หัวข้อ ethics_all

กฎหมาย และจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์

Ethics for Computer Professionals

Thaiall.com/ethics 3(3-0-6)

ปรับปรุง 20 มกราคม 2564

Burin rujjanapan - FB/ajburin


คำอธิบายรายวิชา

  • แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องความเป็นส่วนตัว อาชญากรรมผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษาการใช้เครือข่ายสังคมในปัจจุบัน

โฮมเพจที่เกี่ยวข้อง


หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมาย

ค่านิยมไทย 12 ประการ

จริยธรรมไทย

หลักธรรมาภิบาล

เพลงหน้าที่เด็ก

จริยธรรมคอมพิวเตอร์


ความหมาย (1/4)

  • ความหมายของ ธรรมชาติ สัจธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม
  • พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า ธรรมชาติ คือ "สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ" (อ้างอิงจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต ) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 105)
  • จริยศาสตร์ คือ ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก หรืออะไรควรอะไรไม่ควร ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 217)
  • ศีลธรรม คือ ความประพฤติดีที่ชอบ ธรรมในระดับศีล ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 771)

ความหมาย (2/4)

  • จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างที่กำหนดขั้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเกิดเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 771)
  • สัจธรรม คือ ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะของธรรมชาติ
  • จริยธรรม คือ ข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์
  • วัฒนธรรม คือ รูปแบบการปฏิบัติตามจริยธรรมที่ปรากฏในวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์ (วัฒนธรรมไทย สู่ยุคเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์การศาสนา พ.ศ. 2538 หน้า 10)

ความหมาย (3/4)

  • คุณธรรม (Moral) #
  • A moral is a message conveyed (สื่อ) or a lesson to be learned from a story or event. The moral may be left (เหลือไว้) to the hearer, reader or viewer to determine for themselves, or may be explicitly encapsulated in a maxim (คติพจน์).
  • คุณธรรมเป็นสารที่สื่อออกมา หรือบทเรียนที่เรียนรู้จากเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ซึ่งคุณธรรมอาจติดไปกับผู้ฟัง ผู้อ่าน ผู้ชมที่จะอยู่ในพวกเขา หรือถูกสังเคราะห์เป็นชุดความคิดในรูปของคติพจน์ เช่น ทำดีย่อมได้ดี น้ำขึ้นให้รีบตัก

ความหมาย (4/4)

  • จริยธรรม (Ethics) #
  • Ethics, also known as moral philosophy, is a branch of philosophy that involves systematizing (ประมวล), defending (การปกป้อง), and recommending (ชี้แนะ) concepts of right and wrong behavior.
  • จริยธรรม หรือปรัชญาคุณธรรม ที่เกี่ยวกับการประมวล การปกป้อง ชี้แนะแนวทาง หรือพฤติกรรมว่าอะไรถูกอะไรผิด

ค่านิยมไทย 12 ประการ (1/2)

  1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์

ค่านิยมไทย 12 ประการ (2/2)

  1. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
  2. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
  3. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
  4. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
  6. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

สไลด์เอกสารนำเสนอ


คุณค่าของจริยธรรม

  1. จริยธรรมช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในทางที่ดีขึ้น
  2. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง มีความรับผิดชอบ สำนึกในหน้าที่ ที่พึงมีต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
  3. จริยธรรมช่วยให้เกิดสติปัญญา รู้จักใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาโดยถูกวิธี
  4. จริยธรรมช่วยให้เกิดความสงบในสังคม
  5. จริยธรรมช่วยให้อยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ
  6. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์รู้จักปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้
  7. จริยธรรมช่วยป้องกันการเบียดเบียนและเอาเปรียบกันในสังคม
  8. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์มีความหนักแน่น ขยัน อดทน ต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคและปัญหา
  9. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์สามารถกำหนดเป้าหมายของชีวิต และดำเนินไปสู่เป้าหมายได้

ประโยชน์ของจริยธรรม

  1. สร้างแบบแผนให้บุคคลสามารถปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง
  2. สร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิตของบุคคลได้
  3. สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับสังคม
  4. สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติได้อย่างมากมาย
  5. สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่บุคคลทุกสาขาอาชีพ
  6. สร้างมาตรฐานและความยุติธรรมในด้านคุณภาพและบริการของสินค้า
  7. สร้างมาตรฐานในการประกอบอาชีพ

องค์ประกอบของจริยธรรม (ประภาศรี สีหอำไพ : 2540, 48)

  1. ระเบียบวินัย (discipline)
  2. สังคม (society)
  3. อิสระเสรี (autonomy) คือ เสรีภาพในการปกครองตนเอง

ประเภทของจริยธรรม (พิภพ วซังเงิน : 2545, 5)

  1. จริยธรรมภายนอก
  2. จริยธรรมภายใน

คุณลักษณะของจริยธรรม (1/2)

  1. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
  2. ความซื่อสัตย์ (Probity)
  3. ความมีเหตุผล (Rationality)
  4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude)
  5. ความอุตสาหะ (Perseverance)

คุณลักษณะของจริยธรรม (2/2)

  1. ความสามัคคี (Harmony)
  2. ความมีระเบียบเรียบร้อย (Discipline)
  3. ความเสียสละ (Sacrifice)
  4. ความประหยัด (Parsimony)
  5. ความยุติธรรม (Impartiality)
  6. ความเมตตากรุณา (Clemency)

