การประชุมออนไลน์ สอนออนไลน์ ผ่าน Google Meet
Meet | Classroom | Form | Chrome | สอนออนไลน์ | ห้องเรียนในอนาคต | การศึกษา | อีเลินนิ่ง
google meet
Mozilla รีวิวแอพประชุมออนไลน์ในตลาด พบว่า นอกจาก Zoom จะได้ 5 คะแนนเต็ม ยังมีแอพพลิเคชั่นตัวอื่นที่ได้เช่นกัน ได้แก่ Microsoft Teams, Google Meet, Cisco Webex, BlueJeans, Skype ฯลฯ โดยผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของ Mozilla คือ เข้ารหัสการเชื่อมต่อ, มีอัพเดตความปลอดภัย, ใช้รหัสผ่าน, มีโครงการจัดการช่องโหว่ และมีนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ดี
[blogone]
Google Meet คือ เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) ที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เพื่อใช้บริการการประชุมออนไลน์ที่เปิดให้เชิญผู้ร่วมประชุมผ่านลิงค์ (Link) ที่มีรหัสห้องประชุม โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีของ Gmail.com ในการเข้าร่วมประชุม เป็นหนึ่งในบริการที่สนับสนุนการทำงานในองค์กร บริการนี้อยู่ในชุดโปรแกรม G Suite (Bussiness หรือ Education) ที่ผูกกับโดเมนเนม (Domain name) และอีเมล (Email) ขององค์กร ซึ่งองค์กรที่จะใช้บริการ G Suite ต้องมีโดเมนเนม เพื่อสมัครใช้งาน และผูก MX (Mail Exchange) เข้ากับบริการของ gmail.com ส่วนบนสมาร์ทโฟนสามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่น Hangouts Meet การเข้าใช้ระบบ (Sign in) โดยบัญชีที่มีสิทธิ์ใช้งาน G Suite จะสามารถเปิดห้องประชุม เชิญด้วยลิงค์ หรือส่งอีเมลเชิญ (Invite) เพื่อนทั้งในและนอกองค์กร ให้เข้าร่วมประชุมได้ ถ้าไม่มีสิทธิ์ก็จะทำได้เพียงเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้เข้าร่วม (Guest) # # #
29 เม.ย.63 มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ อ.น้ำหวาน ได้เล่าให้ฟังว่าทดสอบใช้เครื่องมือสอนออนไลน์ แบบ Meeting ที่มีการสื่อสารสองทางกับผู้เรียนในหลายเครื่องมือ อาทิ Zoom, WebEX, Microsoft Teams, Discord รวมถึง Google Meet ที่องค์กรของเรามีให้ใช้แบบไม่จำกัด และเปิดตัวเลือก Record Meeting จึงได้เปิดใช้จัดการเรียนการสอนแบบสอนสด พูดคุยโต้ตอบกันในกลุ่ม หากใช้ Google Meet รองรับได้หลายร้อย และไม่จำกัดที่ 40 นาที ไม่ต้องไปหาเครื่องมือที่ใช้ฟรีแบบทดลองใช้ เพราะนี่เป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมในการใช้งานสอนออนไลน์
ผลการเรียนจริงสอนจริงไม่ใช้ตัวแสดง พบว่า 1) ใครที่ได้รับรหัสมาขอเข้าห้อง ถ้าไม่ระบุชื่อก็ไม่ได้รับการ Admit เข้ามาในห้องประชุม 2) ผู้สร้างห้อง หรือผู้เข้าร่วม สามารถแชร์จอภาพได้ ผมแชร์จอภาพจากมือถือไปให้ผู้เรียน ๆ ดูได้พร้อมกัน 3) ในกรณีที่ผู้สร้างห้องหลุดออกจากห้องประชุม หรือปิด Browser ไป สามารถกลับเข้าไปใหม่ก็ยังเข้าได้ตามปกติ ผู้เข้าร่วมยังอยู่ประชุมกันต่อเนื่อง 4) ผู้เข้าประชุมแชร์จอภาพมา ผู้สร้างห้องเลือกแชร์แทนที่ หรือระงับการแชร์ สั่งปิดเสียง หรือปิดวิดีโอได้ 5) มีห้องแชทไว้พิมพ์ส่งข้อความได้ 6) มีบริการแปลงเสียงเป็นข้อความ (Caption) พูด Hello มี Hello ปรากฎออกมา 7) บันทึกการประชุมได้ จะจัดเก็บไว้ใน Google Drive ห้อง Meet Recording
