thaiall logomy background
วิทยาการคอมพิวเตอร์
my town
ผลการเรียน | ระบบช่วยคำนวณเกรด | สมรรถนะดิจิทัล | บริการออนไลน์ | เช็คชื่อ | เช็คลิสต์พีเอชพี | พ.ร.บ. |
มาตรฐานการเรียนคอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษาของไทย
ในระดับอุดมศึกษาของไทย มีการประกาศ มาตรฐานคุณวุฒิ สาขาคอมพิวเตอร์ ที่ประกาศเมื่อ 25.11.52 ครอบคลุม 5 สาขาวิชา ได้แก่ 1) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) 2) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 3) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) 4) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ 5) คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
ทั้ง 5 สาขาวิชา มีขอบเขตองค์ความรู้ครอบคลุม 5 ประเด็นหลัก และมีน้ำหนักแตกต่างกันไป ประกอบด้วย 1) องค์การและระบบสารสนเทศ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานประยุกต์ 3) เทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 4) โครงสร้างพื้นฐานของระบบ 5) ฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตาม The Association for Computing Machinery (ACM), The Association for Information System (AIS) และ The Institute of Electrical and Electronics Engineer - Computer Society (IEEE-CS)
นักเรียนที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์ ควรอ่าน ประกาศ มคอ.1 (ร่าง)
หลักสูตรหลักทางด้านการคำนวณ
หลักสูตรหลักทางด้านการคำนวณ [#patanasongsivilai.com]
1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS)
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE)
3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE)
4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
5. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (IS)
ชวนมองเพิ่มเติม: วิศวกรรมไฟฟ้า (EE)
1. องค์ความรู้ (Body of Knowledge) ใน วิทยาการคอมพิวเตอร์
  1. โครงสร้างดิสครีต (Discrete Structures)
  2. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
  3. ความซับซ้อนและขั้นตอนวิธี (Algorithms and Complexity)
  4. โครงสร้างและสถาปัตยกรรม (Architecture and Organization)
  5. ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
  6. การประมวลผลเครือข่าย (Net-Centric Computing)
  7. ภาษาการเขียนโปรแกรม (Programming Languages)
  8. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction)
  9. กราฟิกและการประมวลผลภาพ (Graphics and Visual Computing)
  10. ระบบชาญฉลาด (Intelligent Systems)
  11. การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
  12. ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ (Social and Professional Issues)
  13. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  14. ศาสตร์เพื่อการคำนวณ (Computational Science)
รายละเอียด
1. โครงสร้างดิสครีต 
(Discrete Structures)
- Functions, Relations and Sets 
- Graphs and Trees
- Basic Logic 
- Discrete Probability
- Proof Techniques 
- Recurrence Relation
- Basics of Counting 
- Generating Function
2. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม 
(Programming Fundamentals)
- Fundamental Constructs 
- Event Driven Programming
- Algorithmic Problem Solving 
- Object Oriented
- Data Structures 
- Foundations Information Security
- Recursion 
- Secure Programming
3. ความซับซ้อนและขั้นตอนวิธี 
(Algorithms and Complexity)
- Basic Analysis 
- Distributed Algorithms
- Algorithmic Strategies 
- Basic Computability
- Fundamental Algorithms
4. โครงสร้างและสถาปัตยกรรม 
(Architecture and Organization) 
- Digital Logic 
- Memory Architecture
- Data Representation 
- Functional Organization
- Assembly Level Organization 
- Multiprocessing
5. ระบบปฏิบัติการ 
(Operating Systems)
- Overview of Operating Systems 
- Scheduling and Dispatch
- Operating System Principles 
- Memory Management
- Concurrency
6. การประมวลผลเครือข่าย 
(Net-Centric Computing)
- Introduction 
- Web Organization
- Network Security 
- Networked Applications
7. ภาษาการเขียนโปรแกรม 
(Programming Languages) 
- Overview 
- Virtual Machines
- Basic Language Translation 
- Abstraction Mechanisms
- Declarations and Types 
- Object-Oriented Programming
8. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ 
(Human-Computer Interaction)
- Foundations 
- Building GUI Interfaces
9. กราฟิกและการประมวลผลภาพ 
(Graphics and Visual Computing)
- Fundamental Techniques 
- Graphics Systems
10. ระบบชาญฉลาด 
(Intelligent Systems)
- Fundamental Issues 
- Knowledge Based Reasoning
- Basic Search Strategies
11. การจัดการสารสนเทศ 
(Information Management)
- Information Models 
- Data Modeling
- Database Systems
12. ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ 
(Social and Professional Issues)
- History of Computing 
- Professional Ethics
- Social Context 
- Risks
- Analytical Tools 
- Intellectual Property
13. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ 
(Software Engineering)
- Software Design 
- Requirements Specifications
- Using APIs 
- Software Validations
- Tools and Environments 
- Software Evolution
- Software Processes 
- Software Project Management
14. ศาสตร์เพื่อการคำนวณ 
(Computational Science)
- Computational Science
2. องค์ความรู้ (Body of Knowledge) ใน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  1. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
  2. คณิตศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Mathematics)
  3. อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
  4. ตรรกศาสตร์ดิจิทัล (Digital Logic)
  5. โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
  6. โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture and Organization)
  7. ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
  8. ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)
  9. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  10. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)
รายละเอียด
1. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม 
(Programming Fundamentals)
- Programming Paradigms 
- Programming Constructs
- Algorithms and Problem-solving 
- Recursion
- Event Driven and Concurrent Programming 
- Object-oriented Programming
- Using API
2. คณิตศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ 
(Computer Mathematics)
- Functions, Relations and Sets 
- Basic Logic
- Proof Techniques 
- Basics of Counting
- Graphs and Trees 
- Discrete Probability
- Recursion 
- Continuous Probability
- Expectation 
- Sampling Distribution
- Stochastic Processes 
- Estimation
- Hypothesis Tests 
- Correlation and Regression
3. อิเล็กทรอนิกส์ 
(Electronics)
- Electronic Properties of Materials 
- Interfacing Logic Families and Standard Buses
- Diodes and Diode Circuits 
- Operational Amplifiers
- MOS Transistors and Biasing 
- Circuit Modeling and Simulation
- MOS Logic Families 
- Data Conversion Circuits
- Bipolar Transistors and Logic Families 
- Electronic Voltage and Current Sources
- Design Parameters and Issues 
- Amplifier Design
- Storage Elements 
- Integrated Circuit Building Blocks
4. ตรรกศาสตร์ดิจิทัล 
(Digital Logic)
- Switching Theory 
- Digital Systems Design
- Combinational Logic Circuits 
- Modeling and Simulation
- Modular Design of Combinational Circuits 
- Formal Verification
- Memory Elements 
- Fault Models and Testing
- Sequential Logic Circuits 
- Design for Testability
5. โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี 
(Data Structures and Algorithms)
- Basic Algorithmic Analysis 
- Computing Algorithms
- Linked List, Queues, Stacks 
- Distributed Algorithms
- Binary Tree, B-Tree, Heap 
- Algorithmic Complexity
- Algorithmic Strategies 
- Basic Computability Theory
6. โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 
(Computer Architecture and Organization)
- Fundamentals of Computer 
- Processor Systems Design
- Computer Arithmetic 
- Organization of the CPU
- Memory System Organization and Architecture
- Performance
- Interfacing and Communication 
- Distributed System Models
- Device Subsystems 
- Performance Enhancements
7. ระบบปฏิบัติการ 
(Operating Systems)
- Design Principles 
- Memory Management
- Concurrency 
- Device Management
- Scheduling and Dispatch 
- Security and Protection
- File systems 
- System Performance Evaluation
8. ระบบฐานข้อมูล 
(Database Systems)
- Database Systems 
- Relational Database Design
- Data Modeling 
- Transaction Processing
- Relational Databases 
- Distributed Databases
- Database Query Languages 
- Physical Database Design
9. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ 
(Software Engineering)
- Software Processes 
- Software Tools and Environments
- Software Requirements and Specifications 
- Language Translation
- Software Design 
- Software Project Management
- Software Testing and Validation 
- Software Fault Tolerance
- Software Evolution
10. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
(Computer Networks)
- Communications Network Architecture 
- Wireless and Mobile Computing
- Communications Network Protocols 
- Performance Evaluation
- Local and Wide Area Networks 
- Data Communications
- Client-server Computing 
- Network Management
- Data Security and Integrity 
- Compression and Decompression
3. องค์ความรู้ (Body of Knowledge) ใน วิศวกรรมซอฟต์แวร์
  1. ความจำเป็นของคอมพิวเตอร์ (Computing Essentials)
  2. พื้นฐานคณิตศาสตร์และวิศวกรรม (Mathematical and Engineering Fundamentals)
  3. วิชาชีพภาคปฏิบัติ (Professional Practices)
  4. การวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลองซอฟต์แวร์ (Software Modeling and Analysis)
  5. การออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design)
  6. การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Validation and Verification)
  7. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Software Evolution)
  8. กระบวนการทางซอฟต์แวร์ (Software Process)
  9. คุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality)
  10. การจัดการซอฟต์แวร์ (Software Management)
รายละเอียด
1. ความจำเป็นของคอมพิวเตอร์ 
(Computing Essentials)
- Computer Science Foundations 
- Construction Tools
- Construction Technologies 
- Formal Construction Methods
2. พื้นฐานคณิตศาสตร์และวิศวกรรม 
(Mathematical and Engineering Fundamentals)
- Mathematical Foundations 
- Engineering Economics for Software
- Engineering Foundations for Software
3. วิชาชีพภาคปฏิบัติ 
(Professional Practices)
- Group Dynamics and Psychology 
- Professionalism
- Communications Skills for Software Engineer
4. การวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลองซอฟต์แวร์ 
