thaiall logomy background

chmod ใน ลีนุกซ์ (Linux)

my town
หน้าหลัก | ลีนุกซ์คืออะไร | แนะนำหนังสือ | superuser | บันทึกปัญหา | เนื้อหาทั้งหมด
ลีนุกซ์ (Linux) # chmod
คำสั่ง chmod

คำสั่งใช้เปลี่ยนสิทธิของแฟ้ม เจ้าของ(Owner), คนในกลุ่ม(Group), คนอื่น(Other) สามารถทำอะไรได้บ้าง

chmod - change file mode bits or change file access permissions
เมื่อใช้คำสั่ง ls ท่านจะเห็นตัวอักษร RWXRWXRWX หรือทำนองนี้หน้าชื่อแฟ้ม ซึ่งเป็นการกำหนด สิทธิของแต่ละแฟ้ม ว่า อ่านได้ เขียนได้ และประมวลผลได้ โดยแยกเป็นส่วนของ เจ้าของ กลุ่ม คนอื่น ซึ่งเป็นคำสั่งที่จำเป็นมากสำหรับ webmaster ในการดูแลระบบ และท่านที่ต้องการเขียน CGI จะต้องรู้คำสั่งนี้ เพราะ เมื่อส่งแฟ้ม CGI เข้าไปใน server และต้องการให้คนทั่วไปเข้ามาใช้บริการ โปรแกรมของตนที่เขียนขึ้นด้วย Perl จะไม่สามารถใช้ได้ ถ้าไม่กำหนดให้คนอื่น สามารถประมวลผลได้ (x) จึงจำเป็นต้องใช้คำสั่ง เช่น chmod 755 hello.pl หรือ chmod 775 fileforyou.pl หรือ chmod +x test.pl เป็นต้น
ในแต่ละกลุ่มจะมีการกำหนดสิทธิได้ 3 แบบ
ตัวอักษร R มาจาก Read หมายถึง อ่าน
ตัวอักษร W มาจาก Write หมายถึง เขียน
ตัวอักษร X มาจาก Execute หมายถึง ประมวลผล
ตัวอย่างเช่น
--- : ไม่มีสิทธิอะไรเลย (เลขที่ใช้คือ 0)
--X : ประมวลผลได้อย่างเดียว (เลขที่ใช้คือ 1)
R-- : อ่านได้อย่างเดียว (เลขที่ใช้คือ 4)
RW- : อ่าน และเขียนได้ (เลขที่ใช้คือ 6)
R-X : อ่าน และประมวลผลได้ (เลขที่ใช้คือ 5)
RWX : อ่าน เขียน และประมวลผลได้ (เลขที่ใช้คือ 7)

ความหมายของ RWXRWXRWX จะเห็นว่ามีอักษร 9 ตัว
3 ตัวแรกหมายถึง เจ้าของ
3 ตัวที่สองหมายถึง กลุ่ม
3 ตัวที่สามหมายถึง คนอื่น

ตัวอย่างเช่น
RWX------ : เจ้าของเท่านั้นที่มีสิทธิทุกอย่าง (เลขที่ใช้คือ 700)
RWXRWX--- : เจ้าของ และสมาชิกกลุ่มเดียวกันมีสิทธิทุกอย่าง (เลขที่ใช้คือ 770)
RWXR-XR-X : เจ้าของทำได้หมด ส่วนกลุ่มและคนอื่นอ่านและประมวลผลได้ (เลขที่ใช้คือ 755)
R--R--R-- : ทุกคนอ่านได้อย่างเดียว (เลขที่ใช้คือ 444)

ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน
chmod 777 index.php :: ทำให้แฟ้มนี้ อ่าน เขียน และประมวลผล โดยทั้ง 3 กลุ่ม
chmod 755 * -Rf :: ทำให้ทุกแฟ้ม ทุกห้องเก็บข้อมูล ในห้องปัจจุบัน เปลี่ยนตามที่กำหนด
Linux Testing
in Personal Computer
$chmod
บทเรียนที่แนะนำ Super User :: BusyBox :: ปัญหาที่พบในอดีต :: Linux SIS
Linux Sim* ( bellard | cocalc | masswerk | linuxcontainers | copy.sh | tutorialspoint )
Win. Subsystem for Linux(Ubuntu) :: คลิปการใช้ Term. Emu. ใน Tab10.1 :: การใช้คำสั่งพื้นฐาน :: คู่มือ :: archive.org
สารบัญ
บทที่ 1 : คำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์ (android)
คำสั่ง id
คำสั่ง pwd
คำสั่ง ls
คำสั่ง ping
คำสั่ง netstat
คำสั่ง df
คำสั่ง du
คำสั่ง ps
คำสั่ง kill
คำสั่ง top
คำสั่ง date
คำสั่ง set (env)
คำสั่ง service
คำสั่ง mount, umount
คำสั่ง cd, mkdir, rmdir
คำสั่ง cp, rm, mv
คำสั่ง cat
คำสั่ง chmod
คำสั่ง chown
คำสั่ง grep
ม้ linux จะถูกริเริ่มโดย Linus Benedict Torvalds จาก University of Helsinki ที่พัฒนาในส่วนของ Linux Kernel แต่ปัจจุบันได้มีนักพัฒนาจากทั่วโลกเข้ามาร่วมเติมเต็มเขี้ยวเล็บ และยกระดับเป็นซอฟท์แวร์เชิงพาณิชย์ด้วยชื่อทางการค้าของตน แต่ก็มีอีกกลุ่มที่มุ่งมั่นพัฒนาสนับสนุนให้เป็น Open Source Operating System ที่เปิดให้ Download ไปติดตั้ง และใช้งานได้ฟรี รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้งานได้ โดยไม่หวังผลกำไร
ดังนั้น การใช้คำสั่งบน Bash Shell เพื่อสั่งงานระบบปฏิบัติการ จึงมีคำสั่งใหม่เพิ่มขึ้น คำสั่งเก่าหายไป หรือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในหัวข้อนี้เป็นคำสั่งที่มักพบได้ใน Linux ทั่วไป โดยเฉพาะบน Android OS ที่เผยแพร่โดย Google ให้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน (Smart Phone) มีส่วนแบ่งตลาดถึง 70% ใน Q4 ของปี 2013 ขณะที่ iOS มีส่วนแบ่ง 21.7% หากอุปกรณ์จะใช้คำสั่งบน Bash Shell หรือ Linux command line ก็เพียงแต่ Download Application เช่น Android Terminal Emulator
os/ebook FundaOfUnix.pdf
บทที่ 2 : คำสั่งเกี่ยวกับระบบ
คำสั่ง man
คำสั่ง tail
คำสั่ง su sudo
คำสั่ง fsck
คำสั่ง lspci
คำสั่ง whereis
คำสั่ง find
คำสั่ง vi
คำสั่ง pico
คำสั่ง gzip
คำสั่ง tar
คำสั่ง last
คำสั่ง useradd
คำสั่ง userdel
คำสั่ง usermod
คำสั่ง chgrp
คำสั่ง crontab
คำสั่ง reboot, shutdown
ถ้าทำ root เครื่องสำเร็จ หมายถึง การทำให้อุปกรณ์ใช้คำสั่งข้ามข้อจำกัดที่ระบบปฏิบัติการออกแบบไว้ ก็จะสามารถติดตั้งโปรแกรมพิเศษได้ อาทิ busybox เป็นการเพิ่มคำสั่งให้เรียกใช้บน command line ได้อีกมาก
คำสั่งในหัวข้อนี้ มีให้ใช้ในอุปกรณ์ที่ root แล้ว และติดตั้ง busybox แต่ถ้าเป็นระบบปฏิบัติการอื่น อาทิ Fedora หรือ CentOS หรือ Debian หรือ Mint ก็จะใช้คำสั่งเหล่านี้ได้ ไม่จำเป็นต้องทำ root เหมือนบน Android
บทที่ 3 : คำสั่งเกี่ยวกับเครือข่าย
คำสั่ง nslookup
คำสั่ง telnet
คำสั่ง ifconfig
คำสั่ง route
คำสั่ง traceroute, tracert

Screen: JSLinux ที่เห็นก็คล้ายกับที่เราใช้ Terminal Emulator App
ที่พบใน Android ซึ่งใช้งานผ่าน Command Line ได้เหมือนกัน
ใช้คำสั่ง Whoami เพื่อให้รู้ตัวว่า "เราคือใคร" เหมือนชื่อหนังของเยอรมัน
บทที่ 4 : คำสั่งอื่น ๆ
คำสั่ง lynx
คำสั่ง emacs
คำสั่ง mkbootdisk
คำสั่ง rpm
คำสั่ง ntsysv
คำสั่ง chkconfig
คำสั่ง netcfg
คำสั่ง xinetd
คำสั่ง runlevel
คำสั่ง nmap
-
บทที่ 5 : Shell Script
5.1 สคริปท์ ใช้ค่าระบบ และรับค่า
5.2 สคริปท์ การเลือกแบบ if
5.3 สคริปท์ การเลือกแบบ case
5.4 สคริปท์ ทำซ้ำแบบ while
5.5 สคริปท์ ทำซ้ำแบบ for
5.6 สคริปท์ ทำซ้ำแบบ until
5.7 สคริปท์ ฟังก์ชันที่สร้างเอง
บทที่ 6 : แนะนำเครื่องบริการ
6.1 slowaris.labs.pulltheplug.com (u:guest p:guest)
6.2 academic.cmri.ac.th
6.71 se-ed.net (จดหมายแจ้งปรับปรุงระบบ)
6.72 thcity.com (เปลี่ยน Linux เป็น Windows)
-
บทที่ 7 : การใช้ application
7.1 วิธีใช้โปรแกรม FTP ส่งแฟ้มเข้าเครื่อง isinthai.com
7.2 การติดตั้งโปรแกรม .rpm ใน Redhat เพิ่มเติม
7.3 การติดตั้ง Secure Shell
-
บทที่ 8 : ระบบ file และ directory
8.1 การกำหนดค่าในแฟ้มต่าง ๆ
8.2 แฟ้มต่าง ๆ ที่ควรรู้จัก
8.98 การติดตั้ง Linux Redhat
8.99 การติดตั้ง Linux Redhat เมื่อแผ่น 2 ใช้ไม่ได้
-
Thaiall.com