แหล่งที่มาของจริยธรรม

  1. ปรัชญา
  2. ศาสนา
  3. วรรณคดี
  4. สังคม
  5. การเมืองการปกครอง

ซิกมันด์ ฟรอยด์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กับ บุคลิก 3 ส่วน

  1. อิด (id) คือ พลังที่แสวงหาความพึงพอใจ ความอยากได้
  2. อีโก้ (ego) คือ พลังแห่งการใช้เหตุผลตามข้อเท็จจริง
  3. ซูเปอร์อีโก้ (super ego) คือ พลังที่เป็นตัวควบคุมทั้งอิด และอีโก้

ปัจจัยที่มาของจริยธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

  1. ตามประเพณี
  2. ตามกฎหมาย
  3. ตามหลักศาสนา
  4. ตามหลักปรัชญา
  5. ตามหลักการใช้วิจารณญาณ

องค์ประกอบของจริยธรรม (เนตร์พัณณา ยาวิราช : 2556 , 6)

  1. ด้วยความรู้เหตุผล
  2. ด้วยอารมณ์ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
  3. ด้วยพฤติกรรมการแสดงออก
  • นอกจากนี้ยังมีคำที่น่าสนใจ ได้แก่ ความประพฤติ (Conduct) ที่มีมโนธรรมกำกับ , พฤติกรรม (Behavior) , มโนธรรม (Conscience) , คุณธรรม (Virtue)

คุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ (นโยบายปฏิรูปการศึกษาปีงบประมาณ 2550-2551)

  1. ขยัน
  2. ประหยัด
  3. ซื่อสัตย์
  4. มีวินัย
  5. สุภาพ
  6. สะอาด
  7. สามัคคี
  8. มีน้ำใจ

คุณค่าของจริยธรรมต่อชีวิตมนุษย์ (พิภพ วชังเงิน : 2545 , 22)

  1. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง
  2. จริยธรรมเป็นวิถีแห่งปัญญา
  3. จริยธรรมช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
  4. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นระบบ
  5. จริยธรรมช่วยสร้างสันติภาพในสังคมและในโลก
  6. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้าได้กับผู้อื่น
  7. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์มีเครื่องมือยึดเหนี่ยวและเป็นหลักปฏิบัติ
  8. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์เป็นคนหนักแน่น อดทน ขยัน ต่อสู้
  9. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์สามารถกำหนดเป้าหมายของชีวิต
  10. จริยธรรมช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ปัญหาชีวิตและสามารถทำให้ความทุกข์หมดได้

จริยธรรมไทย (1/3)

  • รวบรวมจาก "การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย" (saroach29)
  • ในส่วนนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวคิดของ ศ.ดร.สาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี มีหัวข้อดังนี้
  1. ความมีเหตุผล (Rationality)
  2. ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
  3. ความอุตสาหะ หรือการมีความตั้งใจแน่วแน่ (Resolution)
  4. ความเมตตากรุณา (Compassion)

จริยธรรมไทย (2/3)

  1. ความเสียสละ (Sacrifice)
  2. ความสามัคคี (Cooperation)
  3. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
  4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude)
  5. ความประหยัด (Moderation)
  6. ความรู้จักพอ (Satisfaction)
  7. ความมีสติสัมปชัญญะ (Awareness)
  8. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)

จริยธรรมไทย (3/3)

  1. ความยุติธรรม (Fairness)
  2. ความอดทนอดกลั้น (Endurance)
  3. ความเคารพนับถือผู้อื่น (Consideration)
  4. ความไม่เห็นแก่ตัว (Selflessness)
  5. ความถ่อมตัว (Modesty)
  6. ความกล้าทางคุณธรรม (Courage)
  7. ความเคารพตนเอง (Self-respect)

คุณลักษณะของจริยธรรม (1/3)

  • คุณลักษณะของจริยธรรม (The characteristics of ethics) มี 12 ข้อ คือ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความอุตสาหะ ความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ความประหยัด ความยุติธรรม ความเมตตา ความกรุณา โดยมีความหมายดังนี้
  1. ความรับผิดชอบ (Responsibilities) หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายาม เพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุสำเร็จตรงตามเป้าหมาย
  2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
  3. ความมีเหตุผล (Rationality) หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง

คุณลักษณะของจริยธรรม (2/3)

  1. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือสิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณอาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม
  2. ความอุตสาหะ (Perseverance) หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำ ด้วยความขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทนอดกลั้น ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ
  3. ความสามัคคี (Unity) หมายถึง ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน
  4. ความมีระเบียบวินัย (Discipline) หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม กับจรรยามารยาททางสังคม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายและศีลธรรม

คุณลักษณะของจริยธรรม (3/3)

  1. ความเสียสละ (Sacrifice) หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง
  2. ความประหยัด (Economy) หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะ พอควร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยจนเกินฐานะของตน
  3. ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  4. ความเมตตา (Mercy) หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
  5. ความกรุณา (Kindness) หมายถึง ความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์

การบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย (1/3)

  1. กำหนดโจทย์วิจัย และคำนึงถึงการนำไปใช้
  2. ไม่ผิดกฎหมาย และหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ
  3. คำนึงถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  4. มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญการวิจัยและการวิเคราะห์ทางสถิติ
  5. มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
  6. รับรองโครงการด้านการใช้สัตว์ทดลองและการวิจัยในมนุษย์

การบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย (2/3)

