกกฎหมาย โดย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ  SIPA (Software Industry Promotion Agency)


Compiler

  • คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ โปรแกรมแปลโปรแกรม, ตัวแปลโปรแกรม คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์หนึ่ง ไปเป็นชุดคำสั่งที่มีความหมายเดียวกัน ในภาษาคอมพิวเตอร์อื่น คอมไพเลอร์ส่วนใหญ่จะแปล รหัสต้นฉบับ (Source Code) ที่เขียนในภาษาระดับสูง เป็น ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและทำงานได้ ผลลัพธ์ของการแปลโปรแกรม หรือการคอมไพล์โดยทั่วไป ถูกเรียกว่า ออบเจกต์โค้ด (Object Code) ที่ประกอบด้วยภาษาเครื่อง (Machine Code) และการเรียกใช้วัตถุภายนอก (Linked Object) ไม่ได้อยู่ในอ็อบเจกต์มาตรฐาน ส่วนเครื่องมือที่ใช้รวมอ็อบเจกต์เข้าด้วยกัน เรียกว่า โปรแกรมเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในขั้นสุดท้าย เป็นไฟล์ที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ได้ เช่น ภาษาโคบอล ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษาจาวา ภาษาแอสเซมบลี้
  • อ่านเพิ่ม wiki.org/คอมไพเลอร์

Interpreter

  • อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) หรือ โปรแกรมแปลคำสั่ง, ตัวแปลคำสั่ง คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งที่เขียนไว้บรรทัดต่อบรรทัด ต่างกับคอมไพเลอร์ (Compiler) ที่แปลชุดคำสั่งจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจก่อนเริ่มทำงาน การทำงานของโปรแกรมผ่านอินเทอร์พรีเตอร์จะช้ากว่าการทำงานจากโปรแกรมที่ผ่านคอมไพเลอร์ เพราะอินเทอร์พรีเตอร์จะต้องแปลแต่ละคำสั่งในระหว่างการทำงานว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ตัวอย่างภาษาที่มีการใช้อินเทอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน
  • อ่านเพิ่ม wiki.org/อินเทอร์พรีเตอร์

การใช้ Gwbasic บน DOSBOX

โปรแกรมเกม DONKEY.BAS ถูกเขียนในค.ศ 1981 (2524) และถูกรวมเข้าใน PC-DOS Operating system บน Original IBM PC : [gwbasic](http://www.thaiall.com/gwbasic/)


สรุป

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรม


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดไม่ใช่การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  • แฟ้มแบบใดนิยมใช้เป็น e-book
  • CAI ย่อมาจากอะไร
  • DLTV ย่อมาจากอะไร
  • Wordpress ให้บริการด้านใด
  • Wix.com ให้บริการด้านใด
  • Github.com ให้บริการด้านใด
  • Google Forms ให้บริการด้านใด

งานมอบหมาย

  • HTML คืออะไร
  • Tag ที่ใช้กำหนดหัวเรื่องชื่ออะไร
  • SQL ย่อมาจากอะไร
  • โปรแกรมใดไม่ให้บริการจัดการข้อมูล
  • คำสั่งใดใช้เลือกข้อมูล
  • คำสั่งใดใช้เพิ่มข้อมูลในตาราง
  • ภาษาใดใช้สำหรับเขียน Webpage โดยตรง
  • ภาษาใดใช้สำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียน
  • ภาษาใดคือภาษาคอมพิวเตอร์แต่ไม่ใช่ภาษาโปรแกรม
  • ภาษาใดคือภาษาโปรแกรม
  • Open Source Software คืออะไร
  • ภาษาใดไม่ใช่ภาษาที่แปลแบบ Interpreter

หน่วยที่ 6 ระบบเครือข่าย

ความหมายของเครือข่าย

โครงสร้างของเครือข่าย

ประเภทของเครือข่าย

ทิศทางการส่งข้อมูล

ประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

ระเบียบวิธีการ


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของเครือข่าย
  2. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของเครือข่าย
  3. เพื่อให้เข้าใจประเภทของเครือข่าย
  4. เพื่อให้เข้าใจทิศทางการส่งข้อมูล
  5. เพื่อให้เข้าใจประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
  6. เพื่อให้เข้าใจระเบียบวิธีการ

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถเลือกใช้ระบบเครือข่ายที่เหมาะสม


ความหมายของเครือข่าย [1]

  • ระบบเครือข่าย คือ ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อกลาง เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้
  • นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น Printer and Scanner (Multifunction Printer) , Harddisk (E-document) , Paper (E-Office) , CD ROM (Media) เป็นต้น ซึ่งระบบเครือข่ายที่นิยมเชื่อมต่อในระยะใกล้ คือ LAN (Local Area Network) ส่วนระยะไกลได้แก่ WAN (Wide Area Network)

การใช้งานระบบเครือข่าย

  • การใช้ระบบเครือข่ายสามารถก่อประโยชน์ได้มากมาย เช่น สามารถแบ่งใช้งานแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

  • สามารถแบ่งใช้งานทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้สามารถถูกติดตั้งไว้ใดในเครือข่ายก็ได้ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องสามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรดังกล่าวจากจุดใดในเครือข่ายก็ได้

  • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เช่น File Server การโอนย้ายถ่ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง รวมถึงสามารถส่งข่าวสารไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์ได้

  • สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบของ E-Mail ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้

  • สามารถควบคุมการทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายได้


การเชื่อมเครือข่ายแบบใช้สาย

  • สายทองแดง (Copper wire)

Telephone cable, Unshilded Twisted Pair (UTP) Cable, Coaxial Cable เคเบิลทีวี

  • สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber)

  • สายใยแก้วนำแสง หรือ สายไฟเบอร์ออฟติก ( Fiber Optic Cable) คือ สายสัญญาณที่ผลิตมาจากแก้วและหุ้มด้วยใยพิเศษที่ป้องกันการกระแทกและฉนวน โดยมีคุณสมบัติเหมือนเป็นท่อเพื่อส่งสัญญาณแสงจากต้นทางไปยังปลายทาง และมีอุปกรณ์ที่ต้นทางและปลายทางทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน สายใยแก้วนำแสงจะมีต้นทุนที่ต่ำมากและส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก ซึ่งด้วยคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ถูกนำมาใช้เพื่อส่งข้อมูลในโครงข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) และสื่อสารข้อมูล เนื่องจากการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) นั้น สามารถส่งได้ในระยะทางไกล และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณที่สูงตามขนาดของ Bandwidth ที่รองรับได้


AIS Fiber

 [เน็ตบ้านแรงโดนใจ](https://www.facebook.com/AisFibre.CM/photos/a.2321172924781757/2651544358411277/) Broadband Special Package 400/400 ดาวน์โหลด/อัพโหลด


การเชื่อมเครือข่ายแบบไร้สาย

  • คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
  • สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ใช้คลื่นวิทยุ
  • เครือข่ายไร้สายระยะใกล้ (Wireless LAN) ไม่เกิน 100 เมตร
  • เครือข่ายไร้สายระยะไกล (Wide-area Wireless Access เช่น 3G / 4G / 5G) 100 เมตร - 40 กิโลเมตร

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

แสง คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves : EM) ประกอบด้วย สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าเคลื่อนที่ทำมุมตั้งฉากกัน ระยะทางระหว่างยอดคลื่นหนึ่งถึงยอดคลื่นถัดไปเรียกว่า ความยาวคลื่น (Wavelength) โดยแสงที่ตามองเห็น (Visible light) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงคลื่น 400 – 700 นาโนเมตร

ส่วนแสงที่มองไม่เห็นมีอีกหลายช่วงคลื่นในชื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่ รังสีแกมมา (Gamma ray) มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 0.01 nm แล้วที่มีความยาวคลื่นมากกว่านี้ ได้แก่ รังสีเอ็กซ์ (X-ray) รังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation) แสงที่ตามองเห็น (Visible light) รังสีอินฟราเรด (Infrared radiation) คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) และ คลื่นวิทยุ (Radio wave) มีความยาวคลื่นมากกว่า 10 cm ซึ่งยาวที่สุด


ปัจจุบันเราสามารถใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์ประสาทและสมอง

สมองของคนเราก็มีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


ยุคแรกของอินเทอร์เน็ต เชื่อม SRI, UCLA, UCSB , Utah

Stanford Research Institute(SRI), University of California, Los Angeles (UCLA), University of California, Santa Barbara (UCSB), and University of Utah


ประโยชน์ของระบบเครือข่าย

  • แบ่งปันการใช้งานแฟ้มข้อมูล เช่น โปรแกรม
  • แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เช่น ข้อมูลข่าวสาร
  • แบ่งปันการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์
  • ส่งข่าวสารในรูปแบบของ E-Mail
  • ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

แผนผังในอดีต ใช้อธิบายการเชื่อมต่อ


โครงสร้างของเครือข่าย [2]

โทโพโลยี (Topology) คือ รูปแบบการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ให้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เชื่อมเป็นเส้นแบบต่อกันไป เชื่อมจากศูนย์กลาง หรือเชื่อมเป็นวงกลม เป็นต้น ซึ่งการเชื่อมโยงสามารถมองได้ทั้งโทโพโลยีทางตรรกะ และโทโพโลยีทางกายภาพ


โครงสร้างของเครือข่าย

  1. โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology)
  2. โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology)
  3. โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
  4. โทโพโลยีแบบเครือข่าย (Mesh Topology)
  5. โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)

Topology

Topology แบบ Peer to Peer และแบบ Wireless


1. Star Topology

โทโพโลยีแบบดาว คือ การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีกลาง เช่น Hub หรือ Switch เป็นจุดผ่าน การติดต่อกันระหว่างโหนด (Node) ในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ลักษณะการเชื่อมต่อคล้ายดาวกระจาย คือ มีอุปกรณ์ เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ สามารถเพิ่มหรือลดเครื่องก็ทำได้ง่าย การต่อแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลาง คือ ฮับ/สวิทช์ ราคาลดลงอย่างมาก และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น


2. Bus Topology

โทโพโลยีแบบบัส คือ การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารเข้ากับสายสื่อสารหลัก เรียกว่า บัส (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบว่าว่าง ก่อนที่จะส่งข้อมูลอออกไป จะผ่านไปยังโหนดต่าง ๆ แต่ละโหนดจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ผ่านมาถึงตนหรือไม่ หากไม่ใช่ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป หากใช่ก็รับเข้าไว้

ลักษณะการเชื่อมต่อเป็นแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นเดียว ลากต่อกันไป จุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล จะทำให้เครื่องรวนไปทั้งระบบ ข้อดีคือไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่างเช่น ฮับ/สวิทช์ ใช้สายเพียงเส้นเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม มีความเร็วเพียง 10 Mbps


3. Ring Topology

โทโพโลยีแบบวงแหวน คือ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่ง จากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน ทุกโหนดจะเชื่อมต่อ 2 ทาง ข้อมูลจะไหลมาทางหนึ่งและไหลออกไปอีกทางหนึ่ง ถ้าเป็นข้อมูลของตนก็จะรับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็จะไหลต่อไป

ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นลักษณะวงแหวน การส่งข้อมูลจะเป็นแบบทิศทางเดียว ถ้าส่งไปเครื่องต่อไป แล้วไม่ตรงกับเครื่องรับก็จะส่งไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง จุดอ่อนคล้ายกับระบบบัส


4. Mesh Topology

โทโพโลยีแบบเครือข่าย คือ การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และส่งข้อมูลได้อิสระ ไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ทำให้การส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะการเชื่อมต่อเป็นแบบเชื่อมโยงกันหมดเหมือนตาข่ายโยงใยไม่มีรูปร่างแน่นอน อาจเรียกว่าโครงสร้างแบบไร้รูปแบบ


5. Hybrid Topology

โทโพโลยีแบบผสม คือ การผสมผสานกันของโทโพโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน ใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ จากองค์กรที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน โดยมีตัวเชื่อมที่สามารถบอกเส้นทางได้อย่างถูกต้อง คือ Router

ลักษณะการนำเครือข่ายย่อยที่มีโครงข่ายตามแบบข้างต้นมารวมกัน หรือเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นเครือข่ายผสมที่เกิดจากการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบบัส แบบสตาร์ แบบริง หรือแบบผสม มาเชื่อมโยงกันจนเสมือนไร้รูป บางครั้งอาจเรียก Hybrid ว่า Mesh


ประเภทของเครือข่าย [3]

ประเภทของเครือข่าย เมื่อแบ่งตามระยะทาง สามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้

  1. P2P : Peer to Peer
  2. PAN : Personal Area Network
  3. LAN : Local Area Network
  4. MAN : Metropolitan Area Network
  5. WAN : Wide Area Network

1. P2P: Peer to Peer (1/5)

P2P คือ หลักการแบบ Decentralized system ที่ทุกเครื่องสามารถเป็นทั้งเครื่องให้บริการ และเครื่องใช้บริการ ที่เป็นได้ทั้ง 2 บทบาทพร้อมกัน คือ ไปดาวน์โหลดแฟ้มจากเครื่องอื่น ในขณะที่ตนเองให้บริการไปพร้อมกัน บางครั้งเรียกว่าเครือข่ายเวิร์คกรุ๊ป (Work group) ที่ทุกคนในสำนักงานมีสิทธ์เท่ากัน


2. PAN: Personal Area Network (2/5)

PAN คือ เครือข่ายเฉพาะกิจระหว่างอุปกรณ์ในพื้นที่เดียวกัน เป็นเทคโนโลยีการเข้าถึงแบบไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1 เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก อาจเชื่อมต่อด้วย Bluetooth ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก


3. LAN: Local Area Network (3/5)

LAN คือ เครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือตึกเดียวกัน เป็นต้น


4. MAN: Metropolitan Area Network (4/5)

MAN คือ เครือข่ายขนาดกลาง เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณ พื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน หรือจังหวัดใกล้เคียงกัน เป็นต้น


5. WAN: Wide Area Network (5/5)

WAN คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง อาจทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเทอร์เน็ต ที่จัดว่าเป็นเครือข่าย WAN ประเภทหนึ่ง เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ


LAN , MAN , WAN

Backbone Network - BN


การส่งข้อมูลเป็น package

ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ก็ยังต้องแบ่งข้อมูลเป็นชิ้น ๆ เพื่อส่งไปในระบบเครือข่าย


ทิศทางการส่งข้อมูล [4]

  1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
  • Projector (เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ)
  • Visualization (เครื่องฉายภาพสามมิติ)
  • Microphone (ไมโครโฟน)
  • Mouse (เมาส์) หรือ Keyboard (แป้นพิมพ์) หรือ Monitor (จอภาพ)

ทิศทางการส่งข้อมูล

  1. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
  • Blog หรือ Weblog (บล็อก) เช่น blogger.com, wordpress.com, thumbsup.in.th
  • Webboard (กระดานเสวนา) เช่น pantip.com
  • Chat (แชท) เช่น messenger
  • Walkie-Talkie (วิทยุสื่อสาร)
  • Social Media (สื่อสังคม เช่น facebook.com หรือ youtube.com)

ทิศทางการส่งข้อมูล

  1. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
  • Phone (โทรศัพท์พื้นฐาน)
  • Smartphone (สมาร์ทโฟน) หรือ TabletPC (แท็บเล็ต)
  • Computer : Notebook, Desktop (เครื่องคอมพิวเตอร์)
  • Google Glasses (แว่นตากูเกิ้ล)
  • Cicret Bracelet (สายลัดข้อมือไฮเทค)
  • Microsoft Hololens (แว่นตาของไมโครซอฟต์)
  • Virtuix Omni (โลกเสมือนจริง)

อุปกรณ์ Modem

โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า MOdulator/DEModulator คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ ที่แยกการทำงานออกเป็น Modulation และ DEModulation ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ โดยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นภาคส่ง และภาครับ ซึ่งภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Digital)ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Analog) ส่วนภาครับจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์ (Analog)กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Digital)

  • มอดูเลเตอร์ (Modulator) แปลงดิจิทอลเป็นอนาล็อก ในการส่งสัญญาณระยะไกลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง
  • ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator) แปลงจากอนาล็อกกลับมาเป็นดิจิทอล

Modem คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ

การทำงานร่วมกันของ TCP/IP กับ Modem


ประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย [5]

  1. เครื่องบริการ Server (Send response)
  2. เครื่องลูกข่าย Client (Send request)
  3. สถานีงาน Workstation (General computer)
  4. เครื่องปลายทาง Terminal (No CPU)

1. Server (Send response)

เครื่องบริการ หรือเซิร์ฟเวอร์

  • เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่ายแบบ Server-based รอรับคำร้องจากผู้ใช้ แล้วนำมาประมวลผล หรือรวบรวมผล แล้วส่งกลับไป

เครื่องให้บริการ เราไม่ทิ้งกัน.com หรือ thaichana.com หรือ เครื่องประกาศผล TCAS (Thai University Center Admission System)


2. Client (Send request)

เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์

  • เป็นเครื่องที่ส่งคำร้องไปให้กับเครื่องบริการทำหน้าที่ประมวลผล หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วรอรับผลจากเครื่องบริการกลับไป

เครื่องที่เชื่อมต่อกับการประชุม เช่น Zoom, Webex, Google Meet, Microsoft Teams


3. Workstation (General computer)

เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ถูกเรียกว่า สถานีงาน

  • เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีความเร็ว และความสามารถสูงขึ้น ถูกประยุกต์ใช้ในงานที่หลากหลายทั้งทางธุรกิจ และส่วนราชการ

เช่น เครื่องในสำนักงาน หรือห้องปฏิบัติการ


4. Terminal (No CPU)

เครื่องปลายทางที่ไม่มีหน่วยประมวลผลกลาง

  • เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในอดีต เช่น Mainframe Computer และ Mini Computer จะมีหน่วยประมวลผลกลางขนาดใหญ่ หน่วยความจำ และหน่วยควบคุมที่มีความสามารถ ส่วนเครื่องปลายทางทำหน้าที่รับส่งข้อมูลเชื่อมโยงกับผู้ใช้ แล้วส่งความต้องการให้กับหน่วยประมวลผลกลาง

เช่น AS/400 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นเคยใช้


Zoom Cloud Meeting

ซูม (Zoom Cloud Meeting) คือ ซอฟต์แวร์ประชุมทางไกลมีหน้าที่บริการเครือข่ายการประชุมผ่านคลาวด์ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้หลายร้อยคนพร้อมกัน อาทิ ผู้ที่ทำงานจากบ้าน (Work From Home) หรือนักเรียนที่เรียนจากบ้าน (Learn From Home) หรือครูสอนออนไลน์ (Online Teaching) ซึ่งเชื่อมโยงผู้เข้าประชุม ผ่านบริการกลาง ทำให้ผู้ร่วมประชุมแต่ละคนใช้ทรัพยากรในการเชื่อมเครือข่ายไม่สูง สามารถเห็นหน้าผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมากได้พร้อมกัน แบ่งปันหน้าจอในห้องประชุม ใช้งานไวท์บอร์ด ห้องแชท และระบบควบคุมผู้ร่วมประชุมที่มีประสิทธิภาพ


Zoom Cloud Meeting

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Zoom


XAMPP

Xampp คือ โปรแกรม Apache web server เพื่อจำลอง web server เพื่อไว้ใช้งาน หรือทดสอบสคริป หรือเว็บไซต์ในเครื่องของเรา โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และไม่มีค่าใช้จ่าย ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม ซึ่งมาพร้อมกับ MySQL/MariaDB , PHP , Perl , phpMyadmin , Filezilla, Mercury, Tomcat


ระเบียบวิธีการ [6]

  • ระเบียบวิธีการ (Protocol) คือ ข้อกำหนด หรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ต้องมีการกำหนดวิธีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับ มนุษย์ที่ต้องมีภาษา เพื่อให้สื่อสารกันได้เข้าใจ
  • โปรโตคอล (Protocol) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัด รูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโปรโตคอลจะมีหลายมาตรฐานที่จะให้ผู้เขียนโปรแกรมเลือกใช้ และแต่ละโปรโตคอลก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
  • เปรียบเหมือนกับภาษาสากลของคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Protocol นั้นจะทำให้การสื่อสารและติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมโยงกันได้อย่างเข้าใจ ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่น ต่างขนาด ต่างระบบ ก็ยังสื่อสารผ่าน Protocol ที่ตกลงร่วมกันได้

ความสำคัญของโปรโตคอล

ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมี โปรโตคอล ที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ โปรโตคอลถือเป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้


การทำงานของโปรโตคอล

  • เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีหลายมาตรฐานหลายยี่ห้อ แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพราะมีการใช้โปรโตคอลมาตรฐานที่มีข้อกำหนดให้ทำงานร่วมกันได้

  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต คือ ผู้ใช้บริการหรือเป็นไคลแอนต์ (Client) สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านไปยังเครื่องให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) บนเครือข่าย การทำงานของพีซีที่เชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ก็จำเป็นต้องใช้โปรโตคอล เพื่อประยุกต์ใช้งานรับส่งข้อมูล ซึ่งโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารนั้นมีมากมายหลายประเภทด้วยกัน


ตัวอย่างของโปรโตคอล (1/7)

  • TCP/IP (Transfer Control Protocol/Internet Protocol) คือ ระเบียบวิธีการที่ใช้ในระบบเครือข่ายอย่างอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้แยกออกได้เป็น โปรโตคอล TCP และโปรโตคอล IP ช่วยกำหนดรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และการกำหนดตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
  • SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการส่ง E – mail ในระบบอินเทอร์เน็ต
  • POP3 (Post Office Protocol 3) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยมุ่งเน้นในการอ่านอีเมลแบบ Offline โดยผู้ใช้โหลดอีเมลมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเปิดอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ตัวอย่างการใช้ Outlook

Outook คือ โปรแกรมสำหรับเปิดอีเมลที่ให้บริการ Pop3 และ SMTP


ตัวอย่างของโปรโตคอล (2/7)

  • โปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) ถูกใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) เช่น Firefox หรือ Opera หรือ Internet Explorer หรือ Chrome เรียกดูข้อมูลหรือเว็บเพจ แล้วโปรแกรมบราวเซอร์จะใช้โปรโตคอล HTTP ซึ่งโปรโตคอลเปิดให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลกลับมาให้บราวเซอร์ตามที่ร้องขอไป และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานและรูปแบบการรับส่งข้อมูล จึงต้องได้รับการกำหนดและเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน
  • HTTP คือ โปรโตคอลที่ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่น http://www.thaiall.com หรือ http://localhost เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รอรับคำร้องขอที่ส่งไปจาก web browser จะส่งข้อมูลกลับมา อาจเป็นเว็บเพจ ภาพ หรือเสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ web คือ Apache web server หรือ Internet Information Service
  • เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ดูข้อมูล และโต้ตอบกับข้อมูลในหน้าเว็บเพจที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล โดยข้อมูลได้รับมาจากการร้องขอ (Request) และตอบกลับ (Response) จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
  • Google Chrome คือ โปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) สำหรับเปิดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตตามมาตรฐาน HTTP ในรูปของข้อความ ภาพ เสียง คลิ๊ปวีดีโอ ลิงค์เชื่อมโยง และรองรับการมีปฏิสัมพันธ์ได้

ตัวอย่างของโปรโตคอล (3/7)