หัวข้อชวนพูดคุย
1. meet.google.com
2. sign in
3. Join or start a meeting
4. Nickname or Meeitng code
5. Join now or Present
6. Add people
7. Share joining info
8. Present now
- Your entire Screen
- A windows
9. Record Meeting
10. People
11. Chat
12. Turn on captions
13. Meeting details
14. Pin
15. Remove Call/Presentation

G Suite #
- Basic $4.2/id/m
- Business $9.6/id/m
- Enterprise $25/id/m
- .. for Education (free) #
- .. Enterprise for Education
ต.ย. ห้องประชุม 1N
meet.google.com/rbe-zovg-xgf
Personal account (10 ปี)
ต.ย. ห้องประชุม 2G
meet.google.com/rnm-vhkt-fhk
Google workspace account (10 ปี)
กลุ่มเครื่องมือ G Suite for Education เพื่อสอนออนไลน์ Google มีแอพพลิเคชั่นบริการครอบคลุมงานหลายด้าน
เช่น ด้านการศึกษา (Google Education) มีแนะนำ 9 แอพ ดังนี้
1. เปิดห้องเรียน ด้วย Google Classroom
2. ร่วมชั้นเรียนออนไลน์ ด้วย Google Meet
3. นัดหมายผู้เรียน ด้วย Google Calendar
4. แบบสอบออนไลน์ ด้วย Google Forms
5. ทำสไลด์นำเสนอ ด้วย Google Slides
6. เอกสารประกอบการสอน ด้วย Google Doc
7. ประเมินผู้เรียน ด้วย Google Sheets
8. ใช้ไฟล์ร่วมกันผ่าน Google Drive
9. กิจกรรมเขียน Whiteboard ด้วย Google Jamboard
3 เครื่องมือใน G Suite for Education เพื่อสอนออนไลน์
Google Meet (สอน)
- การเปิดห้องประชุม สอนออนไลน์ (Create)
- การเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม (Invite)
- การพิจารณารับเข้าห้องประชุม (Admit)
- การแชร์หน้าจอ (Share)
- การแชทคุยกัน (Chat)
- การใช้แอพพลิเคชั่น (Mobile app)
Google Classroom (สื่อ)
- การสร้างชั้นเรียน (Classroom)
- การแชร์เนื้อหา (Files)
- การมอบหมายงาน (Assignment)
- แบบทดสอบ (Google form)
- คำถาม (Question)
- หัวข้อกับแผนการสอน (Topic)
- การเรียน (Study)
- การส่งคืน (Feedback)
Google Form (สอบ)
- การสร้างแบบทดสอบ (Create)
- การแชร์แบบทดสอบ (Share)
- เลือกตอบ หรืออัพโหลดแฟ้ม (Quiz type)
- การทำข้อสอบจากมุมมองผู้เรียน (Test)
- การใช้ผลสอบจากตาราง (Excel)
- การตรวจแฟ้มอัพโหลด (Google Drive)
- การตั้งค่าแบบทดสอบ (Setting)
เปิดห้อง meeting ไว้ 10 ปี เข้าเมื่อไรก็เข้าห้องได้ทันที

Dimension: 1920*1090 (16:9)
มี โอกาสประชุมออนไลน์ ผ่าน google meet กับ ผศ.บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา เมื่อ 24 ก.ย.2564 ท่านทักว่าใช้พื้นหลังเหมือนกันเลย ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจว่า เราพอจะมีพื้นหลังในแบบของเราไหม เอาแบบ ห้องสมุดที่บ้าน ระเบียงหลังบ้าน หรือในสวนกล้วยด่าง ก็ดูจะเป็นธรรมชาติดี อะไรทำนองนี้ จึงเป็นที่มาของการหาปุ่มเปลี่ยนพื้นหลังของตนเอง และก็พบว่าห้องประชุม ที่เปิดโดยบัญชีองค์กร กับบัญชีส่วนตัวนั้น ได้สิทธิ์การเปลี่ยนพื้นหลังต่างกัน
