thaiall logomy background
สวัสดีชาวโลก (Hello World)
my town
HTML | Chrome Responsive | JavaScript | Bootstrap | JSLibrary | CanvasJS.com | JS01 | CGPA | Joom | AdminTLE | Thunkable
Hello World คืออะไร
สวัสดีชาวโลก (Hello World) คือ คำง่าย ๆ สำหรับการเขียนโปรแกรมแรกของโปรแกรมเมอร์ หรือเป็นคำที่มนุษย์ต่างดาวผู้มีอารยธรรมกล่าวทักทายต่อมนุษย์โลก เมื่อได้พบกับมนุษย์โลกซึ่ง ๆ หน้าเป็นครั้งแรก ที่เราน่าจะคุ้นชินกับคำนี้ในภาพยนตร์ไซไฟเกี่ยวกับการมาเยือนของมนุษย์ต่างดาว
ทุกคนย่อมต้องมีครั้งแรกกันทั้งนั้น ที่จะต้องกล่าวคำแรก
การเขียน block หรือ blog เริ่มไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษาพันธ์ใหม่ แต่วันนี้ (21 พ.ย.62) เป็นครั้งแรกของผมที่ได้กล่าวคำว่า Hello World ใน blockdit.com/thaiall และตั้งใจเขียนเป็นตัวอย่างให้นิสิตได้เข้าไปเขียน หรือเลือกเขียนบอกเล่าเรื่องราวเป็นบล็อก (blog) ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ
แนะนำแหล่งบริการสำหรับ #Storytelling
blogger.com, wordpress.com, wix.com, sites.google.com, classstart.org, medium.com, blockdit.com, github.com, facebook page หรือ facebook note
26 สวัสดีชาวโลก (Hello world) เคยอ่าน Blog เรื่อง Here is how you can say "Hello World" in 26 different coding languages ที่เขียนโดย Vijay Prabhu July 10, 2016 พบแชร์เรื่องนี้ใน FB/programmerthai น่าสนใจมาก แล้วมี คำถามในใจ ว่า "แล้วผมเขียน Hello World ที่แปลไทยว่า สวัสดีชาวโลก ได้กี่ภาษา"
Blog: techworm.net มีตัวอย่างโค้ด ดังนี้ 1. Bash 2. Basic 3. C 4. C++ 5. C# 6. Clipper 7. CoffeeScript 8. Delphi 9. GO 10. HTML 11. Java 12. JavaScript 13. jQuery 14. Julia 15. Logo 16. MatLab 17. Objective-C 18. Pascal 19. Perl 5 20. Processing 21. Python 22. R 23. Ruby 24. Swift 25. VBScript 26. Visual Basic .NET 27. XSLT
เปรียบเทียบ Hello world ในแต่ละภาษา และปฏิกิริยาของผู้พบเห็น

โดยปกติแล้ว Developer จะกด Like ให้กับ Fanpage ที่น่าสนใจสำหรับสายอาชีพของตน ผมได้พบหนึ่งใน Fanpage ที่น่าสนใจ คือ "Skill in Programming" พบภาพนี้จากการติดตามหัวหน้า แล้วเห็นว่าหัวหน้า comment ให้กับภาพนี้ ซึ่งการติดตาม idol (idol = บุคคลต้นแบบ) ตามสายอาชีพ เป็นวิธีลัด ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ปกติแล้วเราจะมีเพื่อนใน facebook ได้ไม่เกิน 5000 คน แต่หากไม่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยอย่างสม่ำเสมอก็จะไม่พบว่า idol ของเรา โผ่มาใน feed ให้เราสื่อสารด้วย เราจะไม่รู้ว่า เขาคิด ไลค์ แชร์ หรือเม้นท์อะไร การเลือกติดตาม idol มีให้เลือกหลายแบบ ช่วยให้เราไม่พลาดกิจกรรมของ idol ที่ชื่นชอบ

ภาพหนุ่มน้อย ที่กำลังมองดู code ที่ต้องการแสดงคำว่า "hello world" ด้วยภาษา Python, php, c และ assembly ซึ่งในภาพมีข้อความว่า "Hello World em diferentes linguagens" ลองค้นดูพบว่าเป็นภาษา Portuguese ส่วน phyton นั่นเป็นภาษา Portuguese แปลว่างูหลาม แต่ภาษา Python เป็นคำเฉพาะ เป็นชื่อของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เกี่ยวกับงูหลาม

อาการที่มองในแต่ละภาษา
python : ยิ้ม เพราะบรรทัดเดียว เขียนง่าย
php : เรียบเฉย เห็น 3 บรรทัด
c : ตกใจนิดหน่อย เห็น 5 บรรทัด
assembly : ร้องยี้ รับไม่ได้ นับบรรทัดไม่ทันเลย

ชวนนักเรียนแชร์ Hello World ใน Cloud ให้คุณครู