  1. มีความตระหนักและปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณการวิจัย
  2. มั่นใจว่าวัตถุดิบวิจัยมีลักษณะที่ต้องการ
  3. บันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง
  4. มีระบบบริหารข้อมูล Data Management
  5. มั่นใจว่างานวิจัยสามารถทำซ้ำได้
  6. มีระบบ Mentoring แก้ไขปัญหาพัฒนาความสามารถ (Mentor = ที่ปรึกษา)

การบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย (3/3)

  1. มีการรีวิวผลงานวิจัยที่เหมาะสม และตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิจัย (Plagiarism)
  2. มีการพิจารณา Authorship เหมาะสม (Author = ผู้เขียนบทความวิชาการ)
  3. ส่งมอบข้อมูลครบถ้วนให้กับผู้ใช้
  4. มีการสื่อสารต่อมวลชนและผู้รับประโยชน์อย่างรับผิดชอบ
  5. มีหลักฐานแสดงการดำเนินงาน (กรณีมีข้อร้องเรียนการประพฤติมิชอบในการวิจัย)
  6. มีระบบพัฒนา ประเมิน และตรวจสอบคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย

หลักธรรมาภิบาล (1/4)

  • หลักธรรมาภิบาล เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดี
  • ผู้บริหารสถาบัน/คณะวิชา/หน่วยงานยึดเป็นแนวปฏิบัติก็เชื่อได้ว่าจะมีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาที่ดี ซึ่งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านคุณภาพทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค
  • หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอก เป็นต้น

หลักธรรมาภิบาล (2/4)

  • หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มี 10 องค์ประกอบ
  1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการรวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนำของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
  2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
  3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือ ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

หลักธรรมาภิบาล (3/4)

  1. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
  2. หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
  3. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา

หลักธรรมาภิบาล (4/4)

  1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอำนาจ การตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจใน การให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
  2. หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
  4. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดยฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์

เพลงหน้าที่เด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี 1/2)

  • เป็นเพลงวันเด็กแห่งชาติ
  • เด็กเอ๋ยเด็กดี
  • ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
  • หนึ่ง นับถือศาสนา
  • สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
  • สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
  • สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
  • ห้า ยึดมั่นกตัญญู
  • หก เป็นผู้รู้รักการงาน

เพลงหน้าที่เด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี 2/2)

  • เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
  • ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
  • แปด รู้จักออมประหยัด
  • เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
  • น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
  • ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
  • สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
  • รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
  • เด็กสมัยชาติพัฒนา
  • จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

จริยธรรมคอมพิวเตอร์

  • จริยธรรมคอมพิวเตอร์ คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวอย่างการกระทำผิดจริยธรรมคอมพิวเตอร์

  1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
  2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
  3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ขอบเขตของจริยธรรมคอมพิวเตอร์

  • Ethics of information technology using = PAPA [7]p.358
    1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
  • เช่น แอบดูเมล เก็บบันทึกจราจร ข้อมูลลูกค้า หรือ Single Sign On
    1. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
  • เช่น Bank, Grade, Wiki, Blog
    1. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)
  • เช่น ทรัพย์ที่จับต้องและจับต้องไม่ได้ การคุ้มครองสิทธิ
    1. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
  • เช่น DoS, Security, Bandwidth, Priority, Method

อบายมุข 6

  • วิถีชีวิต 6 อย่าง แห่งความโลภ และความหลง ที่ทำให้เกิดความเสื่อม ความฉิบหายของชีวิต
  1. ดื่มน้ำเมา (Addiction to intoxicants) คือ พฤติกรรมชอบดื่มสุราเป็นนิจ
  2. เที่ยวกลางคืน (Roaming the streets at unseemly hours) คือ พฤติกรรมชอบเที่ยวกลางคืนเป็นนิจ
  3. เที่ยวดูการละเล่น (Frequenting shows) คือ พฤติกรรมชอบเที่ยวดูการแสดงหรือการละเล่นเป็นนิจ
  4. เล่นการพนัน (Indulgence in gambling) คือ พฤติกรรมชอบเล่นการพนันเป็นนิจ
  5. คบคนชั่วเป็นมิตร (Association with bad companions) คือ พฤติกรรมชอบคบหาคนพาลเป็นนิจ
  6. เกียจคร้านการงาน (Habit of idleness) คือ พฤติกรรมชอบเกียจคร้านในการงานเป็นนิจ

ความดีพื้นฐานสากล

  • พระภาวนาวิริยคุณ (2555) ได้กล่าวว่า GM5 (Global Merit 5)
    1. ความสะอาด หมายถึง ปราศจากสิ่งแปลกปลอม อันจะทำให้เสียคุณภาพ
  • มี 3 ระดับคือ สะอาดกาย สะอาดวาจา และสะอาดใจ
    1. ความมีระเบียบ หมายถึง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถูกลำดับ เป็นแถว
  • เป็นแนว ไม่ขัดขวาง ไม่สับสน
  • มี 3 ทาง คือ ระเบียบทางร่างกาย ระเบียบทางความคิด ระเบียบทางคำพูด
    1. ความสุภาพนุ่มนวล หมายถึง การมีกิริยา วาจา การแสดงออกอย่างสุภาพนุ่มนวล
  • ไม่รุนแรง หยาบคาย ไม่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกในทางที่ไม่ดี
    1. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงาน การทำกิจวัตร และกิจกรรมตรงตามเวลาอย่างเหมาะสม
    1. การมีสมาธิ หมายถึง การที่จิตใจจดจ่อ มีสติ สามารถควบคุมจิตใจ อารมณ์ให้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง
  • thaiall.com/ethics/global_merit.png

