บริการออนไลน์ เช่น แปลง ทดสอบ จำลอง
e-book | pdf.js | jspdf | java | media | kingsong | บริการออนไลน์ pdf.. | คำสำคัญ (Key)
บริการออนไลน์

ขนาด 115,510 bytes
720px * 516px
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์มากมาย ที่สามารถนำมาใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เฉพาะทาง ทั้งแบบที่ต้องชำระ และไม่ต้องชำระเงินก่อนใช้งาน โดยติดตั้งและใช้งานบนฮาร์ดแวร์ของตน แต่มีอีกรูปแบบหนึ่งที่สะดวกอย่างมาก นั่นคือ ระบบบริการประมวลผลออนไลน์ในงานเฉพาะด้าน เช่น แปลง (convert) ทดสอบ (sandbox) จำลอง (simulation) ประมวลผล (process) ฐานข้อมูล (database) พื้นที่เก็บข้อมูล (storage) เป็นต้น
ะบบบริการเหล่านั้น ผู้ใช้สามารถใช้งานบนเว็บไซต์แบบออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้แบบออฟไลน์ ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ของตนเองเพื่อประมวลผล บางบริการสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเข้าระบบ หรือเป็นสมาชิก แต่ต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วใช้โปรแกรม Browser เช่น Chrome, Firefox, Edge, Opera, Safari, Puffin และสิ่งที่ต้องการจะทำ (objectives) เช่น ต้องการแปลงแฟ้ม ก็ต้องมีแฟ้มต้นฉบับ (source file) เมื่อแปลงแฟ้มเสร็จ ก็ต้องดาวน์โหลดแฟ้มผลลัพธ์ (output file) เพื่อนำไปใช้ ถ้าต้องการทดสอบโค้ด (sand box หรือ emulator) ก็ต้องมีโค้ดที่ต้องการทดสอบ เพื่อส่งเข้าระบบของผู้ให้บริการเหล่านั้น
บริการประมวลผลออนไลน์
แปลง word เป็น pdf
เมื่อเปิด word ในเครื่องอื่น อาจมีรูปแบบต่างไป จึงนิยมแปลงเป็น pdf ให้รูปแบบคงที่ ทั้งฟอนต์และตำแหน่งเดิม
เพิ่มเลขหน้าให้ pdf
การนำ pdf หลายแฟ้มมาต่อกัน หรือแฟ้มเดิมไม่มีเลขหน้า เมื่อต้องการใส่เลขหน้าชุดใหม่ จึงได้สั่งเพิ่มเลขหน้า
ปลดล็อกรหัสแฟ้ม pdf
แฟ้มที่ถูกป้องกันด้วยการใส่รหัสผ่าน เพื่อจำกัดการเปิดหรือแก้ไข ในกรณีที่เราใส่รหัสล็อก แต่ลืมก็สั่งปลดล็อกได้
ลดขนาดแฟ้มให้เล็กลง
ภาพที่เรามีมักเป็นภาพต้นฉบับที่มีความละเอียดสูง มีขนาดใหญ่ มักต้องลดขนาด เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบเว็บ
ลบภาพพื้นหลัง
ภาพถ่ายที่มีสองส่วน คือ ภาพพื้นหลัง และภาพคน/สิ่งของ หากลบภาพฉากได้ก็เปลี่ยนฉากแล้วได้ภาพใหม่ที่ต่างไป
จำลองตัวแปลภาษา
ตัวแปลภาษามักต้องติดตั้งในเครื่องผู้ใช้ แต่มีบริการจำลอง ทำให้เขียนโค้ดแล้วส่งไปประมวลผล เพื่อทดสอบดูผลได้
จำลองฐานข้อมูลใช้ SQL
บริการจำลองระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้คำสั่ง SQL ทดลองสั่งจัดการข้อมูล ด้วยคำสั่งเพิ่ม ลบ แก้ไข เรียกข้อมูลตามเงื่อนไข
จำลองระบบลีนุกซ์
การติดตั้งลีนุกซ์ด้วยตนเอง เพื่อใช้ Shell แต่มีอีกทางเลือกคือใช้ Shell จากผู้บริการระบบจำลอง เพื่อลองใช้คำสั่ง
เข้ารหัสถอดรหัส base64
การแปลงแฟ้มไบนารี่ เช่น jpg, ttf เป็น text ด้วยการเข้ารหัส base64 แล้วเก็บในโค้ด เมื่อใช้จะถอดรหัสไปใช้งาน
จัดเรียงข้อมูลตัวอักษร
หนึ่งในการประมวลผลที่พบบ่อยคือการจัดเรียงข้อมูล ซึ่งข้อมูลแบบตัวอักษรสามารถใช้ editor หรือบริการออนไลน์
แปลงแฟ้มภาพเป็น webp
แฟ้ม webp เป็นมาตรฐานภาพของ chrome เริ่มถูกยอมรับ จุดเด่นคือเล็ก มีบริการแปลงภาพแบบอื่นให้เป็นแบบนี้
แปลศัพท์/ตรวจคำ
ค้นความหมายของคำ แปลเป็นคำ เป็นประโยค เสนอที่คำที่ใกล้เคียงแบบออนไลน์ ตรวจคำซ้ำในเอกสารของคนอื่น
ตรวจ grammar
ตรวจรูปแบบการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ ตามไวยากรณ์มาตรฐาน เสนอรูปแบบที่ถูก ใช้แทนประโยคที่ไม่ถูก
บริการเว็บโฮสติ้ง
บริการพื้นที่เก็บข้อมูล ระบบฐานข้อมูล ระบบการควบคุม ระบบรับส่งข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยให้ทดลองใช้
บริการพื้นที่เก็บข้อมูล
พื้นที่เก็บข้อมูลบนอุปกรณ์มีจำกัด แต่บริการพื้นที่ออนไลน์ ช่วยแชร์ทรัพยากรใช้ร่วมกันในทุกอุปกรณ์และขยายได้
บริการ cloud office
บริการชุดโปรแกรมสำนักงานที่ใช้แบบออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์ทุกตัวของผู้ใช้ในแต่ละบัญชี และบันทึกในสื่อออนไลน์
บริการ e-journal
บริการวารสารออนไลน์ที่รับบทความไปเผยแพร่ สืบค้น ประเมิน จัดอันดับวารสาร เปิดอ่าน และดาวน์โหลดได้
บริการ e-book
บริการเอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์ออนไลน์ ทั้งแบบเสียค่าสมาชิก และแบบฟรี ที่เปิดอ่านได้แบบฟลิปบุ๊ค หรือเรียงหน้า
บริการ e-commerce
บริการหน้าร้านสินค้า รับคำสั่งซื้อ เชื่อมระบบชำระเงิน ระบบขนส่ง ระบบคลังสินค้า และประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
บริการ e-learning
บริการการเรียนการสอนออนไลน์ ระบบการบ้าน ทดสอบ บันทึกกิจกรรม ควบคุมเนื้อหา ควบคุมครู นักเรียน ตัดเกรด
บริการ e-assistant
บริการผู้ช่วยสนับสนุนข้อมูลอย่างชาญฉลาดผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มีปฏิสัมพันธ์ทั้งภาพ และเสียงได้อย่างสมบูรณ์
บริการ virtual world
โลกเสมือนจริงที่ทุกคนสามารถเปลี่ยนเพศ อาชีพ อายุ ความเชื่อ สร้างสิ่งที่ไม่มีจริง เชื่อมโลกจริงเข้ากับโลกคู่ขนาน
SCG Highlight

