สืบค้นข้อมูล ทั่วโลก
Computer | Handbill | สมรรถนะดิจิทัล | KMED | MIS | Ethics | Breaking News | หนังสือ | งานมอบหมาย | คำศัพท์ | เช็คชื่อ | บริการออนไลน์ pdf.. | คำสำคัญ (Key)
การสืบค้นข้อมูล ารสืบค้นข้อมูล (Data Searching) คือ กระบวนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้นที่ผู้ให้บริการได้จัดทำขึ้น เพื่อค้นข้อมูลตามคำค้นจากผู้ให้บริการที่ได้รวบรวมข้อมูล และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เช่น สำนักหอสมุดมีตู้บัตรรายการหนังสือที่ระบุตำแหน่งชั้นเก็บหนังสือ กูเกิ้ลมีข้อมูลเว็บไซต์ที่พร้อมให้ถูกสืบค้นตามคำค้น ช้อปปี้มีรายการสินค้าที่พร้อมจำหน่าย เฟซบุ๊กมีรายชื่อเพื่อนของเรา ยูทูปมีคลิปวิดีโอ จูกซ์มีบริการสตรีมเพลงโดยบริษัทเทนเซ็นต์ เป็นต้น
ประเภทของแหล่งข้อมูล [13]p.180
1. แหล่งข้อมูลภายใน (Internal Resource)
แหล่งข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กร คือ ข้อมูลที่เกิดจากการประมวลผลในองค์กร และเน้นการใช้งานเฉพาะในองค์กร อาจเรียกว่า ข้อมูลอินทราเน็ต (Intranet) เช่น ยอดขายของบริษัท รายชื่อพนักงาน รายชื่อลูกค้า ผลงานของแต่ละบุคคล ข้อมูลการขาดลามาสาย ข้อมูลการลงทะเบียนเรียน ผลการเรียน รายการชำระค่าหอพัก แผนงาน โครงการ กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ รายงานยอดขาย งบประมาณ ข้อมูลสินค้า และผลิตภัณฑ์ในองค์กร
2. แหล่งข้อมูลภายนอก (External Resource)
แหล่งข้อมูลภายนอก คือ ข้อมูลทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ นำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์มักเป็นข้อมูลสาธารณะ หรือจัดเก็บในองค์กรอื่นที่เรามีสิทธิ์เข้าถึงได้ เช่น อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ราคาน้ำมัน สถิติการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แอปพลิเคชันเป๋าตัง หรือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั่วไปที่สามารถสืบค้นได้
สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง การสืบค้นข้อมูล data_retrieval.pptx
ข้อมูล
ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้ และมีความหมาย อาจเกี่ยวข้องกับคน สิ่งของ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ นิยมใช้เป็นส่วนนำเข้าพื้นฐานเพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับช่วยตัดสินใจ และนำเอาไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ตามต้องการ
เช่น
- คะแนนสอบเป็นข้อมูล แต่เกรดเป็นสารสนเทศ
- เกรดแต่ละวิชาเป็นข้อมูล แต่รายงานผลการเรียนประจำภาคเป็นสารสนเทศ
- เกรดเฉลี่ยแต่ละภาคเป็นข้อมูล แต่รายงานการพ้นสภาพเป็นสารสนเทศ
- เกรดทั้งหมดเป็นข้อมูล แต่ Transcript และใบรับรองการสำเร็จการศึกษาเป็นสารสนเทศ
Archive แปลว่า ที่จัดเก็บ
Archive.org หรือ Wayback machine คือ เว็บไซต์ที่เก็บข้อมูลเก่า และสื่อที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต โดยรวบรวมหน้าตาเว็บไซต์ ในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำแนกตามปี ตามเดือน ที่ถือเป็นแหล่งสำหรับค้นคว้าข้อมูลเชิงประวัติทางอินเทอร์เน็ต ก่อตั้งโดยมูลนิธิ Internet Archive ที่เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ประเภทของการค้นหาข้อมูล (Search Engine)
1. การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง (Search Engine)
ระบบที่ช่วยค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เพียงแค่ระบุคำที่ต้องการค้นหาข้อมูล เป็นรูปแบบที่นิยมมาก เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในแบบนี้ เช่น https://www.google.com
2. การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ (Subject Directories)