ารใช้งาน google meet มีบัญชีที่เปรียบเทียบไว้ 2 แบบ คือ 1) บัญชีส่วนตัว - Personal account ของ gmail.com และ 2) บัญชีขององค์กร - Google workspace ของ organization ที่ผูกบัญชีกับ gmail.com ซึ่งสิทธิ์และตัวเลือกจะแตกต่างกัน เช่น Google workspace จะกำหนดได้ว่า บัญชีของสมาชิก จะใช้ youtube ได้หรือไม่ หรือบันทึกคลิปวิดีโอระหว่าง meeting กันได้หรือไม่ ซึ่งสิทธิ์ต่าง ๆ บัญชีของ organization จะ มีผู้ดูแลนโยบายมาจัดการสิทธิ์ของสมาชิกได้
รณีตัวอย่าง - ผมเปิดห้องประชุมไว้ล่วงหน้า 10 ปี ใน 2 ประเภทสมาชิก ระหว่างนี้เข้าเมื่อไรก็ใช้ห้องประชุมได้ บัญชีบุคคล เปิดไว้ที่ Video call link: meet.google.com/rbe-zovg-xgf ชื่อห้อง class301231 กำหนด 31 ธันวาคม 2030 เวลา 8:30 - 9:30 ท่านใดเข้าไปต้องรอให้ผมอนุญาตก่อน (Ask to join) ถ้าผมไม่อยู่ในห้องก็จะไม่มีใครมาใช้ห้องได้ ต่างกับ บัญชีองค์กร หรือ Google workspace เปิดไว้ที่ Video call link: meet.google.com/rnm-vhkt-fhk ชื่อห้อง Class 2031-12-31 กำหนด 31 ธันวาคม 2030 เวลา 8:00 - 9:00 เพื่อนในองค์กรเข้าห้องได้เลย (Join) ถือว่ามีบัตรผ่านในฐานะบุคลากรตามอีเมลแล้ว แต่ถ้าบัญชีบุคคลต้องรอให้ผมอนุญาตก่อน (Ask to join) ส่วนวิธีหาห้องประชุมที่เปิดไว้ สามารถค้นหาได้ด้วยการเข้า calendar.google.com เลือก schedule ที่แถบด้านบน จะพบรายการนัดหมายเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ถ้าต้องการดูเพิ่ม ต้องกด Look for more ก็จะมีรายการที่เคยนัดหมายไว้ ปรากฎขึ้นเพิ่มเติม
กติแล้ว บัญชีบุคคล สามารถเปลี่ยน หรือเพิ่ม background ของตนเองได้ แต่บัญชี workspace ไม่สามารถเพิ่ม background ตามใจได้ ต้องใช้ที่มีอยู่ เข้าใจว่าเป็นนโยบายในกรณีใช้งานในโรงเรียน เกรงว่าเด็ก ๆ จะไปหาภาพที่ไม่เหมาะสมมาเป็น background ส่วนเครื่องใดที่เปลี่ยนไม่ได้ อาจเป็นเพราะตั้งค่าไม่ถูกต้อง จะต้องเข้าไปแก้ไขตัวเลือกใน chrome ตามคำแนะนำใน google community .. เช่น chrome browser, Menu, Settings, Advanced, Turn on Use hardware acceleration when available
ผู้ดูแลระบบ google workspace ที่ได้รับคำร้องจากสมาชิก ขอเปิดสิทธิ์ในการใช้ background ของตนเอง ในบริการ Google meet สามารถพิจารณาได้ว่า จะเปิดให้บริการ หรือไม่เปิด ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ สามารถเข้าไปกำหนดการเปิดสิทธิ์นี้ได้ อ่านเรื่องนี้จาก workspaceupdates.googleblog.com พบว่า ผู้พัฒนาได้เพิ่มความสามารถสำหรับ Admin ในการสั่งเปิด หรือไม่เปิด การเปลี่ยนพื้นหลังใน Google meet ของ OU (Organizational unit) ซึ่งสรุปขั้นตอนในการสั่งเปิด หรือไม่เปิด ได้ดังนี้ 1) เปิด workspace.google.com 2) เลือก Admin console (admin.google.com) 3) เลือก Apps จากเมนูด้านซ้าย 4) เลือก Google workspace 5) พบแอปพลิเคชันจำนวนมาก เลือก Google Meet 6) เลือก Background 7) เลือก Edit หัวข้อ Background แล้วทำเครื่องหมาย check หน้าตัวเลือก Let users select custom images อันที่จริง มีตัวเลือกอีกมากใน worspace ที่ถูกปิด ทำให้สมาชิกใช้งานบริการได้ไม่ครบ ซึ่งบริการหนึ่งที่น่าสนใจ และเคยเปิดไปแล้ว คือ youtube.com ซึ่งผู้ดูแลสามารถเลือกเปิดหรือไม่เปิดได้