แนะนำผู้ให้บริการออนไลน์ 1. แปลงแฟ้ม word เป็น pdf
เมื่อนำแฟ้มที่สร้างด้วย Microsoft Word จากอุปกรณ์ของเรา ไปเปิดในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น อาจพบว่ามีรูปแบบ (Format) การแสดงผลที่ต่างออกไปจากอุปกรณ์ของผู้สร้าง เช่น รุ่นของโปรแกรม หรือตัวเลือกที่แตกต่างกัน จึงนิยมแปลงแฟ้มจาก word ให้ไปอยู่ในรูปแบบ pdf เพื่อให้มีรูปแบบคงที่ ทั้งฟอนต์ ตำแหน่งคงที่เสมอ และไม่ผิดเพี้ยนไปจากรูปแบบในเครื่องของผู้สร้าง
 
	https://www.ilovepdf.com/word_to_pdf
	https://smallpdf.com/word-to-pdf
	https://www.adobe.com/sea/acrobat/online/word-to-pdf.html
	https://www.freepdfconvert.com/word-to-pdf
	https://www.sodapdf.com/word-to-pdf/
2. เพิ่มเลขหน้าให้ pdf
เอกสารที่มีเลขหน้า จะช่วยให้อ้างอิงเนื้อหาในเอกสารทำได้ง่าย แต่ถ้ามีเอกสารหลายแฟ้ม แล้วนำมาเรียงต่อกัน และบันทึกเป็นแฟ้มแบบ PDF การแทรกเลขหน้าใหม่ให้กับเอกสารภายหลังการวมแฟ้ม จึงเป็นที่นิยม ซึ่งมีบริการออนไลน์ที่ช่วยแทรกเลขหน้าเข้าไปในเอกสาร และมีตัวเลือกต่าง ๆ ทั้งรูปแบบตัวอักษร และตำแหน่งที่ทำให้เอกสารดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 
	https://www.ilovepdf.com/add_pdf_page_number
	https://smallpdf.com/add-page-numbers-to-pdf
	https://tools.pdf24.org/en/add-page-numbers-to-pdf
	https://www.sodapdf.com/add-page-numbers-to-pdf/
	https://www.cleverpdf.com/pdf-page-number
3. ปลดล๊อกรหัสแฟ้ม pdf
เมื่อบันทึกแฟ้มเป็นแบบ PDF แล้วมีการกำหนดรหัสผ่าน เพื่อป้องกันแฟ้มที่เป็นความลับ แต่เจ้าของแฟ้มอาจลืมรหัสผ่าน และจำเป็นต้องใช้แฟ้มนั้น จึงมีตัวช่วยสำหรับการเปิดแฟ้มที่เคยป้องกันด้วยรหัสผ่าน ทำให้สามารถปลดล็อกได้ เพื่อเปิดแฟ้มที่จำกัดการเปิด มาแก้ไข หรือสั่งพิมพ์ได้
 