จริยธรรมสื่อมวลชน (1/2)

  • สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2510
  • และในหนังสือ "จริยธรรมสื่อมวลชน" ของ รศ.นงนุช ศิริโรจน์ (MC 463)
  1. ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของปัจเจกชน สถาบัน ประเทศชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ กิจญาณ)
  2. ความมีเสรีภาพ (Freedom) ได้แก่ เสรีภาพที่มีความรับผิดชอบกำกับ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธสาสนาคือ ปวารณา หรือ ธรรมาธิปไตย)
  3. ความเป็นไท (Independence) ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใครทั้งกายและจิตใจ โดยอามิสสินจ้างอื่นใด(ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)

จริยธรรมสื่อมวลชน (2/2)

  1. ความจริงใจ (Sincerity) ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน ผิดพลาดต้องรีบแก้ไข (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สัจจะ)
  2. ความเที่ยงธรรม (Impartiality) ได้แก่ ความไม่ลำเอียง หรือความไม่เข้าใครออกใคร (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ หมายถึง "ฉันทาคติ" ลำเอียงเพราะรัก "โทสาคติ" ลำเอียงเพราะชัง "ภยาคติ" ลำเอียงเพราะกลัว "โมหาคติ" ลำเอียงเพราะหลง)
  3. ความมีน้ำใจนักกีฬา (Fair Play) ได้แก่ การปฏิบัติดีงาม ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สุปฏิบัติ)
  4. ความมีมารยาท (Decency) ได้แก่ การใช้ภาษาและภาพที่ไม่หยาบโลนและลามกอนาจาร หรือส่อไปในทางดังกล่าว (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ โสเจยยะ หรืออาจารย์สมบัติ)

จรรณยาบรรณครู พ.ศ.2539 - หมู่บ้านครู (1/2)

  1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
  2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
  4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
  5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์ กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ

จรรณยาบรรณครู พ.ศ.2539 - หมู่บ้านครู (2/2)

  1. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคม และการเมืองอยู่เสมอ
  2. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู
  3. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
  4. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

จริยธรรมของนักธุรกิจ

  1. มีสัจจะ ความจริงใจในอาชีพของตน
  2. รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงานทุกคนด้วยความเมตตา
  3. เสียภาษีอากรถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
  4. ปฏิบัติตนเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน
  5. มีน้ำใจไมตรีต่อลูกค้าทุกคนเสมอภาคกัน
  6. คำนึงถึงหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยความยุติธรรม

จริยธรรมของข้าราชการ

  1. ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย
  2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม
  3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
  4. ต้องรักษาความลับของทางราชการ
  5. ต้องมีความอดทน ไม่โกรธง่าย ไม่ฉุนเฉียว
  6. มีความสุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ
  7. ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ

จริยธรรมของนักสื่อสารมวลชน

  1. มีความสุจริตต่อวิชาชีพ ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
  2. เสนอข่าวหรือข้อมูลตามหลักฐานและความเป็นจริง
  3. ยกย่องเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  4. คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวมมากกว่าของตนเองและพวกพ้อง
  5. มีความรับผิดชอบต่อข้อมูลหรือข่าวที่เสนอออกไป
  6. วางตัวเป็นกลางไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล 23 ข้อ (1/4)

  1. ต้องกระทำตนให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสมมีกริยาดี (The bounds of decency)
  2. ไม่สร้างข่าวขึ้นเอง (Do not attempt to make news)
  3. ต้องเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดแก่ผู้รับสาร (The truth and the whole truth)
  4. ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น (Do not to invade the private rights)
  5. ไม่บังคับบุคคลให้พูด (Do not to force individuals to speak)
  6. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสังคม (Play fair with a person against whom derogatory charges)

จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล 23 ข้อ (2/4)

  1. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่นำมากล่าวถึงในคอลัมน์ (Play fair with persons quoted in its columns)
  2. รักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว (Keep the confidence of its news sources)
  3. ไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่นำเสนอ (Do not suppress news)
  4. ไม่ควรขายข่าว ขายคอลัมน์เพื่อเงิน หรือความพอใจส่วนตัว (Do not "sell" its news colums for money or courtesies)
  5. ละเว้นจากการเข้าร่วมพรรคการเมือง (Refrain from allowing party politics)
  6. ต้องบริการคนส่วนรวม มิใช่บริการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (Serve the whole society, not just one "class")

จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล 23 ข้อ (3/4)

  1. ช่วยต่อสู้และปราบปรามอาชญากร (Fight and discourage crime)
  2. ต้องเคารพ และช่วยผดุงกฏหมายบ้านเมือง (Must respect and aid the law and the courts)
  3. สร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชุมชน (Seek to build its community)
  4. ไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างญาติและเพื่อนของผู้อื่น (Not injure the relatives and friends)
  5. คำนึงว่าการหย่าร้าง การฆ่าตัวตายนั้นเป็นปัญหาสังคมสิ่งหนึ่งไม่ควรเสนอข่าวไปในเชิงไม่สุภาพ (To recognize divorce, suicide as an unfortunate social problem)
  6. อย่ากล่าวโจมตีคู่แข่ง (Do not attack on competitive)

จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล 23 ข้อ (4/4)