(Software Modeling and Analysis)
- Modeling Foundations 
- Analysis Fundamentals
- Types of Models 
- Requirements Fundamentals
- Eliciting Requirements 
- Requirement Validation
- Requirements Specification & Documentation
5. การออกแบบซอฟต์แวร์ 
(Software Design)
- Design Concepts 
- Human Computer Interface Design
- Design Strategies 
- Detailed Design
- Architectural Design 
- Design Support Tools and Evaluation
6. การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ 
(Software Validation and Verification)
- Verification and Validation Terminology & Foundation
- Human Computer User Interface Testing and Evaluation
- Reviews 
- Problem Analysis and Reporting
- Testing
7. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ 
(Software Evolution)
- Evolution Processes 
- Evolution Activities
8. กระบวนการทางซอฟต์แวร์ 
(Software Process)
- Process Concepts 
- Process Implementation
9. คุณภาพซอฟต์แวร์ 
(Software Quality)
- Software Quality Concepts and Culture 
- Process Assurance
- Software Quality Standards 
- Product Assurance
- Software Quality Processes
10. การจัดการซอฟต์แวร์ 
(Software Management)
- Management Concepts 
- Project Control
- Project Planning 
- Software Configuration Management
- Project Personnel and Organization
4. องค์ความรู้ (Body of Knowledge) ใน เทคโนโลยีสารสนเทศ
  1. พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Fundamentals)
  2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction)
  3. ความมั่นคงและการประกันสารสนเทศ (Information Assurance and Security)
  4. การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
  5. การบูรณาการการเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยี (Integrative Programming and Technologies)
  6. คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematics and Statistics for Information Technology)
  7. เครือข่าย (Networking)
  8. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
  9. แพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Platform Technologies)
  10. การบำรุงรักษาและการบริหารระบบ (Systems Administration and Maintenance)
  11. สถาปัตยกรรมและการบูรณาการระบบ (Systems Integration and Architecture)
  12. ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ (Social and Professional Issues)
  13. ระบบเว็บและเทคโนโลยี (Web Systems and Technologies)
รายละเอียด
1. พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ 
(Information Technology Fundamentals)
- Pervasive Themes in IT 
- IT and its Related & Informing Disciplines
- History of IT 
- Application Domains
2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ 
(Human-Computer Interaction)
- Human Factors 
- Accessibility
- HCI Aspects of Application Domains 
- Emerging Technologies
- Human-Centered Evaluation 
- Human-Centered Software Development
- Developing Effective Interfaces
3. ความมั่นคงและการประกันสารสนเทศ 
(Information Assurance and Security)
- Fundamental Aspects 
- Forensics
- Securities Mechanisms 
- Information States
- Operational Issues 
- Security Services
- Policy 
- Threat Analysis Model
- Attacks 
- Vulnerabilities
- Security Domains
4. การจัดการสารสนเทศ 
(Information Management)
- IM Concepts and Fundamentals 
- Data Modeling
- Database Query Language 
- Managing Database Environment
- Data Organization Architecture 
- Special-Purpose Database
5. การบูรณาการการเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยี 
(Integrative Programming and Technologies)
- Intersystem Communications 
- Software Security Practices
- Data Mapping and Exchange 
- Miscellaneous Issues
- Integrative Coding 
- Overview of Programming Languages
- Scripting Techniques
6. คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
(Mathematics and Statistics for Information Technology)
- Random Variables and Functions 
- Discrete and Continuous Probability and Distribution
- Basic Logic 
- Hypothesis Testing
- Discrete Probability 
- Sampling and Descriptive Statistics
- Functions, Relations and Sets 
- Simple Linear Regression
- Graphs and Trees 
- Correlation Analysis
- Application of Mathematics to IT
7. เครือข่าย 
(Networking)
- Foundations of Networking 
- Security
- Routing and Switching 
- Network Management
- Physical Layer 
- Applications Areas
8. พื้นฐานการเขียนโปรแกรม 
(Programming Fundamentals)
- Fundamentals of Data Structures 
- Algorithms and Problem-Solving
- Programming Constructs 
- Event-Driven Programming
- Object-Oriented Programming
9. แพลตฟอร์มเทคโนโลยี 
(Platform Technologies)
- Operating Systems 
- Computing Infrastructures
- Architecture and Organization
10. การบำรุงรักษาและการบริหารระบบ 
(Systems Administration and Maintenance)
- Operating Systems 
- Administrative Activities
- Applications 
- Administrative Domains
11. สถาปัตยกรรมและการบูรณาการระบบ 
(Systems Integration and Architecture)
- Requirements 
- Testing and Quality Assurance
- Acquisition/Sourcing 
- Organizational Context
- Integration and Deployment 
- Architecture
- Project Management
12. ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ 
(Social and Professional Issues)
- Professional Communications 
- Legal Issues in Computing
- Teamwork Concepts and Issues 
- Organizational Context
- Service Management 
- Professional &Ethics Issues & Responsibilities
- Social Context of Computing 
- History of Computing
- Intellectual Property 
- Privacy and Civil Liberties
13. ระบบเว็บและเทคโนโลยี 
(Web Systems and Technologies)
- Technologies 
- Web Development
- Information Architecture 
- Vulnerabilities
- Digital Media
5. องค์ความรู้ (Body of Knowledge) ใน คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  1. พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer and Information Technology Fundamentals)
  2. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
  3. โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
  4. การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming)
  5. ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)
  6. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems)
  7. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design)
  8. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking)
  9. ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ (Information Systems Security)
  10. โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ (Business Computer Project)
  11. ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Software Usage Skill)
รายละเอียด
1. พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 
(Computer and Information Technology Fundamentals)
- บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร	
- ข้อมูลและการบริหารข้อมูล
- ประวัติของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร	
- เครือข่ายและการสื่อสาร
- ระบบดิจิทัล	
- อินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
- องค์ประกอบคอมพิวเตอร์	
- ระบบประมวลผล
- ซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ	
- ภัยคุกคามและความมั่นคงของระบบ
- แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์	
- จริยธรรมและสังคมไซเบอร์
2. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
(Computer Programming)
- หลักสำคัญเกี่ยวกับโปรแกรม	
- การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์
- การพัฒนาโปรแกรมเพื่อทำงานบนระบบต่าง ๆ	
3. โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี 
(Data Structures and Algorithms)
- โครงสร้างข้อมูล	
- การค้นหาข้อมูล
- การเรียงลำดับข้อมูล	
- การประยุกต์โครงสร้างข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาในธุรกิจ
4. การเขียนโปรแกรมบนเว็บ 
(Web Programming)
- ภาษามาตรฐานของเว็บ	
- การสร้างโปรแกรมฝั่งแม่ข่าย
- การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้	
- กลไกคุกกี้และการสร้างเว็บที่เก็บสถานะ
- การสร้างเว็บแบบสแตติกและไดนามิก	
- ระบบประมวลผลร่วมกับฐานข้อมูล
- สภาวะแวดล้อมของเว็บแอพพลิเคชัน	
- ข้อคำนึงถึงด้านความมั่นคงของระบบงาน
- การโปรแกรมฝั่งลูกข่าย	
5. ระบบฐานข้อมูล 
(Database Systems)
- หลักสำคัญของระบบฐานข้อมูล	
- ภาษาเอสคิวแอล
- สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล	
- การออกแบบฐานข้อมูล
- คุณสมบัติของฐานข้อมูล	
- ความมั่นคงของฐานข้อมูล
- ระบบจัดการฐานข้อมูล	
- การดูแลระบบฐานข้อมูล
6. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
(Management Information Systems)
- พื้นฐานของระบบสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐาน	
- กลยุทธ์การนำระบบสารสนเทศเพื่อใช้ปรับเปลี่ยนองค์กรและการพัฒนาระบบสารสนเทศ
- องค์การและการจัดการ	
- การบริหารทรัพย์สินระบบสารสนเทศ
- บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ	
- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล
- การบูรณการระบบสารสนเทศ	
7. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 
(Systems Analysis and Design)
- องค์ประกอบของระบบ	
- เอกสารความต้องการ
- ทางเลือกวิธีการพัฒนาระบบ	
- การออกแบบระบบ
- กระบวนการพัฒนาระบบ	
- การสร้างซอฟต์แวร์ต้นแบบ
- การวิเคราะห์ความต้องการ	
- เอกสารทางเทคนิคของการออกแบบ
- แผนภาพแสดงแบบจำลอง	
- การนำเสนอผลการวิเคราะห์และออกแบบ
8. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
(Computer Networking)
- แนวคิดและองค์ประกอบของระบบเครือข่าย	
- ระบบเครือข่ายระดับและประเภทต่าง ๆ
- มาตรฐานแบบจำลองโอเอสไอ	
- การจัดการเครือข่าย
- โทโพโลยี อุปกรณ์เครือข่าย	
- ภัยคุกคามและการจัดการความมั่นคงของเครือข่าย
- โพรโทคอลและสื่อสัญญาณ	
9. ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ 
(Information Systems Security)
- ประเภทของภัยคุกคามและการป้องกัน	
- การพิสูจน์ทราบในระบบคอมพิวเตอร์
- นโยบายและการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงของระบบ	
- การจัดการและการบริการด้านความมั่นคง
10. โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ 
(Business Computer Project)
- ใช้ความรู้รวบยอดจากที่ได้เรียนมา และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 
เพื่อศึกษาความต้องการ วิเคราะห์ออกแบบ
และจัดสร้างระบบงานสารสนเทศทางธุรกิจ 
นำเสนอและจัดทำเอกสารทางเทคนิค โดยใช้กรณีตัวอย่าง
11. ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ 
(Computer Software Usage Skill)
- เพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทางธุรกิจ
หรือประยุกต์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั่วไป เป็นเครื่องมือในงานธุรกิจแต่ละด้านได้อย่างเหมาะสม 
โดยแทรกการสาธิตการใช้ซอฟต์แวร์ อยู่ในภาคบรรยาย และ/หรือดำเนินการปฏิบัติ
ในภาคปฏิบัติของวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะในวิชาเอกของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ประเมินสื่อ : สัญญาณเตือนภัยจากการพลิกผันดิจิทัล