	https://smallpdf.com/unlock-pdf/
	https://www.ilovepdf.com/unlock_pdf/
	https://www.sodapdf.com/unlock-pdf/
	https://pdf.io/unlock/
	https://www.pdf2go.com/unlock-pdf
	https://pdfbear.com/unlock-pdf
4. ลดขนาดแฟ้มให้เล็กลง
ภาพที่เราบันทึกด้วยอุปกรณ์ถ่ายภาพ มักเป็นภาพต้นฉบับที่มีความละเอียดสูง มีขนาดใหญ่ นำไปใช้งานได้หลากหลาย แต่ถ้าต้องการแสดงผลบนเว็บเพจ แฟ้มควรต้องมีขนาดเล็กที่สุด จึงต้องสั่งประมวลผลเพื่อลดขนาด และรูปแบบ ให้เหมาะสมกับการใช้งานบนเว็บเพจ
 
	https://www.reduceimages.com/
	https://www.iloveimg.com/resize-image
	https://tinypng.com/
	https://www.img2go.com/compress-image
	https://www.resizepixel.com/reduce-image-in-kb/
	https://resizeimage.net/
	https://www.ilovepdf.com/compress_pdf
5. ลบภาพพื้นหลัง
ภาพถ่ายที่ถูกถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลที่ทันสมัย และการวางแผนจัดฉากที่ดี สามารถแยกภาพได้อย่างน้อยสองส่วน คือ ภาพพื้นหลัง และภาพคน/สิ่งของ หากต้องการลบภาพฉาก หรือเปลี่ยนฉากที่สวยกว่าแทนที่ฉากเดิม แล้วได้ภาพใหม่ที่แตกต่างออกไป มีบริการออนไลน์ในหลายเว็บไซต์
 
	https://www.remove.bg/
	https://removal.ai/
	https://photoscissors.com/
	https://clippingmagic.com/
	https://www.fococlipping.com/
	https://www.photoroom.com/background-remover/
6. จำลองตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (playground, simulator)
นักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนโค้ดขึ้น แล้วต้องการทดสอบประมวลผล จำเป็นต้องติดตั้งตัวแปลภาษา แล้วนำแฟ้มผลลัพธ์ไปใช้งานจริง แต่กรณีของนักเรียน หรือผู้ทดสอบอาจเลือกใช้ตัวแปลภาษาออนไลน์ ที่ไม่ต้องติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน สามารถใช้บริการออนไลน์ โดยเขียนโค้ดบนแหล่งให้บริการ หรืออัพโหลดโค้ดเพื่อส่งไปประมวลผล แล้วดูผลการทดสอบได้ ซึ่งมีแหล่งให้บริการอยู่ไม่น้อย
 
	https://www.tutorialspoint.com/compile_java_online.php
	https://www.jdoodle.com/online-java-compiler/
	https://www.onlinegdb.com/online_java_compiler
	https://jsfiddle.net/
	https://code.labstack.com/
	https://www.programming-hero.com/code-playground/python/index.html
	https://www.w3schools.com/html/tryit.asp?filename=tryhtml_basic
	https://nostarch.com/scratch3playground
	https://developers.google.com/blockly
	https://blockly.programming.in.th/
	https://blockly-demo.appspot.com/static/demos/code/index.html
7. จำลองฐานข้อมูลให้ใช้คำสั่ง SQL
การเขียนคำสั่ง SQL เพื่อดำเนินการกับระบบฐานข้อมูล พบว่ามีบริการจำลองระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ใช้คำสั่ง SQL ทดลองสั่งจัดการข้อมูล ด้วยคำสั่งเพิ่ม ลบ แก้ไข เรียกข้อมูลตามเงื่อนไข รวมถึงการใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อสั่งงาน พบว่ามีบริการจำลองระบบเพื่อให้เข้าไปทดสอบคำสั่งดำเนินการได้
 
	https://www.w3schools.com/sql/
	http://sqlfiddle.com/
	https://www.jdoodle.com/execute-sql-online/
	https://sqliteonline.com/
	https://www.mycompiler.io/new/sql
	https://www.db-fiddle.com/
8. จำลองการทำงานของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์หรือแอนดรอยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่การติดตั้งลีนุกซ์ด้วยตนเองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนนั้น มีความจำเป็นสำหรับนักพัฒนามืออาชีพ แต่ถ้าเป็นเพียงผู้เรียนรู้และต้องการใช้งาน Shell ของระบบ สามารถติดตั้ง Bluestack หรือ Visualization หรือเลือกใช้ Shell จากผู้บริการระบบจำลอง ซึ่งมีผู้พัฒนาระบบจำลองหลายราย
 