  1. อย่าเยาะเย้ยความวิกลจริต ด้อยปัญญา หรืออาภัพของบุคคล (Do not ridicule the insane or the feebleminded or misfortunes)
  2. เคารพศาสนา สัญชาติ และเชื้อชาติของบุคคล (Respect churches, nationalities and races)
  3. หน้ากีฬาควรเขียนถึงทุก ๆ คน (Sports page is written for everybody)
  4. แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในทันที (Be prompt in correcting errors)
  5. จำไว้ว่าข่าวที่นำเสนอนั้น มีเยาวชนชายหญิงอ่านด้วย (Remember that the new is read by young boys and girls)

จริยธรรมของแพทย์

  1. ไม่กระทำต่อผู้ป่วยเสมือนกับกำลังทำการเพื่อทดลอง
  2. รักษาความลับของผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการให้เปิดเผย
  3. ร่วมมือกับคณะแพทย์และผู้เกี่ยวข้องให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ขวนขวายหาความรู้ในภารกิจของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  5. ไม่หลอกผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน
  6. ไม่กระทำการใด ๆ ในการรักษาพยาบาล อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายและศีลธรรม

จริยธรรมของนักกฎหมาย

  1. รักเกียรติและศักดิ์ศรีของนักกฎหมาย
  2. มีความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
  3. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และจรรยาบรรณของนักกฎหมาย
  4. ไม่ใช้วิชาความรู้เพื่อเป็นการเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น
  5. ต้องซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและวิชาชีพ
  6. ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

จริยธรรมของครู-อาจารย์

  1. เคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
  2. ศรัทธาในหน้าที่และอาชีพครู
  3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและศิษย์
  4. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างเคร่งครัด
  5. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
  6. สร้างความสามัคคีให้เกิดมีในหมู่คณะ
  7. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
  8. ปฏิบัติตนอยู่ในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และจรรยาบรรณครูอย่างเคร่งครัด
  9. มีจิตใจเมตตากรุณาต่อศิษย์
  10. งดเว้นอบายมุขทุกประการ

จริยธรรมในกลุ่มอาชีพสารสนเทศ

  1. มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. ไม่กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย
  3. ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาชีพสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
  4. ไม่กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
  5. ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้างหรือนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด
  6. สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
  7. ไม่นำเสนอในสิ่งที่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมอันดี

หน่วยที่ 2 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560


จริยธรรมทางเทคโนโลยีของบุคคลและองค์กร (1/3)

  • The Ten Commandments of Computer Ethics
  • รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ
  • ที่นำเสนอโดย Computer Ethics Institute in 1992 (2535)
  • จรรยาบรรณ หรือจริยธรรมที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้

จริยธรรมทางเทคโนโลยีของบุคคลและองค์กร (2/3)

  • ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
  • (Thou shalt not use a computer in ways that may harm people)
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  • (Thou shalt not interfere with other people's computer work)
    1. ต้องไม่สอดเเนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
  • (Thou shalt not snoop around in other people's computer files)
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  • (Thou shalt not use a computer to steal)
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  • (Thou shalt not use a computer to bear false witness)

จริยธรรมทางเทคโนโลยีของบุคคลและองค์กร (3/3)

    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • (Thou shalt not copy or use proprietary software for which you have not paid)
    1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  • (Thou shalt not use other people's computer resources without authorization or proper compensation)
    1. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  • (Thou shalt not appropriate other people's intellectual output)
    1. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
  • (Thou shalt think about the social consequences of the program you are writing or the system you are designing)
    1. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้น ๆ
  • (Thou shalt always use a computer in ways that ensure consideration and respect for your fellow humans)

จริยธรรมทางวิชาชีพคอมพิวเตอร์

  • จริยธรรมทางวิชาชีพคอมพิวเตอร์ ของสมาคม ACM (The Association for Computing Machinery)
  • กำหนดไว้ 7 ประการ ดังนี้ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 : 42-44)
  1. ทำเพื่อสังคมและบุคคล
  2. ไม่ทำร้ายผู้อื่น
  3. ยุติธรรม และไม่ทำการใด ๆ ที่เป็นการกีดกัน
  4. ซื่อสัตย์และเป็นที่ไว้วางใจ
  5. ให้การยอมรับสิทธิอื่นในทรัพย์สินทางปัญญา
  6. ให้การยอมรับในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
  7. การเก็บรักษาความลับ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ (บังคับใช้ 19 ก.ค.50)
  2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (บังคับใช้ 31 พ.ค.60)
  3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ (บังคับใช้ 21 มี.ค.38)
  4. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ (บังคับใช้ 4 ส.ค.58)
  5. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๘ (บังคับใช้ 6 เม.ย.58)
  6. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ (บังคับใช้ 3 เม.ย.45)
  7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ (บังคับใช้ 9 ธ.ค.40)
  8. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 (บังคับใช้ 4 มี.ค.51)
  9. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

บูลลี่

  • บูลลี่ (Bully) คือ พฤติกรรมก้าวร้าวที่คนหรือกลุ่มคนที่ได้เปรียบกว่า กระทำต่อผู้ที่อ่อนแอกว่าอย่างต่อเนื่องซ้ำหลายครั้งในแบบคนพาล จนผู้ถูกกระทำรู้สึกแย่ เครียด เจ็บปวด ซึ่งการกระทำอาจใช้กำลัง ถ้อยคำ เหยียด แรงกดดันทางสังคม ริดรอนสิทธิ ละเมิดสิทธิ ในประเด็นที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เช่น 1) เพศ 2) รูปร่างหน้าตา 3) สีผิว 4) รสนิยม 5) เชื้อชาติ 6) ศาสนา 7) สถาบันการศึกษา 8) ฐานะ 9) ความสามารถ