ระบบที่ช่วยค้นหาข้อมูลจากการเลือกจากรายการชื่อไดเรกทอรี่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา และสามารถเลือกเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์บ้างได้ทันที เช่น https://dir.sanook.com/
3. การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล (Meta Search Engines)
ระบบที่ช่วยค้นหาข้อมูลจากหลาย Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Meta search จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายแหล่งมารวมกันแล้วจะแสดงผล เช่น http://www.metacrawler.com
- ผู้ให้บริการข้อมูล
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คือ บริษัทที่เปิดให้บริการแก่ลูกค้าได้เข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมส่งผ่านอุปกรณ์บอกเส้นทาง (Router) และเชื่อมต่อเครือข่าย เช่น ไดอัล (Dial) ดีเอสแอล (DSL = Digital Subscriber Line) เคเบิลโมเด็ม (Modem) ไร้สาย (Wireless) หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด (High Speed)
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) เช่น 3BB, CAT, TOT, True, UIH
ศูนย์ข้อมูล (Data Center) เช่น CAT data center หรือ Amazon Web Services (AWS) - Cloud Computing Services
ผู้ให้บริการพื้นที่เว็บไซต์ (Web hosting) เช่น godaddy.com , z.com , thnic.co.th
โดเมนเนม (Domain name) เช่น nation.ac.th , sanook.com , thainame.net
ประเภทแหล่งสืบค้นแฟ้ม
ประเภทแหล่งสืบค้นแฟ้ม สามารถจำแนกตามลักษณะแฟ้มที่รองรับแบ่งปัน แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ เอกสาร ภาพ เสียง วิดีโอ และ โปรแกรม
1. แหล่งสืบค้นเอกสารทั่วไป/เอกสารเฉพาะด้าน (Document search engine)
มีเอกสารมากมายเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตที่สืบค้นได้ สามารถเปิดอ่านได้ทันทีบนบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดมาอ่านบนอุปกรณ์ หรือต้องใช้แอปพลิเคชันพิเศษและสิทธิการเป็นสมาชิกเพื่อเข้าถึงทรัพยากร นับวันการพัฒนาแหล่งเผยแพร่จะยิ่งอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายขึ้น
1. ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลาง https://www.tci-thaijo.org (ThaiJO)
2. เครือข่ายห้องสมุดอุดมศึกษาไทย https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php (ThaiLIS)
3. รวมข้อมูลการประชุมวิชาการ http://www.conferenceinthai.com/
4. Government open data https://www.data.go.th
5. อาร์ไคฟ์เก็บเว็บไซต์ https://www.archive.org
6. วิกิพีเดียร์ https://www.wikipedia.org
7. พจนานุกรม https://dict.longdo.com
8. อักขราวิสุทธิ์ https://plag.grad.chula.ac.th
9. แหล่งเผยแพร่ scribd.com https://www.scribd.com
10. แหล่งเผยแพร่ slideshare.net https://www.slideshare.net
11. แหล่งเผยแพร่ issuu.com https://www.issuu.com
12. แหล่งเผยแพร่ flipsnack.com https://www.flipsnack.com
2. แหล่งสืบค้นข้อมูลรูปภาพ (Image search engine)
นับตั้งแต่การพัฒนาอุปกรณ์บันทึกภาพ หรือกล้องดิจิทัล เพื่อเก็บภาพถ่ายเป็นแฟ้มดิจิทัล ทดแทนกล้องใช้ฟิล์มที่ต้องไปอัดภาพที่ร้านถ่ายภาพแล้วพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ พบว่า การเผยแพร่ภาพถ่ายดิจิทัลได้รับความนิยมจนทดแทนภาพถ่ายบนกระดาษได้เกือบทั้งหมด ปัจจุบันไม่พบคนรุ่นใหม่ที่ยังถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม แต่ใช้สมาร์ทโฟน หรือกล้องดิจิทัลเพื่อถ่ายภาพหรือถ่ายคลิ๊ป แล้วอัพโหลดเก็บไว้ในสื่อสังคม แหล่งเก็บภาพฟรี และมีตากล้องมืออาชีพรวมกลุ่มกันสร้างแหล่งจำหน่ายภาพ ที่ลูกค้าสามารถเข้าไปเลือกซื้อได้
1. บริการโดย กูเกิ้ล https://images.google.com
2. บริการโดย ไมโครซอฟต์ https://bing.com/images
3. บริการโดย tineye https://tineye.com
4. บริการโดย yandex https://yandex.com/images
5. บริการโดย shutterstock https://shutterstock.com/th/search
