thunkable
thunkableth.com | Thunkable | Scratch | Blockly | Python | iot | Woo1 | github.io | Programming | Glossary
Thunkable คืออะไร
Thunkable คือ แพลตฟอร์ม เพื่อสร้างโมบายแอปพลิเคชัน (Mobile application) ที่ใช้งานบนเว็บไซต์ สำหรับทั้งแอนดรอยด์ (Android) และไอโอเอส (iOS) และเว็บแอป ที่ใช้สร้างแอปพลิเคชันได้ด้วยการนำบล็อกมาเรียงต่อกันอย่างมีความหมาย ซึ่งระบบได้เตรียมบล็อกให้ลากไปวางจำนวนมาก และใช้งานได้ฟรีในระดับหนึ่ง เริ่มต้นโครงการโดย Google ร่วมกับ MIT ทำโครงการ app inventor แล้วมีการพัฒนาต่อยอดเป็น Thunkable ด้วยสโลแกนว่า “Thunkable ทำให้ทุกคนสร้างโมบายแอปที่สวยและทรงพลังได้
พลตฟอร์ม (Platform) คือ การทํางานร่วมกันของฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ อาจเป็นระบบปฏิบัติการ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เช่น ไมโครซอฟท์วินโดวส์ แมคโอเอสเอ็กซ์ หรือแอนดรอย ครอสแพลตฟอร์ม (Cross Platform) คือ การรองรับให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ สามารถทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์ม เช่น บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ บนแมคโอเอสเอ็กซ์ บนลีนุกซ์ บนแอนดรอย และบนเพาเวอร์พีซี
เปรียบเทียบ thunkable กับ mit app inventor
คู่มือพัฒนาแอพ Android ด้วย thunkable (คณะศึกษาสาสตร์ มข.)
วิทยาการคำนวณ ม.3 (App inventor, thunkable, iot)
บทเรียนที่ 1 - เริ่มต้น signup ถึง download android
Project : myfirstapp
.apk : 37.9 MB
ทุกความสำเร็จต้องมีการเริ่มต้น การสร้าง application บน mobile ถ้าต้องการเริ่มต้นกับแพลตฟอร์ม Thunkable ในการสร้างแอปพลิเคชันต้องเริ่มต้นจาก signup (gthaiall@ และ burin_ruj@) จนไปถึงการทดสอบ และแชร์ไปใช้งาน พบว่า link ของ project ที่มีอายุ 60 วัน แล้วยังเลือกได้ที่จะส่งออกเป็นแฟ้มแบบ .apk เพื่อให้ดาวน์โหลดไปใช้งาน สำหรับ android หรือ ios สำหรับบัญชีฟรี ถูกจำกัดการดาวน์โหลดได้เดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งแพลตฟอร์มนี้มี Block ให้ใช้งานจำนวนมาก ถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องมือสำหรับอุปกรณ์ iot เช่น การพัฒนาโปรแกรมบน Arduino หรือ Raspberry Pi ที่ Microsoft ได้แนะนำ Windows 10 IoT Core Blockly ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มต้นโครงการ จากการทำงานร่วมกันระหว่าง Google และ MIT's Scratch team
บทเรียนที่ 2 - การสร้างข้อสอบถูกผิดอย่างง่าย
Project : quiz1
.apk : 37.9 MB
ารสร้างข้อสอบถูกผิด (Right and Wrong) สำหรับนักเรียนระดับประถมขึ้นไป ที่สร้างด้วยการลากวาง (Drag and Drop) และต่อจิ๊กซอว์ (Jigsaw) บน Thunkable ซึ่งมีแนวคิดเดียวกับ Blockly และ Scratch หรือ MIT App Inventor โดยผลงานนี้ ได้แชร์เป็น link ให้นำ app ไปพัฒนาต่อ หรือ download แฟ้ม apk ไปติดตั้ง หรือเปิด application นี้บน android หรือ ios ได้โดยตรง ซึ่ง link นี่แชร์นี้มีอายุ 60 วัน จะหมดอายุในวันที่ 19 ธ.ค.2564 เวลา 19.59 แต่ถ้าดาวน์โหลดระยะเวลาที่จำกัดจะถูก reset และเริ่มต้นใหม่
บทเรียนที่ 3 - data source ใช้ table แบบ local

quiz1 - datasource
น thunkable มีข้อมูลให้ใช้หลายแบบ ได้แก่ Local table , Airtable และ Google sheet ตัวอย่างนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงข้อมูลจากการใช้ Local table บน application เพียง 1 ตาราง และเลือกข้อมูลเพียง 1 เขตข้อมูล แล้วเลื่อนระเบียนต่อไปทีละ 1 ระเบียน ซึ่งได้นำ quiz1 มาปรับปรุงในส่วนของ screen1 และ screen2 เพื่อให้เห็นขั้นตอนจากง่ายไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น