ยุค New Normal นักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องเรียนหนังสือผ่านสมาร์ทโฟน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กันแล้ว การเขียนรายงาน แล้วส่งข้อมูลผ่าน Social Media สามารถทำได้ง่าย ยกตัวอย่างการเขียนคำว่า Hello World บน Smart phone ผ่านโปรแกรม Cloud Application ในรูปของ Word แล้ว Save as ไว้บน Cloud Storage จากนั้นก็แชร์ผลงาน แบบกำหนดเป็นสาธารณะ ให้เพื่อนและคุณครู เข้ามาตรวจประเมินผลงานกันได้ เสนอให้คุณครูพิจารณาสอนการใช้ตารางคำนวณข้อมูล เช่น ข้อมูลนิสิต เงินเดือน โอที หรือภาษี ผ่าน Excel หรือทำ Slide นำเสนอ ก็ไม่ต่างจากการใช้ Word เพราะมี Cloud Application ที่เปิดบริการฟรี อยากชวนครูอาจารย์สั่งงานน้องนักเรียน เพิ่มทักษะพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล ซึ่งใช้งานได้ทั้งบัญชี gmail.com และ hotmail.com ซึ่งทำตัวอย่างแชร์ข้อความ Hello World ตามภาพประกอบ
Google Drive : Hello World
One Drive : Hello World

ภาษาที่ 1. สวัสดีชาวโลก ใน HTML
ภาษาเฮชทีเอ็มแอล (HTML)
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) ในปัจจุบัน HTML ล่าสุดคือ รุ่น 5 เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML รุ่นแรกคือ 1.0 (ม.ค.2543) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแบบ XML (eXtensible Markup Language)
คำว่า HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language
Wikipedia.org
Initial release : 1993
By : Tim Berners-Lee (1980)
<html>
<head>
<title>Hello World</title>
</head>
<body>
Hello World
</body>
</html>
ภาษาที่ 2. สวัสดีชาวโลก ใน PHP
ภาษา PHP
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับ ตัวแปลภาษา ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปเอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
คำว่า PHP ย่อมาจาก Personal Home Page ปัจจุบันเป็น PHP Hypertext Preprocessor
Wikipedia.org
First appeared : June 8, 1995
By : Rasmus Lerdorf
<?php
echo "Hello World";
?>
ภาษาที่ 3. สวัสดีชาวโลก ใน ASP
ภาษา ASP
คือ ภาษาโปรแกรมที่ทำงานบนเครื่องบริการเว็บไอไอเอส (IIS = Internet Infomation Service) เป็นภาษาสคริปต์ทำงานฝั่งเครื่องบริการ (Server-Side Script) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ โดยมีรากฐานภาษามาจากภาษาเบสิก สำหรับเอเอสพีดอทเน็ตจะต้องทำงานบนดอทเน็ตเฟรมเวิร์ค (Dotnet Framework) คำว่า ASP ย่อมาจาก Active Server Page
Wikipedia.org
Stable release : 3.0 / February 17, 2000
By : Microsoft (ASP 1.0 was released on December 1996)
<%
response.write("Hello World")
%>
ภาษาที่ 4. สวัสดีชาวโลก ใน PERL
ภาษา PERL
คือ ภาษาโปรแกรมที่ทำงานบนเครื่องบริการเว็บ (Web Server) เป็นภาษาสคริปต์ทำงานฝั่งเครื่องบริการ (Server-Side Script) พัฒนาโดย Larry Wall ในปี ค.ศ. 1987 โดยมีรากฐานภาษามาจากภาษาซี เพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ คำว่า PERL ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language
Wikipedia.org
First appeared : December 18, 1987
By : Larry Wall
#!/usr/bin/perl
print"Content-type:text/html\n\n";   
print "Hello World";
ภาษาที่ 5. สวัสดีชาวโลก ใน JAVA Script
ภาษา JAVA Script
คือ ภาษาโปรแกรมที่มีโครงสร้างคล้ายภาษาซี ทำหน้าที่แปลความหมาย และดำเนินการทีละคำสั่ง ภาษานี้มีชื่อเดิมว่า LiveScript ถูกพัฒนาโดย Netscape Navigator เพื่อช่วยให้เว็บเพจสามารถแสดงเนื้อหา ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามเงื่อนไข หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือโต้ตอบกับผู้ใช้ได้มากขึ้น เพราะภาษา HTML ที่เป็นภาษาพื้นฐานของเว็บเพจ ทำได้เพียงแสดงข้อมูลแบบคงที่ (Static Display)