  • โปรโตคอล TCP (Transfer Control Protocol) คือ การติดต่อระหว่างบราวเซอร์กับเซิร์ฟเวอร์ย่อมต้องเปิดช่องสื่อสารระหว่างกัน ช่องสื่อสารทั้งสองข้างมีช่องหมายเลขกำกับ เรียกว่า "พอร์ต (Port)" และพอร์ตนี้ได้รับการกำกับดูแลด้วยโปรโตคอล ชื่อ TCP (Transfer Control Protocol) ซึ่งทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์บริการไคลแอนต์ได้หลายไคลแอนต์พร้อมกัน เมื่อผู้ใช้บริการหรือไคลแอนต์ใช้โปรแกรมแบบทำงานหลายอย่างในขณะเดียวกัน (Multitasking) เช่น Windows ก็จะเปิดหลายงานบนเครื่องเดียวกัน ผ่านพอร์ตต่างกัน จึงมีการกำหนดหมายเลขพอร์ต เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกันได้ การเชื่อมระหว่างกัน จึงทำได้ในลักษณะเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านถนนสายเดียวกัน

ตัวอย่างของโปรโตคอล (4/7)

  • โปรโตคอล IP (Internet Protocol) คือ การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนี่งได้ถูกต้อง เพราะมีโปรโตคอลที่ใช้ในการหาตำแหน่ง ซึ่งในกรณีนี้ใช้โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือ IP (Internet Protocol) ส่วน IP นี้มีการกำหนดแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ เรียกว่า เลขที่อยู่ไอพี (IP Address)

ตัวอย่างของโปรโตคอล (5/7)

  • โปรโตคอล SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) คือ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เมื่อเขียนจดหมายโดยใช้โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) แล้ว ก็จะจ่าหน้าถึงอีเมลแอดเดรสปลายทาง ข้อความหรือจดหมายฉบับนั้นจะรับ-ส่งกันด้วยโปรแกรมรับส่งอีเมลที่ใช้โปรโตคอลมาตรฐาน SMTP
  • ลักษณะการรับ-ส่ง จะกำหนดให้เครื่องเชื่อมกับเครื่องบริการ ในฐานะที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนจดหมายหรือที่เรียกว่า Mail Exchange ตัวแลกเปลี่ยนจดหมายจะตรวจสอบแอดเดรสของจดหมาย และนำส่งต่อกันไปจนถึงปลายทาง การรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องจะเปลี่ยนจดหมายให้อยู่ในรูปแพ็กเก็ต ระดับ TCP และเปิดพอร์ตระหว่างเครื่องให้เชื่อมโยงกัน การเชื่อมระหว่างพอร์ตใช้วิธีนำข้อมูลใส่ในแพ็กเก็ต IP แล้วส่งด้วยโปรโตคอล IP ต่อไป

ตัวอย่างของโปรโตคอล (6/7)

  • โปรโตคอล DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IP สำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน
  • เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway
  • อ่านเพิ่ม เครื่องบริการ ทำให้พอร์ตถูกเปิด /internet

ตัวอย่างของโปรโตคอล (7/7)

  • โปรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม
  • FTP คือ โปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้

ตัวอย่างคำสั่งใช้งานใน FTP

ftp ftp.nectec.or.th
anonymous
**enter**
lcd c:\
cd pub
bin
put background.gif
ls *.gif
get logo.gif
bye

อ่านเพิ่ม thaiall.com/learn/useftp.htm


ตัวอย่างคำสั่งใช้งานใน FTP

ตัวอย่างนี้ใช้งานได้ ถ้ามีเครื่องบริการ และบัญชีที่เข้าถึงได้


สรุป

ความหมายของเครือข่าย

โครงสร้างของเครือข่าย

ประเภทของเครือข่าย

ทิศทางการส่งข้อมูล

ประเภทของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

ระเบียบวิธีการ


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดไม่ใช่ระบบเครือข่าย
  • ข้อใดไม่ใช่การใช้งานระบบเครือข่าย
  • ข้อใดไม่ใช่สายแบบทองแดง
  • ข้อใดคือสายแบบใยแก้วนำแสง
  • ข้อใดคืออุปกรณ์ในเครือข่ายไร้สาย
  • ข้อใดคืออุปกรณ์ในเครือข่ายใช้สาย
  • อินเทอร์เน็ตในทางการศึกษาเชื่อมกี่สถาบัน
  • สถาบันใดไม่ได้เข้าร่วมในการทดสอบเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต

งานมอบหมาย

  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
  • โทโพโลยีแบบใดเป็นที่นิยมที่สุด
  • เครือข่ายประเภท PAN มีลักษณะอย่างไร
  • เครือข่ายประเภท LAN มีลักษณะอย่างไร
  • เครือข่ายประเภท WAN มีลักษณะอย่างไร
  • อุปกรณ์แบบใดที่ส่งข้อมูลแบบ Simplex
  • อุปกรณ์แบบใดที่ส่งข้อมูลแบบ Half-duplex
  • อุปกรณ์แบบใดที่ส่งข้อมูลแบบ Full-duplex
  • ข้อใดคือลักษณะของ Server
  • ข้อใดคือลักษณะของ Client
  • SMTP มีหน้าที่อะไร
  • FTP มีหน้าที่อะไร

หน่วยที่ 7 การใช้งานอินเทอร์เน็ต

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

บริการของอินเทอร์เน็ต


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
  2. เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
  3. เพื่อให้เข้าใจบริการของอินเทอร์เน็ต

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม


ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต [1]

  • อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
  • ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จะไม่จำกัดเฉพาะการใช้งานทางทหาร

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (2/6)

  • ค.ศ.1969 ได้ทดลองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ 4) มหาวิทยาลัยยูทาห์ พบว่า เครือข่ายทดลองนี้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นปีค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) จึงเปิดใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency ปัจจุบัน คือ Defense Informations Systems Agency)
  • ต่อมา ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครที่ไม่หวังผลกำไรทั้งสิ้น

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (3/6)

  • ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
  • ค.ศ.1980 (พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (4/6)

  • ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP (Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน
  • เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.nation.ac.th จะไปยังเครื่องบริการตรวจสอบชื่อ Domain Name Server ว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกลับมาเป็นหมายเลขไอพีใด ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่อ สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย .th ทั้งหมด

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (5/6)

  • ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) ต่อมาเว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาโปรแกรมโมเสค (MOSAIC) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิกตัวแรก
  • หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสค ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต (6/6)

  • ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ตัดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐาน คือ ผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก
  • ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name Service ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

ยุคแรกของอินเทอร์เน็ต เชื่อม SRI, UCLA, UCSB , Utah

Stanford Research Institute(SRI), University of California, Los Angeles (UCLA), University of California, Santa Barbara (UCSB), and University of Utah


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต [2]

  1. การศึกษา (Education)
  2. ความบันเทิง (Entertainment)
  3. การค้า (Commerce)
  4. การติดต่อสื่อสาร (Communication)

การจัดกลุ่มเว็บไซต์ใน Truehits.net (เข้าถึง 5 มิ.ย.63)

มีเว็บไซต์ในรายการทั้งหมด 8584 เว็บไซต์ จำแนกได้ดังนี้ ข่าว-สื่อ(420) บันเทิง(772) เกมส์(188) กีฬา(302) ท่องเที่ยว(752) ช๊อปปิ้ง(858) มือถือ-พีดีเอ(172) ยานยนต์(289) คอมพิวเตอร์(401) อินเทอร์เน็ต(569) ธนาคาร-การเงิน(183) ธุรกิจ(1032) สุขภาพ(310) บุคคล-สังคม(577) อสังหาริมทรัพย์-ก่อสร้าง(331) ศิลปะ-วัฒนธรรม(225) การศึกษา(655) หน่วยงานราชการ,องค์กร(507) บันเทิงสำหรับผู้ใหญ่(39) บ้าน(2)


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (1/4)

  1. ด้านการศึกษา (Education)

– เป็นประโยชน์ที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนที่สุดสำหรับการใช้งานในด้านนี้ ด้วยความที่อินเทอร์เน็ต คือ สิ่งที่สามารถทำให้เราท่องโลกแห่งความรู้ในทุก ๆ ด้านได้อย่างไม่จบสิ้น เพียงแค่ต้องการรู้เรื่องอะไรก็กดเข้าไปดูในอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็จะมีรายละเอียดข้อมูลตามที่เราต้องการขึ้นมาให้ได้ศึกษากันแบบเต็มที่ ถึงกระนั้นก็ต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลด้วยเช่นเดียวกันว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ทว่านี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงประโยชน์ลำดับต้น ๆ ของอินเทอร์เน็ต


ตัวอย่าง ด้านการศึกษา

ด้านการศึกษา [Angry Bird](https://studio.code.org/hoc/1)


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (2/4)

  1. ด้านความบันเทิง (Entertainment)

– การใช้ชีวิตของคนเราหากว่ามีเรื่องที่เครียดมากเกินไปก็อาจทำให้ชีวิตสั้นลงได้ การพยายามหาสิ่งบันเทิงให้กับตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ซึ่งในสมัยนี้เมื่อมีอินเทอร์เน็ตเข้ามา มันทำให้การหาความบันเทิงเป็นสิ่งที่ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว สามารถชมภาพยนตร์เรื่องโปรดได้ ฟังเพลงไพเราะได้ อ่านเรื่องสนุก ได้จากอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกไปเสียเงินนอกบ้าน


ตัวอย่าง ด้านความบันเทิง

ด้านความบันเทิง


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (3/4)

  1. ด้านการค้า (Commerce)

– ทุกวันนี้หลายคนมีเงินมีทองขึ้นมา เพราะการหารายได้ที่มาจากอินเทอร์เน็ต คำว่า เน็ตไอดอล เกิดจากสิ่งเหล่านี้ พวกเขาสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง ไม่รวมถึงคนที่ขายของออนไลน์ เป็นฟรีแลนซ์รับงานในอินเทอร์เน็ต และอีกมากมายที่สามารถทำให้กลายเป็นเงินได้ เพราะมีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้อง บางคนทำงานในอินเทอร์เน็ตจนรวยเป็นเศรษฐีก็มีให้เห็นมากมาย


ตัวอย่าง ด้านการค้า

ด้านการค้า แนะนำ [kbj246](https://www.lazada.co.th/shop/kbj246/)


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (4/4)

  1. ด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication)

– การมีอินเทอร์เน็ตทำให้โลกใบนี้ไร้พรหมแดนขึ้นอย่างแท้จริง สามารถติดต่อสื่อสารหากันได้อย่างง่ายดาย หากต้องการส่งข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องส่งแฟ็กซ์หรือส่งจดหมาย เพียงแค่ส่งอีเมลระบุรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารแล้ว หรือการเห็นหน้ากันผ่านโปรแกรมต่าง ๆ ก็สามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปให้เสียเวลา นับว่าเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้โลกแคบลง ผู้คนสามารถใกล้ชิดกันได้มากขึ้นแม้ว่าจะอยู่คนละมุมโลกก็ตาม


ตัวอย่าง ด้านการติดต่อสื่อสาร

ด้านการติดต่อสื่อสาร


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา

  1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้เรียน
  • 1.1 การศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural)
  • 1.2 เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง เข้าถึงข้อมูลจริง เช่น ภูมิปัญญา (Practicality)
  • 1.3 การเพิ่มทักษะการคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)
  • 1.4 สร้างแรงจูงใจให้มีทักษะในการเขียน มีกิจกรรมห้องเรียนกลับหัว (Flipped Classroom)

ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช

"ฉีกกฎการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ เพิ่มพลังการเรียนรู้ให้เด็กไทย ด้วยห้องเรียนที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง" ดร.วิริยะ ฤาชัยภาณิชย์


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา

  1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้สอน
  • 2.1 การสอนแบบร่วมมือ (Collaborative)
  • 2.2 กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย (Various Strategies)
  • 2.3 พัฒนาหลักสูตร (Course Development)

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา

  1. ประโยชน์ที่มีต่อผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ
  • 3.1 แหล่งข้อมูลความรู้ เหมือนย่อโลกไว้ในจอคอมพิวเตอร์ (World on Screen)
  • 3.2 ข้อมูลที่ทันสมัย ติดต่อ ตรวจสอบข้อมูลได้ทันที (Modern and Validation)
  • 3.3 การพบปะกับสมาชิก (Meeting)

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา

  1. ประโยชน์ที่มีต่อเจ้าหน้าที่
  • 4.1 การจัดการเอกสาร ประหยัดงบประมาณ (Document Management)
  • 4.2 การสื่อสารภายนอกองค์กร (Communication)
  1. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการสื่อสาร
  • 5.1 การสื่อสารกับโรงเรียน กับผู้ปกครอง และครู (School, Home, Teacher)
  • 5.2 กิจกรรมการสื่อสารของผู้เรียน กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้สูงอายุ (Local knowledge)

บริการของอินเทอร์เน็ต [3]

  1. World Wide Web (WWW - เวิลด์ไวด์เว็บ )
  2. Electronic Mail (E-Mail - จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)
  3. Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
  4. Instant Message (Chat - บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต)
  5. Remote Control (Telnet หรือ SSH - ควบคุมระยะไกล)
  6. File Transfer Protocol (FTP - บริการโอนย้ายไฟล์)
  7. Webboard (บริการกระดานข่าว หรือเวบบอร์ด)

1. World Wide Web (WWW - เวิลด์ไวด์เว็บ )

เวิลด์ไวด์เว็บ คือ พื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต มาตรฐานที่ใช้ในเวิลด์ไวด์เว็บ ประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลัก ได้แก่

  1. Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
  2. HyperText Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
  3. HyperText Markup Language (HTML) เป็นตัวกำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
  • โดย องค์กรเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (World Wide Web Consortium: W3C) เป็นผู้พัฒนาและดูแลระบบมาตรฐานหลักและมาตรฐานอื่น ๆ ที่ใช้กันในเวิลด์ไวด์เว็บ

  • ตัวอย่าง URL : http://www.thaiall.com/me/picme.jpg


2. Electronic Mail (E-Mail - จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)

อีเมล หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ วิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ให้มนุษย์สามารถรับส่งข้อมูล ข้อความ หรือสื่อดิจิทัล ซึ่งข้อความต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการอีเมลระดับโลกมี 2 บริษัทใหญ่ที่ได้รับความนิยม คือ gmail.com และ hotmail.com ซึ่งมาพร้อมกับบริการระดับองค์กรในชื่อ G Suite หรือ Microsoft 365

  • สำเนา: Cc (Carbon copy) ใช้ส่งข้อความเดียวกันให้คนอื่น ในอดีตเครื่องพิมพ์ดีดมีกระดาษคาร์บอนใช้ซ้อนในการพิมพ์ทำให้ได้เอกสารที่เป็นสำเนาได้
  • สำเนาลับ: BCc (Blind Carbon copy) จะไม่แจ้งให้ผู้รับทราบว่าส่งไปถึงใครในจดหมายฉบับเดียวกันนั้น

บริการที่เกี่ยวข้องกับอีเมล

  • การตรวจการสะกด (Spelling Check)
  • การแนบแฟ้ม (Attach file)
  • กลุ่มอีเมล (Mail group)
  • การจัดเก็บ (Archive)
  • การตั้งเวลาส่ง (Schedule Send)
  • การป้องกันไวรัส (Antivirus)
  • การจัดประเภท (Star, Label, Flag, Snooze งีบหลับ)
  • การแชทคุย (Send Message หรือ Video call)

3. Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)

  • โปรแกรมที่ออกแบบมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ค้นหาข้อมูล ค้นได้ด้วยการกรอกข้อมูลคำค้น (Keyword) ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงผลให้ทางผู้สืบค้นหาทราบ โปรแกรมสืบค้นจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ ทำให้การค้นหาครั้งต่อไป จะมีข้อมูลมาแสดงทางเลือกให้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว

ผู้ให้บริการที่น่าสนใจ

  1. Google.com - Google LLC
  2. Yahoo.com - Verizon Media แล้วถูก AOL ซื้อปี 2017
  3. Bing.com - Microsoft Corporation
  4. Baidu.com - Baidu, Inc.
  5. TOR : The Onion Browser - Founder: Roger Dingledine

การซ่อนที่อยู่เมื่อเข้าถึงเว็บไซต์ปลายทาง

TOR : The Onion Browser


แนะนำภาพยนตร์ Matrix , Blackhat หรือ Who am i หรือ CSI Cyber

Dark Web , Deep Web , Surface Web


4. Instant Message (Chat - บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต)

ตัวอย่าง Application ที่มีแชทมาพร้อมบริการหลัก

  1. Line
  2. Facebook Messenger
  3. Google Meet
  4. Microsoft Teams
  5. Zoom
  6. Webex

5. Remote Control (Telnet หรือ SSH - ควบคุมระยะไกล)

  • Telnet คือ โพรโตคอลหนึ่งที่เปิดบริการช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ผ่านพอร์ท หมายเลข 23 เชื่อมต่อโดยใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อพิมพ์คำสั่งที่ใช้สำหรับการเข้าถึงโปรแกรมและการบริการต่าง ๆ ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล ราวกับว่านั่งอยู่ตรงข้างหน้าเครื่องนั้น ซึ่งการรับส่งข้อมูลจะไม่มีการเข้ารหัสระหว่างการรับส่งข้อมูล และบริการนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
  • Secure Shell (SSH) คือ โพรโตคอลหนึ่งที่เปิดบริการช่วยให้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ผ่านพอร์ท หมายเลข 23 เชื่อมต่อโดยใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อพิมพ์คำสั่งที่ใช้สำหรับการเข้าถึงโปรแกรมและการบริการต่าง ๆ ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล ราวกับว่านั่งอยู่ตรงข้างหน้าเครื่องนั้น ซึ่งการรับส่งข้อมูลจะมีการเข้ารหัสระหว่างการรับส่งข้อมูล ซึ่งปลอดภัยกว่า Telnet และปัจจุบันบริการ Telnet ถูกแทนที่ด้วย SSH

6. File Transfer Protocol (FTP - บริการโอนย้ายไฟล์)

  • โปรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP คือ โปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้
  • โปรแกรมบริการ FTP ทั้งฝั่ง Server และ Client แบบ Open Source ที่ได้รับความนิยม คือ FileZilla

7. Webboard (บริการกระดานข่าว หรือเวบบอร์ด)

  • เว็บบอร์ด คือ ลักษณะของเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนบทสนทนา การพูดคุย การอภิปรายในสังคมออนไลน์ เว็บบอร์ดอาจถูกเรียนในชื่ออื่น เช่น กระดานข่าว กระดานข่าวสาร กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ กระดานสนทนา กระดานสนทนาออนไลน์ ฟอรัม เว็บฟอรัม เมสเซจบอร์ด บุลลิทินบอร์ด ดิสคัชชันบอร์ด หรือ บอร์ด
  • การติดตั้งบนเครื่องบริการสำหรับการสร้างเว็บบอร์ดมากมาย ที่ใช้ภาษาพีเอชพี และฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล อาทิ phpBB , vBulletin , Invision Power Board (IPB) , SMF (Simple Machines Forum) , YaBB , UseBB , Discuz , PHPWind

ผู้ให้บริการที่น่าสนใจ


ตัวอย่าง การใช้บริการ FTP

Application : Filezilla


ตัวอย่าง การใช้บริการ FTP

Command line


สรุป

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

บริการของอินเทอร์เน็ต


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดคือความหมายของอินเทอร์เน็ต
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตด้านการศึกษา
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตด้านความบันเทิง
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตด้านการค้า
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตด้านการติดต่อสื่อสาร
  • ข้อใดคือประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตต่อผู้เรียน
  • ข้อใดคือประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตต่อผู้สอน
  • ข้อใดคือประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตต่อผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ

งานมอบหมาย

  • ข้อใดคือประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตต่อเจ้าหน้าที่
  • บริการ World Wide Web คืออะไร
  • บริการ E-mail ไม่เกี่ยวกับเรื่องใด
  • บริการ E-Mail ใดเกี่ยวข้องกับ google.com
  • บริการ E-Mail ใดเกี่ยวข้องกับ Microsoft
  • เว็บไซต์ใดไม่ให้บริการ Search Engine
  • เว็บไซต์ใดให้บริการ Search Engine
  • Application ใด ที่ไม่บริการ Chat
  • SSH บริการเกี่ยวกับเรื่องใด
  • Telnet บริการเกี่ยวกับเรื่องใด
  • FTP บริการเกี่ยวกับเรื่องใด
  • เว็บไซต์ใดให้ Webboard อย่างชัดเจน

หน่วยที่ 8 อีคอมเมิร์ซ และอีเลินนิ่ง

อีคอมเมิร์ซ

การประยุกต์ใช้อีคอมเมิร์ซ

อีเลินนิ่ง

การประยุกต์ใช้อีเลินนิ่ง


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจอีคอมเมิร์ซ
  2. เพื่อให้เข้าใจการประยุกต์ใช้อีคอมเมิร์ซ
  3. เพื่อให้เข้าใจอีเลินนิ่ง
  4. เพื่อให้เข้าใจการประยุกต์ใช้อีเลินนิ่ง

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถใช้ประโยชน์จากอีคอมเมอร์ซและอีเลินนิ่ง


อีคอมเมิร์ซ [1]

  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999 : ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce Resource Center)
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998 : องค์กรการค้าโลก World Trade Organization)
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998 : คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific)

อีคอมเมิร์ซ (2/3)

  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997 : องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา The Organisation for Economic Co-operation and Development)

อีคอมเมิร์ซ (3/3)

  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์ และบริการ เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย รวมทั้งกิจการทั่วไป เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. B2B (Business to Business)
  2. B2C (Business to Consumer)
  3. C2C (Consumer to Consumer)
  4. C2B (Consumer to Business)
  5. B2G (Business to Government)
  6. G2C (Government to Consumer)

B2B (Business to Business) (1/6)

  • เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ หรือระหว่างองค์กรกับองค์กร เช่น การจัดซื้อ-จัดจ้าง (Procurement) การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการด้านการชำระเงิน เป็นต้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้สนับสนุน ได้แก่ การจัดการโซ่อุปทาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ องค์กรที่ทำธุรกรรมลักษณะดังกล่าวจะจัดตั้งเป็นกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มธุรกิจการบิน กลุ่มธุรกิจค้าส่ง นำเข้าและส่งออก เป็นต้น
  • OEM (Original Equipment Manufacturer) ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดยโรงงานประเภทนี้จะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ หรือ จะไม่ตีตราก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

B2C (Business to Consumer) (2/6)

  • เป็นการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการ (องค์กร) กับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงาน และเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนที่คล้ายคลึงกับการทำธุรกรรมแบบ B2B
  • เช่น amazon.com หรือ se-ed.com หรือ chilindo.com

C2C (Consumer to Consumer) (3/6)

  • เป็นการทำธุรกรรมค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ในลักษณะการประมูล เรียกว่า “การจัดซื้อจัดจ้างทางอินเทอร์เน็ต (E-Auction)” ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยคนกลางที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกิจกรรมอื่น ได้แก่ การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน การขายสินค้าที่ใช้แล้ว (สินค้ามือสอง) และการรับสมัครงาน เป็นต้น
  • เช่น thaisecondhand.com หรือ ebay.com หรือ kaidee.com

C2B (Consumer to Business) (4/6)

  • เป็นการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ (องค์กร) โดยที่ผู้บริโภคได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ แล้วกระทำธุรกรรมกับผู้ประกอบการ (องค์กร) ในนามของกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ (ไม่ใช่ตัวบุคคล) ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นอำนาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการ
  • เช่น ขายภาพของกลุ่มช่างภาพ shutterstock.com, iStockphoto.com หรือ Pixabay.com

B2G (Business to Government) (5/6)

  • เป็นการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐที่ใช้กันมาก คือ เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Procurement) ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ mahadthai.com
  • เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย mahadthai.com หรือ ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ gprocurement.go.th