ฝึกปฏิบัติ 1. ขั้นตอนของครูเปิดสดผ่าน Google Meet
การใช้ Google Meet แบบเปิดประชุม หรือสอนออนไลน์ทันที (แบบไม่ลงนัดหมายใน Google Calendar)
1. เปิด https://meet.google.com โดยใช้บัญชี G Suite เข้าระบบ
อ่าน Blog เรื่อง google meet พบเปิดให้ผู้ใช้ gmail.com ใช้งาน
ไม่จำกัดถึง 30 ก.ย.63 หลังจากนั้นจำกัด 60 นาทีต่อครั้ง
2. ตรวจสอบ ไมโครโฟน และลำโพง
ที่มุมบนขวา คลิ๊ก Settings
- ตรวจสอบ ไมโครโฟน ว่าพูดแล้วมีสัญญาณตอบกลับว่ารับเสียงได้
- ตรวจสอบ ลำโพง กดปุ่ม Test แล้วได้ยินเสียงดังฟังชัด
3. คลิ๊ก Join or Start Meeting
กรอก Meet id เพื่อ Join เมื่อต้องการเข้าร่วมห้องที่ถูกเปิดรอไว้
กรอก ชื่อห้องประชุม เพื่อ Start Meeting เช่น "CPSC313"
4. เข้าไปรอหน้าห้องประชุม
ยืนยันการเปิดไมค์ และวีดีโอ ก่อนคลิ๊ก Join now/present
5. การชวนนักเรียนเข้าร่วมประชุม หรือสอนออนไลน์
ตรวจสอบรายชื่อสมาชิกในห้องประชุม คลิ๊กรูปคนซ้อนกัน ที่มุมบนขวา
คลิ๊ก "+ Add people" เพื่อเชิญผู้เรียนเข้าร่วมห้องประชุม
คลิ๊กรหัสห้องเรียนจากที่มุมล่างซ้าย พบ Details คัดลอก Joining info
ส่ง Joining info ให้ผู้เรียน เพื่อชวนนักเรียนในกลุ่มเฟส/กลุ่มไลน์/classroom
6. มี Notification popup ขึ้นมา พบว่า นักเรียนขอเข้าห้อง ให้กดปุ่ม Admit
7. จัดการผู้ร่วมประชุม สั่ง mute หรือ remove ออกห้องประชุมได้ ถ้ามีนักเรียนเข้าผิดห้อง หรือลืมปิดไมโครโฟน
8. คลิ๊ก Present now ที่มุมล่างขวา เลือก Window ที่ต้องการนำเสนอได้
เลือก Stop Presenting ได้ เพื่อกลับเข้า Video Meeting
Window คือ หน้าต่างของโปรแกรมที่ถูกเปิดรอไว้ เพื่อจะนำเสนอ

ฝึกปฏิบัติ 2. ขั้นตอนของครูทำตารางนัดหมายใน Google Calendar
การใช้ Google Meet แบบนัดหมายใน Google Calendar
1. เปิด https://calendar.google.com โดยใช้บัญชี G Suite เข้าระบบ
2. มุมบนซ้ายคลิ๊ก "+ Create"
Add title = นัดติว เตรียมสอบกลางภาค
Time = May 4,2020 9:00am - 12:00am
Add guests = เพิ่มได้หลายคน
คลิ๊ก "See guest availability" พบตารางของแต่ละคนมาให้เทียบว่าติดประชุมอื่นหรือไม่
ถ้าจะกลับเข้าหน้าต่างเดิม ให้คลิ๊ก > ที่มุมล่างซ้าย
Meeting ID : เปลี่ยนเป็นเลขที่เคยใช้ได้ เช่น "kynsdkdbkw" (ผมใช้เลขเดิมประจำ)
3. อีเมลจะถูกส่งออกไป ถึง guests
ถ้าเป็นคนนอกก็จะถามย้ำ คลิ๊ก "Invite external guests" ส่งได้ทั้ง gmail.com และ hotmail.com
4. ปฏิทินของครู และนักเรียน จะพบ Event นี้ปรากฎ
5. แจ้งเตือนก่อนเริ่มประชุม 10 นาที
พบตัวเลือกนี้ใต้ Meeting ID ใน Calendar สามารถลบ ไม่ให้แจ้งเตือนได้
เมื่อเข้า Google Meet ก็พบว่ามีรายการนัดหมาย

Google Meet #1
เมื่อมีบัญชี G Suite แล้ว
เลือกคลิ๊กรายการ app
คลิ๊ก Meet
ตรวจสอบ Microphone กับ Speakers
แล้วเตรียมเริ่มประชุม
เลือก Join หรือ Start Meeting
ถ้ามี Meeting code ก็ใส่
จะหมายถึงการเข้าร่วมประชุม
ถ้าไม่มีก็คือการสั่ง Start Meeting
เปิดห้อง CPSC313
ไม่มีใครในห้อง เลือก Join
ถ้าคลิ๊ก Join หมายถึง เปิดห้องประชุม