6. บริการโดย prepostseo.com https://prepostseo.com/reverse-image-search
7. บริการโดย seotools.com https://smallseotools.com/reverse-image-search
8. บริการโดย duplichecker.com https://duplichecker.com/reverse-image-search.php
3. แหล่งสืบค้นเพลง/แฟ้มเสียง (Sound search engine)
ในอดีตการฟังเพลงต้องซื้อแผ่นเสียง หรือเทปคาสเซ็ทมาใช้กับวิทยุหรือเครื่องเล่นเทปแบบพกพา นับตั้งแต่มีการพัฒนา ipod หรือเครื่องเล่น mp3 มาจนถึงสมาร์ทโฟน พบว่าเทปคาสเซ็ทได้หายไปจากตลาดเพลง ปัจจุบันสามารถฟังเพลงได้จากอินเทอร์เน็ตที่มีการปล่อย single ผ่าน youtube.com โดยจำนวนผู้ฟังที่มากจะถูกเปลี่ยนเป็นรายได้ให้กับศิลปิน หรือขายเพลงผ่านแพลตฟอร์มด้านเพลงและบริการสตรีมมิ่ง เช่น Spotify, iTunes, Joox, Amazon music, Youtube music , Napster เป็นต้น
1. บริการโดย apple.com https://www.apple.com/itunes/ (Apple Music)
2. บริการโดย joox.com https://www.joox.com
3. บริการโดย spotify.com https://www.spotify.com
4. บริการโดย wesingapp.com https://www.wesingapp.com
5. บริการโดย soundcloud.com https://www.soundcloud.com
4. แหล่งสืบค้นวิดีโอ (Video search engine)
การถ่ายคลิปวิดีโอมีการพัฒนาใกล้เคียงกับการถ่ายภาพดิจิทัล เราพบว่ากล้องถ่ายภาพดิจิทัลในระยะหลังจะมีคุณสมบัติถ่ายวิดีโอมาพร้อมกัน เพราะวิดีโอ คือ ภาพนิ่งหลายภาพซ้อนกัน หรือเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพในเวลาที่รวดเร็ว มีหน่วยเป็น เฟรมต่อวินาที จนดวงตาของมนุษย์ไม่อาจทราบได้ว่านี่คือภาพนิ่งที่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอในหลายแหล่ง เช่น youtube , tiktok , facebook , instagram ซึ่งคลิปวิดีโอมีลิขสิทธิ์ด้านเสียงเพลงควบคู่ไปกับภาพประกอบและเนื้อหา จึงมีผู้หารายได้จากการทำคลิปวิดีโออยู่จำนวนมาก และพวกเขาถูกเรียกว่า youtuber ซึ่งรายได้มาจากหลายแหล่งทั้ง youtube หรือ sponsor ที่ผู้จ้าง influencer มาช่วยโปรโมทสินค้า
1. บริการโดย youtube.com https://www.youtube.com
2. บริการโดย dailymotion.com https://www.dailymotion.com
3. บริการโดย vimeo.com https://www.vimeo.com
4. บริการโดย yahoo.com https://www.yahoo.com
5. บริการโดย bing.com https://www.bing.com
5. แหล่งสืบค้นโปรแกรม (Software search engine)
ปัจจุบันมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันจำนวนมาก ทั้งที่เป็นองค์กร และบุคคล เมื่อพัฒนาแล้วก็จัดจำหน่าย หรือเปิดให้ทดลองใช้ ผ่าน app store หรือ play store ในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีพบว่าซอฟต์แวร์มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมากประสบความสำเร็จและจำหน่ายได้เงินมากมาย บริษัทไมโครซอฟต์ บริษัทกูเกิ้ล หรือบริษัทเฟซบุ๊กเป็นตัวอย่างบริษัทระดับโลกที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างชัดเจน
1. บริการโดย apple.com https://www.apple.com/app-store/
2. บริการโดย google.com https://play.google.com/store
3. บริการโดย thaiware.com https://www.thaiware.com
4. บริการโดย cnet.com https://download.cnet.com
5. บริการโดย sourceforge.net https://www.sourceforge.net
6. บริการโดย filehippo.com https://www.filehippo.com
7. บริการโดย softpedia.com https://www.softpedia.com
8. บริการโดย github.com https://www.github.com
ระบบห้องสมุดออนไลน์ (Online library system)
1. ห้องสมุดออนไลน์สถาบัน Goethe
https://www.goethe.de/ins/th/th/ban/kul/bib/onl.html
2. ห้องสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติมหาสิรินาถ
https://www.mahasirinath.com/searchpage.asp
3. ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
https://library.mcu.ac.th/home/