G2C (Government to Consumer) (6/6)

  • G2C ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เป็นการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันประเทศไทยให้บริการในหลายหน่วยงาน เช่น การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้น และดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้
  • เช่น rd.go.th หรือ khonthai.com หรือ glo.or.th ปัจจุบันบริการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลลดลงอย่างมาก มีการปรับเพิ่มกฏหมายคุ้มครอง จนมีการประกาศ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

องค์ประกอบของระบบอีคอมเมิร์ซ

  1. สินค้า (Product)
  2. เว็บไซต์ (Website)
  3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Promote/Advertising)
  4. ลูกค้า (Customer)
  5. การชำระเงิน (Payment)
  6. การขนส่ง (Logistic)
  7. ผู้ดูแล (Administrator)

โครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. การบริการทั่วไปแก่ลูกค้าและสมาชิก
  2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
  3. รูปแบบของเนื้อหา
  4. ระบบเครือข่าย
  5. ส่วนประสานกับผู้ใช้

โครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (1/3)

การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีเพื่อใช้เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ โดยแบ่งองค์ประกอบหลักเป็น 5 ส่วน ดังนี้

  1. การบริการทั่วไป เป็นส่วนบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ลูกค้าและสมาชิกที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างความไว้วางใจแก่ผู้ใช้บริการแล้ว ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีให้กับองค์กร ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย และระบบชำระเงิน

โครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (2/3)

  1. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคม ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Interchange: EDI) เว็บเซอร์วิส อีเมล และ แอฟทีพี เป็นต้น

  2. รูปแบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปแบบของเนื้อหาเพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเข้าด้วยกัน แล้วส่งผ่านทางเว็บไซต์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังผู้ใช้บริการได้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมาจากเครื่องมือหรือโปรแกรมภาษาที่ทำงานบนเว็บ เช่น เอชทีเอ็มแอล จาวาสคริปต์ เอ็กซ์เอ็มแอล


โครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (3/3)

  1. ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยระบบเครือข่ายพื้นฐาน ได้แก่ แลน แมน แวน รวมไปถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  2. ส่วนประสานกับผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่านโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ แอพพลิเคชั่นไลน์ แชทต่าง ๆ


การประยุกต์ใช้อีคอมเมิร์ซ [2]

  • ปัจจุบันใครก็สามารถค้าขายออนไลน์ สามารถเข้าถึงอีคอมเมิร์ซได้ทั้งเป็นผู้ขาย และผู้ซื้อได้โดยง่าย ความรุ่งเรืองของร้านอาหารในยุคโควิด-19 ทำให้ GrabFood และ Food panda เติบโตอย่างมาก แม้อัตราค่าบริการที่เก็บจากร้านค้าอาจสูงถึง 30% แต่ก็เปิดโอกาสให้กับร้านค้าที่จะให้ลูกค้าได้สั่งอาหาร จากการเติบโตของการสั่งอาหารออนไลน์ ทำให้ประชาชนเริ่มคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น
  • สินค้าที่ขายในอินเทอร์เน็ต ในกลุ่มเฟส กลุ่มไลน์ lazada, shopee, facebook ที่เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ส่งสินค้า รับเงิน โอนเงิน เก็บเงินปลายทาง ล้วนสะดวกในทุกด้าน บริษัทรับส่งสินค้าเริ่มเป็นที่รู้จัก ที่พบเห็นได้ทุกวัน มีทั้ง Kerry, Flash, J&T, ไปรษณีย์ไทย นิ่มซี่เส็ง ซึ่งบางบริษัทมารับสินค้าจากผู้จำหน่ายถึงหน้าบ้าน ด้วยค่าส่งที่ต่ำมาก หรือบางรายไม่คิดค่ารับสินค้าหน้าบ้าน

Lazada - kbj246

Shopee - kbj246

Facebook - ผ้าขาวม้า


แหล่งจำหน่ายสินค้าออนไลน์

Lazada เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า ที่มีของราคาย่อมเยาว์มากมาย แนะนำ [kbj246](https://www.lazada.co.th/shop/kbj246/)


แผนภาพ e-commerce

องค์ประกอบพื้นฐานของ e-commerce


SEO - Search Engine Optimization

การโปรโมทเว็บไซต์ด้วยการทำ SEO เป็นเทคนิคการทำให้เว็บไซต์ถูกค้นพบได้ง่าย ผ่าน Search Engine เช่น Google.com , Yahoo.com , Bing.com โดยการปรับเนื้อหาในทุกเว็บเพจในเว็บไซต์ ทั้ง Description, Keyword, Design, Content ให้ตรงตามคุณสมบัติที่ Search Engine เห็นว่าดีมีคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องทั้ง SEO On-Page ซึ่งปรับเนื้อหาในเว็บไซต์ และ SEO Off-Page ซึ่งอ้างอิงจาก Backlink ที่มีระดับค่า PageRank สูง แสดงว่ามีความนิยมสูง ในกลุ่มนักเขียน Trueid in-trend ก็คุยเรื่อง SEO กันมาก


อีเลินนิ่ง [3]

  • ความหมายของ อีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
  • อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)

องค์ประกอบของ e-Learning

  1. เนื้อหาบทเรียน (Content)
  2. ระบบการบริหารการเรียน (LMS : Learning Management System)
  3. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
  4. การสอบหรือการประเมินผล (Evaluation)

การสอนแบบใหม่ มีหลากหลายรูปแบบ

  • Future classroom บทที่ 6 ห้องเรียนแห่งอนาคต
  • การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL)
  • การสอนแบบ STEM (Science Technology Engineering and Mathematics Education)
  • การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom : เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน)
  • สอนออนไลน์ (Work From Home/Teaching From Home)
  • เรียนออนไลน์ (Learning From Home)
  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • MOOC (Massive Open Online Course)

การสอนแบบ STEM

  • สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education:STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน
  • การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
  • อ่านเพิ่ม stemedthailand.org

การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กับ การสอนออนไลน์

  • การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) คือ การจัดการเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตนอกห้องเรียน นอกเวลาเรียน ส่วนในห้องเรียนจะเป็นการจัดกิจกรรมอื่น ๆ แทน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้
  • หลักการของ Flipped Classroom คือ การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา บวกกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด การที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจในความรู้บางอย่างอาจมีเวลาไม่พอ ดังนั้น 1) การศึกษาผ่านวีดีโอที่ได้เตรียม/บันทึกไว้แล้ว 2) รวมทั้งการอ่านหนังสือเพิ่มเติม 3) ปรึกษาเพื่อนหรืออาจารย์ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถทำได้ล่วงหน้านอกห้องเรียน 4 ) ส่วนเวลาในห้องเรียน อาจารย์ก็สร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมที่ออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติ อาจารย์ก็เดินสำรวจไปรอบ ๆ ห้อง คอยให้คำแนะนำหลักการที่เข้าใจยาก หรือปัญหาที่ผู้เรียนพบ วิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจความรู้ และเชื่อมโยงในหลักการมากยิ่งขึ้น

F : Flexible Environment คือ มีความยืดหยุ่นของสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้

L : Learning Culture คือ ยกระดับจากวัฒนธรรมการเรียนรู้ในรูปแบบครูเป็นศูนย์กลางแบบดั้งเดิม เปลี่ยนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

I : Intentional Content คือ ผู้สอนต้องทำการบ้านมาอย่างดีเยี่ยม เพื่อที่จะศึกษาและเตรียมเนื้อหา รวมถึงการเตรียมสื่อการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหานั้น ๆ

P : Professional Educator คือ ผู้สอนต้องมีความเป็นมืออาชีพมาก เพราะรูปแบบการเรียนจะเน้นการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล


ห้องเรียนกลับด้าน

ภาพ/ข้อมูลจาก academia.edu / skilllane.com / techno.lru.ac.th / [innohubkku.com](https://www.innohubkku.com/content/12486/)


ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

P21: Learning and Innovation skills - 4Cs

  1. การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Critical thinking)
  2. การสื่อสาร (Communication)
  3. การทำงานร่วมกัน (Collaboration)
  4. การสร้างสรรค์ (Creativity)

เครือข่ายองค์กรความร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  1. ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ซึ่ง Steve Jobs บอกว่า "จงอยู่อย่างหิวโหย และรู้สึกโง่อยู่เสมอ Stay Hungry. Stay Foolish."
  2. ทักษะการคิด (Thinking Skills) มี 2 แบบ คือ 1) คิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) คิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม
  3. ทักษะการทำงาน (Working Skills) ประกอบด้วย ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการใช้เทคโนโลยี
  4. ทักษะชีวิต (Life Skills) - มีแรงบันดาลใจ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เข้าใจผู้อื่น และอยู่ร่วมกับสังคม

21st Century Student Outcomes and Support Systems

อ่านเพิ่ม thaiall.com/futureclassroom : Partnership for 21st Century Skills


84 tools online for teaching and learning

แนะนำ 84 เครื่องมือ โดย [ETS KMUTT](https://web.facebook.com/etskmutt/posts/1072707879772105)


รวมคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี

MOOC : Massive Open Online Course

MOOC คือ รูปแบบการนำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรต่าง ๆ ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ที่รองรับผู้เรียนจำนวนมากได้พร้อมกัน


มาตรฐานและแนวปฏิบัติ 10 มาตรฐานหลัก

มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ

  1. โครงร่างรายวิชา (Course outline)
  2. ความพร้อมของบุคลากร (Lecturer)
  3. การออกแบบการเรียนการสอน (Design)
  4. เนื้อหา (Content)
  5. สื่อการเรียนรู้ (Media)
  6. การสื่อสาร (Communication)
  7. ลิขสิทธิ์และครีเอทีฟคอมมอนส์ (License)
  8. การสนับสนุนผู้เรียน (Training & Support)
  9. ผลการจัดการเรียนรู้ (Learning Outcome)
  10. การปรับปรุงพัฒนา (Development)

10 มาตรฐานหลัก ของ MOOC

[มาตรฐานหลัก](https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/332/Thai-MOOC-%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%99) ของ MOOC


MOOC Sites

แหล่งบริการ MOOC


การประยุกต์ใช้อีเลินนิ่ง [4]

  • แนวโน้มการเรียนการสอนออนไลน์ค่อยพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีหลายเทคโนโลยีที่มีมาให้เลือกใช้ มีนวัตกรรมการศึกษาที่ล้วนให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ แต่การเรียนการสอนออนไลน์กลับกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมไม่รวดเร็วเท่าที่ควร
  • แต่การเข้ามาของโควิด-19 ทำให้การเปลี่ยนไปสอนออนไลน์ ถูกเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือ เปลี่ยนกันแบบทันทีทันใด ด้วยการกำกับดูแลจากภาครัฐ เห็นความสำคัญของสุขภาพเหนือกว่าเสรีภาพ แม้จะมีหลายเสียงแย้งว่าเสรีภาพสำคัญ แต่ด้วยนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและการได้รับการสนับสนุนจากผู้นำประเทศ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่โหมด Lock down และจัดการสอนออนไลน์ในทันที และเห็นได้ชัดว่า ถ้าไม่เลือก Lock down จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้เสียชีวิตก็จะเพิ่มตามอย่างไม่ต้องสงสัย
  • การประยุกต์ใช้อีเลินนิ่งจากเครื่องมือของบริษัทยักใหญ่ 2 ค่ายที่ต้องจับตา คือ Google ที่มาในชื่อ G Suite และ Microsoft ที่มาในชื่อ Microsoft 365 ทำให้นิสิต นักศึกษา นักเรียนในหลายโรงเรียน หลายสถาบันต้องเข้าใช้บริการทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชื่อมกับ Microsoft Teams , Google Meet , Zoom , Webex ที่ใช้สำหรับสอนสด ก็จะเห็นแนวโน้มการเรียนการสอนในอนาคตได้อย่างชัดเจนขึ้น

เครื่องมือสนับสนุนการเรียนออนไลน์


Google Classroom (1/2)

คือ ระบบบริการห้องเรียนออนไลน์ผ่านบริการของ Gmail.com และ G Suite บริการให้เข้าใช้งานได้ทั้งในระดับองค์กร และบุคคล สนับสนุนกิจกรรมในชั้นเรียน ได้แก่ การแชร์เนื้อหาในรูปของแฟ้มเอกสาร คลิ๊ปวีดีโอ หรือสื่อจากอินเทอร์เน็ต มอบหมายงานให้ผู้เรียน แบบทดสอบ คำถาม สามารถจำแนกเป็นหัวข้อตามแผนการสอนได้


Google Classroom (2/2)

คือ เครื่องมือหนึ่งสำหรับสอนออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้มากมาย อาทิ การจัดเรียงหน่วยการเรียนรู้ตามแผนการสอน การมอบหมายงาน การส่งคืน การใช้แบบทดสอบ และการให้คะแนน ที่รองรับผู้เรียนจำนวนมากได้พร้อมกัน ซึ่งระบบการสอนแบบชั้นเรียนไม่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแบบเผชิญหน้า ดังนั้นผู้สอนเลือกเวลาที่จะสอนได้ และผู้เรียนเลือกเวลาที่จะเรียนได้ตามที่ต้องการ และมีแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้สอนหรือเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านเพิ่ม thaiall.com/google/classroom.htm


Google Meet

คือ เครื่องมือหนึ่งสำหรับสอนออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ในแบบการสอนสด ที่สามารถเห็นหน้าทุกคนผ่านวีดีโอ พูดคุยโต้ตอบผ่านไมโครโฟน หรือเข้าร่วมประชุมด้วยเสียง ผู้สอนสามารถบรรยาย ซักถาม โต้ตอบกับผู้เรียน ทุกคนสามารถแชร์เอกสาร สื่อการสอน และแชทในห้องประชุม ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสลับกันนำเสนอผลงาน พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ ซึ่งผู้สอนสามารถควบคุมห้องเรียนได้ เสมือนเรียนในห้องเรียนออฟไลน์ และมีแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้เข้าห้องเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

อ่านเพิ่ม thaiall.com/google/meet.htm


Google Form

คือ ระบบฟอร์มออนไลน์เพื่อบริการผู้สร้างฟอร์มได้ตั้งคำถามแล้วรอรับข้อมูลคำตอบจากผู้ให้ข้อมูล โดยแชร์ลิงค์แบบฟอร์มไปให้ผู้ให้ข้อมูล สามารถสั่งเปิดปิดฟอร์มรับข้อมูลได้ ประยุกต์เป็นแบบสอบถามงานวิจัย หรือแบบทดสอบออนไลน์ได้ มีประเภทของตัวเลือกในแบบฟอร์ม อาทิ คำตอบสั้น คำตอบยาวเป็นย่อหน้า หลายตัวเลือก ช่องทำเครื่องหมาย เลื่อนลง อัพโหลดไฟล์ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บังคับตอบ สลับตัวเลือก ตอบได้หลายครั้ง หรือเฉลยคำตอบหลังทำเสร็จ

อ่านเพิ่ม thaiall.com/google/forms.htm


Google Calendar

คือ เครื่องมือหนึ่งสำหรับช่วยวางแผนการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียน ครอบครัว หรือกิจกรรมส่วนตัว ปฏิทินเสมือนเข็มทิศนำทางชีวิตว่าต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรกับใคร สามารถเชื่อมโยงกับ Gmail.com และ Google Meet ได้อย่างลงตัว มีระบบแจ้งเตือน และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่พลาดทุกกิจกรรมที่วางแผนไว้

ใช้บริการที่ calendar.google.com


Kahoot.com

คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการเกมตอบสนอง (Interactive Quiz Game) เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านเกมแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับเสริมการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียน เป็นเครื่องมือแบบสอบช่วยประเมินผล ผ่านการตอบคำถามในชั้นเรียน ส่งเสริมการเปิดอภิปราย การสำรวจความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ได้แก่ Projector ที่เชื่อมกับคอมพิวเตอร์ของผู้สอน ส่วนผู้เรียนมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน และทุกคนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

อ่านเพิ่ม thaiall.com/quiz/kahoot


Kahoot.com

ห้องเรียนจะมีชีวิตชีวาขึ้น เมื่อใช้ Kanoot


สรุป

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

บริการของอินเทอร์เน็ต


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร
  • บริการแบบ B2B คืออะไร
  • บริการแบบ B2C คืออะไร
  • บริการแบบ C2C คืออะไร
  • เว็บไซต์ใดให้บริการแบบ B2C
  • เว็บไซต์ใดให้บริการแบบ C2C
  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของ e-commerce
  • บริษัทใดไม่ใช่บริษัทรับขนส่งสินค้า

งานมอบหมาย

  • บริษัทใดรับสั่งอาหาร แล้วมาส่งถึงบ้าน
  • เว็บไซต์ใดให้บริการอีคอมเมิร์ซ
  • MOOC ย่อมาจากอะไร
  • MOOC คืออะไร
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของ MOOC
  • Flipped classroom คืออะไร
  • Kahoot ถูกใช้เพื่ออะไร
  • ทักษะทั้ง 4 ใน P21 มีอะไรบ้าง
  • Google Classroom ไม่มีบริการใด
  • Google Meet ไม่มีบริการใด
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Google Form
  • ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Google Calendar

หน่วยที่ 9 การสืบค้นข้อมูล

แหล่งข้อมูล

ผู้ให้บริการข้อมูล

การใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล

ข้อมูลในสื่อสังคม


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจแหล่งข้อมูล
  2. เพื่อให้เข้าใจผู้ให้บริการข้อมูล
  3. เพื่อให้เข้าใจการใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล
  4. เพื่อให้เข้าใจข้อมูลในสื่อสังคม

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้


แหล่งข้อมูล [1]

ประเภทของแหล่งข้อมูล

  1. แหล่งข้อมูลภายใน
  • ค้นหาได้เฉพาะในระบบฐานข้อมูลขององค์กร
  1. แหล่งข้อมูลภายนอก
  • ค้นหาจากระบบฐานข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หรือระบบฐานข้อมูลสาธารณะ

ข้อมูล

  • ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้ และมีความหมาย อาจเกี่ยวข้องกับคน สิ่งของ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ นิยมใช้เป็นส่วนนำเข้าพื้นฐานเพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับช่วยตัดสินใจ และนำเอาไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ตามต้องการ
  • คะแนนสอบเป็นข้อมูล แต่เกรดเป็นสารสนเทศ
  • เกรดแต่ละวิชาเป็นข้อมูล แต่รายงานผลการเรียนประจำภาคเป็นสารสนเทศ
  • เกรดเฉลี่ยแต่ละภาคเป็นข้อมูล แต่รายงานการพ้นสภาพเป็นสารสนเทศ
  • เกรดทั้งหมดเป็นข้อมูล แต่ Transcript และใบรับรองการสำเร็จการศึกษา เป็นสารสนเทศ

แหล่งข้อมูลในอดีตขนาดใหญ่

  • Archive แปลว่า ที่จัดเก็บ
  • Archive.org หรือ Wayback machine คือ เว็บไซต์ที่เก็บข้อมูลเก่า และสื่อที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต โดยรวบรวมหน้าตาเว็บไซต์ ในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำแนกตามปี ตามเดือน ที่ถือเป็นแหล่งสำหรับค้นคว้าข้อมูลเชิงประวัติทางอินเทอร์เน็ต ก่อตั้งโดยมูลนิธิ Internet Archive ที่เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  • http://web.archive.org/web/*/sanook.com

ประเภทของการค้นหาข้อมูล Search Engine

  1. Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง

ช่วยค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เพียงแค่ระบุคำที่ต้องการค้นหาข้อมูล เป็นรูปแบบที่นิยมมาก เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในแบบนี้ เช่น google.com

  1. Subject Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่

ช่วยค้นหาข้อมูลจากการเลือกจากชื่อไดเรกทอรี่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา และสามารถเลือกเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์บ้างได้ทันที เช่น https://dir.sanook.com/

  1. Meta Search Engines การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล

ช่วยค้นหาข้อมูลจากหลาย Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Meta search จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายแหล่งมาใช้แล้วจะแสดงผล เช่น metacrawler.com


Meta search Engines

การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ผ่าน Meta Search


Subject Directories

https://dir.sanook.com


แหล่งข้อมูลผลงานวิชาการเคยอยู่เฉพาะในกลุ่ม (intranet) ปัจจุบันมี thaijo

แต่ละสถาบันมีฐานข้อมูลภายใน เช่น thailis, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(TRF), วช.