ถ้ากด Present เพื่อ Share หน้าต่าง
เข้าไปก็เลือก Window
ที่จะนำเสนอกันได้เลย
ขณะแชร์บน web browser
มีปุ่ม stop presenting
บนจอนักเรียน มีหน้าจอที่แชร์ไปแล้ว
ส่งลิงค์เพื่อให้คลิ๊กเข้าห้องประชุม
หรือ copy joining info
เพื่อส่งไปทางกลุ่มใด ๆ เชิญเข้ามาเรียน
กดปุ่ม Add people
เลือก invite ได้
ถ้าเป็นบัญชี G Suite เชิญใครก็ได้
คลิ๊กมุมล่างขวา
มีข้อมูลของห้องประชุม
เพื่อใช้เชิญนักเรียนเข้าห้อง
ในองค์กร G Suite
จะมีรายการอีเมล
ที่เคยติดต่อ ทำให้เชิญประชุมได้ง่าย
เมื่อมีสมาชิกขอเข้าร่วมประชุม
เลือกที่จะ Admit
รับเข้าห้องประชุมได้
ระหว่างประชุม
ใครพูดก็จะมีสัญญาณให้เห็น
เปิดปิดไมค์ได้
ขณะที่กำลังนำเสนอ
มีปุ่ม หยุดการแชร์
เพื่อประชุมแบบพูดคุยอย่างเดียวได้
ระหว่างประชุมมีคนขอเข้าร่วม
ก็รับ admit ได้
และคนนอกองค์กรเข้า G Suite ได้
Google Meet #2
สร้าง Nickname ของห้อง
หรือใส่รหัสห้องประชุม Meeting ID
ที่มีคนเปิดห้องให้เราเข้าร่วมได้
มีลูกศิษย์ขอเข้าชั้นเรียนออนไลน์
มีปุ่ม Admit
กดรับเข้าชั้นเรียน
คุยกัน 2 คน
ก็แชร์จอภาพให้เค้าดู
เค้าก็เห็น Window ที่เราแชร์
ลูกศิษย์แชร์มา เล่าให้ฟัง
มุมล่างขวา ก็เห็นว่าใคร present อยู่
เราเลือกแชร์ทับ หรือ remove ได้
ถ้าไฟฟ้าดับ ต้อง restart ใหม่
กลับไป ก็ยังเห็นห้องประชุมเปิดอยู่
กลับเข้าไปร่วมประชุมได้ปกติ
ภาพขณะกำลังแชร์
งานใน windows ในเครื่องครู
ให้นักเรียนได้เรียน ได้พูดคุยกัน
ระหว่างใครแชร์จอภาพ
ใครจะพูดก็ได้ ซักถามได้
เพราะไมค์เปิดพร้อมกัน คุยโต้ตอบได้
เลือกหยุดการนำเสนอของลูกศิษย์ได้
ในกรณีที่เค้านำเสนอ
เราเลือกสั่ง remove present ได้
เลือกดูว่าใครกำลังพูด
กำลังทำข้อสอบ ปักหมุด
ผ่าน webcamp และปิดเปิดเสียงได้
เข้าไป setting
ตั้งค่า microphone กับ speakers
กรณีมีหลายอุปกรณ์ หรือมีปัญหา
คลิ๊กมุมบนขวา
จะแสดงรายชื่อของคนที่เข้าร่วมประชุม
บริหารจัดการผู้ร่วมประชุมได้
เปิด captions
เวลาพูดก็จะเขียนตามคำพูด
เช่น hello ก็แสดง hello
Google Meet #3
เปิดใช้บัญชีบุคคล
แสดงรายการแอพ
เลือกคลิ๊ก meet
พบเว็บเพจเป็นภาษาไทย
หรือสั่งเปลี่ยนภาษา
พบ ใส่รหัสการประชุม
กรอกรหัสวิชา
หรือรหัสการประชุมที่ได้มา
แล้วเข้าร่วมประชุม
บัญชี gmail.com ระดับบุคคล
ไม่สามารถใช้ meet ได้
ต้องเป็นบัญชี G Suite
เปลี่ยนเป็นบัญชี G Suite
ก็จะเข้าใช้ได้
ใช้ hotmail.com ก็เข้าไม่ได้นะครับ
หน้าต่างกว้าง ๆ
ลดหน้าต่างเล็กลงมาหน่อย
เลือกกด Join ได้เลย
เข้าไปแล้ว ยังไม่พบใคร
ก็หารหัสห้องประชุม
เพื่อ invite หรือ share link
ชวนใครเข้าร่วมประชุมก็ได้
ถ้าอยู่ใน contact
ก็จะมีข้อมูลปรากฎขึ้นมาให้เลือก
ส่งเทียบเชิญไปแล้ว
ต่อจากนี้ก็นั่งรอ
ให้นักเรียนเข้าชั้นเรียน
นักเรียนที่เข้าห้องด้วย smart phone
เลือกแชร์สิ่งที่อยู่บนจอภาพ
ให้เราดูได้
ภาพการแชร์หน้าจอ
จากโทรศัพท์ Smart phone
ส่วนเครื่องครูเป็น Desktop
บัญชี G Suite
ที่เปิดสิทธิ์ Record ไว้แล้ว
เลือก Record การสอนได้ เก็บใน drive
เลือกแชร์หน้าต่างที่ต้องการ
เช่น explorer
นักเรียนก็จะเห็น explorer
ถามความยินยอม Consent
เพื่อบันทึกวีดีโอ