4. ห้องสมุดออนไลน์ในประเทศไทย
https://www.correct.go.th/hrd/library.htm
5. Globethics.net
https://www.globethics.net
6. Buddhist eLibrary
https://www.buddhistelibrary.org/th/index.php?cat=41
7. Open Library
https://openlibrary.org/
8. American Library
https://archive.org/details/americana
9. Online Christian Library
https://www.patheos.com/Library
10. Library of World Religions and Faith Traditions
https://www.patheos.com/Library
11. Islamic Library
https://www.minhajbooks.com/english/index.html
12. Al Islam
https://www.alislam.org/books/
13. Jewish Virtual Library
https://www.jewishvirtuallibrary.org/
แนะนำแหล่งสืบค้นข้อมูล https://www.ium-thai.org/blank-18
Onleihe
Onleihe คือ ห้องสมุดออนไลน์เป็นบริการของสถาบันเกอเธ่ โดยรวบรวมสื่อดิจิทัลต่าง ๆ กว่า 35,000 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หนังสือเสียง ภาพยนตร์ สื่อการเรียนภาษาเยอรมัน นิตยสารและหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เมื่อสมัครและลงทะเบียนเข้าใช้ก็สามารถใช้บริการ Onleihe บนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร (ทั้งระบบ Android และ iOS) ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่มีโฆษณา ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา (burin_ruj:ABC)
แหล่งอีบุ๊ค (E-book Center)
1. ฟรีอีบุ๊ค ด้านสุขภาพ https://multimedia.anamai.moph.go.th/ebooks/
2. ฟรีอีบุ๊ค ด้านสุขภาพ https://www.free-ebooks.net/health
3. ฟรีอีบุ๊ค กรมสุขภาพจิต https://new.camri.go.th/ebook
4. ฟรีอีบุ๊ค สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ http://hsmi.psu.ac.th/?page_id=1714
5. ฟรีอีบุ๊ค มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://e-book.ru.ac.th/
6. ฟรีอีบุ๊ค ด้านคอมพิวเตอร์ https://goalkicker.com
7. ฟรีอีบุ๊ค ด้านคอมพิวเตอร์ https://riptutorial.com/ebook/
8. ฟรีอีบุ๊ค ด้านคอมพิวเตอร์ https://allitbooks.net/
9. ฟรีอีบุ๊ค ด้านภาษาอังกฤษ https://indeedproject.org/free-ebooks/
10. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.packtpub.com/
11. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.se-ed.com/e-books.aspx
12. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.naiin.com/e-books/
13. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.chulabook.com/en/main-ebook
14. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.ookbee.com/
15. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.mebmarket.com/
16. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.ebooks.in.th/
17. ร้านหนังสืออีบุ๊ค http://store.2ebook.com/
18. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.ebooks.com/en-th/
19. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://books.google.com/
20. ร้านหนังสืออีบุ๊ค https://www.barnesandnoble.com/
แหล่งสืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ทั่วไป (Search engine)
1. Google.com https://www.google.com
2. Yahoo.com https://www.yahoo.com
3. Bing.com https://www.bing.com
4. Baidu.com https://www.baidu.com
5. TOR : The Onion Browser https://www.torproject.org
เทคนิคการสืบค้นผ่าน google.com
1. ข้อมูลการสืบค้นในอดีตของเรา https://www.google.com/history
2. ค้นเฉพาะในเว็บไซต์ที่ระบุ เช่น อั้ม site:sanook.com พบ 327000 ไซต์
3. ค้นตามประเภทไฟล์ เช่น information filetype:pptx พบ 2 ล้านกว่าไซต์
4. ค้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น related:thaiall.com/article/law.htm พบ 46 ไซต์
5. ค้นหาภาพ หรือด้วยภาพ ที่ https://images.google.com/ เช่น แมว