	https://itsfoss.com/online-linux-terminals/
	https://bellard.org/jslinux/
	https://cocalc.com/doc/terminal.html
	https://www.masswerk.at/jsuix/index.html
	http://cb.vu/
	https://linuxcontainers.org/lxd/try-it/
9. เข้ารหัสถอดรหัส base64
ภาพถ่าย แฟ้มฟอนต์ตัวอักษร หรือไบนารี่โค้ด สามารถถูกแปลงให้อยู่ในรูปตัวอักษร แล้วใส่เข้าไปในรหัสต้นฉบับได้ เพื่อแปลงกลับไปใช้งานเป็นแบบ binary ได้ ซึ่งการแปลงแฟ้มแบบไบนารี่ เช่น jpg, ttf ไปเป็น text file มักใช้ฟังก์ชันการเข้ารหัส base64 แล้วเก็บในโค้ด (source code) แล้วจะนำไปถอดรหัส และใช้ประมวลผลตามเป้าหมายต่อไป ซึ่งมีแหล่งบริการแปลงแฟ้มไบนารี่เป็นแบบรหัส base64 อยู่ไม่น้อย
 
	https://www.base64encode.net/
	https://codebeautify.org/base64-decode
	https://elmah.io/tools/base64-image-encoder/
	https://www.utilities-online.info/base64
	https://rawgit.com/MrRio/jsPDF/master/fontconverter/fontconverter.html
10. จัดเรียงข้อมูลตัวอักษร
หนึ่งในการประมวลผลที่ได้รับความนิยมคือการจัดเรียง (Sort) ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในรูปของข้อความเรียงต่อกันเป็นบรรทัด หากต้องการจัดเรียงข้อมูลใหม่ จำเป็นต้องเปิดโปรแกรมที่มีคุณสมบัตินี้มาช่วยดำเนินการ เช่น โปรแกรม editor ที่นักพัฒนาใช้ หรือเลือกใช้บริการออนไลน์ ซึ่งใช้งานได้สะดวกรวดเร็วกว่า
 
	https://codebeautify.org/sort-text-lines
	https://textmechanic.com/text-tools/basic-text-tools/sort-text-lines/
	https://www.ipvoid.com/sort-text-lines/
	https://www.textfixer.com/tools/alphabetical-order.php
	https://alphabetizer.flap.tv/
11. แปลงแฟ้มภาพเป็น webp
รูปแบบแฟ้มภาพมีหลากหลาย แต่แฟ้มแบบ webp เป็นมาตรฐานภาพของ chrome ถูกยอมรับเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะมาแทนที่แฟ้มแบบ jpg และ png ในอนาคตอันใกล้ จุดเด่น คือ เล็กกว่า ด้วยคุณภาพเท่าเดิม และผลการประเมินเว็บไซต์หลายแห่งยอมรับแฟ้มแบบ webp ซึ่งมีบริการแปลงภาพแบบออนไลน์ที่สามารถเข้าไปใช้บริการได้ฟรีอยู่ไม่น้อย
 
	https://convertio.co/png-webp/
	https://image.online-convert.com/convert-to-webp
	https://cloudconvert.com/webp-converter
	https://ezgif.com/jpg-to-webp
	https://converter.11zon.com/en/image-to-webp/
12. แปลศัพท์/ตรวจคำ
การแปลคำศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ หรือค้นความหมายของคำ แปลเป็นประโยค เสนอที่คำที่ใกล้เคียง ตรวจคำซ้ำในเอกสาร และบริการที่เกี่ยวข้อง มีเว็บไซต์ที่ให้บริการออนไลน์ที่เข้าถึงได้โดยสะดวกอยู่มากมาย
 
	https://translate.google.com/
	https://dict.longdo.com/
	https://www.reverso.net/
	https://itranslate.com/
	http://plag.grad.chula.ac.th/
	https://plagiarismdetector.net/
13. ตรวจ grammar
การเขียนประโยคภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์นั้นไม่ง่ายสำหรับคนไทย แต่เราสามารถใช้บริการตรวจรูปแบบการเขียนประโยคในภาษาอังกฤษ ตามไวยากรณ์มาตรฐาน ใช้คำศัพท์ให้ถูก และเสนอรูปแบบที่ถูกต้องให้ใช้แทนประโยคเดิมได้ ซึ่งหลายเว็บไซต์เปิดให้ใช้งานได้ฟรีในระยะแรก แต่ถ้ามีข้อมูลจำนวนมาก และใช้งานอยู่เสมออาจต้องเสียค่าบริการ
 
	https://www.grammarly.com/
	https://instatext.io/
	https://www.grammarcheck.net/editor/
	https://languagetool.org/
	https://www.reverso.net/spell-checker/english-spelling-grammar/
14. บริการเว็บโฮสติ้ง
นักพัฒนาที่มีข้อมูล และต้องการพื้นที่สำหรับเผยแพร่ และประมวลผลเป็นเว็บไซต์ พบว่า มีบริการพื้นที่เก็บข้อมูล ระบบฐานข้อมูล ระบบการควบคุม ระบบรับส่งข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยให้ทดลองใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดทั้งขนาดพื้นที่ ระยะเวลา และปริมาณการดาวน์โหลด ถ้าต้องการใช้งานอย่างจริงจัง จะมีค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งาน และมีกรอบเวลาชัดเจน
 