หัวหน้าแชร์เรื่อง สัญญาณเตือนภัยฯ มาในไลน์
น่าสนใจ
.. ท่านรองฯ เขียนอะไรได้ชัดเจนตรงประเด็นมาก

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
27 พฤศจิกายน 2559 10:00
+ www.เศรษฐพงค์.com
+ http://www.thaitribune.org

ข้อคิดจากผู้เขียน สำหรับผู้บริหารในยุคดิจิทัล

บริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้ตอบสนองต่อ Digital disruption โดยทันที แต่จะตอบสนองก็ต่อเมื่อมันได้ผ่านมาได้ในระยะหนึ่งแล้ว หรือเมื่อสายไปเสียแล้ว

เหตุผลสำคัญที่องค์กรพึงพอใจกับสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ และหยุดนิ่งอยู่กับที่ ก็คือความรู้สึกว่าจะต้องล้มเหลวหากมีการเปลี่ยนแปลง

องค์กรที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล เพื่อเข้ามาทำการเปลี่ยนแปลงองค์กร

องค์กรที่ประสบความสำเร็จ และยังคงอยู่รอดต่อไป มักจะมีการให้บริการที่เลียนแบบจากคู่แข่งที่กำลังจะเข้ามาใหม่ในตลาด

ผู้ครอบครองตลาด จำเป็นที่จะต้องทบทวนรูปแบบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่ารูปแบบธุรกิจของตัวเองไม่ล้าสมัย และทันสมัยไปอีกขั้นอยู่เสมอ

ในขณะที่โลกยุคใหม่มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นทุกขณะ คู่แข่งใหม่มักจะเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน ที่จะเข้ามาท้าทายอำนาจเดิม

ในปัจจุบันจะไม่มีคำถามอีกต่อไปแล้วว่า การปฏิวัติดิจิทัลจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่คำถามจริงๆที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ "องค์กรจะรับมืออย่างไร กับการปฏิวัติดิจิทัลที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้"

"ขอให้ทุกท่านโชคดี"

สัญญาณเตือนภัยจากการพลิกผันดิจิทัล (Digital disruption) ที่กำลังเกิดผลกระทบภายใน 2-5 ปี จากนี้ (สรุปจากบทวิเคราะห์และงานวิจัยหลายแหล่งและจากงานในระดับนานาชาติ เช่น CEBIT, GSMA และ ITU เป็นต้น) ซึ่งผู้เขียนวิเคราะห์ว่าข่อมูลดังกล่าว สามารถนำมาสะท้อนภาพสถานการณ์การ disruption ของประเทศไทยได้ และจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษมีความต้องการลดลงจนหนังสือที่มีชื่อเสียงในทุก sector หลายฉบับจะปิดตัว และโรงพิมพ์จะลดการทำงานลงกว่าครึ่ง โดยจะเกิดสื่อใหม่จากบริษัทใหม่และ startup ที่ไม่เคยอยู่ในตลาดมาก่อนเกิดขึ้นมากมาย เช่น LINE กระโดดเข้ามาทำข่าวคล้ายๆสื่อหนังสือพิมพ์, Facebook มีการ share ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นแบบ realtime รวมไปถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่อ่านตัวอักษรน้อยลง แต่ดูข่าวสารในรูปแบบ vdo แทน และพฤติกรรมจะก้าวไปสู่การใช้เวลามากขึ้นกับสื่อ vdo ที่นำเสนอแบบ realtime จนทำให้สื่อเดิมที่เป็นรูปแบบสิ่งพิมพ์ที่รายงานข่าวที่ไม่สดเพียงพอ และนิตยสารที่ถูกแย่งเวลาการอ่านไป จะถูกลบออกจากความสนใจและออกจากตลาดไปอย่างรวดเร็ว (ย้ำ...อย่างรวดเร็ว)