ผู้ให้บริการข้อมูล [2]

  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คือ บริษัทที่เปิดให้บริการแก่ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เช่น ไดอัล (Dial) , ดีเอสแอล (DSL = Digital Subscriber Line) , เคเบิลโมเด็ม (Modem) , ไร้สาย (Wireless) หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด (High Speed)
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) เช่น 3BB หรือ CAT หรือ TOT หรือ UIH
  • ศูนย์ข้อมูล (Data Center) เช่น CAT data center หรือ Amazon Web Services (AWS) - Cloud Computing Services
  • ผู้ให้บริการเว็บ (Web hosting) เช่น godaddy.com , z.com , thnic.co.th
  • โดเมนเนม (Domain name) มีตัวอย่างโดเมนเนม เช่น nation.ac.th , sanook.com , thainame.net

z.com

จดโดเมนเนม บริการเว็บโฮสเติ้ง Cloud SSL รับออกแบบเว็บไซต์ SEO Wordpress


ปัญหาหนึ่ง มักมีวิธีแก้ปัญหาหลายวิธี หรือใช่ร่วมกัน เสริมอาชีพหลักได้

ภาพจากเพื่อนปอ ที่ลำพูน เล่าเรื่องทักษะที่จะเป็นนวัตกรรมการซ่อมถัง มีหลายวิธี ที่ส่งเสริมอาชีพได้


แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (1/6)

ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดทำฐานข้อมูลเอกสาร และสื่อในหลายรูปแบบ แล้วเปิดให้บริการสืบค้นทั้งเฉพาะสมาชิก และบุคคลทั่วไป พบว่า International University of Morality, inc. ได้แบ่งปันรายชื่อแหล่งสืบค้นข้อมูล ที่เปิดให้เข้าสืบค้นได้ เมื่อเข้าไปสืบค้นตาม Link ที่แนะนำไว้ พบว่ามี 12 เว็บไซต์ที่น่าสนใจ จึงได้ทดสอบสืบค้น และเขียนสรุปผลการทดสอบมาพอเข้าใจ

https://www.ium-thai.org/blank-18


แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (2/6)

  1. ห้องสมุดออนไลน์สถาบันเกอเธ่ (Goethe) : goethe.de

Onleihe หรือห้องสมุดออนไลน์เป็นบริการของสถาบันเกอเธ่ โดยรวบรวมสื่อดิจิทัลต่าง ๆ กว่า 35,000 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือเสียง ภาพยนตร์ สื่อการเรียนภาษาเยอรมัน นิตยสารและหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เมื่อสมัครและลงทะเบียนเข้าใช้ก็สามารถใช้บริการ Onleihe บนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร (ทั้งระบบ Android และ iOS) ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่มีโฆษณา ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา (burin_ruj:อีเลินนิ่ง)

ตัวอย่างผลการสืบค้น เริ่มจากเข้าไปที่ https://www.onleihe.de/goethe-institut/frontend/ เลือกภาษา English พบว่า หนังสือส่วนใหญ่เป็นภาษาเยอรมัน เลือกประเภทการค้นเป็น eBook บางเล่มมีปุ่ม Reading sample บางเล่มมีปุ่ม Borrow now เมื่อคลิ๊กแล้วจะมีปุ่ม Download และ read now ให้เลือก เช่น คำว่า "icloud" หรือ "computer kids" หรือ "The Binder and the Server" ที่คลิ๊ก Download จะได้แฟ้ม URLLink.acsm ที่ต้องเปิดด้วย Adobe Digital Editions ถ้าคลิ๊ก read now ต้องรอ download แล้วจึงพลิกหนังสืออ่านได้

http://www.thaiall.com/tec/onleihe_icloud.png

http://www.thaiall.com/tec/onleihe_mymedia.png

How to set Adobe Digital Editions to open ebooks automatically - https://help.overdrive.com/en-us/0249.html


แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (3/6)

  1. ห้องสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติมหาสิรินาถ : mahasirinath.com

ค้นหนังสือผ่านระบบ เมื่อพบ เลขหนังสือ ก็สามารถไปยืมที่ ห้องสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติมหาสิรินาถได้ เช่น ค้น “ศีลธรรม” (burin_ruj:อีเลินนิ่ง)

http://www.mahasirinath.com/showresult.asp?tbl=b_book&id=000115

  1. ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : mcu.ac.th

มีฐานข้อมูล OPAC และ อีบุ๊คให้ดาวน์โหลด http://ebook.mcu.ac.th/ เช่น หนังสือพุทธสังคมวิทยา / หนังสือทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง / Guidance and insight from the buddha

http://ebook.mcu.ac.th/?product=ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง

  1. Globethics.net : globethics.net

เข้า Library, Search คำค้นคือ ethics พบหนังสือมากมาย เช่น The Principles of Hindu Ethics คลิ๊กแล้วจะเปิดอ่านได้จาก archive.org แต่มีหลายเล่มที่ลิงค์เสีย เปิดอ่านไม่ได้ เพราะระบบไม่เก็บหนังสือ แต่เก็บการเชื่อมโยง

https://archive.org/details/principlesofhind00magarich/page/n3/mode/2up?view=theater


แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (4/6)

  1. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ชาวพุทธ บริหารงานโดยพุทธธรรมศึกษาสมาคม : buddhistelibrary.org

เมื่อเข้าไปแล้วพบ eBook Library ซึ่งมีรายการหนังสือให้ดาวน์โหลด หรือเข้า Search ก็จะค้นได้ เช่นคำค้น ethics ก็จะพบทั้ง pdf และ mp3

https://www.buddhistelibrary.org/en/thumbnails.php?album=search&keywords=on&search=ethics

  1. Open Library โดย Internet Archive : openlibrary.org

เมื่อ Signup แล้ว Signin เรียบร้อยแล้ว ค้นคำว่า "internet" พบหนังสือ เช่น The Internet for dummies แล้วคลิ๊ก Borrow จะเปิดอ่านได้บน Browser มีหนังสืออีกมากมายที่เปิดอ่านได้ เช่น Internet by Margaret Levine Young หรือ Internet by Timothy J. O'Leary and Linda I O'Leary

https://archive.org/embed/internetfordummi00sanm

https://archive.org/embed/internet0000olea

  1. Online Christian Library : ntslibrary.com

มีเอกสารหลายกลุ่มให้ download หรือแนะนำเว็บไซต์ ที่มี pdf ให้ดาวน์โหลด เช่น Christian PDF Books

http://ntslibrary.com/Christian-PDF-Books.htm

http://ntslibrary.com/online-christian-reference-books.htm


แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (5/6)

  1. Library of World Religions and Faith Traditions : patheos.com

มีข้อมูลในหลายศาสนา เข้า mahayana-buddhism พบเนื้อหาให้คลิ๊กอ่าน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สรุปอย่างกระชับ

https://www.patheos.com/library/mahayana-buddhism

  1. Islamic Library : minhajbooks.com

ค้นตามคำค้นได้ เช่น happiness หรือ god หรือ faith แล้วยังเลือกหนังสือจากรายการแนะนำได้ตามต้องการ เปิดให้ download แฟ้มแบบ pdf หรือแสดง image บน browser

https://www.minhajbooks.com/english/?wrds=happiness

  1. Al Islam : The Official Website of the Ahmadiyya Muslim Community alislam.org

เลือกหนังสือได้ตามชื่อผู้เขียน หรือค้นข้อมูลตามคำค้น เช่น god เปิดอ่านได้หลายแบบ เช่น pdf หรือบน book browser

https://www.alislam.org/book/ten-proofs-for-existence-of-god/


แหล่งสืบค้นข้อมูลห้องสมุด 12 แหล่ง (6/6)

  1. Jewish Virtual Library : A Project of AICE : jewishvirtualibrary.org

ค้นเนื้อหาได้ เช่น "love" หรือชื่อบุคคล จะพบว่ามาจากเอกสารใด แล้วเชื่อมไป amazon.com หรือแหล่งอ้างอิงต้นเรื่อง ระบบคล้าย encyclopedia หรือ wikipedia.org

https://www.jewishvirtuallibrary.org/moses

  1. American Library โดย Internet Archive : archive.org

ใน archive.org หัวข้อ Americana libraries พบว่า เป็นเบอร์ 1 ในกลุ่ม Top และมีรายชื่อ Library ที่เข้าไปดาวน์โหลดหนังสือได้มากมาย แต่ละ Library ก็จะมีห้องสมุดขนาดเล็กในเครือข่ายอีกมาก เช่น California Digital Library มี 193,831 items The Boston Library consortium มี 94,440 items Getty Research Institute มี 60,556 items พบหนังสือ The wonderful wizard of Oz by Baum, L. Frank (Lyman Frank) ใน California Digital Library

เมื่อค้นด้วยคำว่า "The wonderful wizard of Oz" พบถึง 467 รายการ เมื่อเลือก media type พบ 118 รายการ ก็จะพบหนังสือของ Baum, L. Frank (Lyman Frank) อยู่ในรายการผลการสืบค้น

https://archive.org/details/bostonpubliclibrary

https://archive.org/details/wonderfulwizardo00baumiala


ห้องสมุดออนไลน์สถาบันเกอเธ่ Goethe

อ่านหนังสือออนไลน์ แบบ pdf หรือ flip ชวนอ่าน thaiall.com/e-book


แหล่งข้อมูลรูปภาพ (1/3)

  1. google.com
  2. bing.com
  3. tineye.com
  4. yandex.com
  5. freeimages.com
  6. pexels.com แนะนำใน trueid.com
  7. gratisography.com แนะนำใน trueid.com
  8. rawpixel.com แนะนำใน trueid.com

แหล่งข้อมูลรูปภาพ (2/3)

  1. unsplash.com แนะนำใน trueid.com
  2. pixabay.com แนะนำใน trueid.com
  3. gettyimages.com แนะนำใน kahoot.com
  4. shutterstock.com
  5. prepostseo.com
  6. smallseotools.com
  7. duplichecker.com

แหล่งข้อมูลรูปภาพ (3/3)

Shutterstock.com เป็นแหล่งขายภาพ ที่มีภาพสวยมากมาย แนะนำภาพของ [Fotopro_929](https://www.shutterstock.com/th/g/fotopro929)


แหล่งข้อมูลเว็บไซต์

  1. Google.com - Google LLC
  2. Yahoo.com - Verizon Media แล้วถูก AOL ซื้อปี 2017
  3. Bing.com - Microsoft Corporation
  4. Baidu.com - Baidu, Inc.
  5. TOR : The Onion Browser - Founder: Roger Dingledine

แหล่งข้อมูลเฉพาะ

  1. ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลาง - https://www.tci-thaijo.org
  2. เครือข่ายห้องสมุดอุดมศึกษาไทย - https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
  3. รวมข้อมูลประชุมวิชาการ - http://www.conferenceinthai.com
  4. Government open data - http://www.data.go.th
  5. อาร์ไคฟ์เก็บเว็บไซต์ - http://www.archive.org
  6. อักขราวิสุทธิ์ - http://plag.grad.chula.ac.th
  7. วิกิพีเดียร์ - https://www.wikipedia.org
  8. พจนานุกรม - https://dict.longdo.com

เทคนิคการสืบค้นผ่าน google.com (1/2)

  1. ประวัติการสืบค้นในอดีตของเรา http://www.google.com/history
  2. ค้นเฉพาะในเว็บไซต์ที่ระบุ เช่น อั้ม site:sanook.com พบ 32,7000 เว็บไซต์
  3. ค้นตามประเภทไฟล์ เช่น case study filetype:pptx พบ 2 ล้านกว่าเว็บไซต์
  4. ค้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น related:thaiall.com/article/law.htm พบ 46 ไซต์
  5. ค้นด้วยวลี หรือกลุ่มคำ โดยใช้ Double quote เช่น "หางาน ฝึกงาน" พบ 55,800 ต่างกับ หางาน ฝึกงาน พบ 6,670,000 รายการ
  6. ค้นหาภาพ หรือด้วยภาพ ที่ https://images.google.com/ เช่น conceptual framework
  7. ค้นหาแผนที่ ที่ http://www.google.com/maps/ เช่น akibara
  8. ค้นหาวิดีโอ ที่ https://www.google.com/?tbm=vid เช่น move patient
  9. ค้นหาข่าว ที่ https://www.google.com/?tbm=nws เช่น รับทำปริญญาปลอม
  10. ค้นหาหนังสือ ที่ https://www.google.com/?tbm=bks เช่น information technology

เทคนิคการสืบค้นผ่าน google.com (2/2)

  1. ช่วย ตรวจตัวสะกด เช่น "แมวว" หรือ "น่ารากก" เปลี่ยนเป็นที่ถูกต้องอัตโนมัติ หรือ Did you mean: น่ารัก
  2. ใช้ พิมพ์เล็ก หรือพิมพ์ใหญ่ ไม่ต่างกัน เช่น "Thailand" หรือ "thailand" พบพันล้าน
  3. เครื่องหมายอื่นอาจไม่สำคัญมากนัก เช่น @#%^* ) ( =+] [ \

เช่น @บุรินทร์ , #รุจจนพันธุ์ หรือ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

  1. เข้า Settings, Advanced Search จะมีหัวข้อให้เลือกค้นได้อีกมากกว่า

เช่น none of these words:ปลาสวยงาม หรือ region:Thailand

  1. ผลการสืบค้นมีสัญลักษณ์ สามเหลี่ยมคว่ำ คลิ๊กแล้วจะเลือก Cached กับ Similar
  2. ผลของ google.com google.co.th google.co.jp google.com.kr

ค้นผ่าน anonymous proxy server เช่น zend2.com, croxyproxy.com, ninjabrowse.com, torproject.org(Browser)


ผลการค้นภาพ ด้วย "innovation management"

มี 8 ขั้นตอน 1) realization of value 2) future-focused leaders 3) strategic direction 4) culture 5) exploiting insights 6) managing uncertainty 7) adaptability 8) systems approach


การใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล [3]

  1. Google.com - Google LLC
  2. Yahoo.com - Verizon Media แล้วถูก AOL ซื้อปี 2017
  3. Bing.com - Microsoft Corporation
  4. Baidu.com - Baidu, Inc.
  5. TOR : The Onion Browser - Founder: Roger Dingledine
  • TOR คือ บริการที่สร้างขึ้น เพื่อให้สามารถท่องอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่เปิดเผยตัวตน โดย TOR เป็นระบบแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ซึ่งผู้ใช้จะต้องทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายของเครื่องตัวกลางอื่น ๆ ก่อนเชื่อมต่อไปถึงเว็บไซต์เป้าหมาย วิธีนี้ช่วยซ่อนไอพีแอดเดรสจากเว็บไซต์เป้าหมาย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแต่ละเครื่องแบบสุ่ม ทำให้ตามร่องรอยที่แท้จริงไม่ได้

Web Search Marget Share

https://stats.areppim.com/stats/stats_websearchxsnapshot.htm


สิ่งที่ต้องมีก่อนเริ่มต้นสืบค้นข้อมูล

  1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น (Objectives)
  2. เลือกคำค้นที่เหมาะสม (Keywords)
  3. เลือกแหล่งข้อมูลที่ดี (Resources)

โจทย์ฝึกสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน

  1. ค้นหา "ตัวตนของเรา" สรุปมาสั้น ๆ ว่าพบอะไร
  2. ค้นหาว่า ตนเอง ควรทำโครงงานจบ เรื่องอะไร
  3. ค้นหาว่า จะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 1 ภาษา ใช้เวลาเท่าใด (อย่างช้า อย่างเร็ว)
  4. ค้นหาว่า เป้าหมายความสุข ของเราคืออะไร จำแนกเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต หรือ ณ วินาทีนี้
  5. ค้นหาว่า ข้อมูลของท่าน มีอะไรเป็น Hightlight สำหรับเขียน CV / Resume (1p)

การสืบค้นผ่าน Webcrawler

Webcrawler คือ บอตอินเทอร์เน็ตที่ทำงานท่องไปบนเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำดัชนีเว็บ มาจัดทำเป็นผลการสืบค้น หรือเรียกว่า เว็บสไปเดอร์  : web spider


ติดตั้ง java plug-in และ IE Tab ใน chrome

Browser ใหม่ไม่สนับสนุน java และต้องใช้ Puffin Browser บน Android เปิด Flash player


แหล่งสืบค้นผลงานวิชาการ


รวมบทความจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ม.ธุรกิจบัณฑิต

รวมบทความจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ม.ธุรกิจบัณฑิต


ข้อมูลในสื่อสังคม [4]

สังคมออนไลน์ หมายถึง การที่มนุษย์เชื่อมโยงถึงกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านบริการผ่านเว็บไซต์ มีพื้นที่บริการ มีเครื่องมือสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย และสื่อสาร ดังนั้นข้อมูลที่เข้ามาในสื่อสังคมย่อมมีความหลากหลาย ประกอบด้วยภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เนื้อหาข้อมูลในสื่อสังคมจะแตกต่างกันไปตามเป้าหมายของบุคคล กลุ่ม และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา

  • ข้อมูลจากเพื่อน (Friend data)
  • สารสนเทศจากเพื่อน (Friend information)
  • ข่าวปลอม (Fake news)

ประเด็นพบเห็นในสื่อออนไลน์ที่เป็นสื่อทางลบ

  • การแสดงออกด้วยอารมณ์ทางเพศ (Sexuality) มีราคจริต ที่เกิดจากความต้องการทางเพศ ถือว่าเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติประการหนึ่งที่เกิดขึ่นในช่วงชีวิตของคนเรา ที่เป็นสัญชาตญาณในการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์
  • การแสดงออกด้วยอารมณ์รุนแรง (Violence) มีโทสจริต ความก้าวร้าว ฉุนเฉียว เป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่มากเกินไปอาจเข้า กลุ่มอาการจิตเวช

6 จริตของมนุษย์

    1. ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงาม 2) โทสจริต หนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธ 3) โมหจริต หนักไปทางลุ่มหลง 4) สัทธาจริต หนักไปทางเชื่อถือจริงใจ 5) พุทธิจริตหรือญาณจริต หนักไปทางใช้ปัญญา 6) วิตกจริต หนักไปทางชอบคิดมาก (จริต จาก wikipedia.org)

การวิเคราะห์แยกแยะสื่อสร้างสรรค์และสื่อทางลบ

  1. สื่อสร้างสรรค์ เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรม เอื้อเฟื้อและเสียสละ ช่วยพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศของความสงบสุข
  2. สื่อทางลบ เป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงเพื่อทำลายล้าง และตัดสินปัญหาความขัดแย้งด้วยความรุนแรง

หลักในการวิเคราะห์แยกแยะสื่อสร้างสรรค์และสื่อทางลบ

  1. หลักการความจริง และข้อเสนอแนะ (Truth หรือ Suggestion)
  2. หลักการใช้เวลาไตร่ตรอง (Use Time)
  3. หลักการคิดบวก (Positive)
  4. หลักการยุติธรรมในการตัดสิน (Justice)

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งตามการนำมาใช้

  1. Weblogs หรือ Blogs คือ สื่อส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งปันให้บุคคลอื่น ๆ โดยผู้รับสารสามารถเข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นจะเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้
  2. Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายทางสังคมที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม (Social Community) เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านธุรกิจ การเมือง การศึกษา

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งตามการนำมาใช้

  1. Micro Blogging และ Micro Sharing หรือ บล็อกจิ๋ว คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปสำหรับให้ผู้ใช้บริการเขียนข้อความสั้น ประมาณ 140 - 280 ตัวอักษร ที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารแก่กลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ที่นิยมคือ Twitter
  2. Online Video คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
  3. Photo Sharing คือ เว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพโดยผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพ เพื่อนำมาใช้งานได้

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งตามการนำมาใช้

  1. Wiki คือ เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนอาจเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ
  2. Virtual Worlds คือ การสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงไป จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่บรรดาผู้ท่องโลกไซเบอร์ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการอาจเป็นบริษัทหรือองค์การด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ปัจจุบันเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Virtual Worlds ที่ได้รับความนิยม คือ Second life

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งตามการนำมาใช้

  1. Crowd Sourcing มาจาก Crowd ฝูงชน และ Outsourcing ภายนอก คือ เว็บไซต์ที่มีหลักการที่ขอความร่วมมือจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจัดทำในรูปของเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาทั้งทางธุรกิจ การศึกษา รวมทั้งการสื่อสาร โดยดึงความร่วมมือจากเครือข่ายทางสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูลเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ
  2. Podcasting หรือ Podcast มาจาก Pod กับ Broadcasting ซึ่ง POD = Personal On - Demand คือ อุปสงค์หรือความต้องการส่วนบุคคล ส่วน Broadcasting คือ การนำสื่อต่าง ๆ มารวมกันในรูปของภาพและเสียง อีกความหมายหนึ่ง Podcast คือ การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้ดาวน์โหลดไปใช้

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งตามการนำมาใช้

  1. Discuss / Review / Opinion คือ เว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น

การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (1/8)

ชื่อ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) โดย สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ 2561 จำนวน 64 หน้า

  1. พบเนื้อหาหน้า 21
  • เนื้อหา (Content) หมายถึง เรื่องราวต่าง ๆ ที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องการนําเสนอบนหน้าเพจเฟซบุ๊ก (Facebook) เพื่อสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับทราบ รับรู้ให้ความสนใจ/ติดตาม และเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องกับกิจกรรมขององค์กร

การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (2/8)

โดยแยกลักษณะได้ 10 ประเภท ดังนี้ 1) Corporate Movement and Information เป็นการสื่อสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การสื่อสารเรื่องราวขององค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น แนวทางการบริหาร วิสัยทัศน์ศักยภาพ ความรู้ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารขององค์กร 2) Corporate Positioning การบอกเล่าเรื่องราวขององค์กร การกล่าวถึงปริมาณงานความสําเร็จว่ามีมากน้อยเพียงใด 3) Executive Vision เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การให้ความเห็น วิเคราะห์ บทบาทขององค์กรต่อสถานการณ์สภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น บทความ บทสัมภาษณ์ความคิดเห็นเพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพ ความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้บริหารองค์กร


การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (3/8)

  1. Service Value เป็นการแสดงการบริการ การบอกกล่าวหรืออธิบายความโดดเด่นของงานที่ทํา และงานบริการว่ามีอะไรบ้าง ให้แสดงถึงคุณค่า เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารทางด้านกฎหมาย เป็นต้น 5) Communication for Engagement การสื่อสารข้อมูลเพื่อสร้างความผูกพันและความมั่นใจ การสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว รวมถึงหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส 6) Data Research Service and Consultant การให้ข้อมูลข่าวสาร บทวิเคราะห์ และคําปรึกษา การบริการในเชิงวิชาการ เช่น ศูนย์ข้อมูล บทวิเคราะห์ผลการวิจัย โพล งานสรุปค้นคว้าที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รายงานการวิจัย รวมถึงการปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตลอดจนการให้คําแนะนําที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (4/8)

  1. Corporate Agenda การแจ้งกําหนดการที่สําคัญขององค์กร การกําหนดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รายงานกิจกรรม การจัดประชุม การแถลงข่าว ทั้งด้านการบริหาร การบริการ และการจัดกิจกรรม 8) Corporate Connection การแสดงความก้าวหน้าทางเครือข่ายองค์กร ความก้าวหน้าการร่วมมือกับพันธมิตรกับองค์กรอื่น ๆ เช่น ข้อตกลงระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงความสําเร็จ ความคล่องตัว สร้างเครือข่ายและแสดงถึงประโยชน์ที่ได้รับ 9) Expert, Award, Ranking การแสดงให้เห็นถึงการยอมรับความเชี่ยวชาญ การสื่อสารเรื่องราวหรือประเด็นความรู้ความสามารถในเชิงกฎหมาย หรือคุณงามความดี เช่น การได้รับรางวัล การยอมรับในมาตรฐานการรองรับจากหน่วยงาน เป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น 10) Social Content เป็นการสื่อสารประเด็นทางสังคม สร้างการรับรู้และความเข้าใจ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่องค์กรดําเนินการอยู่ เช่น การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กิจกรรมขององค์กรเพื่อสังคม โดยมิใช่การโฆษณาประกาศความดีแต่เป็นการสร้างความตื่นตัว ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับองค์กร สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสร้างความชัดเจนในบทบาทและทิศทางขององค์กรต่อสังคม

การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (5/8)

  1. พบเนื้อหาหน้า 23

  2. สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเรื่องราว เนื้อหา ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวีดิโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่น ๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น

  3. เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) หมายถึง เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าด้วยกัน โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารและรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (6/8)

  1. พบเนื้อหาหน้า 24
  • ข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
  • ข้อดี มี 7 ข้อ ดังนี้ 1) สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 2) สามารถเป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะสามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้หรือตั้งคําถามในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจเข้ามาตอบหรือมีส่วนร่วมได้ 3) สามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว 4) เป็นสื่อในการนําเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น 5) สามารถใช้เป็น สื่อในการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือบริการลูกค้าสําหรับบริษัท และองค์กรต่าง ๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ 6) สามารถช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ ๆ ขึ้น 7) สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้

การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (7/8)

ข้อเสีย มี 7 ข้อ ดังนี้ 1) ช่องทางการให้บริการบางแห่ง อาจจะเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลอาจถูกผู้ไม่หวังดีนําไปใช้ในทางเสียหายหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2) เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดหมายกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 3) เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ขโมยผลงาน หรือ ถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่าง ๆ ของผู้ใช้ให้บุคคลอื่นได้เห็นและแสดงความคิดเห็น


การใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ของภาครัฐ (8/8)

  1. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิก และแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ ดังนั้น อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กําหนดอายุการสมัครสมาชิกหรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้ 5) ผู้ใช้ที่เล่น Social Network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทําให้สุขภาพและสายตาเสียได้ 6) ถ้าผู้ใช้หมกมุ่นและใช้เวลากับสื่อประเภทนี้มากเกินไปอาจทําให้เสียงานได้ 7) เป็นการเสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์

สรุป

แหล่งข้อมูล

ผู้ให้บริการข้อมูล

การใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล

ข้อมูลในสื่อสังคม


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดคือแหล่งข้อมูลภายใน
  • ข้อใดคือแหล่งข้อมูลภายนอก
  • ข้อใดคือความหมายของข้อมูล
  • ข้อใดไม่ใช่ผู้ให้บริการ ISP
  • ข้อใดคือโดเมนเนม
  • ข้อใดไม่ใช่แหล่งสืบค้นภาพ
  • TOR คืออะไร
  • Data.go.th ให้บริการแฟ้มในลักษณะใด