6. ค้นหาแผนที่ ที่ https://www.google.co.th/maps/ เช่น ลำปาง
7. ค้นหาวิดีโอ ที่ https://www.google.co.th/?tbm=vid เช่น กสิกร
8. ค้นหาข่าว ที่ https://www.google.co.th/?tbm=nws เช่น นายก
9. ค้นหาหนังสือ ที่ https://www.google.co.th/?tbm=bks เช่น สวดมนต์
10. ค้นด้วยวลี หรือกลุ่มคำ โดยใช้ Double quote เช่น "ทำดีได้ดี" ต่างกับ ทำดีได้ดี
11. ช่วย ตรวจตัวสะกด เช่น "แมวว" หรือ "น่าราก"
12. ใช้ พิมพ์เล็ก หรือพิมพ์ใหญ่ ไม่ต่างกัน เช่น "Thailand" หรือ "thailand" พบพันล้าน
13. เครื่องหมาย @#%^* () =+[]\ ไม่สำคัญมากนัก
เช่น @บุรินทร์ , #รุจจนพันธุ์ หรือ บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
14. เข้า Settings, Advanced Search จะมีหัวข้อให้เลือกค้นได้มากกว่า
สิ่งที่ต้องมีก่อนเริ่มต้นสืบค้นข้อมูล
1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น
2. เลือกคำค้นที่เหมาะสม
3. เลือกแหล่งข้อมูลที่ดี
โจทย์ฝึกสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวท่าน
1. ค้นหา "ตัวตนของเรา" สรุปมาสั้น ๆ ว่าพบอะไร
2. ค้นหา ว่าตนเอง ควรทำโครงงานจบ เรื่องอะไร
3. ค้นหา ว่าจะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 1 ภาษา ใช้เวลาเท่าใด (อย่างช้า อย่างเร็ว)
4. ค้นหา ว่าเป้าหมายความสุข ของท่านคืออะไร จำแนกเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต วินาทีนี้
5. ค้นหา ว่าข้อมูลของท่าน มีอะไรเป็น Hightlight บ้าง
แหล่งสืบค้นผลงานวิชาการ
1. รายชื่อวารสารในฐานข้อมูล TCI
https://tci-thailand.org/list%20journal.php
2. Thai Journal ค้นตามชื่อเจ้าของผลงานได้
https://www.tci-thaijo.org/
3. Thai Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS
https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php (user : burin_ruj@nation.ac.th)
4. แหล่งรวมข้อมูลงานประชุมวิชาการ
http://www.conferenceinthai.com/
5. Proceeding book ม.ธุรกิจบัณฑิต
https://www.dpu.ac.th/conference/pastconference.html
6. Proceeding มรภ.เลย
https://www.research.lru.ac.th/th/proceeding/
7. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Theses) มช.
http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/
8. ระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ
http://plag.grad.chula.ac.th/
9. ระบบรับทราบหลักสูตร Checo
http://202.44.139.57/checo/
10. ค้นจาก google พบอีกจำนวนมาก
https://www.google.com/search?q=ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
ตัวอย่าง การตรวจสอบการลอกเลียนผลงาน
หากมีข้อสงสัยว่า เราได้อ่านงานวิจัยของเพื่อนมาหลายชิ้น อ้างอิงมาใช้ในงานของเราก็หลายเล่ม แล้วจะมีสัดส่วนการคัดลอกในแต่ละบทเป็นร้อยละเท่าใด ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ คือระบบอักราวิสุทธิ์ http://plag.grad.chula.ac.th ที่ใช้งานง่าย เพียงมีแฟ้มผลงานเป็น microsoft word ที่เหมาะสมกับการนำไปตรวจสอบการคัดลอกผลงาน ขนาดไม่เกิน 200 MB แล้วอัพโหลดที่หน้าแรกของระบบ ก็จะรายงานสรุปผลมาทางหน้าจอ พร้อมส่งลิงค์รายงานสรุปผลไปให้ทางอีเมล ก็จะทราบได้ว่าคัดลอกร้อยละเท่าใด ส่วนจะยอมรับการคัดลอกได้หรือไม่ เป็นดุลพินิจของเพื่อน
ที่โฮมเพจ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง "การตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์" กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า มหาวิทยาลัยเนชั่น อยู่อันดับที่ 142 (https://www.akarawisut.com/clients.html )
ซึ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษา นิสิตมักต้องค้นคว้า และอ่านผลงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา เมื่ออ่านผลงานใดก็มักต้องบันทึกเก็บไว้ และกลั่นกรองมาใช้ (KM+Ebook) จึงจำเป็นต้องตรวจสอบการคัดลอกได้ ซึ่งนิสิตที่อ่านงานจาก thaijo หรือ thailis ก็จะสามารถมีเอกสารในมือจำนวนหนึ่ง ที่ส่งเข้าไปตรวจสอบได้