ธุรกิจ Broadcasting จะมีการเกิดใหม่ของบริษัท start up เล็กๆ ของคนรุ่นใหม่ (อาจมีพนักงานไม่เกิน 10 คน แต่มีเครือข่ายการ share content) ทำรูปแบบธุรกิจ vdo realtime เช่น สารคดีสด, สัมภาษณ์สด, สัมมนาสด, รายงานข่าวสด, ติดตาม celebrity สด ไปจนถึงผู้มีชื่อเสียงที่มีองค์ความรู้ในลักษณะผู้เชี่ยวชาญจะถ่ายทอดสดด้วยตัวเอง โดยอาจมี studio เล็กๆ หรือไม่มีเลย แต่จะใช้เทคโนโลยี broadband mobile ด้วยการใช้ application คล้ายๆ Facebook Live (แต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า Facebook Live มาก ใน 2-5 ปีข้างหน้า) จนทำให้เวลาของคนทั่วไปถูกแบ่งจากสื่อองค์กรใหญ่แบบดั้งเดิมไปเสพสื่อที่เกิดใหม่เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่ม Y Generation

การเช่าที่เพื่อขายสินค้าต่างๆ ในห้างสรรพสินค้าระดับ mass จะมีผลกระทบเนื่องจากสินค้าเหล่านั้นกว่าครึ่งสามารถขายผ่านระบบ online เช่น e-commerce หรือ social media ต่างๆ ได้ และที่สำคัญ แนวโน้มการซื้อสินค้าที่เป็น mass ในกลุ่ม Y Generation เปลี่ยนไปซื้อสินค้าใน online ที่มีอัตราที่สูงมาก และสินค้าเหล่านั้นมีการเสนอขายแบบ realtime บนเครือข่าย social media และสามารถสื่อสารเสนอสินค้ากับลูกค้าด้วย realtime vdo อีกด้วย และไม่น่าเชื่อว่า ขณะนี้มีการซื้อขายเสื้อผ้าผ่าน online แล้วมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงจะมีผลต่อห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงธุรกิจให้เช่าที่ขายสินค้า จะต้องปรับตัว

ธุรกิจการเงินการธนาคาร ที่พฤติกรรมของลูกค้าหันไปใช้ระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ online มากขึ้นอย่างชัดเจน การทำธุรกรรมบนระบบ ATM และที่ธนาคารจะลดลงไปอย่างมาก จนทำให้จะต้องลดต้นทุนโดยการลดสาขาและตู้ ATM ที่มีต้นทุนสูงมากลงไปโดยปริยาย อีกทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี Blockchain จะทำให้รูปแบบ business model ของธนาคารที่เคยเป็นตัวกลางหลัก ต้องเปลี่ยนไปอย่างมาก และ ธุรกิจใหม่อย่าง Fintech จะเข้ามาท้าทายอย่างรวดเร็ว

ระบบการศึกษา จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปอย่างมาก เพราะคนสามารถเข้าถึงความรู้ทั่วไปได้อย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส และเกือบจะไร้ขีดจำกัดในการค้นหาข้อมูลด้วย search engine ที่มีประสิทธิภาพสูง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ขีดความสามารถของคนเพิ่มทวีคูณได้จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบนฝ่ามือ คนที่มีความเพียรและมีวินัย จะสามารถหาความรู้นอกเหนือจากความรู้จากการศึกษาพื้นฐานในระบบได้อย่างไร้ขีดจำกัด จะเกิดรูปแบบการศึกษาเชิงนวัตกรรมดิจิทัล จากสถาบันการศึกษาใหม่จากกลุ่ม start up ในรูปแบบกึ่งดิจิทัลหรือแบบดิจิทัลสมบูรณ์แบบเกิดขึ้น และจะเกิดระบบการเรียนรู้แบบใหม่แบบ realtime และ content ที่ทันสมัยจากคนในกลุ่ม Y Generation ที่นำเสนอกับกลุ่มคนที่สนใจ และขยายวงกว้างมากขึ้น จนได้รับการยอมรับอย่างมาก

ระบบการจ้างงานและการเข้าถึง candidate จะเปลี่ยนไปอย่างมากในส่วนบุคคลากรที่มีความสามารถพิเศษในระดับผู้เชี่ยวชาญ และในส่วนบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล โดยบุคคลากรเหล่านี้จะไม่รับตำแหน่งงานประจำที่เป็นเงินเดือน และต้องยึดโยงกับสถานที่และเวลา แต่จะรับงานในรูปแบบสัญญาระยะสั้น (contract) โดยการจ้างงานจะเป็นลักษณะโครงการ หรือชิ้นงาน จบไปเป็นงานๆไป ส่วนบุคคลากรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญที่มีความรู้ทั่วไปเท่านั้น จะต้องขวนขวายหาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้าน มิฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จะหาตำแหน่งงานได้ยากยิ่ง เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัล จะไปทำงานแทนตำแหน่งงานจำนวนมากที่เป็นงานด้าน administrative ทั่วไป

ประเมินการศึกษา : มหาวิทยาลัยไทยจะอยู่รอดได้อย่างไร

ขณะนี้
ประดาอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยแทบจะทุกแห่งต่างประสบปัญหาไม่มีนักศึกษาเพียงพอ ล่าสุดมีข่าวออกมาว่ามหาวิทยาลัยไทยมีที่นั่งว่างสำหรับระดับปริญญาตรีถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นที่นั่ง แต่มีนักเรียนเข้ามาเรียนเพียงแปดหมื่นคน แสดงว่ามีอุปทานส่วนเกิน (Over Supply) ถึงหกหมื่นคนต่อปี และในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษามีที่เรียนว่างรวมกว่าแปดแสนที่ (เมื่อไม่มีนักเรียนแล้วจะมีนิสิตนักศึกษาได้อย่างไร)

ภาวะดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อระดับบัณฑิตศึกษาด้วยโดยจำนวนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาก็ลดลงเช่นเดียวกัน และทำให้ในหลายๆ มหาวิทยาลัยประสบปัญหาภาระงานขั้นต่ำไม่เพียงพอ เนื่องจากมีนักศึกษาไม่ครบจำนวนที่จะเปิดการเรียนการสอนและนับเป็นภาระงานขั้นต่ำได้

ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีรายได้ลดลงไปมาก ส่งผลให้แทบทุกแห่งต้องลดมาตรฐานในการคัดเลือกนักศึกษาลงไป เมื่อลดมาตรฐานการคัดเลือกนักศึกษาลงไปเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีให้คัดเลือกก็ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำลงไปด้วย เมื่อปริมาณนักศึกษาลดลงรายได้ของมหาวิทยาลัยก็ลดลงไปด้วยตามลำดับ แม้กระทั่งปริญญาโททางบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่งซึ่งเปิดหลักสูตรสำหรับผู้บริหารและเคยมีชื่อเสียงโด่งดังมากจนต้องแย่งกันเข้าปัจจุบันรับนักศึกษาได้ไม่เข้าเป้าเพียงปีละสิบกว่าคนและโครงการดังกล่าวก็ขาดทุนอยู่มากจนอาจจะต้องปิดโครงการลง