งานมอบหมาย

  • Blog คือข้อใด
  • Social Networking คือข้อใด
  • Micro Blogging มีลักษณะอย่างไร
  • เว็บไซต์ใดให้บริการ Online Video
  • เว็บไซต์ใดให้บริการ Photo sharing
  • ข้อใดมีความหมายตรงกับ Wiki มากที่สุด
  • ข้อใดไม่ใช่ข้อดีของการใช้สื่อสังคมออนไลน์
  • ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการใช้สื่อสังคมออนไลน์
  • Content หมายถึงข้อใด
  • Communication for engagement หมายถึงข้อใด
  • Executive vision หมายถึงข้อใด
  • Corporate Positioning หมายถึงข้อใด

หน่วยที่ 10 ระบบสารสนเทศ

ความหมายของระบบ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ระดับของผู้ใช้สารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของระบบ
  2. เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
  3. เพื่อให้เข้าใจระดับของผู้ใช้สารสนเทศ
  4. เพื่อให้เข้าใจประเภทของระบบสารสนเทศ
  5. เพื่อให้เข้าใจระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถเลือกใช้ระบบสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม


ความหมายของระบบ [1]

  • ความหมายของ ระบบ (System) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า

  • ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกัน ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

  • ระบบ คือ สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (จันทิมา ก๊งหวั่น : ออนไลน์)


ความหมายของระบบ

  • ระบบ คือ สิ่งที่เกี่ยวพันและสัมพันธ์ซึ่งกัน ซึ่งกำหนดวิธีการปฏิบัติให้เป็นเอกภาพ หรือ บรรลุวัตถุประสงค์ (Robbins, Bergman, Stagg, and Coulter)

  • ระบบ คือ กลุ่มของสิ่งที่จัดระเบียบเข้าด้วยกันตามความเกี่ยวเนื่องที่สอดคล้องด้วยหลักวิชาการ หรือหลักธรรมชาติ

  • ระบบ คือ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเป็นการรวมตัวของสิ่งหลายสิ่ง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ร่วมกันทำงานอย่างผสมผสานกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

  • อ่านเพิ่ม


ประเภทของระบบ

  • ระบบ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท
  1. ระบบเปิด (Open system) คือ ระบบที่ต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การ หรือหน่วยงาน อื่น ๆ ในลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ถือเป็นการทำงานขององค์กรที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
  2. ระบบปิด (Close system) คือ ระบบที่ไม่ต้องสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเป็น ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม

ตัวอย่าง ระบบเปิด

ระบบเปิดเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ [2]

  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เครื่องมือ เครื่องจักร ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ที่สามารถมองเห็น และจับต้องได้

  2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ สิ่งที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เนื่องจากเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บในสื่อใดสื่อหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้

  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) กับ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
  • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) แบ่งได้เป็น ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์
  1. บุคลากร (People) คือ ผู้ใช้ (user) หรือผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประโยชน์จากการทำงานจากฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

  2. ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่ถูกจัดเก็บรวบรวม เพื่อใช้ประมวลผล และนำเสนอในรูปสารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ได้

  3. ระเบียบปฏิบัติการ (Procedure) คือ ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ถูกกำหนดโดยผู้บริหาร หรือผู้ใช้งานระบบ


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (People)
  4. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

ส่วนใดเรียกว่าอะไร


การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน

  1. แบบสำเร็จรูป (Packaged หรือ Ready-made software)
  2. แบบว่าจ้างทำ (Customized หรือ Tailor-made Software)
  3. แบบทดลองใช้ (Shareware)
  4. แบบใช้งานฟรี (Freeware)
  5. แบบโอเพ่นซอร์ส (Public-Domain/Open Source)

รวม Software กลุ่ม G Suite

Application


รวม Software กลุ่ม Office 365 (MS Teams)

https://www.itransition.com/blog/office-365-sharepoint-collaboration


ระดับของผู้ใช้สารสนเทศ [3]

1. ระดับสูง (Top Level Management)

  • กลุ่มผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟฟิค และต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันเวลา

2. ระดับกลาง (Middle Level Management)

  • กลุ่มผู้บริหาระดับกลาง มีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศต้องมีการจัดอันดับทางเลือกไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทำนายทิศทางเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ยากกว่าปกติ

3. ระดับต่ำ (Operational Level Management)

  • กลุ่มผู้บริหารระดับล่าง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิต ประกอบสินค้า หรืองานบริการ ที่ไม่ต้องใช้การวางแผนหรือการตัดสินใจที่ต้องใช้สารสนเทศ ข้อมูลที่ได้จากระดับนี้จะถูกนำไปประมวลผลในระดับที่สูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

  • บุคลากรที่ใช้สารสนเทศ ประกอบการตัดสินใจด้านไอที


ระบบอะไรก็เรียก AI แต่อาจไม่ใช่ก็ได้

เสร็จแน่คนรวยมีบัตรคนจน อุตตม สั่งใช้ AI ตรวจ


ระดับของผู้ใช้สารสนเทศ

เปรียบเทียบแหล่งข้อมูลภายใน และภายนอก


ตัวอย่างผู้บริหารระดับสูง Steve Jobs

Ceo บริษัท Apple ผู้ผลิต iphone


ตัวอย่างผู้บริหารระดับสูง Ma Huatung

รวยที่สุดในจีน บริษัท Tencent


ตัวอย่างผู้บริหารระดับสูง Mark zuckerberg

สื่อสังคมที่คนใช้มากที่สุดในโลก facebook.com


ประเภทของระบบสารสนเทศ [4]

  1. ระบบประมวลผลธุรกิจ (Transaction Processing Sysem : TPS)
  2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
  3. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System :EIS)
  4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES)
  5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)
  6. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)

ระบบสารสนเทศสำนักงาน (1/2)

ระบบการจัดการเอกสาร (Document Management System)

  • ระบบการประมวลผลคำ (Word Processing Systems)
  • การจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)
  • ระบบการประมวลภาพ (Image Processing Systems)
  • การทำสำเนา (Reprographics)
  • หน่วยเก็บข้อมูลถาวร (Archival Storage)

ระบบการจัดการข่าวสาร (Message-handling Systems)

  • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
  • ไปรษณีย์เสียง (Voice Mail)
  • โทรสาร (Facsimile)

ระบบสารสนเทศสำนักงาน (2/2)

ระบบประชุมทางไกล (Teleconferencing System)

  • การประชุมด้วยเสียง (Audio Teleconferencing)
  • การประชุมด้วยภาพ (Video Teleconferencing)
  • การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)
  • โทรศัพท์ภายใน (In-house Television)
  • การทำงานทางไกล (Telecommuting)

ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office Support Systems)


ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ [5]

1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System)

  • 1.1 ระบบบัญชีทางการเงิน (Financial Accounting System)

  • 1.2 ระบบบัญชีผู้บริหาร (Managerial Accounting System)


ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ

2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)

  • 2.1 การพยากรณ์ (Forecast)
  • 2.2 การจัดการด้านการเงิน (Financial Management)
  • 2.3 การควบคุมทางการเงิน (Financial Control)

2.3.1 การควบคุมภายใน (Internal Control)

2.3.2 การควบคุมภายนอก (External Control)


ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ

3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)

  • 3.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย
  • 3.2 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
  • 3.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
  • 3.4 ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
  • 3.5 ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขาย
  • 3.6 ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
  • 3.7 ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
  • 3.8 ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ

4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Information System)

5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System)


การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์กรเมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

Changing in organization

  1. เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiently)
  2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย (Distribution)
  3. ใช้ประมวลผลในหน่วยงาน (Data Processing)
  4. เชื่อมโยงพฤติกรรมของคนทุกระดับ (Human behavior)

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อธุรกิจ

Advantage of information technology on Business

  1. ลดความผิดพลาด (Reduce Mistake) ช่วยการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
  2. ลดการใช้แรงงาน (Reduce Labor) ช่วยลดงบประมาณ
  3. ลดการสูญหายของข้อมูล (Reduce Data Loss) ช่วยลดความผิดพลาด
  4. ตอบสนองเร็วขึ้น (Increase Response) ช่วยลดเวลารอคอย

สรุป

ความหมายของระบบ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ระดับของผู้ใช้สารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดคือความหมายของระบบ
  • ระบบเปิดคืออะไร
  • ระบบปิดคืออะไร
  • ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
  • ข้อใดคือซอฟต์แวร์ระบบ
  • ข้อใดคือซอฟต์แวร์ประยุกต์
  • ข้อใดคือองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
  • Shareware คืออะไร

งานมอบหมาย

  • ผู้ใช้สารสนเทศระดับสูงมีลักษณะอย่างไร
  • OAS ย่อมาจากอะไร
  • MIS ย่อมาจากอะไร
  • TPS คืออะไร
  • ข้อใดคือ DSS
  • ข้อใดไม่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศกับงานธุรกิจ
  • ข้อใดไม่ใช่ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
  • ข้อใดไม่ใช่ระบบสารสนเทศด้านการเงิน
  • ข้อใดคือระบบสารสนเทศด้านการตลาด
  • องค์กรเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อนำไอทีมาใช้
  • ข้อใดคือประโยชน์ของไอทีต่อธุรกิจ
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของไอทีต่อธุรกิจ

หน่วยที่ 11 ระบบฐานข้อมูล

ความหมายของระบบฐานข้อมูล

ประโยชน์ของฐานข้อมูล

ลำดับชั้นของข้อมูล

โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของระบบฐานข้อมูล
  2. เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของฐานข้อมูล
  3. เพื่อให้เข้าใจลำดับชั้นของข้อมูล
  4. เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลได้อย่างเหมาะสม


ความหมายของระบบฐานข้อมูล [1]

ระบบฐานข้อมูล (Database system) คือ การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บไว้ในไฟล์เดียวกัน ส่วน DBMS (Database Management System) คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล ที่ใช้สร้างส่วนประกอบของฐานข้อมูล ทำให้สามารถนำเข้า (insert) แก้ไข (update) ลบออก (delete) และ เรียกข้อมูลคืน (select) จากฐานข้อมูล


ระบบฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันมากมี MySQL, SQL server, Oracle

เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลด้วย phpmyadmin


ประโยชน์ของฐานข้อมูล [2]

  1. ลดความซ้ำซ้อน (Redundancy)
  2. เป็นศูนย์กลางเพื่อใช้ร่วมกัน (Accessibility)
  3. ถูกต้องตรงกัน (Integrity)
  4. ปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย (Easy to Update)
  5. ควบคุมความปลอดภัยได้ง่าย (Security)

การจัดการข้อมูล ด้วย vscode ซึ่งเป็น text editor แบบ Open source

ตัวอย่างการใช้ excel ช่วยตรวจจำนวนนิสิตเข้าเรียน ใช้ข้อมูลจาก facebook group


ใน excel พบว่า บาง cell ต้องเปลี่ยนเป็นตัวเลข แต่บางเซลเปลี่ยนไม่ได้

ตัวอักษร NBSP - Non Breaking Space /office


ลำดับชั้นของข้อมูล [3]

การแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล (Hierarchy of Data)

  1. บิต (Bit) เก็บข้อมูลได้ 2 รูปแบบคือ 0 กับ 1
  2. ไบต์ (Byte) โดย 1 Byte เท่ากับ 8 Bit
  3. ฟิลด์ (Field) เก็บข้อมูลเฉพาะเรื่อง เช่น ฟิลด์ของชื่อคน
  4. เรคอร์ด (Record) เก็บข้อมูลเฉพาะรายการ เช่น รายการของเฌอปราง bnk48
  5. ไฟล์ (File) เก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม เช่น ข้อมูลกลุ่มลูกค้า ข้อมูลกลุ่มพนักงาน
  6. ฐานข้อมูล (Database) เก็บข้อมูลเฉพาะแผนก เช่น แผนกบุคคล กับ แผนกขาย

หน่วยวัดความจุข้อมูล

Decimal

  1. Kilobyte = 1000 = 1,000 bytes
  2. Megabyte = 1000 ยกกำลัง 2 = 1,000,00 bytes
  3. Gigabyte = 1000 ยกกำลัง 3 = 1,000,000,000 bytes
  4. Terabyte = 1000 ยกกำลัง 4
  5. Petabyte = 1000 ยกกำลัง 5
  6. Exabyte = 1000 ยกกำลัง 6
  7. Zettabyte = 1000 ยกกำลัง 7
  8. Yottabyte = 1000 ยกกำลัง 8

หน่วยวัดความจุข้อมูล

Binary

  1. Kibibyte = 2 ยกกำลัง 10 = 1,024 bytes
  2. Mebibyte = 2 ยกกำลัง 100 = 1,048,576 bytes
  3. Gibibyte = 2 ยกกำลัง 1000 = 1,073,741,824 bytes
  4. Tebibyte 5. Pebibyte 6. Exbibyte 7. Zebibyte 8. Yobibyte

Joint Electron Device Engineering Council (JEDEC)

  1. Kilobyte = 2 ยกกำลัง 10 = 1,024 bytes
  2. Megabyte = 2 ยกกำลัง 100 = 1,048,576 bytes
  3. Gigabyte = 2 ยกกำลัง 1000 = 1,073,741,824 bytes

หน่วยวัดความจุข้อมูล

หน่วยวัดความจุข้อมูล


รหัสข้อมูล

  • IEC (International Electrotechnical Commission) กำหนดมาตรฐานการเรียกหน่วย เมื่อ ธันวาคม 2541 แยกหน่วยที่เป็นเลขฐาน 2 กับ ฐาน 10 แต่ส่วนใหญ่ก็นิยมเรียกแบบเดิม คือ KB = 1000 bytes และ KiB = 1024 byte หรือ MB = 1,000,000 bytes และ MiB = 1,048,576 bytes
  • รหัสแอสกี (ASCII = American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป 1 ไบต์เก็บอักขระได้สูงสุด 256 แบบ

รหัสยูนิโค้ด (Unicode)

  • เป็นรหัสมาตรฐานที่พัฒนาให้เกํบอักขระได้มากขึ้น รองรับชุดอักขระได้หลายภาษาทั่วโลก และพัฒนาเวอร์ชั่นอย่างต่อเนื่อง เข้ารหัสแบบ UTF-8 นิยมใช้ใน Linux ส่วน UTF-16 นิยมใช้ใน Windows
  • UTF-8 ใช้ 1 Byte สำหรับตัวเลข อักขระไทยใช้ 3 Byte มี Header ขนาด 3 Byte เช่น EF BB BF - E0 B8 81 - 30 เก็บ "ก0" ใช้พื้นที่ 7 Byte ส่วน UTF-16 ใช้ 2 Byte เก็บทั้งตัวเลข และอักขระไทย มี Header ขนาด 2 Byte เช่น FF FE 01 0E 30 00 เก็บ "ก0" ใช้พื้นที่ 6 Byte
  • ทั้ง 2 รูปแบบสามารถบันทึกด้วยโปรแกรม Notepad หรือ ส่งแฟ้มไปเปิดดูรหัสฐาน 16 ที่ hexed.it หรือเปิดด้วย DOSBOX

รหัสยูนิโค้ด (Unicode)

![debug utf8n.txt - unicode.htm]http://www.thaiall.com/digitallogic/utf8_utf16.jpg


Codepage 874 - Thai

Codepage 874 - Thai


โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล [4]

การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล (File Organization)

1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)

  • เช่น เทปแม่เหล็ก เทปกระดาษ

2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/random File Structure)

  • แบบแฮชไฟล์ (Hash File) เป็นการคำนวณหาตำแหน่งแฟ้ม และบันทึกตามตำแหน่งนั้น
  • แบบดัชนี (Indexed File) สร้างแฟ้มดัชนี ที่ประกอบด้วย คีย์ของข้อมูล และตำแหน่งที่เก็บข้อมูล

3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure : ISAM)

  • รวมความสามารถทั้งแบบสุ่ม และแบบเรียงลำดับ
  • โดยเก็บข้อมูลเรียงเป็นลำดับ และบันทึกแบบสุ่ม เช่น การทำงานของฮาร์ดดิสก์

ตำแหน่งข้อมูลทางกายภาพในหน่วยความจำ

ข้อมูลถูกจัดเก็บด้วยเลขฐาน 16 เปิดด้วย Winhex


ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type)

  1. แฟ้มหลัก (Master File) คือ แฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติลูกค้า (Customer master file) แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file)
  2. แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File) คือ แฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลัก เช่น การเพิ่มรายการ (Insert) การลบรายการ (Delete) และการแก้ไขรายการ (Update)

ตารางในระบบฐานข้อมูลจำลอง Northwind

ใน 8 ตาราง บางตารางเป็นแฟ้มหลัก และบางตารางเป็นแฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง


สรุป

ความหมายของระบบฐานข้อมูล

ประโยชน์ของฐานข้อมูล

ลำดับชั้นของข้อมูล

โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ระบบฐานข้อมูลคืออะไร
  • DBMS คืออะไร
  • ข้อใดคือประโยชน์ของฐานข้อมูล
  • ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของฐานข้อมูล
  • ข้อใดเรียงลำดับชั้นของข้อมูลจากเล็กไปใหญ่
  • ข้อใดเรียงลำดับชั้นของข้อมูลจากใหญ่ไปเล็ก
  • ไฟล์คือการรวมกันของสิ่งใด
  • ฐานข้อมูลคือการรวมกันของสิ่งใด

งานมอบหมาย

  • หน่วยวัดความจุข้อมูลใด ใหญ่ที่สุด
  • หน่วยวัดความจุข้อมูลใด เล็กที่สุด
  • 1 Byte เท่ากับ 8 Bit
  • ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Megabyte
  • ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ Kilobyte
  • Header ของแฟ้ม UTF-8 คืออะไร
  • อักขระภาษาไทย ของ UTF-8 ใช้กี่ไบท์
  • อักขระภาษาไทย ของ Codepage 874 ใช้กี่ไบท์
  • ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Sequential File structure
  • ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Indexed file
  • Master file คืออะไร
  • Transaction file คืออะไร

หน่วยที่ 12 การจัดการข้อมูล และการพัฒนาระบบ

การจัดการข้อมูล

คำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล

วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจการจัดการข้อมูล
  2. เพื่อให้เข้าใจคำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล
  3. เพื่อให้เข้าใจวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถเลือกใช้วงจรชีวิตการพัฒนาระบบได้อย่างเหมาะสม


การจัดการข้อมูล [1]

  • ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง
  • ดังนั้น ข้อมูล หมายถึง ตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

ประเภทของข้อมูล

  • ข้อมูลที่เป็นตัวเลข - จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนขณะนี้ และคะแนนของแต่ละคน
  • ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข - การเข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ และความพึงพอใจต่อเครือข่ายนั้น

ฟังก์ชันพื้นฐานของการจัดการข้อมูล

  • การเพิ่มข้อมูล (insert)
  • การลบข้อมูล (delete)
  • การปรับปรุงข้อมูล (update)
  • การเลือกแสดงข้อมูล (select)

RAID (Redundant Array of Independent Disks)

  • RAID (Redundant Array of Independent Disks) คือ เทคโนโลยีสำหรับการสร้าง ลอจิกคอลไดร์ฟ ( Logical Drive) จากกลุ่มของ ฮาร์ดดิสต์ (Physical Drive) หลายตัวที่มาเชื่อมต่อกัน ทำให้ระบบมองเห็น อาเรย์ (Array) หรือ ลอจิกคอลไดร์ฟดังกล่าวเสมือนเป็นฮาร์ดดิสต์ตัวเดียว แต่มีขนาดและความจ ุเพิ่มขึ้น โดยซอฟแวร์ หรือการ์ดควบคุม RAID จะบริการจัดเรียงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของมาตรฐาน RAID แก่ ฮาร์ดดิสต์ทุกตัวที่ต่ออยู่กับอาเรย์นั้น

RAID (Redundant Array of Independent Disks)

RAID ในแต่ละแบบ


คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี

  1. ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
  2. ความทันเวลา (Timeliness) หรือ ข้อมูลที่ทันสมัย (Up to date)
  3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (Completeness)
  4. ความกะทัดรัด (Conciseness)
  5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)
  6. ความต่อเนื่อง (Continuity)

ขั้นตอนที่จำเป็นในการบริหารจัดการข้อมูล

  1. รวมศูนย์ (Centralization)
  2. ผสานเป็นหนึ่ง (Uniqueness)
  3. กำหนดมาตรฐาน (Standardization)
  4. ตรวจสอบ (Verification)
  5. ขจัดความซ้ำซ้อน (Eliminate duplication)
  6. สะสางสิ่งที่ไม่มีคุณภาพ (Clear for Quality)

คำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล [2]

  • Structured Query Language หรือ SQL คือ คำสั่งบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยเฉพาะ Relational Database Management System (RDBMS) เช่น Oracle, MySQL, MariaDB, Microsoft SQL Server, PostgreSQL, IBM DB2, Microsoft Access ซึ่งเราสามารถใช้ SQL command ในการสั่งการ หรือจัดการข้อมูลภายในฐานข้อมูลเหล่านี้ได้

คำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล

  1. การเพิ่มข้อมูล (Insert)
  2. การลบข้อมูล (Delete)
  3. การปรับปรุงข้อมูล (Update)
  4. การเลือกแสดงข้อมูล (Select)
  5. การสร้างตารางหรือฐานข้อมูล (Create)
  6. การลบตารางหรือฐานข้อมูล (Drop)

SQL

//update
$q = "update member set stat=0 where id =5";
$conn = new mysqli("localhost", "root", "", "test") ;
$r = $conn->query ($q) ;
if ($r) $_SESSION["msg"] = "edit : completely";
$conn->close () ;

SQL

//select
$conn = new mysqli ("localhost", "root", "", "test") ;
$r = $conn->query("select * from mem") ;
if (!$r) die("no result") ;
while ($o = $r->fetch_object () ) {
 echo $o->id . $o->stat;
}
http://www.thaiall.com/source

ตัวอย่างคำสั่งจัดการข้อมูล

create table cust (custid int, custname char(20)); 
insert into cust values (1, "tom"); 
insert into cust (custname, custid) values ("dang",2); 
select * from cust; 
delete from cust where custid=1; 
update cust set custname="boy",position="sale" where custid=1and branch="lp"; 
select * from cust order by custname;

ตัวอย่างตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

ตาราง orderm เชื่อมตารางอื่น


วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ [3]

  • วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Life Cycle = SDLC) เป็นโครงร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจ เป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือซอฟต์แวร์ให้สำเร็จ โดยการได้มาซึ่งซอฟต์แวร์อาจจะเป็นโดยการซื้อหรือการจ้างทำหรือการพัฒนาเอง
  • ระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์มีอยู่หลายวิธีการ แต่ละวิธีการมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ตัวอย่างระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยม เช่น โครงสร้างแบบน้ำตก (Waterfall Model) โครงสร้างแบบก้นหอย (Spiral Model) วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบคล่องแคล่วว่องไว (Agile Software Development)

ขั้นตอนในวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ

  1. การวางแผนโครงการ (Project Planning Phase)
  2. การวิเคราะห์ (Analysis Phase)
  3. การออกแบบ (Design Phase)
  4. การนำไปใช้ (Implementation Phase)
  5. การบำรุงรักษา (Maintenance Phase)

แผนผังขั้นตอนการทำโครงงาน

การทำโครงงานทีกรอบเวลา มีเงื่อนไข และมีหัวข้อ


วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบคล่องแคล่วว่องไว (Agile Software Development)

  • Agile Methodology คือ แนวคิดในการทำงาน (ไม่ใช่รูปแบบหรือขั้นตอนการทำงาน) และไม่จำกัดว่าใช้ได้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสายซอฟต์แวร์ (Software) เท่านั้น โดยอไจล์ให้ความสำคัญในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอด เพื่อตอบสนองผู้ใช้งาน