Wikipedia.org
First appeared : December 4, 1995
By : Netscape Communications Corporation, Mozilla Foundation, Ecma International
<body>
<script type="text/javascript">
  document.write("Hello World");
  console.log("Hello World");
</script>
</body>
ภาษาที่ 6. สวัสดีชาวโลก ใน JAVA
ภาษา JAVA
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior)
Wikipedia.org
First appeared : May 23, 1995
Designed by : James Gosling, Mike Sheridan, and Patrick Naughton
Release : Sun Microsystems, Java 1.0 in 1995
class me {
  public static void main(String args[]) {
    System.out.println("Hello World");
  }
}
ภาษาที่ 7. สวัสดีชาวโลก ใน Visual Basic .NET (Module)
ภาษา Visual Basic .NET
คือ เครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรมเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มไมโครซอฟท์วิชวลสตูดิโอดอทเน็ต (Microsoft Visual Studio .NET) เป็นการโปรแกรมที่มีสภาพแวดล้อมแบบกราฟิกสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ (Windows Operating System) โดยมีรากฐานภาษามาจากภาษาเบสิก และทำงานบนดอทเน็ตเฟรมเวิร์ค (Dotnet Framework) ถูกออกแบบให้มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุอย่างแท้จริง และรองรับการออกแบบด้วยยูเอ็มแอล (UML = Unified Modeling Language)
Wikipedia.org
First appeared 2001
By : Microsoft, VB 7.0 in 2002
Module Module1
    Sub main()
        Console.WriteLine("Hello World")
    End Sub
End Module
ภาษาที่ 8. สวัสดีชาวโลก ใน C++
ภาษา C++
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริสชี่ (Dennis Ritchie) เมื่อประมาณต้นปีค.ศ. 1970 เพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ ต่อมาถูกนำไปใช้ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จนถูกใช้เป็นภาษาพื้นฐานสำหรับภาษาอื่น เช่น ภาษาจาวา (Java) ภาษาพีเอชพี (PHP) ภาษาซีชาร์ป (C#) ภาษาซีพลัสพลัส (C++) ภาษาเพิร์ล (Perl) ภาษาไพทอล (Python) หรือภาษารูบี้ (Ruby)
Wikipedia.org
First appeared : 1985
Designed by : Bjarne Stroustrup
#include <stdio.h> 
#include <conio.h> 
void main(){
  printf("Hello World");
  getch();
}
ภาษาที่ 9. สวัสดีชาวโลก ใน GWBasic
GWBasic
คือ ภาษาโปรแกรมภาษาหนึ่ง มีโครงสร้างภาษาเหมือนภาษาเบสิก (Basic Language) โดยคำว่า GW ย่อมาจาก Gee Whiz เป็น ตัวแปลภาษาที่ทำงานแบบอินเทอร์เพตเตอร์ (Interpreter) เป็นภาษาในยุคแรกที่นิยมใช้ประกอบการสอนเขียนโปรแกรม บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC = Personal Computer)
Wikipedia.org
First appeared : 1983
By : Microsoft
10 dim x$
20 x$ = "Hello World"
30 print x$
ภาษาที่ 10. สวัสดีชาวโลก ใน Pascal
Pascal
คือ ภาษาโปรแกรม ที่พัฒนาโดย Niklaus Wirth ในปีค.ศ. 1970 ได้รับความนิยมในสมัยนั้น เนื่องมาจากตัวภาษามีลักษณะเด่นหลายด้าน เช่น รูปแบบคำสั่งที่มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ ง่ายต่อการเขียน และการจดจำ นอกจากนี้โปรแกรมยังมีลักษณะที่เป็นโครงสร้าง (Structure Programing) ง่ายต่อการศึกษา มีตัวแปลภาษา(Compiler) ในหลายระบบปฎิบัติการ เหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการคำนวณซับซ้อน และเหมาะกับการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมเป็นครั้งแรก
Wikipedia.org
First appeared : 1970
By : Niklaus Wirth
program myprogram;
begin
   Writeln('Hello World');
end. 