น่ากลัวว่าอุดมศึกษาไทยจะไปไม่รอดในระยะเวลาไม่เกินสิบปีต่อจากนี้ไป หลายมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนจำนวนมากปรับตัวด้วยการรับนักศึกษาจากประเทศจีนซึ่งมีที่นั่งในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียนและมีการแข่งขันสูงมากเนื่องจากทางการจีนไม่อนุญาตให้มีการเปิดมหาวิทยาลัยเอกชน และไม่เน้นผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษามากนักจนทำให้มีความต้องการเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามนักเรียนจีนระดับหัวกะทิและ/หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีก็จะไปศึกษาต่างประเทศในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด์ ส่วนนักศึกษาจีนที่มาศึกษาในประเทศไทยนั้นเพราะประเทศไทยมีค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าประเทศจีนมาก เราจึงไม่ได้นักศึกษาจีนที่มีคุณภาพดีเท่าที่ควร

สาเหตุที่อุดมศึกษาไทยถึงทางตีบตันนั้นมีหลายประการ

ประการแรก ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มตัว อัตราการเกิดของประชากรไทยนั้นต่ำมากและต่อไปจะต่ำกว่าอัตราการตาย ถ้าเราสังเกตให้ดีเราจะพบว่าจำนวนประชากรไทยนิ่งๆ ที่ 65 ล้านคนมาเกือบ 15 ปีแล้ว มีคนสูงอายุมากขึ้นและมีเด็กเกิดลดลงไปมาก จนน่าใจหาย รัฐบาลควรต้องส่งเสริมการแต่งงานและการมีบุตรด้วยมาตรการทางภาษีและสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น ผลกระทบดังกล่าวเห็นแล้วได้ชัดเจนทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีที่นั่งเหลือมากมาย เมื่อไม่มีเยาวชนที่ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยมากเช่นในอดีตทำให้การแข่งขันลดลง มีที่ว่างมากขึ้น คุณภาพในการคัดเลือกก็ลดลงด้วย

ประการที่สอง ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ขณะนี้หากรวมทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยพละศึกษา วิทยาลัยเกษตร สถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจเฉพาะ อาจจะมีจำนวนมากถึงสามร้อยกว่าแห่ง มีการแข่งขันกันเปิดหลักสูตรเป็นจำนวนมาก ทั้งหลักสูตรภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคสมทบ ภาคพิเศษ ภาคอินเตอร์ มีการเปิดหลักสูตร ปริญญาตรี-โท-เอก กันเต็มไปหมด หลักสูตรแปลกๆ ที่เราไม่คิดว่าจะได้เห็นก็ได้เห็น ทุกแห่งพยายามขายสินค้าหรือหลักสูตรที่จะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาเรียนด้วยคุณลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไป บางแห่งเน้นคุณภาพ บางแห่งเน้นไปที่จ่ายครบ จบง่าย เรียนสนุก แม้ว่าจะมีหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานแต่ก็เป็นการเกาไม่ถูกที่คันเนื่องจากกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้นั้นพยายามใช้หลักเกณฑ์เดียวกันหมดในทุกสาขาวิชา เน้นไปที่การกำกับดูแลกระบวนการโดยไม่ได้ดูที่สิ่งนำเข้าหรือผลลัพธ์แต่อย่างใดเลย ทำให้สาขาวิชาหรือสถาบันอุดมศึกษาที่พยายามทำดีหรือมีคุณภาพดีอยู่แล้วกลับแย่ลงเนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานบังคับใช้เหมือนกันไปหมดทุกสาขาเปรียบเสมือนยาเคมีฆ่าเซลล์มะเร็ง (Chemotherapy) ที่ทำลายเซลล์เนื้อร้ายมะเร็งและทำลายเซลล์ดีๆ ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ปัญหาใหญ่ที่สุดคือประเทศไทยในขณะนี้มีจำนวนมหาวิทยาลัยมากเกินไปกว่าความต้องการเสียแล้ว ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือมีบัณฑิตในบางสาขาตกงานมากมาย เช่น ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ สรุปง่ายๆ คือ เรามีปริมาณมากแต่มีคุณภาพไม่เพียงพอ ไม่ตรงกับความต้องการของประเทศ ทำให้เราพบว่ามีบัณฑิตระดับปริญญาตรีไปเป็นพนักงานขายของตามร้านสะดวกซื้อหรืออื่นๆ ที่ใช้เพียงวุฒิการศึกษามัธยมศึกษาปีที่สาม ก็ทำงานนี้ได้

ประการที่สาม การไปศึกษาต่อต่างประเทศสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดและคนไทยมีฐานะดีขึ้นจนไปศึกษาในต่างประเทศได้โดยง่าย ทำให้มีนักเรียนนักศึกษาไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท มากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นแทบทุกประเทศต่างก็มีปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ในประเทศนั้นๆ มีนักศึกษาเก่งๆ ไม่มากนัก ทำให้จำเป็นต้องหานักศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมาเปิดสาขาในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น สิงคโปร์ เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการศึกษาออนไลน์ การศึกษาต่อเนื่อง ทั้งแบบที่ได้รับปริญญา และแบบที่ไม่ได้รับปริญญา (Non-degree program) มากขึ้นเรื่อยๆ

ประการที่สี่ การศึกษาของไทยไร้ทิศทาง ประเทศไทยไม่ได้ต้องการ บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต มากมายอะไรขนาดนี้ ในขณะที่ประเทศยังไม่ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ที่ประเทศไทยขาดแคลนจริงๆ กลับเป็นอาชีวะศึกษาซึ่งคนไทยไม่นิยมเรียนด้วยค่านิยมปริญญากระดาษแผ่นเดียว ในขณะที่เราผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตสายสังคมศาสตร์ ออกมาล้นมากมาย แต่สายวิชาเช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ซึ่งล้วนขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะพยาบาลกลับผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศและจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ประเทศไทยไม่มีแผนยุทธศาสตร์อุดมศึกษาและไม่ได้ดำเนินตามหลักการดังกล่าว มหาวิทยาลัยต่างๆ ล้วนแล้วแต่ผลิตคนสายสังคมศาสตร์ที่เร่งผลิตได้ง่าย ใช้ต้นทุนไม่สูง และคนก็แห่มาเรียนกันเฉพาะสายสังคมศาสตร์จนเกินความต้องการ เป็นเพียงค่านิยมปริญญามากกว่าจะผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง ทำให้ปริญญาไม่ว่าจะตรีหรือโท หรือรวมไปถึงเอกจากหลายๆ ที่ไม่มีคุณค่า ไม่สามารถประกันได้ว่าบัณฑิต มหาบัณฑิตและ ดุษฎีบัณฑิตจะสามารถทำงานได้จริง ทำให้หลายๆ หน่วยงานในภาคเอกชนเริ่มขยับเข้ามาผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตกันเองเพื่อให้ตรงตามกับความต้องการ

หัวหน้าแชร์เรื่อง มหาลัยไทยจะไม่รอด มาในไลน์
น่าสนใจ
.. ดร.อานนท์ เขียนอะไรได้ชัดเจนตรงประเด็นมาก

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
25 พฤษภาคม 2559 18:42 น.
+ http://www.manager.co.th

หน้าต่อ .. จากคอลัมด้านซ้าย

ขณะนี้หลายมหาวิทยาลัยของไทยกำลังขาดทุนและไม่อาจจะอยู่รอดได้จนอาจจะต้องเลิกกิจการในระยะเวลาอันใกล้ บางมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวโดยแบ่งที่ดินผืนงามจัดสรรสร้างคอนโดมิเนี่ยมเพื่อหารายได้ และลดขนาดองค์กรลง ปัญหาข้างต้นเหล่านี้สมทบเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ และต่อไปยิ่งจะแย่ลง ผู้เขียนมีความเห็นส่วนตัวว่าภายในสิบปีนี้จะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องเลิกกิจการเพราะขาดทุนจนอยู่ไม่ไหว (ในปัจจุบันโรงเรียนเอกชนก็เลิกกิจการไปมากมาย เพราะที่นั่งในโรงเรียนของรัฐนั้นมีล้นเกินความต้องการอยู่แล้ว) ดังนั้น มหาวิทยาลัยไทยคงต้องปรับตัวกันอีกมาก ทางออกในการปรับตัวที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่

1. ยุบเลิกมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพหรือขาดทุนมาก เพราะถึงอย่างไรก็ไม่มีทางคุ้มทุน อาจจะต้องมีการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) ของมหาวิทยาลัยเอกชน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ควรเข้ามาแก้ปัญหาโดยการยุบรวมมหาวิทยาลัยของรัฐเอง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็ก ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ทรัพยากรร่วมกันมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีความเข้มแข็งมากขึ้น ในอดีตที่ผ่านมานักการเมืองมีส่วนผลักดันให้เกิดมหาวิทยาลัยในแทบทุกจังหวัดของประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีสถาบันที่สอนระดับอุดมศึกษาไม่ต่ำกว่าสองร้อยแห่ง ซึ่งมากเกินไปสำหรับประเทศไทยซึ่งจริงๆ แล้วไม่ควรมีสถาบันอุดมศึกษาเกินกว่าจำนวนจังหวัดของประเทศเสียด้วยซ้ำไป ทางออกนี้อาจจะเจ็บปวดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งแต่ก็มีความจำเป็นต้องทำ และควรมีนโยบายห้ามเปิดสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มอีกต่อไปแล้ว กระทรวงศึกษาธิการควรเร่งพิจารณาควบรวม ยุบ ให้สถาบันอุดมศึกษาที่อ่อนแอ ขนาดเล็ก ไม่ได้มาตรฐาน รวมกันให้ เข้มแข็ง มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีมาตรฐานดีขึ้น

2. ประเทศไทยจำเป็นต้องมีแผนการศึกษาแห่งชาติ กำหนดทั้งปริมาณและคุณภาพ ในการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ให้ตรงกับความต้องการ สาขาใดที่มีบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ล้นเกินความต้องการและไร้คุณภาพก็ควรค่อยๆ ลดจำนวนลงไปและปิดไปเพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ไม่ปล่อยให้แข่งกันผลิตเพื่อหารายได้ ขายปริญญากันจนเกร่อ เกินความต้องการที่แท้จริงของประเทศในบางสาขาโดยเฉพาะในสาขาสังคมศาสตร์ แม้ในสังคมศาสตร์สาขาที่เรียนยากหน่อยเช่น การบัญชี ก็มีคนเรียนน้อยและขาดแคลนทั้งๆ ที่เป็นวิชาชีพและมีรายได้ดีพอสมควร กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ) สมควรยกเลิกการปล่อยกู้ยืมทางการศึกษาสำหรับสาขาวิชาที่ไม่มีความจำเป็น มีมากพอ มีล้นความต้องการของตลาด และควรพิจารณาให้กู้ยืมตามจำนวนเงินเดือนหรือศักยภาพที่แต่ละคนจะได้รับเงินเดือน หากนักเรียนนักศึกษาสาขาวิชาใดสถาบันใดที่จะมีรายได้ดีหลังสำเร็จการศึกษา เป็นสาขาวิชาขาดแคลนและจำเป็นสำหรับประเทศชาติ ก็ควรจะให้กู้ยืม เช่น สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งขาดแคลนอย่างหนัก ส่วนสาขาที่ไม่ขาดแคลน เช่น รัฐศาสตร์ ก็ไม่ควรให้กู้ยืม เป็นต้น

3. มหาวิทยาลัยต้องลดการพึ่งพารายได้จากการเรียนการสอนลงไป แต่เน้นไปที่การทำงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศและสามารถนำนวัตกรรม งานวิจัย มาผลิตและสร้างรายได้ และ/หรือ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มหาวิทยาลัยต้องเน้นรายได้จากการวิจัยที่สร้างนวัตกรรมและนำไปสู่เชิงพาณิชย์ (Commercialization) ออกมาทำใช้ได้จริง ส่งออกได้จริง ลดต้นทุนได้จริง นำพาประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งรายได้สำคัญของมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษาต้องรับนักศึกษาให้ลดลงแต่มีคุณภาพเข้มข้น ขณะเดียวกันอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องหาเงินทุนวิจัยได้มากจากภาคเอกชนเพื่อนำมาจ้างนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการเรียน ทำงานวิจัยช่วยอาจารย์ สร้างทั้งคนและสร้างทั้งงานที่ช่วยในการพัฒนาประเทศ นักศึกษาจะต้องเป็นทรัพยากรของมหาวิทยาลัย

4. มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาหลักสูตรในลักษณะของสหกิจศึกษา โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การฝึกงาน การตั้งโจทย์การวิจัย มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาแห่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้ทราบมาว่าอาจารย์ในหลักสูตรจะเดินสายพบภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเพื่อหาโจทย์การวิจัยและทุนวิจัย พร้อมให้หน่วยงานนั้นๆ ส่งนักศึกษามาเรียนในหลักสูตร และนำปัญหาโจทย์การวิจัยนั้นๆ ให้นักศึกษาที่หน่วยงานนั้นๆ ส่งมาเรียนทำเป็นวิทยานิพนธ์จนสำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย หน่วยงานได้คนมีความสามารถตรงตามที่ต้องการ หน่วยงานได้ know how ไปใช้ในการแก้ปัญหา อาจารย์ได้โจทย์การวิจัยที่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นักศึกษาได้ทุนมาเรียน ได้มาเรียนรู้ที่ทำให้ทฤษฎีได้ปะทะกับการปฏิบัติอย่างแท้จริง

5. มหาวิทยาลัยไทยต้องเน้นไปที่การศึกษาต่อเนื่องและการฝึกอบรมวิชาชีพ ที่แก้ไขปัญหาในการทำงานให้หน่วยงานต่างๆ มากขึ้น และต้องไม่ใช่งานฝึกอบรมประเภทฉาบฉวย ที่ไม่ก่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ที่ดีขึ้นของบุคลากร แต่ต้องเป็นการฝึกอบรมหรือการศึกษาต่อเนื่องที่ทำให้พนักงานและคนไทยมีความรู้ทักษะ ความสามารถในการทำงานได้ดีขึ้นจริง ทั้งนี้ตลาดด้านนี้ยังเปิดกว้างกว่าตลาดนักศึกษาระดับเยาวชนเนื่องจากเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวแล้ว

ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นแนวทางออกสำหรับวิกฤติอุดมศึกษาไทยได้บ้างเป็นบางส่วน แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยไม่เกิน 5-10 ปีนี้คงได้เห็นความล่มสลายในไม่ช้า โดยจะมีมหาวิทยาลัยที่ต้องปิดตัวลงไปเพราะขาดทุนเป็นจำนวนมาก

เตือนว่าเสี่ยงที่ อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยเตรียมตัวตกงาน ถ้า ...