	https://www.000webhost.com/
	https://infinityfree.net/
	https://sites.google.com/
	https://www.awardspace.com/
	https://github.com/
	https://themeisle.com/blog/best-free-website-hosting/
15. บริการพื้นที่เก็บข้อมูล
ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนต่างมีหน่วยความจำที่เป็นฮาร์ดดิสก์ หรือเมมโมรี่สำหรับเก็บข้อมูลได้ แต่มีพื้นที่เก็บข้อมูลที่จำกัด ปัจจุบันมีพื้นที่ออนไลน์ (Cloud) ที่รองรับการเก็บข้อมูล และสามารถแชร์ทรัพยากรให้ใช้ร่วมกันในทุกอุปกรณ์และขยายได้ มีทั้งแบบมีค่า
 
	https://www.google.com/drive/
	https://onedrive.live.com/
	https://www.4shared.com/
	https://www.dropbox.com/
	https://www.box.com/
16. บริการ cloud office
สำนักงานทั่วไปจำเป็นต้องมีชุดโปรแกรมสำนักงาน เช่น เอกสาร ตารางคำนวณ นำเสนอ โปรแกรมตัดต่อคลิปวีดีโอ หรือภาพ แต่ถ้าไม่ต้องการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง สามารถเลือกใช้บริการชุดโปรแกรมสำนักงานแบบออนไลน์ ทำให้สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ทุกตัวของผู้ใช้ และบันทึกในสื่อออนไลน์ได้
 
	https://docs.google.com/
	https://www.office.com/	
	https://www.huaweicloud.com/
	https://www.libreoffice.org/	
	https://www.onlyoffice.com/
17. บริการ e-journal
ในอดีตวารสารมีเฉพาะแบบออฟไลน์ ปัจจุบันวารสารที่ได้รับการยอมรับจะมีฉบับออนไลน์ มีบริการ และข้อจำกัดในการเผยแพร่ตามนโยบายของแต่ละฉบับ ทั้งการเปิดรับพิจารณาบทความใหม่ เปิดอ่าน ดาวน์โหลด การเผยแพร่ การสืบค้น และมีการประเมินคุณภาพเพื่อจัดอันดับวารสาร
 
	https://www.tci-thaijo.org/
	https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
	http://www.conferenceinthai.com/
18. บริการ e-book
แนวโน้มการอ่านหนังสือที่ตีพิมพ์ลดลง มีร้านหนังสือมากมายปิดกิจการ สำนักพิมพ์ลดปริมาณการตีพิมพ์หนังสือ สวนทางกับแนวโน้มหนังสือออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะใครเขียนก็ได้ ใครอ่านก็ได้โดยง่าย เปิดอ่านได้จากทุกที่ทุกเวลา พบบริการเอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์ออนไลน์ ทั้งแบบเสียค่าสมาชิก และแบบฟรี ที่เปิดอ่านได้แบบฟลิปบุ๊คมากมาย แล้วยังสามารถดาวน์โหลดไปพิมพ์ได้ หากมีความต้องการฉบับพิมพ์
 
	https://www.ookbee.com/
	https://bookboon.com/
	https://books.goalkicker.com/
	https://www.packtpub.com/
	https://www.scribd.com/
19. บริการ e-commerce
มีผู้ค้าขายรายใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่เปิดหน้าร้านออนไลน์ เสมือนมีหน้าร้านจำหน่ายสินค้าจริง ที่สามารถรับคำสั่งซื้อ เชื่อมระบบชำระเงิน ระบบขนส่ง ระบบคลังสินค้า และประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ มีบริการใหม่มาสนับสนุน เช่น Drop ship และ Drop off การโอนเงิน และการขนส่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายต่ำลงอย่างสมเหตุสมผล
 
	https://shopee.co.th/
	https://www.lazada.co.th/
	https://www.oscommerce.com/
	https://woocommerce.com/
20. บริการ e-learning
การเรียนหนังสือที่เสมือนเรียนอยู่ในห้องเรียนแห่งอนาคต ที่เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา เรียนอยู่ที่บ้าน ปรากฏขึ้นในปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรม พบบริการการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านการประชุม มีระบบการส่งการบ้าน การทดสอบ การบันทึกกิจกรรม การแบ่งปันเนื้อหา การประเมินผล และได้มีดำเนินการในทุกสถาบันการศึกษาที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกับออนไลน์
 
	https://moodle.org/
	https://classroom.google.com/
	https://www.microsoft.com/th-th/microsoft-teams	
21. บริการ e-assistant
การมีเลขานุการ หรือผู้ช่วยงานต่าง ๆ อาจกลายเป็นอดีตในไม่ช้า เพราะปัจจุบันมีบริการผู้ช่วยสนับสนุนข้อมูลอย่างชาญฉลาดผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มีปฏิสัมพันธ์ทั้งภาพ และเสียงได้อย่างสมบูรณ์ เชื่อมกับระบบสืบค้น ระบบนัดหมาย ระบบอีเมล ระบบปฏิทิน และระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ
 
	https://www.apple.com/siri/
	https://assistant.google.com/
	Smart device เช่น Microsoft hololens 2 หรือ Google Glass
22. บริการ virtual world
การผสานโลกเสมือนจริงกับโลกจริงกำลังเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในอนาคตอันใกล้เราสามารถมีตัวตนเสมือนที่สามารถเปลี่ยนเพศ อาชีพ อายุ ความเชื่อ สร้างสิ่งที่ไม่มีจริง เชื่อมโลกจริงเป็นโลกคู่ขนานที่รองรับทุกกิจกรรมทางสังคมได้ ทั้งทำงาน การเรียน ความบันเทิง ได้อย่างลงตัว
 