กฎหมาย

  • กฎหมาย (Law) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

กฎหมาย

  • การนิยามความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามแนวความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความต้องการของประชาชนในสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้ จากความหมายของกฎหมายข้างต้น สามารถ จำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4 ประการ คือ
  1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ หมายความว่า กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้
  2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล ความประพฤติในที่นี้ ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ ซึ่งความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้น ต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และต้องกระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ
  3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ กฎหมายจะมีสภาพบังคับเพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้น โดยสภาพบังคับของกฎหมายมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายและสภาพบังคับที่เป็นผลดี
  4. กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน เนื่องจากปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เป็นต้น การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีกระบวนการที่แน่นอน

ที่มาของกฎหมาย

  • ที่มาของกฎหมายหรือบ่อเกิดของกฎหมาย หมายถึง รูปแบบการแสดงออกซึ่งกฎหมาย สำหรับกฎหมายไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (civil law) กฎหมายมีที่มา 3 ประการ คือ
  1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ กฎหมายที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติของบุคคล และประกาศให้ราษฎรทราบ สำหรับประเทศไทย โดยปกติกฎหมายได้ประกาศให้ราษฎรทราบในราชกิจจานุเบกษา
  2. จารีตประเพณี หมายถึง ทางปฏิบัติหน้าที่ประพฤติสืบต่อกันมาในสังคมหนึ่ง จนกลุ่มคนในสังคมนั้นมีความรู้สึกร่วมกันว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพราะมีผลผูกพันในฐานะเป็นกฎหมาย จารีตประเพณีสามารถใช้ในฐานะบทสำรอง ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ก็นำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายไทยจารีตประเพณีมีทั้งที่บัญญัติไว้และมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร
  3. หลักกฎหมายทั่วไป หมายถึง หลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หลักกฎหมายทั่วไปจึงมีลักษณะกว้างกว่าหลักกฎหมายธรรมดา กว้างกว่าบทบัญญัติกฎหมาย เมื่อหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักที่กว้างมาก ผู้ที่มีหน้าที่ในการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปก็คือผู้พิพากษาในฐานะศาลซึ่งจะค้นหาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้บังคับในระบบกฎหมาย

หน่วยที่ 3 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร

พรบ.ลิขสิทธิ์ 2537


ทรัพย์สินทางปัญญา

  • ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ
  1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบ และรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า รวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
  2. ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานลักษณะดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม

  • ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม แบ่งออกได้หลายประเภท
  1. สิทธิบัตร (Patent)
  2. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)
  3. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
  4. ความลับทางการค้า (Trade Secret)
  5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)
  6. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Design of Integrated Circuit)
  7. คุ้มครองพันธุ์พืช (Plant Variety Protection) [พรบ.]
  8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
  9. ชื่อทางการค้า (Trade Name)

สิทธิบัตร

  • สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร โดยผู้ทรงสิทธิบัตร หรือนุสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

อนุสิทธิบัตร

  • อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น #

ความลับทางการค้า

  • ความลับทางการค้า คือ ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าเนื่องจากการเป็นความลับและเป็น ข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้วิธีการที่ เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ ตามปกติแล้วความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองอยู่ตราบเท่าที่ยังเป็น ความลับอยู่ เพราะฉะนั้นสิทธิของเจ้าของความลับทางการค้าจึงมีอยู่ตลอดไป หากความลับทางการค้านั้นยังไม่มีการเปิดเผย และความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนแต่อย่าง ใด เจ้าของความลับทางการค้าสามารถเลือกที่จะแจ้งข้อมูลความลับทางการค้า คือ เจ้าของความลับทางการค้าอาจนำความลับทางการค้าของตนมาเป็นหลักประกันในการ กู้ยืมเงินกับธนาคารได้

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

  • ผู้สร้างสรรค์ หมายความว่า ผู้ทําหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
  • ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทําการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทําขึ้น
  • วรรณกรรม หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทําขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คําปราศรัย สุนทรพจน์และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความว่า คําสั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นําไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด
  • นาฏกรรม หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  • ศิลปกรรม หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ 1) งานจิตรกรรม 2) งานประติมากรรม 3) งานภาพพิมพ์ 4) งานสถาปัตยกรรม 5) งานภาพถ่าย 6) งานภาพประกอบ 7) งานศิลปประยุกต์

ศิลปกรรม

  1. งานจิตรกรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สีหรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียวหรือหลายอย่าง
  2. งานประติมากรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้
  3. งานภาพพิมพ์ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย
  4. งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือการสร้างสรรค์ หุ่นจําลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
  5. งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพ โดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ํายาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทําให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น
  6. งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ อันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
  7. งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นําเอางานตาม (๑) ถึง (๖) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นําไปใช้สอย นําไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้หรือนําไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า

หน่วยที่ 4 เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า

ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC)


เครื่องหมายการค้า

  • เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
  1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
  2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
  3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
  4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

ครีเอทีฟคอมมอนส์

  • สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบ่งได้เป็น 6 ชนิดใหญ่ ดังนี้
  1. อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)
  2. อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)
  3. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)
  4. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
  5. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA)
  6. อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)

หน่วยที่ 5 กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544


มาตรา 4 มีนิยามศัพท์ (1/3)