เป็นสิทธิ์ที่ต้องได้รับความยินยอม
เมื่อบันทึก
ก็จะแจ้งผ่านหน้าจอว่ามีการบันทึก
เพื่อสร้างการรับรู้ระหว่างผู้ประชุม
ข้อมูล Meeting ID
เพื่อใช้แชร์
เชิญนักเรียนเข้าห้องเรียน
ไปกดออกห้องประชุม
เค้าถามยืนยันว่าออกจริง
หรือกลับเข้าห้องใหม่
บัญชี gmail ใช้ meet ได้
หน้าแรกน่าใช้
พบเพื่อนได้หลายคนพร้อมกัน
เตรียมเข้าห้องประชุม
เช็คไมค์ กับกล้อง
อาจมีถามนู่นนี่ก็ตอบไป
สร้างห้องยังไม่พบใคร
ต้องเชิญคนเข้าห้อง
ถ้าไม่อยากอยู่คนเดียว
แชท คุยกันได้กับเพื่อน
ส่งลิงค์ข้อสอบก็ทำได้ คลิ๊กได้เลย
เช่น https://forms.gle/FHF..hM8
Google Meet on Mobile
บน Smart phone
เปิด Zoom ทิ้งไว้
จะเปิด Meet ไม่ได้ ต้องปิด Zoom ก่อน
เปิดโปรแกรม Meet แล้ว
พบไมค์ กับ วีดีโอเปิดปกติ
เตรียมเข้าประชุม
เปลี่ยนบัญชี hotmail
เพื่อเข้าร่วมประชุม
ทดสอบ 2 เครื่องคุยกัน
เปลี่ยนบัญชี gmail
เพื่อเข้าร่วมประชุม
ทดสอบ 2 เครื่องคุยกัน
ในอีเมล
มีจดหมายเชิญ
คลิ๊กจากในอีเมลได้
บนโทรศัพท์มี app meet
เลือกเปิดผ่าน app ได้
บนโทรศัพท์ต้องใช้ app
จอภาพระหว่างประชุม
คล้ายกับที่พบ
บนเครื่อง Desktop
สั่งปิดไมค์ เปิดไมค์
เลือกได้ว่า
จะพูด หรือ จะฟัง
ใน setting
เลือกได้
ว่าจะทำอะไร
มีข้อมูล meeting id
ใช้แชร์ให้นักเรียน
เข้าร่วมชั้นเรียนได้
ถ้าหลุดออกไป
กลับเข้าใหม่
ก็ป้องรหัสเข้าประชุมก่อนเสมอ
การแชร์หน้าจอ
จะถามยืนยัน
ให้แน่ใจว่าไม่ผิดพลาด
บน smart phone
จัดการเรื่องเสียงได้
จะให้ดังอย่างไร
เครื่อง Desktop แชร์ Explorer
บนโทรศัพท์
ก็เห็น Explorer
เคยบันทึกคลิ๊ป meet ไว้
มีตัวเลือกใน drive
จัดการคลิ๊ปได้
เคยบันทึกคลิ๊ป meet ไว้
มีตัวเลือกใน drive
จัดการคลิ๊ปได้
Google Meet นัดหมายใน Google Calendar
Google calendar
ทำให้เราทราบว่าต้องทำอะไรเมื่อไร
สำรวจได้ว่าพบอะไรในปฏิทิน
สร้าง event
เพิ่มคนที่เกี่ยวข้อง
จะมี google meet มาให้ทันที
กำหนดได้ว่าจะใช้ google meet
กำหนด Meeting ID ที่เคยใช้ได้
กำหนดวันเวลา ตรงนี้สำคัญ
Google meet ของ G Suite
สามารถเชิญ Guest นอกองค์กรได้
อีเมลเชิญจะถูกส่งออกไป
เมื่อสร้าง Event แล้ว
กลับเข้าไปดูในปฏิทิน
สามารถเพิ่มผู้ร่วมประชุมได้
ห้องประชุมรับได้ไม่เกิน 250 คนพร้อมกัน
ปรับแก้เป็นรหัสที่เคยใช้งานได้
เขียนข้อความอธิบายเพิ่มเติมได้
เมื่อเข้า google meet
จะพบรายการนัดหมายที่ต้องประชุมวันนี้
คลิ๊กเข้าไปเตรียมเปิดประชุมหรือเข้าร่วม
เมื่อเข้าถึงหน้าห้องประชุม
เลือกกดปุ่ม join หรือ present
หรือปิดเปิดไมค์ วิดีโอก่อนเข้าห้องประชุม
ในห้องประชุม
เราเข้าเป็นคนแรก
ยังไม่พบใครในห้องประชุม
มีนักเรียนที่เคยเชิญไปทางอีเมล
ขอเข้าห้องประชุม ต้องกด Admit
ให้เข้าห้องประชุม หากไม่รับก็เข้าไม่ได้
เลือกแชร์ screen, windows
chrome tab ได้ตามที่ต้องการ
เช่น แชร์ slide ของ pptx
มีตัวเลือกเปลี่ยนเบอร์โทร
ให้โทรเข้ามาในห้องประชุม
ผ่าน ytel 1234 ของ tot ได้
นักเรียนได้รับอีเมลนัดหมาย
เค้าเปิดอ่านได้
ซึ่งแน่ใจได้ว่า นักเรียนได้รับอีเมล หากส่งไป
อีเมลจะถามยืนยันว่าเข้าร่วมหรือไม่
กด Yes, Maybe, No ยืนยัน
ทำให้ทราบจำนวนที่ยืนยัน