ถึงวันนี้
เราต้องยอมรับกันแล้วว่าวิกฤติอุดมศึกษานั้นเกิดขึ้นแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งมีนักศึกษาลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามและมีความจำเป็นต้องบีบอาจารย์ให้ลาออกเนื่องจากขาดทุนย่อยยับ หลายแห่งอาจารย์ลาออกไปมากกว่าครึ่งหนึ่งและตั้งเป้าหมายให้อาจารย์เหลือเพียงแค่หนึ่งในสาม มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งขายที่ดินสร้างคอนโดมิเนียมขาย มหาวิทยาลัยราชภัฎหลายแห่งก็ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาในพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์ เนื่องจากไม่มีนักศึกษาให้สอน มหาวิทยาลัยของรัฐในบางสาขารับนักศึกษาได้เพียงร้อยละ 20 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐไม่ต่อสัญญาจ้างอาจารย์เพราะไม่มีนักศึกษาเพียงพอ เริ่มมีปัญหาทางการเงิน มหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่ง อาจารย์เริ่มแย่งวิชาสอนกันเพื่อให้ตัวเองมีภาระงานครบ และหลายแห่งดิ้นรนด้วยการไปหานักศึกษาจีนเข้ามาเรียนซึ่งเป็นนักศึกษาจีนที่คุณภาพไม่ดีนัก สอบเข้ามหาวิทยาลัยในจีนไม่ได้เนื่องจากการแข่งขันสูงมาก หลายคนมาเรียนเพื่อจะได้เข้าเมืองได้ถูกต้องและทำมาค้าขายได้

คาดได้เลยว่าสถานการณ์น่าจะแย่ลงไปเรื่อยๆ และคาดได้ว่าภายในสี่หรือห้าปีนี้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยที่มีมากถึงสามร้อยแห่ง อาจจะได้ไปต่อเป็นส่วนน้อย (หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่ามีเยอะขนาดนั้น แต่ได้สอบถามพนักงานขายซอฟท์แวร์ให้ห้องสมุดแล้วยืนยันเช่นนั้น มีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน สถาบันราชภัฎ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยพลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ แทบทุกคนหันมาสอนอุดมศึกษากันเพิ่มขึ้นแทนอาชีวะศึกษา เพราะค่านิยมกระดาษใบปริญญา)

ในสมัยหนึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นตำแหน่งงานที่ต้องการกันมาก หาคนมีคุณสมบัติครบถ้วนได้ยาก และเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีนักศึกษาสมัครมาก มหาวิทยาลัยเปิดกันได้ง่าย รายได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากมีความต้องการสูงเลยรับคนเข้ามาเป็นอาจารย์ได้ง่ายขึ้น แต่ในปัจจุบันการที่ Over Supply และการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ทำให้เราเกิดประชากรถดถอย มีเด็กเกิดน้อยมากและมีคนตายมากกว่าคนเกิด นักเรียนนักศึกษาที่จะเข้ามหาวิทยาลัยก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะนี้การสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละปีเหลือที่นั่งว่างๆ หานักศึกษามาเรียนไม่ได้ต่อปีเกือบเจ็ดหมื่นที่นั่ง ดังนั้นการแข่งขันจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีอาจารย์ล้นเกินจำนวนนักศึกษาในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไทยจำนวนมากจำเป็นต้องควบรวม (Merger and Acquisition) เพื่อความอยู่รอดซึ่งคาดว่าน่าจะอีกไม่กี่ปี มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาจำนวนหนึ่งจะต้องปิดตัวลงไปเพราะขาดทุนหนักมาก

กระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรที่จะต้องศึกษาการฉายภาพประชากร (Demographic Projection) ของประเทศไทยและพยากรณ์ต่อไปว่าจะส่งผลอย่างไรต่อจำนวนนักเรียนที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อในประเทศไทย สัดส่วนของเด็กในวัยศึกษานั้นน่าจะลดลงไปเรื่อยๆ และอาจจะต้องคำนวณภาระงานสอนว่าสมดุลกันหรือไม่กับจำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเองก็ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพตรงกับความต้องการของนายจ้าง ปัญหาคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับมาเข้าไว้มากมายและมีจำนวนล้นเกินกว่าจำนวนนักศึกษาและภาระงานสอนจะทำเช่นไร

สถานการณ์จะเป็นนายของทุกคน ขณะนี้เริ่มมีอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาธรรมาภิบาลอุดมศึกษาซึ่งมีการใช้อำนาจพวกพ้อง และฝ่ายบริหารเป็นกลุ่มพวกเดียวกับสภามหาวิทยาลัย ทำให้เลือกกันวนเวียนเกาหลังกันไปมา และฝ่ายบริหารบางส่วนถือโอกาสในการกลั่นแกล้งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพลเมืองชั้นสองในสถาบันอุดมศึกษา และเริ่มมีคดีฟ้องร้องกันในศาลปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาคือคดีล่าช้ามาก และอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นมีสิทธิ์ในการต่อสู้ที่แย่กว่ากระทั่งกรรมกร เนื่องจากไปฟ้องร้องที่ศาลแรงงานก็ยังไม่ได้ ทุก พ.ร.บ. ที่นำมามหาวิทยาลัยออกนอกระบบต่างไม่ยอมให้ฟ้องร้องศาลแรงงาน ทำให้เกิดการรังแกกัน อีกส่วนหนึ่งและน่าจะเป็นส่วนใหญ่ด้วยคือการที่ไม่มีนักศึกษา รายได้ลดลง จนไม่สามารถจะจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากได้อีกต่อไป

อันที่จริงอาจารย์มหาวิทยาลัยก็เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นส่วนใหญ่ น่าจะต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ไม่ยากนัก หลักสูตรบางหลักสูตรสอนเนื้อหาวิชาที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน บางสาขาวิชาจบมาปีละหลายพัน แต่นายจ้างหาคนที่มีคุณภาพพอจะทำงานไม่ได้เลย ยกตัวอย่าง เช่น ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป

ที่น่าสังเกตคืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่ปรับตัวได้ กลับเป็นพวกที่ลาออกไปทำงานอื่น เช่น ทำงานภาคเอกชน ด้วยรายได้สูงลิบหรือออกไปทำธุรกิจส่วนตัว พวกนี้ไม่น่าห่วงแต่น่าเสียดายโอกาสสำหรับบางคนที่มีความจำเป็นด้านการเงินมีความสามารถสูงและมีความเป็นครูที่ดี โครงการ Talent mobility ที่เปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัยในภาครัฐไปทำงานวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมให้กับภาคเอกชนนั้นเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมยิ่งน่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ไปได้บ้างพอสมควร

หัวหน้าแชร์เรื่อง อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต้องปรับตัว พัฒนาตัวเอง และเตรียมตัวตกงาน
เหมือนเป็นภาคต่อของ มหาวิทยาลัยไปไม่รอด
.. ดร.อานนท์ เขียนอะไรได้ชัดเจนตรงประเด็นมาก

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
28 ธันวาคม 2559 12:52 น.
+ http://www.manager.co.th

หน้าต่อ .. จากคอลัมด้านซ้าย

ปัญหาหลัก คือ ท้ายที่สุดจำนวนมหาวิทยาลัยก็ต้องลดลงไป และจำนวนอาจารย์ที่ต้องออกจากงานคงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไทยไม่มีนักศึกษาให้สอนอีกต่อไป บางภาควิชา บางคณะ จำเป็นต้องถูกยุบ เนื่องจากไม่มีเงินพอ และไม่มีนักศึกษา อันที่จริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เป็นเช่นนั้น สาขาวิชาบางวิชาที่ไม่มีนักเรียนสนใจจะเรียนไม่สร้างรายได้ก็มีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาประเทศจริงๆ ในขณะที่บางสาขาไม่มีความต้องการและความจำเป็นมากก็ควรต้องรับผลแห่งกรรมกันไป โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์ของไทยที่มาผิดทางโดยตลอด เราเร่งกระบวนการสร้างคนแบบแดกด่วน โดยไม่ได้คำนึงถึงชาติเท่าที่ควร ทำให้เกิดปัญหาในเวลานี้

อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด บางคนทั้งๆ ที่รู้อยู่ไม่มีนักศึกษาให้สอนก็ดิ้นรนจะต่ออายุราชการให้ตัวเองต่อ บางคนที่ไม่มีทางไปก็พยายามดิ้นรนหานักศึกษาเข้ามาเรียนให้มากขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เหลืออยู่ต้องปรับตัว ทางเลือกหนึ่งคือให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานบริการวิชาการให้กับรัฐและเอกชนเพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยให้มากขึ้น แต่ก็พบปัญหาว่าหลายแห่งให้เอกชนเป็นคนทำแต่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปประมูลงานในภาครัฐและกินหัวคิวทั้งอาจารย์หัวหน้าโครงการและมหาวิทยาลัยแห่งนั้น เนื่องจากหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเข้าไปประมูลงานจะถือว่าเป็นสัญญาระหว่างหน่วยราชการและใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษได้