ภาษาที่ 11. สวัสดีชาวโลก ใน COBOL
COBOL
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานธุรกิจภาษาแรกของโลก พัฒนาในปีค.ศ. 1962 โดยคณะกรรมการโคดาซิล (The Conference on Data Systems Languages - CODASYL) มีจุดเด่นคือ สามารถใช้งานแฟ้มข้อมูลได้หลายแบบ กำหนดโครงสร้างข้อมูลได้สะดวก มีลักษณะการเขียนโปรแกรม แบบเอกสารอธิบายโปรแกรม ช่วยให้นักพัฒนารุ่นถัดไปเข้าใจได้ง่าย
Wikipedia.org
First appeared : 1959
By : CODASYL, ANSI, ISO
identification division.
  program-id.  myprogram.
  author.      burin  rujjanapan.
  installation.  yonok.
  date-written.  20-09-97.
  date-compiler. 20-09-97.
environment division.
  configuration section.
    source-computer. pc.
    object-computer. pc.
data division.
  working-storage section.
  01  myword  pic  x(11)   value "Hello World".   
procedure division.
  main-para.
    display myword.
    stop run.
ภาษาที่ 12. สวัสดีชาวโลก ใน Clipper
Clipper
คือ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถูกใช้เพื่อสร้างโปรแกรมซอฟท์แวร์ ซึ่งถูกพัฒนาให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการดอส แม้เป็นภาษาที่มีความสามารถพัฒนางานได้หลายวัตถุประสงค์ แต่ก็นิยมใช้สำหรับพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ ภาษา Nantucket Clipper เป็นตัวแปลภาษาสำหรับ DBase เปิดตัววันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2528 และพัฒนาไปถึง CA Clipper 5.3b เปิดตัววันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2540
Wikipedia.org
First appeared : 1985
By : Nantucket Corporation
@ 10,10 say "Hello World"
ภาษาที่ 13. สวัสดีชาวโลก ใน Assembly
ภาษา Assembly
คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งจะทำงานโดยขึ้นกับรุ่นของไมโครโพรเซสเซอร์ หรือหน่วยประมวลผล (CPU) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาแอสเซมบลีจำเป็นต้องผ่านการแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์เฉพาะเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ให้อยู่ในรูปของรหัสคำสั่งก่อน (เช่น .OBJ) โดยปกติ ภาษานี้ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการใช้งาน และการเขียนโปรแกรมเป็นจำนวนบรรทัดมากมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ภาษาระดับสูง เช่น ภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมเร็วกว่า และขนาดของตัวโปรแกรมมีขนาดเนื้อที่น้อยกว่าโปรแกรมที่สร้างจากภาษาอื่นมาก จึงนิยมใช้ภาษานี้ เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม
Wikipedia.org (ไทย)
First appeared : 1949
By : Kathleen Booth (1947)
        .model  small   
        .data
msg1      db      'Hello ','$'
msg2      db      'World','$'
        .code
pmain   proc    far
        push    ds  
        mov     ax,0
        push    ax  
        mov     ax,@data
        mov     ds,ax
start:  mov     ah,09h
        lea     dx,msg1
        int     21h
        lea     dx,msg2
        int     21h
finish: ret
pmain   endp
        end     pmain
ภาษาที่ 14. สวัสดีชาวโลก ใน Batch file
Batch file
คือ วิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ก่อน จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน
Wikipedia.org
IBM PC DOS introduced in 1981
Batch file can be started from command-line interface
@echo off
echo Hello World
ภาษาที่ 15. สวัสดีชาวโลก ใน Shell Script
ภาษา Shell Script
คือ วิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ก่อน จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน ซึ่ง Shell Script จะประมวลผลได้มากกว่าคุณสมบัติพื้นฐานของ Batch file