http://www.thaiall.com/ethics/assignment.htm
ตัวอย่าง การค้นข้อมูลหลักสูตร
ระบบรับทราบหลักสูตร CHECO (Commission on Higher Education Curriculum Online) มีหลักสูตรที่ได้รับการพิจารณาความสอดคล้องแล้ว 8046 หากต้องการ มคอ.2 ของหลักสูตรที่น่าสนใจมาอ่าน โดยเข้า google แล้วค้น "checo หลักสูตร" หรือคลิ๊ก http://202.44.139.57/checo/ พบข้อมูล 8053 รายการ ค้นหา พยาบาลศาสตร์ พบ 77 รายการ เมื่อคลิ๊กเข้า คณะพยาบาลศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเนชั่น
แล้วคลิ๊กเข้า "หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (พ.ศ.2562)"
พบข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐานหลักสูตร 2) ข้อมูลอาจารย์ และผลงานของแต่ละท่านย้อนหลัง 5 ปี 3) เกณฑ์สำเร็จและค่าใช้จ่าย ในหัวข้อสุดท้ายของส่วนที่ 3 พบหัวข้อ เอกสารแนบ ถ้าสนใจ download มคอ.2 ทั้งเล่ม 100 หน้า ก็คลิ๊กดาวน์โหลดได้
บริการสืบค้นแบบเปิดพร้อมกันหลายหน้า
เว็บสืบค้นไทย / นานาสาระ
Sanook.com
Thaiall.com
Lexitron.Nectec
เว็บสืบค้นฝรั่ง
Google.com
yahoo.com
Lycos.com
Aol.com
Excite.com
Dogpile.com
Looksmart.com
WebCrawler.com
findlaw.com
infospace.com
ประเด็นชวนให้สืบค้น
ค้นหา "การสอนออนไลน์" เมื่อมีการค้นหา ย่อมมีผลการค้นหา มีแหล่งสืบค้นมากมาย ทั้งแบบทั่วไป และเฉพาะทาง ด้วยมีความเชื่อว่า ถ้าคนหา ก็จะค้นพบ เมื่อมีเหตุ ก็จะมีผล ถ้าต้องการแฟ้มแบบ pdf ที่เป็นเอกสารเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต อาจเข้าไปค้นหาตามแหล่งอีบุ๊ค เช่น scribd.com , slideshare.net , issuu.com แต่แหล่งสืบค้นที่ชื่นชอบที่สุด คือ google.com พบผลลัพธ์กว่า 290,000 results เมื่อสืบค้นด้วยคำว่า
สอนออนไลน์ filetype:pdf
เทคนิคการบริหารจัดการ เรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ที่มีประสิทธิภาพ 8 หน้า (เอกสารสรุปจาก KM)
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ 16 หน้า (คู่มือจาก KM)
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิ 15 หน้า (บทความวิชาการ)
ความท้าทายในการสอนออนไลน์ของระดับประถมศึกษา 68 หน้า (รายงานการวิจัย)
การจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ 26 หน้า (สไลด์แนะนำคุณครู)
แนวทางการจัดการเรียนการสอน 37 หน้า (สไลด์แนะนำคุณครู)
บริการสืบค้นทั่วโลก .. ด้วยคลิ๊กเดียว
ทคนิคที่ใช้ในเว็บเพจนี้ คือ JavaScript ที่สามารถ copy code หน้านี้ไปใช้งานได้ทันที เพียงแต่เลือก Save As Webpage แล้วนำ code ไปแก้ไขแหล่งบริการได้ การเรียนรู้ยุคนี้ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ก้าวแรกเสมอไป เมื่อหลายปีก่อน เคยมีนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง ใช้บริการเว็บเพจหน้านี้ไปแข่งสืบค้นข้อมูล เมื่อต้นปี 2543 แล้วผลลัพธ์คือได้รับรางวัลมาแล้ว

ทั่วโลก :
ใน thaiall.com :
แหล่ง Download Fullpaper งานวิจัยสำหรับประชาชน
ThaiLIS เครือข่ายห้องสมุด
ค้นคำว่า "จริยธรรม" พบ 2253 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ จงกลนี กิติยานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปี 2559 เรื่อง ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
แฟ้มเดียวมี 144 หน้า
e-library ของ TRF
ค้นคำว่า "จริยธรรม" พบ 37 + 19 = 56 โครงการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ นงนภัส พันธ์พลกฤต, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ ปี 2558 เรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตจริยธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
แฟ้มเดียวมี 238 หน้า
ศูนย์ข้อมูลการวิจัย วช.