ประเทศไทยนั้นแท้จริงแล้วต้องการนวัตกรและนักวิจัยอีกจำนวนมาก ผมเคยสนทนากับผู้บริหารบริษัทเอกชนจำนวนมากต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยผลิตงานวิจัยขึ้นหิ้ง ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติกันมากมายแต่เอามาใช้งานจริงหรือนำมาประยุกต์ใช้ให้ขายได้จริงในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้น้อยมาก เรื่องเหล่านี้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะอยู่ต่อไปรอด คงต้องปรับตัวให้สามารถสร้างผลงานที่นำไปใช้ได้จริง ขายได้จริง เป็นประโยชน์ได้จริงมากขึ้นเช่นกัน แล้วรายได้จากงานบริการวิชาการและงานที่ปรึกษาจะเข้ามาหาตัวท่านเองและหน่วยงานของท่านอย่างไม่ขาดสายจนทำงานไม่ทัน และไม่มีแรงจะทำ

ทางเลือกอีกทางที่อาจารย์มหาวิทยาลัยอาจจะต้องปรับตัวคือ ต้องเน้นไปที่การศึกษาต่อเนื่องและการฝึกอบรมให้บุคลากรที่ทำงานแล้วได้พัฒนาศักยภาพ ทักษะในการทำงาน ให้ได้ดีขึ้น ทุกวันนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ขายดีในการเป็นวิทยากรมีรายได้มาก ส่วนหนึ่งมาจากทักษะส่วนตัวในการพูดเก่ง มีความสามารถในการ Entertain นักเรียน แต่ภาคเอกชนคงอยากได้วิทยากรเช่นนั้นลดลงไป ภาคเอกชนน่าจะอยากได้อาจารย์หรือวิทยากรที่วิเคราะห์ปัญหาในการทำงานของธุรกิจได้ทะลุ และนำโจทย์ปัญหานั้นมาออกแบบหลักสูตรในการพัฒนาคนให้มีทักษะความรู้ความสามารถที่จะทำให้ปัญหาในการทำงาน การทำธุรกิจ ของหน่วยงานนั้นๆ ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ถึงจะคุ้มค่าเงินลงทุน อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จะไปเน้นเรื่องการเป็นวิทยากร การศึกษาต่อเนื่องก็คงต้องเก่งมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ในมหาวิทยาลัยนั้นมีทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เลือกที่จะทำงานเพราะใจรักกับอีกพวกที่ไม่มีทางไป จริงๆ แล้วอาจารย์มหาวิทยาลัยคงต้องวางแผนชีวิตตนเองให้ดี ว่าจะทำอย่างไรต่อไปในอีกห้าปีข้างหน้า ต่อให้ภาระงานสอนครบ ทำงานวิจัยตีพิมพ์ได้ครบ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่ามหาวิทยาลัยของท่านจะมีเงินมาจ้างท่านต่อไป ในเมื่อไม่มีนักศึกษาและขาดทุน มหาวิทยาลัยเองก็ใช่ว่าจะไปรอดได้ง่ายๆ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นพนักงานควรวางแผนทางการเงินให้ดี อย่าได้ประมาท เนื่องจากไม่มีบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาลแบบราชการที่จะดูแลพนักงานมหาวิทยาลัยหลังเกษียณ ทุกวันนี้อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในงาน (Job security) ต่ำมาก ความไม่ประมาทจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถพิเศษหลายๆ ด้าน อาจจะมีงานหรือธุรกิจอื่นที่ทำนอกเวลาราชการได้ ควรจะต้องออมและลงทุนให้เป็น เพราะสถานการณ์จะเป็นนายของทุกคนในอีกไม่นาน

ตัวอย่างรายวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
รายละเอียดวิชา
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 97 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกน 15 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 66 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก 16 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร 133 หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต (10 วิชา)
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 97 หน่วยกิต
2.1 วิชาแกน 15 หน่วยกิต
[1] CPSC 103 ตรรกะดิจิทัล 3(3-0-6)
[2] MATH 101 แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1 3(3-0-6)
[3] MATH 102 แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2 3(3-0-6)
[4] MATH 201 คณิตศาสตร์ดิสครีต 3(3-0-6)
[5] STAT 201 สถิติสำหรับนักวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6) 

2.2 วิชาเฉพาะด้าน 66 หน่วยกิต
2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
[6] CPSC 311 การจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร 3(3-0-6)
[7] CPSC 312 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3(3-0-6)
[8] CPSC 313 กฎหมาย และจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6) 

2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกค์ 18 หน่วยกิต
[9] CPSC 221 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3(3-0-6)
[10] CPSC 321 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
[11] CPSC 322 ระบบฐานข้อมูล 3(3-0-6)
[12] CPSC 381 โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 3(0-6-3)
[13] CPSC 421 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2-5)
[14] CPSC 481 โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 3(0-6-3) 

2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 21 หน่วยกิต
[15] CPSC 131 วิทยาการคอมพิวเตอร์พื้นฐาน 3(2-2-5)
[16] CPSC 132 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2-5)
[17] CPSC 231 โครงสร้างข้อมูล 3(3-0-6)
[18] CPSC 232 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 3(2-2-5)
[19] CPSC 233 การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงอ็อบเจกต์ 3(2-2-6)
[20] CPSC 331 การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ 3(2-2-5)
[21] CPSC 431 การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3(2-2-5) 

2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 15 หน่วยกิต
[22] CPSC 241 ระบบปฏิบัติการ 3(2-2-5)
[23] CPSC 242 การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธี 3(2-2-5)
[24] CPSC 341 การสื่อสารข้อมูล 3(2-2-5)
[25] CPSC 342 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
[26] CPSC 343 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ 3(2-2-5) 

2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 3 หน่วยกิต
[27] CPSC 251 สถาปัตยกรรมและองค์ประกอบคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5) 

2.3 วิชาเอกเลือก 16 หน่วยกิต 
นักศึกษาจะต้องเลือกเรียนแผนใดแผนหนึ่งจาก 2 แผน นี้
แผนที่ 1 การศึกษาแบบสหกิจศึกษา
[28] CPSC 491 การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา 1(1-0-2)
[29] CPSC 492 สหกิจศึกษา 6(0-40-0)
และเลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาเอกเลือก จำนวน 9 หน่วยกิต
แผนที่ 2 การศึกษาแบบฝึกงาน
[30] CPSC 291 การฝึกงานวิชาชีพ 1 2(0-12-0)
[31] CPSC 391 การฝึกงานวิชาชีพ 2 2(0-12-0)
และเลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาเอกเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเอกเลือก ต่อไปนี้ (3 - 4 วิชา)
[32] CPSC 461 การเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์และดีไซน์แพทเทิร์น 3(2-2-5)
[33] CPSC 462 การเขียนโปรแกรมภาษาจาวา 3(2-2-5)
[34] CPSC 463 ความฉลาดทางธุรกิจ 3(2-2-5)
[35] CPSC 464 เทคโนโลยีการประมวผลแบบกลุ่มเมฆ 3(2-2-5)
[36] CPSC 465 การจัดการโครงงานซอฟต์แวร์ 3(3-0-6)
[37] CPSC 466 การทำเหมืองข้อมูล 3(3-0-6)
[38] CPSC 467 การจัดการเครือข่าย 3(3-0-6)
[39] CPSC 468 การจัดการความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
[40] CPSC 471 การศึกษาเฉพาะเรื่องทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
[41] CPSC 482 สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6) 

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
rspsocial
Thaiall.com