หลักการทำงานแบบอไจล์

  1. เน้นการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคน มากกว่า เครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาช่วย
  2. เน้นทำผลิตภัณฑ์ มากกว่า การทำเอกสาร
  3. เน้นตอบสนองผู้ใช้งาน มากกว่า แค่ทำตามสัญญา
  4. เน้นการปรับปรุงพัฒนา มากกว่า การทำตามแผนที่วางเอาไว้

การใช้งานอไจล์ให้มีประสิทธิภาพ

agile


วงจรชีวิตแบบก้นหอย (Spiral life cycle model)

  • วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยตัวแบบก้นหอย (Spiral Model) คือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สมบูรณ์จำเป็นต้องมีการดำเนินการหลายวงรอบ ทบทวนจนกว่าจะได้ซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์ ในแต่ละรอบมีรายละเอียดกิจกรรมแตกต่างกันไป อาทิ กำหนดแนวคิดความต้องการ กำหนดการดำเนินการ กำหนดความต้องการของแผน สร้างต้นแบบแรก ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ทบทวนแผน พัฒนาต้นแบบ และทดสอบใหม่ ออกแบบในรายละเอียด ทดสอบครั้งสุดท้าย นำไปติดตั้ง และใช้งาน แล้วทบทวนว่าต้องดำเนินการรอบใหม่หรือไม่

  • กิจกรรมหลักมี 4 กิจกรรม หากพบว่าขั้นตอนใดไม่สมบูรณ์ก็จะมีการทบทวน และทำซ้ำ ดังนี้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Determine objectives)
  2. ระบุปัญหา และแก้ไขความเสี่ยง (Identify and resolve risks)
  3. พัฒนาและทดสอบ (Development and test)
  4. วางแผนสำหรับวงรอบต่อไป (Plan the next iteration)

Spiral life cycle model

วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยตัวแบบก้นหอย


ตัวแบบทูน่า

  • ตัวแบบทูน่า (Tuna model) โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550: 21-26) เป็นตัวแบบหนึ่งของการจัดการความรู้ ที่ได้นำมาประยุกต์ และเพิ่มระบบย่อยเข้าไปในแต่ละส่วน ให้เป็นตัวแบบที่ใช้อธิบาย "การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร โดยใช้ตัวแบบทูน่า"

ซึ่งตัวแบบกำหนดเป็น 3 ส่วน

  • ส่วนแรก ส่วนกำหนดทิศทาง (Knowledge Vision)
  • ส่วนที่สอง ส่วนแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน (Knowledge Sharing)
  • ส่วนที่สาม ส่วนสะสม (Knowledge Asset)

ตัวแบบทูน่า

ส่วนแรก ส่วนกำหนดทิศทาง (Knowledge Vision)

  1. วิสัยทัศน์/นโยบาย (Vision)
  2. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (Indicator)
  3. แผนปฏิบัติการ (Plan)
  4. จัดสรรทรัพยากร (Resource)

ส่วนที่สอง ส่วนแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน (Knowledge Sharing)

  1. กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Group Discussion)
  2. วิเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Analysis)
  3. ฝึกใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Practice)
  4. สังเคราะห์ แล้วแบ่งปัน (Synthesis)

ส่วนที่สาม ส่วนสะสม (Knowledge Asset)

  1. รวบรวมความรู้เข้าคลัง (Collection)
  2. จัดการความรู้ (Management)
  3. ประเมินความรู้ (Evaluation)
  4. เผยแพร่ความรู้ (Sharing)

Tuna Model

ทูน่าโมเดล


สรุป

การจัดการข้อมูล

คำสั่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล

วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ข้อใดไม่ใช่ฟังก์ชันพื้นฐานของการจัดการข้อมูล
  • ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
  • ข้อใดไม่อยู่ในวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
  • ข้อใดคือขั้นตอนสุดท้ายของวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
  • Agile มีการทำงานอย่างไร
  • คำสั่งอะไรใช้สำหรับลบข้อมูล
  • คำสั่งอะไรใช้สำหรับเพิ่มข้อมูล
  • คำสั่งอะไรใช้สำหรับปรับปรุงข้อมูล

งานมอบหมาย

  • การลบตาราง หรือฐานข้อมูลใช้คำสั่งอะไร
  • SDLC คืออะไร
  • ข้อใดไม่ใช่วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • ข้อใดคือ Waterfall Model
  • RAID คืออะไร
  • Spiral model คืออะไร
  • ข้อใดคือกิจกรรมใน Spiral model
  • ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมใน Spiral model
  • Tuna model คืออะไร
  • ส่วนหัวของตัวแบบทูน่าคืออะไร
  • ลำตัวของตัวแบบทูน่าคืออะไร
  • ส่วนหางของตัวแบบทูน่าคืออะไร

หน่วยที่ 13 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

ระบบสารสนเทศสำนักงาน

งานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน

การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์

ไมโครซอฟต์เวิร์ด

ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์

ไมโครซอฟต์แอคเซล


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจระบบสารสนเทศสำนักงาน
  2. เพื่อให้เข้าใจงานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน
  3. เพื่อให้เข้าใจการแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์
  4. เพื่อให้เข้าใจไมโครซอฟต์เวิร์ด
  5. เพื่อให้เข้าใจไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์
  6. เพื่อให้เข้าใจไมโครซอฟต์แอคเซล

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติได้


ระบบสารสนเทศสำนักงาน [1]

  • ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ (Microsoft Office) เป็นชุดโปรแกรมสำนักงาน พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และแอปเปิลแม็คอินทอช ไมโครซอฟท์ออฟฟิศยังใช้บริการได้บนระบบเครื่องแม่ข่าย และบริการผ่านหน้าเว็บ (Web Based) ซึ่งรุ่นใหม่ของไมโครซอฟท์ออฟฟิศ จะเรียกว่า ระบบสำนักงาน (Office System) แทนแบบเก่า คือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน (Office Suite)

  • ระบบสำนักงาน จะรวมการทำงานกับเครื่องแม่ข่าย เมื่อ 16 ก.พ.2006 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเรื่อง "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007" ที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าจอการใช้งาน (User Interface) และรูปแบบไฟล์แบบ XML เป็นหลัก รุ่นเสถียรล่าสุด คือ ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ 2007 ซึ่งออกจำหน่าย 30 ม.ค.2550 (2007)


ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ (Microsoft Office)

  1. Microsoft Word (จัดทำรายงาน เขียนจดหมาย)
  2. Microsoft Powerpoint (นำเสนอ)
  3. Microsoft Excel (กระดานคำนวณ)
  4. Microsoft Access (เก็บตาราง ฟอร์ม โมดูล รายงาน)
  5. Microsoft SharePoint Workspace (แบ่งปันเอกสารร่วมกัน)
  6. Microsoft Visio (เขียนแผนภูมิ)
  7. Microsoft Teams (ประชุมออนไลน์ ใช้ในการทำงาน และการศึกษา)
  8. Microsoft 365 ชื่อเดิม Office 365 เปลี่ยนเมื่อ 21 เม.ย.63

แบบของระบบสารสนเทศสำนักงาน

Types of Office Automation System

  1. ระบบจัดการเอกสาร (Document Management System)
  2. ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร (Message-handling System)
  3. ระบบประชุมทางไกล (Teleconferencing)
  4. ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน (Office Support System)

ไมโครซอฟต์แอคเซล

  • ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) คือ โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างแบบสอบถามได้ง่าย มีวัตถุคอนโทลให้เรียกใช้ในรายงานและฟอร์ม สร้างมาโครและโมดูลด้วยภาษาเบสิก เพื่อประมวลผลตามหลักภาษาโครงสร้าง สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นเพียงระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอกเรียกใช้ก็ได้

วิธีรวมแฟ้ม PDF ด้วยโปรแกรม PDF Creator

  1. เปิดแฟ้มแรกด้วย PDF Reader ใดก็ได้ แล้วสั่ง Print ไปที่ PDF Creator
  2. คลิ๊ก Wait - Collect เปิดหน้าต่าง PDFCreator - PDF Print monitor
  3. เปิดแฟ้มที่สองด้วย PDF Reader แล้วทำตามข้อ 1 และ 2
  4. เมื่อเพิ่มแฟ้มจนครบ จะพบรายการแฟ้มที่ Waiting จำนวนตามที่สั่งพิมพ์เข้าไป
  5. คลิ๊ก Combine all บน Tool bar ใน หน้าต่าง PDFCreator - PDF Print monitor
  6. คลิ๊ก Menu bar, Document, Print (Ctrl+P) + Save เป็น PDF

แผนภูมิแกนต์ (Gantt chart)

  • แผนภูมิแกนต์ (Gantt chart) หมายถึง แผนผังคุมกำหนดงาน มักใช้ในด้านการจัดการโครงการในองค์การขนาดใหญ่ ซึ่งมีขั้นตอนซับซ้อน และมีจำนวนมาก โดยจะใช้เป็นเทคนิคเครื่องมือช่วยการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในการดำเนินการ การควบคุม การวางแผน ปรับปรุงที่เหมาะสม เพื่อช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แผนภูมิแกนต์ แสดงถึงปริมาณงานและกำหนดเวลาที่จะต้องใช้ เพื่อให้งานนั้นให้ลุล่วง เป็นแผนภูมิกราฟแท่งที่ประกอบด้วย 2 แกนหลัก คือ แกนนอนแสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ และแกนตั้งแสดงถึงงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำ แท่งกราฟวางตัวในแนวนอน ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน

แผนภูมิแกนต์ (Gantt chart)

การใช้ draw.io วาดแผนภูมิ และเชื่อมกับ [Google drive @nation.ac.th](https://drive.google.com/file/d/1lRka_bmwUOUIB3nqAg7qh46TXJgbbibG/view?usp=sharing)


งานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน [2]

  1. ร่างเอกสาร (Draft) การจัดเตรียมเอกสารก่อนเป็น final paper หรือ full paper มักต้องใช้เวลาในการยกร่างเอกสาร
  2. พิมพ์เอกสาร (Print) การทำให้เอกสารในแบบ soft file ไปอยู่ในรูปของ hard copy
  3. แก้ไขเอกสาร (Edit) การนำเอกสารที่สมบูรณ์มาปรับปรุงให้สมบูรณ์กว่าเดิม
  4. เก็บเอกสาร (Store) (archive.org) การเก็บเอกสารที่สมบูรณ์ไว้ในที่จัดเก็บ
  5. ส่งเอกสาร (Send) การส่งเอกสารถึงกลุ่มเป้าหมายมีหลายวิธี
  6. ค้นเอกสาร (Retrieve) การค้นเอกสารที่จัดเก็บไว้จำนวนมากให้ได้ในเวลาที่รวดเร็ว

5 App ที่มีการเติบโตสูงสุดในช่วงคนไทยเริ่ม Work From Home

อ่านเพิ่มจาก [marketeeronline.co](https://marketeeronline.co/archives/153343) Zoom 828% Skype 215% Google Hangouts Meet 67% * เฉพาะผู้ใช้งานดีแทค 20 มีนาคม 2563


การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์ [3]

  1. กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับงานด้านธุรกิจ (Business)
  • ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing)
  • ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet)
  • ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database)
  • ซอฟต์แวร์นำเสนองาน (Presentation)
  • ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโครงการ (Project management)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting)

การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์

  1. กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับงานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ (CAD: Computer Aided Design)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/Image Editing)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับการตัดต่อวิดีโอและเสียง (Video and Audio Editing)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia Authoring)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บเพจ (Webpage Authoring)

การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์

  1. กลุ่มซอฟต์แวร์สำหรับงานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Communications)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการอีเมล (Electronic mail software)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับท่องเว็บ ( Web browser )
  • ซอฟต์แวร์สำหรับจัดประชุมทางไกล (Video conference)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับส่งข้อความด่วน (Instant messaging)
  • ซอฟต์แวร์สำหรับถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer)

ไมโครซอฟต์เวิร์ด [4]

ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) คือ โปรแกรมประเภท word processor ที่เหมาะสำหรับ การพิมพ์รายงานเอกสาร หรือพิมพ์จดหมาย สามารถใส่เลขหน้า กำหนดส่วนหัวและท้ายกระดาษ หรือหน้าคู่หน้าคี่ได้ ใส่ภาพ แผนภาพ หรือตารางได้ ทำจดหมายเวียนได้อัตโนมัติ เป็นหนึ่งในโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้รุ่นหนึ่งก็ยังสามารถใช้เวอร์ชั่นอื่นได้ เพราะส่วนใหญ่เวอร์ชั่นใหม่จะเปลี่ยนแปลงในลักษณะเพิ่มเติม


MS word Shortcuts

  • Ctrl + A Select all (including text, graphics).
  • Ctrl + B Bold.
  • Ctrl + I Italic.
  • Ctrl + U Underline.
  • Ctrl + C Copy.
  • Ctrl + V Paste.
  • Ctrl + X Cut.
  • Ctrl + F Find.
  • Ctrl + Z Undo.
  • Ctrl + Y Redo.
  • Ctrl + P Open the print dialog.
  • Ctrl + K Insert link.

ตัวอย่าง Macro เปลี่ยนเลขไทยเป็นอารบิก

Sub thaitoarabic()
  For i = 0 To 9
    With Selection.Find
      .Text = Chr(240 + i)
      .Replacement.Text = Chr(48 + i)
      .Wrap = wdFindContinue
    End With
    Selection.Find.Execute Replace:=wdReplaceAll
  Next
End Sub
' http://www.thaiall.com/blog/burin/1496/

ตัวอย่าง Macro พิมพ์ข้อความแล้วบันทึก

Sub Mysave()
    Selection.TypeText Text:="abc" ' พิมพ์ข้อความ
    Selection.TypeParagraph ' เลือกพื้นที่ข้อความ
    ActiveDocument.Save ' กดปุ่ม save
    ChangeFileOpenDirectory "C:\Users\burin\Desktop\"
    ActiveDocument.SaveAs2 FileName:="abc.docx", FileFormat:= _
        wdFormatXMLDocument, LockComments:=False, Password:="", AddToRecentFiles _
        :=True, WritePassword:="", ReadOnlyRecommended:=False, EmbedTrueTypeFonts _
        :=False, SaveNativePictureFormat:=False, SaveFormsData:=False, _
        SaveAsAOCELetter:=False, CompatibilityMode:=14
End Sub

ตัวอย่าง Macro พิมพ์ข้อความแล้วบันทึก

menu bar, view, macro, record macro, stop recording, run


ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์ [5]

  • ไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์ (Microsoft Powerpoint) คือ โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) ที่แบ่งข้อมูลออกเป็นสไลด์ แต่ละสไลด์มีรูปแบบ แผนภูมิ การเคลื่อนไหวของวัตถุ และการเปลี่ยนสไลด์ที่แตกต่างกัน สามารถแทรกคลิ๊ปวีดีโอ เสียง ภาพ แผนภูมิ หรือตั้งเวลานำเสนอได้ เป็นหนึ่งในโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ

ธีม กับ เทมเพลต

  • ธีม (Theme) คือ ชุดของสี ฟอนต์ และเอฟเฟ็กต์เสมือนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ที่นำไปใช้กับสไลด์ของเรา เพื่อเป็นภาพรวมที่มีลักษณะแบบมืออาชีพ และมี Layout หลายแบบอยู่ภายในแต่ละธีมได้ สามารถจัดเก็บ Theme แยกเป็นแฟ้มได้ บน Powerpoint มี Extension คือ .thmx
  • เทมเพลต (Template) คือ ธีมที่รวมถึงเนื้อหาบางอย่างสำหรับวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น งานนำเสนอการขาย แผนธุรกิจ หรือบทเรียนในชั้นเรียน มีเทมเพลตให้ดาวน์โหลดที่ Templates.office.com เช่น Calendar, Brochure, Newletter หรือ Resume สามารถจัดเก็บ Theme แยกเป็นแฟ้มได้ บน Word มี Extension คือ .dotx

ตัวอย่าง Resume Template

เอกสารประวัติย่อ ซึ่ง Resume ไม่ควรเกิน 1 หน้า แต่ CV (Curriculum Vitae) จะมี 2 หน้าขึ้นไป


การใช้ Pandoc เปลี่ยน Markdown เป็น Powerpoint

  • วิธีการหนึ่งในการเตรียมเอกสาร Powerpoint จากข้อมูลแบบ Plain Text คือ การใช้ภาษา Markdown ซึ่งเป็นภาษาสำหรับเตรียมข้อมูลไปเป็นรูปแบบภาษามาร์กอัปหรือหน้าเว็บที่ง่ายต่อการเขียน และแก้ไข แล้วใช้โปรแกรมช่วยแปลง เช่น Pandoc หรือ Marp แปลงเป็น Powerpoint ก็จะได้แฟ้มสำหรับนำเสนอ ที่นำไปปรับแก้ หรือเปลี่ยน Theme .thmx ได้โดยง่าย ซึ่งการใช้งาน pandoc นั้น ก็เพียงแต่ unzip แล้วใช้แฟ้ม pandoc.exe ได้ทันที
DOS > pandoc tec_all.md -o tec_all.pptx

ส่วนต่าง ๆ บน ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์

http://www.thaiall.com/office/2010/ppt_layout.jpg


ไมโครซอฟต์แอคเซล [6]

  • ไมโครซอฟท์เอ็กเซล (Microsoft Excel) คือ โปรแกรมประเภทตารางการคำนวณ (สเปรดชีต = spread sheet) ใช้สำหรับจัดการและคำนวณข้อมูลในรูปแบบตารางที่แบ่งออกเป็น row และ column และอ้างอิง cell มาคำนวณได้ เป็นหนึ่งในโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ สามารถทำกราฟ แผนภูมิเพื่อแสดงผลข้อมูลจากตารางข้อมูล สามารถใช้ฟังก์ชันทางสถิติ เช่น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฟังก์ชันทางการเงิน เช่น การคำนวณค่าปัจจุบัน หรืออนาคต เป็นต้น
  • โปรแกรมตารางงาน หรือ กระดานคำนวณ (Spread Sheet) เคยเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่อยู่ในหลักสูตรคอมพิวเตอร์เบื้องต้นที่ข้าราชการต้องผ่านการอบรมเพื่อขอเลื่อนขั้น โปรแกรมมีความสามารถเป็นตารางที่คำนวณตามเซล (Cell) ที่ยืดหยุ่น ใช้งานง่าย รองรับการเขียนมาโคร หรือเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลได้หลากหลาย ตัวอย่างฟังก์ชันที่ใช้คำนวณผลการเรียน และตัดเกรด

11 ฟังก์ชันน่าสนใจใน Excel

SUM เพื่อบวกค่าในเซลล์

เช่น =SUM(A1:A3)

ผลลัพธ์ คือ หาผลรวมของ A1 ไปถึง A3

IF เพื่อส่งกลับค่าหนึ่งค่า ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง และอีกหนึ่งค่าถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ

เช่น =IF(A5>=80,"A",IF(A5>=70,"B",IF(A5>=60,"C",IF(A5>=50,"D","F"))))

ผลลัพธ์ คือ แสดง A หากค่าใน A5 มากกว่าหรือเท่ากับ 80

LOOKUP เพื่อนำค่าจากแถวหรือคอลัมน์หนึ่ง ไปค้นหาค่าจากตำแหน่งเดียวกันในแถวหรือคอลัมน์ที่สอง

เช่น =LOOKUP(F1,A1:A10,C1:C10)

หรือ =LOOKUP(A23,{1,2,3,4,5;"a","b","c","d","e"})

ผลลัพธ์ คือ แสดง b เมื่อ A23 มีค่าเป็น 2 หรือเป็น d เมื่อ A23 มีค่าเป็น 4

VLOOKUP เพื่อค้นหาสิ่งต่าง ๆ ในตารางหรือช่วงตามแถว โดยกำหนดตำแหน่งของผลลัพธ์ได้

เช่น =VLOOKUP(E1,A1:C10,3)

ผลลัพธ์ คือ แสดงค่าจาก C5 ถ้าค่าใน E1 ตรงกับ A5 จำลองว่า A1 คือรหัส A2 คือชื่อ A3 คือเงินเดือน และ E1 คือคำค้น

MATCH เพื่อค้นหารายการที่ระบุในช่วงของเซลล์ต่าง ๆ จากนั้นจะส่งกลับตำแหน่งสัมพันธ์ของรายการดังกล่าวในช่วงนั้น

เช่น =MATCH(C1,A1:A10) [b => 2]

ผลลัพธ์ คือ แสดง 2 ถ้าค่า character ใน C1 เป็น b ที่ตรงกับใน A2


11 ฟังก์ชันน่าสนใจใน Excel

CHOOSE เพื่อเลือกค่าใดค่าหนึ่งจาก 254 ค่าตามหมายเลขดัชนี

เช่น =CHOOSE(A1,"a","b","c","d") [3 => c]

ผลลัพธ์ คือ แสดง d ถ้าค่าเลขใน A1 เป็น 4

FIND เพื่อค้นหาสตริงข้อความหนึ่งภายในสตริงข้อความที่สอง และส่งกลับตัวเลขที่เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของสตริงข้อความแรก

เช่น =FIND(A3,"abcdefghi") ["ef => 5"]

ผลลัพธ์ คือ แสดง 5 เพราะ A3 มี e ตัวแรก และอยู่ตำแหน่งที่ 5

INDEX เพื่อส่งกลับค่าหรือการอ้างอิงไปยังค่าจากภายในตารางหรือช่วง

เช่น =INDEX({"1","2","3";"a","b","c"},B1,A1) [B1=rows, A1=column]

ผลลัพธ์ คือ แสดง c ถ้า B1=2,A1=3 และแสดง 2 ถ้า B1=1,A1=2

DATE เพื่อส่งกลับเลขลำดับต่อเนื่องที่แสดงถึงวันที่หนึ่ง ๆ

เช่น =DATE(2016,3,28 + A1) [2016-4-1]

ผลลัพธ์ คือ แสดง 2016-3-30 ถ้าค่าใน A1 มีค่าเป็น 2 และ cell type ปัจจุบันเป็น Date

DATEDIF เพื่อคำนวณจำนวนวัน เดือน หรือปี ระหว่างวันที่สองวัน

เช่น =DATEDIF(DATE(2016,3,28),B1,"D") [2]

ผลลัพธ์ คือ แสดง 2 วัน ถ้าพิมพ์ 30 มี.ค.2016 ใน B1 และ cell type ปัจจุบันเป็น Number หรือ General

DAYS เพื่อส่งกลับจำนวนวันระหว่างวันที่สองวัน

เช่น =DAYS(B1,DATE(2016,3,28)) [1]

ผลลัพธ์ คือ แสดง 2 วัน ถ้า B1 มีค่า 30 march 2016 ใช้ฟังก์ชันนี้ได้บน Microsoft 365 หรือ Excel 2013 ขึ้นไป


2 เทคนิคประมวลผลคะแนนสอบออนไลน์ใน Sheet อ้างอิงจากคำตอบของคุณครู

การใช้ if กับ sum ตรวจคำตอบที่ครูทำคนแรก จึงต้องใช้ $ ล๊อกบรรทัด


สรุป

ระบบสารสนเทศสำนักงาน

งานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน

การแบ่งกลุ่มซอฟต์แวร์

ไมโครซอฟต์เวิร์ด

ไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยท์

ไมโครซอฟต์แอคเซล


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ คืออะไร
  • โปรแกรมใดอยู่ในชุดไมโครซอฟท์ออฟฟิศ
  • โปรแกรมใดไม่อยู่ในชุดไมโครซอฟท์ออฟฟิศ
  • Microsoft Word ใช้สำหรับงานแบบใด
  • Microsoft Excel ใช้สำหรับงานแบบใด
  • Microsoft Powerpoint ใช้สำหรับงานแบบใด
  • กิจกรรมใดไม่อยู่ในแบบของระบบสารสนเทศสำนักงาน
  • Gantt chart คืออะไร