ภาษาที่ 19. สวัสดีชาวโลก บน thunkable.com ขั้นตอนการสร้างแอพ Hello World บน thunkable.com
1. เข้า signup ด้วย @gmail.com แล้วพบกับหน้าโครงงาน
2. click : Start Building
> Project name : Hello World, Create
3. ยุบ Tutorials บน Left Tab และปิดจอต้อนรับ Platform Overview
4. click : Design Tab หรือเขียนด้วย Blockly จาก Blocks Tab ก็ได้
5. บน Add Components Tab พบ Web Viewer Component
6. ลาก Web Viewer ไปวางบน Screen1
7. พบ Web Viewer Properties ทางขวา
8. URL = thaiall.com/programming/helloworld.htm
9. clcik : Preview เพื่อดูผล
10. Menu bar, Download, Download Android App และ Download iOS App
11. ได้แฟ้ม Hello World.apk ขนาด 34 MB
Download : drive.google.com/..pa3sWwaNM
การสร้าง App ที่ใช้ Top Tab Navigator บน Thunkable.com
1. Layout : Top Tab Navigator (4 tab)
2. เปลี่ยนสีพื้นให้ Home, About, Contact, Setting
3. ใส่ Webview ใน About มี url เป็น AdminLTE
- ใส่ Label แล้วพิมพ์ข้อความแนะนำ ใน Home
4. ใส่ Button ใน Home เพื่อสั่งลิงค์ไป About
- Blocks : when Button1 click
- do navigate to "About"
5. ใส่ Text input ใน Contact
6. ใส่ Button ใน Contact
- Blocks : when Button2 click
- do open link "https://github.com"
- on error navigate to "Home"
7. Preview

No-Code / Low-Code Development Platform
thunkable.com โดย ครูอภิวัฒน์
/programming/helloworld.htm
/android
components และ blocks
มีองค์ประกอบ และบล็อก ให้ลากมาใช้ มาต่อกันและเกิดขั้นตอนการทำงาน ตามที่เรากำหนด ซึ่ง block คือ กิจกรรมที่กำหนดได้ทั้งบน screen หรือใน block แต่ละก้อน ให้ทำงานเชื่อมโยงประสานกัน เช่น กำหนดตัวแปรขึ้นมา เมื่อคลิ๊กปุ่ม ก็จะมีการประมวลผล และเปลี่ยนค่าให้กับตัวแปร ที่จะถูกนำไปใช้ต่อใน components หรือ block อื่น ๆ ได้
หนังสือ วิทยาการคำนวณ ม.3
มีโอกาสอ่านหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียบเรียงคือ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุทธยา ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มี 191 หน้า มีเนื้อหาน่าสนใจ ซึ่งแบ่งหน่วยการเรียนรู้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 "การพัฒนาแอปพลิเคชัน" หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 "การรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล" หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 "การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลกระทบ" หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 "การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้"
บเนื้อหา ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน หน้า 14 พบเครื่องมือที่ใช้ คือ MIT App inventor และ Thunkable ซึ่งอธิบายขั้นตอนการพัฒนามี 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 "การพัฒนาแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข" ตัวอย่างที่ 2 "การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบคำถาม" แล้วต่อยอดการใช้ blockly ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ iot เช่น บอร์ด KidBright ร่วมกับหลอดไฟ USB หน้า 51 โดยใช้โปรแกรม KidBright IDE บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเขียน python ควบคุมบอร์ด Raspberry Pi 3 สั่งควบคุมการเปิดปิดไฟ หน้า 63 ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งแบบ no code และ code ที่เป็นชุดคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ iot ในปัจจุบัน
rspsocial
Thaiall.com