Wikipedia.org
Run by the Unix shell
Unix : Development started in 1969
#!/system/bin/sh
echo Hello World
ภาษาที่ 16. สวัสดีชาวโลก ใน Python
ภาษา Python
คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม (Platform) และใช้ในงานได้หลายประเภท ทั้งใช้ในการประมวลผลผ่านคอมมานด์ไลน์ หรือเป็นเว็บเพจแบบไดนามิก เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้โค้ดให้กับตัวแปลภาษา เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูปข้อความ เอชทีเอ็มแอล ภาพ หรือแฟ้มดิจิทอลอื่นใด ลักษณะของภาษามีรากฐานคำสั่งมาจากภาษาซี เป็นภาษาที่สามารถพัฒนาให้ใช้งานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ จุดที่แตกต่างกับภาษาอื่น คือ การรวบรวมจุดเด่นของแต่ละภาษามารวมเข้าด้วยกัน
ภาษาไพทอน เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ที่สร้างโดย กีโด ฟาน รอสซัม (Guido van Rossum) ชาวเนเธอร์แลนด์ ในธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) ปัจจุบันดูแลโดย มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน ซึ่งที่มาของชื่อ Python น่าจะมาจากรายการโทรทัศน์ Monty Python's Flying Circus ที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสนุกที่ได้ใช้ (fun to use) แต่ผู้สร้างบอกว่าชื่อนี้ไม่ได้มาจากงู แต่โลโก้ของภาษาเป็นรูปงู 2 ตัว
Wikipedia.org
First appeared : 20 February 1991
By : Guido van Rossum
print "Hello world"
ภาษาที่ 17. สวัสดีชาวโลก ใน Go Language
ภาษา Go
คือ ภาษาโปรแกรมที่สร้างโดยกูเกิ้ล ในปี 2552 มีโครงสร้างคล้ายภาษา C สามารถ download มาติดตั้งได้จาก golang.org เลือกแฟ้ม go1.10.1.windows-amd64.msi ขนาด 102 MB เพื่อทดสอบใช้งานบน Windows 10 ในการติดตั้งให้ double click แฟ้ม msi แล้วกด next เพื่อติดตั้งใน c:\go\ แล้วรอ install สักพัก จนได้กดปุ่ม Finish
Wikipedia.org
First appeared : 10 November 2009
By : Robert Griesemer, Rob Pike, Ken Thompson
package main
import "fmt"
func main() {
    fmt.Printf("hello, world\n")
}
ภาษาที่ 18. สวัสดีชาวโลก ใน MS Word 2016
MS Word 2016 ใช้เขียน Web page แล้วจัดเก็บเป็น .html ได้
ใช้ MS Office 2016 เขียนคำว่า "สวัสดีชาวโลก"
แล้วจัดเก็บได้ในหลายรูปแบบ เช่น
เป็น word16_hello.docx (Word document) - 11,887 bytes
เป็น word16_hello.doc (Word 97-2003 document) - 27,136 bytes
เป็น word16_hello.html (Web page) - 39,917 bytes
และ word_hello.files (colorschememapping.xml, filelist.xml, themedata.thmx)
เป็น word16_hello.htm (Web page, Filtered) 1,129 bytes
เป็น word16_hello.mht (Single File Web page) - 49,889 bytes
<div class=WordSection1>
<p class=MsoNormal>
<span lang=TH style='font-size:14.0pt;line-height:107%;
font-family:"Cordia New",sans-serif'>สวัสดีชาวโลก</span>
</p>
</div>
ภาษาที่ 19. สวัสดีชาวโลก บน thunkable.com
ขั้นตอนการสร้างแอพ Hello World บน thunkable.com
1. เข้า signup ด้วย @gmail.com แล้วพบกับหน้าโครงงาน
2. click : Start Building
> Project name : Hello World, Create
3. ยุบ Tutorials บน Left Tab และปิดจอต้อนรับ Platform Overview
4. click : Design Tab หรือเขียนด้วย Blockly จาก Blocks Tab ก็ได้
5. บน Add Components Tab พบ Web Viewer Component
6. ลาก Web Viewer ไปวางบน Screen1
7. พบ Web Viewer Properties ทางขวา
8. URL = http://www.thaiall.com/programming/helloworld.htm
9. clcik : Preview เพื่อดูผล
10. Menu bar, Download, Download Android App และ Download iOS App
11. ได้แฟ้ม Hello World.apk ขนาด 34 MB
download : drive.google.com/..pa3sWwaNM
rspsocial
Thaiall.com