งานมอบหมาย

  • งานใดเป็นงานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน
  • งานใดไม่เป็นงานเกี่ยวกับเอกสารในสำนักงาน
  • ซอฟต์แวร์ใดอยู่ในกลุ่มงานด้านธุรกิจ
  • ซอฟต์แวร์ใดอยู่ในกลุ่มงานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย
  • ซอฟต์แวร์ใดอยู่ในกลุ่มงานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
  • ใน Word มี Shortcut Ctrl + X หมายถึงอะไร
  • ใน Word มี Shortcut Ctrl + Y หมายถึงอะไร
  • ใน Word มี Shortcut Ctrl + Z หมายถึงอะไร
  • ใน Word มี Shortcut Ctrl + K หมายถึงอะไร
  • Theme ใน Microsoft Powerpoint คืออะไร
  • Template ใน Microsoft Word คืออะไร
  • ฟังก์ชัน Sum ใน Microsoft Excel มีหน้าที่อะไร

หน่วยที่ 14 คุณธรรมจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม

จริยธรรมทางเทคโนโลยี

การป้องกันและรักษาความปลอดภัย


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
  2. เพื่อให้เข้าใจจริยธรรมทางเทคโนโลยี
  3. เพื่อให้เข้าใจการป้องกันและรักษาความปลอดภัย

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถประพฤติตนตามกรอบคุณธรรมจริยธรรม


ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม [1]

  • คุณธรรม (Moral) คือ ความดีงามในจิตใจ
  • จริยธรรม (Ethics) คือ พฤติกรรมที่แสดงออก และรับรู้ได้เป็นรูปธรรม
  • จรรยาบรรณ (Ethics) คือ พฤติกรรมที่ถูกเขียนมาเป็นลายลักษณ์อักษร และประกาศให้ยึดเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
  • กฎหมาย (Law) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

ศีล 5

  1. พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์
  2. พึงละเว้นจากการลักทรัพย์
  3. พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
  4. พึงละเว้นจากการพูดเท็จ
  5. พึงละเว้นจากการดื่มสุรา

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือ พรหมวิหาร 4

29 พฤษภาคม 2563 เกิดการประท้วงที่ตำรวจทำเกินกว่าเหตุต่อชายผิวสี


ค่านิยม 12 ประการ

  1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
  8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

เพลง ค่านิยม 12 ประการ

http://www.thaiall.com/gif/12_core_values/


ความสุข (1/2)

  • ความสุข คือ ความสบายที่ทุกคนปรารถนา แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ ความสุขทางกาย และความสุขทางใจ แต่ทั้ง 2 แบบไม่อาจแบ่งแยกกันโดยเด็จขาดต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน
  • ความหมายของความสุขทางกาย ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และผิวหนัง เรียกว่า กามคุณ 5 หรือความสุขที่เกิดจากเนื้อหนังมังสาอันเป็นสิ่งสกปรก

ความสุข (2/2)

  • ความหมายของความสุขทางใจ ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากจิต คือ ความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความพอใจ อันเกิดจากจิตใจที่สงบและเย็น อันเป็นความสุขที่สะอาดเป็นความสุขที่แท้จริง

จรรยาบรรณ

  • จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างที่กำหนดขั้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเกิดเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 771)

จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาล (1/2)

  • เป็นการประมวลหลักความประพฤติให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
  1. พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
  2. พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
  3. พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ถูกกระทำการที่อาจเกิดจากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
  4. พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย

จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาล (2/2)

  1. พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
  2. พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือ ยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
  3. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
  4. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
  5. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
  6. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ
  7. พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่น ๆ ในสังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคมสำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้

หลักสูตรหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (1/2)

  • บทที่ 1 วิวัฒนาการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • บทที่ 2 การวิจัยและหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • บทที่ 3 ความยินยอม (Informed consent)
  • บทที่ 4 ความเสี่ยงและประโยชน์
  • บทที่ 5 ความยุติธรรม

หลักสูตรหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (2/2)


จริยธรรมไทย (1/2)

  1. ความมีเหตุผล (Rationality)
  2. ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
  3. ความอุตสาหะ หรือการมีความตั้งใจแน่วแน่ (Resolution)
  4. ความเมตตากรุณา (Compassion)
  5. ความเสียสละ (Sacrifice)
  6. ความสามัคคี (Cooperation)
  7. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
  8. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude)
  9. ความประหยัด (Moderation)
  10. ความรู้จักพอ (Satisfaction)

จริยธรรมไทย (2/2)

  1. ความมีสติสัมปชัญญะ (Awareness)
  2. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
  3. ความยุติธรรม (Fairness)
  4. ความอดทนอดกลั้น (Endurance)
  5. ความเคารพนับถือผู้อื่น (Consideration)
  6. ความไม่เห็นแก่ตัว (Selflessness)
  7. ความถ่อมตัว (Modesty)
  8. ความกล้าทางคุณธรรม (Courage)
  9. ความเคารพตนเอง (Self-respect)

กฎหมาย

  • กฎหมาย (Law) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
  • การนิยามความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามแนวความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความต้องการของประชาชนในสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้ จากความหมายของกฎหมายข้างต้น สามารถ จำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4 ประการ คือ
  1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ หมายความว่า กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้
  2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล ความประพฤติในที่นี้ ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ ซึ่งความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้น ต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และต้องกระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ
  3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ กฎหมายจะมีสภาพบังคับเพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้น โดยสภาพบังคับของกฎหมายมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายและสภาพบังคับที่เป็นผลดี
  4. กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน เนื่องจากปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เป็นต้น การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีกระบวนการที่แน่นอน

ที่มาของกฎหมาย

  • ที่มาของกฎหมายหรือบ่อเกิดของกฎหมาย หมายถึง รูปแบบการแสดงออกซึ่งกฎหมาย สำหรับกฎหมายไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil law) กฎหมายมีที่มา 3 ประการ คือ
  1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร หมายถึง กฎหมายที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติของบุคคล และประกาศให้ราษฎรทราบ สำหรับประเทศไทย โดยปกติกฎหมายได้ประกาศให้ราษฎรทราบในราชกิจจานุเบกษา
  2. จารีตประเพณี หมายถึง ทางปฏิบัติหน้าที่ประพฤติสืบต่อกันมาในสังคมหนึ่ง จนกลุ่มคนในสังคมนั้นมีความรู้สึกร่วมกันว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพราะมีผลผูกพันในฐานะเป็นกฎหมาย จารีตประเพณีสามารถใช้ในฐานะบทสำรอง ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ก็นำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายไทยจารีตประเพณีมีทั้งที่บัญญัติไว้และมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร
  3. หลักกฎหมายทั่วไป หมายถึง หลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หลักกฎหมายทั่วไปจึงมีลักษณะกว้างกว่าหลักกฎหมายธรรมดา กว้างกว่าบทบัญญัติกฎหมาย เมื่อหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักที่กว้างมาก ผู้ที่มีหน้าที่ในการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปก็คือผู้พิพากษาในฐานะศาลซึ่งจะค้นหาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้บังคับในระบบกฎหมาย

จริยธรรมทางเทคโนโลยี [2]

  • จริยธรรมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics of information technology using) = PAPA (Richard Mason อ้างอิงใน O'Brien 1996:599) # หรือ จริยธรรมกับสังคมยุคสารสนเทศ

จริยธรรมทางเทคโนโลยี (PAPA)

  1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
  2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
  3. ความเป็นเจ้าของ (Intellecture Property)
  4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)

มีสิทธิในข้อมูลของตนที่จะเปิดเผย หรือแบ่งปัน เช่น ใครจะเห็นโพสต์ของเรา


2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)

รักษาให้ข้อมูลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และผ่านการตรวจสอบก่อนนำไปใช้ ดังนั้นก่อนแชร์จึงต้องตรวจสอบก่อน


3. ความเป็นเจ้าของ (Intellecture Property)

สิทธิในการถือครองทรัพย์สินไม่ให้ถูกละเมิด หรือมีสิทธิกำหนดการเผยแพร่ : copyright, shareware, freeware


4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

สิทธิการเข้าถึงมีหลายแบบ อาทิ เพิ่ม ลบ แก้ไข และต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น user & password


พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (1/5)

  • เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๒๖ ที่ ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับ ... มีประเด็นมากมายห้ามบันทึกไว้
  • PDPA ( Personal Data Protection Act ) มีผลบังคับใช้วันที่ 27 พ.ค.2563 มีรายละเอียดใน ราชกิจจานุเบกษา
  • องค์กรคุณพร้อมหรือยัง ใช้ PDPA พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

ข่าวปลอม (Fake News)

  • ข่าวปลอม เท่ากับ Misinformation ซึ่งข่าวปลอมไม่ได้ หมายถึง เฉพาะข่าวที่ไม่จริงเท่านั้น แต่รวมถึงข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงด้วย
  • เช่น มีเว็บไซต์ใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกับชื่อเว็บไซต์จริงในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) นั้น ทางธนาคารกรุงไทยได้ชี้แจงว่า การลงทะเบียนจะทำผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น ตรวจพบการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ (Domain name) ที่คล้ายคลึงกับชื่อเว็บไซต์จริงของโครงการจำนวนมาก เช่น เราไม่ทิงกัน.com เราไม่ทิ่งกัน.com เราไม่ทิ้งกัน.net เป็นต้น จึงขอให้ตรวจสอบให้ดี ป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี

การตรวจสอบข่าวปลอม

  1. ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูล เช่น สำนักข่าว หน่วยงาน หรือชื่อผู้ให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือจากหลายแหล่ง
  2. ตรวจสอบแหล่งข้อมูลอื่นประกอบ เช่น หน่วยราชการหรือหน่วยงานที่น่าจะเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลนั้น เพื่อยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง
  3. ตรวจสอบหาต้นตอของข่าว บางครั้งข่าวเท็จอาจเป็นข่าวเก่าที่เคยเกิดขึ้นแล้ว หรือใช้ข้อมูลจากข่าวเก่ามาเล่าใหม่ เพื่อให้เกิดความแตกตื่นหรือเพื่อประโยชน์แอบแฝง
  4. ตรวจสอบด้วยการสอบถามผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นโดยตรง หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น รายการชัวร์ก่อนแชร์ โดย สำนักข่าวไทย อสมท.

www.เราไม่ทิ้งกัน. com มีเว็บเดียว ที่เหลือ ปลอม

[44 เว็บไซต์​](https://www.antifakenewscenter.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%8C-44-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84/) เชิญชวนประชาชน​ลงทะเบียน รับเงิน​ 5,000 บาท​ เยียวยา​ COVID-19


Hoax

จดหมายลวง หรือข่าวลวง หรือไวรัสหลอกลวง หรือ โฮแอ็ค (Hoax) เป็นคำที่มักนำมาพูดในหัวข้อไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ การแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่จริง ผู้ส่งต่อคือผู้ติดไวรัสหลอกลวง เมื่อเกิดขึ้นก็จะติดต่อ และแพร่กระจายได้เร็ว โดยเฉพาะยุคก่อนสื่อสังคม โฮแอ็คจะรู้จักกันมากและแพร่กระจายผ่านอีเมล อาทิ ได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่าผู้ให้บริการอีเมลจะปิดบริการ หากต้องการให้บริการนี้อยู่ต่อ ให้ส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังเพื่อนอีก 20 คน เพื่อเป็นข่าวสารย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการและจะยังให้บริการต่อไป โดยโฮแอ็คเป็นไวรัสที่ติดคน ถ้าคนเชื่อก็จะส่งต่อไปเรื่อย ติดต่อเนื่องกันไป ลักษณะการกระจายข่าวหลอกลวงแปรผันกับความอ่อนไหวในประเด็นของผู้ติดไวรัส


มะพร้าว 3 ลูก กับ บุ๋ม ปนัดดา

หนุ่มนครศรีฯยอมติดคุก ขโมยมะพร้าวอ่อน 3 ลูกให้เมียท้อง 5 เดือน


บิกบัคบันนี ในชื่อเล่นว่า Peach

Big Buck Bunny tells the story of a giant rabbit with a heart bigger than himself. When one sunny day three rodents rudely harass him, something snaps... and the rabbit ain't no bunny anymore! In the typical cartoon tradition he prepares the nasty rodents a comical revenge.


การป้องกันและรักษาความปลอดภัย [3]

  • การป้องกัน (Protection)

การป้องกัน คือ การเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อตัวเองในเหตุการณ์ร้าย เช่น กำลังโดนทำร้ายด้วยการ ทุบตี ของมีคม และอาวุธต่าง ๆ ก็ต้องหาวิธีป้องกัน เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย

  • การรักษาความปลอดภัย (Security)

การรักษาให้ความปลอดภัยแก่ที่สงวน อาคาร และสถานที่ของส่วนราชาการ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่และเอกสารในอาคารสถานที่นั้น ให้พ้นจากการโจรกรรม การจารกรรม และการก่อวินาศกรรม หรือเหตุการณ์อื่นที่อาจจะทำให้สถานที่ที่ได้รับมอบหมายเสียหาย


Windows Defender

  • วินโดวส์ดีเฟนเดอร์ เดิมชื่อ Microsoft AntiSpyware คือ โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อป้องกัน กักกัน (Quarantine) และลบสปายแวร์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปัจจุบันติดตั้งมาพร้อม Windows 10

Defender Security Center

Antivirus บน Windows 10 และเชื่อมโยงกับ Office ใช้ไม่ได้


10 โปรแกรมแอนตี้ไวรัส #

  1. Bitdefender Antivirus
  2. Norton Antivirus
  3. Kaspersky Antivirus
  4. NOD32 Antivirus
  5. McAfee Antivirus ข่าว John McAfee ผู้ก่อตั้งบริษัท

10 โปรแกรมแอนตี้ไวรัส

  1. Avira Antivirus
  2. Trend Micro Antivirus
  3. Panda Antivirus
  4. Avast Antivirus
  5. AVG Antivirus

Window Defender Antivirus บน Windows 10


ผลการจัดอันดับ Antivirus

False Positives คล้าย [10th Man โดย Mossad agent](https://awealthofcommonsense.com/2013/09/10th-man-rule-world-war-z/) ใน World War Z


คุณสมบัติของโปรแกรมป้องกันไวรัส

  1. Real-time Scanning - ตรวจพบทันทีที่ไวรัสทำงาน
  2. Automatic Updates - ปรับปรุงรองรับไวรัสตัวใหม่
  3. Protection for Multiple Apps - ป้องกันหลายโปรแกรมได้พร้อมกัน
  4. Auto-Clean - ฆ่าไวรัสอัตโนมัติ
  5. Fights Against All Types of Malware - สู้กับไวรัสได้ทุกรูปแบบ

สรุป

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม

จริยธรรมทางเทคโนโลยี

การป้องกันและรักษาความปลอดภัย


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • คุณธรรมคืออะไร
  • จริยธรรมคืออะไร
  • จรรยาบรรณคืออะไร
  • ข้อใดไม่อยู่ในหลักศีล 5
  • ข้อใดไม่อยู่ในพรหมวิหาร 4
  • ข้อใดไม่อยู่ในหลักค่านิยม 12 ประการ
  • จรรยาบรรณคืออะไร
  • ข้อใดไม่ใช่จริยธรรมไทย

งานมอบหมาย

  • ข้อใดคือลักษณะของกฎหมาย
  • ข้อใดคือจารีตประเพณี
  • ข้อใดไม่อยู่ในหลัก PAPA
  • ข้อใดไม่อยู่ในหลัก PDPA
  • PAPA คืออะไร
  • PDPA คืออะไร
  • เราไม่ทิ้งกัน.com บริการเกี่ยวกับอะไร
  • Hoax คืออะไร
  • คลิ๊ป Big Buck Bunny ต้องการสื่อเรื่องใด
  • กิจกรรมใดเรียกว่า Protection
  • Windows Defender คืออะไร
  • โปรแกรมใดไม่ใช่โปรแกรมแอนตี้ไวรัส

หน่วยที่ 15 กฎหมาย และภัยคุกคาม

กฎหมายลิขสิทธิ์

กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต


วัตถุประสงค์การเรียน

  1. เพื่อให้เข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์
  2. เพื่อให้เข้าใจกฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. เพื่อให้เข้าใจภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

สิ่งที่คาดหวัง

สามารถปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้อย่างถูกต้อง


กฎหมายลิขสิทธิ์ [1]

  • กฎหมายลิขสิทธิ์ คือ กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม ผู้แต่งหรือเจ้าของผลงานจะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายนี้ ผู้ใดจะนำข้อความไปตีพิมพ์หรือแปลเป็นภาษาอื่น ๆ หรือผลิตออกเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้แต่งหรือเจ้าของผลงาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์มิได้
  • กฎหมายลิขสิทธิ์ ของแต่ละประเทศจะระบุให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์ส่งหนังสือที่พิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติเก็บรักษา ตามจำนวนที่กำหนด ส่วนใหญ่จะเป็นจำนวน 2 ฉบับ เพื่อเป็นการควบคุมบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในแต่ละประเทศ
  • หนังสือภาษาต่างประเทศ จะมีการแจ้งลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่หน้าลิขสิทธิ์หรือ copyright page ซึ่งก็คือ ด้านหลังของหน้าปกใน โดยจะปรากฏคำว่า Copyright พร้อมทั้งชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และปี ค.ศ. ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก และจะมีรายละเอียดถึงการห้ามคัดลอกข้อความใดข้อความหนึ่ง โดยมิได้รับอนุญาต
  • หนังสือภาษาไทย จะมีคำว่า "สงวนลิขสิทธิ์" ปรากฏไว้ที่ด้านหลังหน้าปกใน เช่นเดียวกัน และมีการระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และปี พ.ศ ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก และจะมีรายละเอียดถึงการห้ามคัดลอกข้อความใดข้อความหนึ่ง โดยมิได้รับอนุญาต
  • ethics/law_copyright_2537.pdf
  • dict.longdo.com

กฎหมายลิขสิทธิ์ กับห้องสมุด

กฎหมายลิขสิทธิ์ มีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุด เนื่องจากห้องสมุดมีงานลิขสิทธิ์หลายประเภทอยู่ในครอบครอง เช่น งานวรรณกรรม ในรูปของหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดิทัศน์ ฯลฯ สื่อบันทึกเสียงรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นเสียง เทปคาสเซทส์ งานศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพเขียน เป็นต้น


สิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ หรือ สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ระบุว่า "ไม่มีลิขสิทธิ์"

  1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
  2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถ่น
  4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น
  • สิ่งต่าง ๆ ข้างต้น ไม่ถือว่าเป็นงานลิขสิทธิ์ ห้องสมุดอาจทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแบ่งออกหลายประเภท (1/2)

  1. สิทธิบัตร (Patent)
  2. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)
  3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)
  4. ความลับทางการค้า (Trade Secret)
  5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแบ่งออกหลายประเภท (2/2)

  1. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Design of Integrated Circuit)
  2. คุ้มครองพันธุ์พืช (Plant Variety Protection) พรบ.
  3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
  4. ชื่อทางการค้า (Trade Name)

1. สิทธิบัตร (Patent)

  • สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) โดยผู้ทรงสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

เช่น

  • กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค
  • วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป
  • การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า

2. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)

  • อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรไม่ได้

  • จุลชีพ เช่น แบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติ พืชสมุนไพร ยารักษาโรคที่สกัดจากสมุนไพร
  • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น สูตรคูณ
  • ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
  • การประดิษฐ์ ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือ สวัสดิภาพของประชาชน เช่น การคิดสูตรยาบ้า

3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)

  • เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
  • คือ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม

เครื่องหมายการค้า (Trademark)

  • 3.1 เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
  • 3.2 เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
  • 3.3 เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
  • 3.4 เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

4. ความลับทางการค้า (Trade secret)

  • ความลับทางการค้า (Trade secret) คือ ข้อมูลการค้า ซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล โดยเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่เจ้าของ หรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้า ได้ใช้วิธีการที่เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ ตามปกติ แล้วความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองอยู่ตราบเท่าที่ยังเป็นความลับอยู่ เพราะฉะนั้นสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้า จึงมีอยู่ตลอดไป หากความลับทางการค้านั้นยังไม่มีการเปิดเผย และความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครอง โดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนแต่อย่างใด เจ้าของความลับทางการค้าสามารถเลือกที่จะแจ้งข้อมูลความลับทางการค้า คือ เจ้าของความลับทางการค้าอาจนำความลับทางการค้าของตนมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินกับธนาคารได้

ความลับทางการค้าอาจอยู่ในรูปแบบของ

  • สูตร
  • วิธีการ กรรมวิธี
  • การออกแบบ
  • เครื่องมือ

5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI)

  • สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่างปัจจัยสำคัญสองประการ คือ ธรรมชาติ และ มนุษย์ กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ๆ

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ

  1. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยตรง (Direct Geographical Indication) คือ ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้น ๆ โดยตรง เช่น ไชยา เพชรบูรณ์ เป็นต้น
  2. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยอ้อม (Indirect Geographical Indication) คือ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่ชื่อทางภูมิศาสตร์ ซึ่งใช้เพื่อบ่งบอกแหล่งภูมิศาสตร์อันเป็นแหล่งกำเนิดหรือแหล่งผลิตของสินค้า เช่น สัญลักษณ์ประจำอำเภอ หรือจังหวัด รูปย่าโม รูปหอไอเฟล เป็นต้น

6. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Design of Integrated Circuit)

  • แบบผังภูมิของวงจรรวม คือ แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้นไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบใดหรือวิธีใดเพื่อให้เห็นถึงการจัดวางให้เป็นวงจรรวม จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แบบของวงจรไฟฟ้าที่ได้ออกแบบขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Layout design และตัวชุดหน้ากากหรือแผ่นบัง mask work ซึ่งเป็นตัวต้นแบบที่ใช้ในการสร้างให้เกิดแบบผังภูมิ ก็จัดว่าอยู่ในข่ายที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ด้วยเช่นกัน

7. คุ้มครองพันธุ์พืช

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (Plant Variety Protection)
  • เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนา และปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ๆ ภายใต้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพ ด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมือง และพันธุ์พืชป่า และเพื่อการกระตุ้นเร่งเร้าให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรพันธุกรรมพืชอย่างยั่งยืน
  • อ่านเพิ่ม 13 หน้า https://ip.hrdi.or.th/kmfiles/20162404221108.pdf

8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หมายถึง หลักความรู้อันเกิดจากความสามารถ ประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้นของคนในท้องถิ่น โดยเป็นผลมาจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบานการเรียนรู้ เลือกสรร พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน เพื่อใช่ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
  • ดังนั้น ภูมิปัญญาจึงเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญา" ที่ผู้คิดค้นสร้างสรรค์ควร ได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากภาครัฐในแง่การคุ้มครองและดูแลไม่ให้มีผู้ละเมิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญา

9. ชื่อทางการค้า (Trade Name)

  • ชื่อทางการค้า (Trade Name) คือ ชื่อที่ใช้เรียก ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่ได้จดหรืออาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือที่เรียกกันว่า แบรนด์เนม (Brand name) ก็คือชื่อทางการค้านั่นเอง เช่น เป๊ปซี่ โค้ก รองเท้าของแบลลี่ย์ กระเป๋าหลุยส์ หรือชื่อสินค้า บริการ ขบวนการผลิต ที่เป็นที่รับรู้กันทางการค้า
  • ชื่อแอพพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เป็นชื่อทางการค้า เช่น zoom, webex, line, skype, microsoft, google, windows, apple, mysql, android, huawei

กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ [2]

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน รวมถึงระบบที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งพ.ร.บ.ตั้งขึ้นเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิด ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนด
  • ผลการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. มีทั้งโทษจำ และโทษปรับ ขึ้นกับที่กำหนดในแต่ละมาตรา

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550

  1. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5)
  2. การล่วงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6)
  3. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 7)
  4. การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8)
  5. การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9)
  6. การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10)
  7. การส่งสแปมเมล์ Spam Mail (มาตรา 11)
  8. การกระทำความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
  9. การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่ง เพื่อใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
  10. การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
  11. ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15)
  12. การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 16)

อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21)

อำนาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด

  1. มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคำชี้แจง ให้ถ้อยคำ
  2. เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
  3. สั่งให้ส่งมอบข้อมูลผู้ใช้บริการตามมาตรา 26

อำนาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออำนาจศาล

  1. ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
  2. สั่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
  3. ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
  4. ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
  5. ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์

13 สาระใน พรบ.คอมฯ 2560

อ้างอิง มาตราในพ.ร.บ. 2560 (มาตราในพ.ร.บ. 2550)

  1. มาตรา 4 : ฝากร้านใน Social Media ที่ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  2. มาตรา 4 : ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่ได้รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  3. มาตรา 4 : ส่ง E-mail ขายของ ที่ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  4. มาตรา 8(14(2)) : กด Like หรือ Share ไม่ผิด แต่ต้องไม่เกี่ยวกับสถาบันฯ เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

13 สาระใน พรบ.คอมฯ 2560

  1. มาตรา 9(15) : พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ และเจ้าของคอมพิวเตอร์ไม่ได้กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย
  2. มาตรา 9(15) : เพจที่เปิดให้แสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิดกฎหมาย เมื่อลบออก ถือเป็นผู้พ้นผิด
  3. มาตรา 8(14(4)) : ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชน
  4. มาตรา 10(16) : การโพสต์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้น เมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
  5. มาตรา 10(16) : การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
  6. มาตรา 10(16) : การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น ที่ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ตัวอย่าง พนักงานเปลี่ยนชื่อลูกค้าเป็นคำหยาบ

มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ


3 ข้อพึงระวัง โพสต์ แชร์ ข่าวปลอม โดย กองปราบปราม

มีกฎหมายหลายฉบับ ดูแลประชาชน มิให้ละเมิดกันและกัน


พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (1/5)

  • เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๒๖ ที่ ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับ ... มีประเด็นมากมายห้ามบันทึกไว้
  • PDPA ( Personal Data Protection Act ) มีผลบังคับใช้วันที่ 27 พ.ค.2563 มีรายละเอียดใน ราชกิจจานุเบกษา
  • พรบ.นี้มีผลกับทุกองค์กรทั่วโลกที่เก็บข้อมูลของคนไทย จึงไม่มีองค์กรไหนสามารถทำเพิกเฉยกับมันได้ องค์กรคุณพร้อมหรือยัง ใช้ PDPA พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (2/5)

  • มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็น ทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใด ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยไม่ได้รับ ความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ (1) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ .. (2) .. (5) ..