  • "ธุรกรรม" หมายความว่า การกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์
  • "อิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น
  • "ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทําขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
  • "ข้อความ" หมายความว่า เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ

มาตรา 4 มีนิยามศัพท์ (2/3)

  • "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
  • "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
  • "ระบบข้อมูล" หมายความว่า กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สําหรับสร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  • "การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การส่งหรือรับข้อความด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้มาตรฐานที่กําหนดไว้ล่วงหน้า

มาตรา 4 มีนิยามศัพท์ (3/3)

  • "ผู้ส่งข้อมูล" หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนจะมีการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อส่งไปตามวิธีการที่ผู้นั้นกําหนด โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง หรือมีการส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามหรือแทนบุคคลนั้นก็ได้ ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสําหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
  • "ผู้รับข้อมูล" หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้และได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสําหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
  • "บุคคลที่เป็นสื่อกลาง" หมายความว่า บุคคลซึ่งกระทําการในนามผู้อื่นในการส่ง รับ หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ รวมถึงให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
  • "ใบรับรอง" หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใด ซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • "เจ้าของลายมือชื่อ" หมายความว่า ผู้ซึ่งถือข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น

หน่วยที่ 6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องความเป็นส่วนตัว

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

10 ข้อควรรู้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ เริ่มใช้บังคับ


ข้อควรรู้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ (1/2)

  1. การเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมเสมอ
  2. การขอความยินยอม ต้องทำเป็นหนังสือหรือผ่านระบบออนไลน์ตามแบบที่กำหนดไว้
  3. การเก็บข้อมูล ต้องแจ้งรายละเอียดและแจ้งสิทธิต่อเจ้าของข้อมูล
  4. ต้องเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ห้ามเก็บจากแหล่งอื่น เว้นแต่รีบแจ้ง
  5. ธุรกิจใหญ่ ต้องมี "เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล" ของตัวเอง

ข้อควรรู้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ (2/2)

  1. การเก็บและใช้ข้อมูล ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
  2. ข้อมูลคนตาย กฎหมายไม่คุ้มครอง
  3. บริษัทต่างชาติก็ไม่รอด! คุ้มครองข้อมูลของคนในประเทศ ไม่ว่าบริษัทตั้งอยู่ที่ใด
  4. ฝ่าฝืนกฎหมายนี้ อาจโดน "ค่าเสียหายเชิงลงโทษ" จ่ายสองเท่า
  5. ยังมีเวลาเตรียมตัว เริ่มบังคับใช้ พ.ค.63

หน่วยที่ 7 อาชญากรรมผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

  • อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime)
  1. ลักลอบขโมย (Thief) หรือดักดูข้อมูล (Sniffer) ทำให้ข้อมูลที่ถูกปกปิดไว้รั่วไหล
  2. ละเมิดสิทธิ (Pirate) ทำให้ผู้มีสิทธิถูกต้องตามกฎหมายเสียผลประโยชน์
  3. แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (Illegal media) ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกเผยแพร่
  4. ก่อกวน หรือทำลายระบบสาธารณูปโภค (Disturb) ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน
  5. หลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือลงทุนปลอม (Fraudulent) ทำให้เสียเงินลงทุนค้าขายที่ไม่เกิดขึ้นจริง
  6. โอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีของตน (Bank transfer) ทำให้เสียเงินที่สะสมไว้ ด้วยการโอนเงินให้คนที่ไม่รู้จัก

อาชญากรคอมพิวเตอร์

  • คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสำคัญ มีดังนี้
  1. Novices คือ พวกมือสมัครเล่น
  2. Queer คือ พวกจิตไม่ปกติ
  3. Dreamer คือ พวกบ้าลัทธิ
  4. Hacker คือ พวกเจาะระบบคอมพิวเตอร์
  5. Cracker คือ พวกชอบก่อความเสียหาย
  6. Organized Criminal คือ พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน
  7. Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ

Fraud

  • N. การโกง การหลอกลวง การฉ้อฉล เล่ห์ ผู้หลอกลวง นักต้ม ของปลอม คนหลอกลวง syn:(cheat)(deception)(trick) ต.ย. เผยโฉม 10 กลโกงทางอินเทอร์เน็ต

การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

  1. ใช้รหัสผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password)
  2. ใช้อุปกรณ์ทางกายภาพ (Physical Device) เช่น บัตรแม่เหล็ก หรือกุญแจ
  3. ใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (Biometric Device) เช่น ลายนิ้วมือ หรือเสียง
  4. ระบบเรียกกลับ (Callback System) เช่น ระบบยืนยันตัวตนด้วยอีเมล

DoS

  • DoS (Denial of Service) เป็นภัยคุกคามแบบหนึ่งทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเครื่องบริการ เมื่อมีผู้ไม่หวังดี (Attacker's PC) ต้องการโจมตี เพื่อให้เครื่องเป้าหมาย (Target PC) ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ด้วยการส่งคำร้องขอรับบริการ (Request) ไปยังเครื่องเป้าหมาย (Victim Website) เป็นปริมาณมากอย่างท่วมท้น (Flood) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (Zombie PC) จำนวนมากที่เคยยึดไว้ จนไม่อาจให้บริการผู้ใช้ทั่วไปได้ (Unable to response) วิธีที่ผู้ไม่หวังดีทำ (How to) คือ การเข้าควบคุมเครื่องเหยื่อที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ เครื่องใดถูกควบคุมได้จะเรียกว่า Zombie PC ส่วนเครื่องเหยื่อที่คุมไม่ได้แต่ต้องการโจมตี เรียกว่า Victim Website ในการโจมตีนั้น ผู้ไม่หวังดี (Intruder) จะส่งคำสั่งให้เครื่อง Zombie PC ทุกเครื่อง ส่งความต้องการปริมาณมากพร้อมกัน ไปยังเครื่องเป้าหมายเครื่องเดียว เมื่อรับความต้องการปริมาณมากแล้วตอบสนองไม่ได้ ก็จะปฏิเสธคำร้องขอข้อมูล ถ้าเครื่องของผู้ใช้ทั่วไปส่งคำร้องปกติเข้าไปในภายหลัง หรือในระหว่างที่ถูกโจมตี ก็จะได้รับข้อความว่า Unable to connect