	Social media 
	Online game - mmorpg
	https://secondlife.com/
23. บริการ ภาพฟรี
เมื่อผู้คนเข้าไปใช้ชีวิตในโลกอินเทอร์เน็ต แล้วรวมกลุ่มกันสร้างสังคมที่แตกต่างกันไป ตามความสนใจของกลุ่ม มีกลุ่มที่ชอบถ่ายภาพ วาดภาพ สร้างงานศิลปะ และนำออกจำหน่าย มีผู้สนใจซื้อภาพถ่ายไปใช้งานทางธุรกิจ บางคนใช้เพื่อการศึกษา บางคนต้องการใช้ฟรีเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ จึงเกิดเว็บไซต์ขายภาพขึ้นมากมาย และมีช่างภาพที่ไม่ประสงค์หารายได้สร้างเว็บไซต์เพื่อส่งภาพขึ้นเผยแพร่ให้เพื่อนได้ดาวน์โหลดฟรี ซึ่งมีแหล่งบริการภาพถ่ายจำนวนมากให้เข้าใช้บริการ
 
	https://unsplash.com/
	https://gratisography.com/
	https://morguefile.com/
	https://pixabay.com/
	https://www.stockvault.net/
	https://www.pexels.com/
	https://picjumbo.com/
	https://pikwizard.com/
	https://www.rawpixel.com/
	https://www.reshot.com/
	http://shutterstock.com/
	https://www.istockphoto.com/
	https://www.gettyimages.com
	https://www.foleon.com/blog/best-free-business-stock-photo-websites
เล่าสู่กันฟัง
การประมวลผล apk บน chrome นื่องจากระบบปฏิบัติการ android ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนามี extension ลงท้ายด้วย .apk สามารถนำไปติดตั้งใช้งานบน smart phone มีให้ดาวน์โหลดกันอย่างแพร่หลาย ในกรณีที่ผู้ใช้ หรือผู้พัฒนาได้รับแฟ้ม .apk แล้ว ต้องการติดตั้งบน smart phone สามารถทดสอบมาประมวลผลบน chrome browser แบบ online มีขั้นตอนดังนี้ 1) เริ่มจากการเปิด chrome browser แล้วเปิดเว็บไซต์ ApkOnline APK manager for Android emulator จะพบ "Add to chrome" ให้คลิ๊กเพื่อเพิ่ม extension เข้า Extension 2) จากนั้นสั่งเปิดใช้ ApkOnline จากการคลิ๊กเลือก Extensions icon บน Address bar 3) พบ Icon menu ของ ApkOnline แล้วคลิ๊ก Upload เลือกแฟ้ม .apk 4) คลิ๊กขวา Application ที่ได้อัพโหลดขึ้นไปบน ApkOnline แล้วเลือก run หรือดับเบิ้ลคลิ๊ก 5) คลิ๊กปุ่ม Start แล้ว Wait ประมาณ 20 วินาที แล้วคลิ๊กปุ่ม Enter แล้วรออีก 40 วินาที 6) พบ Emulator ที่มีหน้าจอเหมือน Tablet หรือ Smartphone และ application ให้ใช้งาน 7) บาง application พบปัญหา "Critical Error Occured!" คือ ประมวลผลไม่ได้ อาจต้องเลือกไปใช้ Bluestack 5 แทน
thaiall.com/android/itarticle.apk
thaiall.com/android/
pdf compress ารลดขนาดแฟ้ม เช่น เมื่อมีเอกสาร pdf ที่ได้รับจากเพื่อน เปิดแฟ้มอ่านแล้ว พบว่า แฟ้มมีขนาดใหญ่มาก มีข้อมูลไม่กี่หน้า แต่ขนาดใหญ่นับร้อยเมกะไบต์ บางครั้งใหญ่จน Google drive ไม่สามารถแสดงผลผ่าน preview ได้ หรือจะดาวน์โหลดมาจัดเก็บ เมื่อคำนึงถึงขนาดใหญ่ที่ใหญ่เกินจำเป็นก็ไม่สามารถนำมาเก็บได้ หากจะแก้ไขด้วยการลดขนาดแฟ้มที่ต้นทาง คือ ใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนที่ใช้สร้างแฟ้ม pdf ก็ดูไม่สมควร ซึ่งจะเป็นการรบกวนเพื่อนได้ หรือเรารู้สึกเกรงใจเพื่อน แต่ถ้าเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ก็จะร้องขอให้ปรับแก้ลดขนาด แล้วส่งงานกลับมาใหม่ได้อย่างสมเหตุสมผล เพื่อฝึกทักษะในการจัดการเอกสารของผู้ส่งผลงาน