นักเรียนเปิด meet
พบการแจ้งเตือนใน meet
คลิ๊กแล้วเข้าประชุมได้
เมื่อเข้ามาถึงหน้าห้องประชุม
เลือก นำเสนอ หรือเข้าร่วมการประชุมได้
หรือปิด meet ไปก็ทำได้
เมื่อกด เข้าร่วมการประชุม
ก็จะส่งคำขอเข้าร่วม
เจ้าของห้องต้องกด admit
Smart phone ที่ลง calendar
จะมีข้อความแจ้งเตือนเมื่อใกล้เวลาประชุม
ทำให้ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมเรียน

Ytel 1234
ใช้โทรเข้าร่วมประชุมด้วยเสียงได้
แต่เป็นบริการที่ต้องโทรจากบ้านที่ใช้ทีโอที
StepPlus Training

+ google.com..speech.html
+ drive.google.com

ในยุคที่สังคมยอมรับการเรียนผ่านวีดีโอ หรือสอนผ่านวีดีโอ พบคลิ๊ปน่าสนใจมากมาย ใน youtube.com หนึ่งในนั้นคือ หลักสูตรการบริหารจัดการ ตอน 1) จุดตายในการบริหารองค์กร ของผู้บริหาร [EP1] โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ มีรวมในหลักสูตรนี้ทั้งหมด 9 ตอน ได้แก่ 2) Know How & Know Who กับความสำเร็จในงาน 3) การตัดสินใจ หัวใจความสำเร็จของผู้จัดการ 4) งานไม่ยุ่ง แต่ยุ่งคน ศึกษาพฤติกรรมคนในองค์กร 5) อิทธิพลของกระบวนการฝูงชนในองค์กร 6) เข้าใจคน เพื่อชนะใจคนในองค์กร 7) การพัฒนาตนเองด้วย PDCA 8) การบริหารเงิน เพื่อความมั่นคงของชีวิต 9) บริหาร EGO ในตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในการงาน และ แนะนำตัว เผยแพร่ในช่อง StepPlus Training คือ สถาบันฝึกอบรม ที่มุ่งเน้นพัฒนา "คน" ให้เป็นมืออาชีพ ด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนรู้ ที่เป็นลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ สามารถจัดอบรมได้ทั้งในองค์กร และจัดอบรมแบบ Public
งานมอบหมาย : นิสิตบริหาร ต้องดูให้ครบทั้ง 8 คลิ๊ป ๆ ละ 5 นาที แล้วนำประเด็นมานำเสนอ

งานมอบหมาย คลิ๊ปหลักการบริหารจัดการ

คลิ๊ปมอบหมายงาน
บันทึกระหว่างสอนออนไลน์
ขณะนี้อยู่ในห้อง คนเดียว
แนะนำ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
งานมอบหมาย คลิ๊ปหลักการบริหารจัดการ
1. ให้นิสิตค้นหาคลิ๊ป มีร่องรอยตามภาพ มาจัดทำเป็น playlist ใน youtube
2. ดาวน์โหลดคลิ๊ป แล้วอัพโหลดเก็บในสื่อ เช่น cloud storage แล้ว capture หน้าจอผลงาน ใช้ประกอบในขั้นตอนสุดท้าย
3. แปลงวีดีโอเป็นข้อความตัวอักษร แนะนำให้ใช้ google docs (Voice typing) + playlist ให้ได้แฟ้ม docx แล้ว rewrite เติมเต็มใหม่
4. จัดเตรียมเอกสารสรุปเพื่อนำเสนอ สิ่งที่ได้อ่าน ได้ฟัง ได้วิพากษ์ วิจารณ์ อาจเป็น article, poster, infographic โดยมีภาพผลงานข้อ 1 และ 2 ในเอกสาร
5. ใช้ zoom, webex, meet, teams, camtasia, obs, หรือ camstudio บันทึกการนำเสนอเอกสารเป็นคลิ๊ป อัพโหลดคลิ๊ปเข้า youtube แล้วแชร์เข้ากลุ่มของวิชา โดยระบุรหัสนิสิตและชื่อสกุลใต้โพสต์ที่สั่งงานนี้

พบว่า Vimeo.com จำกัด 10 แฟ้มต่อวัน สัปดาห์ละไม่เกิน 500MB ทั้งหมด 5GB

ส่วนตัวคลิ๊ป มอบหมายงาน บันทึกด้วย Google Meet ทำการ Record ผ่านเครือข่ายไปเก็บใน Google Drive ถ้าเน็ตไม่แรงอย่าเลือกวิธีนี้นะครับ เสี่ยงเกินไปที่จะได้คลิ๊ปไม่เต็มเรื่อง

อนุญาตให้ใช้ Microphone