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (3/5)

  • ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่ถูกเก็บทั้งแบบ Online และ Offline ซึ่งหมายความกว้างมาก

  • ชื่อ นามสกุล

  • รูป

  • เบอร์โทรศัพท์

  • การศึกษา

  • ที่อยู่

  • เลขบัตรประชาชน

  • ประวัติการทำงาน

  • ทะเบียนรถ

  • ข้อมูลสุขภาพ


พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (4/5)

  • ใจความของตัวพรบ. คือ การให้สิทธิเหล่านี้แก่ของเจ้าของข้อมูล
  1. สิทธิที่จะได้รับแจ้ง
  2. สิทธิในการแก้ไข
  3. สิทธิในการได้รับและโอนถ่ายข้อมูล
  4. สิทธิในการเข้าถึง
  5. สิทธิคัดค้าน
  6. สิทธิในการลบ
  7. สิทธิในการจำกัด
  8. สิทธิในการเพิกถอนคำยินยอม

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (5/5)

การขอความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ

  • ทำผ่านกระดาษ หรือ ระบบออนไลน์ก็ได้
  • อ่านง่าย เข้าใจง่าย
  • ไม่หลอกลวงให้เข้าใจผิด
  • แยกชัดเจนจากเงื่อนไขอื่น ๆ และไม่เอาเงื่อนไขอื่นมาผูกพันธ์

การถอนความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ

  • ทำเมื่อไหร่ก็ได้
  • ทำได้ง่ายเช่นเดียวกับการให้ความยินยอม
  • แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงผลกระทบ

5 ขั้นตอน PDPA

https://techsauce.co/tech-and-biz/pdpa-big-data-private-law


ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต [3]

  1. ความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (Human Error/Failures)
  2. ภัยคุกคามที่เป็นภัยร้ายต่อทรัพย์สินทางปัญญา (Compromises to Intellectual Property)
  3. การจารกรรมหรือการลุกล้ำ (Espionage หรือ Trespass)
  4. การกรรโชกสารสนเทศ (Information Extortion)
  5. การทำลายหรือทำให้เสียหาย (Sabotage หรือ Vandalism)
  6. ซอฟแวร์โจมตี (Software Attack)

ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต (1/2)

  1. ความผิดพลาดที่เกิดจากบุคคล (Human Error/Failures)

อุบัติเหตุ / ความเข้าใจผิด / คาดไม่ถึง / ลบแฟ้มผิดพลาด / ไฟฟ้าดับ / น้ำท่วม

  1. ภัยคุกคามที่เป็นภัยร้ายต่อทรัพย์สินทางปัญญา (Compromises to Intellectual Property)

การละเมิดลิขสิทธิ์ / แชร์แฟ้มที่มีลิขสิทธิ์ / ติดตั้งโปรแกรมและใช้ key gen / Movie 2 Free.com

  1. การจารกรรมหรือการลุกล้ำ (Espionage หรือ Trespass)

การเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต / ขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้


ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต (2/2)

  1. การกรรโชกสารสนเทศ (Information Extortion)

ซอฟต์แวร์เรียก ค่า ไถ่ R A N S O M W A R E การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับ

  1. การทำลายหรือทำให้เสียหาย (Sabotage หรือ Vandalism)

การจู่โจมระบบ / เปลี่ยนโฮมเพจของรัฐบาล

  1. ซอฟแวร์โจมตี (Software Attack)

ไวรัส / เวิร์ม / ทำ Denail of Service / เจาะรหัส WiFi


อาชญากรคอมพิวเตอร์

อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสำคัญ มีดังนี้

  1. Novices คือ พวกมือสมัครเล่น
  2. Queer คือ พวกจิตไม่ปกติ
  3. Dreamer คือ พวกบ้าลัทธิ
  4. Hacker คือ พวกเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  5. Cracker คือ พวกชอบก่อความเสียหาย
  6. Organized Criminal คือ พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน
  7. Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ

ประเด็นด้านความปลอดภัยที่น่าสนใจ

  1. Mutual Authentication คือ การตรวจสอบทั้งเครื่องแม่ข่ายและผู้ใช้
  2. Cross-site scripting คือ เทคนิคการฝังโค้ดเข้าไปกับหน้าเว็บเพจที่มีช่องโหว่
  3. SQL Injection คือ เทคนิคจากการส่งคำสั่ง SQL ผ่านช่องโหว่าของเว็บแอพพลิเคชัน
  4. Path disclosure คือ ช่องโหว่จากการแสดง error message ต่าง ๆ
  5. Denial of service (DoS) คือ ปัญหาการปฏิเสธการให้บริการ
  6. Arbitrary Code Execution (ACE) คือ ประมวลผลโค้ดโดยพลการ
  7. Memory corruption คือ ทำให้เรียกใช้หน่วยความจำผิดพลาด และสั่งประมวลผลโค้ดอันตรายได้
  8. Cross-Site Request Forgery (CSRF) คือ การใช้ Identity และ Privilege) ของเหยื่อปลอมเป็นเหยื่อและทำธุรกรรมไม่พึงประสงค์

ดีโอเอส (DoS)

  • Denial of Service คือ ภัยคุกคามแบบหนึ่งทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มุ่งโจมตีเครื่องบริการ เมื่อผู้ไม่หวังดี (Attacker's PC) ต้องการโจมตี เครื่องบริการที่เป็นเป้าหมาย (Target PC) จนทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ด้วยการส่งคำร้องขอรับบริการ (Request) ไปยังเครื่องบริการที่เป็นเป้าหมาย (Victim Website) ด้วยปริมาณที่มากอย่างท่วมท้น (Flood) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ซอมบี้ (Zombie PC) จำนวนมากที่ได้ยึดไว้ จนไม่อาจให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปได้ (Unable to response)

  • วิธีที่ผู้ไม่ประสงค์ดี (Intruder) ทำ (How to) คือ การเข้าควบคุมเครื่องเหยื่อที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ เครื่องที่ถูกควบคุมเรียกว่า Zombie PC ส่วนเครื่องเหยื่อที่คุมไม่ได้แต่ต้องการเข้าโจมตี เรียกว่า Victim Website ด้วยการส่งคำสั่งให้เครื่อง Zombie PC ทุกเครื่อง ส่งความต้องการปริมาณมากพร้อมกัน ไปยังเครื่องเหยื่อ เมื่อได้รับความต้องการปริมาณมาก แล้วตอบสนองไม่ได้ ก็จะปฏิเสธคำร้องขอข้อมูล และตอบสนองด้วยคำว่า Unable to connect หรือการกด F5 ถล่ม Single gateway ที่เคยเกิดขึ้นในไทย


โทรจัน (Trojan) หรือ แบล็คดอ (Backdoor)

  • โทรจัน (Trojan) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำเข้าระบบโดยตั้งใจอย่างหนึ่ง แต่ผลของโปรแกรมทำอีกอย่างหนึ่ง เช่น ลักลอบส่งข้อมูลออก ทำสิ่งไม่พึงประสงค์ หรือควบคุมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเพื่อทำงานที่ไม่พึงประสงค์

  • แบล็คดอ (Backdoor) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกติดตั้งโดยไม่ตั้งใจ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อเปิดให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่อง หรือทำงานอัตโนมัติในงานที่ไม่พึงประสงค์ โดยเข้าใช้งานได้จากระยะไกล ในขณะที่เจ้าของเครื่องไม่รู้


ภาพยนตร์ โทรจัน (Trojan)

ม้าเมืองทรอย เรื่องรวมที่พระเอกเลือก ที่จะตายอย่างวีระบุรุษ


กระทรวงวัฒนธรรมกับภาพปกสงกรานต์ พบในเว็บไซต์

  • อ่านจาก pantip.com พบว่า ปี 2556 กระทรวงวัฒนธรรม นำเสนอความเป็นไทย ตามเทศกาลสงกรานต์ นำเสนอภาพปก ของเว็บไซต์กระทรวง เป็นภาพสาวสวย 7 นาง นุ่งโจงกระเบนแบบไทย แล้ว ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ (Kasian Tejapira) อาจารย์จากสำนักท่าพระจันทร์ ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คว่า "เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม กระทรวงวัฒนธรรมมาอำไทย สิ้นอำนาจอธิปไตยแล้วบัดนี้ ชะเอิงเงิงเงย" เป็นประเด็นชวนมองเรื่องของ "ศิลปะ กับ อนาจาร" หรือชวนมองนอกเรื่องไปประเด็น "รุนแรง กับ ย้อนแย้ง" ก็พาไปได้ เช่น การแสดงความเห็นของ นักแต่งเพลงชื่อดัง โพสต์แรง วิจารณ์วงไอดอลน้องใหม่ในกรุงเทพ ตามแบบวงพี่สาวสัญชาติญี่ปุ่น

วัฒนธรรมที่ต่างกันของแต่ละชาติ พบในข่าว

  • กรณีความต่างทางวัฒนธรรมตะวันตก กับตะวันออก พบข่าวเศร้า ที่ มาร์ก เซลลิง นักแสดงจากซีรีส์ดัง Glee จากชาติตะวันตก ติดคดี "มีรูปอนาจารของผู้เยาว์ในครอบครอง" ชวนมองนิยาม คำว่า ผู้เยาว์ของไทย อายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ บราซิล โครเอเชียและโคลัมเบีย ผู้เยาว์ อายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนที่ประเทศอเมริกา กำหนดอายุบรรลุนิติภาวะไว้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

การแสดงความเห็นของนักวิชาการ

ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ แสดงความเห็นท้วงติง ถึงความไม่เหมาะสม


สรุป

กฎหมายลิขสิทธิ์

กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต


งานมอบหมาย

จงทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest

  • กฎหมายลิขสิทธิ์คืออะไร
  • ISBN คืออะไร
  • สิ่งต่อไปนี้ สิ่งใดไม่มีลิขสิทธิ์
  • สิ่งต่อไปนี้ สิ่งใดมีลิขสิทธิ์
  • ข้อใดคือทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
  • ข้อใดไม่ใช่ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
  • ข้อใดคือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
  • ข้อใดคือเครื่องหมายการค้า

งานมอบหมาย

  • ข้อใดคือเครื่องหมายบริการ
  • ข้อใดคือชื่อทางการค้า
  • การกระทำใดผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
  • กระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษแบบใด
  • ข้อใดไม่ใช่อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
  • ข้อใดไม่ใช่ประเด็นเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
  • ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีประเด็นใดที่ไม่คุ้มครอง
  • ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีประเด็นใดที่คุ้มครอง
  • การขอความยินยอม คืออะไร (Consent Form)
  • ข้อใดไม่ใช่ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต
  • ข้อใดไม่ใช่อาชญากรคอมพิวเตอร์
  • ข้อใดไม่เกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

ตำราและเอกสารหลัก

  • วิโรจน์ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง. (2558) . ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง 2015. กรุงเทพฯ : บริษัท โปรวิชั่น จำกัด.
  • ศศลักษณ์ ทองขาว และคณะ. (2556) . คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
  • ยาใจ โรจนวงศ์ชัย และคณะ. (2549) . คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ แปลโดย Timothy J. O ' Leary. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มปท.
  • Timothy O'Leary and Linda O'Leary and Daniel O'Leary. (2021). Computing Essentials 2021. New York: McGraw-Hill.
  • James A. O’Brien, George M. Marakas. (2011). Management Information Systems,10th. New York: McGraw-Hill.
  • Cheri Manning and Catherine Manning Swinson. (2020). Microsoft Office 365: A Skills Approach, 2019 Edition. New York: McGraw-Hill.

Book วศิน เพิ่มทรัพย์, ปัทมาภรณ์ พิมพ์หานาม, วิโรจน์ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง, ภาศกร พาเจริญ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง 2019


Book ศศลักษณ์ ทองขาว และคณะ

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ 2013


Book ยาใจ โรจนวงศ์ชัย และคณะ 2006

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่


End

Burin rujjanapan - Nation University


คลิ๊ปงานกลุ่ม (1/5)

  • โครงเรื่องเกี่ยวกับแรงบันดาลในในการเขียนหนังสือ
  • สมาชิกในทีม 4 - 5 คน
  • ตัวอย่าง เหนือฝัน ล้านแรงบันดาลใจ
  • คลิ๊ปมี 1) ชื่อเรื่อง 2) เนื้อเรื่อง และ 3) เครดิต
  • สมาชิกในทีมต้องร้องเพลง และเนื้องเรื่องสอดคล้องกับเพลง
  • ทุกคนในกลุ่มต้องอยู่ในคลิ๊ปอย่างน้อย 20 วินาที ไม่มีข้อยกเว้น
  • อัพโหลดคลิ๊ปเข้า youtube.com
  • ทำ Powerpoint เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน

คลิ๊ปงานกลุ่ม (2/5)

  • วางแผนเป็นขั้นตอน และจัดทำ Story board
  • ให้ความสำคัญกับ มุมกล้อง แสง และเสียง
  • มีจุดไคลแม็คของเรื่องอย่างน้อย 2 จุด
  • ใช้เทคนิคตัดต่อ

zoom-in, zoom-out, focus change, color, light, scene switching, speed, craft, stop motion, bird’s-eye view, follow step, costume, accessories, effect, transition, external clip


หัวข้อใน Powerpoint คลิ๊ปงานกลุ่ม (3/5)

  • นำเสนอก่อนเปิดคลิ๊ปนำเสนอในชั้นเรียน (Present)
  • แนะนำสมาชิกในกลุ่ม ชื่อ และภาพทุกคน (Members role)
  • วัตถุประสงค์ และเรื่องย่อ (Objective)
  • สตอรี่บอร์ด (Story board)
  • ขั้นตอนการทำงาน (Step)
  • เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ (Technic)
  • อธิบายจุดไคลแม็ก (Climax)
  • แผนผังองค์กร (Organization chart)
  • ชาร์ทผลประเมินแบบบาร์ชาร์ทแบบ 5 ระดับ : story, actor, image, sound, technique, creative, and all of it
  • มีคำว่า ถาม-ตอบ ในหน้าสุดท้าย เพื่อแสดงการจบการบรรยาย (Question - Answer)
  • อ่านเพิ่ม คลิ๊ปกลุ่ม

ตัวอย่าง Story board ที่มีสีสัน ใช้สื่ออารมณ์ได้มากกว่า (4/5)

Planning ต้องปรึกษาหารือร่วมกัน แต่ละคนถนัดต่างกัน


ตัวอย่าง Story board 59 ที่ในกลุ่ม ทุกคนต้องอยู่ในฉาก (5/5)

Storyboard คือ เครื่องมือร้อยเรียงเรื่องราวแบ่งเป็นฉากอย่างง่าย ก่อนนำไปประยุกต์ใช้ พบที่โต๊ะ อ.มิว


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (1/6)


ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (2/6)

  1. กลุ่มวิชาหลัก (Core Subjects)
  2. กลุ่มทักษะชีวิต และอาชีพ (Live and career skills)
  3. กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation skills)
  4. กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, media and technology skills)

ทักษะสำคัญที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก (3/6)

  • กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
  1. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (Critical thinking and problem solving)
  2. นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (Innovation and creativity)
  3. การสื่อสารและความร่วมมือกัน (Communication and collaboration)
  • กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information , media and technology skills)
  1. การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
  2. การรู้สื่อ (Media Literacy)
  3. การรู้ ICT (ICT Literacy) (ICT = Information and Communication Technology = เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร)
  • กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and career skills)
  1. ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น (Adaptability and flexibility)
  2. ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Initiative and self-direction)
  3. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และข้ามวัฒนธรรม (Social and cross-cultural interaction)
  4. ความรับผิดชอบและความสามารถผลิตผลงาน (Accountability and productivity)
  5. ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม (Leadership and social responsibility)

ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (4/6)

หน้า 66 ในคู่มือประกัน


ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (5/6)

  • ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐาน ของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
  • การเป็นพลเมืองดิจิทัลควรมีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ
  1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity)
  2. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management)
  3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking)
  4. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management)
  5. ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management)
  6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints)
  7. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management)
  8. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)

ทักษะจำเป็น เพื่อก้าวสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล (6/6)

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล


5 ซอฟต์สกิล และ 5 ฮาร์ดสกิล เพื่อได้งานและรักษางาน

  • ทักษะด้านความรู้ / ฮาร์ดสกิล (Hard Skills) คือ ทักษะด้านความรู้ที่ใช้ในการทำงาน ความสามารถเชิงเทคนิคที่สั่งสอนกันได้ วัดผลการเรียนรู้ วัดความรู้ความสามารถได้ ทักษะด้านอารมณ์ / ซอฟต์สกิล (Soft Skills) คือ ทักษะด้านอารมณ์ที่ใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการพัฒนาตัวเอง ซึ่งการทำงานในปัจจุบันต้องมีทั้ง Soft Skills และ Hard Skills เพราะการจะได้งานต้องมี Hard Skills แต่การรักษางานไว้แน่น ได้รับการสนับสนุนและทำงานได้อย่างมีความสุขจำเป็นต้องมี Soft Skills
  • อ่านจาก Weforum.org , Linkedin.com และ Nowasu พบว่า รายงานของ World Economic Forum พูดถึง 10 ทักษะที่บริษัททั่วโลกต้องการ ที่เก็บรวบรวมจากเว็บไซต์จัดหางาน LinkedIn ที่เป็นทักษะของผู้ใช้งานที่ได้รับการว่าจ้างสูงสุด จากสมาชิกของ LinkedIn 100,000 คน แบ่งเป็น 5 Soft Skills ได้แก่ 1) ความคิดสร้างสรรค์ 2) การพูดโน้มน้าวผู้อื่น 3 ) การทำงานร่วมกับผู้อื่น 4 ) การปรับตัว 5 ) การบริหารเวลา 5 Hard Skills ได้แก่ 1) การใช้งานระบบคลาวด์และเครือข่าย 2) การใช้ปัญญาประดิษฐ์ 3) การวิเคราะห์เชิงเหตุผล 4) การบริหารบุคคล 5) การออกแบบประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน
  • thaiall.com/job/appjob.htm

5 ซอฟต์สกิล และ 5 ฮาร์ดสกิล เพื่อได้งานและรักษางาน

ซอฟต์สกิล และ ฮาร์ดสกิล


สุดยอด 3 เรื่องเล่าเร้าพลังใจ

  1. ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ (thaijo)
  2. น็อตตัวละแสน (สิริทัศน์ สมเสงี่ยม)
  3. บะหมี่น้ำหนึ่งชาม (คลิ๊ปผมเอง)
แนะนำหัวข้อ
MIS: Content, All
KMed: Content, All
Ethics: Content, All
Tec: Content, All
Hci: Content, All
PHP: Content, All
Java: Content, All
PHPJs: Content, All
office_content *
introtocomputer_content
test1
test2
pandoc( x86_64 102MB)
markdown
ารใช้พาวเวอร์พ้อยท์สอนออนไลน์ (Powerpoint Presentation for Teaching)
เครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการสอนออนไลน์ คือ พาวเวอร์พ้อยท์ เพื่อควบคุมทิศทาง หัวข้อ ประเด็นที่ต้องการสื่อสาร ให้เห็นข้อความ แผนภาพ เสียง และคลิ๊ปวีดีโอตามแผนการสอนได้อย่างชัดเจน สามารถแทรกเว็บแคมที่มีภาพผู้สอนไปในแต่ละสไลด์ได้ สามารถใช้ได้ทั้งสอนสด (Live) ออกไปทางโปรแกรมสอนออนไลน์เช่น Zoom, Webex, Google Meet หรือ MS Teams หรือบันทึกเป็นคลิ๊ป แล้วให้ผู้เรียนมาเปิดดูได้ในภายหลัง (Video on Demand) ซึ่งมีเครื่องมือบันทึกการสอนผ่านสไลด์อีกมากมาย อาทิ Office Mix, Camtasia, Snagit, OBS Studio หรือ Camstudio (Open source) หรือใช้คุณสมบัติที่มีในพาวเวอร์พ้อยท์ด้วยการคลิ๊กเลือก Menubar, Slide Show, Record Slide Show, Start Recording from Beginning หรือ Start Recording from Current Slide
https://www.presentation-guru.com
ต.ย. การใช้ Pandoc.exe (x86_64) สร้าง pptx
เช่น C:\> pandoc tec_all.md -o tec_all.pptx
rspsocial
Thaiall.com