ดังนั้น การลดขนาดที่ปลายทาง หรือฝั่งผู้อ่าน จึงเป็นทางเลือกอีกทางที่เหมาะสมก่อนเก็บของสตอเรจ (storage) และเผยแพร่ต่อไป ในกรณีที่ไม่ติดปัญหาเรื่องสิทธิของแฟ้มผลงานในการเผยแพร่ซ้ำแบบไม่แสวงหาผลกำไร เช่น บทความทางวิชาการในวารสารออนไลน์ เป็นต้น พบว่า มีบริการลดขนาดแฟ้ม pdf ที่ ilovepdf.com/compress_pdf มีตัวอย่างลดขนาดแฟ้มเขียนคำศัพท์ 128 คำของนิสิต 3 คน ใน /tec/assignment.htm จากขนาดมากกว่า 100 MB ลดเหลือไม่ถึง 10 MB หรือตัวอย่างรายงานฉบับสมบูรณ์ในโครงการ lampang museum แฟ้มต้นฉบับขนาด 79.03 MB เมื่อลดขนาดแล้วเหลือ 3.20 MB เท่านั้น ลดได้มากถึง 96% เมื่อใช้งานจริงบนเว็บไซต์ พบว่า คุณภาพลดไปเพียงเล็กน้อย และสามารถเปิดอ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยขนาดแฟ้มที่ลดลง
Kahoot สามารถใช้ภาพแรก จาก Getty images
มื่อ 7 มกราคม 2565 พบว่า kahoot.com แบบฟรีสำหรับคุณครู (School teacher) ที่ยังไม่ได้อัพเกรด (Upgrade) เป็น pro หรือ premium สามารถใช้ภาพจาก getty images ภาพแรกได้ ส่วนภาพที่สองนั้นต้องอัพเกรดก่อน แต่คุณครูสามารถเลือกใช้การ upload ภาพของตนเองแทนได้ ส่วน import spreadsheet เป็นข้อสอบยังใช้ได้ฟรี ส่วน import slide นั้น ต้องอัพเกรด จึงจะเปิดใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
Getty Images (gettyimages.com) คือ แหล่งขายภาพออนไลน์ ดำเนินการโดยบริษัทที่รวบรวมภาพเพื่อจำหน่าย ที่มาจากสมาชิกช่างภาพ หรือ studio ทั่วโลก ซึ่งมีภาพอยู่จำนวนหนึ่งที่นำมาใช้ได้ฟรี บน blog หรือ website ในรูปแบบของการ embedded code และไม่ใช่การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ เช่น ภาพของ Half point ที่เลือกได้ว่าจะซื้อหรือนำไปใช้แบบฝังโค้ด (Embedded code)
สร้าง QR Code แบบมี Logo ฟรี
me-qr.com qr-code-generator.com me-qr.com
//qrco.de/bcgbpx
มีเพื่อน สนใจสร้าง QR Code แบบมี Logo แล้ว อ.เชพ แนะนำให้ทดสอบหลายไซต์ เมื่อได้ทดสอบใช้บริการ 3 แหล่ง คือ qr-code-generator.com และ me-qr.com และ qrcode-monkey.com แล้ว พบว่า ใช้งานได้ง่าย ขั้นตอนเริ่มต้นจากเตรียมภาพ logo และ url และ e-mail จากนั้นก็สมัครสมาชิก กำหนดที่อยู่เว็บ แล้วอัพโหลด โลโก้ ซึ่งบริการของ qr-code-generator.com ต้องสมัครสมาชิกด้วยอีเมล จึงจะอัพโหลดโลโก้ได้ และจำกัดให้ใช้งานได้เพียง 14 วัน หากเกินกว่านี้ก็จะใช้คุณสมบัตินี้ไม่ได้
ส่วนบริการของ me-qr.com สามารถอัพโหลดโลโก้โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก สิ่งที่ต่างกัน คือ หลัง scan และได้โค้ด แล้วเปิดตามลิงก์ เช่น //me-qr.com/8457424 จะปรากฎต้องป้ายโฆษณาเป็นเวลา 5 วินาทีก่อนไปยัง url เป้าหมาย ส่วนบริการของ qrcode-monkey.com สามารถอัพโหลดโลโก้เช่นกัน และผลการ scan qrcode ที่ได้จะไปยัง url เป้าหมายทันที ไม่ได้ไปยัง short url ของผู้ให้บริการก่อน แล้วย้ายไปยัง url ของเรา จึงสรุปได้ว่าบริการที่นี่ดีที่สุด ซึ่งภาพประกอบด้านขวา เป็น qr code ที่ใช้ url เดียวกัน แต่ได้ qr code มาจากผู้ให้บริการแตกต่างกัน
ตัวอย่าง qr code อันดับ 1 ใส่โลโก้ได้ไม่ติดขัด : qrcode-monkey.com
อันดับ 2 เพราะใช้ฟรี 14 วัน : qr-code-generator.com
อันดับ 3 เพราะรอ 5 วินาที : me-qr.com
การแปลงจาก pdf ภาษาไทยเป็น word (1/2)
ารทดสอบแปลงแฟ้ม pdf ภาษาไทยเป็น word โดยใช้แฟ้มต้นฉบับที่สร้างจากทั้ง Word 2010 และ 2019 ให้ผลไม่ต่างกันมาก พบว่า pdf2doc.com , pdfcandy.com , google docs ให้ผลลัพธ์ดี มีความสมบูรณ์ประมาณ 80% ซึ่งใกล้เคียงกันกับแฟ้มที่สร้างด้วยโปรแกรม pdfcreator หรือ save as หรือ microsoft print โดยผลลัพธ์จาก 3 บริการข้างต้น ให้ผลดีกว่า adobe online, ilovepdf, pdftoword และ smallpdf สำหรับผลงานที่สร้างจาก Word ประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) การใช้ google docs มีปัญหา error convertion กับการแปลงแฟ้ม pdf ที่สร้างมาจาก pdfcreator 2) ฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิตนั้น มีเพียง pdf2doc.com ที่อ่านแฟ้มที่ีได้จาก pdfcreator มาเป็นตัวอักษร ส่วนต้นฉบับที่ได้จาก save as จะเห็นฟอนต์นี้เป็นวัตถุที่ไม่สามารถแปลงเป็นตัวอักษรได้ตามปกติ