พบว่า มีหลายปัญหาที่ทำให้ Microphone is off บน Google Meet และมีคลิ๊ปเล่าถึงวิธีแก้ปัญหาไมโครโฟนบน Google meet ไว้หลายคลิ๊ป ซึ่งมีหลายจุดที่อาจเป็นปัญหาที่ต้อง Setting กันใหม่ เช่น Site Setting ใน Browser หรือ Change sound card settings ลด Levels ไว้ (win8) กรณีตามภาพ เข้าไป Clear data แล้วเลือก Allow ให้กับ Microphone
ปล. อีกกรณีหนึ่ง คือ มีโปรแกรมบางตัวยึดไมโครไฟนไว้ เช่น Wirecast ซึ่ง นายเบนซ์ถอนออก ก็แก้ปัญหาได้
youtube.com/watch?v=k1WJCQn0_z4
การแก้ปัญหา Microphone กับ Speaker Setting
1. ทดสอบการทำงานตามปกติด้วย Voice Recorder
	- Start menu, Search, Voice Recorder 
	- ทดสอบระดับเสียงเข้า Microphone และระดับเสียงออก Speaker
	- Microphone และ Speaker ใกล้มากไป เสียงจะหอน
	- ปกติแล้วเสียงจาก Microphone กับเสียงจาก System จะเป็นคนละส่วนกัน
2. จัดการ Sound ผ่าน Control panel
	- Start menu, Search, Manage audio devices หรือผ่าน Control Panel
	- พบรายการอุปกรณ์ Speaker (Playback) และ Microphone (Recording) ที่เป็น Default
	- คลิ๊ก Properties อุปกรณ์ Microphone ที่ Selected
	- General, Device Usage = Use this device (enable)
	- Listen, Uncheck : Listen to this device จะทำให้เสียงไมค์ไม่ดังที่ลำโพงตลอดเวลา
	- Levels, Microphone Boost ทำให้เสียงไมค์ดังขึ้น
3. 	Chrome settings
	- คลิ๊ก 3 จุดมุมบนขวาของ Chrome แล้วเลือก Settings
	- ช่อง Search ด้านบน ค้นหา mic คลิ๊ป Site Settings
	- คลิ๊ก Microphone แล้วเลือก Device ให้ตรงกับที่เราใช้ เพราะบางเครื่องมีหลายตัว
	- ใต้ device ต้องเปิดเป็น "Ask before accessing (recommended)" ไม่เอา "Blocked" นะครับ
	- รายการ Allow ด้านล่างควรพบ https://meet.google.com:443
	- ถ้าไม่พบว่า Meet ถูก Allow ไว้ ให้ทำข้อ 4
4. 	Allow https://meet.google.com/
	- เปิด https://meet.google.com/ ใน Google Chrome
	- ช่อง Address คลิ๊กรูปกุญแจ เลือก Allow ให้กับ Microphone และ Camera
	- คลิ๊ก Site Settings
	- มองหา Microphone และ Camera เปลี่ยนเป็น Allow
5. กรณีกล้องไม่ออก อาจเป็นเพราะใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น
	- พบว่ามีเครื่องหนึ่ง ติดตั้ง Wirecast เมื่อสั่ง Uninstall ออก ก็พบว่าใช้ Camera ได้ปกติ
	- พบว่า Wirecast มีผลทั้ง Zoom และ Meet เฉพาะกับบางเครื่องเท่านั้น
* เทคนิคเปิด Youtube to Meeting ต่าง ๆ
	- การ presentaion ผ่าน Chrome tab มีตัวเลือกเปิด Audio ได้ ทำให้ส่ง youtube ออกได้
	- การ presentaion ผ่าน Windows แล้วเปิดหน้า youtube จะไม่มีเสียงออกไปยังผู้ฟังโดยตรง
	- ปกติแล้วเปิด youtube.com จะไม่มีเสียงออกไปยังผู้ฟังโดยตรงต้อง "ออกลำโพง => ไปเข้าไมค์"
	- เปิด youtube.com แล้วเพิ่มเสียงลำโพงให้ไปเข้าไมค์ แต่ต้องระวังเรื่องเสียงหอน
	มี 3 วิธีในการเปิด Youtube 1) เปิดผ่าน Browser 2) เปิดจากใน Powerpoint (link, import) 3) Download
	https://techonmag.com/2013/09/06/mic-work-with-speaker-windows-tip/	


2 : 3 : 4 : 5 : 6
Thaiall.com