ค้นคำว่า "จริยธรรม" พบ 1295 รายการ ค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2561 พบงานของ ทินกร ชุณหภัทรกุล ปี 2560 เรื่อง การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน 4 ภาค
พบ Fulltext 11 แฟ้มใน DOI
แฟ้มรวมมี 189 หน้า
ค้น วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และบทความ จาก วช.
ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช." เปิดให้สืบค้นเอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความ ได้จาก 1) ชื่อเรื่อง 2) ผู้แต่ง 3) หน่วยงาน 4) คำค้น 5) บทคัดย่อ หรือ 6) เอกสารฉบับเต็ม เมื่อค้นพบแล้ว คลิ๊กดูเพิ่มเติม พบว่า แนะนำการอ้างอิงในบรรณานุกรม แบบ APA , Chicago, MLA, Vancouver และพบรหัสดีโอไอ ที่เชื่อมไปยังบทคัดย่อ หรือเอกสารฉบับเต็ม เมื่อทดสอบค้นคำว่า "การจัดการความรู้" พบ 2172 รายการ และสามารถส่งออกผลการสืบค้นเป็นแบบ CSV หรือ PDF ได้ รายการแรกที่พบชื่อ "กรณีศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษา" ผู้แต่งคือ วิชญา ผิวคำ ผู้แต่งร่วมคือ ศิริเดช สุชีวะ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ปี 2553 พบ doi ลิงค์ไป Fulltext จำนวน 7 แฟ้ม ในแฟ้มที่้ 7 เป็นรายการอ้างอิง และภาคผนวก ที่ดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้อง sign in เข้าระบบก่อน
ผู้ให้บริการที่ยุติบริการสืบค้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เคยให้บริการ
Thaifind.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Thaiseek.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Ixquick.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Ipoinc.com.hk ไม่ต่ออายุโดเมน
Asiaco.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Simplesearch.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Freestation.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Metafind.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Inference.comไม่ต่ออายุโดเมน
go2.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Mbci.com ไม่ต่ออายุโดเมน
Msnbc.com ไม่บริการสืบค้น
Euroferret.com ไม่บริการสืบค้น
Goto.com ไม่บริการสืบค้น
Icq.com ไม่บริการสืบค้น
Hotbot.com ไม่บริการสืบค้น
Mckinley.com ไม่บริการสืบค้น
Netscape.com ไป Aol.com
Geocities.com ไป Yahoo.com
AltaVista.com ไป Yahoo.com
Lawcrawler.com ไป findlaw.com
Euroseek.com ไป Google.com
Infoseek.com ไป go.com
Go.com ไป disney.co.th
Bigwhat.com พบ 404
ลายปีที่ผ่านมา มีผู้ให้บริการมากมาย สร้างระบบสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ทั้งแบบทั่วไป และเฉพาะด้าน โดยพัฒนาเป็นระบบ ผ่านแนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อการแข่งขัน ตอบสนองความต้องการของผู้สืบค้นข้อมูล การพัฒนาระบบ จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 3 ส่วน คือ ข้อมูล อัลกอริทึม และเทคโนโลยีของตนเอง
อัลกอริทึม ที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ Pagerank ที่ใช้โดย Google Search เพื่อจัดอันดับ web pages แล้วแสดงเป็น search engine results ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เข้าใจง่าย และตอบสนองความต้องการของผู้สืบค้นได้อย่างชัดเจน ยิ่งมีข้อมูลเข้ามาให้ทำการจัดอันดับได้มาก ผลการสืบค้นก็จะตอบสนองผู้สืบค้นได้มาก ดังนั้นปริมาณข้อมูลในระบบของบริการสืบค้น จึงมีข้อมูลปริมาณมหาศาล ทั้งที่ดี และไม่ดี เมื่อข้อมูลมีปริมาณมาก จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย รองรับความต้องการทุกภาษา ทุกกลุ่มผู้ใช้
promote.htm
rspsocial
Thaiall.com