หน่วยที่ 8 กรณีศึกษาการใช้เครือข่ายสังคมในปัจจุบัน

กรณีศึกษาการใช้เครือข่ายสังคมในปัจจุบัน


ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม (ด้านบวก)

  1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
  2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
  3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม (ด้านบวก)

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงาน
  3. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็น ต้องหาวิธีการ ในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม (ด้านลบ)

  1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
  2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น
  3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
  4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการสื่อสารและการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม (ด้านลบ)

  1. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล โดยการเพยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นความจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณะชน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายออกมาคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
  2. เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีจำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้และผู้ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการสารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส
  4. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมอง คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีผลเสียต่อสายตา ซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท

หน่วยที่ 9 นำเสนอผลงาน

งานวิจัย

สรุปจากค้นคว้าเรียบเรียง

อักขราวิสุทธิ์


การวิจัย (1/2)

  • การวิจัย คือ การค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างเป็นระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9]
  • การวิจัย คือ การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตทางสังคม เพื่อที่จะขยาย แก้ไข หรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3]
  • การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่า และเพื่อวิเคราะห์ผลก่อนหลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน

การวิจัย (2/2)

  • การวิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ
  • การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม
  • การวิจัย คือ การหาคำตอบให้แก่คำถามที่ผู้วิจัยอยากรู้เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้วิจัยมองเห็น ซึ่งอาจมีหลายปัญหา แต่ผู้วิจัยต้องเลือกปัญหาที่เห็นว่าสำคัญ และมีความจำเป็นต้องหาคำตอบโดยการศึกษาวิจัย

การวิจัยและพัฒนา

  • คือ งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ
  • จรรยาบรรณนักวิจัย คือ หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัต ิของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย

การวิจัย จำแนกได้ 3 ประเภท

  1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ
  2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
  3. การพัฒนาการทดลอง (Experimental Development) เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น

ระบบอักขราวิสุทธิ์

  • ระบบอักขราวิสุทธิ์ คือ ระบบที่ให้บริการตรวจสอบความคล้ายคลึงกัน ระหว่างเอกสารที่ยื่นตรวจสอบ กับ เอกสารในฐานข้อมูลของระบบฯ โดยให้ผลลัพธ์เป็นรายงานผลการตรวจสอบที่แสดงค่า เปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงกันและรายละเอียดอื่นๆ
  • http://plag.grad.chula.ac.th/

ตำรา และเอกสารหลัก

  • พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัทเคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
  • บุญสืบ โพธิ์ศรี และอุทัยวรรณ ฉัตรสุวรรณ, "จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์", สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2547.
  • กิ่งดาว จินดาเทวิน, "จริยธรรมทางธุรกิจ", โครงการตำราจัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวา ๒๕๕๕, 2555.
แนะนำหัวข้อ
MIS: Content, All
KMed: Content, All
Ethics: Content, All
Tec: Content, All
Hci: Content, All
PHP: Content, All
Java: Content, All
PHPJs: Content, All
office_content *
introtocomputer_content
test1
test2
pandoc( x86_64 102MB)
markdown
ารใช้พาวเวอร์พ้อยท์สอนออนไลน์ (Powerpoint Presentation for Teaching)
เครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการสอนออนไลน์ คือ พาวเวอร์พ้อยท์ เพื่อควบคุมทิศทาง หัวข้อ ประเด็นที่ต้องการสื่อสาร ให้เห็นข้อความ แผนภาพ เสียง และคลิ๊ปวีดีโอตามแผนการสอนได้อย่างชัดเจน สามารถแทรกเว็บแคมที่มีภาพผู้สอนไปในแต่ละสไลด์ได้ สามารถใช้ได้ทั้งสอนสด (Live) ออกไปทางโปรแกรมสอนออนไลน์เช่น Zoom, Webex, Google Meet หรือ MS Teams หรือบันทึกเป็นคลิ๊ป แล้วให้ผู้เรียนมาเปิดดูได้ในภายหลัง (Video on Demand) ซึ่งมีเครื่องมือบันทึกการสอนผ่านสไลด์อีกมากมาย อาทิ Office Mix, Camtasia, Snagit, OBS Studio หรือ Camstudio (Open source) หรือใช้คุณสมบัติที่มีในพาวเวอร์พ้อยท์ด้วยการคลิ๊กเลือก Menubar, Slide Show, Record Slide Show, Start Recording from Beginning หรือ Start Recording from Current Slide
https://www.presentation-guru.com
ต.ย. การใช้ Pandoc.exe (x86_64) สร้าง pptx
เช่น C:\> pandoc tec_all.md -o tec_all.pptx
rspsocial
Thaiall.com