บว่าบางบริการจำกัดจำนวนการใช้งานฟรี 1 ครั้ง สามารถเปิด browser โปรแกรมตัวใหม่ หรือ Clear history ก่อนใช้รอบต่อไป หรือใช้โหมดไม่ระบุตัวตน (incognito) ปิดแล้วเปิดใหม่ จะใช้งานฟรีรอบใหม่ได้ แต่การปิดเปิด browser ใหม่นั้นเว็บไซต์ยังตรวจพบอยู่และถูกจำกัดการใช้งาน จนกว่าจะสมัครสมาชิก จึงต้องเลือกแบบที่จำไม่ได้ ล้างสิ่งที่จำ หรือเลือกใช้แบบไม่จำสถานะเดิม
adobe.com (1 ฟรี)
drive.google.com (ฟรี)
ilovepdf.com (ฟรี)
pdf2doc.com (ฟรี)
pdfcandy.com (1 ฟรี)
pdftoword.com (ฟรีในอีเมล)
smallpdf.com (1 ฟรี)
เปรียบเทียบผลของ smallpdf.com และ google docs
Smallpdf.com : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ส่วน Chulabhorn Likit Lite เป็นแบบ 3) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 70% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ 1) Normal และ 2) Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี สุดท้าย คือ pdfcreator ที่เกือบทุกแบบยอมรับได้ไม่ถึง 50%
Google docs : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้ 90-100% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-90% สำหรับรูปแบบที่เหลือ รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% แบบย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 70-80% แบบตาราง คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-60% สำหรับรูปแบบที่เหลือ สุดท้าย คือ pdfcreator ระดับการแปลงเท่ากับ 0 %
การแปลงจาก pdf ภาษาไทยเป็น word (2/2)
ารทดสอบแปลงแฟ้ม word เป็น pdf แล้วแปลงจาก pdf กลับไปเป็น word ในทันที โดยแฟ้ม pdf นี้สร้างขึ้นมาจาก word มี 3 วิธี ใช้ office 2 รุ่น แล้วแปลงด้วยเครื่องมือแบบออนไลน์ 7 เครื่องมือ พบว่า รูปแบบตัวอักษรเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ผลการแปลงยอมรับได้ตั้งแต่ 50-90% แต่ไม่มีวิธีใดยอมรับได้ถึง 100% แต่วิธีที่ 8 ที่ทำให้ผลการแปลงยอมรับได้เกือบ 100% คือ การแปลงจาก pdf เป็นภาพแบบ png ก่อน ตัวอย่างนี้ใช้บริการของ pdf2png.com แล้วส่งเข้า google drive แล้วเลือก open with : google docs จะได้แฟ้ม .docx ที่แสดงการเปรียบเทียบต้นฉบับกับผลการแปลง (convert) เป็นตัวอักษรที่อยู่ในแฟ้มเดียวกัน ซึ่งในแฟ้มตัวอย่างมีข้อความว่า "ที่นี่มีดำจำนวนน้อยฤดูนี้ที่มีน้ำผึ้งใส่ไหให้ไวขึ้นนะ" และมีผลงาน 3 หน้า แยกแสดงเป็นตัวอย่างตามลิงก์ด้านล่างนี้
ขั้นตอนการแปลงจาก pdf เป็น word
1. ส่ง pdf ไปแปลงเป็น png ที่ pdf2png.com จะได้ภาพ png เท่าจำนวนหน้าในแฟ้ม pdf
2. แตกแฟ้ม .zip จะได้ภาพ .png แล้ว upload ภาพไปยัง google drive
3. คลิ๊กขวาบนแฟ้มภาพใน google drive แล้วเลือก open with : google docs
4. ในหน้าต่างจะแสดงข้อความที่ถูกแปลงใน google docs และได้แฟ้มชื่อเดียวกับแฟ้มภาพ คู่กัน
5. คลิ๊กขวา : Download เพื่อนำแฟ้มไปใช้งาน แก้ไข หรือส่งต่อได้
สรุปว่า การ convert เป็นตัวอักษร สำเร็จได้เกือบ 100% แต่รูปแบบตารางเสียทั้งหมด ต้องจัด format ใหม่
doc2pdf19_pdfcreator-1.docx
doc2pdf19_pdfcreator-2.docx
doc2pdf19_pdfcreator-3.docx
rspsocial
Thaiall.com